กล้องปริทรรศน์ | (ปะริทัด) น. กล้องชนิดหนึ่งที่ใช้มองดูสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมีที่กำบังขวางกั้น หรือใช้มองดูสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่เหนือระดับสายตาผู้มองได้โดยรอบ เช่น กล้องเรือดำน้ำ, กล้องตาเรือ ก็เรียก. |
กลุ่ม | (กฺลุ่ม) น. คน สัตว์ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันเป็นหมู่ ๆ หรือเป็นกลุ่มก้อน เช่น กลุ่มคน กลุ่มดาว กลุ่มด้าย |
กอง ๑ | น. สิ่งต่าง ๆ ที่รวมสุมกันไว้ เช่น กองมะม่วง กองขยะ. |
กะรุงกะรัง | ว. อาการที่ห้อยหรือแขวนสิ่งต่าง ๆ อย่างไม่เป็นระเบียบ. |
โกย | ก. อาการที่ใช้มือหรือสิ่งอื่นคุ้ยหรือกวาดสิ่งต่าง ๆ เช่น ข้าว ถ่าน มาทีละมาก ๆ, ขนหรือรวบเอาไปเป็นจำนวนมาก |
ของ | น. สิ่งต่าง ๆ |
คน ๒ | ก. กิริยาที่เอามือหรือสิ่งอื่นกวนเพื่อทำสิ่งที่นอนก้นหรือที่เกาะกันอยู่เป็นกลุ่มเป็นก้อนให้กระจายขยายตัว หรือกวนสิ่งต่าง ๆ ให้เข้ากัน. |
คุณ ๑, คุณ- | (คุน, คุนนะ-) น. ความดีที่มีประจำอยู่ในสิ่งนั้น ๆ เช่น คุณของแผ่นดิน, ความดีที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ เช่น ไม่รู้คุณข้าวแดงแกงร้อน |
เครื่องหอม | น. สิ่งต่าง ๆ ที่มีกลิ่นหอม เช่น แป้งร่ำ น้ำอบไทย, สิ่งที่ทำให้มีกลิ่นหอม เช่น ชะมดเช็ด กำยาน พิมเสน. |
โครง | (โคฺรง) น. ร่างของสิ่งต่าง ๆ ที่คุมกันอยู่เป็นรูป เช่น โครงกระดูก โครงว่าว. |
จักตอก | ก. เอาคมมีดผ่าไม้ไผ่ให้เป็นเส้นแบนบาง สำหรับใช้ผูกมัดหรือสานสิ่งต่าง ๆ. |
เซต ๑ | น. คำที่ใช้ระบุถึงกลุ่มหรือหมู่ของสิ่งต่าง ๆ โดยมีเงื่อนไขที่แน่นอนว่า สิ่งใดอยู่ในกลุ่มหรือสิ่งใดมิได้อยู่ในกลุ่มนั้น ๆ |
ดอง ๑ | ก. แช่หรือหมักผัก ผลไม้ หรือสิ่งต่าง ๆ ไว้ในนํ้าส้ม นํ้าเกลือ เป็นต้น เพื่อเก็บรักษาไว้ให้อยู่ได้นาน ๆ เช่น ดองผัก ดองผลไม้ หรือเพื่อไม่ให้เปื่อยเน่า เช่น ดองศพ |
ดำ ๓ | ว. สีอย่างสีเขม่าไฟจับก้นหม้อ, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น ผ้าดำ เต่าดำ มดดำ. |
ดิน ๑ | น. ชื่อธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, วัตถุธาตุของพื้นโลกที่ใช้สำหรับปลูกพืชผลหรือปั้นสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น |
แดง ๑ | ว. สีอย่างสีเลือดหรือสีชาด, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น มดแดง ผ้าแดง. |
ตอก ๒ | น. ไม้ไผ่ที่จักเป็นเส้นแบนยาว ขนาดหนาหรือบางตามต้องการ สำหรับผูกมัดหรือสานสิ่งต่าง ๆ |
เตา | น. ที่สำหรับก่อไฟหุงต้มหรือเผาสิ่งต่าง ๆ ตามปรกติใช้ฟืนหรือถ่าน ถ้าใช้สิ่งอื่น ๆ ก็เรียกชื่อตามสิ่งนั้น ๆ เช่น เตาแก๊ส เตาไฟฟ้า. |
ทอง ๑ | เรียกสิ่งที่ทำด้วยทองเหลือง ว่า ทอง ก็มี เช่น กระทะทอง หม้อทอง, โดยปริยายหมายถึงสีเหลือง ๆ อย่างสีทอง เช่น เนื้อทอง ผมทอง แสงทอง, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น ขนมทอง คือขนมชนิดหนึ่ง รูปวงกลม มีนํ้าตาลหยอดข้างบน, ปลาทอง คือปลาชนิดหนึ่ง ตัวสีเหลืองหรือแดงส้ม. |
น้ำหนัก | น. ความหนักของสิ่งต่าง ๆ, ความสำคัญ เหตุผล หรือพยานหลักฐาน เป็นต้น ที่ควรแก่การเชื่อถือ หรือที่จูงใจให้เชื่อถือ. |
เนื้อ ๑ | สิ่งที่เป็นลักษณะประจำตัวของสิ่งต่าง ๆ เช่น เนื้อไม้ เนื้อเงิน เนื้อทอง |
ประดับ | ก. ตกแต่งให้งามด้วยสิ่งต่าง ๆ มีสร้อย แหวน เป็นต้น เช่น ประดับเหรียญตรา ประดับอาคารสถานที่ ประดับโคมไฟ, โดยปริยายหมายความว่า ประกอบ, เพิ่ม, เช่น ประดับบารมี. |
ประสะ | ก. ฟอกหรือชำระสิ่งต่าง ๆ เช่นเครื่องยาเพื่อให้สะอาดหรือให้รสอ่อนลง |
ปริทรรศน์ | (ปะริทัด) น. ชื่อกล้องชนิดหนึ่งที่ใช้มองดูสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมีที่กำบังขวางกั้น หรือใช้มองดูสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่เหนือระดับสายตาผู้มองได้โดยรอบ เช่น กล้องเรือดำนํ้า, กล้องตาเรือ ก็เรียก. |
ปลูก | เอาสิ่งต่าง ๆ มาปรุงกันเข้าเพื่อทำเป็นที่อยู่หรือที่พักอาศัยโดยวิธีฝังเสาลงในดิน เช่น ปลูกบ้าน ปลูกเรือน, ปลูกสร้าง ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึง การกระทำที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลูกพลับพลายก. |
ปลูกสร้าง | ก. เอาสิ่งต่าง ๆ มาปรุงกันเข้าเพื่อทำเป็นที่อยู่หรือที่พักอาศัยโดยวิธีฝังเสาลงในดิน เช่น ปลูกสร้างบ้าน ปลูกสร้างเรือน, ปลูก ก็ว่า. |
ปาก | ขอบช่องแห่งสิ่งต่าง ๆ เช่น ปากหม้อ ปากไห |
ปีก | น. อวัยวะสำหรับบินของนกหรือแมลงเป็นต้น, อวัยวะเช่นนั้นของสัตว์บางชนิด แต่ใช้บินไม่ได้, ส่วนของสิ่งต่าง ๆ ที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ปีกตะไล ปีกเครื่องบิน |
เป๊ก ๒ | น. หมุดสำหรับตรึงสิ่งต่าง ๆ มีกระดาษเป็นต้น. |
เปลือก | (เปฺลือก) น. ส่วนที่หุ้มสิ่งต่าง ๆ เช่น ต้นไม้ ผลไม้ สัตว์บางอย่างมีหอย กุ้ง เป็นต้น หรือไข่ |
ผัง ๑ | แบบที่เขียนย่อหรือขยายจากสิ่งต่าง ๆ เช่น ตึก เรือน, แผนผัง ก็ว่า. |
ฝัง | ก. จมหรือทำให้จมลงไปจากระดับพื้นจนมิดทั้งหมดหรือมิดแต่บางส่วน เช่น ฝังศพ ฝังทรัพย์ ฝังเสา, ทำให้จมติดแน่นอยู่ในสิ่งต่าง ๆ เช่น ฝังเพชร ฝังลาย, โดยปริยายหมายถึง ลักษณะอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ฝังใจ ฝังหัว. |
พลาสติก | น. สารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นใช้แทนวัสดุธรรมชาติ บางชนิดเมื่อเย็นก็แข็งตัว เมื่อถูกความร้อนก็อ่อนตัว บางชนิดแข็งตัวถาวร มีหลายชนิด เช่น ไนลอน ยางเทียม ใช้ทำสิ่งต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ฟิล์ม ภาชนะ ส่วนประกอบเรือหรือรถยนต์. |
พวก | น. คน สัตว์ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันเข้าเป็นกลุ่มเป็นหมู่ตามอาชีพหรือชนิดเป็นต้น เช่น พวกนักเรียน พวกพ่อค้า พวกกรรมกร พวกนก พวกกา พวกเครื่องมือ พวกเครื่องเขียน. |
พิพิธภัณฑ์, พิพิธภัณฑสถาน | (พิพิดทะพัน, -พันทะสะถาน) น. สถานที่เก็บรวบรวมและแสดงสิ่งต่าง ๆ ที่มีความสำคัญด้านวัฒนธรรมหรือด้านวิทยาศาสตร์ โดยมีความมุ่งหมายเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา และก่อให้เกิดความเพลิดเพลินใจ. |
ไฟ | ผลจากปฏิกิริยาเคมีซึ่งก่อให้เกิดความร้อน แสงสว่าง และเปลว คือ กลุ่มแก๊สที่กำลังลุกไหม้ ทำให้ไหม้สิ่งต่าง ๆ ได้ |
มือเสือ ๑ | น. ไม้รูปร่างคล้ายมือ มีซี่ ๖-๗ ซี่คล้ายนิ้ว ปลายงอ มักทำด้วยไม้ไผ่ สำหรับตะกุยสิ่งต่าง ๆ เช่น ถ่าน. |
มูล ๓ | (มูน) น. อุจจาระสัตว์, ขี้หรือเศษของสิ่งต่าง ๆ เช่น มูลไถ = ขี้ไถ. |
แม่ | เรียกสิ่งที่เป็นประธานของสิ่งต่าง ๆ ในพวกเดียวกัน เช่น แม่กระได แม่แคร่ แม่แบบ |
ไมโครฟิล์ม | (-โคฺรฟิม) น. ฟิล์มถ่ายรูปขนาดเล็กมากใช้สำหรับถ่ายบันทึกภาพของสิ่งต่าง ๆ ให้มีขนาดย่อส่วนลงมาก ๆ เพื่อสะดวกแก่การเก็บรักษาไว้ และสามารถนำมาฉายเป็นภาพนิ่งขนาดขยายบนจอได้. |
ยาหมู่ | น. ยาที่ประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นของแข็ง มีแก่นไม้ เขี้ยวงา กระดูก เป็นต้น ใช้ฝนกินแก้ร้อนในและผิดสำแลง. |
เยื่อ | น. สิ่งที่เป็นแผ่นบางอยู่ตามผิวหรือภายในของร่างกายบางส่วนหรือของสิ่งต่าง ๆ เช่น เยื่อในกระดูก เยื่อหัวหอม เยื่อไม้ไผ่. |
รวบ | ก. อาการที่เอาสิ่งต่าง ๆ เข้ามาไว้ด้วยกันให้เป็นฟ่อน เป็นมัด เป็นกลุ่ม เป็นกอง เป็นต้น, เอามือทั้ง ๒ ข้างหรือวงแขนโอบรัดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าหาตัว เช่น รวบตัว รวบเอว รวบขา |
รวบรวม | ก. นำสิ่งต่าง ๆ มารวมเข้าไว้ด้วยกัน เช่น รวบรวมข้าวของ รวบรวมเงิน รวบรวมหลักฐาน. |
รัก ๑ | ชื่อไม้ต้นชนิด Gluta usitata (Wall.) Ding Hou ในวงศ์ Anacardiaceae ยางเป็นพิษ ใช้ลงพื้นหรือทาสิ่งต่าง ๆ เรียกว่า นํ้ารัก, รักใหญ่ ก็เรียก. (เทียบ ส. ลากฺษ). |
รายการ | น. บัญชีแจ้งชื่อและจำนวนเป็นต้นของสิ่งต่าง ๆ เช่น รายการอาหาร รายการแสดง. |
ราว ๑ | เครื่องยึดเหนี่ยวสำหรับเกาะหรือขึ้นลงเป็นต้น เช่น ราวบันได ราวสะพาน, เรียกไม้ โลหะ และเชือกหรือลวดเป็นต้นที่ขึงสำหรับพาดหรือตากผ้า ว่า ราว ราวผ้า หรือราวตากผ้า, ถ้าใช้ขึงสิ่งอื่น ๆ เช่น ขึงมุ้ง เรียกว่า ราวมุ้ง ขึงม่าน เรียกว่า ราวม่าน, ไม้หรือโลหะเป็นต้นสำหรับพาดปักวางสิ่งต่าง ๆ เช่น ราวพระแสง ราวเทียน. |
ราว ๒, ราว ๆ | ว. เรียกสิ่งต่าง ๆ ที่ห้อยเรียงรายเป็นแถวเป็นแนวไปตามราว เช่น เบ็ดราว ธงราว ไฟราว |
รุงรัง | ว. อาการที่สิ่งเป็นเส้นยาว ๆ พัวพันกันยุ่งยุ่มย่าม เช่น ขนยาวรุงรัง ผมเผ้ารุงรัง หนวดเครารุงรัง, อาการที่สิ่งต่าง ๆ รวมกันอยู่อย่างระเกะระกะหรือแยกกระจัดกระจายกันอยู่ยุ่งเหยิง เช่น ห้องรกรุงรัง ห้อยผ้าไว้รุงรัง |
รุ่น | น. วัยของคนที่ถืออายุเป็นเครื่องกำหนด เช่น รุ่นเด็ก รุ่นหนุ่ม รุ่นสาว รุ่นน้อง, สมัยของคนที่ใช้หลักใดหลักหนึ่งเป็นต้นว่า ปีการศึกษา น้ำหนัก เป็นเครื่องกำหนด เช่น นิสิตรุ่นแรก บัณฑิตรุ่นที่ ๒ นักมวยรุ่นฟลายเวท, คราวหรือสมัยแห่งสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดหรือผลิตขึ้นเป็นระยะ ๆ เช่น มะม่วงออกผลรุ่นแรก รถยนต์คันนี้เป็นรุ่นล่าสุด |