ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*ขึ้น ๑*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: ขึ้น ๑, -ขึ้น ๑-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ขึ้น ๑ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือเบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับลง
ขึ้น ๑เขยิบชั้นหรือตำแหน่งฐานะสูงขึ้นไปกว่าเดิม เช่น จบชั้นประถม ขึ้นชั้นมัธยม มีฝีมือขึ้นชั้นครู
ขึ้น ๑เพิ่มหรือทำให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ขึ้นค่าตัว ราคาขึ้น ภาษีขึ้น
ขึ้น ๑เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่
ขึ้น ๑เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทำเนียบ
ขึ้น ๑เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น
ขึ้น ๑นิยมนับถือ, เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก
ขึ้น ๑อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับกระทรวงวัฒนธรรม
ขึ้น ๑อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น
ขึ้น ๑ฟู เช่น แป้งขนมตาลขึ้น
ขึ้น ๑แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น
ขึ้น ๑งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น
ขึ้น ๑มีโชค จะทำอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น
ขึ้น ๑ก่ง เช่น ขึ้นธนู
ขึ้น ๑ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง
ขึ้น ๑เริ่มเดินหมากตัวนั้น ๆ เป็นครั้งแรก ใช้ในการเล่นหมากรุกเป็นต้น เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน
ขึ้น ๑ทำให้เป็นรูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง
ขึ้น ๑เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจากธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน
ขึ้น ๑เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง
ขึ้น ๑แล่นไปตามทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น.
ขึ้น ๑น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.
กลางเดือนน. วันเพ็ญหรือวันขึ้น ๑๕ ค่ำของเดือนทางจันทรคติหรือวันที่ ๑๕ ของเดือนทางจันทรคติ เช่น กลางเดือน ๖.
โกน ๒น. ชื่อวันที่พระสงฆ์ในเมืองไทยปลงผม ตรงกับวันขึ้น ๑๔ คํ่า หรือแรม ๑๔ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็เป็นแรม ๑๓ คํ่า เรียกว่า วันโกน, คู่กับ วันพระ
โกน ๒ชื่อวันก่อนวันพระวันหนึ่งได้แก่วันขึ้น ๗ คํ่า ขึ้น ๑๔ คํ่า แรม ๗ คํ่า และแรม ๑๔ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๓ คํ่า เรียกว่า วันโกน.
ขยาย(ขะหฺยาย) น. การนำทำนองเพลงของเดิมมาขยายขึ้น ๑ เท่าตัวโดยยึด (เพิ่ม) ลูกตกเดิมเป็นหลัก เช่น อัตรา ๒ ชั้น ขยายขึ้นเป็นอัตรา ๓ ชั้น.
แคลอรีน. หน่วยวัดปริมาณความร้อน ๑ แคลอรี คือ ปริมาณความร้อนที่ทำให้นํ้าบริสุทธิ์ ๑ กรัม ร้อนขึ้น ๑ °ซ.
จันทรคติน. วิธีนับวันและเดือนโดยถือเอาการเดินของดวงจันทร์เป็นหลัก เช่น ขึ้น ๑ คํ่าถึงแรม ๑๕ คํ่า เป็นการนับวันทางจันทรคติ เดือนอ้ายถึงเดือน ๑๒ เป็นการนับเดือนทางจันทรคติ.
เดือนจันทรคติ(-จันทฺระคะติ) น. เดือนที่กำหนดโดยถือเอาดวงจันทร์เดินรอบโลกเป็นเกณฑ์ โดยนับจากวันขึ้น ๑ ค่ำไปถึงวันเดือนดับถัดไป มีระยะเวลาประมาณ ๒๙ วัน ๑๒ ชั่วโมง ๔๔ นาที เรียกชื่อตามลำดับจากเดือนอ้าย เดือนยี่ เดือนสาม เรื่อยไปจนถึงเดือนสิบสอง.
น้ำเกิดน. นํ้าในทะเลและแม่นํ้าลำคลองที่มีทางติดต่อโดยตรงกับทะเลหรือได้รับอิทธิพลจากนํ้าทะเลเป็นต้น มีระดับนํ้าขึ้นสูงมากและลงตํ่ามากเนื่องจากอิทธิพลของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ในช่วงเวลาที่ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อยู่ในวงโคจรเกือบเป็นแนวเดียวกันกับโลก นํ้าเกิดจะมี ๒ ช่วง คือ ช่วงวันเดือนเพ็ญ ตั้งแต่วันขึ้น ๑๓ คํ่า ถึงวันแรม ๒ คํ่า และช่วงวันเดือนดับ ตั้งแต่วันแรม ๑๓ คํ่า ถึงวันขึ้น ๒ คํ่า.
บรรพมูลน. วันขึ้น ๑ คํ่า และวันกลางเดือนทางจันทรคติ.
บุริมพรรษา(บุริมมะพันสา, บุริมพันสา) น. “พรรษาต้น”, ช่วงระยะเวลาที่ภิกษุเข้าอยู่จำพรรษาต้น คือตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑, ปุริมพรรษา ก็ว่า, คู่กับ ปัจฉิมพรรษา.
ปวารณาพิธีกรรมทางศาสนายอมให้สงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนได้ ทำในวันขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันออกพรรษา, เรียกวันออกพรรษา ว่า วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา.
ปัจฉิมพรรษา(ปัดฉิมมะพันสา, ปัดฉิมพันสา) น. “พรรษาหลัง”, ช่วงระยะเวลาที่ภิกษุเข้าอยู่จำพรรษาหลัง คือตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒, คู่กับ บุริมพรรษา หรือ ปุริมพรรษา.
พระ(พฺระ) น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่รูป พระลงโบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือเนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คำพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ
ลงอุโบสถก. เข้าร่วมสังฆกรรมฟังพระปาติโมกข์ในวันขึ้น ๑๕ คํ่า วันแรม ๑๔ หรือ แรม ๑๕ คํ่าของเดือน (ใช้แก่พระสงฆ์), ลงโบสถ์ ก็ว่า.
วันโกนน. วันที่พระปลงผม คือ วันขึ้นและวันแรม ๑๔ คํ่า หรือวันแรม ๑๓ คํ่าของเดือนขาด, (ปาก) ชื่อวันก่อนวันพระวันหนึ่ง เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ ขึ้น ๗ คํ่า ขึ้น ๑๔ คํ่า แรม ๗ คํ่า และแรม ๑๔ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๓ คํ่า.
วันพระน. วันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ คํ่า ขึ้น ๑๕ คํ่า แรม ๘ คํ่า และแรม ๑๕ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ คํ่า.
วันออกพรรษาน. วันที่สิ้นสุดการจำพรรษาแห่งพระสงฆ์ คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑, วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา ก็เรียก.
วันอุโบสถน. วันขึ้น ๑๕ คํ่า และวันแรม ๑๕ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ คํ่า เป็นวันที่พระลงอุโบสถฟังพระปาติโมกข์และเป็นวันที่พุทธศาสนิกชนถืออุโบสถศีลคือ ศีล ๘.
วัสสานฤดู(วัดสานะรึดู) น. ฤดูฝน, ในกลุ่มประเทศเขตร้อนอันมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย แบ่งฤดูกาลออกเป็น ๓ ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ช่วงระยะเวลาของแต่ละฤดูในแต่ละท้องถิ่นหรือประเทศอาจแตกต่างกันไปบ้างและไม่ค่อยตรงกัน เฉพาะในภาคกลางของประเทศไทย ฤดูฝนเริ่มต้นประมาณตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม หรือทางจันทรคติเริ่มต้นวันแรมค่ำหนึ่ง เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒, บางทีก็เขียนเพี้ยนไปเป็น วสันต์.
ออกพรรษาน. เรียกวันที่สิ้นสุดการจำพรรษาแห่งพระสงฆ์ คือ วันขึ้น ๑๕ คํ่าเดือน ๑๑ ว่า วันออกพรรษา, วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา ก็เรียก.
อุโบสถ ๑เรียกการแสดงพระปาติโมกข์ของพระสงฆ์ทุก ๆ กึ่งเดือน คือ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑๕ ค่ำ หรือวันแรม ๑๔ ค่ำ ในเดือนขาด ว่า การทำอุโบสถ

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top