กรรภิรมย์ | (กัน-) น. ฉัตร ๕ ชั้นและ ๗ ชั้น สำรับหนึ่งมี ๓ องค์ คือ พระเสมาธิปัต พระฉัตรชัย พระเกาวพ่ายหรือพระเกาวพ่าห์ ทำด้วยผ้าขาวลงยันต์เส้นเขียนทอง เป็นเครื่องสูงอันเป็นสิริมงคลยิ่งสำหรับพระมหากษัตริย์ ใช้กางเชิญนำพระราชยานเวลาเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราใหญ่ และใช้เข้าพิธีคชกรรมนำช้างสำคัญขึ้นจากแพเข้าสู่โรงสมโภช หรือใช้ผูกเสาพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีใหญ่, เขียนเป็น กรรม์ภิรมย์ กันภิรมย์ หรือ กันพิรุณ ก็มี. |
ขวัญ | สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจำชีวิตของคนตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทำให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน , และอนุโลมใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญเช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจ เช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกำลังใจของเมือง |
คำขวัญ | น. ถ้อยคำที่แต่งขึ้นเพื่อเตือนใจหรือเพื่อให้เป็นสิริมงคล. |
เงินขวัญถุง | น. เงินจำนวนหนึ่งที่ผู้ใหญ่มอบให้ในงานแต่งงานเป็นต้น เพื่อเก็บไว้เป็นสิริมงคล. |
เจิม ๑ | ก. เอาแป้งหอมแต้มเป็นจุด ๆ ที่หน้าผากหรือสิ่งที่ต้องการให้มีสิริมงคล |
ซัดทราย | ก. สาดทรายที่คั่วจนร้อนเทลงมาจากกำแพงให้ถูกข้าศึก, สาดทรายที่ปลุกเสกแล้วไปรอบ ๆ บริเวณ เพื่อให้เป็นสิริมงคล. |
ตะเพียนเงินตะเพียนทอง | น. เครื่องรางอย่างหนึ่ง ทำด้วยโลหะเป็นรูปปลาตะเพียนสีเงินตัวหนึ่ง สีทองตัวหนึ่ง เชื่อว่าเป็นสิริมงคลให้ทำมาค้าขึ้น. |
ทักขิณาวัฏ | น. การเวียนขวาเพื่อความเป็นสิริมงคลอย่างเดินเวียนเทียน. |
ทักษิณาวรรต | น. การเวียนขวาเพื่อความเป็นสิริมงคลอย่างเดินเวียนเทียน. |
ทับที่ | ว. เรียกอาการที่นอนตรงที่ของคนตายซึ่งเกี่ยวดองเป็นญาติผู้ใหญ่และเคยนอนประจำตรงนั้น เพราะเชื่อว่าเป็นสิริมงคล ว่า นอนทับที่. |
เบิกแว่นเวียนเทียน | ก. เริ่มทำพิธีเวียนเทียนทำขวัญ โดยจุดเทียนที่ติดบนแว่นเทียน วักแว่นเทียนเข้าหาตัว ๓ ครั้ง ใช้มือขวาปัดควันออกไปข้างหน้า เพื่อให้สิริมงคลเข้าสู่บุคคลหรือสิ่งที่รับการเวียนเทียน แล้วส่งแว่นเทียนให้คนที่อยู่ถัดไปทางซ้ายต่อ ๆ ไปให้ครบรอบ. |
พร | (พอน) น. คำแสดงความปรารถนาให้ประสบสิ่งที่เป็นสิริมงคล เช่น ให้พร ถวายพระพร, สิ่งที่ขอเลือกเอาตามประสงค์ เช่น ขอพร. |
พิธี | น. งานที่จัดขึ้นตามลัทธิหรือความเชื่อถือตามขนบธรรมเนียมประเพณีเพื่อความขลังหรือความเป็นสิริมงคลเป็นต้น เช่น พิธีพระราชทานปริญญาบัตร พิธีมงคลสมรส พิธีประสาทปริญญา |
มงคล, มงคล- | สิ่งที่ทำเป็นวงด้วยด้ายเป็นต้นสำหรับสวมศีรษะเพื่อเป็นสิริมงคล นิยมใช้เฉพาะในเวลาชกมวยไทยหรือตีกระบี่กระบอง. |
มนต์, มนตร์ | น. คำศักดิ์สิทธิ์, คำสำหรับสวดเพื่อเป็นสิริมงคล เช่น สวดมนต์, คำเสกเป่าที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ เช่น ร่ายมนตร์ เวทมนตร์. |
มิ่ง | น. สิ่งเป็นสิริมงคล เช่น มิ่งเมือง เมียมิ่ง. |
มิ่งมงคล | น. สิ่งที่ถือว่าเป็นสิริมงคลอันจะนำความสุขความเจริญมาสู่. |
ราศี ๒ | สิริมงคล เชื่อกันว่าเวลาเช้าราศีอยู่ที่หน้า เวลากลางวันราศีอยู่ที่หน้าอก เวลากลางคืนราศีอยู่ที่เท้า. |
ว่าน | น. ชื่อเรียกพืชบางชนิดที่มีหัวบ้าง ไม่มีหัวบ้าง ใช้ทำยาบ้าง หรือเชื่อกันว่าทำให้อยู่ยงคงกระพันและเป็นสิริมงคล เช่น ว่านนางล้อม ว่านเสน่ห์จันทร์แดง. |
ศรี ๑ | (สี) น. มิ่ง, สิริมงคล, ความรุ่งเรือง, ความสว่างสุกใส, ความงาม, ความเจริญ, เช่น ศรีบ้าน ศรีเรือน ศรีเมือง, ใช้นำหน้าคำบางคำเป็นการยกย่อง เช่น พระศรีรัตนตรัย วัดพระศรีรัตนศาสดาราม. |
สิริ ๒, สิรี | น. ศรี, มิ่งขวัญ, มงคล, เช่น สิริราชสมบัติ, มักใช้เข้าคู่กับคำ มงคล เป็น สิริมงคล |
สิว- ๒, สิวะ | (สิวะ-) น. ความดี, สิริมงคล |
เสียราศี | ก. เสียสง่า, เสียเกียรติยศ, เสียศักดิ์ศรี, เสียสิริมงคล, เช่น คบคนชั่วทำให้เสียราศี. |
อาถรรพ์, อาถรรพณ์, อาถรรพณะ | (-ถัน, -ถัน, -ถับพะนะ) น. สิ่งสืบเนื่องจากคัมภีร์อถรรพเวท, การทำพิธีตามตำราไสยศาสตร์เพื่อให้เกิดสิริมงคลป้องกันภยันตราย หรือทำอันตรายผู้อื่น เช่น ทำพิธีฝังเสาหินหรือฝังบัตรพลี ซึ่งเรียกว่า ฝังอาถรรพ์ |