ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: ภาร, -ภาร- |
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่ trade terms | [เทรด เทอมส] (n) "ข้อตกลงในการส่งมอบสินค้า" ยังไม่เจาะจงลงไปว่าเป็นแหล่งอ้างอิงจากชื่อใด เข่น AFTD: American Foreign Trade Definition หรือ RWO: Rules of Warsaw and Oxford หรือ GCDM: General Conditions for Delivery of Merchandise หรือ Combiterms หรือ Incoterms ซึ่งในแต่ละแหล่งอ้างอิงมี Terms ให้ใช้คล้ายกัน เช่น Ex Works, FOB หรือ CIF เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แหล่งอ้างอิงที่เสถียรในเรื่องค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงในการส่งมอบ คือแหล่ง Incoterms ทำให้หลายแหล่ง เช่น ล่าสุดทางอเมริกา ประกาศยกเลิก ธรรมนูญการค้าหรือ UCC บางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบสินค้าของตน ซึ่ง UCC นี้เองได้เป็นฐานในการกำหนดงเป็น AFTD ล่าสุดอเมริกาและแทบทั้งโลกมาขอใช้ร่วมกับ Incoterms ของ ICC International Chamber of Commerce, Paris, France นี้ เป็นมีการกำหนดจุดรับภาระที่แน่นอนกว่า | โบ้ย | [โบ้ย] (vt, slang) การโยนงานหรือภาระหน้าที่ให้ผู้อื่นทำ ตัวอย่าง จู่ๆเขาก็โบ้ยงานมาให้ฉันทำ ทั้งๆที่มันไม่ใช่หน้าที่เลย |
|
| พันธกิจ | [ミッション] (n, org) กิจการหรืองานที่มีภาระรับผิดชอบที่ต้องปฏิบัติให้บรรลุผล |
| ภาร | (n) burden, See also: charge, duty, business, important affair, Syn. ภาระ, Thai Definition: ธุระที่หนัก, การงานที่หนัก, Notes: (บาลี) | ภาร | (n) duty, Syn. ี่หน้าที่, ภาระ, ธุระ, Thai Definition: หน้าที่ที่ต้องรับเอา, หน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ, Notes: (บาลี) | ภาร | (adj) heavy, See also: loaded, Syn. หนัก, Ant. เบา, Thai Definition: ที่มีน้ำหนักมาก, Notes: (บาลี) | ภาร | (n) heavy thing, See also: load, Syn. ของหนัก, Thai Definition: ของที่มีน้ำหนักมาก, Notes: (บาลี) | ภาระ | (n) burden, See also: responsibility, charge, duty, task, obligation, Syn. ภารกิจ, หน้าที่, ภาระหน้าที่, Example: เขาอยากจะปลดเปลื้องภาระของเขาให้น้องชายทำแทนเสียที, Thai Definition: หน้าที่การงานหรือธุระที่จำเป็นต้องรับผิดชอบ | ภารา | (n) town, See also: city, Syn. พารา, เมือง, ธานี, นคร | ภารดี | (n) speech, See also: words, eloquence, language, utterance, Syn. ถ้อยคำ, คำพูด, ภาษา, Thai Definition: คำที่กล่าวออกมา | ภารตี | (n) goddess, See also: goddess Surasawadee, Thai Definition: ชื่อหนึ่งของพระสุรัสวดี | สมภาร | (n) abbot, Syn. เจ้าวัด, เจ้าอาวาส, Ant. ลูกวัด, Count Unit: รูป | สมภาร | (n) abbot, Ant. พระลูกวัด, ลูกวัด, Example: กุลบุตรทั้งหลานที่ต้องการเรียนหนังสือ บิดามารดาจะนำไปฝากไว้กับสมภารเจ้าวัดให้รับใช้พระสงฆ์, Count Unit: รูป, Thai Definition: พระที่เป็นเจ้าอาวาส, Notes: (บาลี/สันสกฤต) | สมภาร | (n) accumulated good deeds, See also: acquired merit, Thai Definition: บุญที่สะสมไว้, Notes: (บาลี/สันสกฤต) | ภารโรง | (n) janitor, See also: watchman, caretaker, Syn. นักการภารโรง, นักการ, Example: แม้ภารโรงจะเป็นเพียงลูกจ้าง แต่สิทธิพิเศษต่างๆ ที่ภารโรงและครอบครัวได้นั้น ไม่แตกต่างจากข้าราชการประจำเท่าไร, Count Unit: คน, Thai Definition: ผู้รักษาและทำความสะอาดสถานที่ | ภารธุระ | (n) task, See also: business, Example: เมื่อเวลาท่านรัฐมนตรีมาถึง เขาจะต้องเอาภารธุระกับเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด, Thai Definition: การงานที่รับทำ, กิจการที่ขวนขวายประกอบ | รับภาระ | (v) shoulder, See also: undertake, assume, take on, bear, Syn. แบกรับ, แบกภาระ, Example: นกคุ่มอืดตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ดังนั้นตัวผู้จึงต้องรับภาระในการเลี้ยงและดูแลลูกแทนตัวเมีย | สัมภาระ | (n) luggage, See also: baggage, bags, gear, cases, impedimenta, paraphernalia, suitcases, Example: เขาต้องใช้เวลาถึง 2 วัน ในการย้ายบ้าน เพราะมีสัมภาระมากมาย, Thai Definition: สิ่งของต่างๆ ซึ่งสะสมรวบรวม หรือจัดเตรียมไว้ เพื่อภาระต่างๆ, Notes: (บาลี/สันสกฤต) | หมดภาระ | (v) be free from obligation, See also: be free from one's duty, Syn. พ้นภาระ, Ant. มีภาระ, รับภาระ, Example: ตอนนี้แม่หมดภาระในการเลี้ยงดูลูกๆ แล้ว เพราะต่างก็มีเหย้ามีเรือนกันไปหมด, Thai Definition: ไม่มีหน้าที่ที่ต้องทำอีกแล้ว | ภารตวิทยา | (n) Indian study, See also: study of India, Example: ท่านสนใจในด้านภารตวิทยาเพราะท่านเคยไปอยู่ที่อินเดียมานาน, Thai Definition: วิชาที่เกี่ยวกับประเทศอินเดีย มีศาสนา ปรัชญา วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษา วรรณคดี เป็นต้น, Notes: (สันสกฤต) | ภาระจำยอม | (n) servitude, Example: ทางเดินภายในตลาดปีนังคือภาระจำยอมซึ่งชาวบ้านใช้ร่วมกันมากกว่า 20 ปีแล้ว, Thai Definition: ข้อผูกพันอันเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์จำต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น, Notes: (กฎหมาย) | ทัพสัมภาระ | (n) timber or wood for building a house or vehicle, See also: wooden materials necessary as supporting or building a vehicle or house, Thai Definition: วัสดุสำหรับก่อสร้าง, ส่วนประกอบที่อาจประกอบเป็นยวดยานหรือบ้านเรือน | ผู้รับภาระ | (n) one carrying a burden, See also: one who shoulders a burden, responsibility, burden bearer, Syn. คนรับภาระ, ผู้แบกภาระ, คนแบกภาระ, Ant. ผู้โยนภาระ, Example: รัฐบาลเป็นผู้รับภาระในเรื่องอาหาร เรื่องเครื่องนุ่งห่มแก่นักโทษที่อยู่ในความคุ้มครองดูแล, Count Unit: คน, Thai Definition: ผู้ที่รับงานหนักตามหน้าที่ที่ผู้อื่นมอบให้ | ภารยทรัพย์ | (n) servitude property, Example: ตึกทั้งแถบนี้เป็นภารยทรัพย์ที่ตามกฎหมายคุณต้องรับผิดชอบ, Thai Definition: อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้เป็นเจ้าของจะต้องรับภาระบางอย่างที่เกิดจากภาระจำยอม, Notes: (กฎหมาย) | ภาระติดพัน | (n) obligation, See also: responsibility, Example: กองมรดกมีภาระติดพันที่จะต้องบำรุงมูลนิธิหลายแห่ง, Thai Definition: ความผูกพันที่จะต้องกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง | ภาระผูกพัน | (n) obligation, See also: charge, Example: ในปีนี้ฐานะเงินคงคลังของประเทศเหลือเพียง 103, 635 ล้านบาท และในจำนวนนี้มีภาระผูกพันที่จะต้องใช้อีกประมาณ 6 หมื่นกว่าล้านบาท, Thai Definition: เรื่องที่ต้องรับผิดชอบต่อเนื่องไป | ภาระหน้าที่ | (n) duty, See also: obligation, Example: อาจารย์หนุ่มหนักใจต่อภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นับแต่ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา, Thai Definition: กิจที่ต้องทำที่รับเอาไว้ | แบ่งเบาภาระ | (v) lighten the load, See also: share the work, Example: รัฐบาลน่าจะหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมาปล่อยกู้ให้เกษตรกร เพื่อแบ่งเบาภาระให้ชาวไร่ที่ต้องลงทุนเพาะปลูกในฤดูกาลต่อไป, Thai Definition: ช่วยทำให้ภาระหนักที่รับไว้เบาลง | แบ่งเบาภาระ | (v) lighten the load, See also: share the work, Example: รัฐบาลน่าจะหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมาปล่อยกู้ให้เกษตรกร เพื่อแบ่งเบาภาระให้ชาวไร่ที่ต้องลงทุนเพาะปลูกในฤดูกาลต่อไป, Thai Definition: ช่วยทำให้ภาระหนักที่รับไว้เบาลง | แบ่งเบาภาระ | (v) lighten the load, See also: share the work, Example: รัฐบาลน่าจะหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมาปล่อยกู้ให้เกษตรกร เพื่อแบ่งเบาภาระให้ชาวไร่ที่ต้องลงทุนเพาะปลูกในฤดูกาลต่อไป, Thai Definition: ช่วยทำให้ภาระหนักที่รับไว้เบาลง | พระราชภารกิจ | (n) royal, Syn. ภารกิจ, ธุระ, ภาระ, กิจ, กรณียกิจ, Example: รัชกาลที่ 3 ทรงมีพระราชภารกิจในการทำนุบำรุงบ้านเมืองทั้งด้านเศรษฐกิจและการพัฒนา, Thai Definition: งานที่จำต้องทำ, Notes: (ราชา) | ปฏิบัติภารกิจ | (v) do one's task, See also: perform one's mission, perform one's duty, carry out one's duty, discharge one's duty, Syn. ปฏิบัติหน้าที่, ทำหน้าที่, Example: ทหารกำลังปฏิบัติภารกิจป้องกันชายแดนจาการลุกล้ำอธิปไตยของประเทศเพื่อนบ้าน | ข้าวของสัมภาระ | (n) belongings, See also: stuff, materials, Syn. ข้าวของเครื่องใช้, Example: รถสองแถวสีแดงวันนี้บรรทุกผู้โดยสารและข้าวของสัมภาระอื่นๆ เนืองแน่น | ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ | (n) charge on immovable property, Thai Definition: ข้อผูกพันที่ผู้รับประโยชน์มีสิทธิได้รับการชำระหนี้เป็นคราวๆ จากอสังหาริมทรัพย์ที่ตกอยู่ในภาระติดพัน หรือได้ใช้และถือเอาซึ่งประโยชน์แห่งทรัพย์สินตามที่ระบุไว้, Notes: (กฎหมาย) |
| เจ้าไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด | น. ผู้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง. | ทัพสัมภาระ | (ทับพะ-) น. สิ่งหรือเครื่องอันเป็นส่วนประกอบที่จะคุมกันเข้าเป็นเรือน เรือ รถ หรือเกวียน เป็นต้น. | บพิตรพระราชสมภาร | ส. คำที่พระสงฆ์เรียกพระมหากษัตริย์ มักใช้ในการถวายพระธรรมเทศนา. | บุญญาธิสมภาร | น. บุญที่ได้สั่งสมไว้มากยิ่ง. | ปราคภาร | (ปฺราก-) น. เงื้อมภูเขา. | ปัพภาระ | น. เงื้อมเขา. | ผลักภาระ | ก. ทำให้พ้นตัวไป. | โพธิสมภาร | น. บุญบารมีของพระมหากษัตริย์. | ภาร, ภาร-, ภาระ ๑ | (พาน, พาระ-) น. ของหนัก, นํ้าหนัก | ภาร, ภาร-, ภาระ ๑ | ธุระที่หนัก, การงานที่หนัก | ภาร, ภาร-, ภาระ ๑ | หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ เช่น พ่อแม่มีภาระในการเลี้ยงดูลูก ครูมีภาระในการอบรมสั่งสอนศิษย์, ความรับผิดชอบ เช่น พ่อแม่ตายหมด พี่ต้องรับภาระส่งเสียเลี้ยงดูน้อง. | ภาร, ภาร-, ภาระ ๑ | (พาน, พาระ-) ว. หนัก. | ภารกิจ | (พาระ-) น. งานที่จำต้องทำ. | ภารธุระ | (พาระทุระ, พานทุระ) น. การงานที่รับทำ, กิจการที่ขวนขวายประกอบ. | ภารโรง | (พาน-) น. ผู้รักษาและทำความสะอาดสถานที่. | ภาระจำยอม | น. ข้อผูกพันอันเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์จำต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น เช่น ทางภาระจำยอม. | ภาระติดพัน | น. ความผูกพันที่จะต้องกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง. | ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ | น. ข้อผูกพันที่ผู้รับประโยชน์มีสิทธิได้รับการชำระหนี้เป็นคราว ๆ จากอสังหาริมทรัพย์ที่ตกอยู่ในภาระติดพัน หรือได้ใช้และถือเอาซึ่งประโยชน์แห่งทรัพย์สินตามที่ระบุไว้. | ภารดี | (พาระ-) น. ถ้อยคำ, คำพูด, ภาษา. | ภารต, ภารต- | (พารด, พาระตะ-) น. ชาวอินเดีย | ภารต, ภารต- | คนแสดงละคร. | ภารตวิทยา | น. วิชาที่เกี่ยวกับประเทศอินเดีย มีศาสนา ปรัชญา วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษา วรรณคดี เป็นต้น. | ภารตี | (-ระ-) น. ชื่อหนึ่งของพระสุรัสวดี. | ภารยทรัพย์ | (พาระยะซับ) น. อสังหาริมทรัพย์ที่ตกอยู่ในภาระจำยอม, คู่กับ สามยทรัพย์. | ภารยา | (พาระ-, พานระ-) น. ภรรยา. | ภาระ ๑ | ดู ภาร, ภาร-. | ภาระ ๒, ภารา ๑ | น. ชื่อมาตราชั่งนํ้าหนักมคธ ๒๐ ตุลา เป็น ๑ ภาระ. | ภารา ๒ | น. พารา, เมือง. | มหาภารตะ | (มะหาพาระตะ) น. ชื่อบทประพันธ์มหากาพย์เรื่องใหญ่เรื่องหนึ่งของอินเดีย, คู่กับ รามายณ คือ รามเกียรติ์. | ลูกสมภารหลานเจ้าวัด | น. ลูกเจ้านาย, ลูกผู้มีอำนาจ, มีความหมายทำนองเดียวกับ ลูกท่านหลานเธอ. | สกฏภาระ | (-พาระ) น. ของบรรทุกเกวียน. | สมภาร | (-พาน) น. พระที่เป็นเจ้าอาวาส. | สัมภาระ | (สำพาระ) น. สิ่งของต่าง ๆ เช่น เครื่องมือเครื่องใช้และเสบียงซึ่งสะสมรวบรวมหรือจัดเตรียมไว้เพื่อภาระต่าง ๆ เช่น เตรียมสัมภาระสำหรับไปต่างจังหวัด | สัมภาระ | การเกื้อหนุน, การเลี้ยงดู. | เสภารำ | น. เสภาทรงเครื่องที่มีตัวละครออกมารำประกอบการขับ. | อังสภาระ | น. ของแบก. | กรรมาธิการ | (กำ-, กัน-) น. บุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเลือกและตั้งเป็นคณะกรรมาธิการ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของแต่ละสภา แล้วรายงานต่อสภา คณะกรรมาธิการมี ๒ ประเภท คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ คณะกรรมาธิการสามัญประกอบด้วยบุคคลซึ่งเป็นสมาชิกของสภาล้วน ๆ คณะกรรมาธิการวิสามัญประกอบด้วยบุคคลผู้เป็นสมาชิกและบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภารวมกัน หรือบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภาทั้งหมดที่สภาเลือกและตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ. | กระโถนท้องพระโรง | น. ผู้ที่ต้องรองรับภาระงานหรืออารมณ์ของผู้อื่นอยู่คนเดียว. | กลฉ้อฉล | (กน-) น. การใช้อุบายหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือการจงใจปิดบังซ่อนเร้นข้อความจริงเพื่อให้ผู้อื่นหลงผิดจนเข้าทำนิติกรรม หรือจนคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งยอมรับข้อกำหนดอันเป็นภาระอันหนักขึ้นกว่าที่คู่กรณีฝ่ายนั้นจะยอมรับโดยปรกติ. | การจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ | น. การดำเนินการพัฒนาที่ดินหลายแปลงโดยการวางผังจัดรูปที่ดินใหม่ ปรับปรุงหรือจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และการร่วมรับภาระและกระจายผลตอบแทนอย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ โดยความร่วมมือระหว่างเอกชนกับเอกชนหรือเอกชนกับรัฐ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ในที่ดินที่เหมาะสมยิ่งขึ้นในด้านต่าง ๆ. | ครูบา | น. ครูผู้สอนกุลบุตร หมายถึง สมภาร, คำใช้เรียกพระเถระผู้เป็นที่เคารพนับถือ ซึ่งมักจะมีอายุ ๕๐ ปีขึ้นไป. | เครื่องหลัง | น. สัมภาระที่ทหารหรือนักเดินทางเป็นต้นนำติดตัวไป โดยผูกรัดไว้ข้างหลัง. | ช่วย | แบ่งเบาภาระ เช่น ช่วยเลี้ยงน้อง | เดือดร้อน | ก. เป็นทุกข์กังวลไม่เป็นสุข เช่น พอพ่อป่วยครอบครัวก็เลยเดือดร้อน, เป็นภาระ เช่น งานนี้ฉันเลยเดือดร้อนต้องทำแทนเขา. | ตกหนัก | ก. รับทุกข์, รับเคราะห์, รับภาระหรือหน้าที่หนัก. | ตัดช่องน้อยแต่พอตัว | ก. ด่วนตายไปก่อนโดยทิ้งภาระไว้ภายหลัง | ทรัพยสิทธิ | (ซับพะยะสิด) น. สิทธิเหนือทรัพย์สินที่จะก่อตั้งขึ้นได้แต่ด้วยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เช่น กรรมสิทธิ์ สิทธิอาศัย ภาระจำยอม. | ทำงน | น. ภาระ. | ธนาคารแห่งประเทศไทย | น. ธนาคารกลางที่มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินภารกิจอันพึงเป็นงานของธนาคารกลาง เพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพทางการเงินและเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินและระบบการชำระเงิน, (ปาก) ธนาคารชาติ หรือ แบงก์ชาติ. | บรรทุก | โดยปริยายหมายความว่า รับภาระ เช่น บรรทุกงานไว้มาก. |
| proof, burden of | หน้าที่นำสืบ, ภาระการพิสูจน์ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | preloading | การให้ภาระก่อน [ยานยนต์ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๕] | predial servitude | หน้าที่ตามภาระจำยอม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | legal easement | ภาระจำยอมโดยกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | load device | อุปกรณ์เพิ่มภาระ [พลังงาน ๒๖ ม.ค. ๒๕๔๕] | load profile | โพรไฟล์ภาระ [พลังงาน ๒๖ ม.ค. ๒๕๔๕] | load | ๑. บรรจุ๒. ภาระ [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] | load | ภาระ [พลังงาน ๒๖ ม.ค. ๒๕๔๕] | load | ๑. บรรจุ๒. ภาระ [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | local land charges | ภาระติดพันที่ดินส่วนท้องถิ่น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | land charges | ภาระติดพันที่ดิน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | res sua nemini servit (L.) | ภาระจำยอมย่อมไม่มีในที่ดินของตนเอง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | state council | ๑. สภาแห่งรัฐ๒. สภารัฐมนตรี (จีน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | servient property | ภารยทรัพย์ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | servitude | ภาระจำยอม [ ดู easement ประกอบ ] [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | servitude | ภาระจำยอม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | servitude, involuntary | การจำยอมรับภาระ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | subtask | ภารกิจย่อย [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] | standard of proof | ภาระการพิสูจน์ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | onerous | มีภาระผูกพันเกินควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | onerous contract | สัญญาที่มีภาระผูกพันเกินควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | overload | ภาระเกิน [ปรับอากาศ ๗ มี.ค. ๒๕๔๕] | overload protection | การกันภาระเกิน [ปรับอากาศ ๗ มี.ค. ๒๕๔๕] | overload relay | รีเลย์กันภาระเกิน [ปรับอากาศ ๗ มี.ค. ๒๕๔๕] | onus probandi (L.) | ภาระการพิสูจน์, หน้าที่นำสืบ [ ดู burden of proof ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | onerous term | ข้อกำหนดที่มีภาระผูกพันเกินควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | obligor | ผู้มีภาระผูกพัน [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] | assembly, constituent | สภาร่างรัฐธรรมนูญ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | accountability | ภาระรับผิดชอบ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | accountability | ภาระความรับผิด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | quasi-easement | คล้ายภาระจำยอม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | Bharahut school | สกุลศิลปะภารหุต [ศิลปะ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | building load profile | โพรไฟล์ภาระอาคาร [พลังงาน ๒๖ ม.ค. ๒๕๔๕] | burden of obligation | ภาระแห่งหนี้ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | burden of proof | หน้าที่นำสืบ, ภาระการพิสูจน์ [ ดู onus probandi ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | mission | ๑. ภาระหน้าที่, ภารกิจพิเศษ๒. คณะทูต, คณะผู้แทน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | mission | ๑. ภาระหน้าที่, ภารกิจพิเศษ (ก. ทั่วไป)๒. คณะทูต, คณะผู้แทน (ก. ระหว่างประเทศ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | multitasking system; multitask | ระบบหลายภารกิจ [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] | multitasking system; multitask | ระบบหลายภารกิจ [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | multitask; multitasking system | ระบบหลายภารกิจ [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] | multitask; multitasking system | ระบบหลายภารกิจ [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | multitasking environment | สิ่งแวดล้อมหลายภารกิจ [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] | council, state | ๑. สภาแห่งรัฐ๒. สภารัฐมนตรี (จีน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | charge on immovable property | ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | charges | ค่าภาระติดพัน [ ดู encumbered charge และ value of the charge ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | cooling load | ภาระการทำให้เย็น [พลังงาน ๒๖ ม.ค. ๒๕๔๕] | cooling load | ภาระการทำความเย็น [ปรับอากาศ ๗ มี.ค. ๒๕๔๕] | cooling load factor | แฟกเตอร์ภาระการทำความเย็น [ปรับอากาศ ๗ มี.ค. ๒๕๔๕] | constituent assembly | สภาร่างรัฐธรรมนูญ [ ดู constitutional convention ] [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | constituent assembly | สภาร่างรัฐธรรมนูญ [ ดู constitutional convention ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
| ถวายพระพรลา | กระทำภายหลังจากที่พระสงฆ์สวดบท ภวตุ สพฺพมงฺคลํ เสร็จเรียบร้อยแล้ว พระสงฆ์รูปที่ ๒ จะต้องเป็นผู้กล่าวถวายพระพรลา ซึ่งมีข้อความดังต่อไปนี้ คือ "ขอถวายพระพร เจริญพระราชสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล พระชนมสุขทุกประการ จงมีแด่สมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภาร พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ เวลานี้สมควรแล้ว อาตมภาพทั้งปวง ขอถวายพระพรลา แด่สมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภาร พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ขอถวายพระพร" [ศัพท์พระราชพิธี] | Import charge and surcharge | ค่าภาระและค่าธรรมเนียมพิเศษสินค้าเข้า [เศรษฐศาสตร์] | Investment commitment | ภาระผูกพันในการลงทุน [เศรษฐศาสตร์] | Load | ๑. บรรจุ ๒. ภาระ, ๑. บรรจุ ๒. ภาระ [คอมพิวเตอร์] | Task related monitoring | การเฝ้าสังเกตตามภารกิจ, การตรวจติดตามปริมาณรังสีที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการเฉพาะ เพื่อให้ได้ข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจอย่างเร่งด่วนสำหรับการบริหารจัดการในการปฏิบัติงาน ซึ่งอาจเป็นการเฝ้าสังเกตรายบุคคล หรือ การเฝ้าสังเกตสถานปฏิบัติการ [นิวเคลียร์] | Task | ภารกิจ [การจัดการความรู้] | Monitoring | การเฝ้าสังเกต, การเฝ้าสังเกตปริมาณรังสี หรือ การเปื้อนของสารกัมมันตรังสีจากการตรวจวัด เพื่อประเมินหรือควบคุมการรับรังสี แบ่งเป็น 2 แบบ คือ <br>1. การเฝ้าสังเกตตามจุดตรวจ ได้แก่ การเฝ้าสังเกตตามรายบุคคล สถานที่ปฏิบัติการ ต้นกำเนิดรังสี และสิ่งแวดล้อม</br> <br>2. การเฝ้าสังเกตตามความมุ่งหมาย ได้แก่ การเฝ้าสังเกตเป็นประจำ หรือตามภารกิจที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นกรณีพิเศษ</br> [นิวเคลียร์] | task | ภารกิจ, Example: งานอย่างใดอย่างหนึ่งที่กำหนดให้คอมพิวเตอร์ดำเนินการให้เสร็จปกติ มักจะหมายถึงงานในภาวะการทำงานแบบ multiprogramming หรือ multitasking [คอมพิวเตอร์] | ภารกิจ | งานที่จำต้องทำ, Example: คำที่มักเขียนผิด คือ ภาระกิจ [คำที่มักเขียนผิด] | BOD loading | ภาระบีโอดี, Example: ปริมาณของน้ำเสียที่เข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียหรือลงสู่แหล่งน้ำค่ากำหนดในการออกแบบระบบบำบัด มีหน่วยเป็นกก. บีโอดี/ม3 - วัน หรือ กก. บีโอดี/ม2 - วัน [สิ่งแวดล้อม] | Baggage handling | การขนถ่ายสัมภาระ [TU Subject Heading] | Educational accountability | ภาระรับผิดชอบทางการศึกษา [TU Subject Heading] | Load factor design | การออกแบบตัวประกอบภาระ [TU Subject Heading] | Mahabharata | มหาภารตะ [TU Subject Heading] | Public servitudes | ภาระจำยอม [TU Subject Heading] | Task analysis | การวิเคราะห์ภาระกิจ [TU Subject Heading] | Tax incidence | ภาระทางภาษีอากร [TU Subject Heading] | Loading | ภาระ (บรรทุก), Example: อัตราการรับหรืออัตราการป้อนสารมลพิษต่อหนึ่ง หน่วยพื้นที่ หรือปริมาตรของถังบำบัด [สิ่งแวดล้อม] | Activated Sludge Loading | ภาระแอกทิเวเต็ดสลัดจ์, ภาระเอเอส, ภาระสลัดจ์ไวงาน, Example: ปริมาณบีโอดีต่อวันต่อน้ำหนักจุลินทรีย์ มีหน่วยเป็น กก.บีโอดี/วัน-กก. จุลินทรีย์ หรือ วัน -1 [สิ่งแวดล้อม] | BOD Loading | ภาระบีโอดี, Example: ค่ากำหนดในการออกแบบระบบบำบัด มีหน่วยเป็น กก.บีโอดี/ม3-วัน หรือ กก. บีโอดี/ม2-วัน [สิ่งแวดล้อม] | Incidence of Tax | ภาระภาษี, Example: ผลกระทบของการจัดเก็บภาษีที่มีต่อบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งบุคคลที่จ่ายภาษีหรือไม่ก็ได้ เช่น พ่อค้าเป็นผู้จ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ภาระสุดท้ายของภาษีนั้นตกอยู่กับผู้บริโภคสินค้านั้น หรือบริษัทที่จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลต่างๆ โดยการขึ้นราคาสินค้าที่ตนผลิตออกจำหน่าย หรือลดค่าจ้างที่ควรจ่ายให้แก่พนักงาน [สิ่งแวดล้อม] | Loading Factor | สัดส่วนภาระ, Example: อัตราส่วนระหว่างค่าเฉลี่ยของภาระกับภาระสูง สุดในช่วงเวลาหนึ่ง [สิ่งแวดล้อม] | Loading Rate | อัตราภาระ, Example: อัตราการป้อนปริมาณสารมลพิษเข้าระบบ [สิ่งแวดล้อม] | Organic Loading Rate | อัตราภาระอินทรีย์, Example: อัตราการป้อนสารอินทรีย์ต่อขนาดระบบบำบัด มีหน่วยเป็น กก./ม3-วัน หรือ กก./ม2-วัน [สิ่งแวดล้อม] | Ambassador | เอกอัครราชทูต - Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary : เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม หมายถึง เอกอัครราชทูตที่รัฐผู้ส่งแต่งตั้งไปยังรัฐผู้รับ โดยมอบหมายอำนาจให้ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนของรัฐผู้ส่ง ในกรณีที่เอกอัครราชทูตมิได้มีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้รับ เรียกว่า Non-resident Ambassador - Ambassador-Designate : ว่าที่เอกอัครราชทูตประจำรัฐผู้รับ หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต แต่ยังมิได้ยื่นสาส์นตราตั้งต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ - Ambassador-at-Large : เอกอัครราชทูตผู้แทนพิเศษ หมายถึง ผู้แทนพิเศษของกระทรวงการต่างประเทศที่มีสิทธิและสถานะเทียบเท่าเอกอัคร ราชทูตผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลงานและกิจการเฉพาะกิจ หรือเฉพาะเรื่องในต่างประเทศเป็นครั้งคราว - Ambassador attached to the Ministry of Foreign Affairs : เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ หมายถึง บุคคล ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต มีภารกิจดูแลกิจการภายในของกระทรวงการต่างประเทศ ตามที่ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงการต่างประเทศ - Resident Ambassador : เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทย หมายถึง เอกอัครราชทูตของไทยที่ได้รับการแต่งตั้งให้ประจำต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ แต่ยังคงมีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้ส่ง เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทยนี้ จะเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในรัฐผู้รับเป็นครั้งคราว [การทูต] | Amnesty International | องค์การนิรโทษกรรมสากล องค์การนี้เริ่มต้นจากเป็นขบวนการเล็ก ๆ ก่อน เพื่อทำหน้าที่ประท้วง (Protest) แต่ภายในเวลาไม่นานนัก ได้ขยายตัวออกเป็นองค์การ เพื่อให้สมกับเป้าหมายและภารกิจที่ต้องปฏิบัติเพิ่มขึ้นมากมาย คติดั้งเดิมของการรณรงค์ระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนบรรดาบุคคลที่ต้องถูกคุม ขังอยู่ทั่วโลก ด้วยข้อหาเกี่ยวกับความเชื่อถือทางการเมืองและการศาสนานั้น ได้บังเกิดจากความคิดของบุคคลหนึ่งชื่อปีเตอร์ เบเนนสันปีเตอร์ เบเนนสัน ได้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ประจำวันอาทิตย์ของอังกฤษชื่อ Sunday Observer เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1961 โดยให้หัวเรื่องบทความว่า ?นักโทษที่ถูกลืม? (The Forgotten Prisoners) บทความนี้ได้ประทับใจมติมหาชนทั่วโลกทันที และภายในปีเดียว องค์การได้รับเรื่องร้องเรียนในนามของนักโทษกว่า 200 รายองค์การนิรโทษกรรมสากลมีเป้าหมายนโยบายกว้างๆ อยู่ 3 ข้อ คือ ต้องการให้ปล่อยนักโทษผู้มีนโนธรรม (Prisoners of Conscience) ทั้งหมด ให้มีการยุติการทรมานนักโทษไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ รวมทั้งการลงโทษประหารชีวิตและให้มีการพิจารณาพิพากษาคดีนักโทษการเมืองทั้ง หมดอย่างเป็นธรรมและไม่รอช้า องค์การนี้นอกจากจะมีชื่อเสียงว่าเป็นผู้ดำรงความเป็นกลางไม่เข้ากับฝ่ายใด และเป็นที่น่าเชื่อถือไว้วางใจได้อย่างแท้จริงแล้ว ยังเป็นเสมือนศูนย์ข้อมูลและข้อสนเทศที่สำคัญ ซึ่งบรรดาบุคคลสำคัญๆ ทางการเมืองทั่วโลกได้ใช้อ้างอิงอีกด้วยในปัจจุบัน องค์การนิรโทษกรรมมีสมาชิกและผู้สนับสนุนเป็นจำนวนกว่า 1 ล้านคน จากประเทศต่างๆ กว่า 150 ประเทศ องค์การอยู่ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการบริหารจำนวน 9 คน รวมทั้งตัวเลขาธิการอีกผู้หนึ่ง ทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อมติเกี่ยวกับนโยบาย และเป็นหัวหน้าของสำนักเลขาธิการขององค์การด้วย มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ องค์การมีผู้แทนของตนประจำอยู่กับองค์การสหประชาชาติ เมื่อปี ค.ศ. 1978 ได้รับรางวัลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ และในปี ค.ศ. 1977 ก็ได้รับรางวัลสันติภาพโนเบลมาแล้ว [การทูต] | Commencement of the Functions of the Head of Diplomatic Mission | การเริ่มต้นรับหน้าที่ของหัวหน้าคณะผู้แทนทางการ ทูต กล่าวคือ เมื่อหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตเดินทางไปถึงนครหลวงของประเทศผู้รับแล้ว ควรรีบแจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทราบว่า ตนได้เดินทางมาถึงแล้วและขอนัดเยี่ยมคารวะ ตามปกติกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นหน้าที่ของอธิบดีกรมพิธีการทูตจะดำเนินการตระเตรียมให้หัวหน้าคณะ ผู้แทนทางการทูตได้เข้ายื่นสารตราตั้งต่อไประหว่างนั้น หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตจะต้องไม่ไปพบเยี่ยมผู้ใดเป็นทางการ จนกว่าจะได้ยื่นสารตราตั้งเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ดี หัวหน้าคณะผู้แทนอาจขอพบเป็นการภายในกับหัวหน้าของคณะทูตานุทูต (Dean หรือ Doyen of the Diplomatic Corps) ได้ เพื่อขอทราบพิธีการปฏิบัติในการเข้ายื่นสารตราตั้งต่อประมุขของประเทศผู้รับ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนา ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 13 ว่า1. พึงถือได้ว่าหัวหน้าคณะผู้แทนได้เข้ารับภารกิจหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ เมื่อตนได้ยื่นสารตราตั้งหรือเมื่อตนได้บอกกล่าวการมาถึงของตน พร้อมทั้งได้เสนอสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้งต่อกระทรวงการต่างประเทศของ รัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกันในแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในรัฐผู้รับ ซึ่งจะต้องใช้ในทำนองอันเป็นเอกรูป2. ลำดับของการยื่นสารตราตั้ง หรือสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้ง จะได้พิจารณากำหนดตามวันและเวลาของการมาถึงของหัวหน้าคณะผู้แทน [การทูต] | comprehensive plan of action | แผนปฏิบัติการที่สมบูรณ์แบบ เป็นแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยอย่างสมบูรณ์ โดยความร่วมมือระหว่างประเทศต้นเหตุ ประเทศที่ต้องแบกรับภาระ สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ และประเทศที่ให้ความช่วยเหลือ แผนปฏิบัติการที่สมบูรณ์แบบนี้เป็นการแก้ไขปัญหาแบบครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการป้องกันปัญหา การให้ความช่วยเหลือผู้หนีภัย โดยจัดที่พักพิงชั่วคราวตามหลักมนุษยธรรม การส่งตัวกลับเมื่อสถานการณ์ในประเทศต้นเหตุกลับคืนสู่สภาพปกติแล้ว และการหาที่พักพิงให้แก่ผู้หนีภัยในประทศที่สาม [การทูต] | Congress of Vienna | เป็นการประชุมระหว่างประเทศที่สำคัญในยุโรป ได้จัดให้มีขึ้นหลังจากเสร็จสงครามนโปเลียน (กันยายน ค.ศ. 1814 ? มิถุนายน ค.ศ. 1815) ประเทศที่ร่วมการประชุมมี ออสเตรีย อังกฤษ ฝรั่งเศส รัฐสันตะปาปา ปรัสเซีย และรัสเซีย ภาระหน้าที่สำคัญของการประชุม คือ การปักปันเขตแดนกันใหม่ และจัดให้ราชวงศ์เก่าแก่กลับฟื้นคืนมาใหม่ ทั้งในประเทศฝรั่งเศส สเปน อิตาลี และเยอรมนี สหภาพแห่งนอร์เวย์ และสวีเดน สหภาพแห่งเบลเยี่ยม และฮอลแลนด์ พร้อมทั้งกำหนดให้สวิตเซอร์แลนด์ มีฐานะเป็นประเทศเป็นกลางถ้ามองในแง่การทูต ผลสำเร็จสำคัญที่สุดจากการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาคือ ข้อมติกำหนดลำดับอาวุโสของคณะผู้แทนทางการทูต โดยถือหลักอาวุโสไม่ว่าในตำแหน่งใด แทนที่จะถือตามสถานภาพและความสำคัญของกษัตริย์อย่างแต่ก่อน รวมทั้งจัดประเภทของนักการทูต ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท (ตามระเบียบที่วางขึ้นใหม่ต่อมาในการประชุม ณ Aix-la-Chapelle ได้แก่1) เอกอัครราชทูต (Ambassadors) ตัวแทนขององค์สมเด็จพระสันตะปาปา (Papal legates) และหัวหน้าคณะทูตของสมเด็จพระสันตะปาปา (Papal Nuncios)2) ผู้แทนทางการทูตผู้มีอำนาจพิเศษ (Envoys Extra-ordinary) และเอกอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม (Ministers Plenipotentiary) อินเตอร์นันสิโอของสมเด็จพระสันตะปาปา3) อัครราชทูตผู้มีถิ่นประจำ (Ministers Resident)4) อุปทูต (Chargé d?affaires)คองเกรสแห่งเวียนนายังวางระเบียบเกี่ยวกับเรื่องการจัดลำดับ อาวุโสของบุคคลในคณะทูต ซึ่งชาติต่าง ๆ ได้ลงนามรับรองในสนธิสัญญาพาหุภาคีเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว [การทูต] | Consul | ข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งอย่างถูกต้องและได้รับ มอบหมายให้ไปประจำยังต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประเทศทั้งในด้าน พาณิชย์ การเดินเรือ คุ้มครองความเป็นอยู่อันดีของพลเมืองของประเทศตน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่บางอย่างด้านธุรการ หรือวางระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ ตลอดจนด้านการเป็นสักขีพยานการลงนามในเอกสาร เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทางกฎหมาย (Notary) การให้การตรวจลงตรา รวมทั้งการรับรองเอกสารที่แท้จริง (มิใช่เอกสารปลอม) และจัดการการสัตย์สาบานตนหรืออีกนัยหนึ่ง ภาระหน้าที่ของกงสุลอาจแบ่งออกได้เป็น 5 ประการ ดังต่อไปนี้1 ทำหน้าที่ส่งเสริมผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ของประเทศที่ตนเป็นผู้แทนอยู่2 ควบคุมดูแลผลประโยชน์ด้านการเดินเรือ3 คุ้มครองผลประโยชน์ของคนชาติของประเทศที่แต่งตั้งให้ตนไปประจำอยู่4 ทำหน้าที่สักขีพยานในการลงนามในเอกสารเพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทาง กฎหมาย5 ทำหน้าที่ธุรการเบ็ดเตล็ดอื่นๆ หรือระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ เช่น การออกหนังสือเดินทาง การให้การตรวจลงตรา (Visas) การจดทะเบียนคนเกิด คนตาย ฯลฯอนุสัญญากรุงเวียนนา ภาคที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลข้อที่ 5 ได้กำหนดภาระหน้าที่ของฝ่ายกงสุลไว้ดังต่อไปนี้ ก. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง และของคนในชาติของรัฐผู้ส่ง ทั้งเอกชนและบรรษัทในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตข. เพิ่มพูนการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาการ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกันในทางอื่น ตามบทแห่งอนุสัญญานี้ค. สืบเสาะให้แน่โดยวิถีทางทั้งปวงอันชอบด้วยกฎหมายถึงภาวะและความคลี่คลายใน ทางพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและวิทยาการของรัฐผู้รับ แล้วรายงานผลของการนั้นไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่ง และให้ข้อสนเทศแก่บุคคลที่สนใจง. ออกหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทางให้แก่คนในชาติของรัฐผู้ส่ง ตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่งจ. ช่วยเหลือคนในชาติของรัฐผู้ส่งทั้งเอกชนและบรรษัทฉ. ทำหน้าที่นิติกรและนายทะเบียนราษฎร์ และในฐานะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ปฏิบัติการหน้าที่บางประการอันมีสภาพทางธุรการ หากว่าการหน้าที่นั้นไม่ขัดกับกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับช. พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ และบุคคลไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง ภายในขีดจำกัดที่ได้ตั้งบังคับไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องมีความปกครองหรือภาวะทรัสตีใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลเหล่านั้นฌ. แทนคนชาติของรัฐผู้ส่ง หรือจัดให้มีการแทนอย่างเหมาะสมในองค์กรตุลาการ และต่อเจ้าหน้าที่ที่อื่นของรัฐผู้รับ เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มา ซึ่งมาตรการชั่วคราวสำหรับการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของคนในชาติเหล่านี้ ไว้ตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ ในกรณีที่คนในชาติเหล่านี้ไม่สามารถเข้าทำการป้องกันสิทธิและผลประโยชน์ของ ตนในเวลาอันเหมาะสมได้ เพราะเหตุของการไม่อยู่หรือเหตุอื่นใด ทั้งนี้ ให้อยู่ภายในข้อบังคับแห่งทางปฏิบัติ และวิธีดำเนินการซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับญ. ส่งเอกสารทางศาล หรือเอกสารที่มิใช่ทางศาล หรือปฏิบัติตาม หนังสือของศาลของรัฐผู้ส่งที่ขอให้สืบประเด็น หรือตามการมอบหมายให้สืบพยานให้แก่ศาลของรัฐผู้ส่งนั้น ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ใช้บังคับอยู่ หรือเมื่อไม่มีความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่านั้น โดยทำนองอื่นใดที่ต้องด้วยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับด. ใช้สิทธิควบคุมดูแลและตรวจพินิจตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของ รัฐผู้ส่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับเรือที่มีสัญชาติของของรัฐผู้ส่ง หรืออากาศยานที่จดทะเบียนในรัฐนั้น รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับลูกเรือของเรือและอากาศยานดังกล่าวต. ให้ความช่วยเหลือแก่เรือและอากาศยานที่ระบุไว้ในอนุวรรค (ด) ของข้อนี้ รวมทั้งลูกเรือของเรือและอากาศยานนั้น บันทึกถ้อยคำเกี่ยวกับการเดินทางของเรือ ตรวจดูและประทับตรากระดาษเอกสารของเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใด ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างนายเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใดๆ ที่ได้เกิดขั้นในระหว่างนายเรือ เจ้าพนักงาน และกะลาสี ตราบเท่าที่การนี้อาจได้อนุมัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง ทั้งนี้ จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับถ. ปฏิบัติการหน้าที่อื่นใดที่รัฐผู้ส่งมอบหมายแก่สถานีทำการทางกงสุล ซึ่งมิได้ต้องห้ามโดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ หรือซึ่งไม่มีการแสดงข้อคัดค้านโดยรัฐผู้รับ หรือซึ่งมีอ้างถึงไว้ในความตกลงระหว่างประเทศ ที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับ [การทูต] | Consular Fees and Charges | ค่าธรรมเนียมและค่าภาระทางกงสุล ตามข้อ 39 ของอนุสัญญากรุงเวียนนา ได้กำหนดไว้ว่า1. สถานที่ทำการทางกงสุล อาจเรียกเก็บในอาณาเขตของรัฐผู้รับ สำหรับการปฏิบัติงานทางกงสุลซึ่งค่าธรรมเนียม ค่าภาระตามที่ได้บัญญัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง2. จำนวนเงินที่เก็บได้ในรูปค่าธรรมเนียมและค่าภาระตามที่อ้างถึงในวรรค 1 ของข้อนี้ ใบรับสำหรับค่าธรรมเนียมหรือค่าภาระเช่นว่านั้น จะได้รับยกเว้นจากค่าติดพันและภาษีทั้งปวงในรัฐผู้รับ [การทูต] | Consular Office | บุคคลรวมทั้งหัวหน้าของที่ทำการทางกงสุล ซี่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานในฐานะกงสุลโดยได้รับ ภาระหน้าที่ทางกงสุล เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลมีอยู่ 2 ประเภทคือ 1. เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลอาชีพ (Career Consular Office)2. เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลกิตติมศักดิ์ (Honorary Consular Office) [การทูต] | Diplomatic Pouch | ถุงเมล์ทางการทูตที่บรรจุหนังสือโต้ตอบทางราชการ ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาล กับสถานเอกอัครราชทูตต่าง ๆ ใน ต่างประเทศ ถุงเมล์ทูตจะถูกปิดประทับตราของทางราชการ และผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ แม้แต่เจ้าหน้าที่ศุลกากรก็ขอตรวจไม่ได้ คือได้รับการละเว้นจากการแทรกแซงใด ๆ ทั้งสิ้นเรื่องถุงเมล์ทางการทูตนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ว่า?1. ในรัฐผู้รับจะอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ทั้งมวลในการติดต่อกับคณะรัฐบาลและกับคณะผู้แทน และสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่งไม่ว่าตั้งอยู่ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางเหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้สื่อสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการทูตของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการทูตหมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงเมล์ทางการทูตจะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูตจะต้องมีเครื่องหมายติดไว้ภายนอกที่เห็น ชัดเจน แสดงลักษณะของถุงทางการทูตและอาจบรรจุเอกสารหรือสิ่งของทางการทูต ซึ่งได้เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่านั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการ แสดงสถานภาพของตนและจำนวนหีบห่อ ซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ และจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ในกรณีที่ ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการ แสดงจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุง แต่ไม่ให้ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางการทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรงและโดย เสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน?คำว่าถุงทางการทูตนี้ กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษเรียกว่า ?Diplomatic bag? ส่วนในภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า ?Valise Diplomatique? [การทูต] | Diplomatic Privilege of Accommodation | มาตรา 21 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตบัญญัติไว้ว่า ?1. รัฐผู้ต้อนรับจะต้องอำนวยความสะดวกตามบทกฎหมายของประเทศของตน ในการจัดการให้ได้มาซึ่งดินแดนของตนให้แก่รัฐผู้ส่ง ซึ่งจำเป็นแก่การปฏิบัติภาระหน้าที่ของรัฐนั้น หรือช่วยเหลือให้รัฐผู้ส่งได้รับอาคารที่พำนักด้วยวิธีการหนึ่งใด 2. ในกรณีจำเป็น รัฐผู้รับจะต้องช่วยให้คณะเจ้าหน้าที่ทางการทูต ได้มีสถานที่อยู่อาศัยอย่างเหมาะสม?เมื่อตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่ง ตั้งได้เดินทางไปถึงประเทศที่เขาจะเข้าดำรงตำแหน่ง ซึ่ง ณ ที่นั้นมีคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลของเขาประจำทำงานอยู่แล้ว ตามปกติตัวแทนทูตดังกล่าวจะมีสำนักงานทางการทูตตั้งอยู่แล้วในสถานที่เหมาะ สม มีอุปกรณ์เครื่องใช้ไม้สอยสำหรับการปฏิบัติงานโดยครบครัน และผู้ที่ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าเขาหรืออุปทูตชั่วคราวมักจะเตรียมการไว้ก่อน แล้วเกี่ยวกับที่พักอาศัย เรียกว่าทำเนียบ นอกจากว่าจะมีทำเนียบตั้งอยู่ภายในบริเวณตึกสถานเอกอัครราชทูตซึ่งรัฐบาลของ เขาเป็นเจ้าของเองแต่ถ้าหากตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งใหม่ จะต้องตั้งคณะผู้แทนทางการทูตในประเทศที่เขาเข้าดำรงตำแหน่งเป็นครั้งแรก ก็จะต้องประสบกับปัญหาเรื่องหาสถานที่สำหรับใช้เป็นที่ตั้งสถานเอกอัคร ราชทูตขึ้น ในกรณีเช่นนี้จึงจำเป็นจะต้องอาศัยคำแนะนำและความช่วยเหลือจากกระทรวงการ ต่างประเทศของรัฐผู้รับ กระทรวงการต่างประเทศของบางประเทศจะมีแผนกหนึ่งทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกแก่คณะทูตต่างประเทศโดยเฉพาะ เป็นแผนกหนึ่งในกรมพิธีการทูต ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องทำนองนี้อยู่แล้ว [การทูต] | Duration of Diplomatic Privileges and Immunities | ระยะเวลาของการอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทาง การทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตราที่ 39 ว่า?1. บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน ที่จะได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันนั้นตั้งแต่ขณะที่บุคคลนั้นเข้ามาใน อาณาเขตของรัฐผู้รับในการเดินทางไปรับตำแหน่งของตน หรือถ้าอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับแล้ว ตั้งแต่ขณะที่ได้บอกกล่าวการแต่งตั้งของตนต่อกระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน 2. เมื่อภารกิจหน้าที่ของบุคคล ซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันยุติลง เอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามปกติให้สิ้นสุดลงขณะที่บุคคลนั้นออกไปจากประเทศ หรือเมื่อสิ้นกำหนดอันสมควรที่จะทำเช่นนั้น แต่จะยังมีอยู่จนกระทั่งเวลานั้น แม้ในกรณีของการขัดแย้งด้วยอาวุธ อย่างไรก็ดี ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปโดยบุคคลเช่นว่านั้น ในการปฏิบัติการหน้าที่ของตนในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน ความคุ้มกันนั้นให้มีอยู่สืบไป 3. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามีสิทธิที่จะได้สืบไป จนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป 4. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นอยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว รัฐผู้รับสามารถอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่การส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดก และการรับมรดกนั้น ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับเพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่เพียงถ่ายเดียวของผู้วายชนม์ ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน หรือในฐานะเป็นคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน? [การทูต] | Exemption from Customs Duties and Inspection of Diplomatic Mission?s Articles | การยกเว้นจากอากรศุลกากร และการตรวจสิ่งของเครื่องใช้ของคณะผู้แทนทางการทูต การยกเว้นดังกล่าวนี้ไม่ถือว่าเป็นสิทธิ แต่เป็นเรื่องของการแสดงอัธยาศัยไมตรีระหว่งประเทศที่ให้ต่อกันมากกว่า กฎหมายระหว่างประเทศก็มิได้กำหนดพันธะที่จะต้องให้การยกเว้นจากอากรศุลกากร อย่างไรก็ดี รัฐส่วนมากได้แสดงอัธยาศัยไมตรีโดยให้ผู้แทนทางการทูตได้รับการยกเว้นอากร ศุลกากรแก่สินค้าและเครื่องใช้ที่นำเข้ามาใช้ในส่วนตัวเองอนุสัญญากรุง เวียนนาได้ระบุไว้ในมาตรที่ 36 ว่า1. รัฐผู้รับจะอนุญาตให้นำเข้าและอำนวยให้มีการยกเว้นจากอากรศุลกากร ภาษี ตลอดจนค่าภาระที่เกี่ยวข้องทั้งมวล นอกจากค่าภาระในการเก็บรักษา การขนส่งและบริการ ให้ทำนองเดียวกันตามกฎหมายหรือข้อบังคับ ซึ่งรัฐผู้รับอาจกำหนดไว้แก่ก. สิ่งของสำหรับใช้ในทางการของคณะผู้แทนข. สิ่งของสำหรับใช้ส่วนบุคคลของตัวแทนทางการทูต หรือคนในครอบครัวของตัวแทนทางการทูต ซึ่งประกอบเป็นส่วนครัวเรือนของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสิ่งของที่แสดงเจตนาสำหรับการตั้งถิ่นฐานของตัวแทนทางการทูตด้วย2. หีบห่อส่วนบุคคลของตัวแทนทางการทูต ให้ได้รับยกเว้นจากการตรวจตรา นอกจากมีมูลเหตุอันร้ายแรงที่ทำให้สันนิษฐานได้ว่า หีบห่อส่วนตัวนั้นบรรจุสิ่งของซึ่งไม่อยู่ในข่ายแห่งการยกเว้นที่ได้ระบุไว้ ในวรรค 1 ของข้อนี้ หรือสิ่งของซึ่งการนำเข้าหรือส่งออกนั้นต้องห้ามทางกฎหมาย หรือถูกควบคุมตามข้อบังคับว่าด้วยการกักตรวจโรคของรัฐผู้รับ การตรวจตราเช่นว่านี้ให้กระทำต่อหน้าตัวแทนทางการทูต หรือต่อหน้าผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจของตัวแทนทางการทูตเท่านั้น [การทูต] | Exemption from Taxation of Diplomatic Agent | การยกเว้นภาษีอากรให้แก่ตัวแทนทางการทูต ในเรื่องนี้ข้อ 34 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ให้ตัวแทนทางการทูตได้รับยกเว้นจากภาระผูกพันและภาษีทั้ง ปวงของชาติท้องถิ่นหรือเทศบาล ในส่วนบุคคลหรือในทรัพย์สิน เว้นแต่ก. ภาษีทางอ้อม ชนิดที่ตามปกติรวมอยู่ในราคาของสินค้าหรือบริการแล้วข. ภาระผูกพันและภาษีจากอสังหาริมทรัพย์ส่วนตัว ซึ่งตั้งอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับ นอกจากว่า ตัวแทนทางการทูตครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นไว้ในนามของรัฐผู้ส่ง เพื่อความมุ่งประสงค์ของคณะผู้แทนค. อากรกองมรดก การสืบมรดก หรือการรับมรดก ซึ่งรัฐผู้รับเรียกเก็บภายในบังคับแห่งบทของวรรค 4 ข้อ 39 ง. ภาระผูกพันและภาษีจากเงินได้ส่วนตัว ซึ่งมีแหล่งกำเนิดในรัฐผู้รับ และภาษีเก็บจากเงินทุนซึ่งได้ลงทุนในการประกอบการพาณิชย์ในรัฐผู้รับจ. ค่าภาระซึ่งเรียกเก็บสำหรับบริการจำเพาะที่ได้ให้ฉ. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน ค่าธรรมเนียมศาล หรือสำนวนความ ภาระผูกพันในการจำนอง และอากรแสตมป์ในส่วนที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ภายในบังคับแห่งบทของข้อ 23?นอกจากนี้ ข้อ 35 ของอนุสัญญากรุงเวียนนายังได้บัญญัติไว้ด้วยว่า ?ให้รัฐผู้รับให้ตัวแทนทางการทูตได้รับการยกเว้นจากการบริการส่วนบุคคลทั้ง มวล จากบริการส่วนสาธารณะทั้งมวล และจากข้อผูกพันทางทหาร เช่น ส่วนที่เกี่ยวกับการเรียกเกณฑ์ ส่วนบำรุง หรือเรียกคืนที่พักอาศัยเพื่อปฏิบัติการทางทหาร? [การทูต] | exactions | ข้อเรียกบังคับ หรือภาระเรียกบังคับ ใช้ในเรื่องของการเรียกเก็บภาษี [การทูต] | Exercise by Diplomatic Missions of Consular functions | การปฏิบัติหน้าที่กงสุลโดยคณะผู้แทนทางการทูต ตามข้อ 70 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ได้บัญญัติไว้ว่า1. บทของอนุสัญญานี้ใช้แก่ปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลโดยคณะผู้แทนทางการทูตด้วย เท่าที่บริบทจะอำนวยให้2. ชื่อของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานในแผนกกงสุล หรือมิฉะนั้นได้รับภาระให้ปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลของคณะผู้แทนนั้น จะต้องแจ้งไปยังกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่กระทรวงนั้นที่แต่งตั้งไว้3. ในการปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุล คณะผู้แทนทางการทูตอาจติดต่อกับก. เจ้าหน้าที่ท้องที่ของเขตกงสุลนั้นข. เจ้าหน้าที่ส่วนกลางของรัฐผู้รับ ถ้าหากกระทำได้ตามกฎหมาย ข้อบังคับ และจารีตประเพณีของรัฐผู้รับ หรือตามความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง4. เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูตที่อ้างถึงในวรรค 2 ของข้อนี้ จะยังคงอยู่ในบังคับแห่งกฎเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับความ สัมพันธ์ทางการทูต [การทูต] | Freedom of Communication | เสรีภาพในการติดต่อและสื่อสาร ถือเป็นสิทธิทางกฎหมาย (ไม่ใช่เพียงเอกสิทธิ์เท่านั้น) ที่สำคัญอันหนึ่งของนักการทูตย่อมจะเห็นได้ชัดว่า คณะทูต จะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างพึงพอใจ นอกจากจะมีอิสระอย่างสมบูรณ์ในการที่จะมีหนังสือหรือวิถีทางอื่นๆ เพื่อติดต่อกับรัฐบาลของตน หรือจะส่งและรับจดหมาย หรือหนังสือต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่ถือสารพิเศษ หรือโดยถุงทางการทูต (Diplomatic pouch) สำหรับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ดังนี้?1. ให้รัฐผู้รับอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ในทางการทั้งมวลเพื่อการติดต่อกับรัฐบาล และกับคณะผู้แทนและสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่ง ไม่ว่าตั้งอยู่ ณ ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางที่เหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้ถือสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการ หมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงทางการทูต (Diplomatic Pouch) จะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูต จะต้องมีเครื่องหมายภายนอกที่เห็นได้ชัดเจน สามารถแสดงลักษณะของถุงทางการทูต ซึ่งอาจบรรจุเพียงเอกสารหรือสิ่งของทางการทูตที่เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่า นั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการแสดงสถานภาพของตน และจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ส่วนบุคคลจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ ในกรณีที่ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการแสดงจำนวนหีบห่อซึ่ง รวมเป็นถุง แต่ไม่ใช่ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรง และโดยเสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน? [การทูต] | Functions of Diplomatic Mission | ภาระหน้าที่ต่าง ๆ ของคณะผู้แทนทางการทูต หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง หน้าที่ที่ปฏิบัติเป็นประจำของผู้แทนทางการทูตนั้น ได้แก่ หน้าที่การเจรจา การสังเกต และการคุ้มครอง อย่างไรก็ดี มีบางประเทศได้มอบอำนาจให้ผู้แทนทางการทูตของตนปฏิบัติหน้าที่ทางกงสุล และกิจกรรมเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ ด้วย ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสำคัญใด ๆ กับการทูตเลยเกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติไว้ในมาตรา 3 ว่า1. นอกจากประการอื่นแล้ว การหน้าที่ของคณะผู้แทนทางการทูตประกอบด้วยก. ทำหน้าที่แทนรัฐผู้ส่งในรัฐผู้รับข. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่งและของคนชาติของรัฐผู้ส่งในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดอันกฎหมายระหว่างประเทศได้อนุญาตให้ค. เจรจากับรัฐบาลของรัฐผู้รับง. สืบเสาะให้แน่ด้วยวิถีทางทั้งมวลอันชอบด้วยกฎหมายถึงสถาวะและพัฒนาการในรัฐ ผู้รับ แล้วรายงานไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่งจ. ส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ ตลอดจนพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ2. ไม่มีข้อความในอนุสัญญานี้ ที่จะหมายความได้ว่าเป็นการห้ามไม่ให้คณะผู้แทนทางการทูตปฏิบัติหน้าที่ทางกงสุล [การทูต] | Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] | International Force in East Timor | กองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออก จัดตั้งขึ้นตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1264 (1999) เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2542 มีภารกิจหลัก 3 ประการ คือ ฟื้นฟูสันติภาพและเสถียรภาพในติมอร์ตะวันออก ป้องกันและสนับสนุนงานของเจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติ และอำนวยความสะดวกในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม กองกำลังนานาชาติปฏิบัติหน้าที่ในติมอร์ตะวันออกจนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 [การทูต] | Marshall Plan | แผนการมาร์แชล ในโอกาสวันประสาทปริญญาของนักศึกษามหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ดในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1947 ยอร์ช ซี.มาร์แชล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ สมัยนั้น ได้กล่าวอยู่ตอนหนึ่งในสุนทรพจน์ว่า?สหรัฐอเมริกาควรจะทำทุกอย่างเท่าที่จะ สามารถกระทำได้ เพื่อช่วยให้ดินแดนต่าง ๆ ในโลกได้กลับคืนสู่ภาวะปกติทางเศรษฐกิจ เพราะหากปราศจากภาวะดังกล่าว โลกก็จะไม่มีเสถียรภาพที่สถาพร นโยบายของสหรัฐฯ มิได้มุ่งจะเป็นปฏิปักษ์ต่อประเทศใดหรือลัทธิใด หากมุ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อความหิวโหย ความยากจน ความสิ้นหวัง และความยุ่งเหยิง การที่จะให้สหรัฐอเมริการับภาระในการจัดวางโครงการแต่ฝ่ายเดียว เพื่อช่วยให้ทวีปยุโรปสามารถช่วยตนเองทางเศรษฐกิจขึ้นใหม่ นับว่ายังไม่เหมาะสมและถูกต้องนัก ควรจะให้เป็นภาระหน้าที่ของชนชาวยุโรปทั้งหลายเอง บทบาทของสหรัฐฯ ควรจะเป็นเพียงผู้เสนอให้ความความช่วยเหลือฉันมิตร ในการร่างโครงการช่วยเหลือทวีปยุโรป และให้ความสนับสนุนแก่โครงการนั้น ตราบที่โอกาสจะเอื้ออำนวยต่อการกระทำเช่นนั้นได้?จากสุนทรพจน์ข้างต้น พอจะเข้าใจจุดประสงค์สำคัญของสหรัฐอเมริกาได้ไม่ยากว่า ไม่ต้องการให้ทวีปยุโรป ซึ่งกำลังอ่อนแอโดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจหลังจากเสร็จสงครามใหม่ ๆ ต้องตกไปอยู่ใต้อำนาจครอบงำของฝ่ายคอมมิวนิสต์นั่นเอง [การทูต] | New World Order | ระเบียบใหม่ของโลก คำนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับอดีตประธานาธิบดียอร์ช บุช และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางใจสมัยหลังจากที่ประเทศอิรักได้ใช้กำลัง ทหารรุกรานประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 กล่าวคือ ประธานาธิบดียอร์ช บุช มีความวิตกห่วงใยว่า การที่สหรัฐอเมริกาแสดงปฏิกิริยาต่อการรุกรานของอิรักนี้ ไม่ควรจะให้โลกมองไปในแง่ที่ว่า เป็นการปฏิบัติการของสหรัฐแต่ฝ่ายเดียวหากควรจะมองว่าเป็นเรื่องของหลักความ มั่นคงร่วมกัน (Collective Security ) ที่นำออกมาใช้ใหม่ในสมัยหลังสงครามเย็นในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาร่วมทั้ง สองของรัฐสภาอเมริกันเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีบุชได้วางหลักการง่าย ๆ 5 ข้อ ซึ่งประกอบเป็นโครงร่างของระเบียบใหม่ของโลก ตามระเบียบใหม่ของโลกนี้ โลกจะปลอดพ้นมากขึ้นจากการขู่เข็ญหรือการก่อการร้าย ให้ใช้มาตรการที่เข้มแข็งในการแสวงความยุติธรรม ตลอดจนให้บังเกิดความมั่นคงยิ่งขึ้นในการแสวงสันติสุข ซึ่งจะเป็นยุคที่ประชาชาติทั้งหลายในโลก ไม่ว่าจะอยู่ในภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคเหนือหรือภาคใต้ ต่างมีโอกาสเจริญรุ่งเรืองและมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวแม้ว่า ระเบียบใหม่ของโลก ดูจะยังไม่หลุดพ้นจากความคิดขั้นหลักการมาเป็นขั้นปฏิบัติอย่างจริงจังก็ตาม แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า อย่างน้อยก็เป็นการส่อให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง ประเทศใหญ่ ๆ ทั้งหลายให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศมีฐานะเข้มแข็งขึ้น และให้กฎหมายระหว่างประเทศมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ต่อมา เหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในด้านการเมืองของโลกระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1991 ทำให้หลายคนเชื่อกันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังผันไปสู่หัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ กล่าวคือ ความล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปภาคตะวันออก อวสานของสหภาพโซเวียตในฐานะประเทศอภิมหาอำนาจ การยุติของกติกาสัญญาวอร์ซอว์และสงครามเย็น การรวมเยอรมนีเข้าเป็นประเทศเดียว และการสิ้นสุดของลัทธิอะพาไทด์ในแอฟริกาใต้ (คือลัทธิกีดกันและแบ่งแยกผิว) เหล่านี้ทำให้เกิด ?ศักราชใหม่? ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า บรรดาประเทศต่าง ๆ บัดนี้ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น องค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงมีศักยภาพสูงขึ้น กำลังทหารมีประโยชน์น้อยลง เสียงที่กำลังกล่าวขวัญกันหนาหูเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของโลกในขณะนี้ คือความพยายามที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาติใหม่ และปรับกลไกเกี่ยวกับรักษาความมั่นคงร่วมกันให้เข้มแข็งขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคง ควรจะเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ โดยจะให้สมาชิกที่มีอำนาจใช้สิทธิ์ยับยั้งนั้นได้แก่สมาชิกในรูปกลุ่มประเทศ (Blocs of States) แทนที่จะเป็นประเทศสมาชิกถาวร 5 ประเทศเช่นในปัจจุบันอย่างไรก็ดี การสงครามอ่าวเปอร์เซียถึงจะกระทำในนามของสหประชาชาติ แต่ฝ่ายที่รับหน้าที่มากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา แม่ว่าฝ่ายที่รับภาระทางการเงินมากที่สุดในการทำสงครามจะได้แก่ซาอุดิอาระ เบียและญี่ปุ่นก็ตาม ถึงแม้ว่าคติของระเบียบใหม่ของโลกจะผันต่อไปในรูปใดก็ดี สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ โลกจะยังคงต้องอาศัยพลังอำนาจ การเป็นผู้นำ และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อไปอยู่นั่นเอง [การทูต] | Persons Entitled to Diplomatic Privileges and Immunities | บุคคลทีมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้ม ครองกันทางการทูต มาตรา 37 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ว่า ?1. คนในครอบครัวของตัวแทนทางการทูต ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของตัวแทนทางการทูต ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ ให้ได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ระบุไวในข้อ 29 ถึง 36 2. บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและฝ่ายวิชาการของคณะผู้แทน รวมทั้งคนในครอบครัวของตน ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของตน ตามลำดับ ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ ให้ได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ระบุไว้ในข้อ 29 ถึง 35 เว้นแต่ว่าความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางแพ่งและทางปกครองของรัฐผู้รับ ที่ได้ระบุไว้ในวรรค 1 ของข้อ 31 นั้น ไม่ให้ขยายไปถึงการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปเกินภารกิจหน้าที่ของตน ให้บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและฝ่ายวิชาการได้อุปโภคเอกสิทธิ์ ที่ได้ระบุไว้ในข้อ 36 วรรค 1 ในส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งของที่ได้นำเข้าเมื่อเข้ารับหน้าที่ครั้งแรกด้วย 3. บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการของคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้ รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับให้ได้อุปโภคความคุ้มกัน ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติตามภารกิจหน้าที่ตน การยกเว้นจากค่าภาระผูกพันรวมทั้งภาษีสำหรับค่าบำเหน็จที่ตนได้รับโดยเหตุผล จากการรับจ้างของตน และการยกเว้นที่ได้บรรจุไว้ในข้อ 33 4. คนรับใช้ส่วนตัวของบุคคลในคณะผู้แทน ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ประจำในรัฐผู้รับ ให้ได้รับการยกเว้นจากค่าภาระผูกพัน หรือภาษีสำหรับค่าบำเหน็จที่เขาได้รับโดยเหตุผลจากการรับจ้างของตนในส่วน อื่น คนรับใช้ส่วนตัวเช่นว่านี้ อาจได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเท่าที่รัฐผู้รับยอมให้เท่านั้น อย่างไรก็ดี รัฐผู้รับต้องใช้อำนาจของตนเหนือบุคคลเช่นว่านี้ ในการที่จะไม่แทรกสอดโดยไม่สมควรในการปฏิบัติการหน้าที่ของคณะผู้แทน [การทูต] | Team Thailand | ทีมประเทศไทย หมายถึง รูปแบบของการทำงานที่เป็นเอกภาพของหน่วยราชการไทยในการปกป้อง รักษา และส่งเสริมผลประโยชน์ของไทยในต่างประเทศ ตลอดจนเพื่อช่วยประหยัดงบประมาณ ขจัดความซ้ำซ้อน ลดการทำงานที่ไม่จำเป็นให้หมดไป และช่วยให้มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานมากยิ่งขึ้น อันจะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพ และเพิ่มประสิทธิผลของการทำงาน แนวคิดเรื่องทีมประเทศไทยเป็นการสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการทำงานของหน่วยงานไทย ในต่างประเทศ โดยเน้นให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีภารกิจในต่างประเทศทำงานร่วมกัน อย่างมีเอกภาพ ไม่ซ้ำซ้อน มีทิศทางเดียวกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายร่วมกันบนพื้นฐานของแผน งานรวมที่เป็นเอกภาพ (unified work plan) มีสำนักงานที่เป็นเอกภาพ (unified structure) และมีกรอบการประสานงานที่เป็นเอกภาพ (unified command) โดยมีกระทรวงการต่างประเทศซึ่งรับผิดชอบภาพรวมของการดำเนินความสัมพันธ์กับ ต่างประเทศทำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมในการประสานงาน ทั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายการปฏิรูประบบราชการในต่างประเทศ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2541 [การทูต] | Termination of Mission of Diplomatic Agent | ภารกิจของผู้แทนทางการทูตหรือหัวหน้าคณะทูตจะสิ้น สุดลง 1. ระยะเวลาที่ผู้แทนทางการทูตได้รับแต่งตั้งให้ประจำอยู่ในประเทศผู้รับได้ครบ กำหนดตามวาระ2. เมื่อวัตถุประสงค์ของภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติได้สัมฤทธิผลเรียบ ร้อยแล้ว3. ถูกเรียกตัวกลับเนื่องจากต้องโยกย้ายไปที่อื่น หรือลาออก หรือเนื่องจากครบเกษียณอายุ4. ถูกเรียกตัวกลับเนื่องจากไม่เป็นที่พอใจของรัฐบาลของตน หรือกระทำตามคำขอร้องของรัฐบาลของประเทศผู้รับ ซึ่งเขาได้รับแต่งตั้งให้ประจำทำงานอยู่5. เนื่องจากการเสด็จสวรรคตของพระมหากษัตริย์ของประเทศตน หรือประเทศที่ตนได้รับแต่งตั้งให้ประจำทำงาน6. หากตัวเขาเองได้กระทำการอันเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศบางอย่าง หรือเนื่องจากเกิดเหตุการณ์บางอย่างที่คาดไม่ถึง และมีลักษณะร้ายแรงจริง ๆ ตัวเขาเองจะต้องรับผิดชอบในการตัดความสัมพันธ์7. เมื่อรัฐบาลผู้รับ ซึ่งตัวเขาได้รับแต่งตั้งให้ประจำทำงานอยู่นั้น แล้วจะด้วยเหตุผลอย่างใดก็ตาม ได้แจ้งให้เขาเดินทางออกไปจากประเทศในทันที โดยไม่ต้องระให้รัฐบาลของตนเรียกตัวกลับ8. เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งของผู้แทนทางการทูต ดังเช่น ได้รับเลื่อนตำแหน่งจากอัครราชทูตขึ้นเป็นเอกอัครราชทูต9. เนื่องจากเกิดสงครามขึ้นระหว่างรัฐทั้งสอง10. เนื่องจากถูกถอดจากตำแหน่ง หรือสละราชบัลลังก์ของประมุขของประเทศใดประเทศหนึ่ง 11. เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในประเทศใดประเทศหนึ่ง จากระบบพระมหากษัตริย์เป็นระบบสาธารณรัฐ หรือเป็นระบบสาธารณรัฐอันมีประมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้กฎหมาย12. เนื่องจากรัฐใดรัฐหนึ่งของทั้งสองรัฐต้องสูญสภาวะในการเป็นรัฐเหตุผลข้างต้น ทั้งหมดนี้ เป็นทรรศนะของเซอร์เออร์เนสท์ ซาทาว ซึ่งได้ให้ไว้ในหนังสือของท่าน ชื่อว่า ?A Guide to Diplomatic Practice? ฉบับเรียบเรียงใหม่ครั้งที่ 4 โดยเซอร์เนวิลล์ แบลนด์ [การทูต] | Termination of Consular Office | การยุติลงของการหน้าที่ทางการกงสุล กล่าวคือ หน้าที่ของหัวหน้าคณะในสถานที่ทำการทางกงสุลจะยุติลงเนื่องจาก 1. วายชนม์2. รัฐผู้ส่งเรียกตัวกลับ3. รัฐผู้รับเพิกถอนอนุมัติบัตร (Exequatur)4. การหน้าที่ของผู้นั้นได้ถึงกำหนดครบวาระหรือยุติลง5. เกิดสงครามระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับไม่เหมือนกับกรณีคณะผู้แทนทางการทูต สถานที่ทำการทางกงสุลนั้น ภาระหน้าที่จะไม่ยุติลงเนื่องจากมีการเปลี่ยนกษัตริย์หรือประธานาธิบดีของ รัฐผู้ส่งหรือรัฐผู้รับ ข้อ 25 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาบัญญัติไว้ว่า ?การหน้าที่ของบุคคลในสถานที่ทำการกงสุลจะยุติลงก) เมื่อรัฐผู้ส่งได้บอกกล่าวไปยังรัฐผู้รับว่า การหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวได้ยุติลงแล้วข) เมื่อมีการเพิกถอนอนุมัติบัตรค) เมื่อรัฐผู้รับได้บอกกล่าวไปยังรัฐผู้ส่งว่า รัฐผู้รับได้เลิกถือว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล [การทูต] | Load | น้ำหนักบรรทุก, โหลด ปริมาณ น้ำหนักบรรทุก บรรจุ ภาระ [พลังงาน] |
| You want to ruin my practice? | คุณต้องการจะทำลายภาระกิจผมใช่ไหม? Basic Instinct (1992) | Your practice? | ภาระกิจคุณ? Basic Instinct (1992) | Julie has enough to do as it is and all of her homework. | จูลี่มีภาระเยอะแล้ว รวมถึงการบ้านที่ต้องทำด้วย The Cement Garden (1993) | It's not fair to leave it all up to her. | คงไม่ยุติธรรมถ้าจะยกภาระทั้งหมดให้เธอ The Cement Garden (1993) | It's illegal to carry it, but-but that doesn't matter, 'cause get a load of this. | มันผิดกฎหมายที่จะดำเนินการ แต่ แต่ที่ไม่ได้เรื่องเพราะได้รับภาระนี้ Pulp Fiction (1994) | I don't want to be a burden or a nuisance. It's- | ฉันไม่ต้องการที่จะเป็นภาระหรือรำคาญ It's- Pulp Fiction (1994) | Always volunteering for difficult missions, both in the swarming mountains and the maze-like Casbah, he was, and a ways will be, an example for everyone who ever met him. | เขามักจะอาสาในภารกิจที่ยากลำบาก ไม่ว่าจะขึ้นเขา ลงห้วยดั่งคาสบาฮ์ Wild Reeds (1994) | I hate being young. It's a huge burden. | ฉันเกลียดการเป็นเด็ก มันเป็นภาระที่หนักหนา Wild Reeds (1994) | I understood the obligation the Lord spoke of to share one's blessings with those less fortunate. | ผมเข้าในภาระพระวาจาของพระเป็นเจ้า ในการแบ่งปันความรักให้ผู้ที่ด้อยกว่า Don Juan DeMarco (1994) | Yeah, uh-huh. | ใช่ อะ-ฮะ รับภาระ Pinocchio (1940) | Your valet has unpacked for you, I suppose? | ฉันว่าเด็กรับใช้ของคุณคงยังไม่ได้ เเกะสัมภาระให้คุณเลยสิท่า Rebecca (1940) | But our luggage. Go down and tell the porter to take everything out of the car. | เเต่สัมภาระของเราล่ะ ลงไปบอกเด็กให้เอาของลงจากรถ Rebecca (1940) | Dear, I'll go down and see that your luggage is brought back. | ที่รัก ผมจะลงไปข้างล่าง เเละเอาสัมภาระคุณกลับขึ้นมานะ Rebecca (1940) | Nobody has to prove otherwise. The burden of proof's on the prosecution. | ไม่มีใครมีที่จะพิสูจน์เป็นอย่างอื่น ภาระการพิสูจน์อยู่ในการดำเนินคดี 12 Angry Men (1957) | Get a load of this guy. | - Hey, Deong รับภาระของผู้ชายคนนี้ The Ugly American (1963) | Members of the Citizens' Council, I am a simple soldier. | ท่านสมาชิกสภาราษฎร ผมเป็นเพียงทหารน้อยธรรมดา Beneath the Planet of the Apes (1970) | It is therefore our holy duty to put our feet upon it, to enter it, to put the marks of our guns and our wheels and our flags upon it! | เพราะฉะนั้นจึงเป็นภาระอันศักดิ์สิทธิ์ ที่เราจะขจัดความกลัว ที่มีมานาน Beneath the Planet of the Apes (1970) | I was sent here on a rescue mission. | ถูกส่งมาในภารกิจกู้ภัย Beneath the Planet of the Apes (1970) | Gentlemen, affairs of state must take precedent over the affairs of state. | ผมต้องไปปฎิบัติภารกิจต่อ Blazing Saddles (1974) | Oh, Lord do we have the strength to carry on this mighty task in one night? | โอ้ พระเจ้า เราจะมีกำลังฝ่าฟันภารกิจยิ่งใหญ่ ในคืนนี้ไหม Blazing Saddles (1974) | Because our bomb mission had been so secret no distress signal had been sent. | เพราะภารกิจทิ้งระเบิดเราลับมาก... เลยไม่มีการส่งสัญญาณเตือน Jaws (1975) | A janitor who sleeps all night tied up on a cross. | ภารโรงนอนทั้งคืน ผูกมัดกับไม้กางเขน Oh, God! (1977) | The Rev. Willie Williams is on the road for God to the tune of 100, 000 miles a year. | บาทหลวงวิลลี่ วิลเลี่ยมส์ กำลังปฏิบัติภารกิจของพระเจ้า ทั่วพื้นที่ปีละนับแสนๆ ไมล์ Oh, God! (1977) | They got enough to do, just being themselves. | เขามีภาระกับตัวเองมากพออยู่แล้ว Oh, God! (1977) | I'm gonna send you on a mission, Matthew, a very important mission. | ฉัน เมตร จะ ส่ง ไปปฏิบัติภารกิจ ที่แมทธิว ภารกิจ ที่สำคัญมาก I Spit on Your Grave (1978) | Get a load of that! | รับภาระของว่า! Mad Max (1979) | He went all to pieces on a particular mission. | มีภารกิจหนึ่งที่เขาล้มเหลวอย่างหนัก Airplane! (1980) | They're not gonna catch us. | พวกเขาจะไม่จับเรา เราได้รับภารกิจมาจากพระเจ้า The Blues Brothers (1980) | We're on a mission from God. | เราได้รับภารกิจมาจากพระเจ้า The Blues Brothers (1980) | - Forget it. No way. - We're on a mission from God. | ลืม ไม่มีทาง เราได้รับภารกิจมาจากพระเจ้า The Blues Brothers (1980) | You see, we're on a mission from God. | คุณเชื่อ เรามีภารกิจมาจากพระเจ้า The Blues Brothers (1980) | We're on a mission from God. | เราได้รับภารกิจมาจากพระเจ้า The Blues Brothers (1980) | This mission is over, Rambo. Do you understand me? | ภารกิจครั้งนี้เสร็จแล้ว แรมโบ้ คุณเข้าใจผม First Blood (1982) | This mission is over! | ภารกิจครั้งนี้เสร็จแล้ว First Blood (1982) | Even if His Majesty could waive all other considerations he has a duty to the millions of his Muslim subjects who are a minority in this realm. | แม้ว่าพระองค์จะยกเลิกข้อพิจารณาอื่นได้ แต่ก็ยังมีภาระกิจกับชาวมุสลิมนับล้าน ซึ่งเป็นส่วนน้อยของประเทศนี้ Gandhi (1982) | -From the looks of the luggage, yes. | - ดูจากสัมภาระก็น่าจะใช่ Gandhi (1982) | And I would emphasize that I think our first duty is to recognize that there is not one India but several. | และข้าพเจ้าขอเน้นว่า ภาระกิจแรกของเราคือ ต้องตระหนักว่ามิใช่มีเพียงอินเดียเดียว แต่หลากหลาย Gandhi (1982) | You were responsible for the Discovery mission. | คุณมีความรับผิดชอบ สำหรับภารกิจดิสคัเฟอรี 2010: The Year We Make Contact (1984) | You go tell the president, I'll go on the mission. | คุณไปบอกประธาน ฉันจะไปปฏิบัติภารกิจ 2010: The Year We Make Contact (1984) | You are authorized to observe other aspects of our mission. | คุณมีสิทธิ์ที่จะสังเกตเห็น ด้านอื่น ๆ ของภารกิจของเรา 2010: The Year We Make Contact (1984) | We have no other obligation. | เราไม่มีภาระผูกพันอื่น ๆ 2010: The Year We Make Contact (1984) | Has the mission been completed? | ได้ปฏิบัติภารกิจเสร็จเรียบร้อย แล้ว? 2010: The Year We Make Contact (1984) | The mission has been completed and you've carried out your program very well. | ภารกิจเสร็จเรียบร้อยแล้วและ คุณ ได้ดำเนินการโปรแกรมของคุณ ได้เป็นอย่างดี 2010: The Year We Make Contact (1984) | Discovery's mission to Jupiter was in the advanced planning stages when the first monolith was found on the moon and sent its signal to Jupiter. | ภารกิจดิสคัเฟอรีของดาว พฤหัสบดีอยู่แล้ว ในขั้นตอนการวางแผนขั้นสูง เมื่อ เสาหินขนาดเล็กเป็นครั้งแรกที่ พบใน 2010: The Year We Make Contact (1984) | We know how sensitive he is to mission objectives and now you're telling me to program him for the destruction of the Discovery as well as his own destruction. | เรารู้วิธีการที่สำคัญเขาเป็นคนที่ จะปฏิบัติภารกิจ วัตถุประสงค์และตอนนี้คุณ กำลังบอกฉัน ในการเขียนโปรแกรมเขา สำหรับการทำลายของ 2010: The Year We Make Contact (1984) | If the crew was killed, he was capable of carrying out the mission on his own initiative. | เขามีความสามารถในการ ดำเนินการ ภารกิจในความคิดริเริ่มของเขา เอง เขาจะ 2010: The Year We Make Contact (1984) | The mission is proceeding normally. | ภารกิจคือการดำเนินการ ตามปกติ 2010: The Year We Make Contact (1984) | Is the mission in jeopardy? | การทำเช่นนี้ เป็นภารกิจตกอยู่ ในอันตรายหรือไม่? 2010: The Year We Make Contact (1984) | Have I fulfilled the mission objectives properly? | ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติตาม วัตถุประสงค์ของภารกิจถูกต้อง หรือไม่ 2010: The Year We Make Contact (1984) | No. It is better for the mission if you leave. | ไม่มันจะดีกว่าสำหรับการ ปฏิบัติภารกิจ 2010: The Year We Make Contact (1984) |
| แบกภาระ | [baēk phāra] (v, exp) EN: shoulder a burden ; shoulder the responsibility | แบ่งเบาภาระ | [baengbao phāra] (v, exp) EN: lighten the load ; share the work | บำเพ็ญภารกิจ | [bamphen phārakit] (v, exp) EN: perform a task FR: accomplir une tâche | การผลักภาระ | [kān phlakphāra] (n) EN: incidence | การผลักภาระภาษี | [kān phlakphāra phāsī] (n, exp) EN: incidence of taxation | ข้าวของสัมภาระ | [khāokhøng sampāra] (n, exp) EN: belongings ; stuff ; materials | นักการภารโรง | [nakkān phānrōng] (n, exp) EN: janitor | หน้าที่สัมภาร | [nāthī samphāra] (n, exp) EN: fatigue duty | ปฏิบัติภารกิจ | [patibat phārakit] (v, exp) EN: do one's task ; perform one's mission ; perform one's duty ; carry out one's duty ; discharge one's duty | ภารโรง | [phānrōng] (n) EN: janitor ; custodian FR: concierge [ m, f ] ; gardien [ m ] ; gardienne [ f ] | ภารธุระ | [phānthura] (v) EN: concern ; business ; attention | ภาระ | [phāra] (n) EN: load ; charge ; burden FR: charge [ f ] ; contenu [ m ] | ภาระ | [phāra] (n) EN: responsibility ; duty ; burden ; task FR: charge [ f ] ; responsabilité [ f ] ; attribution [ f ] | ภาระจำยอม | [phārājamyøm] (n) EN: servitude | ภาระการพิสูจน์ | [phāra kān phisūt] (n, exp) EN: burden of proof | ภารกิจ | [phārakit] (n) EN: affair ; duty ; task ; function ; mission FR: mission [ f ] ; fonction [ f ] ; tâche [ f ] ; mandat [ m ] | ภาระหนัก | [phāra nak] (n, exp) FR: accablement [ m ] | ภาระหน้าที่ | [phāranāthī] (n) EN: duty ; charge | ภาระผูกพัน | [phāra phūkphan] (n, exp) EN: obligation | ภาระรับผิดชอบ | [phāra rapphitchøp] (n, exp) EN: accountability | ภาระติดพัน | [phāratitphan] (n) EN: responsibility ; obligation FR: responsabilité [ f ] | ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ | [phāratitphan nai asanghārimsap] (n, exp) EN: charge on immovable property | ภาษาตระกูลภารตะ-ยุโรป | [phāsā trakūn Phānta-Yurōp] (n, exp) FR: langues indo-européennes [ fpl ] | ผู้รับภาระ | [phūrapphāra] (n) EN: one carrying a burden ; one who shoulders a burden ; responsibility ; burden bearer | รับภาระ | [rap phāra] (v, exp) EN: assume the responsibility ; shoulder | สัมภาร | [samphāra] (n) EN: luggage ; personal luggage ; baggage ; bags ; gear ; cases ; impedimenta ; paraphernalia ; suitcases ; supplies ; goods and chattels ; materials ; belongings FR: équipement [ m ] ; fourniture [ f ] ; affaires personnelles [ fpl ] ; bagages [ mpl ] | สภาร่างรัฐธรรมนูญ | [saphā rāng ratthathammanūn] (n, exp) EN: Constituent Assembly FR: assemblée constituante [ f ] | สมภาร | [somphān] (n) EN: abbot (of a monastery) FR: abbé [ m ] ; chef de la pagode [ m ] | สมภาร | [somphān] (n) EN: accumulated good deeds | สมภารหญิง | [somphān ying] (n, exp) FR: abbesse [ f ] | ที่รับสำภาระ | [thī rap samphāra] (n, exp) EN: baggage claim FR: livraison des bagages [ f ] |
| | accept | (vi) รับภาระ, See also: รับช่วง, รับเอา | accept | (vt) รับภาระ, See also: รับช่วง, รับเอา | acquit | (vt) ทำให้ปราศจากข้อผูกพัน, See also: ทำให้ปราศจากภาระ | beast of burden | (n) สัตว์ที่ใช้บรรทุกสัมภาระ, Syn. bearer, donkey, laborer | bounden | (adj) ซึ่งผู้มัดหรือเป็นภาระรับผิดชอบ | boxcar | (n) รถไฟบรรทุกสัมภาระ | burden | (n) ภาระ, Syn. strain | burden | (vt) เป็นภาระ | burdensome | (adj) ที่เป็นภาระ, Syn. onerous | business | (n) หน้าที่, See also: ธุระ, ภารกิจ, กิจธุระ, กิจ, งาน, หน้าที่การงาน, Syn. task | ball and chain | (idm) ภาระสำคัญ (คำไม่เป็นทางการ), See also: ภาระหน้าที่ในการงาน | be off one's hands | (idm) เลิกรับผิดชอบ, See also: หมดภาระ, หยุดรับภาระ, Syn. be on | be on | (phrv) รับหน้าที่, See also: รับภาระ, รับผิดชอบ | be upon | (phrv) รับหน้าที่, See also: รับภาระ, รับผิดชอบ | bear down on | (phrv) ตกเป็นภาระของ, See also: เป็นหน้าที่ของ, ตกอยู่กับ | bear down upon | (phrv) ตกเป็นภาระของ, See also: เป็นหน้าที่ของ, ตกอยู่กับ | burden with | (phrv) รับภาระ | charge | (vt) ทำให้รับหน้าที่, See also: ทำให้แบกรับภาระหน้าที่, มอบหมายให้ | charge | (n) ภาระ, See also: ความรับผิดชอบ, Syn. burden | charge | (vt) รับภาระ | custodian | (n) ภารโรง, Syn. janitor | commit to | (phrv) มอบ (ภาระหน้าที่, ความไว้วางใจ, คน) ให้อยู่ในอำนาจของ, See also: มอบให้, มอบหมายให้, ส่งให้, Syn. confide to, consign to | disburden of | (phrv) ปลดออกจากหน้าที่, See also: เป็นอิสระจากภาระหน้าที่ | ease someone out | (idm) หมดภาระ, See also: หมดหน้าที่, ปลดออก | encumber with | (phrv) กีดขวาง, See also: กั้นขวางด้วย, ถ่วงด้วย, ทำให้เป็นภาระด้วย | fall on | (phrv) เป็นหน้าที่ของ, See also: เป็นภาระของ | fall upon | (phrv) เป็นหน้าที่ของ, See also: เป็นภาระของ | fling off | (phrv) หนีรอดจาก, See also: หลุดพ้น, หมดภาระ, เป็นอิสระจาก สิ่งที่ไม่ต้องการ, Syn. chuck off, shake off, throw off | dean | (n) เจ้าคณะ (ทางศาสนา), See also: เจ้าอาวาส, สมภาร, Syn. the head of the College of Cardinals, the high-rank priest in the Church of England or the Roman Catholic Church | debark | (vi) ยกสัมภาระที่บรรทุกลง (คำทางการ), See also: ปลง, ยกลง, Syn. disembark, unload | disburden | (vt) ทำให้ภาระหมดไป, See also: เปลื้องภาระ, Syn. unburden | emissary | (n) นักการทูต, See also: ทูต, ตัวแทนที่ส่งออกไปปฏิบัติภารกิจ, Syn. consul, envoy, representative | encumbrance | (n) สิ่งกีดขวาง, See also: สิ่งที่เป็นภาระ, Syn. burden, hindrance, impediment | get out | (phrv) ปฏิบัติหน้าที่, See also: รับภาระ, Syn. call out | give to | (phrv) ยอมรับภาระ (ที่ทำให้ยากจะเป็นอิสระในอนาคต) | go through | (phrv) (บางสิ่ง) ผ่านมือ (เพราะภาระหน้าที่) | millstone about one's neck | (idm) ภาระ, See also: อุปสรรค | immunity | (n) การพ้นจากภาระรับผิดชอบ, See also: การรอดพ้นจากการลงโทษ, Syn. examption, freedom | lade with | (phrv) แบกรับ (สิ่งที่หนัก, ภาระหนัก), Syn. load down | load down | (phrv) แบกภาระหนัก, Syn. bow down, lade with, load with, weigh down, weight down | load with | (phrv) ทำให้รับภาระหนักด้วย, Syn. load down | janitor | (n) ภารโรง, See also: คนทำความสะอาด, นักการ, Syn. caretaker, doorkeeper | labor | (n) ภาระ, See also: งาน, หน้าที่, Syn. task | labour | (n) ภาระ, See also: งาน, หน้าที่, Syn. task | laden | (adj) มีภาระหนัก, Syn. burdened, afflicted | lightness | (n) การไม่มีภาระหนัก | load | (vt) ทำให้หนักใจ, See also: เป็นภาระหนัก, Syn. weight, encumber, Ant. disburden | load | (n) ภาระ, See also: หน้าที่, ความรับผิดชอบ, Syn. weight, encumbrance | Mahabharata | (n) มหาภารตะ, See also: มหากาพย์ของอินเดีย | matter | (n) สิ่งที่ต้องทำ, See also: ภารกิจ, งาน, ธุรกิจ, Syn. affair, business, chore, errand |
| absorb | (แอบซอร์บ, -ซอร์บ') vt. ดูด, รับเอา, ซึม, ทำให้หมกมุ่น, ทำให้สนใจ, กลืน, รับภาระ | accoutrements | (อะคู' เทอเมืนทฺ) n. สัมภาระของทหาร (ไม่รวมเสื้อผ้าและอาวุธ) | assignation | (แอสซิกเน'เชิน) n. การนัดพบ, การมอบหมาย, ภาระหน้าที่, การบ้านจากโรงเรียน, การโอน (สิทธิ์, ทรัพย์สิน, ดอกเบี้ย, ฯลฯ) , การบรรยาย, Syn. rendezvous, engagement | atlas | (แอท'เลิส) n., (pl. atlases, atlantes) สมุดแผนที่, ชุดรวมแผนภาพและตาราง, กระดูกสันหลังส่วนคอที่ค้ำศีรษะ, ชื่อเทพเจ้ากรีกที่ค้ำฟ้าอยู่, คนที่แบกภาระหนักมาก, ชื่อขีปนาวุธขนาดยักษ์ของอเมริกา (book of maps) | bear | (แบร์) { bore, borne/born, bearing, bears } vt., vi. ค้ำ, รับ, พยุง, หนุน, แบก, รับภาระ, พบ, ทรงไว้, อดทน, ทาน, ทน, มี, ออกลูก, มีลูก, มีความรู้สึก, ถือ, พัด, พา, กด, ดัน, ให้, แสดง, ไปทาง, วางท่าทาง n. หมี, คนหยาบคาย, คนงุ่มง่าม, ชื่อดาวที่อยู่ทางทิศเหนือ (Great Bear ดาวจระเข้, Little B | blame | (เบลม) { blamed, blaming, blames } vt. กล่าวโทษ, ตำหนิ, ประณาม, นินทา, กล่าวร้าย, โยนความผิดให้ -Phr. (be to blame ควรถูกตำหนิ, ควรรับผิดชอบ) n. การตำหนิ, ความรับผิดชอบ, ภาระ, See also: blamer n. blameful adj. ดูblame blameless adj. ดูblame -Conf. put | bounden | (เบา'เดิน) adj. จำต้อง, มีภาระหน้าที่, Syn. bound | burden | (เบอร์'เดิน) n. ภาระ, น้ำหนักที่แบก vt. บรรจุอย่างหนัก, ทำให้ยุ่งยาก | burdensome | (เบอ'เดินเซิม) adj. ยากลำบาก, ยุ่งยาก, เป็นภาระ, Syn. arduous | business | (บิซ'ซิเนส) n. ธุรกิจ, การค้า, เรื่องที่ยากลำบาก, เรื่องที่ถือว่าสำคัญและเอาจริงเอาจัง, ธุระ, สถานการณ์, ภาระหน้าที่, การงาน -Id. (mean business) เอาจริง adj. เกี่ยวกับธุรกิจการค้า | caretaker | (แคร์'เทเคอะ) n. คนดูแลควบคุม, ภารโรง, คนเฝ้า, Syn. custodian | carry | (แค'รี) { carries, carrying, carries } vt. ขนส่ง, แบก, ลำเลียง, หอบ, หาบ, อุ้ม, ยก, ถือติดตัว, นำติดตัว, นำไปสู่, สะพาย, บรรทุก, ส่ง, แพร่กระจาย, ออกข่าว, ประกอบด้วย, สนับสนุน, ค้ำจุน, ผลักดัน, ยืดได้, รับภาระ, วางตัว, ปฏิบัติ, ยกยอด, โอน, มีไว้ในร้าน. vi. ถือติดตัว, มีกำลังดัน, ดัน, ถู เลขทดตัวทดหมายถึง ค่าที่เกิดจากการบวกตัวเลขตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปในหลักเดียวกัน แล้วได้ผลมากกว่าหรือเท่ากับเลขฐาน ซึ่งจะนำไปบวกกับเลขในหลักถัดไป | char | (ชาร์) v. เผาไม้จนเกรียม, เผาไหม้จนเป็นถ่าน, ทำงานบ้าน, ทำงานเล็ก ๆ น้อย ๆ -n. สิ่งที่ไหม้จนเกรียม, ถ่าน, ถ่านไม้, ภารโรงหญิง, งานบ้าน. | charge | (ชาร์ดจฺ) vt. บรรจุ, ประจุ, อัดไฟ, ทำให้เต็ม, วางเงื่อนไข, สั่ง, ตักเตือน, แนะนำ, กล่าวหา, ฟ้องร้อง, เรียกเก็บเงิน, โจมตี, เป็นภาระ บันทึกเป็นหนี้ -vi. พุ่งเข้าไป, พุ่งไปข้างหน้า, โจมตี, เรียกเก็บ, หมอบลง (ตามคำสั่ง) -n. การอัดประจุไฟฟ้า, กระแสไฟที่อัด, ปริมาณดินระเบิด, ภาระ | commissariat | (คอมมิแซ'เรียท) n. กองตรวจงานในรัสเซีย, วิธีการส่งอาหาร/อุปกรณ์/สัมภาระและอื่น ๆ ไปยังกองทัพ, กองเสบียง, กองเกียกกาย, กรมตำรวจ | cumbersome | (คัม'เบอเซิม) adj. ยุ่งยาก, ทำให้ลำบาก, เป็นภาระ, อุ้ยอ้าย, หนัก, ไม่สะดวก, Syn. clumsy | cumbrance | (คัม'บรันซ) n. ความลำบาก, ความยุ่งยาก, การรบกวน, ภาระ | devoir | (ดิวาร์') n. มารยาท, ความสุภาพ, ความเคารพ, ภารกิจ, หน้าที่ | disavow | (ดิสอะเวา') vt. บอกปัด, ไม่ยอมรับ, ปฏิเสธ (การรับภาระ) ., See also: disavowal n. ดูdisavow | disburden | vt. ปลดเปลื้องภาระ vi.เอาของบรรทุกลง, See also: disburdenment, n. | discharge | (ดิสชาร์จ') vi., vt., n. (การ) ปล่อย, เอาลง, ขับออก, ทำให้พ้นหน้าที่ความรับผิดชอบหรืออื่น ๆ , ปลดจากประจำการ, ปลดจากงาน, ปล่อยกระแสไฟฟ้า, หนังสือหลักฐานการปลดจากภาระหน้าที่, การชำระสะสาง, See also: discharger n. ดูdischarge, Syn. unl | duty | (ดิว'ที) n. ภาษี, อากร, หน้าที่, ภาระหน้าที่, ประสิทธิภาพของเครื่อง | easy | (อี'ซี) adj., adv. ง่าย, ง่ายดาย, ไม่ลำบาก, สะดวกสบาย, ไม่เข้มงวด, ผ่อนผัน, ไม่เป็นภาระ, สบายอกสบายใจ, ไม่แน่น, ไม่รัด, ไม่เร่งรีบ n. การหยุดพักชั่วคราว. -Phr. (take it easy, go easy ตามสบาย, ไม่ต้องทำงานหนัก), Syn. light, Ant. difficult | efficient | (อิฟิช'เชินทฺ) adj. ซึ่งมีประสิทธิภาพ, มีความสามารถ, มีผลต่อ, ซึ่งรับภาระได้อย่างสบาย | exonerate | (อิคซอน'เนอเรท) vt. ทำให้ฟื้นจากความผิด, ปลดเปลื้องภาระ, See also: exoneration n. exonerative adj., Syn. acquit | fulfillment | n. การทำให้บรรลุผล, การบรรลุผล, การปฏิบัติภารกิจ, การทำให้พอใจ, การทำให้สมบูรณ์. | fulfilment | n. การทำให้บรรลุผล, การบรรลุผล, การปฏิบัติภารกิจ, การทำให้พอใจ, การทำให้สมบูรณ์. | function | (ฟังคฺ'เชิน) หน้าที่, การปฏิบัติงาน, ภาระกิจ, งาน, พิธี, บทบาท, ประสิทธิภาพ, การชุมนุมใหญ่, (คณิตศาสตร์) จำนวนที่ขึ้นอยู่กับจำนวนอื่น, ฟังค์ชัน. vi. ปฏิบัติหน้าที่, กระทำ, ใช้ตำแหน่งหน้าที่, Syn. perform, work, do | gear | (เกียร์) n., vt. (ใส่) ล้อฟันเฟือง, เฟือง, เกียร์, เครื่องสวม, เครื่องขี่ม้า, เครื่องมือ, อุปกรณ์, เสื้อผ้า, ยุทธสัมภาระ, เสื้อเกราะ vi. สวมใส่พอดี, ใส่ได้พอดี. adj. อัศจรรย์, ดีเยี่ยม | heavy | (เฮฟ'วี) adj. หนัก, ขนาดหนัก, ใหญ่มาก, เพียบ, หนา, ดก, อุ้ยอ้าย, จำนวนมาก, มาก, สำคัญมาก, ลึกซึ้ง, รุนแรง (พายุ) , เป็นภาระมาก, ดีมาก | heavy-laden | (เฮฟ'วีเลเดิน) adj. บรรทุกหนัก, เพียบ, เหนื่อยมาก, มีภาระมาก, ทุกข์มาก | incubus | (อิน' คิวบัส) n., (pl. -bi, -buses) ผีที่เข้ามานอนทับคนที่กำลังหลับ (โดยเฉพาะผีผู้ชายที่เข้าร่วมประเวณีกับผู้หญิงที่กำลังหลับ) , สิ่งที่ครอบงำจิตใจ, ภาระที่หนัก | incumbent | (อินคัม' เบินทฺ) adj. ซึ่งดำรงตำแหน่ง, ซึ่งมีหน้าที่, เป็นภารกิจ, ซึ่งวาง, พิงหรือขดอยู่ -n. ผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่, See also: incum- bently adv., Syn. obligatory, lying | janitor | (แจน'นิเทอร์) n. ภารโรง, คนดูแลอาคาร, See also: janitorial adj. ดูjanitor | janitress | (แจน'นิเทรส) n. ภารโรงหญิง | job | (จอบ) { jobbed, jobbing, jobs } n. งาน, ชิ้นงาน, งานจ้าง, งานเหมา, งานปลีกย่อย, ภาระหน้าที่, ตำแหน่งงาน, เรื่องราว, ขบวนการทำงาน, รถยนต์ (แสลง) adj. เกี่ยวกับ, งานหรือธุรกิจเฉพาะอย่าง, ซื้อ ขายหรือจัดการด้วยกัน -Phr. (on thejob ตื่นเต้น, เฝ้าสังเกต) vi. ทำงานเป็นชิ้น ๆ , ทำง | job description | n. ลักษณะงาน, ภาระหน้าที่ของงานที่ทำ | laden | (เลด'เดิน) adj. มีภาระหนัก, บรรจุของไว้มาก vt. บรรทุก, แบกภาระ | liability | (ไลอะบิล'ลิที) n. หนี้, หนี้เงิน, หนี้สิน, ความรับผิดชอบ, ภาระหน้าที่, ด้านลูกหนี้ของบัญชี, ข้อเสียเปรียบ, ความโน้มเอียง, Syn. accountability | lightness | (ไลทฺ'นิส) n. ความสว่าง, การมีสีอ่อน, การมีสีซีด, ความเบา, ความแคล่วคล่อง, การไม่มีภาระ, ความเบิกบานใจ, ความอ่อนช้อย, ความเก๋, ความเลินเล่อ, | load | (โลด) { loaded, loading, loads } n. ของบรรทุก, น้ำหนักบรรทุก, ระวางน้ำหนักบรรทุก, ภาระ, สิ่งที่เป็นภาระ, น้ำหนักถ่วง, ปริมาณงาน, ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้, อุปกรณ์รับไฟฟ้า, ปริมาณเหล้าที่ทำให้มึนเมา v. บรรทุก, ใส่, ถ่วง, บรรจุ, มอบให้อย่างมากมาย, ลำเอียง, เพิ่มกำลังไฟฟ้า, เพิ่ม adv. มาก, มากมาย | militarise | (มิล'ลิทะไรซ) vt. จัดให้มีกำลังทางทหาร อาวุธและสัมภาระต่าง ๆ | militarize | (มิล'ลิทะไรซ) vt. จัดให้มีกำลังทางทหาร อาวุธและสัมภาระต่าง ๆ | mission | (มิช'เชิน) n. คณะผู้แทน, ภาระหน้าที่ของคณะผู้แทน, คณะทูต, สถานทูต, งานปฏิบัติงานทางทหาร (มักได้รับมอบหมายจากสำนักงานใหญ่) , การเคลื่อนที่หรือการวิ่งสู่เป้าหมายของจรวดขีปนาวุธ, โบสถ์ที่ไม่มีพระอยู่ประจำ, งานมอบหมาย | multitasking system | ระบบหลายภารกิจหมายถึง สมรรถภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานสองโปรแกรมขึ้นไปได้เวลาเดียวกัน เช่น ในระหว่างปฏิบัติการของโปรแกรมการพิมพ์ ก็สามารถที่จะปฏิบัติการในโปรแกรมอื่นได้อีก โดยไม่ต้องรอให้การพิมพ์แล้วเสร็จเสียก่อน | obligate | (ออบ'บลิเกท) vt. เป็นภาระหน้าที่, ให้คำมั่น, ทำให้มีพันธะ, ทำบุญคุณให้, เป็นเกณฑ์, บังคับ, กำหนด, ตกลง. adj. จำเป็น, สำคัญ, See also: obligable adj. obligator n. | obligatory | (อะบลิก'กะโทรี, -ทอ'รี, ออบ'ละกะโทรี) adj. เป็นพันธะ, เป็นภาระหน้าที่, จำเป็น, จำต้อง, เป็นข้อผูกพัน., See also: obligatorily adv. | obligor | (ออบ'ละกอร์) n. ผู้มีภาระหน้าที่, ผู้ให้กู้ยืม | office | (ออฟ'ฟิซฺ) n. สำนักงาน, ที่ทำการ, สถาบัน, ร้านค้า, กระทรวง, กรม, กอง, ตำแหน่ง, การทำงาน, หน้าที่, ภาระหน้าที่, สมรรถนะ, งาน, การบริการ, See also: offices n., pl. ที่ทำงานบ้านในบ้าน เช่นครัวหรือที่ซักหรือรีดผ้า, Syn. function, position | onerous | (ออน'เนอรัส, โอ'เนอรัส) adj. เป็นภาระ, ลำบาก, ยากยิ่ง, หนักหน่วง, See also: onerousness n. |
| abbot | (n) สมภาร, เจ้าอาวาส, อธิการวัด, เจ้าวัด | absorb | (vt) ดึงดูด, ซึมซับ, ดูดกลืน, หมกมุ่น, รับภาระ | bounden | (adj) มีภาระ, มีพันธะ, จำเป็น, จำต้อง | burden | (n) เครื่องบรรทุก, ภาระ, ใจความ, ส่วนสำคัญ | burden | (vt) บรรทุก, เป็นภาระ, สุม(งาน) | burdensome | (adj) ยุ่งยาก, ลำบาก, เป็นภาระ, หนักมาก | caretaker | (n) สัปเหร่อ, คนดูแล, ภารโรง, คนเฝ้าบ้าน | charge | (n) หน้าที่, ความรับผิดชอบ, ภาระ, ค่าธรรมเนียม, มูลค่า, การฟ้องร้อง | cumbersome | (adj) เป็นภาระ, ยุ่งยาก | dean | (n) คณบดี, ผู้อาวุโส, สมภาร, เจ้าคณะ, เจ้าอาวาส | duty | (n) หน้าที่, ภาระหน้าที่, อากร, ภาษี, ความรับผิดชอบ | encumber | (vt) เป็นภาระ, กีดขวาง, ทำให้หนักใจ, ทำให้กังวล | encumbrance | (n) เครื่องถ่วง, น้ำหนักถ่วง, สิ่งที่เป็นภาระ, เครื่องกีดขวาง | exonerate | (vt) ทำให้พ้นจากข้อครหา, ทำให้พ้นจากข้อกล่าวหา, ปลดเปลื้องภาระ | fulfillment | (n) การทำให้สำเร็จ, การบรรลุผล, ความสมปรารถนา, การปฏิบัติภารกิจ | fulfilment | (n) การทำให้สำเร็จ, การบรรลุผล, ความสมปรารถนา, การปฏิบัติภารกิจ | function | (n) การกระทำ, หน้าที่, ภารกิจ, งาน, บทบาท, ประสิทธิภาพ | heaviness | (n) ความหนัก, ความทึบ, ความดก, ความลำบาก, ภาระ, น้ำหนัก | impediment | (n) อุปสรรค, สิ่งกีดขวาง, สัมภาระ | incumbent | (adj) เป็นหน้าที่, เป็นภาระ, ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ | incumber | (vt) เป็นภาระ, ทำให้เต็มแน่น, ทำให้หนักใจ, ถ่วง | incumbrance | (n) ความลำบาก, เครื่องถ่วงความเจริญ, ภาระ, สิ่งกีดขวาง | janitor | (n) ภารโรง, นักการ, คนเฝ้าประตู | job | (n) การงาน, งานเหมา, งานชิ้น, ภาระหน้าที่ | lade | (vt) บรรทุก, แบก, รับภาระ | lien | (n) ข้อผูกมัด, ภาระ | load | (n) ของบรรทุก, เครื่องบรรทุก, ภาระ, การบรรจุกระสุนปืน, น้ำหนักบรรทุก | load | (vt) บรรทุกของ, เป็นภาระ, บรรจุกระสุน, ใส่, ถ่วง, ยัด | mission | (n) ภาระ, ธุระ, คณะผู้แทน, คณะผู้สอนศาสนา, คณะทูต | obligate | (vt) บังคับ, เป็นหนี้บุญคุณ, ผูกมัด, เป็นภาระ | obligatory | (adj) เป็นพันธะ, เป็นภาระ | onerous | (adj) เป็นภาระ, หนัก, ลำบาก, ยากยิ่ง | oppress | (vt) กดขี่, บีบบังคับ, ทำให้เป็นภาระ, ทำให้หนักใจ | oppressive | (adj) กดขี่, เป็นภาระ, หนักใจ, อึดอัดใจ, ลำบากใจ | outfit | (n) เครื่องมือ, เครื่องใช้, สัมภาระ | outfit | (vt) ติดตั้งเครื่องมือ, จัดสัมภาระ | outweigh | (vt) มีน้ำหนักเกิน, มีภาระมากเกินไป | overburden | (vt) ทำให้เป็นภาระหนัก, บรรทุกหนักเกินไป | purveyance | (n) การป้อนเหยื่อ, การจัดหาให้, สัมภาระ, เสบียง | rebuff | (n) การปัดภาระ, การขัดขวาง, การปฏิเสธ, การหยุดยั้ง, การขับออก | responsibility | (n) ภาระหน้าที่, ความรับผิดชอบ | responsible | (adj) รู้จักหน้าที่, รับผิดชอบ, เป็นภาระ | role | (n) หน้าที่, บทบาท, ภารกิจ | shirk | (vt) ปัดภาระ, เลี่ยงหน้าที่, หนีงาน | shoulder | (vt) แบก, กระทบไหล่, รับภาระ | surcharge | (n) ภาระที่เพิ่มขึ้น, การฟ้องเพิ่ม, การเก็บเพิ่ม, น้ำหนักเกิน | surcharge | (vt) เพิ่มภาระขึ้น, ฟ้องเพิ่ม, บรรทุกเกิน, เก็บเพิ่ม | sweeper | (n) ภารโรง, คนปัดกวาด, เรือกวาดทุ่นระเบิด | task | (n) งาน, ภาระหน้าที่, เรื่องที่ยาก, งานหนัก | tax | (n) ภาษี, ภาระหน้าที่ |
| debt service ratio | สัดส่วนภาระหนี้ต่างประเทศต่อรายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการ | encumbrance | ภาระติดพัน | encumbrance | ภาระผูกพัน | financial distress | (n) (การเงิน) ภาวะที่ประสบความยากลำบาก, หรือไม่สามารถทำตามภาระผูกพันได้ เช่น ไม่สามารถชำระหนี้ที่กู้ไปได้, ความตกต่ำทางการเงิน (จากการมีเงินไม่เพียงพอ), ปัญหาทางการเงิน, ปัญหาที่อาจนำไปสู่การล้มละลาย (กรณีบริษัท) e.g. Member countries face acute financial distress., See also: bankruptcy, recession, depression | Free Carrier ( FCA ) | การเสนอราคา ที่ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการมอบสินค้าตามสัญญาก็ต่อเมื่อผู้ขายได้จัดสินค้าส่งมอบให้กับผู้รับขนส่ง ณ สถานที่ของผู้รับขนส่ง(เช่น บรรดาบริษัท shipping ต่างๆ) ตามที่ผู้ซื้อระบุไว้เพราะฉะนั้นในการเสนอราคา ผู้ขายก็จะเสนอราคาขาย ที่บวกค่าส่งมอบสินค้าในเบื้องต้นลงไปด้วย | in the weeds | (adj, slang) งาน หรือ ภาระต่างๆ ท่วมท้นมากจนทำไม่ทัน ทำให้เครียด, วิตกกังวล | leaseback | [ลิซแบ็ค] (n) นิติกรรมซึ่งคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งขายทรัพย์สินแก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อได้นำทรัพย์สินออกให้ผู้ขายเช่าทันที นิติกรรมเช่นนี้ทำให้ผู้ซื้อมีกรรมสิทธิ์เต็มที่ในทรัพย์สิน แต่ไม่ต้องมีภาระทางการเงิน ส่วนใหญ่มักทำนิติกรรมนี้กันเพื่อผลประโยชน์ทางภาษี บางทีก็เรียกว่า sale and leaseback | Rimjob | (slang) ภารกิจทางเพศโดยการดูด หรือเลียทวารหนัก ( * w *m iiiita) |
| 負荷過剰 | [ふかかじょう, fukakajou] (n) การแบกรับภาระมากเกินไป |
| 解放 | [かいほう, kaihou] การปลดเปลืองจากภาระหน้าที่ | 負う | [おう, ou] (adv) แบก(ภาระ เด็ก), รับ(หน้าที่), ได้รับ(บาดเจ็บ), เป็นหนี้ |
| 遣い | [つかい, tsukai] TH: ภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้ทำ EN: mission (vs) | 特命 | [とくめい, tokumei] TH: ภารกิจที่ต้องทำ EN: mission | 業務 | [ぎょうむ, gyoumu] TH: ภาระหน้าที่ EN: duties | 担う | [になう, ninau] TH: แบกภาระ EN: to bear burden |
| freihaben | (vi) |hatte frei, hat freigehabt| ว่างจากการทำงานหรือการเรียน ว่างจากภาระกิจต่างๆ เช่น Heute hat sie frei, um die Stadt ihren ausländischen Freunden zu zeigen. วันนี้เธอหยุดงานเพื่อที่จะพาเพื่อนชาวต่างชาติไปชมเมือง | Dienst | (n) |der, pl. Dienste| เวรภาระหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ, ช่วงเวลาการทำงาน เช่น Ich bin heute nicht im Dienst. วันนี้ฉันไม่มีเวรทำงาน | auf | (prep) |+A เมื่อกริยาบ่งอาการเคลื่อนไหว| บน, ข้างบน เช่น Die Fahrgäste legen ihr Gepäck auf die Gepäckablage. ผู้โดยสารวางสัมภาระบนที่วางกระเป๋า |
|
เพิ่มคำศัพท์
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |