ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*ป๋อม*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: ป๋อม, -ป๋อม-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
ป๋อม(adv) splashingly, See also: plop, fall into water with splash, Example: เพราะว่าไม่ทันระวัง ลูกบอลก็เลยตกลงไปในน้ำเสียงดังป๋อม, Thai Definition: เสียงดังอย่างของมมีน้ำหนักตกน้ำ

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ [with local updates]
จ้อมป้อมว. จอมเปาะ.
ตะล่อมป้อมว. กลม ๆ ป้อม ๆ.
ป้อม ๑น. หอรบ
ป้อม ๑ที่อยู่หรือที่พักซึ่งทำขึ้นใช้กันแดดกันฝน เช่น ป้อมตำรวจ.
ป้อมบังคับการน. ที่ซึ่งมีที่กำบังแข็งแรงสำหรับใช้ในการควบคุมการใช้อาวุธและสั่งการเดินเรือในยามสงคราม.
ป้อม ๒, ป้อม ๆว. กลม ๆ.
ป๋อมว. เสียงดังอย่างของมีนํ้าหนักตกนํ้า, โดยปริยายหมายถึง อาการที่สูญหายไปอย่างของตกนํ้า เช่น หายป๋อมไปเลย.
พญาขามป้อม, พญามะขามป้อมน. ชื่อไม้ต้นพวกเมล็ดเปลือยชนิด Cephalotaxus griffithii Hook.f. ในวงศ์ Cephalotaxaceae, มะขามป้อมดง ก็เรียก.
พญาขามป้อม, พญามะขามป้อมชื่อไม้ต้นพวกเมล็ดเปลือยชนิด Dacryarpus imbricatus (Blume) de Laub. ในวงศ์ Podocarpaceae.
มะขามป้อมน. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Phyllanthus emblica L. ในวงศ์ Euphorbiaceae ผลกลม รสเปรี้ยวฝาด เมล็ดแข็ง ผลใช้ทำยาได้.
มะขามป้อมดงดู พญาขามป้อม, พญามะขามป้อม (๑).
ลูกป้อมน. ที่กำบังตัวทหารที่รักษาการณ์อยู่บนกำแพงป้อม เป็นรูปสี่เหลี่ยม.
หอมป้อมดู ชี ๒.
กบ ๒น. ชื่อสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกหลายชนิด ในสกุล Rana วงศ์ Ranidae ลำตัวสั้นป้อมมีขนาดต่าง ๆ กัน ขาคู่หลังใหญ่และยาวกว่าขาคู่หน้า ตีนแบนมีพังผืดติดเป็นพืด เมื่อโตเต็มที่ไม่มีหาง กระโดดได้ไกล ว่ายน้ำ ดำน้ำได้เร็ว เมื่อยังเป็นตัวอ่อนมีหาง อยู่ในน้ำเรียกว่า ลูกอ๊อด ภายหลังจึงงอกขา หางหดหายไป แล้วขึ้นอาศัยบนบก หน้าแล้งอยู่แต่ในรู ไม่ออกหาอาหารชั่วคราว เรียกว่า กบจำศีล เช่น กบนา [ Hoplobatrachus rugulosus (Wiegmann) หรือ R. rugulosus (Wiegmann) ].
กระเจาน. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Corchorusวงศ์ Tiliaceae ขึ้นอยู่ในที่ลุ่ม เปลือกต้นเหนียว เมื่อลอกออกแล้ว เรียกว่า ปอ เช่น ปอกระเจาฝักกลม ( C. capsularis L.) ผลป้อม เปลือกย่นเป็นตุ่ม ๆ ใบใช้เป็นอาหารได้, พายัพเรียก เส้ง, และปอกระเจาฝักยาว ( C. olitorius L.) ฝักยาวเรียวมีสันตามยาว, เมล็ดของปอทั้ง ๒ ชนิดนี้มีพิษ ปอใช้ทำกระสอบ.
กระชอน ๒น. ชื่อแมลงหลายชนิด ในวงศ์ Gryllotalpidae ลำตัวสีน้ำตาล ยาวประมาณ ๓ เซนติเมตร ปีกสั้น บินได้ในระยะใกล้ ขาคู่หน้าสั้นป้อมและแบนทางข้าง คล้ายอุ้งมือ ปลายมีหนามแข็งใช้ขุดดิน อาศัยอยู่ในดิน กินรากพืชและแมลงเล็ก ๆ ที่พบบ่อย เช่น ชนิด Gryllotalpa orientalis Burmeister.
กระแชง ๑ชื่อเรือบรรทุกชนิดหนึ่ง เล็กกว่าเรือเอี้ยมจุ๊น ท้องเรือกลมป้อม ใช้กระแชงทำเป็นประทุน เรียกว่า เรือกระแชง.
กระติ๊ด ๑น. ชื่อนกขนาดเล็ก ในวงศ์ Estrildidae ปากสั้นหนารูปกรวยปลายแหลม หัวกลม ลำตัวอ้วนป้อม มีหลายสี ปลายหางแหลม ใช้หญ้าทำรังเป็นรูปกลมอยู่บนพุ่มไม้เตี้ย ๆ หรือกอหญ้า ปากรังอยู่ทางด้านข้าง กินเมล็ดพืช มีหลายชนิด ที่พบมาก คือ กระติ๊ดขี้หมู [ Lonchura punctulata (Linn.) ] ชนิดอื่น ๆ เช่น กระติ๊ดเขียวหรือไผ่ [ Erythrura prasina (Sparrman) ] กระติ๊ดแดงหรือสีชมพูดง [ Amandava amandava (Linn.) ] กระติ๊ดท้องขาว[ Lonchura leucogastra (Blyth) ], กะทิ ก็เรียก.
กระปุกน. ภาชนะเครื่องปั้นดินเผาหรือแก้วเป็นต้น รูปป้อม ๆ เตี้ย ๆ ขนาดเล็ก โดยมากปากแคบ ก้นสอบ, ลักษณนามเรียกทะลายของผลระกำหรือผลจาก เช่น ผลระกำกระปุกหนึ่ง ผลจาก ๒ กระปุก.
กระเปาะเหลาะว. มีสัณฐานกลมป้อม, เปาะเหลาะ ก็ว่า.
กรัน ๒(กฺรัน) น. ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งของสกุล Musax paradisiaca L. ผลสั้นป้อม ไม่มีเมล็ด.
กวัก ๑(กฺวัก) น. ชื่อนกขนาดกลางชนิด Amaurornis phoenicurus (Pennant) ในวงศ์ Rallidae ลำตัวสั้น รูปร่างป้อม ขาและนิ้วยาว หน้าผากและด้านล่างลำตัวสีขาว อาศัยอยู่ตามหนองนํ้า เดินหากินบนพื้นดินหรือบนใบพืชนํ้า เช่น บัว จอก แหน ขณะเดินหางมักกระดกขึ้นกระดกลง ในตอนเช้าหรือพลบคํ่าร้องเสียงดัง “กวัก ๆ ”.
กวางโจน(กฺวาง-) น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาวคล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป.
กะทกรกชื่อไม้เถาชนิด Passiflora foetida L. ในวงศ์ Passifloraceae มีมือเกาะ ใบป้อมมี ๓ หยัก ดอกสีขาว ผลกลม เมื่อสุกสีเหลืองกินได้ มีใบประดับเป็นฝอยหุ้ม ยอดนำมาต้มใช้เป็นผัก, กระโปรงทอง เงาะป่า ถลกบาตร เถาเงาะ เถาสิงโต หรือ หญ้ารกช้าง ก็เรียก.
กะรัง ๒น. ชื่อปลาทะเลขนาดกลางและขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Epinephelus, Cephalopholis และ Plectopomus วงศ์ Serranidae หัวโต รูปร่างป้อม เรียวยาวไปทางหาง แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็ก สีตามตัวและครีบเป็นดอกดวง แต้ม หรือบั้ง ฉูดฉาดหรือคลํ้าทึบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาด พบอาศัยอยู่ตามบริเวณหมู่ปะการัง โขดหินใกล้ฝั่งหรือเกาะ.
กะราง, กะลางน. ชื่อนกขนาดกลางหลายชนิด ใน ๒ วงศ์ ลำตัวอ้วนป้อม หากินเป็นฝูงตามพื้นดิน อาจหากินร่วมกับนกชนิดอื่น ๆ พวกที่อยู่ในวงศ์ Sylviidae มีปากหนาสั้นสีดำปลายแหลม เช่น กะรางหัวหงอก [ Garrulax leucolophus (Hardwicke) ] กะรางคอดำ [ G. chinensis (Scopoli) ] กะรางสร้อยคอเล็ก [ G. monileqer (Hodgson) ] พวกที่อยู่ในวงศ์ Upupidae ได้แก่ กะรางหัวขวาน ( Upupa epops Linn.) ปากยาวแหลมโค้งสีดำ หงอนขนสีส้มขอบดำ ลักษณะหงอนขนเหมือนหมวกของอินเดียนแดง ขนตามลำตัวสีนํ้าตาลอมเหลือง มีแถบดำขาวสลับกัน, ชนิดนี้ การางหัวขวาน หรือ หงอนชบา ก็เรียก.
กะหำแพะน. ชื่อมะเขือพันธุ์หนึ่งของชนิด Solanum melongena L. ผลมีสีม่วง สั้นและป้อมกว่ามะเขือยาว.
กะเหลาะเปาะว. กระเปาะเหลาะ, มีสัณฐานกลมป้อม, ตะเหลาะเปาะ ก็ว่า.
กันภัย, กันภัยมหิดลน. ชื่อไม้เถาชนิด Afgekia mahidoliae Burtt et Chermsir. ในวงศ์ Leguminosae พบทางจังหวัดกาญจนบุรี ใบเป็นใบประกอบ ช่อหนึ่งมีใบย่อยหลายใบ ด้านล่างของใบมีขนสีนํ้าตาล ดอกเป็นช่อตั้ง สีขาวปนม่วง ฝักสั้นป้อมแบน ๆ ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี.
กิ้งโครง ๑น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Sturnidae รูปร่างอ้วนป้อมคล้ายนกเอี้ยง หางสั้น ขาแข็งแรง กินผลไม้และแมลง ในประเทศไทยมี ๖ ชนิด ชนิดที่มีขนาดเล็ก เช่น กิ้งโครงแกลบปีกขาว [ Sturnus sinensis (Gmelin) ] ชนิดที่มีขนาดกลาง เช่น กิ้งโครงคอดำ ( S. nigricollis (Paykull)), คลิ้งโคลง ก็เรียก.
เก๋า ๑น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Serranidae (Epinephelidae) ปลาเหล่านี้เมื่อมีขนาดเล็กมักเรียก เก๋า เมื่อมีขนาดกลางและขนาดโตมักเรียก กะรัง หรือหมอทะเล ส่วนขนาดโตมากเรียก หมอทะเล ส่วนใหญ่ลำตัวยาว ป้อม ล่ำสั้น แบนข้างเล็กน้อย ปลายครีบต่าง ๆ มนกลม เฉพาะปลายครีบหางของบางชนิดเว้า บ้างก็ตัดตรง เกล็ดเล็กคลุมทั่วตัวรวมทั้งหัวและล้ำไปบนครีบเดี่ยว ลำตัวรวมทั้งครีบมักมีสีต่าง ๆ โดยเปลี่ยนไปตามขนาด เป็นแต้ม ด่าง ดวง ลาย หรือจุดประคล้ำทึบ แต่บางชนิดก็มีสีแดงหรือเทาโดยตลอด พบอาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเลและชายฝั่งที่มีที่หลบซ่อน แต่ส่วนใหญ่จะพบบริเวณใกล้หรือในเขตปะการัง ชนิด Epinephelus merra Bloch, E. sexfasiatus (Valenciennes), Cephalopholis boenak (Bloch) ยาวเพียงไม่เกิน ๒๖ เซนติเมตร ส่วนชนิด Promicrops lanceolatus (Bloch) ขนาดยาวไม่ถึง ๒.๗ เซนติเมตร และเป็นปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดของโลก ชื่อ เก๋า ตุ๊กแก กะรัง เป็นชื่อทั่วไปที่มักใช้เรียกปลาเกือบทุกชนิดในวงศ์นี้ที่มีขนาดไม่โตนัก สำหรับชื่อ กะรัง และหมอทะเล มักพบเรียกปลาพวกนี้ที่มีขนาดโตจนถึงยาว ๐.๕-๑.๕ เมตร ส่วน หมอทะเล ใช้เรียกชนิด P. l. (Bloch) .
แก้ว ๒น. ชื่อนกปากขอหลายชนิด ในวงศ์ Psittacidae ปากสีแดงหรือเหลือง จะงอยปากบนงอโค้งเป็นขอปลายแหลมขยับไปมาและขึ้นลงได้ จะงอยปากล่างขยับไปข้างหน้าและถอยมาข้างหลังได้ หัวค่อนข้างโต ลำตัวป้อม สีส่วนใหญ่ของลำตัวเป็นสีเขียวอมเหลือง อยู่ร่วมกันเป็นฝูง กินเมล็ดพืชและผลไม้ ในประเทศไทยมี ๗ ชนิด แต่ที่เรียกว่านกแก้วมี ๒ ชนิด ได้แก่ แก้วโม่ง [ Psittacula eupatria (Linn.) ] ซึ่งเป็นนกแก้วขนาดใหญ่ที่สุดของไทย และแก้วหัวแพร ( P. roseata Biswas) .
ไก่ฟ้าน. ชื่อนกขนาดกลางหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Phasianidae ตัวขนาดไล่เลี่ยกับไก่บ้าน ปากสั้นแข็งแรง ปลายแหลมโค้งเล็กน้อย ตัวผู้ส่วนใหญ่ที่หน้ามีแผ่นหนังสีสดใสคล้ายหน้ากาก เกือบทุกชนิดมีหงอนเป็นพู่ขน คอยาว ลำตัวป้อม มีหลายสี ขาแข็งแรง หางยาวโดยเฉพาะตัวผู้มีหางกะลวยสวยงามเป็นพิเศษและสีสันสวยงามกว่าตัวเมีย กินแมลง สัตว์เล็ก ๆ ผลไม้สุก และเมล็ดพืช เช่น ไก่ฟ้าหลังขาว [ Lophura nycthemera (Linn.) ] พญาลอหรือไก่ฟ้าพญาลอ ( L. diardi (Bonaparte)) ไก่ฟ้าหางลายขวาง [ Syrmaticus humiae (Hume) ] .
ข้าหลวง ๓น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กชนิด Scolopsis ciliatus (Lacepéde) ในวงศ์ Nemipteridae ลำตัวป้อม แบนข้างปานกลาง พื้นลำตัวสีเขียวหม่น มีแถบสีขาวเด่นพาดตามยาวใกล้แนวสันหลังข้างละเส้น ระหว่างตาและแผ่นกระดูกใต้ตามีหนามแหลม ๑ อัน ชี้ไปทางด้านหน้า ขอบด้านนอกของขากรรไกรบนจักเป็นฟันเลื่อย พบอาศัยอยู่ตามแนวหินปะการัง ขนาดยาวได้ถึง ๑๓ เซนติเมตร.
คะนนน. เรียกหม้อดินขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ตัวหม้อกลมป้อม ปากแคบ มีขีดเป็นรอยโดยรอบ สำหรับใส่น้ำ น้ำตาลโตนด เป็นต้น ว่า หม้อคะนน, ทะนน ก็ว่า.
คับแคน. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Nettapus coromandelianus (Gmelin) ในวงศ์ Anatidae เป็นนกเป็ดนํ้าที่เล็กที่สุดในประเทศไทย ปากสั้น รูปร่างอ้วนป้อม ตัวผู้ปีกสีเขียวเข้มเป็นมัน หน้า คอ และท้องสีขาว ที่คอมีวงสีเขียวเข้มหรือดำ ตัวเมียปีกสีนํ้าตาล ท้องสีขาวมีกระสีนํ้าตาล ทำรังในโพรงไม้.
คีรีบูนน. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Fringillidae เป็นนกที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ปากสั้นหนาแข็งแรง ลำตัวอ้วนป้อม คล้ายนกจาบปีกอ่อน ขนลำตัวมีหลายสี ขาค่อนข้างยาวบอบบาง กินเมล็ดพืช ถิ่นกำเนิดส่วนใหญ่อยู่ในเขตอบอุ่น เช่น ทวีปยุโรป ตอนเหนือของทวีปเอเชีย นิยมเลี้ยงในกรง ร้องเสียงไพเราะ เช่น ชนิดสีเหลือง [ Serinus pusillus (Pallas) ].
คุ่นน. ชื่อแมลงในสกุล Simuliumวงศ์ Simuliidae ขนาดเล็ก มีความยาว ๒-๔ มิลลิเมตร ส่วนใหญ่ตัวป้อมสีดำ มีปีกใสค่อนข้างกว้าง ๑ คู่ มักพบบินเป็นกลุ่มเวลาพลบค่ำหรือเช้ามืดบริเวณลำธารน้ำไหล ดูดกินเลือดคนและสัตว์ ทำให้ผิวหนังบวมแดง ถ้าเป็นมากจะอักเสบจนเป็นหนอง เช่น ชนิด S. nigrogilrum Summers พบทางภาคเหนือ, บึ่ง ปึ่ง หรือ ริ้นดำ ก็เรียก.
คุ่ม ๑น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิดใน ๒ วงศ์ ลำตัวอ้วนป้อมปีกเล็กสั้นแข็งแรง ขาสั้นไม่มีขนคลุม หางสั้น หากินตามพื้นดิน บินได้ในระยะทางสั้น ๆ ได้แก่ วงศ์ Turnicidae ตีนมี ๓ นิ้ว จับเกาะกิ่งไม้ไม่ได้ มี ๓ ชนิด คือ คุ่มอืดเล็ก[ Turnix sylvatica (Desfontaines) ] คุ่มอืดใหญ่ ( T. tanki Blyth) และคุ่มอกลายหรือคุ่มอืดอกลาย [ T. suscitator (Gmelin) ] และวงศ์ Phasianidae ตีนมี ๔ นิ้ว จับเกาะกิ่งไม้ได้ มี ๓ ชนิด คือ คุ่มสี [ Coturnix chinensis (Linn.) ] คุ่มอกดำ [ C. coromandelica (Gmelin) ] และคุ่มญี่ปุ่น ( C. japonicaTemminck & Schlegel) .
จตุผลาธิกะน. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนผลไม้อันให้คุณไว้ ๔ อย่าง คือ ลูกสมอไทย ลูกสมอพิเภก ลูกมะขามป้อม ลูกสมอเทศ.
จะละเม็ด ๑น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิด ในสกุล Pampus วงศ์ Stromateidae และในสกุล Parastromateus วงศ์ Carangidae รูปร่างป้อม ค่อนข้างสั้น ลำตัวแบนข้างมาก หัวเล็กมน ปากเล็ก เกล็ดเล็ก บริเวณคอดหางไม่มีสันคม ได้แก่ จะละเม็ดขาว [ Pampus argenteus (Euphrasen) ] หางเป็นแฉกยาว เว้าลึก จะละเม็ดเทา [ P. chinensis (Euphrasen) ] หางเว้าตื้น ทั้ง ๒ ชนิดนี้ไม่มีครีบท้อง ส่วนจะละเม็ดดำ [ Parastromateus niger (Bloch) ] ที่บริเวณคอดหางเป็นสันคม และมีครีบท้องเฉพาะในปลาขนาดเล็ก.
จาบปีกอ่อนน. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิด ในวงศ์ Emberizidae เป็นนกที่อพยพมาประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว ปากสั้นหนาแข็งแรง ลำตัวอ้วนป้อม หางยาวปานกลาง ปลายหางเว้าตื้น ทั้งสองเพศมีสีแตกต่างกัน ตัวผู้สีสดกว่าตัวเมีย กินเมล็ดผลไม้และแมลง เช่น จาบปีกอ่อนสีตาล ( Emberiza rutilaPallas) จาบปีกอ่อนอกเหลือง ( E. aureola Pallas) จาบปีกอ่อนหงอน [ Melophus lathami (Gray) ].
จาบฝนน. ชื่อนกขนาดเล็ก ในวงศ์ Alaudidae รูปร่างอ้วนป้อม สีน้ำตาลเหลือง มีลายจุดที่คอและอก หางสั้น เสียงร้องไพเราะ อยู่ตามทุ่งโล่ง กินแมลงและเมล็ดพืช ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จาบฝนเสียงใส ( Mirafra javanica Horsfield) จาบฝนปีกแดง ( M. assamica Horsfield) และจาบฝนเสียงสวรรค์ ( Alaula gulgula Franklin).
ชะมด ๒น. ชื่อกวางในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae เป็นกวางขนาดเล็ก ลำตัวป้อม หัวเล็ก ไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้งออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี ๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย ( Moschus moschiferus Linn.) กวางชะมดเขาสูง [ M. chrysogaster (Hodgson) ] กวางชะมดดำ ( M. Fuscus Li) และกวางชะมดป่า ( M. berezovskii Flerov) ไม่พบในประเทศไทยแต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า.
ชี ๒น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Coriandrum sativum L. ในวงศ์ Umbelliferae ทั้งต้นมีกลิ่น ใช้เป็นผัก เรียกว่า ผักชี ดอกเล็กสีขาว ผลกลมมีกลิ่นฉุน เมื่อแก่ใช้เป็นเครื่องเทศ, ชีลา หรือ หอมป้อม ก็เรียก.
ซ่งฮื้อน. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Hypophthalmichthys nobilis (Richardson) ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด หัวโต เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงิน ยาวป้อม แบนข้างเล็กน้อย ท้องกลม หากินอยู่ตามพื้นท้องน้ำ มีถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร.
ไซ ๒น. ชื่องูน้ำจืดขนาดกลางชนิด Enhydris bocourti Jan ในวงศ์ Colubridae หัวป้อมใหญ่ ปลายปากมน คอไม่คอด ลำตัวอ้วนกลมสีน้ำตาลเหลืองหรือน้ำตาลแดง บนหลังมีลายเป็นปล้องใหญ่ หางสั้น มีพิษอ่อนมาก ผู้ถูกกัดมักไม่มีปฏิกิริยาต่อพิษงูชนิดนี้.
ตรีผลา(-ผะลา) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันเป็นผลไม้ ๓ อย่าง คือ สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม.
ตลับนาก(ตะหฺลับ-) น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่ง ผลกลมป้อม กลิ่นหอม.
ตะขาบ ๒น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Coraciidae ปากใหญ่ แบนข้าง หัวใหญ่ ตัวป้อม มักเกาะตามสายไฟและกิ่งไม้แห้งเพื่อคอยโฉบจับแมลงหรือสัตว์เล็ก ๆ ตามพื้นดิน ตัวผู้เกี้ยวตัวเมียโดยการบินขึ้นไปในอากาศ แล้วม้วนตัวกลับลงมา ทำรังในโพรงไม้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ตะขาบทุ่ง [ Coracias benghalensis (Linn.) ] ปากสีดำ หัวและปีกสีฟ้า ตัวสีนํ้าตาล และตะขาบดง [ Eurystomus orientalis (Linn.) ] ปากสีแดง ตัวสีน้ำเงินแกมเขียว, ขาบ ก็เรียก.

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย[Khēt Pøm Prāi Sattrū Phāi] (n, prop) EN: Pom Prap Sattru Phai district
ครอบป้อม[khrøp pǿm] (n, exp) EN: moat  FR: fossé [ m ] ; douve [ f ]
มะขามป้อม[makhāmpøn] (n) EN: Emblic Myrabolan ; Malacca Tree ; Indian Gooseberry ; Amala Plant ; Amalak Tree
ป้อม[pǿm] (n) EN: fort ; fortress ; citadel ; fortification  FR: forteresse [ f ] ; bastion [ m ] ; citadelle [ f ]
ป้อม[pǿm] (n) EN: box ; kiosk  FR: guérite [ f ] ; poste [ m ]
ป้อม[pǿm] (adj) EN: round ; rounded ; plump
ป้อมบังคับการ[pǿmbangkhapkān] (n) EN: fortress
ป้อม ๆ[pǿm-pǿm] (adj) EN: small and round
ป้อมปราการ[pømprākān] (n) EN: fortress ; bastion ; bulwark ; citadel ; fortification  FR: forteresse [ f ] ; bastion [ m ] ; citadelle [ f ] ; fortification [ f ]
ป้อมตำรวจ[pǿm tamrūat] (n, exp) EN: police booth ; police kiosk ; police box  FR: guérite de police [ f ]
ป้อมยาม[pǿm yām] (n, exp) EN: keeper' s box

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
plop(พลอพ) n., v..adv. (ทำให้เกิด) เสียงดังป๋อมหรือแปะ, การตกลงไปดังป๋อมหรือแปะ.

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top