Database | ฐานข้อมูล [เทคโนโลยีการศึกษา] |
Database management | การจัดการฐานข้อมูล [เทคโนโลยีการศึกษา] |
Database | ฐานข้อมูล, Example: <p>ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง ที่รวมของสารสนเทศที่สัมพันธ์กัน แต่ละฐานข้อมูลประกอบด้วยหน่วยของข้อมูลเรียกว่า แฟ้มข้อมูล (File) โดยแต่ละแฟ้มข้อมูลประกอบด้วยหน่วยของข้อมูลที่เล็กลงมาอีกระดับหนึ่งเรียกว่า ระเบียน (Record) และแต่ละระเบียนประกอบด้วยหน่วยของข้อมูลเรียกว่า เขตข้อมูล (Field) เขตข้อมูลประกอบไปด้วยหน่วยของข้อมูลที่เล็กกรองลงไปอีก คือ ไบต์หรือ อักขระ (Character) <p>ข้อมูลเหล่านี้ได้รับการบันทึกเก็บไว้ในรูปแบบที่อ่านได้ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถนำมาประมวลผลในลักษณะต่าง ๆ ได้ เช่น การค้นคืน (Retrieval) การปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย (Update) การจัดเรียง (Sorting) ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้บันทึกไว้มาแสดงผลทางหน้าจอ และสามารถพิมพ์ผลการค้นคืนออกทางเครื่องพิมพ์ บันทึกเก็บไว้ใช้งานในภายหลังได้ <p>ฐานข้อมูล หากจัดแบ่งตามลักษณะของการแสดงผลหรือวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ มี 2 ลักษณะ คือ <p>1. ฐานข้อมูลเนื้อหาเต็ม (Full text database) เป็นฐานข้อมูลที่มีข้อมูลสมบูรณ์ โดยที่ข้อมูลซึ่งเป็นผลจากการสืบค้น จะมีเนื้อหาเหมือนกับเอกสารต้นฉบับทุกประการ <p>2. ฐานข้อมูลอ้างอิง (Reference database) หรือ ฐานข้อมูลบรรณานุกรม (Bibliographic database) เป็นฐานข้อมูลที่เป็นการอ้างอิง หรือ ชี้แนะแหล่งให้ผู้ใช้ไปหารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากต้นฉบับ หรือจากแหล่งปฐมภูมิ เพื่อให้ได้เนื้อหาที่สมบูรณ์ <p>บรรณานุกรม <p>คณาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. (2548). สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า. กรุงเทพฯ : เลี่ยงเชียง. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Database management | การจัดการฐานข้อมูล [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Online database | ฐานข้อมูลแบบออนไลน์, Example: <p>ฐานข้อมูลออนไลน์ (Online Database) เป็นทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญในการให้บริการของห้องสมุด ฐานข้อมูลออนไลน์ หมายถึงฐานข้อมูลที่ให้บริการผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และให้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต ผู้จัดการฐานข้อมูลหรือสำนักพิมพ์สามารถปรับปรุงฐานข้อมูลให้ทันสมัย และผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลา <p>ประเภทของฐานข้อมูลออนไลน์ แบ่งตามเนื้อหาสารสนเทศที่ให้บริการแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ <p>1. ฐานข้อมูลบรรณานุกรม (Bibliographic Databases) หมายถึง ฐานข้อมูลที่ให้ข้อมูลทางบรรณานุกรม เช่น ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง อาจมีสาระสังเขปเพื่อแนะนำผู้ค้นคว้าให้ไปอ่านรายละเอียดจากต้นฉบับจริง เช่น ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด (Web OPAC) ฐานข้อมูล ISI : Web of Science ฐานข้อมูล Scopus โดยทั้งสองฐานข้อมูลเป็นฐานข้อมูลบรรณานุกรมและสาระสังเขป ให้ข้อมูลการอ้างอิงผลงานวิจัย (Citation Database) ครอบคลุมสิ่งพิมพ์ประเภทวารสาร ในสาขาวิชาหลัก คือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ใช้เป็นแหล่งข้อมูลเพื่อการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยวิชาการ (Research Performance Evaluation / Research Performance Measurement: RPM) ฐานข้อมูล DAO ให้ข้อมูลบรรณานุกรมและสาระสังเขปของวิทยานิพนธ์ต่างประเทศ ฐานข้อมูล ERIC ให้ข้อมูลบรรณานุกรมและสาระสังเขปของหนังสือและบทความจากวารสารด้านการศึกษา เป็นต้น <p>2. ฐานข้อมูลเนื้อหาฉบับเต็ม (Full-Text Databases) หมายถึง ฐานข้อมูลที่ให้สารสนเทศครบถ้วน เช่นเดียวกับต้นฉบับ เช่น ฐานข้อมูล ScienceDirect, IEEE/IEE Electronic Library (IEL) หรือ ACM Digital Library เป็นต้น [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Union catalog database | ฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม, Example: <p>หมายถึง ฐานข้อมูลที่รวบรวม และชี้แหล่งรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศ ที่มีให้บริการในห้องสมุดแต่ละแห่ง โดยผู้ใช้สามารถค้นหารายการทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการจากห้องสมุดต่างๆ พร้อมกัน ด้วยการค้นหาเพียงครั้งเดียว ทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการค้นหา และเข้าถึงรายการทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการ นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันผ่านบริการยืมระหว่างห้องสมุดทำให้ช่วยประหยัดงบประมาณในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเข้าห้องสมุด ตลอดจนการช่วยลดความซ้ำซ้อนในการวิเคราะห์หมวดหมู่และลงรายการทรัพยาสารสนเทศสำหรับบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุด เนื่องจากสามารถค้นหาและถ่ายโอนรายการทรัพยากรสารสนเทศจากห้องสมุดต่างๆ เข้าสู่ระบบห้องสมุดอัตโนมัติของตนเองได้ด้วย <p>ทั้งนี้ฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม ฐานแรกของไทย เกิดขึ้นจากความร่วมมือของเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย หรือ ThaiLIS ซึ่งย่อมาจากคำว่า Thailand Library Integrated System ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค <p>ในส่วนสำนักงานพัฒนาวิทยศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ดำเนินการพัฒนาฐานข้อมูลห้องสมุดอัตโนมัติแบบบูรณาการ คือ NSTDA Online Library และเครือข่ายความร่วมมือ ด้วยโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติแบบบูรณาการที่เป็นโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ คือ Koha ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถค้นหารายการทรัพยากรสารสนเทศที่มีให้บริการภายใต้ห้องสมุดเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการ เข้าถึงที่ http://thailibrary.org <p><img src=" http://thaiglossary.org/sites/default/files/20110606-union-catalog.jpg " Title="Union catalog database" alt="Union catalog database"> <br>ภาพ ฐานข้อมูล NSTDA Online Library และเครือข่ายความร่วมมือ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Database searching | การค้นหาฐานข้อมูล, Example: <p>การค้นหาฐานข้อมูล หรือ การสืบค้นฐานข้อมูล หมายถึงกระบวนการ วิธีการ ในการสืบค้นสารสนเทศประเภทฐานข้อมูล ซึ่งโดยทั่วไปมีขั้นตอนในการสืบค้น ดังนี้ <p>1. วิเคราะห์เรื่องที่ต้องการสืบค้น <p>2. กำหนดคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการสืบค้น <p>3. เลือกฐานข้อมูล <p>4. หากผลลัพธ์ที่ได้ยังไม่ตรงกับความต้องการ ให้ปรับปรุงกลวิธีการสืบค้น อาจใช้เทคนิคการสืบค้นแบบขั้นสูง โดยการใช้ตรรกะ (Logical operator) and or not ช่วยในการสืบค้น เพื่อให้ได้รับผลลัพธ์ที่ถูกต้อง และชัดเจนมากขึ้น <p>ประโยชน์ของฐานข้อมูล มีดังนี้ <P>1. จัดเก็บสารสนเทศได้ปริมาณมาก ทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ <p>2. จัดเก็บสารสนเทศอย่างเป็นระบบ ทำให้เข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากกว่าการค้นด้วยมือ ประหยัดเวลาในการค้นหา <p>3. ปรับปรุง และแก้ไขสารสนเทศในฐานข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัย <p>4. เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลที่อยู่ห่างไกลได้โดยระบบออนไลน์ ทำให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง โดยไม่ต้องเดินทางไปค้นหาจากหลายแหล่ง <p>5. มีการเชื่อมโยงฐานข้อมูลเข้าระบบเครือข่ายที่ทันสมัย ทำให้ฐานข้อมูลแพร่หลาย และสามารถจัดหาเพื่อให้บริการได้ง่ายจากทั่วโลก [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Repository | คลังเก็บ สถานที่เก็บ (ข้อมูลดิจิทัล ฐานข้อมูล) แหล่งที่อยู่ (เว็บไซต์) [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Database design | การออกแบบฐานข้อมูล [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Database management | การจัดการฐานข้อมูล [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Distributed database | ฐานข้อมูลแบบกระจาย [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Database design | การออกแบบฐานข้อมูล [คอมพิวเตอร์] |
Database | ฐานข้อมูล, Example: ระบบการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันเอาไว้เป็นหมวดหมู่ เพื่อให้สะดวกกับการค้นคืนข้อมูล และการดูแลรักษาฐานข้อมูลมีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของไทยคือ ฐานข้อมูลประชากรไทยประมาณ 60 ล้านคนที่เก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์ขนดาใหญ่ของสำนักงานบริหารการทะเบียน กระทรวงมหาดไทย [คอมพิวเตอร์] |
Database Management System | ระบบจัดการฐานข้อมูล, Example: ซอฟต์แวร์สำหรับทำหน้าที่บันทึกข้อมูลไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ ค้นคืน จัดทำรายงาน ประมวลผล และดูแลรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบฐานข้อมูล ปัจจุบันนี้มีระบบ DBMS ให้เลือกซื้อมาใช้หลายระบบด้วยกัน อาทิ Oracle, Ingres, Progress, Informix ซึ่งเป็นระบบที่มีใช้ทั้งในเครื่องขนาดใหญ่และขนาดเล็ก Access, Foxpro และ dBASE เป็นระบบที่มีใช้ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ [คอมพิวเตอร์] |
Database security | ความปลอดภัยในฐานข้อมูล [คอมพิวเตอร์] |
Relational Database Management System | ระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์, Example: ซอฟแวร์สำหรับจัดการข้อมูลที่สร้างขึ้นเป็นแบบตารางหลายๆ ตาราง และเอื้ออำนวยให้เรานำตารางเหล่านี้มาเชื่อมโยงกันเป็นตารางใหม่ ค้นหาข้อมูลที่ต้องการในตาราง จัดทำตารางต่างๆ และมีภาษาสำหรับใช้กับการสร้างและค้นหาข้อมูลในตารางได้ ซอฟแวร์ RDBMS ที่ได้รับความนิยมในขณะนี้มีมาก เช่น Oracle, Informix, Ingres, Progress, Access, dBASE, FoxPro [คอมพิวเตอร์] |
Relational Database | ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์, Example: ฐานข้อมูลแบบหนึ่งซึ่งประกอบด้วยตารางข้อมูลจำนวนมาก แต่ละตารางอาจใช้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของคน สถานที่ เหตุการณ์ สิ่งต่างๆ หรือความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องเหล่านี้ การเก็บข้อมูลเป็นตารางๆ นี้นอกจากมีลักษณะสอดคล้องกับการใช้งานข้อมูลในชีวิตประจำวันเช่น ตารางเดินรถไฟแล้ว ยังมีพื้นฐานหลัการมาจากคณิตศาสตร์ที่เรียกว่า ความสัมพันธ์ หรือ relations ด้วย [คอมพิวเตอร์] |
Equivalent | เอกสารสิทธิบัตรที่เหมือนกัน / มีค่าเท่ากัน , เอกสารสิทธิบัตรที่เหมือนกัน /มีค่าเท่ากัน ในระบบฐานข้อมูล Derwent ซึ่งสัมพันธ์กันแบบเป็นการประดิษฐ์อย่างเดียวกันที่มีการยื่นจดที่สำนักงานสิทธิบัตรในประเทศต่าง ๆ [ทรัพย์สินทางปัญญา] |
Object-oriented database | ฐานข้อมูลเชิงวัตถุ [คอมพิวเตอร์] |
Temporal database | ฐานข้อมูลเชิงเวลา [คอมพิวเตอร์] |
Online database | ฐานข้อมูลแบบออนไลน์ [คอมพิวเตอร์] |
Thai Sign Language Program: computer vocabulary | ภาษามือไทยชุดคำศัพท์คอมพิวเตอร์, ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลภาษามือไทย ที่บรรจุคำศัพท์คอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลประกอบไปด้วย คำศัพท์ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ความหมาย ภาพ วีดิทัศน์ภาษามือไทย [Assistive Technology] |
Database design | การออกแบบฐานข้อมูล [TU Subject Heading] |
Database industry | อุตสาหกรรมฐานข้อมูล [TU Subject Heading] |
Database management | การจัดการฐานข้อมูล [TU Subject Heading] |
Database marketing | การตลาดทางฐานข้อมูลลูกค้า [TU Subject Heading] |
Database searching | การสืบค้นฐานข้อมูล [TU Subject Heading] |
Databases | ฐานข้อมูล [TU Subject Heading] |
Distributed databases | ฐานข้อมูลแบบกระจาย [TU Subject Heading] |
Geodatabases | ฐานข้อมูลทางภูมิศาสตร์ [TU Subject Heading] |
Online databases | ฐานข้อมูลแบบออนไลน์ [TU Subject Heading] |
Relational databases | ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ [TU Subject Heading] |
Web databases | ฐานข้อมูลเว็บ [TU Subject Heading] |
Data Base | ฐานข้อมูล, ข้อมูล [การแพทย์] |
Data standard | มาตรฐานข้อมูล, Example: มาตรฐานข้อมูล คือ การจัดทำข้อมูลให้อยู่ในลักษณะรูปแบบกลาง (Neutral format) เนื้อหาของมาตรฐานข้อมูลหลักๆ ได้แก่ ระบบอ้างอิง (Preference system) โครงสร้างข้อมูล (Data models)ซึ่งเกี่ยวข้องกับเนื้อหาและคุณลักษณะของข้อมูล รวมทั้งวิธีการผลิต การจัดเก็บข้อมูลและการใช้ข้อมูล เป็นต้น จะต้องมีการกำหนดคำศัพท์ (Data dictionaries) และข้อมูลจะต้องมีคุณภาพข้อมูล (Data quality) และในด้านคำอธิบายข้อมูล (Metadata) ซึ่งเป็นรายละเอียดบอกถึงเนื้อหาคุณลักษณะของข้อมูล [เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ] |
client-server network | เครือข่ายแบบรับ-ให้บริการ หรือ ไคลเอนท์/เซิร์ฟเวอร์, เครือข่ายที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องให้บริการต่างๆ เช่น บริการเว็บ และบริการฐานข้อมูล การให้บริการขึ้นกับการร้องขอบริการจากเครื่องรับบริการ เช่น การเปิดเว็บเพจ เครื่องรับบริการจะร้องขอบริการไปที่เครื่องให้บริการเว็บ จากนั้นเครื่องให้บริการเว็บจะ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
database | ฐานข้อมูล, การรวมของตารางข้อมูลหลายๆ ตารางเข้าไว้ด้วยกัน ตารางแต่ละตารางจะมีความสัมพันธ์กันโดยใช้เขตข้อมูลที่เก็บข้อมูลซึ่งเหมือนกันเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างกัน บางตารางอาจเป็นตารางที่เก็บข้อมูลไว้เฉพาะของตนเองโดยไม่เกี่ยวข้องกับตารางอื่น ในขณะที่บางตาราง อาจต้องเชื่อ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
field | เขตข้อมูล, สนาม, คอมพิวเตอร์: หน่วยย่อยที่สุดที่ข้อมูลระดับบิตมาเรียงต่อกันเพื่อแทนข้อมูลใดๆ ที่ต้องการเก็บในฐานข้อมูล ฟิสิกส์: ปริมาณที่ทำให้เกิดแรงกระทำต่อวัตถุ สนามมีสามชนิด ได้แก่ สนามโน้มถ่วง สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก สนามโน้มถ่วงทำให้เกิดแรงโน้มถ่วงกระทำต่อมวลของวัตถ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
fourth-generation languages( 4GLs ) | โฟร์ทจีแอล, กลุ่มของภาษาที่แตกต่างจากภาษาเชิงกระบวนความ ที่เน้นให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลในฐานข้อมูลได้โดยง่าย ภาษาจะมีความคล้ายคลึงกับภาษาอังกฤษที่ใช้กันอยู่ ตัวอย่างของภาษา 4GL เช่น ภาษาเอสคิวแอล [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
metasearch engine | เมตาเสิร์ชเอนจิน, โปรแกรมค้นหาที่ไม่มีการรวบรวมเว็บเพจไว้เป็นฐานข้อมูลของตนเอง แต่ค้นหาจากฐานข้อมูลของโปรแกรมค้นหาอื่นซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการที่สุดจากโปรแกรมค้นหาหลายโปรแกรมได้ในเวลาอันรวดเร็ว โดยอาจแสดงผลลัพธ์รวมจากทุกโปรแกรมค้นหาไว้ในชุดเด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
knowledge discovery in databases | การค้นพบความรู้ในฐานข้อมูล, กระบวนการที่สามารถสกัดความรู้จากข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้เป็นอย่างดีในฐานข้อมูล [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
system analyst | นักวิเคราะห์ระบบ, ผู้ทำหน้าที่ในการศึกษาวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ นักวิเคราะห์ระบบจะทำการวิเคราะห์ระบบงานและออกแบบระบบสารสนเทศให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งอาจรวมถึงงานด้านการออกแบบฐานข้อมูลด้วย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
search engine | โปรแกรมค้นหา, ใช้สำหรับค้นหาเว็บเพจที่ต้องการ โดยระบุคำหลักหรือคำสำคัญ (keyword) เพื่อนำไปค้นในฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งรวบรวมเว็บเพจต่างๆ ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นรายการเว็บเพจที่ประกอบด้วยคำหลักที่ระบุ ช่วยให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกประเภท หลากหลายรูปแบบ เพื่อการศึกษาหรือเพื [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |