ค่อม ๑ | ว. เตี้ยผิดธรรมดาและหลังงอ เช่น คนค่อม, เรียกหลังที่งอมาก ว่า หลังค่อม |
ค่อม ๑ | ที่มีพันธุ์เตี้ยกว่าธรรมดา (ใช้แก่สัตว์หรือต้นไม้) เช่น ช้างค่อม กล้วยหอมค่อม. |
ค่อม ๒ | น. ชื่อแมลงพวกด้วงชนิด Hypomeces squamosus (Fabricius) ในวงศ์ Curculionidae ลำตัวด้านบนโค้งนูน ยาวประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร หัวยื่นออกไปเป็นงวงสั้น ๆ ตัวและปีกสีเขียวเหลือบทอง, ค่อมทอง หรือ ทับเล็ก ก็เรียก. |
ค้อม | ก. น้อมลง, ก้มหลัง, โน้มลง เช่น ไม้ค้อมมีลูกน้อม นวยงาม (โลกนิติ). |
ค่อมทอง | ดู ค่อม ๒. |
เตี้ยอุ้มค่อม | น. คนที่ช่วยเหลือคนที่มีฐานะตํ่าต้อยหรือยากจน ทั้ง ๆ ที่ตนเองก็มีฐานะตํ่าต้อยหรือยากจนเหมือนกัน. |
ไม้ป่าค่อม | น. ไม้ดัดแบบหนึ่ง ต้นเตี้ย มีกิ่งรอบต้นเป็นพุ่มกลม. |
อ้อมค้อม | ว. วกวน, ลดเลี้ยว, ไม่ตรงไปตรงมา, (ใช้แก่กริยาพูด). |
กระทดกระทัน | ว. คด ๆ ค้อม ๆ เช่น ที่เตี้ยค่อมค้อมคดกระทดกระทันนั้นก็มีอยู่มากหลาย (ม. ร่ายยาว มหาพน). |
ก้อม | ว. ค่อม, เตี้ย. |
ก่อมก้อ | ว. ค่อม, เตี้ย, เช่น มีเจ่งตาบอดพลาย ก่อมก้อ (โลกนิติ). |
กะเอว | น. เอว เช่น ถวัดเท้าท่าเตะมวย ตึงเมื่อย หายฮา แก้กะเอวขดค้อม เข่าคู้โขยกโขยง (จารึกวัดโพธิ์), สะเอว หรือ บั้นเอว ก็ว่า. |
กุจี | น. หญิงค่อม เช่น ทฤษฎีกุจีจิตจำนง (สุธน). |
คุ่ม ๒ | ว. ค่อมน้อย ๆ เช่น หลังคุ่ม, โค้งเข้า, โค้งลง. |
เคี้ย | ก. อยู่ เช่น อันเดียรดาษด้วยเตี้ยเค้าค่อม เคี้ยคอยทวารทุกแห่งแล (ม. คำหลวง ทศพร). |
ง้อม | ว. งํ้า, ค้อม, เช่น กิ่งไม้ง้อมลงเพราะลูกดก. |
จอนจ่อ | ว. อาการนั่งชันเข่าค้อมหลังลง. |
ช้าง ๒ | น. ชื่อกล้วยไม้ชนิด Rhynchostylis gigantea (Lindl.) Ridl. ในวงศ์ Orchidaceae กลีบดอกสีขาว มีประสีม่วงหรือแดง กลิ่นหอม พันธุ์ที่กลีบดอกชั้นในมีประที่โคน เรียก ช้างดำ, พันธุ์ที่มีประทั่วทุกกลีบดอก เรียก ช้างกระหรือช้างค่อม พันธุ์ที่กลีบดอกสีขาวสะอาด เรียก ช้างเผือก, พันธุ์ที่กลีบดอกสีแดง เรียก ช้างแดง. |
ด้วง ๑ | น. ชื่อแมลงในอันดับ Coleoptera มีปีก ๒ คู่ ลำตัวและปีกคู่หน้าแข็ง เมื่อพับปีกขอบปีกจะจดกันที่กึ่งกลางสันหลัง ปีกคู่หลังเป็นแผ่นใหญ่บางใสพับซ้อนอยู่ใต้ปีกคู่หน้า ปากเป็นชนิดกัดกิน อกปล้องแรกใหญ่และเห็นได้ชัดเจน เช่น ด้วงแรด ในวงศ์ Scarabaeidae ด้วงดิน ในวงศ์ Carabidae ด้วงงวง ในวงศ์ Curculionidae ด้วงบางชนิดมีชื่อเรียกต่างออกไป เช่น กว่าง ค่อม ตด ทับ แมลงพวกนี้มีมากชนิดกว่าแมลงในอันดับอื่น ๆ, แมลงปีกแข็ง ก็เรียก. |
ตรง, ตรง ๆ | เปิดเผยไม่มีลับลมคมใน, ไม่ปิดบังอำพราง, ไม่อ้อมค้อม, เช่น พูดตรงไปตรงมา บอกมาตรง ๆ |
ทรรป | ความโอ้อวด, ความจองหอง, ความเย่อหยิ่ง, เช่น แลมาให้แก่บาคค่อมขวลทรรป (ม. คำหลวง ชูชก). |
ทวย ๒ | ว. ระทวย, อ่อน, งอน, เช่น อันว่าไม้มีผลค่าค้อม ก็น้อมนวยทวยทอดมาเอง (ม. คำหลวง วนประเวศน์). |
ทับเล็ก | ดู ค่อม ๒. |
น้อม | ก. โน้ม เช่น น้อมลาภมาเพื่อตน, ค้อม เช่น กิ่งไม้น้อมลง, โอนลงเป็นการแสดงความเคารพ เช่น น้อมกาย น้อมใจ, โอนอ่อนตาม เช่น น้อมใจเชื่อ. |
นิปริยาย | (นิปะริยาย) น. ความไม่อ้อมค้อม, ความตรง, ตรงข้ามกับ ปริยาย คือ อย่างอ้อม. |
โน้ม | ก. เหนี่ยวให้โค้งตํ่าลงมา เช่น โน้มกิ่ง, น้อม หรือ ค้อมตํ่าลง เช่น รวงข้าวโน้มลง. |
ปริยาย | การกล่าวอ้อมค้อม, นัยทางอ้อม, ตรงข้ามกับ นิปริยาย คือ อย่างตรง |
ผึ่งผาย | ว. มีรูปตรงไหล่กางอย่างสง่า ไม่คู้ค้อม, มีท่าทางเป็นสง่าผ่าเผย. |
โผง | โดยปริยายหมายความว่า ไม่ยับยั้งอ้อมค้อม (ใช้ในลักษณะอาการที่นึกจะพูดก็พูดออกมาตรง ๆ ไม่เกรงใจ), โผงผาง ก็ว่า. |
โผงผาง | ว. ลักษณะการพูดตรง ๆ ไม่เกรงใจ, ไม่ยับยั้งอ้อมค้อม, โผง ก็ว่า. |
แมลงทับเล็ก | ดู ค่อม ๒. |
ลดเลี้ยว | ก. อ้อมไปอ้อมมา, คดไปคดมา, เช่น ทางลดเลี้ยวไปตามไหล่เขา, อ้อมค้อม, ไม่ตรงไปตรงมา, เช่น พูดจาลดเลี้ยว, เลี้ยวลด ก็ว่า. |
เลี้ยวลด | ก. อ้อมไปอ้อมมา, คดไปคดมา, เช่น ทางเลี้ยวลดไปตามไหล่เขา, อ้อมค้อม, ไม่ตรงไปตรงมา, เช่น พูดจาเลี้ยวลด, ลดเลี้ยว ก็ว่า. |
วามน- | (วามะนะ-) น. คนเตี้ย, คนค่อม |
วามน- | (วามะนะ-) ว. เตี้ย, สั้น, ค่อม. |