ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*สหประชาชาติ*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: สหประชาชาติ, -สหประชาชาติ-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
สหประชาชาติ(n) United Nations, Syn. องค์การสหประชาชาติ, ยูเอ็น, Example: รัฐบาลไทยได้ส่งทหารไทยเข้าไปช่วยสหประชาชาติรบด้วยในสงครามเกาหลี, Thai Definition: องค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเป็นทางการภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ การป้องกันสงคราม การยืนยันรับรองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน การเคารพและปฏิบัติตามพันธกรณีที่เกิดจากสนธิสัญญาและกฎหมายระหว่างประเทศ
กฎบัตรสหประชาชาติ(n) United Nations Charter, See also: Charter of the United Nations, Example: ในวันที่ 24 ตุลาคม 2488 มีการประกาศกฎบัตรสหประชาชาติซึ่งลงนามรับรองโดย 5 ประเทศมหาอำนาจในขณะนั้น, Count Unit: ข้อ, Thai Definition: ตราสารที่สถาปนาและจัดระเบียบองค์การระหว่างประเทศที่เรียกว่าองค์การสหประชาชาติ
องค์การสหประชาชาติ(n) United Nations Organization, See also: UN, Example: การดำเนินการครั้งนี้ได้รับความช่วยเหลือจากองค์การสหประชาชาติ, Thai Definition: เป็นองค์การระหว่างประเทศ ที่มุ่งเน้นในการช่วยเหลือ มนุษยชาติ และรักษาสันติภาพของโลก เพื่อให้อยู่ร่วมกันโดยสันติ

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ [with local updates]
กฎบัตรสหประชาชาติน. ตราสารที่สถาปนาและจัดระเบียบองค์การสหประชาชาติ.
วันสหประชาชาติน. วันสถาปนาองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งเรียกว่า องค์การสหประชาชาติ ตรงกับวันที่ ๒๔ ตุลาคม.
สหประชาชาติน. องค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ การป้องกันสงคราม การยืนยันรับรองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน การเคารพและปฏิบัติตามพันธกรณีที่เกิดจากสนธิสัญญาและกฎหมายระหว่างประเทศ, เรียกชื่อเต็มว่า องค์การสหประชาชาติ (United Nations Organization).
องค์การสหประชาชาติดู สหประชาชาติ.
ชำนัญพิเศษเรียกองค์การต่าง ๆ ในสังกัดองค์การสหประชาชาติ ว่า ทบวงการชำนัญพิเศษ.
เลขาธิการน. ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารระดับสูงตำแหน่งหนึ่ง เช่น เลขาธิการสหประชาชาติ เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน เลขาธิการรัฐสภา เลขาธิการสมาคม.
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศน. องค์กรใหญ่ฝ่ายตุลาการขององค์การสหประชาชาติ ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีอำนาจจำกัดเฉพาะการพิจารณาตัดสินคดีแพ่งที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติด้วยกัน ซึ่งประเทศคู่กรณียินยอมให้ศาลเป็นผู้พิจารณาตัดสินเท่านั้น.
สมัช, สมัชชาที่ประชุม เช่น สมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติ.
สห-(สะหะ-) ว. ด้วยกัน, พร้อม, ร่วม, ร่วมกัน, (ใช้ประกอบหน้าคำอื่น) เช่น สหประชาชาติ สหพันธ์สหรัฐ.
สุนทรพจน์(สุนทอนระ-, สุนทอระ-) น. คำพูดที่ประธานหรือบุคคลสำคัญเป็นต้นกล่าวในพิธีการหรือในโอกาสสำคัญต่าง ๆ เช่น นายกรัฐมนตรีกล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ.
องค์การน. ศูนย์รวมกลุ่มบุคคลหรือกิจการที่ประกอบกันขึ้นเป็นหน่วยงานเดียวกัน เพื่อดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายหรือในตราสารจัดตั้งซึ่งอาจเป็นหน่วยงานของรัฐ เช่น องค์การของรัฐบาล หน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทจำกัด สมาคม หรือหน่วยงานระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ.

อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
Organization, United Nationsองค์การสหประชาชาติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
Assembly of the United Nations, Generalสมัชชาแห่งสหประชาชาติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
Charter of the United Nationsกฎบัตรสหประชาชาติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
General Assemblyสมัชชาใหญ่ (สหประชาชาติ) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
General Assembly of the United Nationsสมัชชาแห่งสหประชาชาติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
territory, trust; trust territoryดินแดนในภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
trust territory; territory, trustดินแดนในภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
trust territoryดินแดนในภาวะทรัสตี (ของสหประชาชาติ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
Trusteeship Council of the United Nationsคณะมนตรีภาวะทรัสตีแห่งสหประชาชาติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
United Nations Organizationองค์การสหประชาชาติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
International Atomic Energy Agencyทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ, ไอเออีเอ, หน่วยงานสากลด้านความร่วมมือทางนิวเคลียร์ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2500 ภายใต้องค์การสหประชาชาติ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสันติภาพของโลก ป้องกันการแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ ให้ความช่วยเหลือด้านการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในทางสันติเพื่อความปลอดภัยและความมั่นคงของมนุษยชาติ [นิวเคลียร์]
United Nationsสหประชาชาติ [TU Subject Heading]
United Nations Conference on Trade and Developmentการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา [TU Subject Heading]
United Nations Convention Against Transnational Organized Crime (2000)อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร (ค.ศ. 2000) [TU Subject Heading]
United Nations Convention against Corruption (2003)อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (ค.ศ. 2003) [TU Subject Heading]
United Nations Convention on Contracts for the International Sale of Goods (1980)อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ (ค.ศ.1980) [TU Subject Heading]
United Nations Convention on the Law of the Sea (1982)อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (ค.ศ. 1982) [TU Subject Heading]
United Nations Convention on the Carriage of Goods by sea (1978)อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการขนส่งของทางทะเล (ค.ศ. 1978) [TU Subject Heading]
United Nations Framework Convention on Climate Change (1992)ข้อตกลงว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกขององค์การสหประชาชาติ (ค.ศ. 1992) [TU Subject Heading]
United Nations Framework Convention on Climate Change (1992). Protocols, etc., 1997 Dec. 11.อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ค.ศ.1992). พิธีสาร (11 ธ.ค. ค.ศ. 1997) [TU Subject Heading]
United Nations. Chartersสหประชาชาติ. กฎบัตร [TU Subject Heading]
United Nations. General Assemblyสหประชาชาติ. สมัชชาใหญ่ [TU Subject Heading]
United Nations. Security Councilสหประชาชาติ. คณะมนตรีความมั่นคง [TU Subject Heading]
United Nations. Trusteeshif Councilสหประชาชาติ. คณะมนตรีภาวะทรัสตี [TU Subject Heading]
United Nations Development Programme (UNDP)โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ, Example: องค์การพิเศษของสหประชาชาติ มีหน้าที่ประสานงานโครงการพัฒนาและให้ความช่วยเหลือ ทางเทคนิคต่างๆ ของสหประชาชาติ องค์กรนี้ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2509 จัดเป็นองค์การความร่วมมือทางเทคนิคที่ใหญ่ที่สุดของโลก ได้ให้ความช่วยเหลือในโครงการต่างๆ ทั่วโลกไปแล้วหลายพันโครงการ กิจกรรมที่ดครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติให้ความสนับสนุนได้แก่ โครงการด้านทรัพยากรธรรมชาติ การเพิ่มศักยภาพทางการค้าและการส่งออก การพัฒนากำลังคน การสร้างสิ่งจูงใจให้มีการลงทุนในการสร้างทุน โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ แก่ประเทศกำลังพัฒนา และโครงการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เงินทุนที่ใช้ในโครงการได้รับบริจาคโดยสมัครใจจากประเทศสมาชิกและองค์การ ต่างๆ [สิ่งแวดล้อม]
United Nations Conference on Trade and Developmentที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา, Example: องค์การระหว่างประเทศถือกำเนิดขึ้นจากข้อมติ ของสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ เมื่อ พ.ศ. 2507 เพื่อแก้ไขปัญหาการค้าระหว่างประเทศของประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะในปัญหาที่แกตต์ (ดู GATT) ไม่สามารถแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ อังค์แทดเป็นเวทีการประชุมระหว่างประเทศ ที่เปิดโอกาสให้ประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา ปรึกษาหารือร่วมกันแก้ไขปัญหาการค้าและการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถรวมกลุ่มกัน ใช้เป็นเวทีเรียกร้องให้ประเทศพัฒนาแล้วผ่อนคลาดมาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อ การค้าของประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงให้ประเทศกำลังพัฒนามีบทบาทร่วมในการตัดสินใจ เกี่ยวกับนโยบายและการจัดระบบเศรษฐกิจของโลกมากขึ้น ผลงานสำคัญของที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา เช่น จีเอสพี (ดู GSP) โครงการร่วมโภคภัณฑ์ (ดู Commodity Stabilization Agreements) และจีเอสทีพี (ดู GSTP) อังค์เทดมีสำนักงานอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีสมาชิกรวม 168 ประเทศ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศสังคมนิยมยุโรปตะวันออก และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา [สิ่งแวดล้อม]
Accessionการภาคยานุวัติ คือการที่รัฐหนึ่งเข้าไปเป็นภาคีสนธิสัญญา ซึ่งรัฐอื่น ๆ ได้วินิจฉัยตกลงก่อนแล้วและสนธิสัญญานั้นได้มีผลใช้บังคับก่อนแล้วด้วย บางที่ใช้คำ ?accession? ซึ่งตรงกับคำในภาษาฝรั่งเศสว่า ?adhésion? รัฐจะเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไม่ได้ นอกจากว่าในสนธิสัญญานั้นมีบทบัญญัติยอมให้รัฐอื่นเข้ามาเป็นภาคีด้วยได้ เช่น มาตรา 4 ของกฎบัตรแห่งสหประชาชาติบัญญัติไว้ว่า?(1) สมาชิกภาพในสหประชาชาติ เปิดรับบรรดารัฐอื่นๆ ทั้งหลายที่ยอมรับพันธกรณีที่ระบุไว้ในกฎบัตรปัจจุบันและองค์การสหประชาชาติ พิจารณาวินิจฉัยแล้วว่า รัฐนั้น ๆ สามารถและเต็มใจที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีเหล่านั้น??(2) การรับรัฐใดๆ ดังกล่าวเข้าเป็นสมาชิกในสหประชาชาติจะเป็นผลสำเร็จก็ต่อเมื่อสมัชชาสหประชา ชาติได้ลงมติรับรองตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง? คือ เอกสิทธิ์ทางการทูตในการที่จะได้มีถิ่นพำนัก [การทูต]
Ad hocเพื่อวัตถุประสงค์หรือความมุ่งหมายโดยเฉพาะ เช่น คณะกรรมการการเมืองพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาเรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะ ตามที่รับมอบหมายจากสมัชชาสหประชาชาตินั้น แต่เดิมมีชื่อว่าคณะกรรมการการเมืองเฉพาะเรื่อง (Ad hoc Committee) [การทูต]
Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary Permanent Representative of Thailand to the United Nationsเอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ (ณ นครนิวยอร์ก/นครเจนีวา) [การทูต]
Amendments to the Charter of the United Nationsการแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติ กฎบัตรของสหประชาชาตินั้น เปิดโอกาสให้มีการแก้ไขได้โดยสมัชชาสหประชาชาติหรือโดยที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ของสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งอาจจะประชุมกัน ณ วันเวลาและสถานที่ตามแต่จะมีการตกลงกัน โดยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ส่วนของสมัชชาใหญ่ และโดยคะแนนเสียงของสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงใด ๆ 7 เสียง ในที่ประชุมใหญ่นั้น สมาชิกแต่ละประเทศของสหประชาชาติจะมีเสียงลงคะแนน 1 เสียงการที่จะแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติให้เป็นผลสำเร็จ จะต้องได้เสียงสนับสนุนจากสมาชิกเป็นจำนวน 2 ใน 3 ส่วนของสมาชิกทั้งหมดในสมัชชาหรือจากที่ประชุมใหญ่ เมื่อการแก้ไขกฎบัตรเป็นที่รับรองแล้ว จะมีผลบังคับต่อสมาชิกทั้งหมดของสหประชาชาติ ก็ต่อเมื่อได้รับการสัตยาบันจากสมาชิก 2 ใน 3 ส่วนของจำนวนทั้งหมด รวมทั้งการรับรองจากสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงด้วยอาทิเช่น ในสมัยประชุมที่ 18 ของสมัชชาใหญ่ การแก้ไขกฎบัตรได้รับการรับรองเห็นชอบด้วย โดยผ่านข้อมติที่ 1991 (XVII) ในการแก้ไขครั้งนี้ได้เพิ่มจำนวนสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงจาก 11 เป็น 15 คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมจาก 18 เป็น 27 ประเทศ การแก้ไขดังกล่าวได้รับการลงมติรับรองเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1963 ในปัจจุบันนี้ ประเทศสมาชิกเป็นจำนวนมากกำลังเรียกร้องให้มีการปรับจำนวนสมาชิกถาวรของคณะ มนตรีความมั่นคงเสียใหม่ [การทูต]
Amnesty Internationalองค์การนิรโทษกรรมสากล องค์การนี้เริ่มต้นจากเป็นขบวนการเล็ก ๆ ก่อน เพื่อทำหน้าที่ประท้วง (Protest) แต่ภายในเวลาไม่นานนัก ได้ขยายตัวออกเป็นองค์การ เพื่อให้สมกับเป้าหมายและภารกิจที่ต้องปฏิบัติเพิ่มขึ้นมากมาย คติดั้งเดิมของการรณรงค์ระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนบรรดาบุคคลที่ต้องถูกคุม ขังอยู่ทั่วโลก ด้วยข้อหาเกี่ยวกับความเชื่อถือทางการเมืองและการศาสนานั้น ได้บังเกิดจากความคิดของบุคคลหนึ่งชื่อปีเตอร์ เบเนนสันปีเตอร์ เบเนนสัน ได้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ประจำวันอาทิตย์ของอังกฤษชื่อ Sunday Observer เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1961 โดยให้หัวเรื่องบทความว่า ?นักโทษที่ถูกลืม? (The Forgotten Prisoners) บทความนี้ได้ประทับใจมติมหาชนทั่วโลกทันที และภายในปีเดียว องค์การได้รับเรื่องร้องเรียนในนามของนักโทษกว่า 200 รายองค์การนิรโทษกรรมสากลมีเป้าหมายนโยบายกว้างๆ อยู่ 3 ข้อ คือ ต้องการให้ปล่อยนักโทษผู้มีนโนธรรม (Prisoners of Conscience) ทั้งหมด ให้มีการยุติการทรมานนักโทษไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ รวมทั้งการลงโทษประหารชีวิตและให้มีการพิจารณาพิพากษาคดีนักโทษการเมืองทั้ง หมดอย่างเป็นธรรมและไม่รอช้า องค์การนี้นอกจากจะมีชื่อเสียงว่าเป็นผู้ดำรงความเป็นกลางไม่เข้ากับฝ่ายใด และเป็นที่น่าเชื่อถือไว้วางใจได้อย่างแท้จริงแล้ว ยังเป็นเสมือนศูนย์ข้อมูลและข้อสนเทศที่สำคัญ ซึ่งบรรดาบุคคลสำคัญๆ ทางการเมืองทั่วโลกได้ใช้อ้างอิงอีกด้วยในปัจจุบัน องค์การนิรโทษกรรมมีสมาชิกและผู้สนับสนุนเป็นจำนวนกว่า 1 ล้านคน จากประเทศต่างๆ กว่า 150 ประเทศ องค์การอยู่ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการบริหารจำนวน 9 คน รวมทั้งตัวเลขาธิการอีกผู้หนึ่ง ทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อมติเกี่ยวกับนโยบาย และเป็นหัวหน้าของสำนักเลขาธิการขององค์การด้วย มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ องค์การมีผู้แทนของตนประจำอยู่กับองค์การสหประชาชาติ เมื่อปี ค.ศ. 1978 ได้รับรางวัลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ และในปี ค.ศ. 1977 ก็ได้รับรางวัลสันติภาพโนเบลมาแล้ว [การทูต]
ASEAN Dialogue Partnersคู่เจรจาอาเซียน " ประกอบด้วย 9 ประเทศ 1 กลุ่มประเทศ และ 1 องค์การระหว่างประเทศ คือ ออสเตรเลีย แคนาดา จีน อินเดีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี นิวซีแลนด์ รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ประชาคมยุโรป และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ โดยคู่เจรจาเหล่านี้ (ยกเว้นโครงการพัฒนาแห่งสห- ประชาชาติ) จะเข้าร่วมการประชุม PMC ด้วย " [การทูต]
ASEAN-UN Summitการประชุมผู้นำอาเซียน-สหประชาชาติ เป็นการประชุมระหว่างหัวหน้ารัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียนกับเลขาธิการสห ประชาชาติ มีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2543 ที่กรุงเทพฯ ในช่วงการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 [การทูต]
Bangkok Processเป็นการประชุมอย่างไม่เป็นทางการในระดับรัฐมนตรี เพื่อแลกเปลี่ยน ข้อคิดเห็นระหว่างกันอย่างตรงไปตรงมาและสร้างสรรค์เกี่ยวกับแนวทางในการสนับ สนุนกระบวนการสร้างความปรองดองภายในชาติและการพัฒนาประชาธิปไตยในพม่าตาม ?Roadmap towards Democracy in Myanmar? เดิมเรียกว่า Forum on International Support for National Reconciliation in Myanmar ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Bangkok Process ครั้งแรกเมื่อ 15 ธันวาคม 2546 ที่กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนพิเศษของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศจาก 12 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ออสเตรีย จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น พม่า สิงคโปร์ และไทย รวมทั้งนาย Razali Ismail เป็นผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติว่าด้วยพม่าเข้าร่วม [การทูต]
Conference on Disamamentการประชุมว่าด้วยการลดอาวุธ จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2522 เพื่อเป็นเวทีเจรจาการลดอาวุธระหว่างประเทศ มีขอบเขตความรับผิดชอบเกี่ยวกับประเด็นด้านการลดอาวุธทุกด้าน และมีหน้าที่ รายงานต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติทุกปี ปัจจุบันมีสมาชิก 65 ประเทศ(ไทยมิได้เป็นสมาชิก) โดยที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จในการเจรจาจัดทำความตกลงระหว่างประเทศ ด้านการลดอาวุธหลายฉบับ ที่สำคัญได้แก่ สนธิสัญญาไม่แพร่อาวุธนิวเคลียร์ อนุสัญญาห้ามเคมี อนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ และสนธิสัญญาห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ [การทูต]
Convention on Elimination of All Forms of Discrimination Against Womenอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ได้รับการรับรองจากที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2522 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2527 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบและเพื่อความ เสมอภาคระหว่างสตรีและบุรุษในทุกด้าน ขณะนี้มีประเทศต่าง ๆ เป็นภาคีอนุสัญญาฯ แล้ว 167 ประเทศ (ข้อมูลถึงกรกฎาคม 2543) ไทยยังคงมีข้อสงวนอีก 2 ข้อ ในอนุสัญญาฯ คือ ข้อ 16 เรื่องความเสมอภาคในด้านครอบครัวและการสมรส และ ข้อ 29 เรื่องการระงับการตีความ การระงับข้อพิพาท โดยรับอนุญาโตตุลาการ [การทูต]
charterกฎบัตร หนังสือสัญญาก่อตั้ง เป็นหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ มีข้อผูกพันแน่นอน เช่น กฎบัตร สหประชาชาติ [การทูต]
Commission on Human Rightsคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เป็นคณะกรรมาธิการหลัก ซึ่งรับผิดชอบในการเสาะหามาตรการในการส่งเสริมเรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศ ต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งตรวจสอบและสอดส่องการดำเนินการด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษย ชนในประเทศต่าง ๆ ด้วย คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 53 ประเทศ มาจากการเลือกตั้ง ดำรงตำแหน่งวาระละ 3 ปี คณะกรรมาธิการฯ โดยจะมีการประชุมเป็นประจำทุกปี ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน ณ นครเจนีวา ประเทศไทยได้รับเลือกตั้งเข้าเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการฯ สำหรับวาระ พ.ศ. 2544-2546 [การทูต]
Commission on Human Rightsคณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น [การทูต]
comprehensive plan of actionแผนปฏิบัติการที่สมบูรณ์แบบ เป็นแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยอย่างสมบูรณ์ โดยความร่วมมือระหว่างประเทศต้นเหตุ ประเทศที่ต้องแบกรับภาระ สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ และประเทศที่ให้ความช่วยเหลือ แผนปฏิบัติการที่สมบูรณ์แบบนี้เป็นการแก้ไขปัญหาแบบครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการป้องกันปัญหา การให้ความช่วยเหลือผู้หนีภัย โดยจัดที่พักพิงชั่วคราวตามหลักมนุษยธรรม การส่งตัวกลับเมื่อสถานการณ์ในประเทศต้นเหตุกลับคืนสู่สภาพปกติแล้ว และการหาที่พักพิงให้แก่ผู้หนีภัยในประทศที่สาม [การทูต]
Conventionในภาษาไทยแปลว่า อนุสัญญา แต่คำนี้ใช้แทนคำว่า สนธิสัญญา (Treaty) บ่อย ๆ ผู้เขียนหลายท่านเห็นว่า ทั้งสองคำนี้ไม่ค่อยจะมีความหมายแตกต่างกันมากนัก แม้ว่าคำ Convention มักจะใช้กันเป็นประจำ โดยหมายถึงความตกลงที่กระทำกันในการประชุมระหว่างประเทศ ตัวอย่างเช่น อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ซึ่งได้รับการรับรองจากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่กระทำกัน ณ กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ถึง 14 เมษายน ค.ศ. 1961 (The Vienna Convention on Diplomatic Relations) [การทูต]
Convention on the Rights of the Childอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ได้รับการรับรองจากสมัชชาสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2532 โดยอนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2533 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อคุ้มครองสิทธิของเด็ก (บุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี) เพื่อให้ได้รับการศึกษา การดูแล ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบหรือกระทำทารุณกรรม ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกสหประชาชาติที่เป็นภาคีอนุสัญญาฯ แล้ว 191 ประเทศ คงเหลือโซมาเลียและสหรัฐอเมริกาที่ยังมิได้ให้สัตยาบัน ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กด้วยการภาคยานุวัติ อนุสัญญาฯ มีผลปังคับใช้กับประเทศไทยเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2535 ขณะนี้ไทยยังคงมีข้อสงวน 2 ข้อ คือ ข้อ 7 เรื่องสัญชาติ และ ข้อ 22 เรื่องการให้สถานะเป็นผู้ลี้ภัย [การทูต]
Dean (หรือ Doyen) of the Diplomatic Corpsหัวหน้า (Dean) ของคณะทูตานุทูตในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ได้แก่ ตัวทูตที่อาวุโสที่สุด (คือเป็นทูตอยู่ในประเทศนั้นๆ เป็นเวลานานที่สุด) ตัวหัวหน้าคณะทูตานุทูตจะมีลำดับอาวุโสเหนือทุกคนในคณะทูตานุทูต ทำหน้าที่เป็นโฆษกของคณะทูตเมื่อถึงความจำเป็น และเป็นผู้ดูแลและคุ้มครองบรรดาเอกสิทธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่คณะ ทูตานุทูตมีอยู่ แต่หน้าที่ที่แท้จริงนั้น โดยมากเกี่ยวกับเรื่องพิธีการทูตมากกว่า อาทิเช่น เมื่อถึงวันที่ระลึกครบรอบวันเกิดประมุขของรัฐ (เช่นวันเฉลิมพระชนมพรรษาในประเทศไทย) Dean ของคณะทูตจะเป็นผู้กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสดังกล่าวในนามของคณะทูตทั้งหมด แต่การที่จะเรียกหรือขอให้บุคคลในคณะทูตไปประชุมเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง นั้น เป็นสิ่งที่ Dean ไม่พึงกระทำ อย่างไรก็ตาม จะไม่มีผู้แทนทางการทูตคนใดไปร่วมการประชุมระหว่างบุคคลในคณะทูตด้วยกัน เกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศโดยมิได้รับคำสั่งโดยเฉพาะจากรัฐบาลของตนก่อน ภริยาของ Dean หรือ Doyen นั้นเรียกว่า Doyenneเมื่อหัวหน้าคณะทูตวายชนม์ขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ บุคคลในคณะทูตที่มีอาวุโสรองลงมาหรือเป็นบุคคลที่สองจะเป็นผู้รับช่วงงาน ทันที และมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Chargé d?Affaires ad interim) ทั้งจะต้องดูว่า เอกสารทางราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะเอกสารลับหรือปกปิด จะไม่ทิ้งรวมอยู่กับ เอกสารส่วนตัวของทูตผู้วายชนม์อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูต ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1961 จากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับการติดต่อและความคุ้มกันทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ข้อ 39 (3) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามี สิทธิที่จะได้รับไปจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป(4) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว ให้รัฐผู้รับอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่ส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้ามในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในคราอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดกและการรับมรดกนั้น ๆ ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับ เพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่ฝ่ายเดียวของผู้วายชนม์ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทนอนึ่ง อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1963 ได้บัญญัติไว้ว่า ?ข้อ 51 ในกรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล หรือของคนในครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว รัฐผู้รับ(ก) จะอนุญาตให้ส่งออกซึ่งสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ โดยมีข้อยกเว้นแก่ทรัพย์สินเช่นว่า ทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาในรัฐผู้รับนั้น ซึ่งการส่งออกของทรัพย์ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลดังกล่าวถึงแก่มรณกรรม(ข) จะไม่เรียกเก็บอากรกองมรดก อากรสืบช่วงมรดกหรืออากรรับมรดก และอากรการโอน ไม่ว่าจะเป็นอากรของชาติ ของภูมิภาค หรือของเทศบาล จากสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการที่สังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ในรัฐผู้รับก็เนื่องมาแต่ฝ่ายเดียว จากการที่ผู้วายชนม์อยู่ในรัฐนั้นฐานะบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุลหรือใน ฐานะคนในครอบครัวของบุคคลในที่ทำการกงสุล? ?ข้อ 53(5) กรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล คนในครอบครัวซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว จะคงได้รับอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ประสาทให้แก่ตนต่อไป จนกว่าตนจะออกไปจากรัฐผู้รับ หรือจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะสามารถให้ตนกระทำดังนั้นได้ แล้วแต่ว่าเวลาไหนจะมาถึงก่อนกัน? [การทูต]
Diplomatic Languageภาษาการทูต ในสมัยโบราณจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 รัฐทั้งหลายในสมัยนั้นได้นิยมใช้ภาษาละตินเป็นภาษาการทูตและก็เป็นภาษาเดียว ที่ใช้กันในยุโรปภาคกลางและภาคตะวันตก ต่อมาในราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ได้ใช้ภาษาฝรั่งเศสแทนภาษาละตินเป็นภาษาการทูต และใช้กันตลอดมาจนถึงสมัยสงครามโลกครั้งแรก หลังจากเสร็จสงครามโลกครั้งแรกจนถึงสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐต่างๆ เริ่มนิยมใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น และใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ แต่ก็ยังไม่มีการรับรองเป็นทางการกันว่าให้ใช้ภาษาใดเป็นภาษาทางการทูตใน องค์กรทั้งหมดของสหประชาชาติยกเว้นศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ใช้ 5 ภาษาเป็นภาษาราชการ คือ ภาษาจีน รัสเซีย สเปน อังกฤษ และฝรั่งเศส ดังนั้น ในการประชุมใด ๆ ณ องค์การสหประชาชาติ หากมีการแถลงเป็นภาษาหนึ่ง ก็จะมีการแปลเป็นอีก 4 ภาษาเกือบพร้อมกันในทันที (Simultaneous Translation) สำหรับศาลยุติธรรมระหว่างประเทศนั้น ภาษาที่ใช้เป็นภาษาราชการคือ ภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส เพียงสองภาษา [การทูต]
Economic and Social Councilคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (แห่งสหประชาชาติ) เป็นองค์กรหลักของสหประชาชาติ ที่ทำหน้าที่ในการศึกษาและรายงานเกี่ยวกับเรื่องระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา อนามัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และจัดทำคำแนะนำเสนอต่อสมัชชา สมาชิกของสหประชาชาติ ตลอดจนทบวงการชำนัญพิเศษที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นที่จะส่งเสริมการเคารพ และการปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชน และอิสรภาพของมวลมนุษย์ ทั้งนี้ ประกอบด้วยสมาชิกของสหประชาชาติ 54 ประเทศ [การทูต]
Exclusive Economic Zoneเขตเศรษฐกิจจำเพาะ คือ บริเวณที่อยู่เลยไปจากและประชิดกับทะเลอาณาเขต สิทธิและเขตอำนาจของรัฐชายฝั่งและสิทธิเสรีภาพของรัฐอื่นถูกกำหนดโดยบท บัญญัติที่เกี่ยวข้องของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล พ.ศ. 2525 [การทูต]
equitable geographical distributionการกระจายตัวอย่างเท่าเทียมกันตามเขตภูมิศาสตร์ เป็นคำศัพท์เฉพาะที่ใช้ในกรอบสหประชาชาติ หมายถึง การมีส่วนร่วมและการเป็นตัวแทนของประเทศสมาชิกสหประชาชาติที่ตั้งอยู่ใน ภูมิภาคต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมกัน [การทูต]
Excellencyเป็นคำแสดงตำแหน่งที่ใช้เรียกตัวเอกอัครราชทูต ทั้งโดยวาจาและโดยลายลักษณ์อักษร เป็นคำที่เริ่มใช้กันตั้งแต่สมัยทำสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) เมื่อ ค.ศ. 1648 และได้นำมาใช้ทั่วทวีปยุโรปหลังจากการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนา (ค.ศ. 1815) แต่ถ้าบังเอิญเอกอัครราชทูตของประเทศหนึ่งใดเป็นบุคคลเชื้อพระวงศ์ แทนที่จะเรียกเอกอัครราชทูตผู้นั้นด้วยคำว่า Excellency ก็ให้เรียกด้วยคำว่า ?Royal Highness? แทนแต่เดิมคำ ?Excellency? ซึ่งเป็นคำเติมหน้าชื่อแสดงตำแหน่งนี้ใช้เรียกเฉพาะตัวเอกอัครราชทูตเท่า นั้น แต่ในทางปฏิบัติ ทุกวันนี้ได้นิยมใช้เรียกตัวอัครราชทูต (Ministers) เช่นกัน ส่วนภริยาของเอกอัครราชทูตนั้นก็ได้รับการยกย่องโดยใช้คำ Excellency ด้วย แต่สำหรับเอกอัครราชทูตที่เป็นสตรี สามีของเธอจะไม่ได้รับเรียกเช่นนั้น นอกจากนั้น คำแสดงตำแหน่งนี้ยังใช้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และมีหลายประเทศได้นำไปใช้เรียกประมุขของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีด้วย แต่การปฏิบัติดังนี้ย่อมแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ส่วนเลขาธิการสหประชาชาตินั้น ใช้เรียกกันเป็นทางการว่า Excellency และสำหรับกรณีที่ไม่เป็นทางการก็เรียกว่า Mr. Secretary-General [การทูต]
Food and Agriculture Organizationองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ " เป็นทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2488 มีหน้าที่บรรเทาความอดอยากและหิวโหยของ ประชากรโลกด้วยการส่งเสริม และพัฒนาเกษตรกรรม การปรับปรุงโภชนาการ และแสวงหาความมั่นคงทางด้านอาหาร ปัจจุบันมีสมาชิก 171 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี " [การทูต]
General Assembly of the United Nationsสมัชชาแห่งสหประชาชาติ, Example: หน้าที่สำคัญของสมัชชามีดังนี้1. พิจารณาและจัดทำคำแนะนำเกี่ยวกับหลักการของความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคง รวมทั้งหลักการเรื่องการลดอาวุธ และข้อบังคับว่าด้วยกำลังอาวุธ2. พิจารณาและอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสันติภาพและความมั่นคง พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องนี้ นอกจากในกรณีที่ข้อพิพาทหรือสถานการณ์กำลังอยู่ในระหว่างการอภิปรายในคณะ มนตรีความมั่นคงในขณะนั้น3. พิจารณาและอภิปราย เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับปัญหาใด ๆ ที่อยู่ภายในกรอบของกฎบัตร หรือที่เกี่ยวข้องกับอำนาจและหน้าที่ขององค์กรใด ๆ ในสหประชาชาติ4. ริเริ่มศึกษา และจัดทำคำแนะนำเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางการเมืองระหว่างประเทศ ส่งเสริมการพัฒนากฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งพยายามทำให้ทุกคนได้มีสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพมูลฐานประจักษ์ผลตลอดจน ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา และการสาธารณสุข5. รับและพิจารณารายงานจากคณะมนตรีความมั่นคงและองค์กรอื่นๆ ของสหประชาชาติ6. จัดทำคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการระงับสถานการณ์ที่ยุ่งยากใดๆ โดยสันติวิธี โดยไม่คำนึงถึงต้นเหตุซึ่งอาจจะยังความเสียหายแก่ความสัมพันธ์ฉันมิตร ระหว่างประเทศ7. ควบคุมดูแลโดยผ่านทางคณะมนตรีภาวะทรัสตีให้มีการปฏิบัติให้เป็นไปตามความ ตกลงเกี่ยวกับภาวะทรัสตีในดินแดนทั้งหมดที่มิได้ถูกกำหนดว่าเป็นพื้นที่ทาง ยุทธศาสตร์8. เลือกตั้งสมาชิกไม่ประจำของคณะมนตรีความมั่นคง สมาชิกในคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม สมาชิกของคณะมนตรีภาวะทรัสตีจะได้รับการเลือกตั้งให้มีส่วนร่วมกับคณะมนตรี ความมั่นคง ในการเลือกตั้งผู้พิพากษาของศาลสถิตยุติธรรมระหว่างประเทศ และแต่งตั้งตัวเลขาธิการสหประชาชาติตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง9. พิจารณาและอนุมัติงบประมาณของสหประชาชาติจัดสรรเงินค่าบำรุงในระหว่างประเทศ สมาชิก และพิจารณางบประมาณของบรรดาองค์การชำนัญพิเศษ (Specialized agencies)ข้อมติใด ๆ ของสมัชชานั้น ถือว่าเป็นข้อเสนอแนะ (recommendations) หรือคำแนะนำแก่ประเทศสมาชิกองค์กรหรือองค์การรัฐบาลอื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสหประชาชาติ แม้ว่าข้อเสนอแนะเหล่านี้ไม่เป็นเครื่องผูกมัดก็ตาม แต่ก็ถือว่ามีลักษณะชักจูงจิตใจของรัฐบาลต่าง ๆ ที่เป็นเสียงส่วนข้างมากของโลก และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังข้อเสนอแนะดังกล่าวสมัชชาจะประชุมกันปีละครั้งเป็น ประจำทุกปี โดยมากจะเริ่มต้นในวันอังคารที่สามของเดือนกันยายน สมัชชาย่อมเรียกประชุมสมัยพิเศษได้ ถ้าคณะมนตรีความมั่นคงขอร้อง หรือสมาชิกส่วนข้างมากของสหประชาชาติ หรือประเทศสมาชิกหนึ่งใดที่เป็นประเทศสมาชิกส่วนข้างมากเห็นพ้องด้วย สมัชชาจักประชุมสมัยพิเศษยามฉุกเฉินได้ภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งได้รับการขอร้องจากคณะมนตรีความมั่นคง ด้วยคะแนนเสียงของประเทศสมาชิกใดๆ 7 ประเทศของคณะมนตรีความมั่นคงหรือด้วยเสียงข้างมากของประเทศสมาชิกของสหประชา ชาติ หรือตามคำขอร้องของประเทศสมาชิกหนึ่งใด ซึ่งสมาชิกส่วนข้างมากของสหประชาชาติเห็นพ้องด้วยสมัชชาสหประชาชาติประกอบ ด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมดทุกประเทศ แต่ละประเทศสมาชิกมีผู้แทนในสมัชชาไม่เกินกว่า 5 คน และแต่ละประเทศสามารถตัดสินใจเลือกผู้แทนได้ตามวิถีทางของตน สมัชชาจะทำงานโดยผ่านคณะกรรมการใหญ่รวม 7 คณะ และประเทศสมาชิกทั้งหมดมีสิทธิที่จะเลือกผู้แทนของตนไปประจำอยู่ในคณะ กรรมการเหล่านั้น คณะกรรมการดังกล่าวมี - คณะกรรมการที่หนึ่ง (First Committee) คือคณะกรรมการฝ่ายการเมืองและความมั่นคง รวมทั้งการจัดระเบียบควบคุมกำลังอาวุธด้วย- คณะกรรมการฝ่ายการเมืองพิเศษ (Special Political Committee) มีส่วนร่วมทำงานกับคณะกรรมการที่หนึ่ง- คณะกรรมการที่สอง (Second Committee) คือคณะกรรมการฝ่ายเศรษฐกิจและการคลัง- คณะกรรมการที่สาม (Third Committee) คือคณะกรรมการฝ่ายสังคม มนุษยธรรม และวัฒนธรรม- คณะกรรมการที่สี่ (Fourth Committee) คือคณะกรรมการฝ่ายภาวะทรัสตี รวมทั้งดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง- คณะกรรมการที่ห้า (Fifth Committee) คือคณะกรรมการฝ่ายธุรการและงบประมาณ- คณะกรรมการที่หก (Sixth Committee) ได้แก่ คณะกรรมการฝ่ายกฎหมายนอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการทั่วไป (General Committee) อีกคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ตัวประธาน และรองประธานสมัชชาอีก 13 คน รวมทั้งประธาน (President) ของคณะกรรมการสำคัญทั้ง 7 คณะ คณะกรรมการทั่วไปนี้จะทำการประชุมกันบ่อยครั้งในระหว่างสมัยประชุมสมัชชา เพื่อดูแลให้งานการประชุมของสมัชชาดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการฝ่ายการแต่งตั้ง (Credentials Committee) ซึ่งประธานสมัชชาจะเป็นผู้แต่งตั้งทุกสมัยการประชุม เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบหนังสือแต่งตังของบรรดาผู้แทนประเทศสมาชิกตามปกติ สมัชชาเป็นฝ่ายนำเสนอเรรื่องทั้งหมดในระเบียบวาระของสมัชชาไปให้คณะกรรมการ สำคัญคณะหนึ่ง คือ คณะกรรมการร่วม (Joint Committee) หรือคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง (Ad hoc Committee) ที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็นพิเศษเพื่อพิจารณาเรื่องหนึ่งเรื่องใดโดยเฉพาะ จากนั้น คณะกรรมการเหล่านี้จะส่งข้อเสนอของตนไปให้สมัชชารับรองในการประชุมเต็มคณะ (Plenary meeting)อนึ่ง สมัชชาสหประชาชาติมีคณะกรรมการที่เรียกว่า Standing Committee ทำหน้าที่ช่วยเหลืออยู่สองคณะ คือ คณะกรรมการที่ปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาด้านธุรการและงบประมาณ และคณะกรรมการเกี่ยวกับเงินค่าบำรุงของประเทศสมาชิก สมาชิกในคณะกรรมการเกี่ยวกับเงินค่าบำรุงของประเทศสมาชิก สมาชิกในคณะกรรมการเหล่านี้จะได้รับการเลือกตั้งจากสมัชชาให้อยู่ในคณะ กรรมการสามปีจึงจะครบวาระ การพิจารณาเลือกตั้งนั้นให้ถือตามคุณวุฒิส่วนตัว และการแบ่งสรรถือตามเขตภูมิรัฐศาสตร์ (Geographical distribution) [การทูต]
Genocideการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1946 สมัชชาสหประชาชาติได้ยืนยันเป็นเอกฉันท์ว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือการฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อนนั้นให้ถือเป็นอาชญากรรม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งโลกที่บรรลุความเจริญแล้วประณามอย่างรุนแรงอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกัน และการลงโทษอาชญากรรมเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้ สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติรับรองเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญานี้ได้นิยามคำว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) หมายถึงการประกอบอาชญากรรมบางอย่าง โดยมีเจตนาที่จะทำลายล้างกลุ่มชนชาติ กลุ่มเผ่าพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา ในบางส่วนหรือทั้งหมดก็ตาม การประกอบกรรมซึ่งถือเป็นการฆ่าล้างชาตินั้นได้แก่ การฆ่า การทำให้เกิดความเสียหายอย่างสาหัส ทั้งต่อร่างกายหรือจิตใจ และการบังคับให้มีสภาวะการครองชีพที่เจตนาจะให้ชีวิตร่ายกายถูกทำลาย ไม่ว่าจะเพียงส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดก็ตาม ตลอดจนออกมาตรการกีดกันมิให้มีลูกและโยกย้ายเด็ก ๆ ไม่เพียงแต่การฆ่าล้างชาติอย่างเดียว หากแต่การคบคิดหรือการยุยงให้มีการฆ่าล้างชาติ รวมทั้งความพยายามที่จะฆ่าล้างชาติและสมรู้ร่วมคิดในอาชญากรรมดังกล่าว ย่อมถูกลงโทษได้ตามนัยแห่งอนุสัญญานี้ บรรดาผู้ที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกลงโทษไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ ปกครอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง หรือเอกชนส่วนบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดของตามกฎหมายก็ตามบรรดาประเทศที่ภาคี อนุสัญญานี้จำเป็นต้องออกกฎหมายของตนเพื่อรองรับ และจะต้องตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนในกรณีที่บุคคลนั้นๆ มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติ และบุคคลที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกพิจารณาลงโทษในประเทศที่มีการ ประกอบอาชญากรรมดังกล่าวขึ้น หรือโดยศาลระหว่างประเทศที่มีอำนาจครอบคลุมถึงเจตนารมณ์ของสนธิสัญญานี้ เพื่อต้องการป้องกัน และลงโทษอาชญากรรมฆ่าล้างชาติ ไม่ว่าจะประกอบขึ้นในยามสงครามหรือในยามสงบก็ตามอนุสัญญาดังกล่าวได้เริ่มมี ผลบังคับเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1951 เป็นเวลา 90 วันหลังจากที่ 20 ประเทศได้ให้สัตยาบัน หรือให้ภาคยานุวัติตามที่ระบุอยู่ในอนุสัญญา อนุสัญญานี้จะมีผลบังคับเป็นเวลา 10 ปี และมีการต่ออายุสัญญาทุก 5 ปี สำหรับประเทศที่มิได้บอกเลิกสัญญา หากประเทศที่ยังเป็นภาคีอนุสัญญามีจำนวนเหลือไม่ถึง 16 ประเทศ อนุสัญญานี้จะเลิกมีผลบังคับทันที [การทูต]
Great Powersประเทศมหาอำนาจ รัฐที่พอจะเรียกได้ว่าเป็นประเทศมหาอำนาจ คือรัฐที่มีอำนาจอิทธิพลครอบงำในกิจการระหว่างประเทศ ไม่มีกฎหมายใดๆ ที่จะกำหนดว่าประเทศนั้น ประเทศนี้มีสถานภาพเป็นมหาอำนาจ หากเป็นเพียงเพราะรัฐนั้นๆ มีขนาด พละกำลัง และอำนาจอิทธิพลทางเศรษฐกิจเป็นพื้นฐาน และจะสังเกตได้ว่า สถานะของกลุ่มประเทศมหาอำนาจเช่นนี้ก็จะเปลี่ยนแปลงได้บ่อยๆ เช่น ในสมัยการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาในปี ค.ศ. 1815 ประเทศมหาอำนาจในสมัยนั้นได้แก่ อังกฤษ ออสเตรีย ฝรั่งเศส ปอร์ตุเกส ปรัสเซีย สเปน สวีเดน และรัสเซีย หลังจากนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่เกี่ยวกับพละกำลังของประเทศมหาอำนาจ คือก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ หนึ่ง ประเทศที่จัดว่าเป็นมหาอำนาจในตอนนั้นคือ อังกฤษ ฮังการี ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และรัสเซีย ซึ่งตั้งอยู่ในทวีปยุโรป รวมทั้งสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งตั้งอยู่นอกยุโรป เมื่อตอนสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศที่เป็นมหาอำนาจได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ โซเวียตรัสเซีย ฝรั่งเศส และจีน พึงสังเกตด้วยว่า องค์การสหประชาชาติได้ถือว่า ประเทศทั้ง 5 นี้มีอำนาจและมีความสำคัญมากที่สุดในขณะนั้น ทั้ง 5 ประเทศนี้ต่างเป็นสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ซึ่งมีอำนาจใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) ในที่ประชุม ซึ่งในปัจจุบันก็ยังปฏิบัติเช่นนั้นอยู่ [การทูต]
Generalized System of Preferencesระบบการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป " มีที่มาจากการประชุมว่าด้วยการค้าและการพัฒนาขององค์การ สหประชาชาติ (UNCTAD) เมื่อปี พ.ศ. 2510 ภายใต้ระบบนี้ประเทศที่พัฒนาแล้วจะเปิดโอกาสให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถส่ง สินค้าไปขายแข่งขันในประเทศพัฒนา โดยการยกเว้นหรือลดหย่อนอัตราภาษีขาเข้าให้แก่สินค้าที่อยู่ในข่ายได้รับ สิทธิพิเศษ โดยไม่เรียกร้อง ผลประโยชน์ตอบแทนใด ๆ " [การทูต]
HABITATดูที่ UNCHF = ศูนย์เพื่อการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ ทำหน้าที่เป็นสำนักเลขาธิการของคณะกรรมาธิการว่าด้วยการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ (Commission on Human Settlements) ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงานกิจกรรมการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ของสหประชา ชาติที่เน้นในเรื่องที่พักพิง (shelter) และบริการทางสังคม การจัดการเมือง สิ่งแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐาน และการประเมิน ติดตามข่าวสารข้อมูลทางด้านการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ [การทูต]
High Commissioner1. เอกอัครราชทูตของประเทศในเครือจักรภพที่ประจำในสหราชอาณาจักรหรือประเทศใน เครือจักรภพด้วยกัน 2. ข้าหลวงใหญ่ ข้าหลวงใหญ่ : ใช้เรียกหัวหน้าสำนักงานบางแห่งในกรอบสหประชาชาติ เช่น United Nations High Commissioner of Refugee (UNHCR) หมายถึง ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ [การทูต]
High Level Panel on Threats, Challenges and Changeคณะผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูงว่าด้วยภัยคุกคาม ความท้าทายและการเปลี่ยนแปลง แต่งตั้งโดยนาย Kofi Annan เลขาธิการสหประชาชาติ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 16 คน มีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายก - รัฐมนตรีเป็นประธาน [การทูต]
Humanitarian Interventionการแทรกแซงเพื่อมนุษยธรรม " เป็นแนวคิดที่นายโคฟี อันนาน เลขาธิการสหประชาชาติเสนออย่างเป็น ทางการครั้งแรกต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 54 เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยมุ่งจะให้สหประชาชาติสามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนภาย ในประเทศต่าง ๆ ได้โดย คำนึงถึงประเด็นเรื่องมนุษยธรรมเป็นหลัก ขณะนี้ แนวคิดนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันและยังไม่ยุติ โดยบางประเทศเห็นว่า เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นการละเมิดอธิปไตยของรัฐ บางประเทศเห็นว่าเป็นมาตรการที่จำเป็นเพื่อแก้ปัญหาของมนุษยชาติ ส่วนบางประเทศเห็นว่าการแทรกแซงดังกล่าวจะต้องอยู่ใต้กรอบหลักเกณฑ์ หรือกรอบกฎหมายบางประการ เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ " [การทูต]
International Atomic Energy Agencyทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ตั้งอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เป็นองค์การอิสระและมีความเกี่ยวเนื่องอย่างใกล้ชิดกับสหประชาชาติ ทำหน้าที่ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการใช้พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ [การทูต]
International Civil Aviation Organizationองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ " เป็นทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2490 โดยอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (Convention on International Civil Aviation) มีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นหน่วยงานกลางระหว่างประเทศสมาชิก ในการออกกฎ ระเบียบ และ ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการบินพลเรือน ปัจจุบันมีสมาชิก 185 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา " [การทูต]
International Covenant on Civil and Political Rightsกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศภายใต้กรอบสหประชาชาติหลักด้านสิทธิมนุษยชน 1 ใน 2 ฉบับ ซึ่งแปรข้อบทในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนให้มีพันธะผูกพันทางกฎหมายแก่ ประเทศภาคี สหประชาชาติรับรองเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2509 มีผลใช้บังคับเมื่อปี พ.ศ. 2519 ไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 และมีผลบังคับใช้กับไทยเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2540 [การทูต]

ตัวอย่างประโยค จาก Open Subtitles  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
I work for UNO, the United Nations Organization.ผมทำงานที่ยูเอ็นโอ, องค์การสหประชาชาติ Clue (1985)
Yes, but you work for the United Nations. That's a government job.ใช่ แต่คุณทำงานให้สหประชาชาติ นั่นคือหน่วยงานของรัฐบาล Clue (1985)
Yes, but now I work for the United Nations.ใช่ แต่ตอนนี้ผมทำงานให้กับสหประชาชาติ Clue (1985)
No, your work has not changed. But you don't practice medicine at the UN.ไม่ งานของคุณไม่ได้เปลี่ยน แต่คุณไม่ได้รักษาที่สหประชาชาติ Clue (1985)
Professor Plum's UN contacts, and the work of your husband, the nuclear physicist.รายชื่อผู้ติดต่อสหประชาชาติ ของศาสตราจารย์พลัม และงานของสามีของคุณ ฟิสิกส์นิวเคลียร์ Clue (1985)
I hardly think it will enhance your reputation at the UN, Professor Plum, if it's revealed that you've been implicated not only in adultery with one of your patients but in her death and the deaths of five other people.ฉันไม่คิดว่ามันจะช่วยเพิ่มชื่อเสียงของคุณ ที่สหประชาชาติหรอกนะศาสตราจารย์พลัม ถ้ามันถูกเปิดเผยว่าคุณ ไม่เพียงจะมีเรื่องชู้สาว กับผู้ป่วยของคุณ Clue (1985)
You don't know what kind of people they have at the UN.คุณไม่รู้หรอกว่าพวกสหประชาชาติ เป็นคนประเภทไหนบ้าง Clue (1985)
the United Nations medical effort, of course.- ใครเหรอ? แพทย์อาสาจากสหประชาชาติไง Spies Like Us (1985)
It belongs to the U.N. Army.มันเป็นยานของกองทัพสหประชาชาติ Hoshi no koe (2002)
Nagamine was chosen as a Select Member of the U.N. Space Army.นากามิเนะได้รับเลือกเป็น"สมาชิกที่ถูกเลือก" ของกองทัพอวกาศสหประชาชาติ Hoshi no koe (2002)
That winter she departed with a huge U.N. fleet, with over a thousand people on board, on a Tarsian survey.ฤดูหนาวปีนั้นเธอจึงจากไป\ ไปกับยานยักษ์ของสหประชาชาติ กับคนพันกว่าคนที่อยู่บนยาน ยานสำรวจเทรเชียน Hoshi no koe (2002)
Nagamine had pretty good grades and was good at sports, but even so, it's the U.N. Army, you know.นากามิเนะมีเกรดค่อนข้างดีและยังเล่นกีฬาเก่ง เธอจึงได้รับเลือกเข้ากองทัพสหประชาชาติ Hoshi no koe (2002)
The U.N. are mistaken in this accusation.สหประชาชาติเข้าใจผิดแล้ว Hotel Rwanda (2004)
But please, the United Nations are here now.แต่ตอนนี้ องค์การสหประชาชาติ อยู่ที่นี่แล้ว Hotel Rwanda (2004)
I assure you, the United Nations have everything under control, sir.ผมรับรอง สหประชาชาติควบคุม สถานการ์ณได้ครับ Hotel Rwanda (2004)
A United Nations source reports that the U.S. and British representatives on the Security Council will lobby for the removal of all U.N. peacekeepers from Rwanda.สหประชาชาติรายงานว่า ตัวแทนสหรัฐและอังถกษ ในสภาความมั่นคงจะให้ถอนกำลัง และถองกำลัง U.N. ออกจากราวันดา Hotel Rwanda (2004)
When it completely ignores the United Nations and decides to invade Iraq?เมื่อเพิกเฉยต่อสหประชาชาติ และตัดสินใจบุกอิรัก The Constant Gardener (2005)
To build up this international organization called the United Nations, เพื่อสร้างองการนานาชาติ เรียกว่า องกรสหประชาชาติ The Constant Gardener (2005)
Good to see you, buddy.ผมขอแนะนำให้ท่านรู้จักกับทูตสหประชาชาติคนใหม่ X-Men: The Last Stand (2006)
That crate is a bonded humanitarian shipment certified by the United Nations.ลังนี้ได้รับการรับรองจากสหประชาชาติแล้ว Chuck Versus the Crown Vic (2007)
SOLENZ: The United Nations has no evidence of that.ทางสหประชาชาติไม่มีหลักฐานเรื่องนี้ 24: Redemption (2008)
The U.N.'s been monitoring the situation.สหประชาชาติก็กำลังจับตาดูสถานการณ์อยู่ 24: Redemption (2008)
The United Nations remains neutral in this matter.สหประชาชาติวางตัวเป็นกลางสำหรับเรื่องนี้ 24: Redemption (2008)
The United Nations remains neutral in this conflict.สหประชาชาติวางตัวเป็นกลางต่อการขัดแย้งนี้ 24: Redemption (2008)
He says he wants to speak to the UN.เขาว่าเขาอยากพูด ต่อหน้าสหประชาชาติ The Day the Earth Stood Still (2008)
I've been writing United Nations.และก็เขียนไปถึงสหประชาชาติแล้วด้วย VS. (2009)
How is someone from the UN supposed to get us exonerated here?แล้วคนจากสหประชาชาติ จะทำให้เราเป็นอิสระที่นี่ได้อย่างไร? Killing Your Number (2009)
Soviet ambassador to the U.N. had no comment when asked if Dr. Manhattan's disappearance has fueled Soviet aggression in Afghanistan.เอกอัครราชทูตฯโซเวียต ไม่มีความเห็นเกี่ยวกับสหประชาชาติ... ... ถ้าหาก ดร.แมนฮัตตันหายตัวไป... โซเวียตจะได้แหล่งน้ำมัน จากการโจมตีอัฟกานิสถาน Watchmen (2009)
The UN wear blue berets and the FDLR wear black berets.สหประชาชาติสวมหมวกผ้าสีน้ำเงิน และ กลุ่มปลดปล่อยรวันดาสวมหมวกผ้าที่ดำ Chuck Versus the Role Models (2010)
We probably have the most un-picky customers in the world.เราอาจจะเป็นพวกสหประชาชาติ ที่จู้จี้จุกจิกลูกค้าที่สุดในโลก Fly (2010)
...from the coastline into suburbs.องค์การสหประชาชาติได้ประกาศการรวมตัวใหม่ด่วน ... Battle Los Angeles (2011)
- How much time we got? One minute.ตอนนี้กองทัพอากาศถูกควบคุ้มโดยองค์การสหประชาชาติ ถึงเวลาที่จะให้ความเจ็บปวด กับต่างดาวพวกนี้ Battle Los Angeles (2011)
The U.N. just received an encrypted audio file.ในขณะเดียวกันสหประชาชาติก็ได้รับข้อความ เสียงเข้าระหัส Transformers: Dark of the Moon (2011)
What's happening at the U.N.?หรือมีการจัดประชุมอะไรที่สหประชาชาติไหม? Countdown (2011)
North Korean cabinet member Mal Chin Ryu returns to the U.N. today, following a successful surgery for a subdural hematoma.สมาชิกคณะรัฐมนตีรเกาหลีเหนือ มัลล์ ชินิ รว กลับมาที่สหประชาชาติวันนี้ ตามด้วยการผ่าตัดที่ประสบผลสำเร็จ สำหรับโรคก้อนเลือดในสมอง Free (2011)
2006, North Korean cabinet member drops dead in front of the U.N. You remember that?ปี 2006 สมาชิกคณะรัฐมนตรีเกาหลีเหนือ ล้มตายต่อหน้าสหประชาชาติ คุณจำได้ไหม? Free (2011)
The demilitarization of Germany, the establishment of Poland's borders and the formation of the United Nations.การลดกำลังทหารของเยอรมณี การกำหนดพรมแดนโปแลนด์ และการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ Geography of Global Conflict (2011)
Russia.นี่คือสิ่งที่องค์การสหประชาชาติ Geography of Global Conflict (2011)
We represent the U.N. from Earth I.เราเป็นตัวแทนองค์การสหประชาชาติ จากโลกที่หนึ่ง Geography of Global Conflict (2011)
But we're willing to concede if you agree conceding too, forming one gigantic united United Nations.แต่ทางเรายินดีที่จะยอมสละชัยชนะ หากทางเธอยอมสละด้วย เพื่อมารวมกันเป็นหนึ่งเดียว เป็นสุดยอดองค์การสหประชาชาติ Geography of Global Conflict (2011)
One which flies in the very face of the U.N. itself, a fundamentally symbolic organization founded on the principles of high-minded rhetoric and empty gestures.ช่างเหมาะสมจังเลย ที่จะได้เป็นหน้าเป็นตาให้องค์การสหประชาชาติ องค์การเชิงสัญลักษณ์พื้นฐาน ที่ถูกก่อตั้งบนหลักการ ของวาทศาสตร์จิตใจขั้นสูง Geography of Global Conflict (2011)
We should have become a member of the United Nations five years ago.เราน่าจะได้เป็นสมาชิกของ สหประชาชาติ\ ตั้งแต่ เมื่อ 5 ปีที่แล้ว Resident Evil: Damnation (2012)
Most developed countries and the United Nations are against the use and manufacture of B.O.W.s.สหประชาชาติและอีกหลายประเทศ ได้ต่อต้านการใช้และผลิต อาวุธชีวภาพ (B.O.W.) Resident Evil: Damnation (2012)
Unless I go to Geneva with the model U.N. Team.จนกว่าฉันจะไปเจเนวากับพวกสหประชาชาติ Infamy (2012)
Well, I don't know if this helps, but the guy is also an advisor to the IMF, the UN Economics Council, and the Congressional Finance Committee.ผมไม่รู้ว่า นี่ขะช่วยได้ไหม? แต่เขายังเป็น ที่ปรึกษาให้กับ IMF สภาสหประชาชาติเศรษฐศาสตร์ Linchpin (2012)
Today, an official of the United Nations tried to tell the world...วันนี้เจ้าหน้าที่สหประชาชาติคนหนึ่ง พยายามจะบอกชาวโลกว่า... The Interview (2014)
They spent $800 million on nukes last year and got $200 million in food aid from the UN.พวกเขาจ่ายไป 800 ล้านดอลลาร์ เพื่อนระเบิดนิวเคลียร์เมื่อปีที่แล้ว แล้วรับมา 200 ล้านดอลลาร์ จากการช่วยเหลือทางอาหารของสหประชาชาติ (UN) The Interview (2014)
The U.N. health agency is not likely to recommend official travel restrictions.ตัวแทนสาธารณสุขของสหประชาชาติ ได้เตือนให้... เฝ้าระวังคนที่เดินทาง เข้าออกประเทศในช่วงนี้ World War Z (2013)
The Under-Secretary here says you were his best investigator when you were at the U.N.เขาว่านายเป็นนักสืบมือดีที่สุด สมัยยังทำงานให้สหประชาชาติ World War Z (2013)
U.N.สหประชาชาติ World War Z (2013)

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
กองทุนฉุกเฉินสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ[Køngthun Chukchoēn Songkhrǿ Dek Haeng Sahaprachāchāt] (org) EN: United Nations Children's Fund ; UNICEF  FR: UNICEF
กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ[Køngthun Pheūa Dek Haeng Sahaprachāchāt] (org) EN: United Nations Children's Fund ; UNICEF  FR: UNICEF
กฎบัตรสหประชาชาติ[Kotbat Sahaprachāchāt] (n, prop) EN: United Nations Charter  FR: Charte des Nations unies [ f ]
สหประชาชาติ[Sahaprachāchāt] (n, prop) EN: United Nations  FR: Nations unies [ fpl ]
วันสหประชาชาติ[wan Sahaprachāchāt] (n, exp) EN: United Nations day

English-Thai: Longdo Dictionary
UNEP(abbrev) ย่อมาจาก United Nations Environment Programme หมายถึง องค์การควบคุมสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ
Department of Peacekeeping Operationsทบวงการสันติบาล เป็นหน่วยงานหนึ่งของสหประชาชาติ มีหน้าที่ดูแลรักษาสันติภาพของมนุษยชาติในนามสหประชาชาติ

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
secretary-general(n) เลขาธิการใหญ่ (เช่น เลขาธิการใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ), See also: เลขาธิการ
Security Council(n) สภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
U.N.(abbr) องค์การสหประชาชาติ (คำย่อ United Nations), See also: สหประชาชาติ
U.N.O.(abbr) องค์การสหประชาชาติ (คำย่อ United Nations Organization), See also: สหประชาชาติ
UN(abbr) องค์การสหประชาชาติ (คำย่อของ United Nations), See also: สหประชาชาติ
United Nations(n) องค์การสหประชาชาติ
United Nations Charter(n) กฎบัตรสหประชาชาติ
UNO(abbr) องค์การสหประชาชาติ, See also: สหประชาชาติ คำย่อของ United Nations Organization
World Bank(n) ธนาคารโลก, See also: เป็นหน่วยงานหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ มีชื่อเป็นทางการว่า Intermational Bank for Reconstruction and Development
World Court(n) ศาลโลก, See also: เป็นหน่วยงานหนึ่งของสหประชาชาติ มีชื่อเป็นทางการว่า International Court of Justice
World Health Organization(n) องค์การอนามัยโลก (เป็นหน่วยงานหนึ่งของสหประชาชาติ)

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
general assemblyn. สมัชชาใหญ่ของสหประชาชาติ, สภานิติบัญญัติ
unicefabbr. United Nations International Children's Emergency Fund องค์การกองทุนเด็กระหว่างประเทศ (ของสหประชาชาติ)
united nationsn. สหประชาชาติ, องค์การสหประชาชาติ
veto(วี'โท) n. อำนาจยับยั้ง, ลัทธิยับยั้ง, การใช้สิทธิยับยั้ง, เอกสารแสดงการใช้สิทธิยับยั้งและเหตุผลที่ยับยั้ง, การยับยั้ง, การห้าม, การออกเสียงยับยั้งของสมาชิกหนึ่งในห้าเสียงของสมาชิกถาวรของสภาความมั่นคง (ในสหประชาชาติ) สามารถยับยั้งการปฎิบัติการหรือมติของที่ประชุมไ
world bankn. ธนาคารโลก/เป็นหน่วยงานหนึ่งขององค์การสหประชาชาติมีชื่อทางการว่า International Bank for Reconstruction and Development
world health organizationn. องค์การอนามัยโลกเป็นหน่วยงานหนึ่งของสหประชาชาติก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1948

English-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
UN General Assembly(n, name, uniq) สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ
United Nations Secretariat(org) สำนักเลขาธิการสหประชาชาติ

Japanese-Thai: Longdo Dictionary
国連[こくれん, kokuren] (n, abbrev) สหประชาชาติ, See also: 国際連合
国際連合[こくさいれんごう, kokusairengou] (n) สหประชาชาติ, See also: 国連
安全保障理事会[あんぜんほしょうりじかい, anzenhoshourijikai] (n) คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ, See also: 国連

Japanese-Thai-English: Saikam Dictionary
国連[こくれん, kokuren] TH: องค์การสหประชาชาติ  EN: United Nations(UN)

French-Thai: Longdo Dictionary
l'Organisation des Nations Unies(l'ONU)(n) สหประชาชาติ นำหน้าด้วย l'article defini เสมอ เช่น L'Organisation des Nations Unies est un centre de règlement des problèmes auxquels l'humanité tout entière doit faire face.

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top