กระบี่ ๑ | น. ลิง เช่น ขุนกระบี่มีกำลังโดดโลดโผน กระโจมโจนจับยักษ์หักแขนขา (รามเกียรติ์ ร. ๒). |
กระบี่ธุช | ดู ธงชัยราชกระบี่ธุช, ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ ที่ ธง. |
กระบี่ ๒ | น. อาวุธชนิดหนึ่ง ใบแบนยาว ปลายแหลม มีคมข้างหนึ่งหรือทั้ง ๒ ข้าง ด้ามสั้น ที่ด้ามถืออาจมีโกร่งหรือไม่มีก็ได้ มีฝัก. |
กระบี่กระบอง | น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่ง ต่อสู้กันด้วยกระบี่และกระบองเป็นต้น. |
กระบี่ลีลา | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น สมัยอยุธยา |
กระบี่ลีลา | ชื่อหน้าทับเพลงกลองแขกแบบหนึ่ง ใช้บรรเลงในการรำไหว้ครูกระบี่กระบอง หรือใช้ในการขับร้อง มีทั้งที่เป็นอัตรา ๒ ชั้น และเพลงเถา. |
กระบู้กระบี้ | ว. บู้ ๆ บี้ ๆ มาก, บุบแฟบ. |
ชักกระบี่สี่ท่า | น. ชื่อท่ารำแบบหนึ่ง โดยมือข้างหนึ่งตั้งวงสูง ระดับแง่ศีรษะ มืออีกข้างหนึ่งจีบหงาย แขนตึงเฉียงไปด้านหน้าเล็กน้อย เอียงศีรษะข้างเดียวกับมือที่ตั้งวง. |
ธงกระบี่ธุช | น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วยผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็กและทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้ายและด้านขวา ปลายคันธงเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงตรงส่วนสวมต่อกับคันธงท่อนล่างติดรูปหนุมานในท่ายืนยกขาหน้าและขาหลังข้างขวาเตรียมเหาะ เรียกเต็มว่า ธงชัยราชกระบี่ธุช หรือ ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ ใช้เชิญนำหน้าพระราชยานในกระบวนพยุหยาตรา และเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงพระครุฑพ่าห์ โดยธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย และธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา. |
ธงชัยราชกระบี่ธุช, ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ | น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วยผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็กและทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้ายและด้านขวา ปลายคันธงทำเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงตรงส่วนสวมต่อคันธงท่อนล่างติดรูปหนุมานในท่ายืนยกขาหน้าและขาหลังข้างขวาเตรียมเหาะ ใช้เชิญนำหน้าพระราชยานในกระบวนพยุหยาตรา และเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงพระครุฑพ่าห์ โดยธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย และธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา. |
ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย | น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นผ้าสีแดงรูปสี่เหลี่ยม มีภาพพระกระบี่คือหนุมานที่กลางผืนธง คันธงท่อนบนทำด้วยเหล็ก ยอดเรียวแหลมคร่ำทอง ท่อนล่างทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ติดกาบโลหะจำหลักเป็นภาพหนุมานจำนวน ๔ กาบ มีหางนกยูงเป็นแพนเสียบที่แผ่นกาบ มีอีกชื่อหนึ่งว่า ธงชัยราชกระบี่ยุทธ ใช้เชิญนำกระบวนพยุหยาตรา และเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เป็นต้น เข้าคู่กับ ธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อย โดยธงชัยราชกระบี่ธุชน้อยอยู่ทางด้านซ้ายของประธานในงาน และธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อยอยู่ทางด้านขวา. |
ธงชัยราชกระบี่ยุทธ | ดู ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย. |
ลินลากระบี่ | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น สมัยอยุธยา, ปัจจุบันเรียกว่า กระบี่ลีลา. |
กบี่ | (กะ-) น. ลิง, นิยมเขียนเป็น กระบี่. |
กบี่ธุช | ดู กระบี่ธุช ที่ กระบี่ ๑ และ ธงชัยราชกระบี่ธุช, ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ ที่ ธง. |
กระบวนท่า | น. แม่ไม้ที่เป็นหลักในวิชากระบี่กระบองหรือมวยเป็นต้น. |
กระเบา ๒ | น. กระบี่ชนิดหนึ่ง ปลายแหลมเรียวอย่างหางกระเบน เรียกว่า กระเบาหางกระเบน. |
โกร่ง ๒ | (โกฺร่ง) น. โลหะรูปโค้งที่ด้ามกระบี่หรือดาบบางชนิด สำหรับป้องกันไม่ให้อาวุธถูกมือ |
ขัด ๑ | เหน็บ เช่น ขัดกระบี่ |
ขึ้นพรหม | น. ท่ารำกระบี่กระบอง เพื่อแสดงความเคารพ เป็นท่าต่อจากท่าถวายบังคม มี ๒ แบบ คือ ขึ้นพรหมนั่ง และ ขึ้นพรหมยืน. |
คลุบ | (คฺลุบ) น. ลูกขลุบ เช่น ม้าคลุบคลีกระบี่ม้า วิ่งม้าพนันเร็ว (ยอพระเกียรติกรุงธน). |
ซุ้ม ๑ | น. สิ่งที่เป็นพุ่มโดยมากปกคลุมด้วยต้นไม้หรือเถาวัลย์ มีทางลอดได้ เช่น ในป่าเถาวัลย์ขึ้นเป็นซุ้มเองตามธรรมชาติ, ต้นไม้ซึ่งขึ้นปกคลุมสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับ มีทางลอดได้ เช่น ปลูกกระดังงาเป็นซุ้ม, ซุ้มไม้ ก็เรียก, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ซุ้มกระบี่. |
ตำรวจหลวง | น. ข้าราชการในพระองค์ แต่งเครื่องแบบ สวมเสื้อนอก คอปิด กระดุม ๕ เม็ด นุ่งผ้าม่วงสีน้ำเงิน (หากแต่งเครื่องเต็มยศนุ่งผ้าม่วงเชิงมีลายดิ้นเงิน สวมเสื้อนอกคอตั้งสีม่วงเทา) สะพายกระบี่ สวมหมวกทรงประพาส มีหน้าที่รักษาพระองค์พระมหากษัตริย์และพระราชินี ณ ที่ประทับ และนำเสด็จเป็นชุดตามพระเกียรติยศในงานพระราชพิธีและพิธีด้วย เดิมเรียกว่า พระตำรวจหลวง. |
เทพนม | ชื่อท่าไหว้ครูมวยหรือกระบี่กระบองท่าหนึ่ง, ชื่อท่ารำแบบหนึ่ง มือทั้งสองพนมไว้ที่ระหว่างอก. |
ธงครุฑพ่าห์ | (-คฺรุดพ่า) น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วยผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็กและทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้ายและด้านขวา ปลายคันธงเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงตรงส่วนสวมต่อกับคันธงท่อนล่างติดรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ เรียกเต็มว่า ธงพระครุฑพ่าห์ หรือ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ หรือ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ใหญ่ เข้าคู่กับธงกระบี่ธุช โดยธงครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา และธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย. |
ธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อย | น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นผ้าสีเหลืองรูปสี่เหลี่ยม มีภาพครุฑที่กลางผืนธง คันธงท่อนบนทำด้วยเหล็ก ยอดเรียวแหลมคร่ำทอง ท่อนล่างทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ติดกาบโลหะจำหลักเป็นภาพครุฑจับนาคจำนวน ๔ กาบ มีหางนกยูงผูกเป็นแพนเสียบที่กาบ ใช้เชิญนำกระบวนพยุหยาตรา และเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เป็นต้น เข้าคู่กับ ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย หรือ ธงชัยราชกระบี่ยุทธ โดยธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อยอยู่ทางด้านขวาของประธานในงาน และธงชัยราชกระบี่ธุชน้อยหรือธงชัยราชกระบี่ยุทธอยู่ทางด้านซ้าย. |
ธงพระครุฑพ่าห์, ธงชัยพระครุฑพ่าห์, ธงชัยพระครุฑพ่าห์ใหญ่ | (-คฺรุดพ่า) น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วยผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็กและทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้ายและด้านขวา ปลายคันธงทำเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงตรงส่วนสวมต่อกับคันธงท่อนล่างติดรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ เข้าคู่กับธงกระบี่ธุช โดยธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา และธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย. |
นี่นัน | ว. อึงมี่, อึกทึก, เช่น จึงดำรัสตรัสชวนอนุชา ลงจากพลับพลาผายผัน พร้อมพวกกระบี่นี่นัน จรจรัลไปยังฝั่งนที (ตับเรื่องรามเกียรติ์ ตอนนางลอย). |
มงคล, มงคล- | สิ่งที่ทำเป็นวงด้วยด้ายเป็นต้นสำหรับสวมศีรษะเพื่อเป็นสิริมงคล นิยมใช้เฉพาะในเวลาชกมวยไทยหรือตีกระบี่กระบอง. |
แม่ไม้ | น. ท่ารำและท่าต่อสู้ที่เป็นหลักในวิชากระบี่กระบองหรือมวย. |
ไม้ ๑ | น. คำรวมเรียกพืชทั่วไป โดยปรกติมีราก ลำต้น กิ่ง ก้าน และใบ, เรียกเนื้อของต้นไม้ที่ใช้ทำสิ่งของต่าง ๆ มีลักษณะเป็นท่อน แผ่น หรือดุ้น เป็นต้น, คำประกอบหน้าสิ่งของบางอย่างที่มีลักษณะยาวซึ่งทำด้วยไม้หรือเดิมทำด้วยไม้ เช่น ไม้กวาด ไม้พาย ไม้เท้า ไม้จิ้มฟัน, คำนำหน้าบอกประเภทต้นไม้ เช่น ไม้ยาง ไม้ดำ ไม้แดง, ท่ารำและท่าตีกระบี่กระบองท่าหนึ่ง ๆ เรียกว่า ไม้หนึ่ง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า ท่าที เช่น เขาจะมาไม้ไหน, ลักษณนามเรียกของเช่นปลาย่างที่เสียบไม้เรียงเป็นตับว่า ปลาไม้หนึ่ง ปลา ๒ ไม้, เรียกผ้าที่ม้วนโดยมีไม้อยู่ข้างใน ว่า ผ้าไม้หนึ่ง ผ้า ๒ ไม้ |
ไม้เด็ด, ไม้ตาย | น. ท่าสำคัญในการต่อสู้กระบี่กระบองหรือมวยซึ่งทำให้ฝ่ายปรปักษ์ไม่สามารถจะสู้ได้อีก, ตรงข้ามกับ ไม้เป็น, โดยปริยายหมายถึงวิธีการที่จะเอาชนะศัตรูได้ เช่น เขาใช้ไม้ตาย เขามีไม้ตาย. |
ไม้เป็น | น. ท่าสำคัญของกระบี่กระบองหรือมวยในการป้องกันตัวโดยใช้ปฏิภาณไหวพริบแก้ไขให้พ้นภัยจากปรปักษ์เมื่อคราวเข้าที่คับขัน, ตรงข้ามกับ ไม้เด็ด หรือ ไม้ตาย. |
ไม้ยาว | น. ไม้พลองเป็นเครื่องต่อสู้ป้องกันตัวในการเล่นกระบี่กระบอง, คู่กับ ไม้สั้น. (ดู ไม้สั้น). |
ไม้สั้น | น. เครื่องต่อสู้ป้องกันตัวในการเล่นกระบี่กระบอง เป็นท่อนไม้ขนาดสั้น ๆ ปลายด้านหนึ่งมีห่วงสำหรับสอดแขนเข้าไปถึงข้อศอก ปลายอีกด้านหนึ่งมีไม้หลัก ๒ อัน อันในสำหรับมือจับ อันนอกเป็นเครื่องป้องกันในเวลาต่อสู้, ตรงข้ามกับ ไม้ยาว ซึ่งได้แก่พลองเป็นต้น. |
ไม้สูง | เรียกเพลงกระบี่กระบองซึ่งเป็นเพลงชั้นสูง |
ย่างสามขุม | น. ท่าเดินเข้าหาคู่ต่อสู้หรือถอยจากคู่ต่อสู้ของนักมวยนักกระบี่กระบองเป็นต้น โดยเดินก้าวย่างเป็นสลับฟันปลา มีตำแหน่งวางเท้าเป็น ๓ เส้า. |
เยื้องกราย | เดินก้าวเฉียงและกางแขนเพื่อดูท่าทีของคู่ต่อสู้อย่างการเยื้องกรายในการตีกระบี่กระบอง (ใช้แก่ศิลปะการต่อสู้). |
ลูกไม้ ๓ | น. ท่ามวยหรือกระบี่กระบองซึ่งมีพลิกแพลงเป็นพิเศษจากท่าธรรมดา |
สามขุม | น. เรียกท่าเดินเข้าหาคู่ต่อสู้หรือถอยจากคู่ต่อสู้ของนักมวยนักกระบี่กระบองเป็นต้น โดยเดินก้าวย่างเป็นสลับฟันปลา มีตำแหน่งวางเท้าเป็น ๓ เส้า ว่า ย่างสามขุม. |
สามบาน | น. การแสดงกระบี่กระบองแบบหนึ่ง ใช้อาวุธหลายชนิดเข้าต่อสู้กันโดยไม่จับคู่กับอาวุธชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น กระบองคู่กับดาบสองมือ ง้าวคู่กับดาบดั้ง. |
อสิ | น. ดาบ, มีด, กระบี่. |