พฤหัสบดี | (พฺรึหัดสะบอดี, พะรึหัดสะบอดี) น. เทพที่เป็นครูของเทวดาทั้งหลาย |
พฤหัสบดี | ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๕ และเป็นดวงที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๗๗๘ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางในแนวที่ผ่านเส้นศูนย์สูตร ๑๔๒, ๘๐๐ กิโลเมตร |
พฤหัสบดี | ชื่อวันที่ ๕ ของสัปดาห์. |
พฤหัสบดีจักร | น. ระยะเวลา ๖๐ ปี คือ เวลาที่ดาวพฤหัสบดีเดินรอบดวงอาทิตย์ ๕ รอบ, มหาจักร ก็ว่า. |
ครุวาร | (คะรุวาน) น. วันพฤหัสบดี ถือว่าเป็นวันครู. |
คุรุวาร | น. วันครู คือ วันพฤหัสบดี, ชีววาร หรือ พฤหัสปติวาร ก็ว่า. |
เคราะห์ ๑ | (เคฺราะ) น. เรียกดาวเฉพาะ ๙ ดวง เรียงตามลำดับมหาทักษา คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ ซึ่งถือกันว่ามีเทวดาประจำแต่ละดวง ว่า ดาวพระเคราะห์, เรียกดาวพระเคราะห์ทั้ง ๙ ดวงอย่างรวม ๆ ว่า ดาวนพเคราะห์ ถือว่าเป็นดาวที่ยึดโชคของคน |
เคราะห์ ๒ | (เคฺราะ) น. เรียกดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ต้องได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ และเป็นบริวารโคจรรอบดวงอาทิตย์ ว่า ดาวเคราะห์ มี ๘ ดวง เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ออกไป คือ พุธ (Mercury) ศุกร์ (Venus) โลก (Earth) อังคาร (Mars) พฤหัสบดี (Jupiter) เสาร์ (Saturn) มฤตยู (Uranus) สมุทร (Neptune). |
จักร, จักร- | บรรจบรอบแห่งปีหรือแห่งฤดู เช่น พฤหัสบดีจักร. |
ชีว- ๒, ชีวะ ๒ | น. พระพฤหัสบดี. |
ชีววาร | น. วันพฤหัสบดี, คุรุวาร หรือ พฤหัสปติวาร ก็ว่า. |
ชีโว | น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน, (ยาม) พฤหัสบดี. (ดู ยาม, ยาม-). |
ดาวเคราะห์ | น. ดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ต้องได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ และเป็นบริวารโคจรรอบดวงอาทิตย์ มี ๘ ดวง คือ พุธ (Mercury) ศุกร์ (Venus) โลก (Earth) อังคาร (Mars) พฤหัสบดี (Jupiter) เสาร์ (Saturn) มฤตยู (Uranus) สมุทร (Neptune) มองจากโลกจะเห็นได้ด้วยตาเปล่าเพียง ๕ ดวง คือ พุธ ศุกร์ อังคาร พฤหัสบดี และเสาร์. |
ดาวนพเคราะห์ | น. ดาวพระเคราะห์ทั้ง ๙ คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ. |
ดาวพระเคราะห์ | น. ดาว ๙ ดวงที่ใช้ในทางโหราศาสตร์ ได้แก่ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ. |
ทักษา | น. เรียกดาวพระเคราะห์เฉพาะ ๘ ดวง คือ อาทิตย์ (ประจำทิศอีสาน ใช้เลข ๑ แทน) จันทร์ (ประจำทิศบูรพา ใช้เลข ๒ แทน) อังคาร (ประจำทิศอาคเนย์ ใช้เลข ๓ แทน) พุธ (ประจำทิศทักษิณ ใช้เลข ๔ แทน) เสาร์ (ประจำทิศหรดี ใช้เลข ๗ แทน) พฤหัสบดี (ประจำทิศประจิม ใช้เลข ๕ แทน) ราหู (ประจำทิศพายัพ ใช้เลข ๘ แทน) และศุกร์ (ประจำทิศอุดร ใช้เลข ๖ แทน) เขียนเป็นแผนภูมิดังนี้
|
นพเคราะห์ | (นบพะเคฺราะ) น. ดาวพระเคราะห์ทั้ง ๙ คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ. |
นวครหะ, นวเคราะห์ | (-คฺระหะ, -เคฺราะ) น. นพเคราะห์, ดาวพระเคราะห์ทั้ง ๙ คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ. |
ผูกดวง | ก. นำเครื่องหมายแทนพระเคราะห์มีอาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ศุกร์ เป็นต้น บรรจุลงในดวงตามช่องจักรราศีทั้ง ๑๒ ที่โคจรมาสถิตตามวัน เดือน ปี และเวลาตกฟากของเจ้าของชะตานั้น ดูว่าอาทิตย์ตกอยู่ในราศีใด แล้วเอาองศาอาทิตย์ของวันเกิดเจ้าของชะตามาคำนวณว่า เมื่อเวลา ๖.๐๐ นาฬิกา อาทิตย์อยู่ในราศีดังกล่าวมาแล้วนานเท่าใด เรียกว่า อดีตอุทัย และเวลาเหลืออีกนานเท่าใดจึงจะพ้นไปจากราศีนั้น เรียกว่า อนาคตอุทัย แล้วเอาเวลาตกฟากตั้งลบด้วย ๖.๐๐ นาฬิกา และอนาคตอุทัย ต่อไปเอาอันโตนาทีของราศีถัด ๆ ไปลบทีละราศี ถ้าเวลาหรือเลขที่เหลือไม่พอให้อันโตนาทีของราศีใดลบได้ ลัคนาก็อยู่ที่ราศีนั้น การผูกดวงนี้เพื่อทำนายโชคชะตาเป็นต้น. |
พฤหัสปติวาร | น. วันพฤหัสบดี, คุรุวาร หรือ ชีววาร ก็ว่า. |
มหาจักร ๒ | น. ระยะเวลา ๖๐ ปี คือ เวลาที่ดาวพฤหัสบดีเดินรอบดวงอาทิตย์ ๕ รอบ, พฤหัสบดีจักร ก็ว่า. |
มหาจักร ๓ | น. ดาว ๘ ดวง มีอาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ และราหู ซึ่งอยู่ในราศีนิยม เช่น จันทร์อยู่ราศีเมษ อาทิตย์อยู่ราศีกรกฎ ตามที่ท่านกำหนดไว้ ย่อมทรงคุณทำให้เจ้าของชะตาเด่นขึ้นหรือคุ้มโทษต่าง ๆ ได้. |
วันครู | น. วันพฤหัสบดี |
เวหัปติ | (-หับปะ-) น. พฤหัสบดี. |
ศุภเคราะห์ | น. คราวมงคล, คราวดี, ทางโหราศาสตร์หมายเอาดาวพระเคราะห์ที่ให้คุณ คือ จันทร์ พุธ พฤหัสบดี ศุกร์. |
สัปตเคราะห์ | น. ชื่อเทวดาประจำวันทั้ง ๗ ได้แก่ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระอังคาร พระพุทธ พระพฤหัสบดี พระศุกร์ พระเสาร์. |
อัฐเคราะห์ | น. เรียกดาวเฉพาะ ๘ ดวง คือ อาทิตย์ (ประจําทิศอีสาน ใช้เลข ๑ แทน) จันทร์ (ประจําทิศบูรพา ใช้เลข ๒ แทน) อังคาร (ประจําทิศอาคเนย์ ใช้เลข ๓ แทน) พุธ (ประจําทิศทักษิณ ใช้เลข ๔ แทน) เสาร์ (ประจําทิศหรดี ใช้เลข ๗ แทน) พฤหัสบดี (ประจําทิศประจิม ใช้เลข ๕ แทน) ราหู (ประจําทิศพายัพ ใช้เลข ๘ แทน) และศุกร์ (ประจําทิศอุดร ใช้เลข ๖ แทน) เขียนเป็นแผนภูมิดังนี้
ว่า ทักษา, ถ้าเกิดวันใด ก็ถือวันนั้นเป็นบริวาร แล้วนับเวียนขวาไปตามทิศทั้ง ๘ เช่น เกิดวันอาทิตย์ อาทิตย์เป็นบริวาร จันทร์เป็นอายุ อังคารเป็นเดช พุธเป็นศรี เสาร์เป็นมูละ พฤหัสบดีเป็นอุตสาหะ ราหูเป็นมนตรี และศุกร์เป็นกาลกรรณี. |