ตะเข้ ๑ | น. จระเข้. |
ตะเข้ ๒ | น. ตัวไม้จากกลางจั่วบ้านตรงมายังชายคา พาดเป็นมุม ๔ มุม มีเฉพาะบ้านทรงปั้นหยาหรือทรงมนิลา |
ตะเข้ ๒ | ไม้ยึดเสาเรือนหรือเสาเขื่อน. |
ตะเข้ขบฟัน | น. โฉลกสำหรับนับตาแต่ละปล้องของไม้ตะพดที่ทำด้วยไม้ไผ่. |
ตะเข็บ ๑ | น. ชื่อสัตว์พวกเดียวกับกิ้งกือ แต่เรียกแยกโดยถือเอาพวกที่มีขนาดเล็ก เช่น ยาวน้อยกว่า ๕-๖ เซนติเมตร ลำตัวเล็ก มีจำนวนปล้อง ๓๑-๑๗๓ ปล้อง แต่ละปล้องมีขา ๒ คู่ และขายาวกว่าปล้องลำตัวมาก ที่แพร่หลาย เช่น สกุล Orthomorpha ในวงศ์ Paradoxsomatidae ไม่มีตา, จะเข็บ หรือ ขี้เข็บ ก็เรียก. |
ตะเข็บไต่ขอน | น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดให้แต่ละวรรคใช้คำลหุคำครุสลับกันไปตลอดการแต่ง เช่น ระทวยระทดสลดสละขนิษฐ์ขนาง ระเหระหนกระวนกระวายระคายระคาง จะแรมจะร้างอนงค์อนาถนิราสนิรา (จารึกวัดโพธิ์). |
ตะเข็บ ๒ | ดู ตะกาด ๒. |
ตะเข็บ ๓ | น. ชื่อไม้เถาชนิด Pothos scandens L. ในวงศ์ Araceae เกาะติดกับต้นไม้ใหญ่, หวายตะมอย ก็เรียก. |
ตะเข็บ ๔ | น. แนวผ้าหรือสิ่งอื่นตอนที่เย็บติดกัน, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ตะเข็บรอยต่อจังหวัด. |
เย็บล้มตะเข็บ | ก. เรียกวิธีเย็บผ้าแบบหนึ่ง โดยเย็บ ๒ ครั้ง เมื่อเย็บครั้งหนึ่งแล้ว จับตะเข็บให้ราบลง แล้วเย็บลงไปบนตะเข็บนั้นอีกครั้งหนึ่ง. |
ล้มตะเข็บ | ก. เย็บทับตะเข็บอีกครั้งหนึ่งหรือสอยให้ตะเข็บราบลง. |
ลูกเสือลูกตะเข้ | น. ลูกของคนอื่นที่เอามาเลี้ยงไว้แล้วกลับทำร้ายคนเลี้ยงในภายหลัง. |
กลิ้ม | (กฺลิ้ม) ก. เล็มหน้าผ้า, เย็บหน้าผ้าให้เป็นตะเข็บเพื่อมิให้ชายผ้าหลุดออก. |
กุ้ง ๑ | น. ชื่อสัตว์นํ้าไม่มีกระดูกสันหลังในชั้น Crustacea อันดับ Decapoda มีหลายวงศ์ หายใจด้วยเหงือก ลำตัวยาว แบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้อง ๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ ๘ ส่วนใหญ่กรีมีลักษณะแบนข้าง ก้ามและขาอยู่ที่ส่วนหัวและอก มี ๑๐ ขา พบในนํ้าจืดและนํ้าเค็ม มีหลายชนิด เช่น กุ้งก้ามกราม กุ้งก้ามเกลี้ยง กุ้งกุลาดำ กุ้งตะกาด กุ้งตะเข็บ กุ้งหัวแข็ง กุ้งแชบ๊วย. |
กุ๊น | ก. ขลิบเย็บหุ้มริมผ้าหรือของอื่น ๆ ใช้แถบผ้าย้วยหรือเฉลียงเย็บหุ้ม ๒ ข้างเม้มเข้าเป็นตะเข็บกลมบ้างแบนบ้าง มักใช้ที่คอเสื้อหรือชายเสื้อเป็นต้น. |
ขี้เข็บ | ดู ตะเข็บ ๑. |
เข้าถ้ำ | น. ชื่อตะเข็บเย็บผ้าชนิดหนึ่ง ซึ่งเย็บซ่อนตะเข็บไว้ข้างใน. |
เข้าไป | ว. ใช้ประกอบกิริยาแสดงการหนุนให้ทำ เช่น เตะเข้าไป กินเข้าไป. |
จระเข้ | (จอระ-) น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน มีหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Crocodylidae ปากและหัวยาว ปลายปากนูนสูงขึ้นเป็นช่องเปิดของรูหายใจ เรียกว่า ก้อนขี้หมา ลำตัวกลมยาว หนังเป็นเกล็ดแข็งทั้งตัว หางแบนยาวทางข้างใช้โบกว่ายนํ้า มักหากินในนํ้า อาศัยบริเวณป่าริมน้ำ ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จระเข้บึง จระเข้นํ้าจืด หรือจระเข้สยาม ( Crocodylus siamensisSchneider) จระเข้นํ้าเค็ม อ้ายเคี่ยม หรืออ้ายทองหลาง ( C. porosus Schneider) และจระเข้ปากกระทุงเหวหรือตะโขง [ Tomistoma schlegelii (S. Müller) ], ตะเข้ หรือ อ้ายเข้ ก็เรียก, อีสานเรียก แข้, ปักษ์ใต้เรียก เข้ |
จะเข็บ | ดู ตะเข็บ ๑. |
ด้นถอยหลัง | ก. เย็บผ้าวิธีหนึ่ง คล้ายวิธีด้น แต่เมื่อจะแทงลงต้องย้อนมาแทงข้างต้นอีกฝีเข็มหนึ่ง ทำให้แนวตะเข็บเหมือนฝีจักร. |
ตะกาด ๒ | น. ชื่อกุ้งขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Penaeidae เช่น ชนิด Metapenaeus ensis (De Haan) ลำตัวสีเหลืองอ่อน ผิวเปลือกเป็นมัน พบในบริเวณนํ้ากร่อยและชายฝั่งทะเล, ชันกาด ตะเข็บ หรือ หัวมัน ก็เรียก. |
ทะเล้น | ก. โปนออก เช่น ตาทะเล้น, ล้นออก เช่น เนื้อผ้าตรงตะเข็บทะเล้นออก |
แนม | แทรกแซมหรือแซงเข้าไป เช่น เอาลิ่มแนมให้แน่น, เรือตะเข้แนมทังสองข้าง (สามดวง) |
ใบปรือ | น. ชื่อตัวไม้หรือปูนทำเป็นครีบคล้ายใบระกา ติดที่หลังตะเข้ตรงมุมหลังคาเฉลียง |
เป้า ๒ | น. ชิ้นผ้าที่เย็บแทรกตะเข็บตรงรักแร้เสื้อหรือรอยต่อขากางเกงผ้าหรือกางเกงแพรเพื่อให้เคลื่อนไหวได้สะดวก |
ผ่าหมาก | ว. เรียกอาการเตะเข้าหว่างขาของคู่ต่อสู้ ว่า เตะผ่าหมาก. |
ฝักแค | ชื่อตะเข็บผ้าชนิดหนึ่งรูปเหมือนฝักของต้นแค. |
ฟื้นฝอย | ก. คุ้ยเขี่ยหาความที่ควรจะสงบแล้วให้กลับเกิดเป็นเรื่องขึ้นมาอีก, มักใช้ว่า ฟื้นฝอยหาตะเข็บ. |
เลาะ | ทำให้ด้ายเป็นต้นที่เย็บหลุด เช่น เลาะตะเข็บ เลาะผ้า. |
ศตบาท, ศตปที | น. ตะขาบ, ตะเข็บ, กิ้งกือ. |
สอย ๑ | แทงด้วยเข็มหรือสิ่งที่แหลมอย่างเข็มเย็บผ้าให้เป็นตะเข็บ. |
หวายตะมอย | ดู ตะเข็บ ๓. |
หางหงส์ ๑ | เรียกเครื่องประดับที่ทำเป็นรูปคล้ายหางหงส์ติดตั้งอยู่ปลายรวยระกา หรือปลายตะเข้สันหลังคาของโบสถ์และพระที่นั่งเป็นต้นตามแบบสถาปัตยกรรมไทย. |
หุ้มแผลง | (-แผฺลง) น. กรรมวิธีในการหุ้มพระพุทธรูปด้วยแผ่นเงินหรือแผ่นทองบาง ๆ โดยให้ตะเข็บของแต่ละแผ่นซึ่งมีลักษณะคล้ายฟันประสานกัน แล้วใช้เครื่องมือกวดรอยประสานให้เรียบเสมอกัน. |