กระแทกกระทั้น | ว. อาการที่ลงเสียงหนักหรือกระแทกสิ่งของให้รู้ว่าไม่พอใจหรือโกรธ. |
กระพัน | ว. ทนทานต่อศัสตราวุธ. |
กระแสข่าว | น. ข่าวที่ได้ฟังมา เช่น ตามกระแสข่าวเขาว่า เสธ. จะได้ขึ้นเป็น ผบ. นะ. |
โกรธา | (โกฺร-) ก. โกรธ. |
ขว้างกา | น. เรียกไม้ชนิดหนึ่งที่เสี้ยมหัวท้ายให้แหลมใช้เป็นอาวุธ. |
ข้องแวะ | ก. ติดต่อ, เอาใจใส่, เกี่ยวพัน, เกี่ยวข้อง, มักใช้ในประโยคที่มีความหมายเป็นเชิงถามหรือปฏิเสธ. |
ข้าวพระ | น. อาหารคาวหวานที่จัดใส่สำรับสำหรับถวายพระพุทธ. |
คงกระพัน, คงกระพันชาตรี | ก. ทนทานต่อศัสตราวุธ. |
คาธ | (คาด) ก. จับ, กิน, เช่น จันทรคาธ สุริยคาธ. |
เคียด | ก. เคือง, โกรธ. |
ซุย ๑ | น. มีดขนาดย่อม ใบมีดรูปร่างคล้ายปลาลิ้นหมา ปลายแหลม สันหนา คมบาง ยาวประมาณ ๑ คืบ ด้ามสั้น ใช้พกเป็นอาวุธ. |
ถือโกรธ | ก. คุมแค้น, ผูกใจโกรธ. |
ธ ๑ | (ทอ) พยัญชนะตัวที่ ๒๔ เรียกว่า ธอ ธง เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น สุเมธ มคธ. |
นักษัตรบดี | น. ดาวพระพุธ. |
เนิน | เรียกเนื้อรอบฝ่ามือที่มีลักษณะนูนกว่าบริเวณอุ้งมือ ว่า เนิน เช่น เนินพระศุกร์ เนินพระพุธ. |
บ๊งเบ๊ง | ว. ทำเสียงเอะอะจนฟังแทบไม่ได้ศัพท์, ทำเสียงเอะอะด้วยความโกรธ. |
บพิธ | (บอพิด) ก. แต่ง, สร้าง, เช่น วัดราชบพิธ. |
แบ่งรับแบ่งสู้ | ก. รับบ้างปฏิเสธบ้าง, รับหรือปฏิเสธโดยมีเงื่อนไข, ภาคเสธ. |
ปฐมโพธิกาล | (ปะถมมะโพทิกาน) น. กาลแรกตรัสรู้ คือ ระยะเวลานับตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้จนถึงทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธ. |
ประทุฐจิต | (ปฺระทุดถะจิด) น. จิตร้าย, จิตโกรธ. |
ประทุษฏจิต, ประทุษฐจิต | (ปฺระทุดตะจิด, ปฺระทุดถะจิด) น. จิตร้าย, จิตโกรธ. |
ประหรณ์ | อาวุธ. |
ปวิธ | (ปะ-) ก. บพิธ. |
พิรุธ | ก. ผิดปรกติ, มีอาการน่าสงสัย, เช่น แสดงอาการพิรุธ ทำพิรุธ. |
พิโรธ | ก. โกรธ, เคือง, ใช้ว่า ทรงพระพิโรธ. |
พื้นเสีย | ก. โกรธ. |
โพธ | (โพด) ก. แย้ม, บาน, แรกรุ่น เช่น นงโพธ. |
มโหษธ | (มะโหสด) น. มเหาษธ. |
มาระ | ก. โกรธ. |
มีดชายธง | น. มีดขนาดย่อม ใบมีดเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายแหลม ยาวประมาณ ๑ คืบ ด้ามสั้น ใช้พกเป็นอาวุธ. |
มีดซุย | น. มีดขนาดย่อม ใบมีดรูปร่างคล้ายปลาลิ้นหมา ปลายแหลม สันหนา คมบาง ยาวประมาณ ๑ คืบ ด้ามสั้น ใช้พกเป็นอาวุธ. |
มีดพก | น. มีดขนาดเล็ก ใบมีดหนายาวเรียว ปลายแหลม มีคมด้านหนึ่งหรือทั้ง ๒ ด้าน ยาวประมาณ ๑ ฝ่ามือ ด้ามสั้นทำด้วยไม้ เขาสัตว์ หรืองา ใช้พกเป็นอาวุธ. |
มีดเสือซ่อนเล็บ | น. มีดขนาดเล็ก ใบมีดแบนเรียวปลายแหลม ยาวประมาณครึ่งฝ่ามือ ชุดหนึ่งมี ๒ เล่ม ด้ามมีดทำเป็นท่อนสี่เหลี่ยมยาว มีช่องสำหรับสอดใบมีดอีกเล่มหนึ่งสวนเข้าไปเก็บไว้ได้มิดชิด มีดทั้ง ๒ เล่มเมื่อสอดใบมีดเข้าไปในด้ามของกันและกันแล้ว แลดูเหมือนไม้สี่เหลี่ยมท่อนสั้น ๆ ใช้พกเป็นอาวุธ. |
เมธ | (เมด) น. การเซ่นสรวง, การบูชายัญ, มักใช้เป็นส่วนหลังสมาส เช่น อัศวเมธ. |
โมโห | ก. โกรธ. |
ยักหยาว | ก. ยั่วเย้าให้โกรธ. |
ยูโด | น. ศิลปะการต่อสู้และป้องกันตัวอย่างหนึ่งของชาวญี่ปุ่นโดยไม่ต้องใช้อาวุธ. |
เย้ย | ก. พูดหรือกระทำให้ได้อาย ให้เจ็บใจ ให้โกรธ. |
เย้ยหยัน | ก. พูดหรือแสดงกิริยาดูถูกเยาะเย้ยให้ได้อาย ให้เจ็บใจ ให้โกรธ. |
เยาะเย้ย | ก. ค่อนว่าหรือแสดงกิริยาซ้ำเติมให้ได้อาย ให้ช้ำใจเจ็บใจ ให้โกรธ. |
รังหยาว | ก. รบกวนให้โกรธ เช่น ลางคนจับตะขาบมาเด็ดเขี้ยว เที่ยวทิ้งโรงหนังทำรังหยาว (อิเหนา), (ถิ่น–ปักษ์ใต้) โมโห, โกรธ. |
รุษฏ์ | ก. แค้นเคือง, โกรธ. |
เรียบวุธ | ก. ถืออาวุธอยู่ในท่าเรียบ คือ ถือปืนแนบอยู่ทางขวา ส้นปืนจดดิน, เลือนมาจาก เรียบอาวุธ. |
โรงแสง | น. โรงสำหรับทำหรือเก็บอาวุธ. |
ลมเสีย | ก. ใจคอขุ่นมัวหรือรู้สึกโกรธ. |
ลำเลียง | ก. ขนถ่ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เช่น ลำเลียงอาหาร ลำเลียงอาวุธ. |
ลูกขวาน | น. ขวานขนาดเล็ก หน้าประมาณนิ้วครึ่ง ใช้เหน็บหลังเป็นอาวุธ. |
วันทยหัตถ์ | น. ท่าเคารพด้วยมือของทหาร ตำรวจ ลูกเสือ เป็นต้น ที่แต่งเครื่องแบบ สวมหมวก มิได้ถืออาวุธ. |
วางปึ่ง | ทำทีเฉยแสดงอาการคล้ายกับโกรธ. |
วิรุธ | ว. พิรุธ. |