ข้าวสุก | น. ข้าวที่หุงสุกแล้ว, ข้าวสวย ก็เรียก. |
เลี้ยงไม่เสียข้าวสุก, เลี้ยงไม่เสียหลาย | ก. เลี้ยงแล้วยังใช้ประโยชน์ได้บ้าง. |
เลี้ยงเสียข้าวสุก | ก. เลี้ยงแล้วไม่ได้ประโยชน์อะไร. |
กากข้าว | น. ข้าวเปลือกที่ปนอยู่ในข้าวสารหรือข้าวสุก. |
กุ้งส้ม | น. ของกินชนิดหนึ่งทำด้วยกุ้ง ใช้หมักด้วยข้าวสุก เกลือ และกระเทียม. |
ข้าวคลุกกะปิ | น. ข้าวสุกคลุกกับกะปิ มักใส่กุ้งแห้ง มะม่วงดิบซอย มีไข่กลอกเป็นแผ่นบาง ๆ หั่นฝอยโรยหน้า เป็นต้น มีหมูหวานเป็นเครื่องเคียง. |
ข้าวแช่ | น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง มีข้าวสุกขัดแช่นํ้าเย็น กินกับเครื่องกับข้าวต่าง ๆ. |
ข้าวตัง | น. ข้าวสุกที่ติดเป็นแผ่นเกรียมอยู่ก้นหม้อหรือกระทะ. |
ข้าวตาก | น. ข้าวสุกที่ตากแห้ง. |
ข้าวปากหม้อ | น. ข้าวสุกที่อยู่ในส่วนบนสุดของหม้อ ยังไม่มีใครตักกิน ใช้ตักบาตร หรือใช้เป็นข้าวในการตั้งเครื่องสังเวยพลีกรรมต่าง ๆ. |
ข้าวผัด | น. ข้าวสุกผัดกับน้ำมันใส่หมูเป็นต้น. |
ข้าวผัดอเมริกัน | น. ข้าวสุกผัด ใส่ซอสมะเขือเทศ ลูกเกด เมล็ดถั่วลันเตา มีไก่อบ ไส้กรอก แฮม ไข่ดาว วางบนข้าว. |
ข้าวยำ | น. อาหารชนิดหนึ่งของชาวปักษ์ใต้ ใช้ข้าวสุกคลุกกับเครื่องปรุง มีกุ้งแห้งป่น มะพร้าวคั่ว นํ้าเคยหรือนํ้าบูดู ส้มโอ และผักต่าง ๆ หั่นละเอียด เช่น ใบมะกรูด ตะไคร้ ถั่วฝักยาว. |
ข้าวราดหน้าไก่ | น. ข้าวสุกราดหน้าด้วยผัดน้ำข้น ใส่ไก่ เห็ด หน่อไม้ บางทีโรยด้วยกุนเชียงหั่นทอดกรอบ. |
ข้าวสวย | น. ข้าวที่หุงสุกแล้ว, ข้าวสุก ก็เรียก. |
ข้าวหน้าเป็ด | น. ข้าวสุกมีเป็ดย่างสับเป็นชิ้นวางข้างบน ราดด้วยน้ำเป็ดย่าง. |
ข้าวหมูกรอบ | น. ข้าวสุกมีหมูกรอบวางข้างบน กินกับน้ำจิ้มทำจากซีอิ๊วและพริกชี้ฟ้าหั่น. |
ข้าวหมูแดง, ข้าวหน้าหมูแดง | น. ข้าวสุกมีหมูแดงวางข้างบน ราดด้วยน้ำที่ปรุงเฉพาะ. |
ข้าวอบ | น. ข้าวสุกที่ปรุงรสและใส่เครื่องปรุงต่าง ๆ แล้วอบให้ร้อน เรียกชื่อต่างกันไปตามเครื่องปรุง เช่น ข้าวอบหนำเลี้ยบ ข้าวอบกุนเชียง. |
คด ๓ | ก. ตักข้าวสุกออกจากหม้อ. |
จ่า ๑ | การเอาข้าวสุกกับขี้เถ้าคลุกกันปะตรงกลางหน้ากลองเพื่อให้เสียงสูงตํ่า. |
น้ำตับ | น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ใช้ตับวัวหรือควายสับให้ละเอียด คลุกข้าวสุก เกลือ และเครื่องปรุง ขยำให้เข้ากันแล้วยัดในไส้หมู, หมํ้า หรือ หมํ้าตับ ก็เรียก. |
บด ๑ | ก. กดและถูให้เปลือกแตก เช่น บดข้าวเปลือก หรือให้แหลก เช่น บดข้าวสุก หรือให้เป็นผง เช่น บดยา หรือให้เรียบและแน่น เช่น บดถนน. |
ปรัสสบท | (ปะรัดสะ-) น. “บทเพื่อผู้อื่น”, ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าเป็นกริยากรรตุวาจก เช่น สูโท โอทนํ ปจติ = พ่อครัวหุงอยู่ซึ่งข้าวสุก, ปจติ เป็นกริยาปรัสสบท, ตรงข้ามกับ อัตตโนบท. |
ปลาส้ม | น. ปลาหมักด้วยเกลือ ข้าวสุก พริกไทย กระเทียม. |
ผอก ๑ | ก. ใช้ข้าวสุกเป็นเครื่องมือในการเชื้อเชิญผีออกจากคนที่กำลังเจ็บป่วยเพื่อให้หาย. |
ภักต-, ภักตะ | อาหาร, ข้าวสุก, ของกินซึ่งสุกด้วยนํ้า. |
โภชนะห้า | (โพชะนะห้า) น. ข้าว ๕ อย่าง คือ ข้าวสุก (ข้าวมัน หรือ ข้าวผัด ก็นับเข้า) ขนมสด (ขนมที่จะบูดเมื่อล่วงเวลาแล้ว เช่น แป้งจี่ ขนมด้วง ขนมครก) ขนมแห้ง (ที่ไม่บูด เช่น จันอับ ขนมปัง) ปลา (รวมทั้งหอย กุ้ง และสัตว์นํ้าเหล่าอื่นที่ใช้เป็นอาหาร) เนื้อ (เนื้อของสัตว์บกและนกที่ใช้เป็นอาหาร). |
ส้มกุ้ง ๑ | น. ของกินชนิดหนึ่งทำด้วยกุ้ง ใช้หมักด้วยข้าวสุก เกลือ และกระเทียม มีรสเปรี้ยว, กุ้งส้ม ก็ว่า. |
ส้มฟัก | น. อาหารทำด้วยปลาสับละเอียดผสมกับข้าวสุกหมักเกลือ กระเทียม โขลกจนเหนียวแล้วห่อใบตองทับเอาไว้จนมีรสเปรี้ยว. |
สวย | ไม่เปียก (ใช้แก่ข้าวสุก) เช่น หุงข้าวสวยดี ไม่ดิบ ไม่แฉะ. |
สุก ๆ ดิบ ๆ | ว. ยังไม่สุกทั่วกัน เช่น หุงข้าวสุก ๆ ดิบ ๆ. |
ไส้กรอก | น. ชื่ออาหารคาวชนิดหนึ่ง เอาเนื้อสัตว์หรือข้าวสุกผสมเครื่องปรุงยัดในไส้หมูเป็นต้น. |
หน้า | คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้วก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน |
หม้ำ, หม้ำตับ | น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ใช้ตับวัวหรือควายสับให้ละเอียด คลุกข้าวสุก เกลือ และเครื่องปรุง ขยำให้เข้ากันแล้วยัดในไส้หมู, นํ้าตับ ก็เรียก. |
อัตตโนบท | น. “บทเพื่อตน”, ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าเป็นกริยากรรมวาจกหรือภาววาจก เช่น สูเทน โอทโน ปจิยเต = ข้าวสุกอันพ่อครัวหุงอยู่, ปจิยเต เป็นกริยาอัตตโนบท, ตรงข้ามกับ ปรัสสบท. |
โอทน-, โอทนะ | (โอทะนะ) น. ข้าวสุก, ข้าวสวย. |