กะต่อม | น. ชื่อกุ้งขนาดกลางชนิด Macrobrachium equidens (Dana) ในวงศ์ Palaemonidae ก้ามมีปื้นสีเข้ม อาศัยอยู่ในย่านน้ำกร่อย และพบบ้างในน้ำจืดหรือชายทะเล, กุ้งแห ก็เรียก. |
ต่อมือ | ก. ยื่นมือขวาออกไปรับของ โดยมือซ้ายประคองแขนขวา (ใช้แก่กิริยาที่ผู้น้อยทำต่อผู้ใหญ่ หรือฆราวาสชายทำต่อภิกษุเพื่อแสดงความนอบน้อม). |
ต่อม | น. เม็ดที่ขึ้นตามตัว |
ต่อม | อวัยวะของคนและสัตว์ ทำหน้าที่สร้างและหลั่งสารที่มีประโยชน์และมีโทษต่อร่างกาย มี ๒ ชนิด คือ ต่อมไร้ท่อ และ ต่อมมีท่อ. |
ต่อมน้ำ ๑ | น. ฟองอากาศที่ผุดขึ้นปุด ๆ เหนือนํ้า. |
ต่อมโลหิต | น. เลือดระดูผู้หญิง. |
ต๋อม | ว. เสียงอย่างของหนักขนาดเล็กตกลงไปในนํ้า, โดยปริยายหมายความว่า เงียบไป (ใช้แก่กริยาหาย ว่า หายต๋อม). |
ต้อมต๊อก | ดู โทงเทง ๑. |
ต่อมน้ำ ๑ | ดูใน ต่อม. |
ต่อมน้ำ ๒ | น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวตาจระเข้ ดาวไต้ไฟ ดาวเสือ หรือ ดาวจิตระ ก็เรียก. |
หญ้าต้อมต๊อก | ดู โทงเทง ๑. |
กกุธภัณฑ์ | (กะกุดทะ-) น. สัญลักษณ์สำคัญแห่งความเป็นพระมหากษัตริย์ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกรชัยพฤกษ์ ๔. วาลวีชนี (พัดกับแส้) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่าเบญจราชกกุธภัณฑ์ ทั้งนี้ บางสมัยใช้เครื่องราชกกุธภัณฑ์แตกต่างกัน เช่น ใช้ฉัตรแทนพระมหาพิชัยมงกุฎ.(ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า
ของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง.วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัดใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็นแส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่าวาลวีชนี หมายความเป็นแส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาลของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี). |
กบเต้น | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น สมัยอยุธยาใช้ขับร้องและบรรเลงตอนโศกเศร้า ต่อมามีผู้นำไปทำเป็นเพลงเถา. |
กรมท่า ๑ | (กฺรม-) น. กรมพระคลังส่วนที่ทำหน้าที่ติดต่อกับต่างชาติเรื่องการค้าขายและการต่างประเทศ ต่อมาเพิ่มหน้าที่ปกครองหัวเมืองชายทะเล, พระคลัง หรือ พระคลังกรมท่า ก็เรียก. (ดู กรมพระคลัง ประกอบ). |
กระจับบก | น. ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่งขึ้นในป่าตํ่าตามที่นํ้าท่วม มักขึ้นปะปนกับเถากรด ซึ่งดูผาด ๆ คล้ายคลึงกัน ใบคู่ ขอบใบตอนบนที่ใกล้หรือติดกับก้านมีต่อมข้างละต่อม ผลนัยว่าแบน ๆ รูปสามเหลี่ยม ไม้ใช้ทำฟืน. |
กระจับปี่ | น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด ลักษณะคล้ายพิณ มี ๔ สาย ตั้งเสียงต่างกันเป็น ๒ คู่ เดิมใช้บรรเลงในวงมโหรีเครื่อง ๔ และมโหรีเครื่อง ๖ ในสมัยอยุธยา ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ใช้จะเข้บรรเลงแทน. |
กระดาษว่าว | น. กระดาษที่ใช้ทำว่าว เป็นกระดาษที่เหนียวและไม่โปร่ง ลมรั่วไม่ได้ เดิมใช้กระดาษที่สั่งมาจากเมืองจีน ต่อมาใช้กระดาษจากญี่ปุ่น. |
กระแตไต่ไม้ ๑ | ชื่อเพลงโหมโรงเสภา เดิมเป็นเพลงไทยภาคเหนือสำเนียงลาว ต่อมามีผู้นำมาแต่งขยายเป็นอัตรา ๓ ชั้น โดยใช้ชื่อเดิม. |
กระทะ ๑ | น. ภาชนะสำหรับใช้ผัดหรือทอดเป็นต้น มีรูปร่างต่าง ๆ ตามปรกติมีก้นลึก ปากผาย ต่อมาอนุโลมเรียกภาชนะที่ใช้ในลักษณะเช่นนั้นแม้มีก้นตื้นหรือแบน ทั้งชนิดที่มีขอบและไม่มีขอบว่า กระทะ เช่น กระทะขนมเบื้อง กระทะโรตี. |
กระเบน | น. ชื่อปลากระดูกอ่อนพวกหนึ่ง มีหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ลำตัวกว้างตั้งแต่ ๑๕-๓๐๐ เซนติเมตร ลำตัวแบนลงมาก และต่อเนื่องกับครีบอกแผ่ออกด้านข้าง บางชนิดแผ่ออกไปจดด้านหน้าและด้านท้ายเกือบเป็นวงกลมดูคล้ายจานหรือว่าว บางชนิดแผ่ยื่นด้านข้างออกไปเป็นปีกคล้ายนกหรือผีเสื้อ และบางชนิดครีบอกแผ่ไปไม่ถึงส่วนหน้า ทำให้หัวแยกจากลำตัวและส่วนยื่นของหัวเป็นลอน มีเหงือก ๕ คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจากส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง ซึ่งด้านในติดต่อกับโพรงเหงือกและปาก หางส่วนมากเรียว สั้นบ้างยาวบ้าง มักมีผิวหยาบหรือขรุขระ บางพวกมีเงี่ยงอยู่บนหางตอนใกล้ลำตัว และมีต่อมน้ำพิษอยู่บริเวณโคนเงี่ยง เมื่อใช้เงี่ยงแทงจะปล่อยน้ำพิษออกมาด้วย ทำให้คนหรือสัตว์ที่ถูกแทงรู้สึกปวด |
กรามช้าง ๑ | น. ชื่อโรคมะเร็งชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่าขึ้นที่แถวกราม มีอาการเป็นเนื้อร้ายงอกขึ้นที่ต่อมแถวก้านคาง ทำให้ขากรรไกรพองโตใหญ่ออกมา เรียกว่า มะเร็งกรามช้าง. |
กะหลาป๋า ๑ | น. ชื่อเมืองในเกาะชวาสมัยโบราณ ต่อมาเรียก ปัตตาเวีย, ปัจจุบันคือ จาการ์ตา |
การจัดสรรที่ดิน | น. การจำหน่ายที่ดินที่ได้แบ่งเป็นแปลงย่อยรวมกันตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งจากที่ดินแปลงเดียวหรือแบ่งจากที่ดินหลายแปลงที่มีพื้นที่ติดต่อกัน โดยได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์เป็นค่าตอบแทน และให้หมายความรวมถึงการดำเนินการดังกล่าวที่ได้มีการแบ่งที่ดินเป็นแปลงย่อยไว้ไม่ถึงสิบแปลงและต่อมาได้แบ่งที่ดินแปลงเดิมเพิ่มเติมภายในสามปี เมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไปด้วย. |
การประกอบโรคศิลปะ | น. การประกอบวิชาชีพที่กระทำหรือมุ่งหมายจะกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบำบัดโรค การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ การผดุงครรภ์ แต่ไม่รวมถึงการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ. |
กุ้งแห | ดู กะต่อม. |
กุ้งยิง | น. ฝีหัวเล็ก ๆ ซึ่งเกิดจากการอักเสบที่ต่อมขอบตา. |
ไข้กาฬนกนางแอ่น, ไข้กาฬหลังแอ่น | น. ไข้ติดเชื้อเฉียบพลันของเยื่อหุ้มสมอง มีอาการไข้ ซึม คอแข็ง หลังแอ่น และมีผื่นชนิดตกเลือดใต้ผิวหนัง ต่อมาสีของผื่นจะเปลี่ยนเป็นคลํ้า. |
ไข้ทรพิษ | น. ชื่อโรคระบาดชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัส มีอาการไข้สูงแล้วมีผื่นขึ้นดาษตามใบหน้าและลำตัว ต่อมาผื่นจะกลายเป็นตุ่ม ตุ่มใส ตุ่มหนอง และตกสะเก็ด ตามลำดับ เมื่อหายแล้วมีแผลเป็นเป็นรอยบุ๋ม, ฝีดาษ ก็เรียก, โบราณเรียก ไข้หัว. |
ไข่ดัน | น. ต่อมนํ้าเหลืองที่อยู่ใต้ผิวหนังของบริเวณขาหนีบ ซึ่งเป็นแนวต่อระหว่างลำตัวกับต้นขา มีหน้าที่กักและทำลายเชื้อโรคที่อาจผ่านเข้าในร่างกายท่อนบน. |
ครั่ง ๑ | (คฺรั่ง) น. ชื่อเพลี้ยหอยชนิด Kerria lacca (Kerr) ในวงศ์ Kerriidae เพศเมียไม่มีปีก ขณะเป็นตัวอ่อนระยะแรกมีขาและหนวด เคลื่อนไหวได้ เมื่อลอกคราบเวลาต่อมาจะไม่มีขา เกาะอยู่กับที่ดูดกินนํ้าเลี้ยงจากต้นไม้ เช่น จามจุรี และผลิตสารซึ่งเรียกว่า ขี้ครั่ง นำไปใช้ทำประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ หลายอย่าง เช่น เชลแล็ก สีย้อมผ้า. |
คอพอก | น. ชื่อโรคต่อมไทรอยด์โต ส่วนใหญ่เกิดจากการขาดธาตุไอโอดีน, คอหอยพอก ก็ว่า. |
ค่าตัว | น. ราคาที่กำหนดขึ้นเพื่อซื้อขายทาสในสมัยโบราณ, ต่อมาหมายถึงราคาที่กำหนดขึ้นตามความสำคัญหรือความสามารถของบุคคล. |
คางทูม | น. โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสทำให้ต่อมนํ้าลายบริเวณใต้หูอักเสบแล้วบวม. |
เค้าสนามหลวง | น. สำนักผู้ปกครองบ้านเมือง, ที่ว่าราชการเมือง, คณะผู้ว่าการบ้านเมืองซึ่งประกอบด้วยเจ้าผู้ครองเมืองหรือผู้ครองเมืองข้าหลวงประจำนครหรือเมืองซึ่งต่อมาเรียกว่า ปลัดมณฑลประจำจังหวัด และข้าหลวงผู้ช่วย มีหน้าที่บังคับบัญชารับผิดชอบในกิจการทั่วไปของเมือง, เค้าสนาม ก็ว่า. |
โครงการพระดาบส | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้มีสถานที่สอนความรู้วิชาชีพต่าง ๆ เช่น วิชาช่างไฟฟ้า วิชาช่างเครื่องยนต์ วิชาช่างวิทยุโทรทัศน์ ให้แก่บุคคลทั่วไป โดยไม่จำกัด เพศ วัย และวุฒิการศึกษา โดยครูที่มีความรู้และยินดีอาสาสมัครสอนให้เป็นวิทยาทาน เปรียบเสมือนพระดาบสในสมัยโบราณที่มีกุศลศรัทธาที่จะถ่ายทอดศิลปศาสตร์ให้แก่ลูกศิษย์ โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ เริ่มดำเนินการโครงการมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ต่อมาได้จดทะเบียนเป็นโรงเรียนผู้ใหญ่พระดาบส และจัดตั้งเป็นมูลนิธิพระดาบสเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานของโครงการพระดาบส และกิจการของโรงเรียนผู้ใหญ่พระดาบส. |
จักริน, จักรี | (จักกฺริน, จักกฺรี) น. ผู้มีจักร หมายถึง พระนารายณ์, ต่อมาหมายถึง พระราชา ตามคติความเชื่อของไทยที่ถือว่าเป็นพระนารายณ์อวตาร. |
จิตระ, จิตรา | (จิดตฺระ, จิดตฺรา) น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๔ มี ๑ ดวง เห็นเป็นรูปต่อมนํ้าหรือไต้ไฟ เช่น จิตราก็ปรากฏดำบล เสถียรที่สิบสี่หมาย (สรรพสิทธิ์), ดาวต่อมนํ้า ดาวไต้ไฟ ดาวตาจระเข้ หรือ ดาวเสือ ก็เรียก. |
ช่องคลอด | น. ส่วนของอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิง เป็นช่องที่ต่อมาจากปากมดลูก และเป็นทางที่ทารกคลอดออกมา. |
ชะมด ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae หน้าแหลม รูปร่างเพรียว สีเทาหรือนํ้าตาล มีลายจุดสีดำตามยาวทั่วตัว หางและขนหางยาว มีลายเป็นปล้อง มีต่อมกลิ่นใกล้อวัยวะเพศ มักหากินในเวลากลางคืน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ชะมดเช็ด [ Viverricula malaccensis (Gmelin) ] เป็นชนิดที่ใช้นํ้ามันจากต่อมกลิ่นทำเครื่องหอม, ชะมดแผงหางปล้อง ( Viverra zibetha Linn.), ชะมดแผงสันหางดำ ( V. megaspila Blyth), อีสานเรียก เห็นอ้ม. |
ชะมด ๒ | น. ชื่อกวางในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae เป็นกวางขนาดเล็ก ลำตัวป้อม หัวเล็ก ไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้งออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี ๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย ( Moschus moschiferus Linn.) กวางชะมดเขาสูง [ M. chrysogaster (Hodgson) ] กวางชะมดดำ ( M. Fuscus Li) และกวางชะมดป่า ( M. berezovskii Flerov) ไม่พบในประเทศไทยแต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. |
ช้าง ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นสัตว์บกที่ใหญ่ที่สุด ในวงศ์ Elephantidae ผิวหนังหนา สีดำหรือดำอมเทา รับสัมผัสได้ไว ขนสีดำ จมูกยื่นยาวเรียกว่า งวง ปลายงวงมีจะงอยสำหรับจับสิ่งของ ขมับทั้ง ๒ ข้างมีรูเปิดของต่อมน้ำมัน จะมีน้ำมันไหลออกมาเมื่อถึงวัย ขาใหญ่เป็นลำ กินพืช มี ๒ ชนิด คือ ช้างเอเชียและช้างแอฟริกา. |
ช้างเผือก ๒ | น. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง มีที่มาจากตราดาราช้างเผือกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตราพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลช้างเผือก. |
ซุ้ม ๓ | น. ทำนองเพลงไทยสำเนียงลาว อัตราชั้นเดียว เดิมประดิษฐ์ขึ้นสำหรับบรรเลงต่อท้ายเพลงเดี่ยวลาวแพน เรียกว่า ออกซุ้ม ต่อมามีผู้นำไปบรรเลงต่อท้ายเพลงสำเนียงลาวอื่น ๆ. |
ดา ๑, ดานา | น. ชื่อแมลงพวกมวน Lethocerus indicus (Lepeletier & Serville) ในวงศ์ Belostomatidae ปากสั้นแหลมคม ลำตัวกว้าง รูปไข่ แบนลง ความยาวจากหัวถึงปลายปีก ๖-๘ เซนติเมตร ปีกสีน้ำตาลแก่หรือน้ำตาลอมเขียว ขาคู่หน้าแข็งแรงใช้จับเหยื่อ เจาะดูดกินของเหลวจากเหยื่อเป็นอาหาร ตัวอ่อนอยู่ในน้ำ ตัวเต็มวัยมักบินเข้าหาแสงไฟ ตัวผู้มีต่อมกลิ่นนิยมนำไปผสมอาหาร, แมลงดา หรือ แมลงดานา ก็เรียก. |
ตกมัน | ว. ลักษณะที่ต่อมน้ำมันที่ขมับของช้างบวมโตและมีน้ำมันใส ๆ ไหลออกมา ช้างตัวผู้จะมีอารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว ดุร้าย มีกลิ่นสาบฉุน, เรียกช้างที่มีอาการเช่นนั้น ว่า ช้างตกมัน. |
ต้นตำรับ | น. สูตรหรือตำราดั้งเดิม เช่น ยาหอมต้นตำรับ ต้นตำรับชาววัง, ผู้เป็นต้นคิดประดิษฐ์จนเป็นแบบแผนสืบต่อมา เช่น ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ เป็นต้นตำรับอาหารไทยหลายอย่าง. |
ตราภูมิคุ้มห้าม | น. หนังสือราชการประจำตัวไพร่หลวงสำหรับบางหมู่บางพวก เดิมเพื่อได้รับการลดหย่อนภาษีอากรต่าง ๆ หรือได้รับยกเว้นการเกณฑ์แรงงานตามที่กำหนดให้ ต่อมาเหลือเพียงการลดหย่อนภาษีอากร. |
ตรีบูร | น. กำแพงล้อม ๓ ชั้น (รวมทั้งคู) เช่น เมืองสุโขทัยนี้ตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวา (จารึกสยาม), ต่อมาแม้จะเป็นกำแพงชั้นเดียวก็เรียกตรีบูรด้วย เช่น อยุธยาไพโรจน์ใต้ ตรีบูร (กำสรวล). |
ตะแลงแกง | ทางสี่แยก เช่น จีงล่งชางออกใปยณทางตะแลงแกง (พงศ. ประเสริฐ), ต่อมาเลือนไปหมายถึงที่สำหรับฆ่านักโทษในสมัยโบราณ. |
ตับ ๑ | น. อวัยวะประเภทต่อมของระบบทางเดินอาหารของคนและสัตว์ อยู่ในช่องท้อง ทำหน้าที่ทำลายพิษ สร้างนํ้าดีและโปรตีนบางชนิด เป็นต้น. |