กินนอกกินใน | ก. เอากำไรในการซื้อขาย ทั้งในราคาและนอกราคาที่กำหนด. |
กินใน | ก. แหนงใจ, กินใจ. |
กระแจะ ๓ | โซ่หรือกำไลเหล็กที่ทำเป็นปลอกสวมเท้าหน้าช้างทั้งคู่ให้ชิดกัน เพื่อมิให้ช้างเดินได้เร็วจนไกลถิ่นเกินควร ใช้เมื่อปล่อยช้างให้หากินในป่า. |
กระสือ ๑ | น. ผีชนิดหนึ่งที่เชื่อว่าเข้าสิงในตัวผู้หญิง ชอบกินของโสโครก ออกหากินในเวลากลางคืน เห็นเป็นแสงเรือง ๆ ในที่มืด, คู่กับ กระหัง ซึ่งเข้าสิงในตัวผู้ชาย |
กินบวช | ก. กินเครื่องกระยาบวชในลัทธิพิธี เช่นพิธีตรุษ, ใช้เข้าคู่กับคำ ถือศีล เป็น ถือศีลกินบวช, กินในเวลาตามกำหนดของการถือพรตในลัทธิศาสนา. |
ของว่าง | น. ของกินนอกเวลากินอาหารตามปรกติ มักกินในเวลาบ่าย, อาหารว่าง หรือ เครื่องว่าง ก็ว่า. |
แขวก | (แขฺวก) น. ชื่อนกยางขนาดกลางชนิด Nycticorax nycticorax (Linn.) ในวงศ์ Ardeidae หัวค่อนข้างโต คอสั้น ท้ายทอยมีขนหงอนคล้ายผมเปีย ๒-๓ เส้น ขนลำตัวด้านบนสีเขียวอมเทา ขนลำตัวด้านล่างสีขาว ขาสั้นกว่านกยางชนิดอื่น อยู่เป็นฝูง หากินในเวลากลางคืน กินปลาและสัตว์ขนาดเล็ก. |
ค้าขาย | ก. ทำมาหากินในทางซื้อขาย. |
ค้างคาว ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดและหลายวงศ์ ลำตัวมีขนปุย ปีกเป็นแผ่นหนังขนาดใหญ่ เวลาเกาะจะห้อยหัวลง หากินในเวลากลางคืน เช่น ค้างคาวแม่ไก่ป่าฝนหรือค้างคาวแม่ไก่ใหญ่ [ Pteropus vampyrus (Linn.) ] ในวงศ์ Pteropodidae, ค้างคาวลูกหนูบ้าน [ Pipistrellus javanicus (Gray) ] ในวงศ์ Vespertilionidae. |
เครื่องว่าง | น. ของว่าง, ของกินนอกเวลากินอาหารตามปรกติ มักกินในเวลาบ่าย. |
เค้า ๒ | น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่หลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Strigidae และวงศ์ Tytonidae หัวโต ตาโตอยู่ทางด้านหน้าของหัว มองเห็นได้ดีในเวลากลางคืน ขนรอบหัวและหน้าพองฟู รูปหน้าคล้ายรูปหัวใจ ขนตามลำตัวนุ่มหนาและเบามีลายเป็นจุด ๆ หรือลายคล้ายเกล็ดปลา หากินในเวลากลางคืน กลางวันหลบพักผ่อนตามต้นไม้ เช่น แสก [ Tyto alba (Scopoli) ] เค้ากู่หรือฮูก ( Otus lempiji Pennant) เค้าใหญ่พันธุ์สุมาตรา [ Bubo sumatranas (Raffles) ] เค้าป่าสีน้ำตาล ( Strix leptogrammica Temminck) เค้าโมงหรือเค้าแมว [ Glaucidium cuculoides (Vigors) ] เค้าเหยี่ยว [ Ninox scutulata (Raffles) ], ฮูก ก็เรียก. |
จระเข้ | (จอระ-) น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน มีหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Crocodylidae ปากและหัวยาว ปลายปากนูนสูงขึ้นเป็นช่องเปิดของรูหายใจ เรียกว่า ก้อนขี้หมา ลำตัวกลมยาว หนังเป็นเกล็ดแข็งทั้งตัว หางแบนยาวทางข้างใช้โบกว่ายนํ้า มักหากินในนํ้า อาศัยบริเวณป่าริมน้ำ ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จระเข้บึง จระเข้นํ้าจืด หรือจระเข้สยาม ( Crocodylus siamensisSchneider) จระเข้นํ้าเค็ม อ้ายเคี่ยม หรืออ้ายทองหลาง ( C. porosus Schneider) และจระเข้ปากกระทุงเหวหรือตะโขง [ Tomistoma schlegelii (S. Müller) ], ตะเข้ หรือ อ้ายเข้ ก็เรียก, อีสานเรียก แข้, ปักษ์ใต้เรียก เข้ |
ช้อนหอย ๒ | น. ชื่อนกขนาดใหญ่หลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Threskiornithidae ปากยาวโค้ง ปลายแหลม หากินในนํ้าตื้นตามแหล่งน้ำจืด กินปลา ปู และสัตว์นํ้าเล็ก ๆ ในประเทศไทยมี ๔ ชนิด คือ ช้อนหอยขาวหรือกุลาขาว [ Threskiornis melanocephalus (Latham) ] ช้อนหอยดำ [ Pseudibis davisoni (Hume) ] ช้อนหอยใหญ่ [ P. gigantea (Oustalet) ] และช้อนหอยดำเหลือบ [ Plegadis falcinellus (Linn.) ], กุลา หรือ ค้อนหอย ก็เรียก. |
ชะมด ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae หน้าแหลม รูปร่างเพรียว สีเทาหรือนํ้าตาล มีลายจุดสีดำตามยาวทั่วตัว หางและขนหางยาว มีลายเป็นปล้อง มีต่อมกลิ่นใกล้อวัยวะเพศ มักหากินในเวลากลางคืน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ชะมดเช็ด [ Viverricula malaccensis (Gmelin) ] เป็นชนิดที่ใช้นํ้ามันจากต่อมกลิ่นทำเครื่องหอม, ชะมดแผงหางปล้อง ( Viverra zibetha Linn.), ชะมดแผงสันหางดำ ( V. megaspila Blyth), อีสานเรียก เห็นอ้ม. |
ตบยุง | น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Caprimulgidae และในวงศ์ Eurostopodidae ขนนุ่มสีนํ้าตาลเทา มีลายกระขาว หากินในเวลากลางคืน กลางวันจะพรางตัวซ่อนอยู่ตามพื้นดิน กินแมลง เช่น ตบยุงหางยาว ( Caprimulgus macrurusHorsfield) ตบยุงเล็ก ( C. asiaticus Latham) ตบยุงภูเขา ( C. indicus Latham) ซึ่งจัดไว้ในวงศ์ Caprimulgidae, ตบยุงยักษ์ [ Eurostopodus macrotis (Vigors) ] ตบยุงพันธุ์มลายู [ E. temminckii (Gould) ] ซึ่งจัดไว้ในวงศ์ Eurostopdidae, กระบา กระบ่า หรือ กระบ้า ก็เรียก. |
ตุ๊กแก ๑ | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Gekkonidae หัวโต ลำตัวยาว มีลายเป็นจุดสีต่าง ๆ กระจายอยู่ด้านบนของตัวเปลี่ยนสีได้ หางค่อนข้างยาว ตีนมีลักษณะพิเศษสามารถเกาะตามพื้นเรียบได้ ไข่กลมติดตามผนัง หลายชนิดร้องเสียงดัง ออกหากินในเวลากลางคืน ตุ๊กแกที่พบบ่อยตามบ้านเรือนและในป่า ได้แก่ ตุ๊กแกใหญ่ [ Gekko gecko (Linn.) ] บางชนิดร่อนตัวได้ ได้แก่ ตุ๊กแกบินหางเฟิน ( Ptychozoon lionatum Annandale), พายัพเรียก ต๊กโต, อีสานเรียก กับแก้. |
ทึดทือ | น. ชื่อนกขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ในวงศ์ Strigidae ตาสีเหลือง ตัวสีนํ้าตาลมีลายกระสีขาว ลำตัวด้านบนและปีกสีเข้มกว่าด้านล่าง ขนคิ้วยาวเห็นได้ชัด ขาไม่มีขน หากินในเวลากลางคืน กินปลาเป็นส่วนใหญ่ อาจกินหนูและสัตว์ขนาดเล็กอื่น ๆ บ้าง ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ทึดทือพันธุ์เหนือ [ Ketupa zeylonensis (Gmelin) ] และทึดทือมลายู [ K. ketupa (Horsfield) ]. |
บ่าง | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Cynocephalus variegatus (Audebert) ในวงศ์ Cynocephalidae รูปร่างคล้ายกระรอก แต่มีหนังเป็นพังผืด ๒ ข้างของลำตัวตั้งแต่คอไปถึงปลายนิ้วตีนและปลายหางสำหรับใช้กางออกคล้ายปีก ถลาร่อนจากที่สูงมายังที่ตํ่าได้ค่อนข้างไกล ขนนุ่มสีนํ้าตาลคลํ้าหรือนํ้าตาลจางเป็นหย่อม ๆ ทั่วไป เล็บโค้งแหลมใช้ปีนป่ายต้นไม้ หากินในเวลากลางคืน กลางวันมักหลบอยู่ตามโพรงไม้หรือเกาะห้อยอยู่ตามพุ่มทึบ, พุงจง หรือ พะจง ก็เรียก. |
ปากซ่อม | น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด หลายสกุล วงศ์ย่อย Scolopacinae ในวงศ์ Scolopacidae ปากยาวแหลม ปลายปากโป่ง ลำตัวป้อม มีลายสีนํ้าตาลและขาว ขาสั้น มักอยู่ตามลำพัง หากินในเวลาพลบคํ่าและกลางคืน ใช้ปากแทงหาอาหารจำพวกหนอนและไส้เดือนในดินลักษณะคล้ายกับการจิ้ม เช่น ปากซ่อมหางเข็ม [ Gallinago stenura (Bonaparte) ] ปากซ่อมดง ( Scolopax rusticola Linn.) ปากซ่อมเล็ก [ Gallinago minima (Brünnich) ], ปากส้อม ก็เรียก. |
ผีเสื้อ ๑ | น. ชื่อแมลงอันดับ Lepidoptera มีปีกเป็นแผ่นบาง ๒ คู่ ลำตัว ปีก และขาปกคลุมด้วยเกล็ดขนาดเล็กมาก คล้ายฝุ่นเมื่อมองด้วยตาเปล่า เกล็ดเหล่านี้ทำให้เกิดสีต่าง ๆ กัน ปากเป็นงวงยาวม้วนได้ มีทั้งชนิดหากินในเวลากลางวัน มีหนวดแบบเส้นด้าย ปลายหนวดเป็นปุ่ม เรียก ผีเสื้อกลางวัน และชนิดหากินในเวลากลางคืน หนวดมีหลายแบบ ปลายหนวดไม่เป็นปุ่ม เรียก ผีเสื้อกลางคืน, พายัพเรียก กะเบ้อ, อีสานเรียก กะเบ้อ กะเบี้ย ก่ำบี้ หรือ กะบี้. |
พราน | (พฺราน) น. ผู้หากินในทางล่าสัตว์เป็นต้น, ผู้ชำนาญป่า, เช่น พรานนก พรานป่า. |
มิดีมิร้าย | อาการที่ล่วงเกินในเชิงชู้สาว. |
แม่ตะงาว | น. ชื่องูขนาดกลางชนิด Boiga multomaculata (Boie) ในวงศ์ Colubridae ยาวประมาณ ๑.๘ เมตร หัวโต ตาโต ตัวยาวเรียวสีนํ้าตาลอ่อน มีลายแต้มสีนํ้าตาลเข้มเป็นจุดใหญ่ ๆ ตลอดตัวคล้ายงูแมวเซา ออกหากินในเวลากลางคืน มักพบอยู่บนต้นไม้ กินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนาดเล็ก ไข่นก และสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก มีพิษอ่อน. |
ลวนลาม | ก. ล่วงเกินในลักษณะชู้สาวด้วยการพูดหรือการกระทำเกินสมควร เช่น นายดำชอบพูดจาลวนลามผู้หญิง เขาชอบถือโอกาสลวนลามด้วยการจับมือถือแขนผู้หญิง, ลามลวน ก็ว่า. |
ลิงลม | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Nycticebus coucang (Boddaert) ในวงศ์ Lorisidae ขนนุ่มหนาสีเทามีลายสีน้ำตาล ตากลมโต ขาหน้าและขาหลังสั้นแต่แข็งแรง เล็บแบน แต่นิ้วชี้ของขาหลังมีเล็บยาวโค้งแหลมเห็นได้ชัด นิ้วชี้ของขาหน้าสั้นกว่านิ้วอื่น ๆ ดูคล้ายติ่ง หางสั้นมาก เคลื่อนไหวเชื่องช้าและนอนในเวลากลางวัน แต่ว่องไวเมื่อออกหากินในเวลากลางคืน จับเหยื่อได้ไวมาก กินแมลง สัตว์เล็ก ๆ และผลไม้, นางอาย หรือ ลิงจุ่น ก็เรียก. |
เลี้ยงผอก | ก. นำข้าวไปให้ชาวนากินในเวลาทำนา. |
ว่าง | น. เรียกของกินในเวลาที่ไม่ใช่เวลากินข้าว ว่า ของว่าง เครื่องว่าง อาหารว่าง. |
สามเหลี่ยม ๒ | น. ชื่องูพิษขนาดกลางชนิด Bungarus fasciatus (Linn.) ในวงศ์ Elapidae ยาวประมาณ ๑.๓ เมตร มีลายเป็นปล้องสีดำสลับเหลือง หลังเป็นสันแหลมทำให้ลำตัวมีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม ปลายหางทู่ พบตามที่ลุ่มใกล้แหล่งน้ำทุกภาคของประเทศไทย ออกหากินในเวลากลางคืน กินกบ เขียด และงูขนาดเล็ก มีพิษรุนแรงมาก, ก้านปล้อง ตามธาร หรือ ทับธาร ก็เรียก. |
เสื่อผืนหมอนใบ | น. สำนวนที่เนื่องมาจากการที่คนจีนจากเมืองจีนเดินทางโดยเรือสำเภาเข้ามาทำมาหากินในเมืองไทย โดยไม่มีทรัพย์สมบัติหรือข้าวของติดตัวมานอกจากเสื่อกับหมอนเท่านั้นแล้วสามารถตั้งเนื้อตั้งตัวได้ |
หน้าม้า | น. ผู้ที่ทำเล่ห์เหลี่ยมเป็นเหมือนคนซื้อหรือคนเล่นการพนันเป็นต้น เพื่อเป็นสื่อจูงใจให้คนหลงซื้อหรือหลงเล่นการพนันด้วย, โดยปริยายใช้เรียกคนที่หากินในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น. |
หมาจิ้งจอก | น. ชื่อหมาชนิด Canis aureus Linn. ในวงศ์ Canidae ขนตามลำตัวสีเทาอมนํ้าตาล มีขนลักษณะคล้ายอานม้าบริเวณไหล่ ปากแหลม หูตั้งแหลมตรง หางเป็นพวง เขี้ยวและฟันคมมาก กลางวันมักนอนอยู่ในโพรงดิน ออกหากินในเวลากลางคืน กินเนื้อสัตว์. |
หมาหริ่ง | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Melogale personata Geoffroy ในวงศ์ Mustelidae ขนาดไล่เลี่ยกับพังพอนแต่หางสั้นกว่า ขนลำตัวหยาบแข็ง สีน้ำตาลอมเทาถึงดำ หน้าสั้นค่อนข้างแหลม หัวสีดำมีแถบขาวระหว่างตา กลางหัวมีแถบขาวพาดไปจนถึงกลางหลัง ส่วนคิ้วใต้ตา คอ และหูด้านในสีขาว ขาสั้น ฝ่าตีนกว้าง เล็บยาว โค้งปลายแหลมเหมาะสำหรับขุดดินและป่นต้นไม้ ออกหากินในเวลากลางคืน กินสัตว์ขนาดเล็ก. |
หลาม ๑ | น. ชื่องูขนาดใหญ่ชนิด Python molurus (Linn.) ในวงศ์ Pythonidae ตัวอ้วน หางสั้น โตเต็มวัยยาวประมาณ ๔.๕ เมตร ลายสีนํ้าตาล ที่กลางหัวมีเส้นสั้น ๆ สีอ่อน ซึ่งมักเรียกว่า ศรขาว ออกหากินในเวลากลางคืน ไม่มีพิษ. |
เหลือม | (เหฺลือม) น. ชื่องูขนาดใหญ่ชนิด Python reticulates (Schneider) ในวงศ์ Pythonidae ตัวโตเรียวยาว ลายสีนํ้าตาลเหลือง ยาวได้ถึง ๑๐ เมตร ที่กลางหัวมีเส้นสีดำซึ่งมักเรียกว่า ศรดำ ออกหากินในเวลากลางคืน ไม่มีพิษ เป็นงูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก. |
อาหารว่าง | น. ของกินนอกเวลากินอาหารตามปรกติ มักกินในเวลาบ่าย, ของว่าง ก็ว่า, ราชาศัพท์ใช้ว่า เครื่องว่าง. |
อีเห็น | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae ลำตัวเรียวยาว ขาสั้น หางยาว ปากแหลมยาว ออกหากินในเวลากลางคืน มีต่อมกลิ่นที่ก้นทำให้ตัวมีกลิ่นแรง กินสัตว์และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น อีเห็นลายจุด [ Paradoxurus hermaphroditus (Pallas) ] อีเห็นหน้าขาว [ Paguma larvata (Hamitton-Smith) ] อีเห็นหูขาว [ Arctogalidia trivirgata (Gray) ], ปักษ์ใต้เรียก มดสัง มุดสัง หรือ มูสัง. |