Kerogene | สารอินทรีย์ที่ประกอบอยู่ในหินตะกอน, Example: สารอินทรีย์ที่ประกอบอยู่ในหินตะกอนซึ่งไม่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ (Insoluble inorganic solvents) และเป็นตัวที่ให้กำเนิดปิโตรเลียมด้วย เป็นอินทรีย์สารเชิงซ้อนเมื่อถูกความร้อนจะสลายตัวให้น้ำมันดิบ [ปิโตรเลี่ยม] |
Organic-Matter Degradation | การสลายของสารอินทรีย์, Example: การเปลี่ยนแปลงของสารอินทรีย์ไปเป็น สารอนินทรีย์ โดยวิธีการทางชีวภาพ [สิ่งแวดล้อม] |
Bioethanol | ไบโอเอทานอล, เอทานอลที่ได้จากกระบวนการย่อยสลาย หรือกระบวนการหมักสารอินทรีย์รวมทั้งของเสียในสภาวะไร้อากาศ มักประกอบด้วยมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ [เทคโนโลยีชีวภาพ] |
Biogas | ไบโอก๊าซ, ไบโอก๊าซ คือก๊าซที่เกิดจากกระบวนการย่อยสลายหรือกระบวนการหมักสารอินทรีย์ รวมทั้งของเสียในสภวะไร้อากาศ ซึ่งสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ มักประกอบด้วยมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ [เทคโนโลยีชีวภาพ] |
Chemosynthesis | พลังงานจากสารอินทรีย์อื่นๆ [การแพทย์] |
Dust, Organic | ฝุ่นอินทรีย์, ฝุ่นละอองสารอินทรีย์ [การแพทย์] |
nucleic acid | กรดนิวคลิอิก, สารอินทรีย์ที่มีอยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ประกอบด้วยหน่วยย่อยคือ นิวคลีโอไทด์ต่อกันเป็นสาย กรดนิวคลีอิกมี 2 ชนิด คือ DNA และ RNA [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
decompose | เน่าเปื่อย, การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโมเลกุลของสารอินทรีย์จากโมเลกุลใหญ่เป็นโมเลกุลเล็กหลาย ๆ โมเลกุลโดยเห็ดราและแบคทีเรียบางชนิด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
biochemical oxygen demand (BOD) | ความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมี (บีโอดี), ปริมาณของออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ไปในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ ค่าบีโอดีเป็นเกณฑ์อย่างหนึ่งในการวัดคุณภาพของน้ำ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
cellulose | เซลลูโลส, สารอินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติมากที่สุด อยู่ในผนังเซลล์ของพืชทุกชนิด สูตรเคมีคือ (C6H10O5)n เป็นพอลิเมอร์ของน้ำตาลกลูโคส ใช้ในอุตสาหกรรมเส้นใยสังเคราะห์ และพลาสติกบางชนิด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
cytoplasm | ไซโทพลาซึม, ของเหลวภายในเซลล์ที่อยู่รอบนิวเคลียส มีสารอินทรีย์พวกโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมันเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ไซโทพลาซึมแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ เอ็กโทพลาซึมและเอนโดพลาซึม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
bile | น้ำดี, ของเหลวที่ตับสร้างขึ้นมีสีเขียวแกมเหลือง ประกอบด้วย เกลือน้ำดี และสารอินทรีย์อื่น ๆ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
nicotinamide adenine dinucleotide (NAD) | นิโคตินาไมด์อะดีนีนไดนิวคลีโอไทด์, สารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นตัวรับไฮโดรเจนในกระบวนการหายใจระดับเซลล์ซึ่งเมื่อรับไฮโดรเจนแล้ว จะอยู่ในรูปของ NADH2 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
nicotinamide adenine dinucleotide phosphate (NADP) | นิโคตินาไมด์อะดีนีนไดนิวคลีโอไทด์ ฟอสเฟต, สารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นตัวรับไฮโดรเจนในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งเมื่อรับไฮโดรเจนแล้วจะอยู่ในรูปของ NADPH2 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
enzyme | เอนไซม์, สารอินทรีย์จำพวกโปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในปฏิกิริยาชีวเคมี เฉพาะอย่างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของเซลล์ เช่น ในปฏิกิริยาย่อยแป้งไปเป็นน้ำตาลมอลโทส จะต้องมีเอนไซม์ชื่ออะไมเลส [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
fermentation | กระบวนการหมัก, กระบวนการที่สารอินทรีย์เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี โดยอาศัยการทำงานของจุลินทรีย์ (เช่น ยีสต์ แบคทีเรีย เป็นต้น) หรือเอนไซม์ เช่น การหมักแป้ง น้ำตาลโดยใช้ยีสต์จะได้เอทานอล [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
kerogen | เคโรเจน, สารอินทรีย์ที่อยู่ในหินน้ำมัน เมื่ออบหินน้ำมันให้ร้อนพอเคโรเจนจะสลายตัวให้น้ำมันดิบ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
addition reaction | ปฏิกิริยาการเติม, 1. ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดจากสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปรวมเป็นสารใหม่เพียงชนิดเดียว 2. ปฎิกิริยาเคมีที่เกิดจากโมเลกุลหรืออะตอมรวมเป็นโมเลกุลเดียวกับสารอินทรีย์ประเภทไม่อิ่มตัวตรงตำแหน่งพันธะคู่หรือพันธะสาม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
petroleum | ปิโตรเลียม, สารอินทรีย์ในธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากการสลายตัวของพืชและสัตว์ที่ทับถมอยู่ใต้พื้นดินเป็นเวลาหลายล้านปี เป็นสารไฮโดรคาร์บอนซึ่งมีจำนวนคาร์บอนตั้งแต่ 1 - 60 อะตอม อาจเป็นแก๊ส (แก๊สธรรมชาติ) ของเหลว (น้ำมันดิบ แก๊สธรรมชาติเหลว) หรือของแข็ง (แอสฟัลต์) หรืออยู่รวมก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
methyl bromide | เมทิลโบรไมด์, สารเคมีชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ CH3Br เป็นแก๊สไม่มีสีหนักกว่าอากาศ ใช้เป็นยาพ่นฆ่าแมลง และใช้สังเคราะห์สารอินทรีย์อื่น ๆ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
hydrocarbon compound | สารประกอบไฮโดรคาร์บอน, สารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเท่านั้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
carboxyl group | หมู่คาร์บอกซิล, - COOH, หมู่อะตอมของสารอินทรีย์พวกกรด สูตรโครงสร้างคือ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
organic chemistry | อินทรีย์เคมี, วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมี สมบัติและการเกิดเป็นสารประกอบของสารอินทรีย์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
ether | อีเทอร์, สารอินทรีย์ซึ่งมีสูตรโครงสร้างทั่วไป คือ R - O - R´ เช่น ไดเอทิลอีเธอร์(C2H5 - O - C2H5) เป็นของเหลวไม่มีสี ใช้เป็นยาสลบและตัวทำละลาย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
amine | เอมีน, สารอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบในโมเลกุลเกิดจากหมู่ไฮโดรคาร์บอนแทนที่ไฮโดรเจนในโมเลกุลของแอมโมเนียเพียงหนึ่ง สอง หรือ ทั้งสามอะตอมก็ได้ เช่น อะนิลีน C6H5NH2 ไดเมทิลอามีน(CH3)2NH เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
alkyne | แอลไคน์, สารอินทรีย์ประเภทไม่อิ่มตัวที่มีพันธะสามอยู่ในโมเลกุลอย่างน้อย 1 ตำแหน่งสูตรเคมีทั่วไปคือ CnH2n-2 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
alkane | แอลเคน, สารอินทรีย์ประเภทอิ่มตัวพันธะระหว่างอะตอมของคาร์บอนเป็นพันธะเดี่ยวทั้งสิ้น สูตรเคมีทั่วไปคือ CnH2n+2 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
alkene | แอลคีน, สารอินทรีย์ประเภทไม่อิ่มตัวที่มีพันธะคู่อยู่ในโมเลกุลอย่างน้อย 1 ตำแหน่ง สูตรเคมีทั่วไป คือ CnH2n [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
alkaloid | แอลคาลอยด์, สารอินทรีย์ที่ได้จากพืช มีสมบัติเป็นเบส ในโมเลกุลจะประกอบด้วยธาตไนดตรเจนอย่างน้อย 1 อะตอม แอลคาลอยด์มีหลายชนิด เช่น นิโคติน เป็นแอลคาลอยด์ที่พบในใบยาสูบ มอร์ฟิน เป็นแอลคาลอยด์ที่พบในฝิ่น เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
fungi (พหูพจน์), fungus | ฟังไจ, สิ่งมีชีวิตที่มีทั้งเซลล์เดียวและหลายเซลล์ มักมีโครงสร้างเป็นเส้นใยที่เรียกไฮฟา ไม่มีคลอโรฟิลล์ ดำรงชีวิตได้โดยได้รับอาหารจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
anaerobic bacteria | แบคทีเรียแอนแอโรบิก, แบคทีเรียเฮเทอโรโทรฟิก ที่สามารถย่อยสลายโมเลกุลของอาหารโดยไม่ต้องอาศัยออกซิเจนในรูปของสารอิสระ แต่ใช้ออกซิเจนที่อยู่ในสารอินทรีย์หรือสารอนินทรีย์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
chemical oxygen demand (COD) | ความต้องการออกซิเจนทางเคมี (ซีโอดี), ปริมาณของออกซิเจนที่ใช้ทำปฏิกิริยาเคมีในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ ค่าซีโอดีเป็นเกณฑ์อย่างหนึ่งในการวัดคุณภาพของน้ำ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
vanilla | วานิลลา, พืชชนิดหนึ่งมีมากในอเมริกาใต้ นำเมล็ดมาสกัดได้สารอินทรีย์ สูตรเคมีคือC8H8O3 เป็นผลึกสีขาว จุดหลอมเหลว 81-82 °C จุดเดือด 285 °C มีกลิ่นหอม นิยมใช้ผสมอาหาร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
destructive distillation | การกลั่นทำลาย, การให้ความร้อนแก่สารอินทรีย์ในภาวะที่ไม่มีอากาศ จะทำให้สารบางชนิดที่อยู่ในสารอินทรีย์นั้นระเหยหรือสลายตัวออกเป็นสารที่มีโมเลกุลเล็กลง เช่น การกลั่นทำลายถ่านหิน จะได้แก๊สถ่านหิน เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Insecticides, Organic | สารป้องกันและกำจัดแมลงจำพวกสารอินทรีย์ [การแพทย์] |
Insecticides, Synthesized Organic | ยาฆ่าแมลงที่เป็นสารอินทรีย์ที่มนุษย์สร้างขึ้นมา [การแพทย์] |
Insecticides, Synthetic Organic | ยาฆ่าแมลงสารอินทรีย์สังเคราะห์ [การแพทย์] |