“Demure” : The word redefines elegance and confidence in 2024 (เรียนภาษาอังกฤษ in English) “Demure” เป็นคำศัพท์ที่ได้รับความสนใจจากโซเชียลมีเดียโดยเฉพาะ Tiktok ซึ่งสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่หันมาให้ความสำคัญกับความเรียบง่าย ความมั่นใจ และความใส่ใจในรายละเอียดทั้งในรูปลักษณ์และพฤติกรรม โดยคำนี้ได้รับการนิยามใหม่จากความหมายดั้งเดิมที่เกี่ยวกับความสุภาพถ่อมตัวและความสงวนท่าที ให้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความสง่างามที่มาพร้อมความมั่นใจอย่างมีชั้นเชิงในโลกที่เต็มไปด้วยความโดดเด่นฉูดฉาด การเปลี่ยนแปลงนี้ซึ่งได้รับอิทธิพลอย่างมากจากเทรนด์ในโซเชียลมีเดียและทัศนคติของสังคมที่พัฒนาไป ชี้ให้เห็นถึงการยอมรับในรูปแบบการแสดงตัวตนที่แฝงด้วยความลึกซึ้งและงดงามในปัจจุบัน The word “demure” was selected as Dictionary.com’s 2024 Word of...
ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*เบญจพรรณ*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: เบญจพรรณ, -เบญจพรรณ-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
เบญจพรรณ(n) different kinds of trees grown in the same place, Syn. ป่าเบญจพรรณ, Example: พืชที่ใช้เผาทำถ่านนั้นได้มาจากป่าประเภทเบญจพรรณ, Thai Definition: ต้นไม้ต่างๆ ที่ปลูกไว้ในที่แห่งเดียวกัน
เบญจพรรณ(n) primary colors red, blue, yellow, white, and black, Example: ลวดลายของเครื่องลายครามลงด้วยสีเบญจพรรณปนเงินทองแวววาว, Thai Definition: แม่สีทั้งห้า คือ ดำ แดง ขาว เขียว (คราม) เหลือง
เบญจพรรณ(adj) miscellaneous, Thai Definition: หลายอย่างคละกันไม่เป็นสำรับ
เบญจพรรณ(n) five kinds, Thai Definition: 5 ชนิด, 5 อย่าง
ป่าเบญจพรรณ(n) mixed forest, See also: forest with many varieties of trees, Example: แถบทิศตะวันออกของที่ราบหุบเขานางรำจะเป็นป่าเบญจพรรณ, Count Unit: แห่ง, ที่, Thai Definition: ป่าที่มีไม้หลายพรรณคละกัน

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ [with local updates]
เบญจพรรณว. ๕ สี, ๕ ชนิด
เบญจพรรณหลายอย่างคละกัน ไม่เป็นสำรับ ไม่เป็นชุด เช่น ของเบญจพรรณ, เรียกต้นไม้ต่าง ๆ ที่ปลูกไว้ในที่แห่งเดียวกัน ว่า ไม้เบญจพรรณ, เรียกป่าที่มีไม้หลายพรรณคละกัน ว่า ป่าเบญจพรรณ.
ป่าเบญจพรรณน. ป่าที่มีไม้หลายพรรณคละกัน.
กระแจะ ๒น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Naringi crenulata (Roxb.) Nicolson ในวงศ์ Rutaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ต้นและกิ่งมีหนามเปลือกขรุขระสีเทา ดอกเล็กสีขาวเป็นช่อสั้น ยาวประมาณ ๒ เซนติเมตร กลิ่นหอมอ่อน ท่อนไม้ฝนกับนํ้าใช้เป็นเครื่องประทิ่นผิว รากใช้ทำยา, กะแจะ ขะแจะ ตุมตัง หรือ พญายา ก็เรียก.
กระโดนน. ชื่อไม้ต้นชนิด Careya sphaerica Roxb. ในวงศ์ Lecythidaceae ชอบขึ้นในป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้น ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมากเป็นพู่คล้ายดอกชมพู่ ขาว หอม ดอกบานเต็มที่กว้าง ๕-๘ เซนติเมตร ผลค่อนข้างกลม ใบอ่อนใช้เป็นผัก เปลือกใช้เบื่อปลาหรือทุบเป็นแผ่นปูหลังช้าง, โดน จิก ปุย ปุยกระโดน ปุยขาว หรือ ผ้าฮาด ก็เรียก.
กระไดลิง ๒น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Bauhinia scandens L. var. horsfieldii (Miq.) K. Larson et S.S. Larsen ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้นทั่วไป และตามริมแม่นํ้าลำคลอง เถาแบนยาว งอกลับไปกลับมาคล้ายขั้นบันได ดอกเล็ก สีขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง เปลือกเหนียวใช้แทนเชือก เถาใช้ทำยาได้, กระไดวอก มะลืมดำ บันไดลิง หรือ ลางลิง ก็เรียก.
กระเบียนชื่อไม้ต้นผลัดใบขนาดเล็กชนิด Ceriscoides turgida (Roxb). Tirveng ในวงศ์ Rubiaceae ขึ้นในป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ ต้นมีหนามห่าง ๆ เปลือกเรียบ ดอกเมื่อแรกบานสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน ผลคล้ายละมุดฝรั่ง แต่สุกแล้วแข็ง, กระดานพน มะกอกพราน หมุยขาว หรือ หัวโล้น ก็เรียก.
กระพี้เขาควายน. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Dalbergia cultrata Graham ex Benth. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณและป่าทุ่งทั่วไป เว้นแต่ปักษ์ใต้ แก่นสีดำแข็งและหนักมาก ใช้ทำเครื่องเรือน เพลาเกวียน และด้ามเครื่องมือต่าง ๆ.
กาสามปีกน. ชื่อไม้ต้นชนิด Vitex peduncularis Wall. ex Schauer ในวงศ์ Labiatae ขึ้นทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ใช้ทำยาได้, กาจับหลัก หรือ ตีนนก ก็เรียก.
กาสามปีกชื่อไม้พุ่มชนิด Flemingia sootepensis Craib ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ใช้ทำยาได้.
กำจาย ๒น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Caesalpinia digyna Rottler ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ต้นมีหนาม ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ฝักพองหนา มีรสฝาด ใช้ย้อมหนังได้ เมล็ดสีดำให้นํ้ามันจุดไฟ.
กำลังช้างเผือกน. ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดย่อยของชนิด Hiptage bengalensis (L.) Kurz ในวงศ์ Malpighiaceae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ใบเดี่ยว ค่อนข้างกลมมน ขอบหยักตื้น ๆ ออกตรงข้ามกัน ดอกสีขาวอมชมพู ชนิดย่อยแรก H. bengalensis (L.) Kurz subsp. bengalensisเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง, โนรา ก็เรียก, และชนิดย่อยที่ ๒ H. bengalensis (L.) Kurz subsp. candicans (Hook. f.) Sirirugsa เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก, พญาช้างเผือก ก็เรียก.
เกล็ดปลาช่อนน. ชื่อไม้พุ่มชนิด Phyllodium pulchellum (L.) Desv. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ช่อดอกยาว ดอกเล็กอยู่ภายในกาบรูปหอยแครงซึ่งประกบเรียงกันไปตามแนวก้านช่อดอก, ลิ่นต้น ก็เรียก.
ไก่ไห้น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Capparis flavicans Kurz ในวงศ์ Capparaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณทั่วไป ลำต้นมีหนาม, กะอิด ตะลุ่มอิด งวงช้าง หรือ งัวเลีย ก็เรียก.
ขว้าว(ขฺว้าว) น. ชื่อไม้ต้นชนิด Haldina cordifolia (Roxb.) Ridsdale ในวงศ์ Rubiaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณทั่วไป ลำต้นสูงใหญ่ ใบมนรูปหัวใจ ปลายแหลม ดอกสีเหลือง คล้ายดอกกระทุ่ม แต่เล็กกว่า เนื้อไม้สีเหลือง ละเอียด ใช้ทำฝาบ้าน เครื่องเรือน เครื่องกลึง และเครื่องแกะสลัก, กว้าว ขวาว หรือ คว่าว ก็เรียก.
คงคาเดือดน. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Arfeuillea arborescens Pierre ในวงศ์ Sapindaceae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้ง สูง ๘-๑๐ เมตร มีพุ่มใหญ่ ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓-๔ คู่ ดอกเล็ก สีม่วงดำ หอมมาก ผลมีปีกบาง ๆ ๓ ปีก เปลือกใช้ทำยาได้, ราชบุรีเรียก ตะไล, พายัพเรียก ช้างเผือก.
ซาก ๒น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Erythrophleum succirubrum Gagnep. และชนิด E. teysmannii (Kurz) Craib ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นในป่าเบญจพรรณ เนื้อแข็งและหนัก ใช้เผาถ่านได้ดี ทุกส่วนมีพิษ กินตาย ชนิดแรกใบเกลี้ยง ชนิดหลังใบมีขน, อีสานเรียก ซาด หรือ พันซาด.
ตานเหลืองน. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นชนิด Ochna integerrima (Lour.) Merr. ในวงศ์ Ochnaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณแล้ง เปลือกสีนํ้าตาลแก่ ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อสั้น กลิ่นหอมอ่อน ผลัดใบขณะมีดอก, กำลังช้างสาร ช้างน้าว หรือ ตานนกกด ก็เรียก.
บัวบกชื่อไม้เถาชนิด Stephania pierrei Diels ในวงศ์ Menispermaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณ รากพองเป็นหัวกลม ๆ ใบค่อนข้างกลมปลายแหลม ใช้ทำยาได้, สบู่เลือด ก็เรียก.
ประดู่น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ ๒ ชนิดในสกุล Pterocarpus วงศ์ Leguminosae ดอกสีเหลือง กลิ่นหอม ชนิด P. indicus Willd. กิ่งมักทอดย้อย เปลือกสีเทา มีนํ้ายางน้อย ปลูกเป็นไม้ให้ร่มตามถนน, ประดู่บ้าน ก็เรียก, ชนิด P. macrocarpus Kurz กิ่งชูขึ้นเล็กน้อย เปลือกสีนํ้าตาลเข้ม มีนํ้ายางมาก ขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป เนื้อไม้สีแดงนิยมใช้ทำดุมเกวียน.
เปล้า ๑(เปฺล้า) น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Croton วงศ์ Euphorbiaceae เช่น เปล้าใหญ่ ( C. roxburghiiN.P. Balakr.) เป็นไม้ต้น, เปล้าน้อย ( C. stellatopi losusH. Ohba) เป็นไม้พุ่ม ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ทั้ง ๒ ชนิดใบใช้ทำยาได้.
เพ็ก ๑น. ชื่อไผ่ ๒ ชนิดในวงศ์ Gramineae คือ ชนิด Vietnamosasa pusilla (Chevalier et A. Camus) Nguyen ต้นเล็ก ขึ้นเป็นกอเดี่ยวหนาแน่นในป่าเบญจพรรณ, ไผ่เผ็ด หรือ หญ้าเพ็ก ก็เรียก, และชนิด Bambusa multiplex (Lour). Raeusch. ต้นเล็ก เนื้อปล้องเกือบตัน ขึ้นเป็นกอ ใช้ปลูกประดับได้.
รักหมูน. ชื่อไม้ต้นชนิด Semecarpus albescens Kurz ในวงศ์ Anacardiaceae ขึ้นตามริมนํ้าในป่าเบญจพรรณและป่าดิบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบด้านล่างขาว, กุกขี้หมู หรือ รักขี้หมู ก็เรียก.
เลี่ยน ๑น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Melia azedarach L. ในวงศ์ Meliaceae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณชื้น ดอกสีขาวหรือม่วงอ่อน เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง, เกรียน ก็เรียก.

อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
moist deciduous forestป่าผสมผลัดใบชื้น, ป่าเบญจพรรณชื้น [พฤกษศาสตร์ ๑๘ ก.พ. ๒๕๔๕]
mixed deciduous forestป่าผสมผลัดใบ, ป่าเบญจพรรณ [พฤกษศาสตร์ ๑๘ ก.พ. ๒๕๔๕]
dry deciduous forestป่าผสมผลัดใบแล้ง, ป่าเบญจพรรณแล้ง [พฤกษศาสตร์ ๑๘ ก.พ. ๒๕๔๕]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Mixed Deciduous Forestป่าเบญจพรรณ, Example: ป่าผลัดใบประเภทหนึ่งที่มีลักษณะเป็นป่าโปร่ง มีต้นไม้ขนาดใหญ่และขนาดกลางหลายชนิด พื้นป่าไม้รกทึบ มีไม้ไผ่ชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่มาก ในฤดูแล้งต้นไม้ทั้งหมดจะพากันผลัดใบ และมีไฟไหม้ป่าอยู่ทุกปี พบในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพันธุ์ไม้หลายชนิดขึ้นคละเคล้าปนกันมาก แต่ก็มีเพียงไม่กี่ชนิดที่เป็นไม้เด่น ป่าประเภทนี้แบ่งได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ Teak Bearing Mixed Deciduous Forest และ Non-Teak Bearing Mixed Deciduous Forest [สิ่งแวดล้อม]
Non-Teak Bearing Mixed Deciduous Forestป่าเบญจพรรณที่ไม่มีไม้สักขึ้นอยู่, Example: ป่าผลัดใบประเภทป่าเบญจพรรณชนิดหนึ่ง ที่ไม่มีไม้สักขึ้นอยู่ แต่ไม้ผลัดใบชนิดอื่นๆ ที่ขึ้นปะปนกับไม้สัก เช่น แดง ประดู่ รกฟ้า ชิงชัน ขึ้นอยู่ได้ตามปกติ ป่าชนิดนี้พบมากแถบภาคตะวันออก เช่น กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี [สิ่งแวดล้อม]
Teak Bearing Mixed Deciduous Forestป่าเบญจพรรณที่มีไม้สักขึ้นอยู่, หรือเรียกว่า ป่าไม้สัก, Example: ป่าผลัดใบประเภทป่าเบญจพรรณชนิดหนึ่ง ที่มีไม้สักขึ้นอยู่ ไม้สักเป็นไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ และมีความต้องการสิ่งแวดล้อมเฉพาะอย่าง ในการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ ดังนั้นจึงพบไม้สัก เฉพาะในบางพื้นที่เท่านั้น พันธุ์ไม้ชนิดอื่นที่พบขึ้นปะปนกับไม้สัก ได้แก่ ตะแบก ประดู่ รกฟ้า และแดง ส่วนพืชชั้นล่างที่พบจะเป็นพวกหญ้า กก ไม้ไผ่ชนิดต่างๆ แต่ไม่พบไม้ในวงศ์ยางในป่าชนิดนี้ [สิ่งแวดล้อม]

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
เบญจพรรณ[benjaphan] (adj) EN: of five kinds ; mixed ; unassorted ; unspecified ; miscellaneous
ป่าเบญจพรรณ[pā benjaphan] (n, exp) EN: mixed deciduous forest  FR: forêt mixte [ f ] ; forêt d'essences diverses [ f ]

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top