Glucose | กลูโคส [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Glucosephosphate dehydrogenase | กลูโคสฟอสเฟต ดีฮัยโดรจีเนส [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Positron Emission Tomography | เพ็ต, เทคนิคการถ่ายภาพการทำงานของอวัยวะด้วยวิธีกราดวิเคราะห์โพซิตรอนที่ปล่อยออกมาหลังจากฉีดเภสัชภัณฑ์รังสีที่มีครึ่งชีวิตสั้นมากซึ่งผลิตจากไซโคลทรอนเข้าไปในกระแสเลือด เช่น การตรวจการทำงานของสมอง จะใช้กลูโคสซึ่งฝังตรึงด้วยสารกัมมันตรังสี ฟลูออร์-18 เพื่อแสดงการทำงานของสมองส่วนต่างๆ เป็นภาพสามมิติที่มีสีสันแตกต่างกัน ข้อดีของเทคนิคนี้ คือ สามารถแสดงผลได้รวดเร็วในเวลาน้อยกว่า 1 นาที นอกจากนี้ยังสามารถใช้วินิจฉัยด้านอื่นๆ ได้ด้วย เช่น โรคหัวใจร่วมหลอดเลือด เนื้องอก และด้านลิ่มเลือดหรือโรคลมต่างๆ [นิวเคลียร์] |
Blood glucose | น้ำตาลกลูโคสในเลือด [TU Subject Heading] |
Glucose | น้ำตาลกลูโคส [TU Subject Heading] |
Glucose industry | อุตสาหกรรมน้ำตาลกลูโคส [TU Subject Heading] |
Glucose tolerance test | การทดสอบความทนน้ำตาลกลูโคส [TU Subject Heading] |
Glucosephosphate dehydrogenase deficiency | ภาวะพร่องกลูโคสฟอสเฟต ดีฮัยโดรจีเนส [TU Subject Heading] |
Positron Emission Tomography | เป็นเทคนิคการถ่ายภาพอวัยวะในร่างกายที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน โดยการตรวจวัดสารกัมมันตรังสีบางชนิด ซึ่งให้แก่ร่างกายในรูปของสารเภสัชรังสี เพื่อใช้ในการตรวจวัดเชิงปริมาณของขบวนการทางชีวเคมีในร่างกายของสิ่งมีชีวิต ไอโซโทปรังสีที่ใช้จะเป็นชนิดที่ปลดปล่อยโพซิตรอนออกมา เช่น ออกซิเจน-15 ไนโตรเจน-13 และคาร์บอน-11 โพซิตรอนที่ปล่อยออกมานี้จะเข้าทำปฏิกิริยาประลัย (annihilation) เกือบจะทันทีทันใดกับอิเล็กตรอนที่โคจรอยู่รอบนิวเคลียสในอะตอมของสาร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสารเภสัชรังสีนั้น และมีรังสีแกมมาพลังงาน 511 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ปลดปล่อยออกมาพร้อมกันในสองทิศทางตรงกันข้าม สามารถตรวจวัดได้ด้วยหัววัดรังสีที่อยู่ตรงข้ามกัน จากหัววัดหลายๆ หัวที่ล้อมรอบคนไข้ ทำให้ทราบตำแหน่งที่ผิดปกติในร่างกายได้ โดยการแปลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ เนื่องจากส่วนใหญ่ของไอโซโทปรังสีที่ใช้กับเทคนิคนี้ เป็นไอโซโทปของธาตุที่เป็นส่วนประกอบของอินทรีย์วัตถุ จึงทำให้ PET มีประโยชน์ในการศึกษากระบวนการทางสรีรวิทยาและชีวเคมีที่ผิดปกติด้วย ในทางปฏิบัติ PET จำเป็นต้องใช้ไอโซโทปรังสีที่ผลิตขึ้นจากการระดมยิงที่เป้า ด้วยโปรตรอนพลังงานสูงภายในเครื่องไซโคลตรอน การศึกษาโดยใช้ PET จะมุ่งเน้นไปยังระบบประสาทส่วนกลางเป็นหลัก ด้วยการวัดตัวแปรเสริมอื่นๆ ประกอบ เช่น การไหลเวียนของเลือด กระบวนการสร้างและสลายน้ำตาลกลูโคส และการเผาผลาญออกซิเจน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะหาสมุฏฐานของโรคลมบ้าหมู หรือหาขนาดที่แน่นอนของบริเวณที่พิการในสมองได้ ในการศึกษาที่เกี่ยวกับหัวใจและหน้าที่ของหัวใจ การตรวจโดยใช้ PET จะเป็นวิธีที่เฉพาะเจาะจง และให้ผลดีกว่าการตรวจสอบโดยวิธีอื่นๆ [พลังงาน] |
Acid Phosphatase | แอซิคฟอสฟาเทส; แอซิดฟอสฟาเตส; สารทำย่อยฟอสฟาเทสชนิดกรด; กรดฟอสฟาเทส; เอนไซม์ซึ่งเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาการใช้กลูโคส; แอซิดฟอสฟาเตส, เอนไซม์; เอ็นไซม์แอซิดฟอสฟาเทส [การแพทย์] |
Adenosine Diphosphate Glucose | อะดีโนซีน ไดฟอสเฟต กลูโคส [การแพทย์] |
Blood Glucose | กลูโคสในเลือด [การแพทย์] |
Blood Glucose Level, Peak of | ยอดของระดับกลูโคส [การแพทย์] |
Coma, Hypoglycemic | หมดสติจากภาวะน้ำตาลตก, หมดสติจากกลูโคสต่ำในเลือด [การแพทย์] |
Cortisone-Glucose Tolerance Test | การทดสอบกลูโคสภายหลังการกระตุ้นด้วยคอร์ติโซนและ [การแพทย์] |
glucagon | กลูคากอน, ฮอร์โมนที่สร้างจากเซลล์อัลฟาของไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ มีหน้าที่กระตุ้นไกลโคเจนในตับให้สลายตัวเป็นกลูโคส [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
glucose | กลูโคส, น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว สูตรเคมีคือ C6H12O6 พบในผลไม้ น้ำผึ้ง และเลือด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
glycogen | ไกลโคเจน, คาร์โบไฮเดรตที่เกิดจากการรวมตัวของน้ำตาลกลูโคสหลายโมเลกุลที่ร่างกายของสัตว์สะสมไว้ที่ตับและกล้ามเนื้อ จะถูกนำออกมาใช้เมื่อร่างกายต้องการ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
sucrose | ซูโครส, น้ำตาลโมเลกุลคู่ชนิดหนึ่ง สูตรโมเลกุลคือ C12H22O11 เกิดจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 2 โมเลกุล คือฟรักโทสและกลูโคส มาเรียงต่อกัน น้ำตาลชนิดนี้พบในอ้อยซึ่งนำมาทำเป็นน้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลทราย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
cellulose | เซลลูโลส, สารอินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติมากที่สุด อยู่ในผนังเซลล์ของพืชทุกชนิด สูตรเคมีคือ (C6H10O5)n เป็นพอลิเมอร์ของน้ำตาลกลูโคส ใช้ในอุตสาหกรรมเส้นใยสังเคราะห์ และพลาสติกบางชนิด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
disaccharide | ไดแซ็กคาไรด์, สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 2 โมเลกุลมารวมตัวกัน เช่น ซูโครส ประกอบด้วยกลูโคส 1 โมเลกุลรวมกับฟรักโทส 1 โมเลกุล [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
monosaccharide | มอโนแซ็กคาไรด์, สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสารโมเลกุลเดี่ยว เช่น กลูโคส ฟรักโทส กาแลกโทส เป็นต้น แต่ละชนิดมีสูตรโครงสร้างแตกต่างกันไป [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
maltose | มอลโทส, น้ำตาลโมเลกุลคู่ชนิดหนึ่ง สูตรโมเลกุลคือ C12H22O11 เกิดจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวคือ กลูโคส 2 โมเลกุลมาเรียงต่อกัน น้ำตาลชนิดนี้พบในเมล็ดข้าวบาเลย์ ข้าวโพด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
galactose | กาแลกโทส, น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว สูตรเคมีเหมือนน้ำตาลกลูโคส คือ C6H12O6 แต่สูตรโครงสร้างของโมเลกุลต่างกัน น้ำตาลชนิดนี้ได้จากการสลายตัวด้วยน้ำของวุ้นอะการ์หรือน้ำตาลแลกโทส [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
sucrase | ซูเครส, เอนไซม์ที่ลำไส้เล็กสร้างขึ้นสำหรับย่อยน้ำตาลซูโครสให้เป็นฟรักโทสและกลูโคส [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
fructose | ฟรักโทส, น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวชนิดหนึ่ง สูตรเคมีเหมือนน้ำตาลกลูโคสคือ C6H12O6 แต่สูตรโครงสร้างแตกต่างกัน น้ำตาลชนิดนี้พบในน้ำผลไม้ และน้ำผึ้งเป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
maltase | มอลเทส, เอนไซม์ที่ลำไส้เล็กสร้างขึ้นสำหรับย่อยน้ำตาลมอลโทสให้เป็นกลูโคส [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
lactase | แลกเทส, เอนไซม์ที่ลำไส้เล็กสร้างขึ้นสำหรับย่อยน้ำตาลแลกโทสให้เป็นกาแลกโทสและกลูโคส [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Benedict's solution | สารละลายเบเนดิกส์, สารละลายที่ใช้ทดสอบน้ำตาลกลูโคสหรือน้ำตาลอื่น ๆ ที่มีหมู่แอลดีไฮด์ เตรียมขึ้นจากการผสมสารละลายโซเดียมซิเตรต(หรือตาร์เตรต) และสารละลายคอปเปอร์(II) ซัลเฟต ถ้าน้ำตาลหรือสารที่นำมาทดสอบมีหมู่แอลดีไฮด์ผสมอยู่ จะเกิดตะกอนสีอิฐของคอปเปอร์(I) ออกไซด์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
lactose | แลกโทส, น้ำตาลโมเลกุลคู่ชนิดหนึ่ง สูตรโมเลกุลคือ C12H22O11เกิดจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 2 โมเลกุลคือ กาแลกโทสและกลูโคสมาเรียงต่อกัน น้ำตาลชนิดนี้พบในน้ำนม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
starch | แป้ง, สารอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวเป็นจำนวนมาก มีสูตรทางเคมีทั่วไปคือ (C6H10O5)n เมื่อย่อยสลายโดยเอนไซม์หรือต้มกับสารละลายกรดจะได้กลูโคส [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Glucoesphosphate Dehydrogenase Deficiency | กลูโคสฟอสเฟต ดีไฮโดรจีเนส, ภาวะพร่องเอนไซม์; [การแพทย์] |
Glucose Absorption, Intestinal | การดูดซึมกลูโคสที่ลำไส้เล็ก [การแพทย์] |
Glucose Catabolism | กระบวนการแยกสลายของกลูโคส [การแพทย์] |
Glucose Homeostasis | ความสมดุลย์ของกลูโคส [การแพทย์] |
Glucose Load | หลังจากให้ดื่มกลูโคส [การแพทย์] |
Glucose Metabolism | กลูโคสเมตาโบลิซึม, [การแพทย์] |
Glucose Output, Basal | การปล่อยกลูโคสจากตับ [การแพทย์] |
Glucose Output, Hepatic | กลูโคสที่ทำมาจากตับ [การแพทย์] |
Glucose Oxidase | กลูโคส ออกซิเดส, เอนไซม์; [การแพทย์] |
Glucose Production, Basal | การสร้างกลูโคสที่ตับ [การแพทย์] |
Glucose Production, Basal, Increased | การสร้างกลูโคสในขณะพักเพิ่มขึ้น [การแพทย์] |
Glucose Removal, Peripheral | การใช้กลูโคสโดยร่างกาย [การแพทย์] |
Glucose Syrup | น้ำเชื่อมกลูโคส [การแพทย์] |
Glucose Syrup, Dried | น้ำเชื่อมกลูโคสแห้ง [การแพทย์] |
Glucose To-Insulin Ratio | ความแตกต่างกันในระหว่างกลูโคสและอินสุลินเรโช [การแพทย์] |
Glucose Tolerance | ความสามารถของร่างกายในการใช้หรือเผากลูโคส [การแพทย์] |
Glucose Tolerance Curve | โค้งทนกลูโคส [การแพทย์] |
Glucose Tolerance with Aging | กลูโคสทอเลอรานซ์ในผู้มีอายุแตกต่างกัน [การแพทย์] |
Glucose Tolerance, Impaired | ความทนทานต่อกลูโคสผิดปกติ, [การแพทย์] |