ขี้ตะไคร่ | คราบที่เกิดจากโคลนในน้ำ เช่น เด็ก ๆ เล่นน้ำนานจนขี้ตะไคร่จับหน้า. |
จุก ๑ | น. ผมเด็ก ๆ ที่ขมวดเอาไว้ตรงขม่อม, ผมจุก หรือ หัวจุก ก็เรียก, ราชาศัพท์ว่า พระเมาลี หรือ พระโมลี |
เชื่อ | ก. เห็นตามด้วย เช่น เด็ก ๆ ควรเชื่อคำสั่งสอนของพ่อแม่, มั่นใจ, ไว้ใจ, เช่น ฉันเชื่อว่าลูกจ้างคนนี้ดูแลการเงินแทนฉันได้ |
ตาวาว | ว. อาการที่จ้องมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความอยากได้ เช่น พอเห็นเงินก็ตาวาว เด็ก ๆ พอเห็นขนมก็ตาวาว. |
ตาน ๑ | น. ชื่อโรคชนิดหนึ่งมักเป็นแก่เด็ก ๆ. |
เติบ | ว. มากเกินสมควร เช่น เด็ก ๆ กินกับเติบ ไม่ค่อยกินข้าว. |
ทะลึ่ง | ก. ถีบตัวพรวดขึ้นมา เช่น ทะลึ่งขึ้นจากนํ้า, (ปาก) เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วผิดหูผิดตา เช่น ต้นไม้ได้ฝนดีทะลึ่งขึ้นจนพ้นรั้ว เด็ก ๆ เติบโตไว หลานสาวของฉันปีนี้ทะลึ่งขึ้นจนผิดตา |
บังอร | เด็ก ๆ ที่กำลังน่ารัก เช่น จึ่งตรัสประภาษไปว่าพราหมณ์เอ่ย อย่าเพ่อน้อยใจแก่เราก่อน เราจะพาสองกุมารบังอรมาให้จงได้ (ม. ร่ายยาว กุมาร). |
เป็นสาวเป็นแส้ | ว. เป็นสาววัยรุ่น เช่น เป็นสาวเป็นแส้แล้วไม่ควรเล่นซุกซนเหมือนเด็ก ๆ. |
ผมจุก | น. ผมเด็ก ๆ ที่ขมวดเอาไว้ตรงขม่อม, จุก หรือ หัวจุก ก็เรียก. |
เย ๆ | ว. เสียงร้องไห้ของเด็ก ๆ ที่ทอดเสียงยาว ๆ และไม่ใคร่หยุด เรียกว่า ร้องเย ๆ. |
รู้จัก | ก. เคยพบเคยเห็นและจำได้ เช่น คนกรุงเทพฯ รู้จักวัดพระแก้วดี แม้เด็ก ๆ ก็ยังรู้จักหนูและแมว |
รู้จัก | คุ้นเคยกัน เช่น นายดำกับนายแดงรู้จักกันมาตั้งแต่เด็ก ๆ, รู้จักมักคุ้น ก็ว่า |
เร่งวันเร่งคืน | ก. อยากให้ถึงวันที่กำหนดโดยเร็ว เช่น เด็ก ๆ เร่งวันเร่งคืนให้ถึงวันปิดเทอม. |
ลิงโลด | ก. อาการตื่นเต้นดีใจอย่างมาก เช่น เด็ก ๆ ลิงโลดเมื่อเห็นขนม พอยิงประตูฟุตบอลได้เขาก็ลิงโลด, ตื่นเต้นดีใจมากเพราะสมปรารถนาในอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เขารู้สึกลิงโลดใจที่สอบได้ที่ ๑. |
ลูกหลาน | น. ผู้มีอายุคราวลูกหรือหลานที่เป็นญาติห่าง ๆ หรือที่นับว่าเป็นญาติ เช่น เด็ก ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นลูกหลานฉันทั้งนั้น |
เลี้ยงไม่รู้จักโต | ก. เลี้ยงจนโตควรจะพึ่งตัวเองได้แล้ว แต่ก็ยังต้องขอเงินและข้าวของเป็นต้นจากพ่อแม่, เลี้ยงจนโตแล้วก็ยังประจบออเซาะแม่เหมือนเด็ก ๆ. |
วิตถาร | นอกแบบ, นอกทาง, (เกินวิสัยปรกติ) เช่น พวกเด็ก ๆ ชอบเล่นวิตถาร เอาน้ำสกปรกผสมแป้งสาดเข้าไปในรถประจำทางในวันสงกรานต์. |
สงบเงียบ | ก. ปราศจากเสียงรบกวน เช่น เด็ก ๆ ไม่อยู่บ้าน ทำให้บ้านสงบเงียบ. |
สงสาร ๒ | (สงสาน) ก. รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น, รู้สึกห่วงใยด้วยความเมตตากรุณา, เช่น เห็นเด็ก ๆ อดอยากก็รู้สึกสงสาร เห็นเขาประสบอัคคีภัยแล้วสงสาร. |
สนาม | (สะหฺนาม) น. ลาน, ที่ว่าง, ที่โล่ง, ที่เล่น, เช่น เขานั่งอยู่ริมสนาม เด็ก ๆ วิ่งเล่นในสนาม, ที่สำหรับเล่นหรือแข่งขันกีฬาต่าง ๆ เช่น สนามฟุตบอล สนามกอล์ฟ สนามชนวัว. |
สนุกสนาน | (-สะหฺนาน) ว. ร่าเริงบันเทิงใจ, เพลิดเพลินเจริญใจ, เช่น เด็ก ๆ เล่นสาดน้ำในเทศกาลสงกรานต์กันอย่างสนุกสนาน. |
สะวี้ดสะว้าด | ฉูดฉาด, นำสมัยแบบโลดโผน, เช่น เด็ก ๆ ไม่ควรแต่งตัวสะวี้ดสะว้าด. |
สะสวย | ว. ค่อนข้างสวย, อยู่ในเกณฑ์สวย, (มักใช้แก่ผู้หญิง), เช่น เด็ก ๆ แต่งตัวสะสวย เธอเป็นคนหน้าตาสะสวย. |
สาว ๑ | น. หญิงที่มีอายุพ้นวัยเด็ก นับตามความนิยมตั้งแต่ ๑๕-๓๐ ปีขึ้นไป เช่น ย่างเข้าสู่วัยสาว โตเป็นสาวแล้วยังซุกซนเหมือนเด็ก ๆ. |
หงุงหงิง, หงุง ๆ หงิง ๆ | ว. มีเสียงพูดกันเบา ๆ เช่น เด็ก ๆ คุยกันหงุงหงิง หนุ่มสาวคุยกันหงุง ๆ หงิง ๆ. |
หนวกหู | ก. รู้สึกรำคาญหูเพราะเสียงเซ็งแซ่อื้ออึง เช่น เด็ก ๆ เล่นกันเกรียว หนวกหูเหลือเกิน, โดยปริยายหมายความว่า รำคาญ เช่น เธอพูดมากฉันหนวกหูเต็มทีแล้ว. |
หนวกหู | ว. เซ็งแซ่อื้ออึงรำคาญหู เช่น เด็ก ๆ จุดประทัดเล่นกัน เสียงหนวกหูจริง. |
หัวก่ายท้ายเกย | ว. มากมายเต็มไปหมดอย่างไร้ระเบียบ เช่น เรือจอดหัวก่ายท้ายเกย เด็ก ๆ นอนกันหัวก่ายท้ายเกยเต็มห้องไปหมด. |
หัวจุก | น. ผมเด็ก ๆ ที่ขมวดเอาไว้ตรงขม่อม, จุก หรือ ผมจุก ก็เรียก. |
ให้หลัง | ก. คล้อยหลังไป เช่น พอครูให้หลัง เด็ก ๆ ก็ซนกันใหญ่. |
เอื้อ | ก. เอาใจใส่, มีนํ้าใจ, เช่น เอื้อแก่กัน, เห็นแก่ เช่น ทำกับข้าวเผ็ดไม่เอื้อเด็ก ๆ. |