ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

-พื้นท้อง-

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: -พื้นท้อง-, *พื้นท้อง*
(เนื่องจากผลลัพธ์จากการค้นหา -พื้นท้อง- มีน้อย ระบบได้ทดลองค้นหาใหม่โดยใส่ดอกจันทน์ (wild-card) ให้โดยอัตโนมัติ: *พื้นท้อง*)
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ [with local updates]
พื้นท้องน. เนื้อตรงส่วนท้อง (โดยมากหมายถึงส่วนท้องของปลา).
ก้นขบน. ชื่องูขนาดเล็กชนิด Cylindrophis ruffus (Laurenti) ในวงศ์ Aniliidae หรือ Uropeltidae สีดำแกมม่วง มีลายประตามลำตัวสีขาวเห็นได้ชัดเมื่อยังมีขนาดเล็ก ท้องมีลายดำขาวสลับกัน พื้นท้องของหางเกือบปลายสุดมีสีแดงอมส้ม ไม่มีพิษ แต่เข้าใจกันว่ามีพิษข้างหางเพราะชูและแผ่หางแบนม้วนให้เห็นเมื่อพบศัตรู.
กะ ๓น. ส่วนของสมอแบบหนึ่ง ลักษณะคล้ายแขนยื่นออกไป ๒ ข้าง สำหรับช่วยยึดเกาะติดพื้นท้องน้ำ.
กะพง ๒น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Musculista senhousia (Benson) ในวงศ์ Mytilidae เปลือกบางรูปยาวรี สีเขียวหรือเขียวอมเหลือง มีลายเป็นเส้นสีนํ้าตาล อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเลที่เป็นเลนปนทราย โดยยึดติดกันเองเป็นกระจุกหรือแผ่เป็นแผ่นใหญ่.
เกาก. เอาเล็บหรือสิ่งที่มีลักษณะคล้ายเล็บครูดผิวหนังเพื่อให้หายคันเป็นต้น, อาการที่สมอเรือครูดไปตามพื้นท้องน้ำ ไม่ยึดอยู่กับที่.
เกาสมอก. ลากสมอครูดไปตามพื้นท้องน้ำ โดยเฉพาะในขณะที่กำลังกว้านสมอขึ้นเก็บ.
เก๋า ๑น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Serranidae (Epinephelidae) ปลาเหล่านี้เมื่อมีขนาดเล็กมักเรียก เก๋า เมื่อมีขนาดกลางและขนาดโตมักเรียก กะรัง หรือหมอทะเล ส่วนขนาดโตมากเรียก หมอทะเล ส่วนใหญ่ลำตัวยาว ป้อม ล่ำสั้น แบนข้างเล็กน้อย ปลายครีบต่าง ๆ มนกลม เฉพาะปลายครีบหางของบางชนิดเว้า บ้างก็ตัดตรง เกล็ดเล็กคลุมทั่วตัวรวมทั้งหัวและล้ำไปบนครีบเดี่ยว ลำตัวรวมทั้งครีบมักมีสีต่าง ๆ โดยเปลี่ยนไปตามขนาด เป็นแต้ม ด่าง ดวง ลาย หรือจุดประคล้ำทึบ แต่บางชนิดก็มีสีแดงหรือเทาโดยตลอด พบอาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเลและชายฝั่งที่มีที่หลบซ่อน แต่ส่วนใหญ่จะพบบริเวณใกล้หรือในเขตปะการัง ชนิด Epinephelus merra Bloch, E. sexfasiatus (Valenciennes), Cephalopholis boenak (Bloch) ยาวเพียงไม่เกิน ๒๖ เซนติเมตร ส่วนชนิด Promicrops lanceolatus (Bloch) ขนาดยาวไม่ถึง ๒.๗ เซนติเมตร และเป็นปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดของโลก ชื่อ เก๋า ตุ๊กแก กะรัง เป็นชื่อทั่วไปที่มักใช้เรียกปลาเกือบทุกชนิดในวงศ์นี้ที่มีขนาดไม่โตนัก สำหรับชื่อ กะรัง และหมอทะเล มักพบเรียกปลาพวกนี้ที่มีขนาดโตจนถึงยาว ๐.๕-๑.๕ เมตร ส่วน หมอทะเล ใช้เรียกชนิด P. l. (Bloch) .
ขี้ควายน. ชื่อปลาทะเลชนิด Trachicephalus uranoscopus (Bloch & Schneider) ในวงศ์ Scorpaenidae ตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวสั้น ปากกว้างเชิดขึ้น ลำตัวมีรอยด่างสีนํ้าตาล มักมีจุดขาวประปราย ขอบครีบเป็นสีดำคลํ้า เงี่ยงมีพิษ ซ่อนตัวอยู่ตามซอกหินหรือหมกตัวอยู่ตามพื้นท้องทะเล ขนาดยาวได้ถึง ๑๒ เซนติเมตร, ขี้ขุย ก็เรียก.
คางคก ๒น. ชื่อปลาไม่มีเกล็ดชนิด Batrachoides grunniers (Bloch) และ Batrachomoeus trispinosus (Günther) ในวงศ์ Batrachoididae ปากกว้าง หัวทู่แบนลง ลำตัวกลมยาว มีสีนํ้าตาลเป็นด่างดวงทั่วไป ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร ครีบท้องอยู่เยื้องไปข้างหน้าครีบอก หางกลม เฉพาะชนิดแรกมีรูที่มุมบนด้านในของครีบอก อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล, กบ บู่ทะเล ผีหลอก หรือ อุบ ก็เรียก.
แค้น. ชื่อปลานํ้าจืด ไม่มีเกล็ด ในสกุล Bagarius วงศ์ Sisoridae หัวแบนแผ่ หนวดแบน ตาเล็ก ลำตัวยาวเรียวลู่จนแคบมากที่คอดหาง ครีบหางเป็นแฉกยาว ผิวหนังเป็นตุ่มแข็ง มีแต้มขนาดใหญ่สีนํ้าตาลเข้มอยู่บนหลังเป็นระยะ ๆ ครีบต่าง ๆ สีนํ้าตาล พบอาศัยตามพื้นท้องแม่นํ้าสายใหญ่ ๆ มี ๓ ชนิด ในประเทศไทยที่พบทั่วไปได้แก่ ชนิด B. bagarius (Hamilton-Buchanan) ซึ่งยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร และ B. yarrelli Sykes ยาวได้ถึง ๒ เมตร, คัง หรือ ตุ๊กแก ก็เรียก.
โคก ๒น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Anodontostoma และ Nematalosa วงศ์ Clupeidae หัวเล็ก ปากเล็ก ลำตัวสั้น แบนข้าง ท้องเป็นสันแหลม เกล็ดที่สันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย พื้นลำตัวสีเงิน ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ตามชายฝั่งที่มีพื้นท้องทะเลเป็นโคลน, ตะเพียนนํ้าเค็ม ก็เรียก.
งัว ๔น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุล เช่น ในสกุล Triacanthus วงศ์ Triacanthidae, ในสกุล Monacanthus วงศ์ Monacanthidae, ในสกุล Balistes วงศ์ Balistidae, ในสกุล Anacanthus วงศ์ Anacanthidae มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ โดยเฉลี่ยยาว ๓๐ เซนติเมตร บางชนิดยาวได้ถึง ๗๕ เซนติเมตร ผิวหนังหยาบเหนียวหรือเป็นแผ่นกระดูกหนาเรียงติดต่อกัน ฟันเป็นแผ่น ใช้แทะเล็มหาอาหารตามแนวปะการังและพื้นท้องทะเล ก้านครีบหลังก้านแรกและครีบท้องเป็นแท่งกระดูกใหญ่คล้ายเขาสัตว์, บางชนิดมีชื่อเรียกว่า วัว หรือ กวาง.
ฉลาม(ฉะหฺลาม) น. ชื่อปลาทะเลหลายวงศ์ในอันดับ Lamniformes เป็นปลากระดูกอ่อน ขนาดยาวได้ถึง ๒๑.๔ เมตร ส่วนใหญ่มีช่องเหงือก ๕ คู่อยู่ข้างส่วนหัว แฉกบนของหางยกสูงขึ้นและยาวมาก ตัวผู้ขอบในของครีบท้องขยายใหญ่มีแท่งอวัยวะสืบพันธุ์ เรียกว่า ตะเกียบหรือเดือย บางชนิดเป็นปลาผิวนํ้า เช่น ฉลามหนู [ Scoliodon sorrakowah (Cuvier) หรือ S. laticaudus Müller & Henle ], ฉลามเสือ เสือทะเล พิมพา หรือ ตะเพียนทอง [ Galeocerdo cuvieri (Peron & Le Sueur) ] บางชนิดอยู่ตามพื้นท้องทะเล เช่น ฉลามกบหรือฉลามหิน [ Chiloscyllium plagiosum (Bennett) ] บางชนิดอยู่ในนํ้าลึกมาก เช่น ฉลามนํ้าลึก ( Squalus acanthiasLinn.) บางชนิดขนาดใหญ่มาก เช่น ฉลามวาฬ ( Rhincodon typus Smith) ชนิดที่หัวแผ่แบน เรียก ฉลามหัวค้อน หรือ อ้ายแบ้ เช่น ชนิด Sphyrna leweni (Griffith & Smith).
ซ่งฮื้อน. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Hypophthalmichthys nobilis (Richardson) ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด หัวโต เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงิน ยาวป้อม แบนข้างเล็กน้อย ท้องกลม หากินอยู่ตามพื้นท้องน้ำ มีถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร.
ตาพอง ๓น. ชื่อปลาทะเลในสกุล Priacanthus วงศ์ Priacanthidae ลำตัวป้อม แบนข้าง ปากเชิดขึ้น คางยื่น ตาโตคลุมด้วยเยื่อใส เกล็ดเล็กสากมือ ลำตัวและครีบสีแดงสด อาศัยอยู่ใกล้พื้นท้องนํ้าหรือในระดับนํ้าลึก ที่ชุกชุมได้แก่ ชนิด P. tayenus Richardson ขนาดโตได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, ตาโต หรือ ตาหวาน ก็เรียก.
เต่าดำน. ชื่อเต่านํ้าจืดชนิด Siebenrockiella crassicollis (Gray)ในวงศ์ Emydidae หัวสีดำมีแต้มสีขาวที่ขมับ กระดองหลังสีดำกว่าเต่าชนิดอื่น ๆ อาศัยตามโคลนเลนบนพื้นท้องน้ำ, ดำแก้มขาว ก็เรียก.
ท้องขาว ๒น. ชื่อหนูขนาดกลางชนิด Rattus rattus (Linn.) ในวงศ์ Muridae ตัวสีนํ้าตาลอ่อนถึงนํ้าตาลแดง พื้นท้องสีขาว มีเส้นสีนํ้าตาลหรือดำพาดขวางหน้าอก จมูกแหลม ใบหูใหญ่ หางสีดำยาวไล่เลี่ยกับความยาวของส่วนหัวและลำตัว กินเมล็ดพืชและเศษอาหาร มีชุกชุมทั่วทุกภาคของประเทศไทย.
น้ำผึ้ง ๓น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Gyrinocheilus aymonieri (Tirant) และชนิด G. pennocki (Fowler) ในวงศ์ Gyrinocheilidae ลำตัวทรงกระบอก คอดหางใหญ่ ครีบหางเว้าตื้น ปลายหัวมน งุ้ม ตาเล็กอยู่ค่อนไปทางด้านบน ที่สำคัญคือ มีรูน้ำเข้า ๑ รูอยู่เหนือแผ่นปิดเหงือก บริเวณจะงอยปากมีตุ่มเนื้อขนาดเล็ก ไม่มีหนวด พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลคล้ำ ข้างตัวมีจุดสีดำเรียงสลับกันตามยาวอยู่ ๒ แถว จุดสีดำยังอาจพบบนครีบ อาศัยตามที่ลุ่มน้ำต้นฤดูน้ำ หรือตามลำธารบนภูเขา กินสาหร่ายและพืชน้ำอื่น ๆ ปรกติใช้ปากดูดเกาะห้อยตัวอยู่กับวัตถุใต้น้ำหรืออยู่ตามพื้นท้องน้ำ ขนาดยาวได้ถึง ๒๘ เซนติเมตร, สร้อยน้ำผึ้ง ปากใต้ ลูกผึ้ง ผึ้ง หรือ อีดูด ก็เรียก.
ใบโพ ๒น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Drepane วงศ์ Drepanidae ลำตัวสีเงิน สั้น กว้าง และแบนข้างมาก ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ครีบสีเหลืองอ่อน ครีบอกยาวเรียว ครีบท้องอยู่ในแนวหน้าครีบอก ครีบหางมีปลายเป็นเหลี่ยมมุมป้าน ชนิด D. punctata (Linn.) มีจุดดำที่ข้างตัวเรียงในแนวตั้งหลายแนว แต่ชนิด D. longimana (Bloch & Schneider) มีแถบสีเทาเรียงในลักษณะเดียวกัน, ทั้ง ๒ ชนิดอาศัยอยู่ตามพื้นท้องนํ้าที่เป็นกรวดทรายใกล้แนวปะการัง ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร, แมลงปอ ก็เรียก.
ปล้องอ้อยน. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Acanthopthalmus kuhlii (Valenciennes) ในวงศ์ Cobitidae ลำตัวยาว แบนข้าง ท้องมน คอดหางกว้าง หัวเล็กปลายทู่ ปากเล็กอยู่ตํ่า ตาเล็ก มีกระดูกเป็นหนามอยู่ใต้ตา เกล็ดเล็กมาก ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางหาง พื้นลำตัวสีเหลืองอ่อนหรือส้ม มีแถบกว้างสีดำหรือนํ้าตาลเข้มพาดขวางเป็นปล้อง ๆ โดยตลอด พบอาศัยอยู่ตามพื้นท้องนํ้าที่เป็นกรวดเป็นทรายตามลำธารเขตภูเขา เคลื่อนไหวรวดเร็วคล้ายงูเลื้อย กินสาหร่ายและเศษซาก ขนาดยาวเพียงไม่เกิน ๘ เซนติเมตร.
ปลาหน้าดินน. ปลาที่อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล เช่น ปลาเห็ดโคน ปลาเก๋า.
มือเสือ ๓น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่หลายชนิด ในวงศ์ Tridacnidae เปลือกหนาหนักสีขาวคล้ำหรือสีนวล บางชนิดมีลายเป็นเส้นสีน้ำตาล เปลือกมีสันและร่องทำให้ขอบเปลือกหยักเป็นลอน พบตามพื้นท้องทะเลบริเวณที่มีแนวปะการัง เช่น ชนิด Tridacna squamosa Lamarck, T. Crocea Lamarck, Hippopus hippopus (Linn.).
รากกล้วย ๑น. ชื่อปลาน้ำจืดทุกชนิดในสกุล Acantopsisวงศ์ cobitidae หัวยาวปลายแหลม ลำตัวยาวเรียว ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนหรือเทา ข้างตัวมักมีจุดสีดำเรียงในแนวยาวหรือประอยู่ด้านหลัง บ้างมีแถบสีดำคล้ำตามแนวยาว พบอาศัยอยู่เป็นฝูงตามลำน้ำใหญ่ที่มีน้ำไหลหรือพื้นท้องน้ำเป็นกรวดทรายซึ่งปลามุดซ่อนตัว, ซ่อนทราย กล้วย ทราย หรือ หมู ก็เรียก.
สมอเกาก. อาการที่สมอหลุดจากพื้นที่ทอดไว้ แล้วครูดไปตามพื้นท้องน้ำด้วยแรงลมและกระแสน้ำ.
สะดือน. ส่วนของร่างกายอยู่ตรงกลางพื้นท้องเป็นรูหวำเข้าไป.
หมอเทศน. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Oreochromis mossambicus (Peters) ในวงศ์ Cichlidae ลักษณะคล้ายปลานิล คือ ลำตัวป้อม แบนข้าง แนวสันหลังโค้งมากกว่าแนวสันท้อง ลำตัวและครีบมีสีเทาปนดำแต่จางลงจนเป็นสีน้ำตาลที่ด้านข้างและอมเหลืองที่ท้อง ตัวผู้มีสีเข้มกว่าและโตกว่าตัวเมียและมีพฤติกรรมในการทำรังเป็นหลุมคล้ายท้องกระทะที่พื้นท้องน้ำ ตัวเมียทำหน้าที่ฟักไข่ที่ผสมแล้วและดูแลตัวอ่อนโดยการอมไข่ไว้ในช่องปาก มีประวัติของถิ่นกำเนิดอยู่ในทะเลสาบทวีปแอฟริกา นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหารจนแพร่หลาย อยู่ในน้ำกร่อยได้ ขนาดยาวได้ถึง ๓๖ เซนติเมตร.

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ [with local updates]
พื้นท้องน. เนื้อตรงส่วนท้อง (โดยมากหมายถึงส่วนท้องของปลา).
ก้นขบน. ชื่องูขนาดเล็กชนิด Cylindrophis ruffus (Laurenti) ในวงศ์ Aniliidae หรือ Uropeltidae สีดำแกมม่วง มีลายประตามลำตัวสีขาวเห็นได้ชัดเมื่อยังมีขนาดเล็ก ท้องมีลายดำขาวสลับกัน พื้นท้องของหางเกือบปลายสุดมีสีแดงอมส้ม ไม่มีพิษ แต่เข้าใจกันว่ามีพิษข้างหางเพราะชูและแผ่หางแบนม้วนให้เห็นเมื่อพบศัตรู.
กะ ๓น. ส่วนของสมอแบบหนึ่ง ลักษณะคล้ายแขนยื่นออกไป ๒ ข้าง สำหรับช่วยยึดเกาะติดพื้นท้องน้ำ.
กะพง ๒น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Musculista senhousia (Benson) ในวงศ์ Mytilidae เปลือกบางรูปยาวรี สีเขียวหรือเขียวอมเหลือง มีลายเป็นเส้นสีนํ้าตาล อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเลที่เป็นเลนปนทราย โดยยึดติดกันเองเป็นกระจุกหรือแผ่เป็นแผ่นใหญ่.
เกาก. เอาเล็บหรือสิ่งที่มีลักษณะคล้ายเล็บครูดผิวหนังเพื่อให้หายคันเป็นต้น, อาการที่สมอเรือครูดไปตามพื้นท้องน้ำ ไม่ยึดอยู่กับที่.
เกาสมอก. ลากสมอครูดไปตามพื้นท้องน้ำ โดยเฉพาะในขณะที่กำลังกว้านสมอขึ้นเก็บ.
เก๋า ๑น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Serranidae (Epinephelidae) ปลาเหล่านี้เมื่อมีขนาดเล็กมักเรียก เก๋า เมื่อมีขนาดกลางและขนาดโตมักเรียก กะรัง หรือหมอทะเล ส่วนขนาดโตมากเรียก หมอทะเล ส่วนใหญ่ลำตัวยาว ป้อม ล่ำสั้น แบนข้างเล็กน้อย ปลายครีบต่าง ๆ มนกลม เฉพาะปลายครีบหางของบางชนิดเว้า บ้างก็ตัดตรง เกล็ดเล็กคลุมทั่วตัวรวมทั้งหัวและล้ำไปบนครีบเดี่ยว ลำตัวรวมทั้งครีบมักมีสีต่าง ๆ โดยเปลี่ยนไปตามขนาด เป็นแต้ม ด่าง ดวง ลาย หรือจุดประคล้ำทึบ แต่บางชนิดก็มีสีแดงหรือเทาโดยตลอด พบอาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเลและชายฝั่งที่มีที่หลบซ่อน แต่ส่วนใหญ่จะพบบริเวณใกล้หรือในเขตปะการัง ชนิด Epinephelus merra Bloch, E. sexfasiatus (Valenciennes), Cephalopholis boenak (Bloch) ยาวเพียงไม่เกิน ๒๖ เซนติเมตร ส่วนชนิด Promicrops lanceolatus (Bloch) ขนาดยาวไม่ถึง ๒.๗ เซนติเมตร และเป็นปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดของโลก ชื่อ เก๋า ตุ๊กแก กะรัง เป็นชื่อทั่วไปที่มักใช้เรียกปลาเกือบทุกชนิดในวงศ์นี้ที่มีขนาดไม่โตนัก สำหรับชื่อ กะรัง และหมอทะเล มักพบเรียกปลาพวกนี้ที่มีขนาดโตจนถึงยาว ๐.๕-๑.๕ เมตร ส่วน หมอทะเล ใช้เรียกชนิด P. l. (Bloch) .
ขี้ควายน. ชื่อปลาทะเลชนิด Trachicephalus uranoscopus (Bloch & Schneider) ในวงศ์ Scorpaenidae ตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวสั้น ปากกว้างเชิดขึ้น ลำตัวมีรอยด่างสีนํ้าตาล มักมีจุดขาวประปราย ขอบครีบเป็นสีดำคลํ้า เงี่ยงมีพิษ ซ่อนตัวอยู่ตามซอกหินหรือหมกตัวอยู่ตามพื้นท้องทะเล ขนาดยาวได้ถึง ๑๒ เซนติเมตร, ขี้ขุย ก็เรียก.
คางคก ๒น. ชื่อปลาไม่มีเกล็ดชนิด Batrachoides grunniers (Bloch) และ Batrachomoeus trispinosus (Günther) ในวงศ์ Batrachoididae ปากกว้าง หัวทู่แบนลง ลำตัวกลมยาว มีสีนํ้าตาลเป็นด่างดวงทั่วไป ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร ครีบท้องอยู่เยื้องไปข้างหน้าครีบอก หางกลม เฉพาะชนิดแรกมีรูที่มุมบนด้านในของครีบอก อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล, กบ บู่ทะเล ผีหลอก หรือ อุบ ก็เรียก.
แค้น. ชื่อปลานํ้าจืด ไม่มีเกล็ด ในสกุล Bagarius วงศ์ Sisoridae หัวแบนแผ่ หนวดแบน ตาเล็ก ลำตัวยาวเรียวลู่จนแคบมากที่คอดหาง ครีบหางเป็นแฉกยาว ผิวหนังเป็นตุ่มแข็ง มีแต้มขนาดใหญ่สีนํ้าตาลเข้มอยู่บนหลังเป็นระยะ ๆ ครีบต่าง ๆ สีนํ้าตาล พบอาศัยตามพื้นท้องแม่นํ้าสายใหญ่ ๆ มี ๓ ชนิด ในประเทศไทยที่พบทั่วไปได้แก่ ชนิด B. bagarius (Hamilton-Buchanan) ซึ่งยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร และ B. yarrelli Sykes ยาวได้ถึง ๒ เมตร, คัง หรือ ตุ๊กแก ก็เรียก.
โคก ๒น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Anodontostoma และ Nematalosa วงศ์ Clupeidae หัวเล็ก ปากเล็ก ลำตัวสั้น แบนข้าง ท้องเป็นสันแหลม เกล็ดที่สันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย พื้นลำตัวสีเงิน ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ตามชายฝั่งที่มีพื้นท้องทะเลเป็นโคลน, ตะเพียนนํ้าเค็ม ก็เรียก.
งัว ๔น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุล เช่น ในสกุล Triacanthus วงศ์ Triacanthidae, ในสกุล Monacanthus วงศ์ Monacanthidae, ในสกุล Balistes วงศ์ Balistidae, ในสกุล Anacanthus วงศ์ Anacanthidae มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ โดยเฉลี่ยยาว ๓๐ เซนติเมตร บางชนิดยาวได้ถึง ๗๕ เซนติเมตร ผิวหนังหยาบเหนียวหรือเป็นแผ่นกระดูกหนาเรียงติดต่อกัน ฟันเป็นแผ่น ใช้แทะเล็มหาอาหารตามแนวปะการังและพื้นท้องทะเล ก้านครีบหลังก้านแรกและครีบท้องเป็นแท่งกระดูกใหญ่คล้ายเขาสัตว์, บางชนิดมีชื่อเรียกว่า วัว หรือ กวาง.
ฉลาม(ฉะหฺลาม) น. ชื่อปลาทะเลหลายวงศ์ในอันดับ Lamniformes เป็นปลากระดูกอ่อน ขนาดยาวได้ถึง ๒๑.๔ เมตร ส่วนใหญ่มีช่องเหงือก ๕ คู่อยู่ข้างส่วนหัว แฉกบนของหางยกสูงขึ้นและยาวมาก ตัวผู้ขอบในของครีบท้องขยายใหญ่มีแท่งอวัยวะสืบพันธุ์ เรียกว่า ตะเกียบหรือเดือย บางชนิดเป็นปลาผิวนํ้า เช่น ฉลามหนู [ Scoliodon sorrakowah (Cuvier) หรือ S. laticaudus Müller & Henle ], ฉลามเสือ เสือทะเล พิมพา หรือ ตะเพียนทอง [ Galeocerdo cuvieri (Peron & Le Sueur) ] บางชนิดอยู่ตามพื้นท้องทะเล เช่น ฉลามกบหรือฉลามหิน [ Chiloscyllium plagiosum (Bennett) ] บางชนิดอยู่ในนํ้าลึกมาก เช่น ฉลามนํ้าลึก ( Squalus acanthiasLinn.) บางชนิดขนาดใหญ่มาก เช่น ฉลามวาฬ ( Rhincodon typus Smith) ชนิดที่หัวแผ่แบน เรียก ฉลามหัวค้อน หรือ อ้ายแบ้ เช่น ชนิด Sphyrna leweni (Griffith & Smith).
ซ่งฮื้อน. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Hypophthalmichthys nobilis (Richardson) ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด หัวโต เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงิน ยาวป้อม แบนข้างเล็กน้อย ท้องกลม หากินอยู่ตามพื้นท้องน้ำ มีถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร.
ตาพอง ๓น. ชื่อปลาทะเลในสกุล Priacanthus วงศ์ Priacanthidae ลำตัวป้อม แบนข้าง ปากเชิดขึ้น คางยื่น ตาโตคลุมด้วยเยื่อใส เกล็ดเล็กสากมือ ลำตัวและครีบสีแดงสด อาศัยอยู่ใกล้พื้นท้องนํ้าหรือในระดับนํ้าลึก ที่ชุกชุมได้แก่ ชนิด P. tayenus Richardson ขนาดโตได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, ตาโต หรือ ตาหวาน ก็เรียก.
เต่าดำน. ชื่อเต่านํ้าจืดชนิด Siebenrockiella crassicollis (Gray)ในวงศ์ Emydidae หัวสีดำมีแต้มสีขาวที่ขมับ กระดองหลังสีดำกว่าเต่าชนิดอื่น ๆ อาศัยตามโคลนเลนบนพื้นท้องน้ำ, ดำแก้มขาว ก็เรียก.
ท้องขาว ๒น. ชื่อหนูขนาดกลางชนิด Rattus rattus (Linn.) ในวงศ์ Muridae ตัวสีนํ้าตาลอ่อนถึงนํ้าตาลแดง พื้นท้องสีขาว มีเส้นสีนํ้าตาลหรือดำพาดขวางหน้าอก จมูกแหลม ใบหูใหญ่ หางสีดำยาวไล่เลี่ยกับความยาวของส่วนหัวและลำตัว กินเมล็ดพืชและเศษอาหาร มีชุกชุมทั่วทุกภาคของประเทศไทย.
น้ำผึ้ง ๓น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Gyrinocheilus aymonieri (Tirant) และชนิด G. pennocki (Fowler) ในวงศ์ Gyrinocheilidae ลำตัวทรงกระบอก คอดหางใหญ่ ครีบหางเว้าตื้น ปลายหัวมน งุ้ม ตาเล็กอยู่ค่อนไปทางด้านบน ที่สำคัญคือ มีรูน้ำเข้า ๑ รูอยู่เหนือแผ่นปิดเหงือก บริเวณจะงอยปากมีตุ่มเนื้อขนาดเล็ก ไม่มีหนวด พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลคล้ำ ข้างตัวมีจุดสีดำเรียงสลับกันตามยาวอยู่ ๒ แถว จุดสีดำยังอาจพบบนครีบ อาศัยตามที่ลุ่มน้ำต้นฤดูน้ำ หรือตามลำธารบนภูเขา กินสาหร่ายและพืชน้ำอื่น ๆ ปรกติใช้ปากดูดเกาะห้อยตัวอยู่กับวัตถุใต้น้ำหรืออยู่ตามพื้นท้องน้ำ ขนาดยาวได้ถึง ๒๘ เซนติเมตร, สร้อยน้ำผึ้ง ปากใต้ ลูกผึ้ง ผึ้ง หรือ อีดูด ก็เรียก.
ใบโพ ๒น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Drepane วงศ์ Drepanidae ลำตัวสีเงิน สั้น กว้าง และแบนข้างมาก ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ครีบสีเหลืองอ่อน ครีบอกยาวเรียว ครีบท้องอยู่ในแนวหน้าครีบอก ครีบหางมีปลายเป็นเหลี่ยมมุมป้าน ชนิด D. punctata (Linn.) มีจุดดำที่ข้างตัวเรียงในแนวตั้งหลายแนว แต่ชนิด D. longimana (Bloch & Schneider) มีแถบสีเทาเรียงในลักษณะเดียวกัน, ทั้ง ๒ ชนิดอาศัยอยู่ตามพื้นท้องนํ้าที่เป็นกรวดทรายใกล้แนวปะการัง ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร, แมลงปอ ก็เรียก.
ปล้องอ้อยน. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Acanthopthalmus kuhlii (Valenciennes) ในวงศ์ Cobitidae ลำตัวยาว แบนข้าง ท้องมน คอดหางกว้าง หัวเล็กปลายทู่ ปากเล็กอยู่ตํ่า ตาเล็ก มีกระดูกเป็นหนามอยู่ใต้ตา เกล็ดเล็กมาก ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางหาง พื้นลำตัวสีเหลืองอ่อนหรือส้ม มีแถบกว้างสีดำหรือนํ้าตาลเข้มพาดขวางเป็นปล้อง ๆ โดยตลอด พบอาศัยอยู่ตามพื้นท้องนํ้าที่เป็นกรวดเป็นทรายตามลำธารเขตภูเขา เคลื่อนไหวรวดเร็วคล้ายงูเลื้อย กินสาหร่ายและเศษซาก ขนาดยาวเพียงไม่เกิน ๘ เซนติเมตร.
ปลาหน้าดินน. ปลาที่อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล เช่น ปลาเห็ดโคน ปลาเก๋า.
มือเสือ ๓น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่หลายชนิด ในวงศ์ Tridacnidae เปลือกหนาหนักสีขาวคล้ำหรือสีนวล บางชนิดมีลายเป็นเส้นสีน้ำตาล เปลือกมีสันและร่องทำให้ขอบเปลือกหยักเป็นลอน พบตามพื้นท้องทะเลบริเวณที่มีแนวปะการัง เช่น ชนิด Tridacna squamosa Lamarck, T. Crocea Lamarck, Hippopus hippopus (Linn.).
รากกล้วย ๑น. ชื่อปลาน้ำจืดทุกชนิดในสกุล Acantopsisวงศ์ cobitidae หัวยาวปลายแหลม ลำตัวยาวเรียว ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนหรือเทา ข้างตัวมักมีจุดสีดำเรียงในแนวยาวหรือประอยู่ด้านหลัง บ้างมีแถบสีดำคล้ำตามแนวยาว พบอาศัยอยู่เป็นฝูงตามลำน้ำใหญ่ที่มีน้ำไหลหรือพื้นท้องน้ำเป็นกรวดทรายซึ่งปลามุดซ่อนตัว, ซ่อนทราย กล้วย ทราย หรือ หมู ก็เรียก.
สมอเกาก. อาการที่สมอหลุดจากพื้นที่ทอดไว้ แล้วครูดไปตามพื้นท้องน้ำด้วยแรงลมและกระแสน้ำ.
สะดือน. ส่วนของร่างกายอยู่ตรงกลางพื้นท้องเป็นรูหวำเข้าไป.
หมอเทศน. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Oreochromis mossambicus (Peters) ในวงศ์ Cichlidae ลักษณะคล้ายปลานิล คือ ลำตัวป้อม แบนข้าง แนวสันหลังโค้งมากกว่าแนวสันท้อง ลำตัวและครีบมีสีเทาปนดำแต่จางลงจนเป็นสีน้ำตาลที่ด้านข้างและอมเหลืองที่ท้อง ตัวผู้มีสีเข้มกว่าและโตกว่าตัวเมียและมีพฤติกรรมในการทำรังเป็นหลุมคล้ายท้องกระทะที่พื้นท้องน้ำ ตัวเมียทำหน้าที่ฟักไข่ที่ผสมแล้วและดูแลตัวอ่อนโดยการอมไข่ไว้ในช่องปาก มีประวัติของถิ่นกำเนิดอยู่ในทะเลสาบทวีปแอฟริกา นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหารจนแพร่หลาย อยู่ในน้ำกร่อยได้ ขนาดยาวได้ถึง ๓๖ เซนติเมตร.

อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
oozeเลนพื้นท้องทะเล [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖]
bed load (of river)วัตถุพัดพาบนพื้นท้องน้ำ [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖]
bed load (of river)วัตถุพัดพาบนพื้นท้องน้ำ [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Benthic Organismสิ่งมีชีวิตที่อาศัยตามพื้นท้องทะเล, Example: ประกอบด้วยแบคทีเรีย พืช และสัตว์เกือบทุกไฟลัม ในเขตที่มีน้ำขึ้นลง หรือเขตที่มีแสงส่องถึง พื้นท้องน้ำจะมีพืชขนาดใหญ่และเล็กเจริญอยู่มาก และโดยเฉพาะพื้นที่เป็นหินแข็งมักมีสาหร่ายทะเลขนาดใหญ่เกาะติดเป็น จำนวนมาก สาหร่ายเหล่านี้เป็นผู้ผลิตที่สำคัญของชายฝั่ง ส่วนในพื้นที่ทะเลที่ระดับลึกมักไม่มีแสงจึงไม่มีสิ่งมีชีวิตที่สังเคราะห์ แสงได้ แต่จะมีแบคทีเรียที่สังเคราะห์อาหารโดยกระบวนการทางเคมีซึ่งจะเป็นผู้ผลิต ที่สำคัญในทะเลลึกมาก ๆ ส่วนผู้บริโภคในเขตพื้นท้องทะเลประกอบด้วยสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นส่วนมาก [สิ่งแวดล้อม]
Flankส่วนเนื้อพื้นท้องใต้สันนอก, สีข้าง [การแพทย์]
rock saltเกลือหิน, เกลือชนิดหนึ่งซึ่งสะสมตัวอยู่ที่พื้นท้องทะเลในสมัยดึกดำบรรพ์และถูกหินชั้นอื่น ๆ คลุมทับ มีเนื้อสารประกอบโซเดียมคลอไรด์เป็นส่วนใหญ่ พบมาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดชัยภูมิ อุดรธานี เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top