ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: ประเทศ , -ประเทศ - |
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่ กฎหมาย | น. กฎเกณฑ์ที่ผู้มีอำนาจตราขึ้นเพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตามเป็นการทั่วไป ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามย่อมได้รับผลร้าย กฎหมายอาจตราขึ้นเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ หรือเพื่อใช้ในการบริหารประเทศ กฎหมายอาจเกิดจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือกันก็ได้. | กรมท่า ๑ | (กฺรม-) น. กรมพระคลังส่วนที่ทำหน้าที่ติดต่อกับต่างชาติเรื่องการค้าขายและการต่างประเทศ ต่อมาเพิ่มหน้าที่ปกครองหัวเมืองชายทะเล, พระคลัง หรือ พระคลังกรมท่า ก็เรียก. (ดู กรมพระคลัง ประกอบ). | กรมท่ากลาง | น. ส่วนราชการในสังกัดกรมพระคลัง ที่ตั้งขึ้นภายหลังกรมท่าซ้าย กรมท่าขวา ทำหน้าที่รวมงานการติดต่อกับชาติตะวันตกเรื่องการค้าขายและการต่างประเทศ เช่น โปรตุเกส ฮอลันดา อังกฤษ สเปน ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา. | กรมท่าขวา | น. ส่วนราชการในสังกัดกรมพระคลัง ทำหน้าที่ติดต่อกับต่างชาติเรื่องการค้าขายและการต่างประเทศ กับชาติที่อยู่ทางด้านขวาหรือทางตะวันตกของอ่าวไทย เช่น อินเดีย อิหร่าน รวมทั้งชาติที่เข้ามาติดต่อทางด้านนั้น. | กรมพระคลัง | น. กรมใหญ่กรมหนึ่งในจตุสดมภ์ มีเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการคลัง การต่างประเทศ และการค้ากับต่างประเทศ รวมทั้งบังคับบัญชาศาลในสังกัดซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีความเกี่ยวข้องด้วยพระราชทรัพย์หลวง และคดีความต่างประเทศ, พระคลัง หรือ พระคลังกรมท่า ก็เรียก | กระต่าย ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Leporidae หูและขนยาว ในประเทศไทยมีเพียงชนิดเดียวที่อาศัยอยู่ในป่า คือ กระต่ายป่า ชนิด Lepus peguensis Blyth ขนสีนํ้าตาล ใต้หางสีขาว อาศัยอยู่ในโพรงดินเหมือนกระต่ายต่างประเทศ ที่นำมาเลี้ยงตามบ้านซึ่งมีหลายชนิดและหลายสี เช่น ชนิด Oryctolagus cuniculus (Linn). | ก่อการร้าย | น. เป็นฐานความผิดอาญา ที่ผู้กระทำก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อบุคคล ต่อทรัพย์สินอันเป็นสาธารณะ หรือต่อทรัพย์สินของรัฐหนึ่งรัฐใด หรือของบุคคลใดหรือต่อสิ่งแวดล้อมอันก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างสำคัญ โดยผู้กระทำมุ่งหมายเพื่อขู่เข็ญหรือบังคับรัฐบาลไทย รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ ให้กระทำหรือไม่กระทำการใดอันจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง หรือเพื่อสร้างความปั่นป่วนโดยให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ. | กองเกียรติยศ | น. กองทหารหรือตำรวจเป็นต้นที่จัดขึ้นเพื่อให้เป็นเกียรติแก่ประมุขของประเทศ บุคคลสำคัญ ศพทหารตำรวจ หรือสิ่งอื่น ๆ เช่น ธงชัยเฉลิมพล. | กังหันน้ำชัยพัฒนา | น. ชื่อเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอยแบบหนึ่ง เป็นอุปกรณ์บำบัดน้ำเสียชนิดหนึ่ง มีลักษณะการทำงานคล้ายกังหันวิดน้ำขึ้นเหนือผิวน้ำเพื่อเติมอากาศหรือออกซิเจนในแหล่งน้ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาและประดิษฐ์อุปกรณ์เติมอากาศขึ้นแล้วทรงมอบหมายมูลนิธิชัยพัฒนา ศึกษาวิจัยเพื่อทำต้นแบบพร้อมสนับสนุนงบประมาณให้กรมชลประทานสร้าง นำไปใช้งานตามแหล่งน้ำเสียทั่วประเทศ กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายการจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ ๓๑๒๗ และองค์กรนักประดิษฐ์โลกจากประเทศเบลเยียมได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลในฐานะที่ทรงสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม. | กันชน | น. เครื่องป้องกันการกระทบกระแทกด้านหน้าและด้านหลังรถยนต์, เรียกประเทศหรือรัฐที่กั้นอยู่ระหว่างดินแดนของ ๒ ประเทศ เพื่อมิให้พิพาทกันในเรื่องดินแดนและผลประโยชน์ ว่า ประเทศกันชน หรือ รัฐกันชน. | การเมือง | การบริหารประเทศเฉพาะที่เกี่ยวกับนโยบายในการบริหารประเทศ เช่น การเมืองระหว่างประเทศ ได้แก่การดำเนินนโยบายระหว่างประเทศ. | กุลา ๒ | ใช้เรียกชนต่างประเทศ เช่น เรียกชนชาติฝรั่ง ว่า กุลาขาว, เรียกชนชาติแขก ว่า กุลาดำ. | ไก่ไห้ | ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Opuntia ficusindica (L.) Mill. ในวงศ์ Cactaceae กิ่งแบนอวบ สีเขียว ไม่มีหนาม เป็นไม้ต่างประเทศ ปลูกกันเป็นไม้ประดับ, ว่านไก่ไห้ ก็เรียก. | ขันธาวาร | (-ทาวาน) น. ค่าย, กองทัพ, เช่น เสด็จถึงขันธาวารประเทศ (ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์). | ข้าวบาร์เลย์ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Hordeum vulgareL. ในวงศ์ Gramineae เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ ปลูกกันบ้างในภาคเหนือ เมล็ดใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเบียร์ และเป็นอาหารสัตว์. | ข้าวไรย์ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Secale cereale L. ในวงศ์ Gramineae เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ เมล็ดใช้ทำอาหารและเลี้ยงสัตว์. | ข้าวสาลี | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Triticum aestivum L. ในวงศ์ Gramineae เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ เมล็ดบดเป็นแป้ง เรียกว่า แป้งสาลี ใช้ทำขนมปังเป็นต้น. | ข้าวโอ๊ต | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Avena sativaL. ในวงศ์ Gramineae เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ เมล็ดใช้เป็นอาหาร. | ข้าวตอก ๒ | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Serissa japonica (Thunb.) Thunb. ในวงศ์ Rubiaceae ใบเล็กรูปไข่ เมื่อขยี้มีกลิ่นเหม็น ดอกสีขาวเล็ก ๆ เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ ปลูกเป็นไม้ดัดหรือไม้ประดับ. | เขตปลอดอากร | น. เขตพื้นที่ที่กำหนดไว้สำหรับการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกิจการอื่นที่เป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ โดยของที่นำเข้าไปในเขตดังกล่าวจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางอากรเป็นพิเศษ. | คีรีบูน | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Fringillidae เป็นนกที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ปากสั้นหนาแข็งแรง ลำตัวอ้วนป้อม คล้ายนกจาบปีกอ่อน ขนลำตัวมีหลายสี ขาค่อนข้างยาวบอบบาง กินเมล็ดพืช ถิ่นกำเนิดส่วนใหญ่อยู่ในเขตอบอุ่น เช่น ทวีปยุโรป ตอนเหนือของทวีปเอเชีย นิยมเลี้ยงในกรง ร้องเสียงไพเราะ เช่น ชนิดสีเหลือง [ Serinus pusillus (Pallas) ]. | เครื่องราชอิสริยาภรณ์ | น. สิ่งซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและบำเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือโปรดให้สร้างขึ้นสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการหรือส่วนพระองค์, เรียกเป็นสามัญว่า ตรา, ปัจจุบันหมายความรวมถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน และเหรียญที่ระลึกที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในโอกาสต่าง ๆ และที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามที่ทางราชการกำหนด. | แคว้น | เดิมหมายถึงประเทศ เช่น แคว้นมคธ แคว้นโกศล ในปัจจุบันหมายถึงเขตปกครองที่เป็นส่วนย่อยของประเทศ ใหญ่กว่าจังหวัด, รัฐ, เช่น แคว้นสิบสองจุไทย. | โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวทางแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับพระราชดำริไปพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการร่วมกันดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน หรือบรรเทาปัญหาต่าง ๆ ตามสภาพสังคมและภูมิประเทศ เดิมเรียกว่า โครงการตามพระราชดำริ มีสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เรียกย่อว่า กปร. มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการประสานงานโครงการ. | ชะเอม | ชื่อพรรณไม้ ๓ ชนิดในวงศ์ Leguminosae คือ ชะเอมไทยหรือชะเอมป่า ( Albizia myriophylla Benth .) เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เถามีรสหวาน ใช้ทำยาได้, ชะเอมเทศ ( Glycyrrhiza glabra L.) และ ชะเอมขาไก่ ( G. uralensis Fisch. ex DC.) เป็นไม้พุ่มต่างประเทศ รากมีรสหวานชุ่มคอ ใช้ทำยาได้. (ข. เฌีแอม ว่า ไม้หวาน). | ชาติ ๒, ชาติ- ๒ | (ชาด, ชาดติ-) น. ประเทศ เช่น รู้คุณชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ | ซิว | น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายสกุลในวงศ์ Cyprinidae มีขนาดเล็ก ปากเล็กเชิดขึ้น ตาโต เกล็ดโตหลุดง่าย อาศัยใกล้ผิวนํ้า เมื่อถูกจับขึ้นพ้นน้ำแล้วจะตายได้ง่าย ที่รู้จักกันทั่วไปและพบทั่วประเทศ ได้แก่ ซิวหนวดยาว ( Esomus metallicus Ahl) ซิวอ้าว อ้ายอ้าว อ้าว หรือ ซิวควาย ในสกุล Luciosoma, ซิวใบไผ่ ในสกุล Danio, ซิวหัวตะกั่ว ในสกุล Chela และ ซิว ในสกุล Rasbora | ดอลลาร์ | น. ชื่อหน่วยเงินตราที่ใช้เรียกในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย. | ด่าน | ทางผ่าน เช่น ด่านช้าง, ทางผ่านพรมแดนระหว่างประเทศ เช่น ด่านเจดีย์สามองค์ ด่านสิงขร. | ด้าว | น. แดน เช่น ปางเสด็จประเวศด้าว ชลาลัย (กาพย์เห่เรือ), ประเทศ เช่น คนต่างด้าว | ดุลการค้า | (ดุน-) น. ความต่างกันระหว่างมูลค่าของสินค้าที่ส่งออกนอกประเทศกับสินค้าที่นำเข้ามาในประเทศ, ถ้ามูลค่าของสินค้าที่ส่งออกสูงกว่ามูลค่าของสินค้าที่นำเข้ามาในประเทศ เรียกว่า ดุลการค้าได้เปรียบ, ถ้ามูลค่าของสินค้าที่นำเข้าสูงกว่ามูลค่าของสินค้าที่ส่งออก เรียกว่า ดุลการค้าเสียเปรียบ. | ดุลการชำระเงิน | (ดุน-) น. ความต่างกันระหว่างปริมาณเงินที่ส่งออกนอกประเทศกับปริมาณเงินที่นำเข้ามาในประเทศ, ถ้าปริมาณเงินที่นำเข้ามาในประเทศสูงกว่าปริมาณเงินที่ส่งออกนอกประเทศ เรียกว่า ดุลการชำระเงินเกินดุล, ถ้าปริมาณเงินที่ส่งออกนอกประเทศสูงกว่าปริมาณเงินที่นำเข้าในประเทศ เรียกว่า ดุลการชำระเงินขาดดุล. | ต่าง ๒ | อื่น เช่น ต่างประเทศ ต่างดาว | ตาลปัตรฤๅษี | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Opuntia cochenillifera (L.) Mill. ในวงศ์ Cactaceae กิ่งแบนอวบ ใบลดขนาดลงเป็นกระจุก ขนค่อนข้างแข็ง เป็นไม้ต่างประเทศ ปลูกเป็นไม้ประดับ. | ทุงงะ | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดกลางชนิด Neolissochilus dukai (Day) ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาวเรียว แบนข้าง ปากเล็กอยู่ตํ่า บริเวณหัวตอนหน้าหรือก่อนถึงตามีตุ่มเนื้อขนาดเล็กกระจายอยู่ เกล็ดใหญ่ มีจุดสีดำที่โคนครีบหางเห็นได้ชัดในปลาขนาดเล็ก พบอาศัยอยู่ตามเขตต้นนํ้าลำธารบริเวณภูเขาทั่วประเทศ ที่ดอยหัวมด ในเขตของภาคเหนือ เรียก แป้งแช่. | ทูต | น. ผู้นำข้อความไปแจ้งทั้ง ๒ ฝ่าย, ผู้รับใช้ไปเจรจาแทน, ผู้สื่อสาร, ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนไปยังต่างประเทศ เพื่อเจรจาหรือเจริญสัมพันธไมตรีเป็นทางราชการ. | เทศ, เทศ-, เทศะ | (เทด, เทดสะ-, เทสะ) ว. ต่างประเทศ เช่น เครื่องเทศ ม้าเทศ. | นอก | ว. พ้นออกไปจากภายในหรือร่วมใน เช่น นอกเรือน นอกประเทศ นอกกาย นอกตำแหน่ง, ต่างประเทศ เช่น ของนอก ไปนอก, เรียกเขตที่พ้นจากเมืองหลวงออกไป ว่า บ้านนอก, เรียกประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกา ว่า เมืองนอก, เรียกผลไม้ที่เอามาจากนอกกรุงหรือเขตปริมณฑล เช่น เงาะนอก ทุเรียนนอก, คู่กับ ผลไม้ในกรุงหรือเขตปริมณฑล เช่น เงาะสวน ทุเรียนสวน. | นักเรียนนอก | น. ผู้ที่ไปศึกษามาจากต่างประเทศ มีประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกาเป็นต้น. | เบ็ดเสร็จ | เรียกภาษีสิ่งของต่าง ๆ นอกจากข้าวที่ส่งออกไปนอกประเทศ ว่า ภาษีเบ็ดเสร็จ. | ใบขนสินค้า | น. เอกสารแสดงรายการสินค้า อันได้แก่ ชนิด คุณภาพ ปริมาณ นํ้าหนัก ราคาศุลกากร ซึ่งผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกต้องยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อนำของใด ๆ เข้ามาในประเทศ หรือส่งของใด ๆ ออกนอกประเทศ. | ประเทศ | คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้วความหมายคงเดิม เช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ. | ประเทศกันชน | น. ประเทศหรือรัฐที่กั้นอยู่ระหว่างดินแดนของ ๒ ประเทศ เพื่อมิให้พิพาทกันในเรื่องดินแดนและผลประโยชน์, รัฐกันชน ก็เรียก. | ปาล์ม | น. ชื่อเรียกพืชในวงศ์ Palmae ชนิดที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น ปาล์มขวด [ Roystonea regia (Kunth) O.F. Cook ] ปลูกเป็นไม้ประดับ, ปาล์มนํ้ามัน ( Elaeis guineensis Jacq.) ปลูกใช้ผลและเมล็ดทำนํ้ามัน. | ผึ้ง ๑ | น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Apidae มีปีกบางใส ๒ คู่ ปีกคู่หลังเล็กกว่าปีกคู่หน้า ปากใช้ทั้งกัดอาหารและดูดกินของเหลวได้ ปล้องท้องที่อยู่ติดกับส่วนอกเล็กมาก มีขนปกคลุมตามลำตัว เป็นแมลงสังคม อยู่รวมกันเป็นฝูง แบ่งชั้นวรรณะเป็นผึ้งนางพญา ผึ้งผู้ และผึ้งงาน ผึ้งงานมีถุงสำหรับเก็บเกสรดอกไม้ที่ขาหลัง และมีเหล็กในสำหรับต่อยปล่อยน้ำพิษ ทำให้เจ็บปวด ชนิดที่รู้จักกันแพร่หลายในประเทศไทย มี ๕ ชนิด เป็นผึ้งพื้นเมืองของประเทศไทย ๔ ชนิด คือ ผึ้งหลวง ( Apis dorsataFabricius) ผึ้งโพรง ( A. cerana Fabricius) ผึ้งมิ้ม ( A. florea Fabricius) และผึ้งม้าน ( A. andrenitormis Smith) ส่วนผึ้งที่เลี้ยงกันทั่วไปนำมาจากต่างประเทศ คือผึ้งพันธุ์ (A. mellifera Linn. ), เผิ้ง ก็เรียก. | เผด็จการ | น. การใช้อำนาจบริหารเด็ดขาด, เรียกลัทธิหรือแบบการปกครองที่ผู้นำคนเดียวหรือบุคคลกลุ่มเดียวใช้อำนาจอย่างเด็ดขาดในการบริหารประเทศ ว่า ลัทธิเผด็จการ, เรียกผู้ใช้อำนาจเช่นนั้น ว่า ผู้เผด็จการ. | ฝรั่ง ๑ | คำประกอบชื่อสิ่งของบางอย่างที่มาจากต่างประเทศ ซึ่งมีลักษณะคล้ายของไทย เช่น ขนมฝรั่ง ละมุดฝรั่ง มันฝรั่ง ตะขบฝรั่ง ผักบุ้งฝรั่ง แตรฝรั่ง. | พระราชกำหนด | น. รูปแบบของกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นให้มีผลใช้บังคับไปพลางก่อนตามคำแนะนำของฝ่ายบริหาร เนื่องจากเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ ตามเงื่อนไขที่กำหนดให้รัฐธรรมนูญ พระราชกำหนดเมื่อได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้วมีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติ. | พสกนิกร | (พะสกกะนิกอน, พะสกนิกอน) น. คนที่อยู่ในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นพลเมืองของประเทศนั้นหรือคนต่างด้าวที่มาอาศัยอยู่ก็ตาม. | เมือง | น. แดน เช่น เมืองมนุษย์ เมืองสวรรค์ เมืองบาดาล, ประเทศ เช่น เมืองไทย เมืองจีน เมืองลาว |
|
| | เครื่องราชอิสริยาภรณ์ | สิ่งซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและบําเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือโปรดให้สร้างขึ้นสําหรับพระราชทานเป็น บำเหน็จความชอบในราชการหรือส่วนพระองค์, เรียกเป็นสามัญว่า ตรา, ปัจจุบันหมายความรวมถึงเครื่องราช-อิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำ ความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน และเหรียญที่ระลึกที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในโอกาสต่าง ๆ และที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามที่ทางราชการกำหนด [ศัพท์พระราชพิธี] | International Energy Agency | องค์การพลังงานระหว่างประเทศ, Example: ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1974 เพื่อที่จะติดตามสถานการณ์พลังงานของโลก ส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีระหว่างประเทศผู้ผลิตและประเทศผู้ใช้พลังงาน และจัดทำแนวนโยบายสำหรับการจัดหาพลังงานในสถานการณ์คับขัน [ปิโตรเลี่ยม] | European Patent Convention | สนธิสัญญาของ 19 ประเทศ ในกลุ่มทวีปยุโรป, Example: สามารถยื่นขอรับสิทธิบัตรครั้งเดียวในระบบนี้ได้ เมื่อได้รับอนุมัติจะได้รับสิทธิแบบอัตโนมัติจากแต่ละประเทศที่ระบุในการยื่นทันที [ทรัพย์สินทางปัญญา] | International Patent Application | คำขอรับสิทธิบัตรเดียว ที่สามารถยื่นในระดับนานาชาติ 142 ประเทศ, คำขอรับสิทธิบัตรเดียว ที่สามารถยื่นในระดับนานาชาติ 142 ประเทศ, Example: ตามข้อตกลง PCT โดยผ่านจากหมายเลขเดียว ก่อนที่จะเข้าสู่ระบบตรวจสอบสิทธิบัตรของแต่ละประเทศ [ทรัพย์สินทางปัญญา] | กฎหมาย | กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม, Example: คำที่มักเขียนผิด คือ กฏหมาย [คำที่มักเขียนผิด] | Foreign investment fund | กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ, Example: กองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายหน่วยลงทุนในประเทศไปลงทุนในต่างประเทศ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้พิจารณาอนุญาตให้มีการนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศได้ในวงเงินจำกัดในแต่ละปี ต้องนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศทั้งจำนวน เว้นแต่เป็นกรณีเงินฝากในประเทศ เพื่อสำรองเงินไว้สำหรับการดำเนินงานของกองทุน รอการลงทุน หรือรักษาสภาพคล่องของกองทุน เป็นต้น [ตลาดทุน] | Country fund | กองทุนรวมสำหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ, Example: กองทุนรวมที่เสนอขายหน่วยลงทุนทั้งหมดแก่บุคคลซึ่งไม่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย [ตลาดทุน] | Digital Divide | ความเหลื่อมล้ำ (ช่องว่าง) ในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้, ความเหลื่อมล้ำระหว่างประชากรกลุ่มต่างๆ ภายในประเทศ ที่มีโอกาสในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้แตกต่างกัน เช่น ระหว่างประชากรในเมือง ใหญ่กับประชากรในชนบท ระหว่างกลุ่มประชากรที่มีเพศ อายุ ต่างกัน ระหว่างผู้ที่มีระดับการศึกษาต่างกัน ระหว่างผู้ที่มีเชื้อชาติและวัฒนธรรมที่ต่างกัน รวมถึงโอกาสในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ของผู้พิการ ที่อาจน้อยกว่าบุคคลทั่วไปอีกด้วย หรืออาจะไปเปรียบเทียบความเหลื่อมล้ำระหว่างคนในประเทศต่างๆ เพราะประเทศที่มั่งคั่ง จะมีความพร้อมมากกว่าประเทศยากจน [Assistive Technology] | Arrangement Regarding International Trade in Textiles (1973) | ข้อตกลงการค้าสิ่งทอระหว่างประเทศ (ค.ศ. 1973) [TU Subject Heading] | Convention on International Civil Aviation (1944) | อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ค.ศ. 1944) [TU Subject Heading] | Convention on the Recognition and Enforcement of Foreign Arbitral Award (1958) | อนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับและใช้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ (ค.ศ. 1958) [TU Subject Heading] | International law (Islamic law) | กฎหมายระหว่างประเทศ (กฎหมายอิสลาม) [TU Subject Heading] | Investments, Foreign (International law) | การลงทุนของต่างประเทศ (กฎหมายระหว่างประเทศ) [TU Subject Heading] | Rome Statute of the International Criminal Court (1998) | ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (ค.ศ. 1998) [TU Subject Heading] | United Nations Convention on Contracts for the International Sale of Goods (1980) | อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ (ค.ศ.1980) [TU Subject Heading] | International Monetary Fund | กองทุนการเงินระหว่างประเทศ, Example: กองทุนเพื่อสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศ ในเรื่องของการเงิน ก่อตั้งขึ้นโดยข้อตกลงแห่งเมืองเบรตตันวูดส์ (ดู Bretton Woods Agreement) เมื่อ พ.ศ. 2487 และได้เริ่มดำเนินงานเมื่อ พ.ศ. 2490 มีหน้าที่ดูแลการประพฤติ ปฏิบัติในทางการเงินระหว่างประเทศ และให้กู้ยืมเงินทุนแก่ประเทศที่มีปัญหาดุลการชำระเงินทั้งในระยะสั้นและ ระยะปานกลาง นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ ยกเลิกข้อจำกัดในการแลกเปลี่ยนเงินตรา การรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนและอำนวยความสะดวกในการชำระเงินระหว่าง ประเทศ มีสมาชิกทั่วโลก 181 ประเทศ (ปี 2538) รวมทั้งประเทศไทย [สิ่งแวดล้อม] | Gross Domestic Product (GDP) | ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ, Example: การวัดผลิตผลของชาติที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลา 1 ปี เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (ดู GNP) แต่ที่แตกต่างกันคือ การวัดผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) จะพิจารณาเฉพาะผลิตผลที่ได้มีการผลิตขึ้นภายในประเทศเท่านั้น ไม่ว่าผลิตผลนั้นจะเกิดจากคนในประเทศหนือชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาประกอบการในประเทศนั้น [สิ่งแวดล้อม] | Emigrant | ผู้ย้ายถิ่นออกนอกประเทศ หรือผู้ย้ายถิ่นออก (out-migrant), Example: บุคคลที่ถิ่นที่อยู่เมื่อตอนเริ่มต้นและตอนสุด ท้าย ของช่วงเวลาที่ทำการศึกษาแตกต่างกัน โดยพิจารณาในแง่ของถิ่นเดิม [สิ่งแวดล้อม] | Topography | ลักษณะภูมิประเทศ, Example: สภาพทั่ว ๆ ไป ของผิวโลก ซึ่งประกอบด้วยสิ่งที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติและที่มนุษย์ดัดแปลงขึ้น อันได้แก่ความสูงต่ำของผิวโลก ทางน้ำและแหล่งน้ำ ถนน เมือง เป็นต้น สิ่งที่อยู่บนผิวโลกแต่ละอย่าง เป็นต้นว่า ภูเขา หรือหุบเขา ก็เรียกว่า ลักษณะภูมิประเทศ [สิ่งแวดล้อม] | Toposequence | ลำดับภูมิประเทศ, Example: สภาพภูมิประเทศที่มีความสูงต่ำแตกต่างกัน อันเนื่องจากการทับถมของตะกอนหรือการกัดเซาะผุผัง มีผลทำให้สภาพดินในแต่ละระดับมีลักษณะแตกต่างกัน เช่น สภาพการระบายน้ำ สีดิน เนื้อดิน และอื่น ๆ [สิ่งแวดล้อม] | Singapore Inter-bank Offered Rate (SIBOR) | อัตรากู้ยืมเงินระหว่างธนาคารแห่งประเทศ สิงคโปร์, Example: อัตราดอกเบี้ยการให้กู้ยืมเงินในตลาดเงินกู้ ระยะสั้น ระหว่างธนาคารของสิงคโปร์ ซึ่งอัตราให้กู้ยืมเงินนี้ จะอิงอัตรากู้ยืมระหว่างธนาคารที่ลอนดอนเป็นหลัก (ดู Libor) [สิ่งแวดล้อม] | ASEAN Coordinating Council | คณะมนตรีประสานงานอาเซียน ประกอบด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ทำหน้าที่ในการเตรียมการประชุมของที่ประชุมสุดยอดอาเซียน และประสานงานกับคณะมนตรีประชาคมอาเซียนต่าง ๆ เพื่อความสอดคล้องกันตามนโยบาย ประสิทธิภาพ และความร่วมมือระหว่างกัน [การทูต] | Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy | ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี ? เจ้าพระยา ? แม่โขง ACMECS หรือชื่อเดิม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (ECS : Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ACMECS เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 1 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยผู้นำทั้ง 4 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการ ลงทุน ความร่วมมือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและยกระดับความ เป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเปิดกว้างให้นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้มีส่วนร่วมเป็น หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) ในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย * เวียดนามร่วมเป็นสมาชิก ACMECS เมื่อ 10 พฤษภาคม 2547 สถานะล่าสุด ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2547 ที่จังหวัดกระบี่ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษและการประชุม รัฐมนตรี ACMECS อย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งการประชุมร่วมกับ Development Partners (ผู้แทนจากออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย) ซึ่งการประชุมประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง สมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศได้ร่วมกันแสดงความเป็น เอกภาพ โดยยืนยันเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการตามกรอบความร่วมมือ ACMECS อย่าง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อผู้แทนของ Development Partners รวมทั้งมีการหารือถึงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการระหว่างกันอย่างเป็น รูปธรรม นอกจากนี้ ยังสามารถมีข้อสรุปที่สำคัญๆ เกี่ยวกับกลไกการประสานงานระหว่างกันซึ่งจะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมความร่วม มือของ ACMECS มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป * ไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ [การทูต] | Anti-dumping duty | ภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดที่เรียกเก็บจากผู้นำเข้าสินค้า จากต่างประเทศ เนื่องจากผู้ส่งออกในต่างประเทศได้ส่งสินค้านั้นเข้ามา เพื่อประโยชน์ในทางพาณิชย์ในราคาที่ต่ำกว่าราคาจำหน่ายในประเทศของตน หรือในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต [การทูต] | Asian Development Bank | ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2509 มีสมาชิกทั้งหมด 59 ประเทศ (สถานะเมื่อ เดือนตุลาคม 2543) แบ่งเป็นประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 43 ประเทศ (รวมทั้งไทย) และประเทศที่อยู่นอกภูมิภาคอีก 16 ประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ [การทูต] | ASEAN-EU Ministerial Meeting | การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน-สหภาพยุโรป เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิก อาเซียน 10 ประเทศ กับรัฐมนตรีต่างประเทศของสหภาพยุโรป 15 ประเทศ จัดขึ้นทุก 18-24 เดือน เพื่อหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็นทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่าง ประเทศ และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน [การทูต] | ASEAN Free Trade Area | เขตการค้าเสรีอาเซียน จัดตั้งขึ้นตามมติของที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 เพื่อส่งเสริม การค้าเสรีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยให้มีการลดอัตราภาษีศุลกากรที่เท่ากันตามระยะเวลาที่กำหนด เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 โดยให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ลดอัตราภาษีศุลกากรให้เหลือร้อยละ 0-5 ภายในปี พ.ศ. 2546 และมีระยะเวลาผ่อนผันสำหรับประเทศสมาชิกใหม่อีก 4 ประเทศ ตามช่วงเวลาก่อน/หลังที่เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน [การทูต] | African Union | สหภาพแอฟริกา สหภาพแอฟริกาซึ่งเป็นความร่วมมือระดับภูมิภาคที่สำคัญ ของทวีป แอฟริกา ได้ก่อกำเนิดมาจากองค์การเอกภาพแอฟริกา (Organization of African Unity ? OAU) เมื่อปี พ.ศ. 2545 โดยได้ปรับปรุงกฎบัตรเดิมขององค์การเอกภาพแอฟริกา ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในการจัดตั้งกองกำลังรักษาสันติภาพและสามารถแทรกแซงกิจการของประเทศ สมาชิกโดยผ่านกองกำลังรักษาสันติภาพ กลไกที่สำคัญของสหภาพ แอฟริกาที่เพิ่มขึ้นอีกประการหนึ่งคือ ธนาคารกลาง นอกจากนี้ นโยบายสำคัญที่สหภาพแอฟริกาเน้น คือ การพัฒนาเศรษฐกิจและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกัน และได้ใช้โครงการ The New Partnership for Africa?s Development หรือ NEPAD เป็นหลักในการดำเนินการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคแอฟริกา ซึ่งมุ่งเน้นการขจัดความยากจน [การทูต] | Australia-Thailand Business Council | สภาธุรกิจไทย-ออสเตรเลีย เป็นเวทีความร่วมมือด้านธุรกิจระหว่าง 2 ประเทศ [การทูต] | aide-mémoire | บันทึกช่วยจำ " 1. เป็นเอกสารที่สร้างข้อผูกพัน ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของสัญญา 2. ในทางการเมืองระหว่างประเทศ เป็นเอกสารที่ช่วยย้ำประเด็นที่ได้มาพบและพูดไว้ " [การทูต] | Aide-memoire หรือ Memoire | แปลตามตัวอักษรว่า ช่วยความจำ เป็นหนังสือโต้ตอบทางการทูตประเภทหนึ่ง คือ บันทึกสังเขปของการเจรจาที่ได้กระทำกันเสร็จสิ้นแล้ว บันทึกช่วยจำเช่นนี้ไม่มีการกล่าวนำเป็นทางการและไม่มีการลงชื่อ ซึ่งจะมอบให้แก่กันเมื่อเสร็จการเจรจากันแล้ว ความมุ่งหมายของบันทึกนี้คือ เพื่อบันทึกข้อเท็จจริงไว้เป็นหลักฐานซึ่งผู้รับบันทึกทราบดีแล้วบันทึกช่วย จำก็คือ บันทึกสรุปการสนทนาทางการทูตอย่างไม่เป็นทางการ ระหว่างผู้แทนหรือพนักงานทางการทูตกับหัวหน้าหรือพนักงานของกระทรวงการต่าง ประเทศ จุดประสงค์ตามที่ชื่อบ่งอยู่แล้วว่า เป็นการสรุปประเด็นต่าง ๆ ในการสนทนาเพื่อเตือนความจำนั้นเอง ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ทางการทูตจะมอบบันทึกนี้ไว้กับกระทรวงการต่างประเทศ ในบันทึกนั้นบรรทัดแรกจะระบุว่าใครเป็นผู้ส่งและใครเป็นผู้รับบันทึก ผู้ส่งบันทึกจะต้องลงชื่อย่อกำกับบันทึกไว้ด้วยบันทึกช่วยจำอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า pro memoria โดยปกติภาษาที่ใช้ใน pro memoria จะมีลักษณะถ้อยคำเป็นทางการมากกว่า aide-memoire [การทูต] | Agreement for the Application of the Bolivarian Alternative for the Peoples of our America and the People’s Trade Agreements | ความตกลงอัลบา เกิดขึ้นจากแนวความคิดของประธานาธิบดี Hugo Cha'vez แห่งเวเนซุเอลาหลังประกาศถอนตัวจากการเป็นสมาชิกประชาคมแอนเดียนเพื่อแสดง ความไม่พอใจที่โคลัมเบียและเปรูจัดทำความตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐฯ ข้อตกลง ALBA จึงเป็นทางเลือกในการจัดทำความตกลงทางการค้าตามแนวสังคมนิยมแทนการจัดทำเขต การค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกา (FTAA) ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 3 ประเทศ ได้แก่ เวเนซุเอลา คิวบา และโบลิเวีย [การทูต] | Ambassador | เอกอัครราชทูต - Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary : เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม หมายถึง เอกอัครราชทูตที่รัฐผู้ส่งแต่งตั้งไปยังรัฐผู้รับ โดยมอบหมายอำนาจให้ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนของรัฐผู้ส่ง ในกรณีที่เอกอัครราชทูตมิได้มีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้รับ เรียกว่า Non-resident Ambassador - Ambassador-Designate : ว่าที่เอกอัครราชทูตประจำรัฐผู้รับ หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต แต่ยังมิได้ยื่นสาส์นตราตั้งต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ - Ambassador-at-Large : เอกอัครราชทูตผู้แทนพิเศษ หมายถึง ผู้แทนพิเศษของกระทรวงการต่างประเทศที่มีสิทธิและสถานะเทียบเท่าเอกอัคร ราชทูตผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลงานและกิจการเฉพาะกิจ หรือเฉพาะเรื่องในต่างประเทศเป็นครั้งคราว - Ambassador attached to the Ministry of Foreign Affairs : เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ หมายถึง บุคคล ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต มีภารกิจดูแลกิจการภายในของกระทรวงการต่างประเทศ ตามที่ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงการต่างประเทศ - Resident Ambassador : เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทย หมายถึง เอกอัครราชทูตของไทยที่ได้รับการแต่งตั้งให้ประจำต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ แต่ยังคงมีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้ส่ง เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทยนี้ จะเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในรัฐผู้รับเป็นครั้งคราว [การทูต] | ASEAN-Mekong Basin Development Cooperation | ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอาเซียน-ลุ่มน้ำโขง เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ และจีน เพื่อพัฒนาลุ่มน้ำโขง [การทูต] | Amendments to the Charter of the United Nations | การแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติ กฎบัตรของสหประชาชาตินั้น เปิดโอกาสให้มีการแก้ไขได้โดยสมัชชาสหประชาชาติหรือโดยที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ของสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งอาจจะประชุมกัน ณ วันเวลาและสถานที่ตามแต่จะมีการตกลงกัน โดยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ส่วนของสมัชชาใหญ่ และโดยคะแนนเสียงของสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงใด ๆ 7 เสียง ในที่ประชุมใหญ่นั้น สมาชิกแต่ละประเทศของสหประชาชาติจะมีเสียงลงคะแนน 1 เสียงการที่จะแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติให้เป็นผลสำเร็จ จะต้องได้เสียงสนับสนุนจากสมาชิกเป็นจำนวน 2 ใน 3 ส่วนของสมาชิกทั้งหมดในสมัชชาหรือจากที่ประชุมใหญ่ เมื่อการแก้ไขกฎบัตรเป็นที่รับรองแล้ว จะมีผลบังคับต่อสมาชิกทั้งหมดของสหประชาชาติ ก็ต่อเมื่อได้รับการสัตยาบันจากสมาชิก 2 ใน 3 ส่วนของจำนวนทั้งหมด รวมทั้งการรับรองจากสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงด้วยอาทิเช่น ในสมัยประชุมที่ 18 ของสมัชชาใหญ่ การแก้ไขกฎบัตรได้รับการรับรองเห็นชอบด้วย โดยผ่านข้อมติที่ 1991 (XVII) ในการแก้ไขครั้งนี้ได้เพิ่มจำนวนสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงจาก 11 เป็น 15 คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมจาก 18 เป็น 27 ประเทศ การแก้ไขดังกล่าวได้รับการลงมติรับรองเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1963 ในปัจจุบันนี้ ประเทศสมาชิกเป็นจำนวนมากกำลังเรียกร้องให้มีการปรับจำนวนสมาชิกถาวรของคณะ มนตรีความมั่นคงเสียใหม่ [การทูต] | Amnesty International | องค์การนิรโทษกรรมสากล องค์การนี้เริ่มต้นจากเป็นขบวนการเล็ก ๆ ก่อน เพื่อทำหน้าที่ประท้วง (Protest) แต่ภายในเวลาไม่นานนัก ได้ขยายตัวออกเป็นองค์การ เพื่อให้สมกับเป้าหมายและภารกิจที่ต้องปฏิบัติเพิ่มขึ้นมากมาย คติดั้งเดิมของการรณรงค์ระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนบรรดาบุคคลที่ต้องถูกคุม ขังอยู่ทั่วโลก ด้วยข้อหาเกี่ยวกับความเชื่อถือทางการเมืองและการศาสนานั้น ได้บังเกิดจากความคิดของบุคคลหนึ่งชื่อปีเตอร์ เบเนนสันปีเตอร์ เบเนนสัน ได้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ประจำวันอาทิตย์ของอังกฤษชื่อ Sunday Observer เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1961 โดยให้หัวเรื่องบทความว่า ?นักโทษที่ถูกลืม? (The Forgotten Prisoners) บทความนี้ได้ประทับใจมติมหาชนทั่วโลกทันที และภายในปีเดียว องค์การได้รับเรื่องร้องเรียนในนามของนักโทษกว่า 200 รายองค์การนิรโทษกรรมสากลมีเป้าหมายนโยบายกว้างๆ อยู่ 3 ข้อ คือ ต้องการให้ปล่อยนักโทษผู้มีนโนธรรม (Prisoners of Conscience) ทั้งหมด ให้มีการยุติการทรมานนักโทษไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ รวมทั้งการลงโทษประหารชีวิตและให้มีการพิจารณาพิพากษาคดีนักโทษการเมืองทั้ง หมดอย่างเป็นธรรมและไม่รอช้า องค์การนี้นอกจากจะมีชื่อเสียงว่าเป็นผู้ดำรงความเป็นกลางไม่เข้ากับฝ่ายใด และเป็นที่น่าเชื่อถือไว้วางใจได้อย่างแท้จริงแล้ว ยังเป็นเสมือนศูนย์ข้อมูลและข้อสนเทศที่สำคัญ ซึ่งบรรดาบุคคลสำคัญๆ ทางการเมืองทั่วโลกได้ใช้อ้างอิงอีกด้วยในปัจจุบัน องค์การนิรโทษกรรมมีสมาชิกและผู้สนับสนุนเป็นจำนวนกว่า 1 ล้านคน จากประเทศต่างๆ กว่า 150 ประเทศ องค์การอยู่ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการบริหารจำนวน 9 คน รวมทั้งตัวเลขาธิการอีกผู้หนึ่ง ทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อมติเกี่ยวกับนโยบาย และเป็นหัวหน้าของสำนักเลขาธิการขององค์การด้วย มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ องค์การมีผู้แทนของตนประจำอยู่กับองค์การสหประชาชาติ เมื่อปี ค.ศ. 1978 ได้รับรางวัลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ และในปี ค.ศ. 1977 ก็ได้รับรางวัลสันติภาพโนเบลมาแล้ว [การทูต] | Andean Community (Communidad Andina - CAN) | ประชาคมแอนเดียน ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2512 ประกอบด้วยสมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ โบลิเวีย โคลัมเบีย เอกวาดอร์ และเปรู และสมาชิกสมทบ 4 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล อุรุกวัยและปารากวัย และประเทศผู้สังเกตการณ์ 2 ประเทศ ได้แก่ เม็กซิโก และปานามา [การทูต] | Andean Community (Communidad Andina -CAN) | ประชาคมแอนเดียน ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2515 ประกอบด้วยสมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ โบลิเวีย โคลัมเบีย เอกวาดอร์ และเปรู และสมาชิกสมคบ ประเทศ ได้แก้ อาร์เจนตินา บราซิล อุรุกวัย และปารากวัย และประเทศผู้สังเกตการณ์ 2 ประเทศ ได้แก่ เม็กซิโก และปานามา [การทูต] | ASEAN Regional Forum | การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก " เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรี ต่างประเทศของประเทศคู่เจรจาของอาเซียน (Dialogue Partners) ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย จีน รัสเซีย และสหภาพยุโรป ผู้สังเกตการณ์ (Observers) ของอาเซียน ได้แก่ ปาปัวนิวกินี และประเทศอื่น ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น มองโกเลียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดย ARF ได้ใช้ ""geographical footprint"" หรือขอบเขตทางภูมิศาสตร์ เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อประกอบการพิจารณารับสมาชิกใหม่ ปัจจุบัน ARF มีประเทศสมาชิก 22 ประเทศ กับ 1 กลุ่ม (สหภาพยุโรป) โดยมีการประชุมเป็นประจำทุกปีในช่วงต่อเนื่องกับการประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting - AMM) เป็นเวทีปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ระดับพหุภาคีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และพัฒนาแนวทางการ ดำเนินการทางการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) ที่มุ่ง ป้องกันการเกิดและขยายตัวของความขัดแย้ง โดยใช้มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building Measures - CBMs) ระหว่างกัน ทั้งนี้ ARF มีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2537 และไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ARF ระดับรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 นอกจากการประชุม ARF ประจำปีแล้วยังมีการดำเนินกิจกรรมระหว่างปี (Inter-sessional Activities) ในสองระดับ คือ กิจกรรมที่เป็นทางการ (Track I) และกิจกรรมที่ไม่เป็นทางการ (Track II) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดร่วมกันระหว่างรัฐบาลกับสถาบันวิชาการของ ประเทศผู้เข้าร่วม ARF ได้แก่ (1) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมกลุ่มสนับสนุนว่าด้วยมาตรการสร้างความไว้เนื้อ เชื่อใจของ ARF (ARF Inter-sessional Support Group on Confidence Building Measures - ARF ISG on CBMs) (2) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการบรรเทาภัยพิบัติของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Disaster Relief - ARF ISM on DR) (3) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการรักษาสันติภาพของ ARF (Inter-sessional Meeting on Peace-keeping Operations - ARF ISM on PKO) และ (4) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการประสานและร่วมมือด้านการค้นหาและกู้ภัย ของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Search and Rescue Coordination - ARF ISM on SAR) " [การทูต] | APEC Study Centers | ศูนย์ศึกษาเอเปค มีการจัดตั้งศูนย์ศึกษาเอเปคในแต่ละประเทศสมาชิก 15 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคด้วยการ ศึกษา การพัฒนาฝีมือแรงงาน และอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนความรู้และวัฒนธรรม ตลอดจนส่งเสริมความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างสมาชิกเอเปคในภูมิภาค ทั้งนี้ ศูนย์ศึกษาเอเปคได้มีบทบาทสำคัญในกิจกรรมต่าง ๆ ของประเทศสมาชิก เช่น กิจกรรมการประเมินผลการดำเนินความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการของเอเปค เป็นต้น [การทูต] | ASEAN Standing Committee | คณะกรรมการประจำอาเซียน " ประกอบด้วยอธิบดีกรมอาเซียนของทุกประเทศสมาชิก มีหน้าที่ ควบคุม ดูแล ติดตามการดำเนินงานของกลไกและกิจกรรมต่าง ๆ ของอาเซียน ปกติจะประชุมปีละ 6 ครั้ง เป็นการประชุมในนามของ รัฐมนตรีต่างประเทศ ในช่วงกลางระหว่างการประชุมประจำปีของ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน " [การทูต] | Association of South-East Asian Nations | สมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน จัดตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 เพื่อร่วมมือและส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ ความเจริญทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์และการบริหารในภูมิภาค โดยมีสมาชิกเริ่มแรก 5 ประเทศ คือ อินโดนิเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย ต่อมาบรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้าเป็นสมาชิกประเทศที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2527 เวียดนามเป็นสมาชิกประเทศที่ 7 ในปี พ.ศ. 2538 ลาวและพม่าเข้าเป็นสมาชิกพร้อมกันในปี พ.ศ. 2540 และกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนลำดับสุดท้ายหรือประเทศที่ 10 เมื่อปี พ.ศ. 2542 [การทูต] | ASEAN Charter | กฎบัตรอาเซียน เป็นความตกลงระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ที่จะให้สถานะทางกฎหมายหรือนิติฐานะแก่อาเซียน และวางกรอบโครงสร้างองค์กรใหม่เพื่อทำให้อาเซียนเป็นหน่วยงานที่ยึดมั่นมาก ยิ่งขึ้นต่อกติกาและกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ประเทศสมาชิกร่วมกันกำหนดขึ้น อันจะนำมาซึ่งการเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรอาเซียนยังมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประชาชน เป็นศูนย์กลางของความร่วมมือมากยิ่งขึ้นด้วยการจัดตั้งองค์กรใหม่ๆ เพื่อปกป้องและส่งเสริมผลประโยชน์ของประชาชนอาเซียน เช่น องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้ร่วมลงนามกฎบัตรฯ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 [การทูต] | ASEAN Dialogue Partners | คู่เจรจาอาเซียน " ประกอบด้วย 9 ประเทศ 1 กลุ่มประเทศ และ 1 องค์การระหว่างประเทศ คือ ออสเตรเลีย แคนาดา จีน อินเดีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี นิวซีแลนด์ รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ประชาคมยุโรป และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ โดยคู่เจรจาเหล่านี้ (ยกเว้นโครงการพัฒนาแห่งสห- ประชาชาติ) จะเข้าร่วมการประชุม PMC ด้วย " [การทูต] | ASEAN-EU Senior Officials Meeting | การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน-สหภาพยุโรป เป็นการประชุมระดับปลัดกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียนกับ ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป จัดขึ้นทุก 12-18 เดือน เพื่อหารือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ [การทูต] | ASEAN-US Dialogue | การประชุมอาเซียน-สหรัฐอเมริกา " เป็นการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (ปลัดกระทรวงต่างประเทศ) จัดขึ้นทุก 18 เดือน เพื่อหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ " [การทูต] | Asia Europe Meeting | การประชุมเอเชีย-ยุโรป " เป็นการประชุมระดับผู้นำจากเอเชีย 10 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ บรูไน ดารุสซาลาม จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น ผู้นำจากยุโรป 15 ประเทศ คือ สหราช- อาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สเปน โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก เดนมาร์ก สวีเดน ไอร์แลนด์ กรีซ ฟินแลนด์ ออสเตรีย และประธานคณะกรรมาธิการยุโรป การประชุมครั้งแรกมีขึ้น ที่กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2539 " [การทูต] | Young Ambassador of Virtue | ยุวทูตความดี " เป็นโครงการของกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับกระทรวงศึกษา- ธิการ เริ่มโครงการตั้งวันที่ 5 ธันวาคม 2542 เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม จริยธรรมและคุณธรรมในบรรดาเยาวชนไทย อันเป็นการเสริมคุณภาพของเยาวชนไทยให้มีครบทั้งความเก่ง ความดี และมีความสุข โดยหวังผลในที่สุดว่าคุณภาพของเยาวชนรุ่นใหม่ของไทยจะเป็นการเสริมสร้างพื้น ฐานความแข็งแกร่งแก่สังคมไทยและส่งเสริมให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยใน โลกอนาคตมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในยุคโลกา- ภิวัฒน์ นอกจากการส่งเสริมให้เยาวชนไทยมีความรู้คู่คุณธรรมแล้ว โครงการยุวทูตความดียังส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนไทยและเยาวชนของ ประเทศต่าง ๆ โดยผ่านทางโรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง (Sister schools - โรงเรียนในประเทศที่ต่างกันที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกัน) " [การทูต] | Quadrangle Economic Cooperation | กรอบความร่วมมือสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ประกอบด้วย ไทย พม่า ลาว และจีน (มณฑลยูนนาน) ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) [การทูต] | Bangkok Declaration : Global Dialogue and Dynamic Engagement | ปฏิญญากรุงเทพ : การหารือและการมีส่วนร่วมอย่างมีพลวัตของประชาคมโลก " หนึ่งในสองของเอกสารผลการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ที่แสดงฉันทามติของประเทศสมาชิกอังค์ถัด 190 ประเทศ เกี่ยวกับผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งแสดงเจตนารมณ์ร่วมทางการเมืองของประเทศสมาชิกอังค์ถัดที่จะร่วมมือ กันดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศเพื่อทำให้สมาชิกทั้งหมด โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ได้รับประโยชน์จากกระบวนการโลกาภิวัตน์ในด้านการค้า การเงิน การลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม อีกทั้งเพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจโลก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบของกระบวนการโลกาภิวัตน์ได้ แม้ปฏิญญากรุงเทพจะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่ก็เป็นเอกสารที่มีผลผูกพันทางการเมือง เป็นสัญญาประชาคมที่ทุกประเทศสมาชิกอังค์ถัดมีพันธะที่จะต้องปฏิบัติตามแนว นโยบายที่ได้ร่วมกันแถลงไว้ในเอกสารดังกล่าว และเอกสารนี้สามารถใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการเจรจาหารือระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศในเรื่องของการเงิน การค้า การลงทุน และการพัฒนาได้ " [การทูต] |
| You may be the best welterweight in the country, but I'll kick your goddamn head in. | ฉันไม่สน ถึงนายจะเป็นนักมวย เวลเตอร์เวทที่เก่งสุดในประเทศ ถ้านายหาเรื่องฉัน ฉันจะเตะกะโหลกนายให้ยุบเลย Of Mice and Men (1992) | I embarrassed myself, my family, my teammates, my country and my coach. | ผมสร้างความอับอายให้กับตัวเอง และครอบครัวของผม เพื่อนร่วมทีม ประเทศ และโค้ช Cool Runnings (1993) | Either that man or his superior or his superior's superior... ordered that these people be used as scapegoats... by a nation that was baying for blood... in return for the innocent blood spilled on the streets of Guildford! | ไม่ว่าเขาคนนั้นหรือดีกว่า หรือเหนือกว่าของดีกว่าเข? คำสั่งว่าคนเหล่านี้ ใช้เป็น scapegoats ... โดยประเทศ ที่ได้รับการเห่าสำหรับเลือด ... In the Name of the Father (1993) | [ Country/Western Muzak ] | [ ประเทศ / ตะวันตกเนิบนาบ ] Pulp Fiction (1994) | French Algerians may feel divided, but do the Algerians exist for you? | ชาวฝรั่งเศสที่เกิดในแอลจีเรียอาจไม่เห็นพ้องให้คืนประเทศ แต่ชาวแอลจีเรียที่เหลือล่ะ? Wild Reeds (1994) | Hynkel ruled the nation with an iron fist. | เฮนเคิลได้ปกครองประเทศ ด้วยผเด็จการ The Great Dictator (1940) | Behind it was the dynamic Adenoid Hynkel, whose genius ran the nation, whose ceaseless activity kept him occupied every moment of the day. | เบื้องหลัง ซึ่งเต็มไปด้วยขุมพลังแห่ง อดีนอย เฮนเคน ผู้มีพลังในการขับเคลื่อนประเทศ ทำงานโดยไม่หยุดหย่อน แม้ทุกวันจะมีแต่ความวุ่นวาย The Great Dictator (1940) | It'll be wonderful living in the country, much better than a smoky old city. | มันสวยกว่า ประเทศ บ้าๆนี่ ที่ทั้งเก่า และ มีแต่ปล่องควัน The Great Dictator (1940) | There must be somewhere in England where one can find sanctuary to think. | จะต้องมีที่ไหนสักแห่งใน ประเทศ อังกฤษ ที่หนึ่งสามารถหาสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ นานพอที่จะหลบหนี Help! (1965) | Can I have you right out there in the country, Gripweed? | ฉันจะมีคุณสิทธิออกมี ในประเทศ กริปวีด? How I Won the War (1967) | How do you expect You can understand International things and stuff? | เธอจะเข้าใจเรื่องระหว่างประเทศ และอื่น ๆได้อย่างไร The Little Prince (1974) | I mean, chicks come from all over the country and they go to the Village for one reason. | ฉันหมายถึง ลูกไก่ มา จากทั่ว ประเทศ และ พวกเขาไปที่ หมู่บ้าน ด้วย เหตุผล อย่างใดอย่างหนึ่ง I Spit on Your Grave (1978) | Then put out a nation wide APB. | แล้วใส่ออกเอพีบีทั่วประเทศ ในสองสามสัปดาห์ First Blood (1982) | I can't disobey my country for no reason. | ฉันไม่สามารถฝ่าฝืนประเทศ ของฉันไม่มีเหตุผล 2010: The Year We Make Contact (1984) | I work for the State Department, and I'm a homosexual. | ผมทำงานที่กระทรวงการต่างประเทศ และผมเป็นพวกรักร่วมเพศ Clue (1985) | the foreign service board? yeah. | - เจ้าหน้าที่ต่างประเทศ FSB? Spies Like Us (1985) | the foreign service board exams. good luck. | - เจ้าหน้าที่ต่างประเทศ FSB โชคดีล่ะ Spies Like Us (1985) | I pledge allegiance to the flag... of the United States of America... and to the Republic for which it stands, one nation... | ข้าขอแสดงความ จงรักภักดีต่อธง... แห่งประเทศ สหรัฐอเมริกา... และต่อสาธารณรัฐ ในปกครอง An American Tail (1986) | Twenty-two countries in three days. | ทัวร์ 22 ประเทศ ภายใน 3 วัน Dirty Dancing (1987) | This could cause a major international incident. | อาจก่อเรื่องร้ายแรงระหว่างประเทศ เธอรู้หรือเปล่า Casualties of War (1989) | $400 million just to lock up illegal immigrant criminals... who only got into this country because the ins decided... it's not worth the effort to screen for convicted felons. | สีร้อยล้านที่ใช้เพื่อกักขังพวกต่างด้าว/ที่ก่อกาชญากรรม... พวกที่แค่เข้ามาในประเทศ / เพราะ INS เป็นผู้ตัดสินใจ... มันไม่คุ้มกับความพยายามที่จะ / ดูแลพวกนักโทษพวกนั้นเลย American History X (1998) | I went to school abroad. Nice to meet you. | ฉันจบจากต่างประเทศ ยินดีที่รู้จัก April Story (1998) | After, another country... rich country... big white house... rich. | จากนั้น ฉันก็มาอยู่ในอีกประเทศ ประเทศที่ร่ำรวย บ้านใหญ่สีขาว Pola X (1999) | Burma would not make a move without England's blessing. That I know. | ประเทศ ของพระองค์และของหม่อมฉันมีอะไร หลายอย่างที่คล้ายคลึงกันพะยะค่ะ ฝ่าพระบาท Anna and the King (1999) | You raised your glass to him! | ประเทศ ของเราเป็นหนี้ บุญคุณในพระปรีชาสามารถ Anna and the King (1999) | First, I'm patriotic. Second, I love my country. And third, they nailed me. | หนึ่งผมรักชาติ สองผมรักประเทศ สามผมถูกเกณฑ์ครับ [ เสียงทีวี : American Beauty (1999) | I'm going to straighten back these "humane" teaching fed students and take this establishment to the top in the country and in doing so | สำหรับฉัน นี้ คือ"น้ำใจ" ครูจะต้องสอนนักเรียน และใช้สถานประกอบการนี้ไปสู่จุดสุงสุดของประเทศ และในการทำเช่นนั้น GTO (1999) | We are on the scene An international gang of drug trafficking was using an apartment here | เรากำลังอยู่ในที่เกิดเหตุ แก๊งต่างประเทศ จากพวกค้ายาเสพติดได้ใช้พาร์ทเมนท์ที่นี่ GTO (1999) | Ladies Gentlemen nationwide her name is Daimon | สุภาพสตรีและสุภาพบุรุษทั่วประเทศ ชื่อของหล่อนก็คือ ไดม่อน GTO (1999) | There are only a limited number of explanations. | ในหลายประเทศ นี่เป็นเพียงจำนวนที่ได้รับรายงาน Signs (2002) | Just eat it as if you were in some exotic country... you've never visited before and this is the national dish. | ลองกินมันแบบ.. เหมือนกับนายไปต่างประเทศ ประเทศที่ไม่เคยไปมาก่อน และนี้คืออาหารประจำชาติ The Dreamers (2003) | You rank in top 3, 000 nationwide but I'm not even in top 300, 000. | คุณสอบติดอันดับท๊อป 3, 00 ของประเทศ แต่ผมอันดับที่ 300, 000 ยังไม่ติดเลย Crazy First Love (2003) | She called from overseas five or six years ago asking if her dad showed up | เธอโทรฯ มาจากต่างประเทศ 5 หรือ 6 ปีก่อน ถามถึงพ่อของเธอ Oldboy (2003) | When Bolivia sought to refinance the public water services of its third largest city the World Bank required privatization which is how the Bechtel Corporation of San Francisco gained control over all of Cochabamba's water even that which fell from the sky. | เมื่อโบลิเวียพยายามปรับโครงสร้างหนี้ของการประปา ในเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามของประเทศ ธนาคารโลกบังคับให้มีการแปรรูป The Corporation (2003) | From its complicity in unspeakable human rights violations overseas against women, gays, labourers and indigenous peoples to its efforts to subvert U.S. foreign policy and deceive the courts the public and its own stockholders | บรรษัทนี้ทำความผิดตั้งแต่มีส่วนสมรู้ร่วมคิด ในการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงในต่างประเทศ ทั้งต่อผู้หญิง, คนรักร่วมเพศ, กรรมกรและชาวพื้นเมือง The Corporation (2003) | I walked past these Gap stores and I looked at them and I think my God there's like 2000 of these stores across the country. | มองดูและคิดว่า พระเจ้า มีร้านพวกนี้ราว 2000 สาขาทั่วประเทศ ดูตึกพวกนี้สิ ดูกระจกหน้าร้าน The Corporation (2003) | Taking classified programmers out of the country compromises national security. | การนำพาโปรแกรมเมอร์ออกนอกประเทศ เป็นการละเมิดสัญญาว่าด้วยความปลอดภัยของชาติ Ghost in the Shell (1995) | Collect any data regarding a code name, operation on anything involving the Ministry of Foreign Affairs called Project 2501. | รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับการเข้ารหัส... ..หรืออะไรที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงต่างประเทศ ในชื่อโครงการ 2501. Ghost in the Shell (1995) | And many international observers ask why. | และผู้สังเกตการณ์ต่างประเทศ จำนวนมากถามว่าทำไม Contact (1997) | A representative of the United States Geological Survey... will be on hand to explain the facts to you in detail. | เพื่อหารือเกี่ยวกับ การอพยพของเมืองของเรา ตัวแทนของประเทศ สำรวจทางธรณีวิทยาสหรัฐอเมริกา ... จะอยู่ในมือที่จะอธิบาย ข้อเท็จจริงกับคุณในรายละเอียด Dante's Peak (1997) | I've been ranging across this country, me and Blue Boy, digging oil with the Cherokee, riding fence with the Navajo, gettin' caught up in white man's wars. | ผมเดินทางไปทั่วประเทศ ผมและบลูบอย ขุดน้ำมันกับเชอโรกี ขี่ม้ารอบดินแดนกับ พวกนาวาโฮ ใกล้เข้ามาแล้ว ในสงครามของพวกคนขาว The Education of Little Tree (1997) | Meanwhile, with military resources stretched thin across the globe, world leaders must once again call upon the elite mercenary forces of Sky Captain and his army-for-hire to uncover the meaning of these mysterious events. | ขณะเดียวกัน กองกำลังทางทหาร ได้กระจายกำลังโอบล้อมพื้นที่เอาไว้ เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เหล่าผู้นำนานาประเทศ ต้องเรียกหา... กองกำลังทหารรับจ้างที่แกร่งกล้าของสกายแค๊ปตั้น Sky Captain and the World of Tomorrow (2004) | I have exit visas for the following families. | ผมได้วีซ่าออกนอกประเทศ ของรายชื่อครอบครัวต่อไปนี้ Hotel Rwanda (2004) | Um, my husband's abroad, you see, so really, it's just the two of us I hope you'll look out for us | อืม, สามีฉัน ไปต่างประเทศ คุณรู้แล้วนี่ จริงๆแล้วก็มีแค่เราสองคนแม่ลูก ฝากเนื้อฝากตัวด้วยน่ะค่ะ Nobody Knows (2004) | I like domestic cigarettes but he smokes only imported ones. | ฉันชอบบุหรี่ในประเทศ แต่เขาดันสูบแต่บุหรี่นอก Love So Divine (2004) | gaer up all the foreign dignitaries in the greater metropolitan area. | รวบรวมบุคคลสำคัญ ชาวต่างประเทศ ไปไว้ในเมืองใหญ่ Pilot (2004) | Pointing nations the safest way through country... | ที่จะนำพาประชาชาติ เข้าไปในประเทศ ที่เต็มไปด้วยปัญหา The Constant Gardener (2005) | I think the questioner is making a valid point, and that a nation's foreign policy... | ผมคิดว่าที่เธอถามมาก็มีประเด็น และนั่นหมายถึง นโยบายต่างประเทศ ... The Constant Gardener (2005) | Sir Bernard Pellegrin, head of F. C. O. Africa desk. | ส่วนท่านนี้คือ เซ่อร์เบอร์นาร์ด เพลเลกริน กท. ต่างประเทศ ส่วนงานแอฟริกา The Constant Gardener (2005) |
| | CITES | (abbrev) CITES (อ่านว่า ไซเตส) ย่อมาจาก The Convention of International Trade in endangered spicies of Wild Fauna and Flora หมายถึง อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งห้ามการค้าชนิดสัตว์และพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ | offshoring | (n) การย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศ, การตั้งศูนย์บริการในต่างประเทศ เช่น Semiconductor design is a frequently-cited example of the new wave of offshoring and foreign-outsourcing of service sector jobs. | pandemic | (n) โรคระบาด ที่มีการระบาดกระจายไปในพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น ทั่วประเทศ หลายประเทศในภูมิภาค หรือ กระจายไปทั่วโลก ถือเป็นระดับสูงสุดของการระบาด ที่เริ่มจาก endemic (โรคระบาดประจำถิ่น), outbreak (โรคระบาดประจำถิ่นที่มีการเพิ่มของผู้ป่วยผิดปกติ หรือ โรคใหม่ที่เริ่มการระบาด, epidemic (เริ่มแพร่ระบาดไปในวงกว้าง) และ pandemic (โรคระบาดไปทั่วทั้งประเทศ หรือ หลายพื้นที่ในโลก) |
| cold war | (n) สงครามเย็น, See also: สถานการณ์ที่ไม่ได้สู้รบกันจริงในสนามรบระหว่าง 2 ประเทศ โดยเฉพาะระหว่างอเมริกาและรัสเซี | defect to | (phrv) หลบหนีออกจากประเทศ (เพื่อไปเข้าข้างประเทศอื่น) | delicatessen | (n) ร้านอาหารนำเข้าจากต่างประเทศ (เช่น เนยแข็ง, เนื้อ), Syn. deli, bistro, grocery | delicatessen | (n) อาหารนำเข้าจากต่างประเทศ (เช่น เนยแข็ง, ไส้กรอก, เนื้อรมควัน) | entente cordiale | (n) ความเข้าใจอันดีกันทางการเมืองระหว่างประเทศ (โดยเฉพาะข้อตกลงระหว่างฝรั่งเศสกับอังกฤษในปี ค.ศ.1904), Syn. concord, rapport, understanding | Esperanto | (n) ภาษาที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้เป็นภาษากลางในการสื่อสารระหว่างประเทศ ซึ่งรากศัพท์ส่วนใหญ่มาจากภาษายุโรปหลายภาษา | Eurodollar | (n) เงินดอลล่าร์สของสหรัฐอเมริกาที่ฝากไว้ที่ธนาคารนอกประเทศ โดยเฉพาะธนาคารในยุโรป | expatriate | (n) คนที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ (เป็นเวลานาน), See also: คนที่ทำงานอยู่ต่างประเทศ เป็นเวลานาน | IMF | (abbr) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (คำย่อ International Monetary Fund) | work force | (n) กำลังแรงงานทั้งหมด (เช่น ในประเทศ บริษัท โรงงาน), See also: จำนวนทั้งหมดของแรงงาน, Syn. labour force |
| alliance | (อะไล' เอินซฺ) n. พันธมิตร, สันนิบาต, การแต่งงาน, ความสัมพันธ์ที่เกิดจากการแต่งงาน, สหพันธ์, ข้อตกลงระหว่างประเทศ, Syn. fusion, union -A.difference, disparity | auslander | (เอาสเลน' เดอะ) n., German ต่างด้าว, ชาวต่างประเทศ (foreigner) | contraband | (คอน'ทระแบนดฺ) n. ของต้องห้ามตามกฎหมาย, ของเถื่อน, การค้าเถื่อน, การลักลอบขนสินค้า adj. เป็นสินค้าเถื่อน, ซึ่งห้ามไม่ให้ส่งออกหรือสั่งเข้าประเทศ, Syn. excluded | defect | (ดิเฟคทฺ') { defected, defecting, defects } n. ข้อบกพร่อง, ปมด้อย, ข้อเสียหาย, สิ่งที่ขาดตกบกพร่อง. vi. ละทิ้ง, เอาใจออกห่าง, หนีงาน, หลบหนีออกนอกประเทศ, Syn. flaw-A. strength | defection | (ดีเฟค'เชิน) n. การละทิ้ง, การเอาใจออกห่าง, การไม่ปฏิบัติตาม, การหลบหนีออกนอกประเทศ, Syn. desertion | defector | (ดิเฟค'เทอะ) n. ผู้ละทิ้ง, ผู้เอาใจออกห่าง, ผู้หลบหนีออกนอกประเทศ, Syn. traitor | domestic | (ดะเมส'ทิค) adj. เกี่ยวกับบ้าน, เกี่ยวกับครอบครัว ในบ้าน, เชื่อง, เกี่ยวกับประเทศของตน, ซึ่งพบในหรือผลิตภายในประเทศ, Syn. domesticated, family, endemic, indigenous | emigrate | (เอม'มะเกรท) vi. อพยพไปอยู่นอกประเทศ หรือถิ่น, See also: emigrative adj. ดูemigrate | exile | (เอก'ไซลฺ) { exiled, exiling, exiles } n. การเนรเทศ, ผู้ถูกเนรเทศ vt. เนรเทศ, ไล่ออกนอกประเทศ, Syn. expatriation | extended ascii | รหัสแอสกีแบบขยายเดิมรหัสแอสกีจะมีสัญลักษณ์ 128 ตัวอักขระ แต่ต่อมาได้เพิ่มเป็น 255 ตัวอักขระ ชุดตัวอักขระ 255 ตัวนี้ที่เรียกว่ารหัสแอสกีขยาย ซึ่งจะเพิ่มรหัสสำหรับภาษาต่างประเทศ สัญลักษณ์คณิตศาสตร์ และภาพสัญลักษณ์ต่าง ๆ วิธีใช้ ก็เพียงแต่กดแป้น ALT พร้อมกับเลขตั้งแต่ 51-255 กำหนดแบบอักษร (font) ที่เป็นภาพ เช่น Wingdings ก็จะได้สัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น ถ้ากดแป้น ALT กับรหัส 255 จะได้สัญลักษณ์เป็นภาพสัญลักษณ์วินโดว์ | gunrunning | (กัน'รันนิง) n. การลักลอบปืนและกระสุนเข้าไปในประเทศ, See also: gunrunner n. | immigrant | (อิม'มะเกรินทฺ) n. ผู้อพยพเข้าประเทศ adj. เกี่ยวกับการอพยพเข้าไปอยู่ในประเทศหรือถิ่นใหม่ | inland | (อิน'เลินดฺ) adj. ภายในประเทศ, ภายในดินแดน, ท้องถิ่น. adv. ภายในประเทศ, เข้าไปในประเทศ. n. (อิน'แลนดฺ) บริเวณภายในประเทศ, Syn. domestic, internal | international | (อินเทอแนช'เชินเนิล) adj. ระหว่างประเทศ, See also: internationality n. | internet | (อินเทอร์เน็ต) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติที่มีสายตรงต่อไปยังสถาบันหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้รายใหญ่ทั่วโลก ผ่านโมเด็ม (modem) คล้ายกับ Compuserve ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) สามารถสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูล และโปรแกรมบางโปรแกรมมาใช้ได้ อย่างไรก็ตาม มีผู้เปรียบเทียบว่า อินเตอร์เน็ตเป็นเหมือนทางหลวงระหว่างประเทศ แต่ละประเทศจะต้องมีถนนเข้ามาเชื่อมต่อเข้าไปในประเทศ กล่าวคือ จะต้องมีเครือข่ายภายในรับช่วงต่ออีกทอดหนึ่ง (เช่น ไทยมี Chulanet, KSC , Infonews เป็นต้น) มิฉะนั้นก็จะใช้ไม่ได้ผล | junta | (จัน'ทะ) n. กลุ่มเล็ก ๆ ที่บริหารประเทศ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการรัฐประหารและก่อนที่จะมีการจัดตั้งรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ) , สภาการเมือง, คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นเอง, Syn. clique | land | (แลนดฺ) { landed, landing, lands } n. ที่ดิน, พื้นดิน, แผ่นดิน, ประเทศ, เขต, ดินแดนของประเทศ vt. ตั้งรกราก, นำไปสู่, ยึด, จับ, จับจอง, นำขึ้นบก. vi. ขึ้นบก, ขึ้นฝั่ง, สู่ -Phr. (the land ที่ดินเกษตรชนบทอาชีพการเกษตรและการปศุสัตว์), Syn. soil, g | national television stand | คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานระบบโทรทัศน์ใช้ตัวย่อว่า NTSC (อ่านว่า เอนทีเอสซี) หมายถึง คณะกรรมการที่กำหนดมาตรฐานในระบบโทรทัศน์ เช่น กำหนดว่า ต้องมีอัตราการส่งเท่าไร มีจอภาพที่มีความละเอียดแค่ไหน มาตร ฐาน NTSC นี้ ใช้ในสหรัฐอเมริกา และอีกหลายประเทศ แต่ยุโรปใช้มาตรฐาน PAL | ntsc | (เอนทีเอสซี) ย่อมาจาก national television standards committee หมายถึง คณะกรรมการที่กำหนด มาตรฐานในระบบโทรทัศน์ เช่นมีอัตราการส่งอย่างไร มีจอภาพที่มีความละเอียดแค่ไหน มาตรฐาน NTSC นี้ ใช้ในสหรัฐอเมริกา และอีกหลายประเทศ แต่ยุโรป ใช้มาตรฐาน PAL | security council | n. สภาความมั่นคงของสหประชาชาต'ประกอบด้วยสมาชิกถาวร5ประเทศ (สหรัฐอเมริกา, โซเวียต, ฝรั่งเศส, อังกฤษและจีน) และสมาชิกชั่วคราว10ประเทศที่มีวาระครั้งละ2ปี | senate | (เซน'นิท) n. สภาสูง, วุฒิสภาของบางประเทศ (เช่น สหรัฐอเมริกา, ฝรั่งเศส) , อาคารสภาสูง, ห้องสภาสูง, สภาสูงสุดของโรมัน, สภาบริหารหรือนโยบายของบางมหาวิทยาลัย | topography | (โทพอก'กระฟี) n. การทำแผนที่และพรรณนาภูมิประเทศ ภูมิประเทศ., See also: topographic adj. topographical adj. | unicef | abbr. United Nations International Children's Emergency Fund องค์การกองทุนเด็กระหว่างประเทศ (ของสหประชาชาติ) | wan | (วอน) adj. ซีด, ซีดขาว, อมโรค, อ่อนแอ, ไม่มีความสุข, ขาดกำลัง, ขาดสมรรถภาพ, มืด, สลัว vi. vt. ทำให้หรือกลายเป็นซีด แวน <คำอ่าน>ย่อมาจาก wide area network (แปลว่า ข่ายงานบริเวณกว้าง) หมายถึง ข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมโยงกันเป็นบริเวณกว้าง (ถ้าเป็นบริเวณแคบ ๆ เรียกว่า LAN หรือ local area network) เช่น ระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ เป็นต้น คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันเหล่านี้ จะทำงานร่วมกันได้ ดึงโปรแกรมจากกันและกันได้ การกระทำเช่นนี้จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์เป็นตัวการสำคัญด้วยตัวหนึ่ง การเชื่อมโยงนั้น อาจใช้สายโทรศัพท์ สายเคเบิล เส้นใยนำแสง (optical fibre) หรือดาวเทียม ก็ได้ดู LAN เปรียบเทียบ, See also: wanly adv. wanness n., Syn. pale, faint, livid | wide area network | wide area network ข่ายงานบริเวณกว้างใช้ตัวย่อว่า WAN (อ่านว่า แวน) หมายถึง ข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมโยงกันเป็นบริเวณกว้าง (ถ้าเป็นบริเวณแคบ ๆ เรียกว่า LAN หรือ local area network) เช่น ระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ เป็นต้น คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันเหล่านี้ จะทำงานร่วมกันได้ ดึงโปรแกรมจากกันและกันได้ ซึ่งจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์เป็นตัวการสำคัญด้วยตัวหนึ่ง การเชื่อมโยงนั้น อาจใช้สายโทรศัพท์ สายเคเบิล เส้นใยนำแสง (optical fibre) หรือดาวเทียม ก็ได้ดู local area network เปรียบเทียบ |
| Benjapong International Airport | [เบนจาพง ระหว่างประเทศ สนามบิน (Benjapong Airport) #Airport] (fly) Benjapong International Airport ก็คือสนามบินระหว่าง Terminal 6 และ 8 รวม 7 ไกล้ๆ 6 International = ระหว่างประเทศ - Airport = สนามบิน / มีสนามบิน 1.Suvarnabhumi 1.Don Muang - ตรง Bangkok ดอนเมืองตรง Krasetsart / Suvarnabhumi ตรง Airhotel - Benjapong + All = อันดับ 1, See also: A. Nothings, Terminal, Syn. Airport Image: | climate | (n) ขอแสดงความคิดเห็นนะครับ ไม่ใช่คำแปล คำนี้ไม่ได้มีความหมายคล้ายกับ weather คนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าใจความหมายอย่างชัดเจนระหว่างคำสองคำนี้ จึงอยากให้ทางลองดูช่วยให้ความหมายอย่างชัดเจนว่า climate หมายถึง ลักษณะภูมิอากาศของภูมิประเทศ ส่วน weather คือ ลักษณะอากาศขณะหนึ่ง | exotic | (n, adj) สิ่งที่มาจากต่างประเทศ (n) เกี่ยวกับ หรือมาจากต่างประเทศ (adj) -ผิดธรรมดา-สิ่งผิดธรรมดา exoticall (adv), See also: foreign, strane, unfamiliar, outside, external, fascinating, intriguing, Syn. adj. alien | lifeguard | [คำอ่าน :: ชีบ-พะ-บาน] (n) lifeguard [ 1 ] - (N) - ชีพบาล คำอ่าน :: ชีบ-พะ-บาน คำหมาย :: ผู้ประกอบวิชาชีพดูแลความปลอดภัยทางน้ำ ให้แก่ผู้ทำกิจกรรมนันทนาการทางน้ำ เช่น สระว่ายน้ำ , สวนน้ำ, ชายหาด, ชายทะเล ที่ผ่านการฝึกอบรมอย่างเข็มข้น ทั้งทักษะการว่ายน้ำ ปฐมพยาบาล การกู้ชีพ กู้ภัยทางน้ำ รวมทั้งการใช้อุปกรณ์หลากหลายที่เกี่ยวข้องการทำงาน บางพื้นที่ในต่างประเทศ ยังต้องทำงานเกี่ยวข้องกับการงานฉุกเฉิน เช่น การกู้ภัยบนภูเขา การนำส่งผู้ประสพภัยฉุกเฉิน จากภัยพิบัติต่างๆ อ้างอิง :: life = ชีวิต, ชีพ guard = ยาม, ผู้ดูแล ในที่นี้ ขอใช้คำว่า บาล ซึ่งหมายถึงผู้ดูแล เช่น รัฐบาล, คชบาล, โคบาล, ทวารบาล, พยาบาล, อภิบาล, อนุบาล lifeguard [ 2 ] - (N) – ทหารรักษาพระองค์ (ทหารมหาดเล็ก) ในกองทัพ สหราชอาณาจักร (ประเทศอังกฤษ), See also: Lifesaving, Lifesaver | lifesaving | [ชีบ-พะ-รัก] (n) Lifesaving [ 1 ] – ชีพรักษ์ คำอ่าน :: ชีบ-พะ-รัก ความหมาย :: วิชาชีพเกี่ยวกับการดูแลความปลอดภัยทางน้ำ ที่มีการการฝึกอบรมอย่างเข็มข้น ทั้งทักษะการว่ายน้ำ ปฐมพยาบาล การกู้ชีพ กู้ภัยทางน้ำ รวมทั้งการใช้อุปกรณ์หลากหลายที่เกี่ยวข้องการทำงาน ให้แก่ผู้ทำกิจกรรมนันทนาการ เช่น สระว่ายน้ำ , สวนน้ำ, ชายหาด, ชายทะเล ที่ผ่าน บางพื้นที่ในต่างประเทศ ยังต้องทำงานเกี่ยวข้องกับการงานฉุกเฉิน เช่น การกู้ภัยบนภูเขา การนำส่งผู้ประสพภัยฉุกเฉิน จากภัยพิบัติต่างๆ | overlapping territorial claims area | (n) พื้นที่ทับซ้อน, พื้นที่ทางบกหรือทางทะเลซึ่งมีประเทศมากกว่า ๑ ประเทศ อ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ สงคราม ความเชื่อทางศาสนา ที่ตั้งของชุมชนทางชาติพันธุ์หรือชนกลุ่มน้อย หรือผลประโยชน์แห่งรัฐ เช่น พื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารที่มีปัญหาการอ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่ดังกล่าว ระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา. หมู่เกาะสแปรตลีที่เป็นพื้นที่ทับซ้อน มีหลายประเทศต่างอ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะทั้งหมดหรือบางส่วนของหมู่เกาะ ได้แก่ จีน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน บูรไน และ มาเลเซีย | Reykjavik | (n) เมืองหลวงประเทศ Iceland | Secretary of State | (n) เสนาบดีใหญ่ เป็นตำแหน่งในรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีประจำอยู่ในสองกระทรวงคือกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงปิตุภูมิ |
| 国際通貨基金 | [こくさいつうかききん, kokusaitsuukakikin] (n) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF = International Monetary Fund) |
| 駐在員 | [ちゅうざいいん, chuuzaiin] ผู้มาประจำการจากต่างประเทศ | 留学 | [りゅうがく, ryuugaku] ศึกษาต่อต่างประเทศ | bis | [りゅうがく, bis] (abbrev) Bank for International Settlements ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ หรือบีส | เรอกุโตะ | [りゅうがく] (n, vi, vt, modal, ver) เลิกกันในฉบับ ภาษา ประเทศ โอซาว่า, See also: S. เรกุโตะ | 人 | [じん, jin] (n) ชาว คน (เขียนต่อท้ายชื่อประเทศ มีความหมายว่าสัญชาติ) | 人 | [じん, jin] (n) ชาว, คน (เขียนต่อท้ายชื่อประเทศ มีความหมายว่าสัญชาติ) | 人 | [じん, jin, jin , jin] (n) ชาว, คน (เขียนต่อท้ายชื่อประเทศ มีความหมายว่า "สัญชาติ") |
| Gelände | (n) |das, pl. Gelände| ภูมิประเทศ เช่น ein bergiges Gelände ภูมิประเทศที่เป็นภูเขา | Gipfel | (n) |der, pl. Gipfel| การเจรจาระหว่างผู้นำชั้นสูงระดับประเทศ เช่น Gipfeltreffen |
| aller | (vi) |je vais, tu vas, il va, nous allons, vous avez, ils vont| (1) ไป เช่น aller à pied ไปด้วยเท้า, aller à l'étranger ไปต่างประเทศ (2) ใช้เป็นกิริยาช่วยในประโยคที่บ่งอนาคตอันใกล้รูป futur proche โดย aller + infinitif เช่น Je ne vais pas sortir ce soir. เย็นนี้ฉันจะไม่ออกจากบ้าน (3) ในประโยคทักทาย แปลว่า สบายดีหรือเป็นเช่นใด เช่น Comment vas-tu? = (Comment) ca va? เธอสบายดีไหม หรือ เธอเป็นอย่างไรบ้าง |
|
เพิ่มคำศัพท์
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |