กษัตรีศูร | (กะสัดตฺรีสูน) น. กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ เช่น เจ้าไตรภพโลกเมาลีเป็นกษัตรีศูร (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
ข้าไท | น. บริวารของผู้เป็นใหญ่. |
ขุน ๑ | น. ผู้เป็นใหญ่, หัวหน้า, บรรดาศักดิ์ข้าราชการรองจากหลวงลงมา เช่น ขุนวิจิตรมาตรา |
จอมไตร | น. ผู้เป็นใหญ่ในโลกสาม, โดยมากหมายถึงพระพุทธเจ้า หรือ พระอิศวร (ตัดมาจาก จอมไตรโลก หรือ จอมไตรภพ). |
จาว ๒ | น. เจ้า, ผู้เป็นใหญ่, หมายถึงเทวดาในชั้นอาภัสรพรหม. |
จุมพล | (จุมพน) น. จอมพล, นายทัพ, ผู้เป็นใหญ่กว่าพล. |
เจษฎา ๑ | (เจดสะดา) น. ผู้เป็นใหญ่ที่สุด, พี่. |
เจ้า ๑ | น. ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, เช่น เจ้านคร |
เจ้าพ่อ | น. เทพารักษ์ผู้คุ้มเกรงถิ่นนั้น ๆ, ผู้เป็นใหญ่หรือมีอิทธิพลในถิ่นนั้น. |
เจ้าแม่ | น. เทพารักษ์ผู้หญิงที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์จะให้ความคุ้มเกรงรักษาได้ เช่น เจ้าแม่ทับทิม, หญิงผู้เป็นใหญ่หรือมีอิทธิพลในถิ่นนั้น. |
ชนินทร์ | น. ผู้เป็นใหญ่ในหมู่ชน. |
เชษฐ- ๑ | (เชดถะ-) ว. เจริญที่สุด, เจริญกว่า, อายุสูงสุด, อายุสูงกว่า. น. พี่ผู้เป็นใหญ่ เช่น เชษฐบุรุษ. (ป. เชฏฺ; ส. เชฺยษฺ), (ราชา) ถ้าใช้ว่า พระเชษฐภคินี หมายถึง พี่สาว, ถ้าใช้ว่า พระเชษฐภาดา หรือ พระเชษฐา หมายถึง พี่ชาย. |
ทานาธิบดี | น. เจ้าของทาน, ผู้เป็นใหญ่ในการให้, เช่น ขอกุศลผลบุญจงบังเกิดแก่ทานาธิบดีในการทอดกฐินครั้งนี้. |
ท้าว ๑ | น. ผู้เป็นใหญ่, พระเจ้าแผ่นดิน, (โดยมากใช้ในบทกลอน), เช่น ท้าวยศวิมล |
ทิศาปาโมกข์ | น. “ผู้เป็นใหญ่เป็นประธานในทิศ”, อาจารย์ผู้มีความรู้และชื่อเสียงโด่งดัง. |
เทพเจ้า | น. เทวดาผู้เป็นใหญ่. |
เทเวศ, เทเวศร์, เทเวศวร์ | (-เวด) น. เทวดาผู้เป็นใหญ่, หัวหน้าเทวดา |
ไท ๒ | น. ผู้เป็นใหญ่ เช่น ท้าวไท. |
ไท้ | น. ผู้เป็นใหญ่. |
ธรณินทร์ | (ทอระนิน) น. ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน, พระเจ้าแผ่นดิน. |
ธรณิศ, ธรณิศร, ธรณิศวร์ | (ทอระนิด) น. ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน, พระเจ้าแผ่นดิน. |
ธรณีศวร | น. ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน, พระเจ้าแผ่นดิน. |
ธรรมสามิสร | (-สามิด) น. ผู้เป็นใหญ่ด้วยความเป็นเจ้าของธรรม, พระพุทธเจ้า. |
ธเรษตรีศวร | (ทะเรดตฺรีสวน) น. ผู้เป็นใหญ่ในโลก, บางทีเขียนเป็น ธเรศตรีศวร เช่น สายัณห์หวั่นสวาทไท้ ธเรศตรี ศวรแฮ (ตะเลงพ่าย). |
ธเรศ | (ทะเรด) น. ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน, พระเจ้าแผ่นดิน. |
นราธิเบนทร์, นราธิเบศร์ | น. พระราชาผู้เป็นใหญ่, พระมหากษัตริย์. |
นางพญา | น. พระราชินี, นางผู้เป็นใหญ่. |
นาย | ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, ผู้จ้าง, เช่น เขาเป็นนาย นายไม่อยู่ |
นาย | ผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้าในกิจการนั้น ๆ เช่น นายตรวจ นายทะเบียน, ผู้ควบคุม เช่น นายหมู่ นายหมวด, ผู้ชำนาญในกิจการนั้น ๆ เช่น นายไปรษณีย์ นายช่าง |
บดีศร | น. นายผู้เป็นใหญ่. |
บริณายก | (บอรินายก) น. ปริณายก, ผู้นำบริวาร, หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่. |
ปรมินทร์, ปรเมนทร์ | (ปะระมิน, ปอระมิน, ปะระเมน, ปอระเมน) น. ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง. |
ปรเมศวร์ | (ปะระเมด, ปอระเมด) น. ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง คือ พระอิศวร. |
ประมุข | น. ผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้าของประเทศหรือศาสนาเป็นต้น. |
ปริณายก | (ปะ-) น. ผู้นำบริวาร, หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่. |
ปาตี | น. ผู้เป็นใหญ่. |
พญา | ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, (มักใช้นำหน้านามอื่น) เช่น พญานาค พญาหงส์. |
พรหมวิหาร | (พฺรมมะ-, พฺรม-) น. ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ มี ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา. |
พรหมินทร์ | (พฺรมมิน) น. พรหมผู้เป็นใหญ่. |
พรหเมนทร์, พรหเมศวร | (พฺรมเมน, พฺรมเมสวน) น. พระพรหมผู้เป็นใหญ่. |
พระ | ใช้ประกอบหน้าคำอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวร พระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพเมธี ๔. ภิกษุ เช่น พระสมศักดิ์ ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ |
พระ | ส. คำใช้แทนผู้เป็นใหญ่ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น เมียเห็นว่าเงาะนี้มีความรู้ พระอย่าได้ลบหลู่ว่าชั่วช้า (สังข์ทอง), หรือเป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล (กาพย์เห่เรือ). |
พระเจ้า | น. พระพุทธเจ้า เช่น พระเจ้าห้าพระองค์, พระพุทธรูป เช่น ทุกแห่งห้องพระเจ้า นั่งเนือง (กำสรวล), เทพผู้เป็นใหญ่ |
พระเป็นเจ้า | น. เทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวร, พระผู้สร้างโลก. |
พระผู้เป็นเจ้า | น. เทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวร |
พระองค์ | ลักษณนามใช้แก่พระพุทธเจ้า เทพผู้เป็นใหญ่ พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป สมเด็จพระสังฆราชเจ้า และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระมหากษัตริย์ ๒ พระองค์. |
พระองค์ | ส. คำใช้แทนผู้เป็นใหญ่ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น ขอพระองค์จงจำไว้สำเหนียก ดั่งนี้เรียกว่าสวัสดิรักษา (สวัสดิรักษา), หรือเป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ เช่น จะจากจริงทิ้งน้องหรือลองจิต โอ้คิดคิดถึงพระองค์น่าสงสาร (อภัย), (ราชา) สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แก่พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป สมเด็จพระสังฆราชเจ้า และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธ-ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรี. |
พ่อขุน | น. กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ในสมัยสุโขทัย. |
ฟ้าฝ่อ | น. พระพ่อ, ผู้เป็นใหญ่, เจ้าเมือง. |
มหาเทพ | น. เทวดาผู้เป็นใหญ่ (โดยมากใช้เรียกพระอิศวร). |