Enzyme | เอนไซม์ โปรตีนที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมี [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Nuclear reactions | ปฏิกิริยานิวเคลียร์, ปฏิกิริยาที่เกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลงภายในนิวเคลียสของอะตอม เช่น ฟิชชัน ฟิวชัน การจับยึดนิวตรอน หรือ การสลายกัมมันตรังสี ซึ่งแตกต่างกับปฏิกิริยาเคมี ที่จำกัดอยู่เพียงการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของอิเล็กตรอนที่อยู่รอบๆ นิวเคลียส [นิวเคลียร์] |
Free radical | อนุมูลเสรี, อนุมูลอิสระ, ธาตุ หรือ หมู่ธาตุที่มีอิเล็กตรอนเดี่ยว (unpaired electron) อยู่ในโครงสร้าง เกิดขึ้นจากการกระตุ้นโมเลกุลของสารด้วยปฏิกิริยาเคมีหรือพลังงานบางชนิด ส่วนใหญ่มีความไวในการทำปฏิกิริยาเคมี เนื่องจากต้องการจับคู่กับอิเล็กตรอนอื่นเพื่อเข้าสู่สถานะเสถียร อนุมูลเสรีใช้จุดทึบเป็นสัญลักษณ์ เช่น H•, Example: [นิวเคลียร์] |
Chemical reactions | ปฏิกิริยาเคมี [TU Subject Heading] |
Chemiluminescence | การเปล่งแสงที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมี [TU Subject Heading] |
Chemical Oxygen Demand | ซีโอดี, ซีโอดี คือปริมาณออกซิเจนที่จำเป็นสำหรับปฏิกิริยาเคมีที่ใช้ในการย่อยสลายสารประกอบอินทรีย์ในน้ำเสียค่าซีโอดีที่สูงกว่าแสดงว่า ปฏิกิริยาการย่อยสลายนั้นต้องการปริมาณออกซิเจนมากกว่า ค่าซีโอดีสามารถใช้เป็นตัววัดทางอ้อมของปริมาณสารประกอบอินทรีย์ในน้ำ [เทคโนโลยีชีวภาพ] |
Blowing agent | สารที่มีความเสถียรที่อุณหภูมิห้อง แต่จะสลายตัวที่อุณหภูมิสูงและปล่อยก๊าซออกมา โดยการเกิดปฏิกิริยาเคมี และ/หรือปฏิกิริยาทางความร้อน ทำให้เกิดช่องว่างหรือรูพรุนขึ้นในผลิตภัณฑ์ เช่น การผลิตยางฟองน้ำ (Sponge) ตัวอย่างสารในกลุ่มนี้ได้แก่ โซเดียมไบคาร์บอเนต [เทคโนโลยียาง] |
Coupling agent | สารเติมแต่งที่ทำหน้าที่เพิ่มอันตรกิริยา (เกิดการเชื่อมโยง) ระหว่างยางกับสารเสริมแรงประเภทซิลิกาให้มีแรงยึดเหนี่ยวเพิ่มสูงขึ้น โดยหมู่อัลคอกซีบนสารคู่ควบจะทำปฏิกิริยาเคมีกับหมู่ไซลานอลที่อยู่บนพื้น ผิวของซิลิกาเกิดเป็นพันธะไซลอกเซนที่เสถียร ทำให้หมู่ไซลานอลลดลง อันตรกิริยาระหว่างอนุภาคของซิลิกาจึงลดลงด้วย ตัวอย่างของสารคู่ควบ ได้แก่ ไทรเอทอกซีไซลีลโพรพีลเททระซัลไฟด์ (Si-69) เมอร์แคปโตโพรพีลไทรเมทอกซีไซเลน (A-189) ไทโอไซยาเนโตโพรพีลไทเอทอกซีไซเลน (Si-264) เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Retarder | สารหน่วงปฏิกิริยา คือ สารเคมีซึ่งลดอัตราเร็วการเกิดปฏิกิริยาเคมี เมื่อนำมาใส่ในยางจะช่วยเพิ่มระยะเวลาก่อนที่ยางจะเริ่มเกิดปฏิกิริยาคงรูป ช่วยลดโอกาสของการเกิดยางตายทั้งในระหว่างการเก็บรักษาและระหว่างกระบวนการ ขึ้นรูป [เทคโนโลยียาง] |
Synthetic rubber | ยางที่ผลิตขึ้นใข้แทนยางธรรมชาติ โดยสังเคราะห์จากน้ำมันปิโตรเลียม มีสมบัติคล้ายยางธรรมชาติ นอกจากนี้ยังรวมถึงยางชนิดต่างๆ ที่สังเคราะห์ได้จากปฏิกิริยาเคมีอีกด้วย เช่น ยางสไตรีนบิวทาไดอีน ยางไนไทรล์ เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Biocatalysis | การเร่งปฏิกิริยาเคมีโดยกลไกทางชีวภาพ [การแพทย์] |
Bioelectrochemistry | กระบวนการก่อกระแสไฟฟ้าจากปฏิกิริยาเคมี [การแพทย์] |
Chemically, Highly Reactive | ไวต่อปฏิกิริยาเคมี [การแพทย์] |
combustion | การเผาไหม้, ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดจากสารรวมกับตัวออกซิไดซ์ เช่น ออกซิเจน โดยอาจมีความร้อนหรือแสงเกิดขึ้นด้วย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
addition polymerization reaction | ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบเติม, ปฏิกิริยาเคมีที่มอนอเมอร์ชนิดเดียวกันทำปฏิกิริยาการเติมซ้ำ ๆ กัน แล้วได้สารใหม่ซึ่งมีโมเลกุลใหญ่ขึ้นที่เรียกว่า พอลิเมอร์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
inert gas [ noble gas ] | แก๊สเฉื่อย, แก๊สมีตระกูล, ธาตุที่อยู่ในหมู่ VIII ของตารางธาตุ มีสถานะเป็นแก๊ส ไม่มีความไวในการเข้าทำปฏิกิริยาเคมีกับธาตุอื่นเพราะการจัดตัวของอิเล็กตรอนของแก๊สเฉื่อยอยู่ในสภาพเสถียร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electrode | ขั้วไฟฟ้า, ตัวนำไฟฟ้าที่จุ่มอยู่ในอิเล็กโทรไลต์ ซึ่งจะเป็นส่วนที่เกิดปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ไฟฟ้าเคมีหรือเซลล์อิเล็กโทรไลต์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
inorganic chemistry | เคมีอนินทรีย์, วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องปฏิกิริยาเคมี สมบัติและการเกิดเป็นสารประกอบของสารอนินทรีย์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
fuel cell | เซลล์เชื้อเพลิง, อุปกรณ์ที่ใช้เปลี่ยนพลังงานเคมีให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยใส่สารเคมีเข้าไปทำปฏิกิริยากันแล้วได้กระแสไฟฟ้าออกมา เซลล์เชื้อเพลิงแบบง่ายได้จากปฏิกิริยาเคมีระหว่าง แก๊สไฮโดรเจนกับออกซิเจนโดยมีแผ่นนิกเกิลเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี และมีสารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ เ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
primary cell | เซลล์ปฐมภูมิ, เซลล์ไฟฟ้าเคมีชนิดหนึ่งซึ่งปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าโดยตรง เมื่อความต่างศักย์ของเซลล์ลดลงหรือหมดไป ไม่สามารถประจุไฟฟ้าใหม่ได้ เช่น ถ่านไฟฉายที่ใช้กันอยู่ทั่ว ๆ ไป [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electrolytic cell | เซลล์อิเล็กโทรไลต์, อุปกรณ์ที่ประกอบด้วยขั้วไฟฟ้า 2 ขั้วจุ่มอยู่ในสารละลายอิเล็กโทรไลต์ จะเกิดปฏิกิริยาเคมีได้ก็ต่อเมื่อได้รับพลังงานไฟฟ้าจากภายนอกเท่านั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คืออุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการอิเล็กโทรลิซิสนั่นเอง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
inhibitor | ตัวยับยั้ง, สารเคมีที่เติมลงไปในปฏิกิริยาเคมีหนึ่งแล้วทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาลดลง หรือหยุดนิ่ง เมื่อปฏิกิริยาเคมีสิ้นสุดแล้วก็ยังคงมีสารนั้นในระบบ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
catalyst | ตัวเร่งปฏิกิริยา, สารเคมีที่เติมลงไปในปฏิกิริยาเคมีหนึ่งแล้วทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเร็วขึ้น และเมื่อปฏิกิริยาเคมีสิ้นสุด สารนั้นก็ยังคงมีสมบัติทางเคมีและมีปริมาณคงเดิม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
redox reaction [ oxidation-reduction reaction ] | ปฏิกิริยารีดอกซ์, ปฏิกิริยาเคมีที่มีการให้และรับอิเล็กตรอนหรือปฏิกิริยาที่มีการเปลี่ยนแปลงเลขออกซิเดชัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
addition reaction | ปฏิกิริยาการเติม, 1. ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดจากสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปรวมเป็นสารใหม่เพียงชนิดเดียว 2. ปฎิกิริยาเคมีที่เกิดจากโมเลกุลหรืออะตอมรวมเป็นโมเลกุลเดียวกับสารอินทรีย์ประเภทไม่อิ่มตัวตรงตำแหน่งพันธะคู่หรือพันธะสาม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
chemical reaction | ปฏิกิริยาเคมี, การเปลี่ยนแปลงของสารเกิดเป็นสารใหม่ที่มีสมบัติแตกต่างไปจากเดิม ในการเกิดปฏิกิริยาเคมีนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานด้วย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
homogeneous reaction | ปฏิกิริยาเนื้อเดียว, ปฏิกิริยาเคมีที่สารเข้าทำปฏิกิริยาและสารที่เป็นผลของปฏิกิริยามีวัฏภาคเดียวกัน เช่น HCl(aq) + NaOH(aq) ______> NaCl(aq) + H2O(aq) [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
heterogeneous reaction | ปฏิกิริยาเนื้อผสม, ปฏิกิริยาเคมีที่สารเข้าทำปฏิกิริยาและสารที่เป็นผลของปฏิกิริยามีวัฏภาคต่าง ๆ กัน อาจมี 2 หรือ 3 วัฎภาครวมกันอยู่ในระบบ เช่น C(s) +O2(g) _______>CO2(g) [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
reversible reaction | ปฏิกิริยาผันกลับ, ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในระบบปิดที่มีทั้งปฏิกิริยาไปข้างหน้าและปฏิกิริยาย้อนกลับเกิดขึ้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
reduction reaction | ปฏิกิริยารีดักชัน, ปฏิกิริยาเคมีที่ไอออน อะตอมหรือโมเลกุลของสารมีการรับอิเล็กตรอนหรือมีเลขออกซิเดชันลดลง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
charge | การประจุไฟ, การผ่านไฟฟ้ากระแสตรงเข้าไปในเซลล์ไฟฟ้าแบบทุติยภูมิเพื่อทำให้แผ่นโลหะที่ใช้เป็นขั้วไฟฟ้าอยู่ในสภาพที่จะสามารถเกิดปฏิกิริยาเคมีได้เองและให้พลังงานไฟฟ้าออกมาได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
activation energy | พลังงานก่อกัมมันต์, พลังงานปริมาณน้อยที่สุดที่โมเลกุลของสารตั้งต้นจำเป็นต้องมีหรือได้รับ จึงจะสามารถเกิดปฏิกิริยาเคมีได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
photolysis | โฟโตลิซิส, กระบวนการแยกสลายสารประกอบ หรือการกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาเคมีโดยพลังงานแสง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
valence electron | เวเลนซ์อิเล็กตรอน, อิเล็กตรอนที่อยู่ในระดับพลังงานนอกสุดของอะตอมเป็นอิเล็กตรอนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีของธาตุนั้น ๆ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
synthetic substance | สารสังเคราะห์, สารที่ได้จากปฏิกิริยาเคมีนำมาใช้ประโยชน์เพื่อทดแทนสารจากธรรมชาติซึ่งอาจมีปริมาณไม่เพียงพอ หรือคุณภาพไม่เหมาะสม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
acetylene [ ethyne ] | อะเซทิลีน, แก๊สชนิดหนึ่งติดไฟง่ายไม่มีสี ไม่มีกลิ่น สูตรเคมีคือ C2H2 เตรียมได้จากปฏิกิริยาเคมีระหว่างแคลเซียมคาร์ไบด์กับน้ำ หรือได้จากการแตกสลายโมเลกุลของไฮโดรคาร์บอนโมเลกุลใหญ่โดยอาร์กไฟฟ้าใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น จุดตะเกียงให้แสงสว่าง เชื่อโลหะ บ่มผลไม้ เป็นสารตั้ง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
rate of reaction | อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี, ปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นหรือปริมาณของสารตั้งต้นที่ลดลงต่อหน่วยเวลาอัตราการเกิดปฏิกิริยามี 2 ลักษณะ คือ อัตราการเกิดปฏิกิริยาขณะใดขณะหนึ่งกับอัตราการเกิดปฏิกิริยาเฉลี่ย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
indicator | อินดิเคเตอร์, สารที่บ่งชี้สมบัติบางอย่างในปฏิกิริยาเคมีโดยการเปลี่ยนสีหรือสมบัติบางอย่างที่มองเห็นได้ เช่น อินดิเคเตอร์สำหรับปฏิกิริยากรด-เบส จะเปลี่ยนเป็นสีหนึ่งในกรดและเป็นอีกสีหนึ่งในเบส หรือบางชนิดเปลี่ยนเป็นสีต่าง ๆ ตามช่วง pH ของสารละลายนอกจากนี้ยังมีอินดิเคเตอร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
organic chemistry | อินทรีย์เคมี, วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมี สมบัติและการเกิดเป็นสารประกอบของสารอินทรีย์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
ozone | โอโซน, ออกซิเจนรูปหนึ่ง ในแต่ละโมเลกุลจะมี 3 อะตอม เป็นแก๊สไม่มีสี มีความว่องไวต่อการทำปฏิกิริยา จุดเดือด -112.4°C จุดหลอมเหลว - 249.7°C มีกลิ่นเฉพาะตัว ใช้เป็นตัวเติมออกซิเจนในปฏิกิริยาเคมี [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
accumulator | หม้อสะสมไฟฟ้า, เซลล์ไฟฟ้าแบบทุติยภูมิซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าชนิดอาศัยปฏิกิริยาเคมี หลังจากใช้ไฟฟ้าไปบ้างแล้วก็สามารถประจุไฟฟ้ากลับคืนได้ โดยการผ่านไฟฟ้ากระแสตรงจากแหล่งกำเนิดอื่นที่มีความต่างศักย์สูงกว่าเข้าไปในทิศทางตรงข้าม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
heat of reaction | ความร้อนของปฏิกิริยา, ปริมาณความร้อนที่ระบบคายออกหรือดูดเข้าเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมี [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
catalysis | คะตะลิซิส, กระบวนการที่ทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีมีการเปลี่ยนแปลงโดยการเติมตัวเร่งปฏิกิริยา [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
law of conservation of mass | กฎทรงมวล, กฎเกี่ยวกับมวลของสารซึ่งกล่าวว่า ผลรวมของมวลสารทั้งหมดภายในระบบปิดมีค่าคงตัวหมายความว่า มวลสารจะไม่สูญหายไปหรือเกิดขึ้นใหม่ ในปฏิกิริยาเคมี มวลของสารก่อนเกิดปฏิกิริยาจะเท่ากับมวลของสารหลังเกิดปฏิกิริยา [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
mechanism of a reaction | กลไกของปฏิกิริยา, วิธีการแสดงว่าปฏิกิริยาเคมีหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งอาจอธิบายได้โดยใช้สมการเคมีหลาย ๆ สมการ เช่น ปฏิกิริยาระหว่างไฮโดรเจน(H) กับโบรมีน(Br) เกิดเป็นไฮโดรเจนโบรไมด์(HBr) อาจอธิบายกลไกของปฏิกิริยาโดยใช้สมการเคมีต่ง ๆ ดังนี้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
chemical oxygen demand (COD) | ความต้องการออกซิเจนทางเคมี (ซีโอดี), ปริมาณของออกซิเจนที่ใช้ทำปฏิกิริยาเคมีในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ ค่าซีโอดีเป็นเกณฑ์อย่างหนึ่งในการวัดคุณภาพของน้ำ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
chemosynthesis | การสังเคราะห์ทางเคมี, กระบวนการสร้างอาหารของสิ่งมีชีวิตบางชนิดโดยใช้พลังงานจากปฏิกิริยาเคมี [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Interferents | สารรบกวนปฏิกิริยาเคมี [การแพทย์] |