กรม ๓ | (กฺรม) น. หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกำลังไพร่พลของแผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ในราชการและเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็นเจ้ากรม ปลัดกรม ตามลำดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้เจ้านายปกครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่าตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรมขึ้นต่างหากออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีอำนาจตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามบรรดาศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมหลวงกรมพระ และกรมพระยา หรือ เมื่อจะทรงกรมสูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีบรรดาศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมายกลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. |
กษัตร | (กะสัด) น. พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้านาย. |
กษัตราธิราช | น. พระเจ้าแผ่นดินผู้ยิ่งใหญ่กว่ากษัตริย์ทั้งหลาย. |
กษัตริย-, กษัตริย์ | (กะสัดตฺริยะ-, กะสัด) น. พระเจ้าแผ่นดิน |
กษัตริยาธิราช | (กะสัดตฺริยาทิราด) น. พระเจ้าแผ่นดินผู้ยิ่งใหญ่กว่ากษัตริย์ทั้งหลาย. |
กษิดิ, กษีดิ | (กะสิดิ, กะสีดิ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษิติ), ในบทกลอนใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น กษิดินทรทายทานแล้ว. (ส. กฺษิติ + อินฺทฺร), อนนว่ากษีดิศรสุริยทงงหลาย. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร), อนนว่าพระแพศยันดรกษิดิศวร์. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร) (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์, วนปเวสน์). |
กาญจนาภิเษก | น. พระราชพิธีที่พระเจ้าแผ่นดินกระทำเมื่อครองราชสมบัติได้ ๕๐ ปี. |
กำตาก | น. สิทธิพิเศษในค่าภาษีอากรขนอนตลาดที่พระเจ้าแผ่นดินยกให้แก่พระยาแรกนาขวัญในระหว่างพิธี ๓ วันในครั้งโบราณ. |
เกยลา | น. เกยน้อยที่ยกไปได้ ใช้เป็นที่เสด็จขึ้นลงแห่งเจ้านายรองจากพระเจ้าแผ่นดินลงมา |
ขอพระราชทาน | ก. ขอสิ่งของ, ขออนุญาต, (ใช้กราบบังคมทูลพระเจ้าแผ่นดิน). |
ขัตติย- | (-ยะ-) น. พระเจ้าแผ่นดิน. |
ข้าพระ | น. คนที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแก่สงฆ์ เพื่อรักษาวัดและปฏิบัติพระสงฆ์, ผู้ที่มูลนายยกให้เพื่อรักษาวัดและปฏิบัติพระสงฆ์. |
ข้าหลวงเดิม | น. คนที่พระเจ้าแผ่นดินเคยใช้สอยมาตั้งแต่ก่อนขึ้นครองราชย์, คนรับใช้เก่าแก่ของเจ้านาย, (ปาก) คนหรือสิ่งของที่ใช้สอยถูกใจมาเป็นเวลานาน ๆ. |
ขุนหลวง | น. คำเรียกพระเจ้าแผ่นดิน เช่น ขุนหลวงพะงั่ว ขุนหลวงหาวัด ขุนหลวงตาก ภายหลังใช้เป็นบรรดาศักดิ์ของขุนนางด้วย เช่น ขุนหลวงพระไกรศรี. |
เขียนทอง | น. เรียกผ้าลายแต้มทองสำหรับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายทรง. |
เครื่องทองทิศ | น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสำหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงใช้บูชาพระรัตนตรัยในพระราชพิธีใหญ่ มีเตียงทองตั้งซ้อนกัน ๒ เตียง เชิงเทียนแถวหนึ่ง ๕ เชิง เชิงธูปแถวหนึ่ง ๕ เชิง พานข้าวตอกแถวหนึ่ง ๕ พาน พานดอกไม้แถวหนึ่ง ๕ พาน เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองทิศ. |
เครื่องทองน้อย | น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสำหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงใช้บูชาเฉพาะวัตถุ เช่นพระบรมอัฐิ มีเชิงเทียน ๑ เชิง เชิงธูป ๑ เชิง กรวยปักดอกไม้ ๓ กรวย ตั้งในพานทองลงยาราชาวดี เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองน้อย. |
เครื่องห้า ๑ | น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสำหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงใช้บูชาพระธรรมเวลาทรงสดับเทศนา มีเชิงเทียน ๒ เชิง กระถางธูป ๑ ใบ กรวยปักดอกไม้ ๕ กรวย ตั้งในพานทองลงยาราชาวดี, เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองน้อยเครื่องห้า. |
จุกช่อง | ก. อารักขาพระเจ้าแผ่นดินและพระบรมวงศ์ที่สำคัญ ตามช่องทางเสด็จพระราชดำเนินเมื่อเสด็จไปนอกพระราชวัง โดยจัดเจ้าหน้าที่ให้รักษาการณ์อยู่ตามช่องทาง เช่น ตรอก ซอย ปากคลอง. |
จุกช่องล้อมวง | ก. อารักขาพระเจ้าแผ่นดินและพระบรมวงศ์ที่สำคัญในสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัย. (ดู จุกช่อง และ ล้อมวง ประกอบ). |
จุฑาธิปไตย | (-ทิปะไต, -ทิบปะไต) น. พระเจ้าแผ่นดิน เช่น จงมาประสิทธิวจีพระจุฑาธิปไตย (ปฐมมาลา). |
เจ้าชีวิต | น. พระเจ้าแผ่นดิน. |
โชยงการ | (ชะโยง-) น. คำสั่งของพระเจ้าแผ่นดิน เช่น ภูวไนยผายโอษฐอื้น โชยงการ (ตะเลงพ่าย). |
เฒ่าแก่ | น. สตรีสูงอายุที่พระเจ้าแผ่นดินโปรดให้ตั้งไว้ในตำแหน่งข้าราชการ มีหน้าที่ดูแลสตรีฝ่ายในในพระราชสำนัก |
ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง | น. เครื่องราชบรรณาการที่ทำเป็นต้นไม้ทองต้นไม้เงินเป็นคู่ ซึ่งประเทศราชส่งมาถวายแด่พระเจ้าแผ่นดินทุก ๆ ๓ ปี |
ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง | เครื่องสักการะที่เจ้านายหรือขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ตั้งแต่เจ้าพระยาขึ้นไปถวายแด่พระเจ้าแผ่นดิน เมื่อได้รับสถาปนาให้ทรงกรมหรือเลื่อนกรมให้สูงขึ้น หรือเมื่อได้รับพระราชทานตั้งยศ. |
ต้น ๕ | ว. เนื่องในพระเจ้าแผ่นดิน เช่น ประพาสต้น กฐินต้น ช้างต้น ม้าต้น. |
ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา | ก. ดื่มนํ้าสาบานและปฏิญาณว่าจะจงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดิน, เรียกสั้น ๆ ว่า ถือนํ้า ก็มี. |
ทนายเลือก | น. องครักษ์สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน มักคัดเลือกจากนักมวยหรือผู้มีวิชาต่อสู้ เช่น ทนายเลือกปืนหอกเหิร เดินต่อ มานา (พยุหยาตรา) |
ทศพิธราชธรรม | น. จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑. ทาน–การให้ ๒. ศีล–การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ๓. บริจาค–ความเสียสละ ๔. อาชชวะ–ความซื่อตรง ๕. มัททวะ–ความอ่อนโยน ๖. ตบะ–การข่มกิเลส ๗. อักโกธะ–ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา–ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ–ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ–ความไม่คลาดจากธรรม. |
ท้าว ๑ | น. ผู้เป็นใหญ่, พระเจ้าแผ่นดิน, (โดยมากใช้ในบทกลอน), เช่น ท้าวยศวิมล |
ท้าว ๑ | ตำแหน่งหญิงอาวุโส ซึ่งเป็นเจ้าจอม เจ้าจอมมารดาในรัชกาลก่อนหรือหญิงราชนิกุล ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินโปรดเกล้าฯ ตั้งไว้ในตำแหน่งสำหรับดูแลราชกิจฝ่ายในพระราชวัง เช่น ท้าวทรงกันดาล ท้าวสมศักดิ์, (ปาก) คุณท้าว นางท้าว |
ธรณินทร์ | (ทอระนิน) น. ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน, พระเจ้าแผ่นดิน. |
ธรณิศ, ธรณิศร, ธรณิศวร์ | (ทอระนิด) น. ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน, พระเจ้าแผ่นดิน. |
ธรณีศวร | น. ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน, พระเจ้าแผ่นดิน. |
ธราธิบดี, ธราธิป | น. พระเจ้าแผ่นดิน. |
ธเรศ | (ทะเรด) น. ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน, พระเจ้าแผ่นดิน. |
นักสราช | ตำแหน่งนายขมังธนูอยู่หน้าเรือพระที่นั่ง เพื่อยิงผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นอันตรายต่อพระเจ้าแผ่นดิน ระหว่างเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค. |
บดินทร์ | (บอดิน) น. พระเจ้าแผ่นดิน. |
บรม, บรม- | (บอรมมะ-) ว. อย่างยิ่ง, ที่สุด, (มักใช้นำหน้าคำที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระเจ้าแผ่นดิน และพระอัครมเหสี เป็นต้น เพื่อแสดงพระเกียรติยศยิ่งใหญ่) เช่น บรมศาสดา บรมบพิตร บรมราชินี บรมมหาราชวัง. (ป., ส. ปรม) |
เปลี่ยนแผ่นดิน | ก. เปลี่ยนพระเจ้าแผ่นดิน คือ พระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ขึ้นครองราชสมบัติ, ผลัดแผ่นดิน ก็ว่า. |
ผลัดแผ่นดิน | ก. เปลี่ยนพระเจ้าแผ่นดิน คือ พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ขึ้นครองราชสมบัติ, เปลี่ยนแผ่นดิน ก็ว่า. |
ผ่าน | ถ้าประกอบหน้านามบางคำ เช่น ผ่านเกล้าฯ ผ่านเผ้า ผ่านพิภพ ผ่านฟ้า หมายความว่า พระเจ้าแผ่นดิน. |
พรหมไทย | น. ที่ดินซึ่งพระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแก่พราหมณ์และยกเว้นภาษีอากร |
พระ | ใช้ประกอบหน้าคำอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวร พระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพเมธี ๔. ภิกษุ เช่น พระสมศักดิ์ ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ |
พระพันปี | พระเจ้าแผ่นดิน. |
พระพันวัสสา, พระพันวศา, พระพันวษา | พระเจ้าแผ่นดิน. |
พระพุทธเจ้า | น. คำเรียกพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา, ใช้เป็นคำนำหน้าชื่อพระเจ้าแผ่นดิน เช่น พระพุทธเจ้าเสือ. |
พลับพลา ๑ | (-พฺลา) น. ที่ประทับชั่วครั้งคราวสำหรับรับรองพระเจ้าแผ่นดินและพระบรมราชวงศ์ชั้นสูง. |
พันปี | พระเจ้าแผ่นดิน. |