ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*มัชฌิม*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: มัชฌิม, -มัชฌิม-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Longdo Dictionary ภาษา ไทย (TH) - ไทย (TH) (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
ฌาณ(n) ฌาณ หรือ อธิจิต(supraconscious) เป็นจิตที่เป็นที่สุดของปัญญา คือความรู้ชัดธรรมชาติของมนุษย์ว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(คือความรู้มรรค 8 การคิดปฏิบัติเพื่อดับทุกข์) เป็นจิตที่อยู่เหนือและสามารถ ควบคุมหรือข่ม ได้ทั้งจิตสำนึก(consious) และจิตใต้สำนึก(subconsious) ซึ่งเป็นความรู้ที่สูดของวิญญาณคือความรู้แจ้งของธรรมชาติของมนุษย์ว่า นี้สุข นี้ทุกข์ นี้มิใช่ทุกข์ มิใช่สุข อธิจิตใช้สำหรับดับกิเลส ซึ่งสามารถทำให้เกิดนิมิตขึ้นมาได้ เพื่อดับกิเลสในเวลาที่เกิดกิเลสขึ้น พระผู้มีพระภาค(พระพุทธเจ้า)ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์๑๐. วิตักกสัณฐานสูตรว่าด้วย อาการแห่งวิตก การเรียกอธิจิตของตนเอง ถ้าไม่มีพรสวรรค์หรือบารมีที่สะสมมาแต่ปางก่อน จะเรียกไม่ได้ เพราะจิตยังไม่มั่นคงพอ จะต้องเรียนรู้และทำความเพียรที่ทนได้ยาก ฝึกฝน จนเกิดความชำนาญ ซึ่งข้าพเจ้ามีความสามารถที่จะให้คนทั่วไปเรียกอธิจิตของตนเองได้ เช่นให้ผู้ป่วยเรียกอธิจิตของเขาออกมารักษาโรคภัยไข้เจ็บทั้งทางกายและใจของเขาที่เป็นอยู่ โดยสั่งให้จิตของเขาตกอยู่ในภาวะภวังค์ ด้วยการสั่งระงับจิตหยาบที่ทำให้เขาเกิดโรคทั้งทางกายและทางใจ เพื่อเขาจะได้มีจิตที่มั่นคงถึงอธิจิตแล้วสั่งยาหรือภูมิต้านทานในตัวของเขาออกมารักษาโรค ซึ่งได้ผลดีกว่าแพทย์แผนปัจจุบัน และแพทย์ทางเลือกวิธีอื่น นี่คือประโยชน์จากการเรียกหรือฝึกเรียกอธิจิตของตนเอง ซึ่งพระพุทธเจ้าสามารถเรียก Stem cell ในพระวรกายของพระองค์ออกมารักษาโรคได้นานมาแล้วหรือมากกว่า 2554 ปี ส่วนนักวิทยาศาสตร์พึ่งจะมาค้นพบวิธีใช้ Stem cell รักษาบางโรคเมื่อ 50 ปีมานี้เอง การรักษายังมีข้อบ่กพร่องและเงื่อนไขในการรักษาเพื่อจะได้ผลลัพท์จนเป็นที่น่าพอใจของแพทย์อยู่อีกมาก แต่วิธีของพระพุทธองค์ไม่มีเงื่อนไข ถ้าคนป่วยสามารถเรียกอธิจิตของตนเองได้ ข้าพเจ้าได้ใช้อธิจิตรักษา โรคปวดตามอวัยวะและโรคหวัดป่วยของข้าพเจ้าเอง และรักษาโรคปวดและอัมพาลให้กับคนป่วยแล้วหลายราย ซึ่งได้รับผลเป็นที่น่าพอใจของข้าพเจ้าและของคนป่วย

Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
มัชฌิม(adj) middle, See also: moderate, medium, intermediate, mean, Syn. กลาง, ปานกลาง, Example: ในยามมัชฌิมวัยข้าพเจ้าได้ท่านเจ้าคุณที่คอยปกป้องดูแลรักษา, Notes: (บาลี)
มัชฌิม(n) middle finger, Syn. นิ้วกลาง, พระมัชฌิมา, Example: เจ้าหญิงทรงพระธำมรงค์มรกตประจำราชวงศ์บนพระมัชฌิมา, Notes: (บาลี)
มัชฌิม(adj) moderate, See also: middle, Syn. ปานกลาง, มัชฌิม, Example: เวลาจะทำอะไร เราควรยึดหลักมัชฌิมาเอาไว้, Notes: (บาลี)
มัชฌิมประเทศ(n) Central Indian, Syn. อินเดียตอนกลาง, Example: พระพุทธรูปแบบนี้ เราได้แบบมาจากมัชฌิมประเทศ
มัชฌิมาปฏิปทา(n) middle path, See also: middle way, moderate practice, Syn. ทางสายกลาง, Example: มัชฌิมาปฏิปทาเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตที่สำคัญของชาวพุทธ, Thai Definition: ความประพฤติสายกลาง คือ ไม่ตึงเกินไปและไม่หย่อนเกินไป, ข้อปฏิบัติปานกลาง คือ มรรค 8, Notes: (บาลี)

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ [with local updates]
มัชฌิม-(มัดชิมะ-, มัดชิมมะ-, มัดชิม-) ว. ปานกลาง.
มัชฌิมชนบทน.ในสมัยพุทธกาลหมายถึง ดินแดนส่วนกลางของประเทศอินเดียอันเป็นที่อยู่ของพวกอริยกะ เป็นถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นที่ตั้งนครใหญ่ ๆ เป็นศูนย์กลางการปกครอง และเป็นที่ประชุมของนักปราชญ์ คณาจารย์ เจ้าลัทธิต่าง ๆ.
มัชฌิมนิกายน. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๒ แห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดปานกลาง รวบรวมพระสูตรขนาดปานกลางไว้ในหมวดนี้.
มัชฌิมบุรุษน. ชายที่มีวัยปานกลาง, ชายที่มีอายุและกำลังปานกลาง.
มัชฌิมประเทศ(มัดชิมะ-, มัดชิม-) น. ประเทศอินเดีย, ตามแบบหมายถึงอินเดียตอนกลาง.
มัชฌิมภูมิ(-พูม) น. ระดับชั้นของพระภิกษุที่มีพรรษาระดับกลาง คือ ตั้งแต่ ๕ ถึง ๙ พรรษา อยู่ระหว่าง นวกภูมิ กับ เถรภูมิ.
มัชฌิมยามน. ยามกลาง, ในบาลีแบ่งคืนเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม มัชฌิมยาม กำหนดเวลาตั้งแต่ ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา ถึงตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา.
มัชฌิมวัยน. วัยกลางคน.
มัชฌิมว. ปานกลาง, ไม่ยิ่งไม่หย่อน, เช่น พอเป็นมัชฌิมา.
มัชฌิมน. นิ้วกลาง เรียกว่า พระมัชฌิมา.
มัชฌิมาปฏิปทาน. ทางสายกลาง.
มัชฌิมดู มัชฌิม-.
มัชฌิมาปฏิปทาดู มัชฌิม-.
กุฎ, กุฎา(กุด, กุดา) น. ยอด เช่น มัชฌิมากุฎาประมาณ (สมุทรโฆษ).
เถรภูมิ(เถระพูม) น. ระดับชั้นของพระภิกษุที่มีพรรษาระดับสูง คือตั้งแต่ ๑๐ พรรษาขึ้นไป อยู่ต่อจาก นวกภูมิ กับ มัชฌิมภูมิ.
ทางสายกลางน. มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางสายเดียวที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ ประกอบด้วย ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง
นวกภูมิ(นะวะกะพูม) น. ระดับชั้นของพระภิกษุที่มีพรรษาระดับต้น คือต่ำกว่า ๕ พรรษา อยู่ก่อน มัชฌิมภูมิ กับ เถรภูมิ.
นิกายเรียกคัมภีร์พระสุตตันตปิฎกที่แยกออกเป็น ๕ หมวดใหญ่ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตนิกาย อังคุตรนิกาย ขุทกนิกาย.
นิ้วน. ส่วนสุดของมือหรือเท้าแต่ละข้าง แยกออกเป็น ๕ กิ่ง คือ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย, ราชาศัพท์ว่า พระอังคุฐ พระดัชนี พระมัชฌิมา พระอนามิกา พระกนิษฐา โดยลำดับ, ถ้าเป็นนิ้วเท้านิ้วต้น เรียกว่า นิ้วหัวแม่เท้า นอกนั้นอนุโลมเรียกตามนิ้วมือ
ปฏิปทาน. ทาง, ทางดำเนิน, เช่น มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง
ปฐมยาม(ปะถมมะ-) น. ยามต้น, ในบาลีแบ่งคืนออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปฐมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ย่ำค่ำ หรือ ๑๘ นาฬิกา ถึง ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา.
ปัจจันตประเทศน. ประเทศปลายเขตแดน, ในวินัยหมายถึงที่อยู่นอกออกไปจากมัชฌิมประเทศ.
ปัจฉิมยาม(ปัดฉิมมะ-) น. ยามหลัง, ยามสุดท้าย, ในบาลีแบ่งคืนออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปัจฉิมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา ถึงย่ำรุ่ง หรือ ๖ นาฬิกา.
มรรค, มรรค-, มรรคาในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ–ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ–ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา–การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ–การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ–การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ–ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ–ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ–ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง.
มัธยมา(มัดทะยะมา) ว. มัชฌิมา, ปานกลาง.
ยาม, ยาม-ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม
อัษฎางคิกมรรค(อัดสะดางคิกะมัก) น. ทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ตามหลักพระพุทธ-ศาสนา ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง.
อาบัติน. โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ มี ๗ อย่าง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฎ ทุพภาษิต มีโทษ ๓ สถาน คือ ๑. โทษสถานหนัก เรียกว่า ครุโทษ หรือ มหันตโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ซึ่งเรียกว่า ครุกาบัติ ๒. โทษสถานกลาง เรียกว่า มัชฌิมโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติต้องอยู่กรรมก่อนจึงจะพ้นโทษ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส และ ๓. โทษสถานเบา เรียกว่า ลหุโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติที่ตํ่ากว่าอาบัติสังฆาทิเสสต้องปลงอาบัติ คือ บอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต ซึ่งเรียกว่า ลหุกาบัติ.

อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
law of excluded middleกฎนิรมัชฌิม [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕]
law of excluded middleกฎนิรมัชฌิม [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗]
assumed meanมัชฌิมสมมุติ [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗]
aquatint mezzotint๑. กลวิธีพิมพ์มัชฌิมรงค์อย่างสีน้ำ๒. ภาพพิมพ์มัชฌิมรงค์อย่างสีน้ำ [ศิลปะ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
A.M. (arithmetic mean)เอเอ็ม (มัชฌิมเลขคณิต) [ มีความหมายเหมือนกับ arithmetic average ] [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗]
arithmetic meanค่าเฉลี่ยเลขคณิต, มัชฌิมเลขคณิต [ ดู arithmetic average ] [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕]
arithmetic mean (A.M.)มัชฌิมเลขคณิต (เอเอ็ม) [ มีความหมายเหมือนกับ arithmetic average ] [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗]
mature streamธารมัชฌิมวัย [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖]
meanมัชฌิม, ตัวกลาง, ค่าเฉลี่ย [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕]
meanมัชฌิม [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕]
meanมัชฌิม, ค่าเฉลี่ย [ มีความหมายเหมือนกับ average ] [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗]
mezzotint๑. กลวิธีพิมพ์มัชฌิมรงค์๒. ภาพพิมพ์มัชฌิมรงค์ [ศิลปะ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
mean value theoremทฤษฎีบทค่ามัชฌิม [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗]
mean, doctrine of theหลักมัชฌิม [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕]
mesocrystallineเนื้อมัชฌิมผลึก [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖]
mesosphereมัชฌิมภาค [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖]
mean of maximaมัชฌิมค่าสูงสุด [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗]
mean proportionalสัดส่วนมัชฌิม [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗]
middle wayทางสายกลาง, มัชฌิมาปฏิปทา [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕]
medium๑. ตัวกลาง, มัชฌิม๒. สาร [ มีความหมายเหมือนกับ substance ] [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
doctrine of the meanหลักมัชฌิม [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕]
G.M. (geometric mean)จีเอ็ม (มัชฌิมเรขาคณิต) [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗]
geometric meanค่าเฉลี่ยเรขาคณิต, มัชฌิมเรขาคณิต [ ดู geometric average ] [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕]
geometric mean (G.M.)มัชฌิมเรขาคณิต (จีเอ็ม) [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗]
excluded middle, law ofกฎนิรมัชฌิม [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕]
excluded middle, law ofกฎนิรมัชฌิม [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗]
extreme and mean ratioอัตราส่วนค่าสุดขีดกับค่ามัชฌิม [ มีความหมายเหมือนกับ golden ratio ] [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗]
harmonic mean (H.M.)มัชฌิมฮาร์มอนิก (เอชเอ็ม) [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗]
H.M. (harmonic mean)เอชเอ็ม (มัชฌิมฮาร์มอนิก) [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗]
weighted meanค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก, มัชฌิมถ่วงน้ำหนัก [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕]
way, middleทางสายกลาง, มัชฌิมาปฏิปทา [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Mature Riverแม่น้ำอยู่ตัว, แม่น้ำมัชฌิมวัย, Example: แม่น้ำที่ความลาดชันลดลง จนความเร็ว ของน้ำมีเพียงแค่พอดีพัดพาขยะ ซึ่งมาจากลำน้ำสาขาที่มีความลาดมากกว่าให้ไหลไป [สิ่งแวดล้อม]
Arithmetic Meanมัชณิมเลขคณิต, มัชฌิมเลขคณิต [การแพทย์]
geometric mean (G.M.)ค่าเฉลี่ยเรขาคณิต (มัชฌิมเรขาคณิต), ค่ากลางของข้อมูลชุดหนึ่งใช้อักษรย่อ G.M. หาได้จากสูตร  เมื่อ Xi เป็นข้อมูลตัวที่ i  และ N เป็นจำนวนข้อมูลทั้งหมด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
harmonic mean (H.M.)มัชฌิมฮาร์มอร์นิก (เอชเอ็ม), ค่ากลางของข้อมูลชุดหนึ่งที่ได้จากการหารจำนวนข้อมูลทั้งหมดด้วยผลบวกของส่วนกลับของข้อมูลชุดนั้น  ใช้อักษรย่อ H.M. [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
Meanค่าเฉลี่ย, ค่าของตัวกลาง, คะแนนเฉลี่ย, ค่าเฉลี่ยเลขคณิต, มัชณิมเลขคณิต, ค่ามัชฌิม [การแพทย์]
Mean, Geometricมัชฌิมเรขาคณิต, ค่าเฉลี่ยเรขาคณิต [การแพทย์]
Media, Light-Transmittingมัชฌิมที่แสงผ่านในลูกตา [การแพทย์]
Mediumตัวกลาง, ตัวกลาง, มัชฌิม, วัตถุที่ใช้ผลิต [การแพทย์]

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
มัชฌิม-[matchima- = matchim-] (pref, (adj)) EN: middle ; middling ; medium ; moderate ; intermediate  FR: moyen
มัชฌิม[matchimā] (adj) EN: middle ; moderate
มัชฌิมาปฏิปทา[Matchimāpatippathā] (n, prop) EN: The Middle Path
มัชฌิมประเทศ[Matchimaprathēt = Matchimaprathēt] (n, prop) EN: India ; Central India
พรรคมัชฌิมาธิปไตย[Phak Matchimāthipatai] (org) EN: Matchimathipataya ; Matchima  FR: Matchimathipataya ; Matchima
เวลามัชฌิมกรีนิช[wēlā matchima Krīnit] (n, exp) EN: Greenwich Mean Time (GMT)   FR: temps moyen de Greenwich [ m ]

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
mean(n) ค่าเฉลี่ย, See also: ตัวกลาง, มัชฌิม, Syn. average, middle, median, midpoint

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
medium(มี'เดียม) n. สายกลาง, ภาวะที่อยู่ตรงกลาง, สิ่งที่อยู่ระหว่างกลาง, สื่อ, มัชฌิม, สิ่งที่แสงหรือเสียงผ่านไป, ที่อยู่สิ่งมีชีวิต, สิ่งแวดล้อม, วิธีการ, อาหารเพาะเชื้อ. adj. ซึ่งอยู่ระหว่างกลาง, เป็นสายกลาง pl. media, Syn. mean, means

English-Thai: Nontri Dictionary
MIDDLE Middle Ages(n) มัชฌิมยุค, มัธยสมัย, ยุคกลาง, สมัยกลาง
MIDDLE-middle-aged(adj) ในมัชฌิมวัย, วัยกลางคน

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top