กรรตุการก | (กัดตุ-, กันตุ-) น. ผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๒ ส่วนของประโยคที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ เช่น เด็กวิ่ง เด็ก เป็น กรรตุการก หรือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตำรวจยิงผู้ร้าย ตำรวจ เป็น กรรตุการก. |
กระดิ่งทอง | น. ชื่อแมลงพวกด้วงชนิด Martianus dermestoides Chevrolat ในวงศ์ Tenebrionidae ลำตัวยาว ๖-๗ มิลลิเมตร กว้าง ๒-๓ มิลลิเมตร สีน้ำตาลเกือบดำตลอดทั้งลำตัว ขา และปีก กินของแห้งทั้งพืชและสัตว์โดยเฉพาะเมล็ดบัว นิยมนำมาเลี้ยงด้วยเมล็ดบัวแห้ง หัวข้าวเย็นเหนือ หัวข้าวเย็นใต้ โดยเชื่อว่าเมื่อนำมารับประทานจะช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ, ม่าเหมี่ยว ก็เรียก. |
กินูน | น. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Scarabaeidae ลำตัวมีขนาดและสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในดินกินรากพืช ตัวเต็มวัยอาศัยอยู่บนต้นไม้กินใบไม้ มักบินเข้าหาแสงไฟ ชาวบ้านในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมนำมารับประทาน ที่พบบ่อย เช่น ชนิด Anomala antiqueGyllenhal ลำตัวสีดำเหลือบน้ำเงิน ยาว ๑๘-๒๐ มิลลิเมตร ชนิด Sophrops foveatus Moser ลำตัวสีน้ำตาลแดง ยาวประมาณ ๑๕ มิลลิเมตร, แมลงนูน ก็เรียก. |
คนไข้นอก | น. คนไข้ที่มารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล แต่ไม่ได้นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล, ผู้ป่วยนอก ก็ว่า. |
จิตบำบัด | (จิดตะ-, จิด-) น. วิธีรักษาผู้ป่วยหรือผู้มีปัญหาทางด้านจิตใจด้วยวิธีที่จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาสนทนากับผู้ที่มารับการรักษา เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุของโรคหรือปัญหาแล้วหาทางแก้ไข. |
ฉัยยา | น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เขียนเป็น ไฉยา ก็มี เช่น เมื่อนั้น นางรจนาไฉยา แลเห็นสมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที (บทละครสังข์ทอง). (ดู ชายา ๒). |
ไฉยา | น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เช่น เมื่อนั้น นางรจนาไฉยา แลเห็นสมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที (บทละครสังข์ทอง), เขียนเป็น ฉัยยา ก็มี. (ดู ชายา ๒). |
ตกเขียว | น. วิธีการที่นายทุนทำสัญญาซื้อขายข้าวหรือผลไม้ตามที่ตกลงกันกับชาวนา ชาวสวน หรือชาวไร่เมื่อข้าวลัดใบหรือผลไม้ยังอ่อนอยู่ โดยตกลงกันว่านายทุนจะได้ข้าวเปลือกหรือผลไม้นั้นไปหลังจากนวดข้าวแล้วหรือเมื่อผลไม้นั้นแก่เต็มที่แล้ว เช่น ตกเขียวลำไย, โดยปริยายหมายถึงการที่พ่อแม่รับเงินจากนายทุนซึ่งจ่ายให้เป็นค่าตัวเด็กผู้หญิงไว้ล่วงหน้า แล้วนายทุนจะมารับตัวเด็กไปเพื่อค้าประเวณีเป็นการใช้หนี้คืนให้แก่นายทุน. |
บึ้ง ๑ | น. ชื่อแมงมุมขนาดใหญ่หลายชนิด หลายสกุล ในวงศ์ Theraphosidae ลำตัวยาวมากกว่า ๓ เซนติเมตรขึ้นไป สีดำหรือน้ำตาลแก่ ไม่ชักใยดักสัตว์ มีขนดกหนาสีเดียวกัน ขุดรูอยู่ตามพื้นดิน คอยจับสัตว์เล็ก ๆ กิน ชนิดที่พบบ่อยและนิยมนำมารับประทาน เช่น ชนิด Haplopelma albostriatum (Simon) พบมากที่ภาคกลางและภาคตะวันออก ชนิด H. minax (Thorell) พบมากที่ภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้, ก่ำบึ้ง หรือ อีบึ้ง ก็เรียก. |
ปฏิคาหก | น. ผู้รับทาน หมายถึง สมณพราหมณ์ เช่น วันรุ่งพรุ่งนี้จะมีเหตุด้วยปฏิคาหก ยาจกจะมารับพระราชทาน (ม. ร่ายยาว กุมาร), คู่กับ ทายก คือ ผู้ถวายจตุปัจจัยแก่ภิกษุสามเณร. |
ปักเป้า ๑ | (ปักกะ-) น. ชื่อปลาทุกชนิดในวงศ์ Tetraodontidae และ Diodontidae ลำตัวป้อมหรือกลมมากน้อยแล้วแต่ชนิด ขนาดยาวตั้งแต่ ๖-๖๐ เซนติเมตร เฉพาะบางสกุล เช่น สกุล Canthigaster, Chonerhinosและ Tetrodon ในวงศ์ Tetraodontidae สกุล Diodon และ Chilomycterus ในวงศ์ Diodontidae มีลักษณะแบนข้าง ทุกชนิดสามารถพองตัวได้ ผิวหนังมีหนาม ฟันมีลักษณะเป็นแผ่นกระดูกแข็ง ไม่มีครีบท้อง กินสัตว์อื่น ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล บางชนิดพบในนํ้าจืด เช่น ชนิด Chonerhinos modestus (Bleeker) ทุกชนิดมีพิษ ไม่ควรนำมารับประทานเพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้. |
แปงวง | (แป-งวง) น. แปซึ่งยื่นออกมารับงวงไอยราของลำยอง. |
ผู้ป่วยนอก | น. ผู้ป่วยที่มารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล แต่ไม่ได้นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล, คนไข้นอก ก็ว่า. |
แม่สายบัวแต่งตัวค้าง | น. ผู้หญิงที่แต่งตัวคอยผู้มารับออกนอกบ้าน แต่เขาไม่มาตามนัด. |
รับปาก | ก. รับคำ เช่น เขารับปากว่าจะมารับ แต่ก็ไม่มา, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ รับคำ เป็น รับปากรับคำ. |
เวท, เวท- | ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็นพื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการสร้างโลก ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหกของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตนหรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคลหรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรกเรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวทเข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรกของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. |
สกรรมกริยา | (สะกำกฺริยา, สะกำกะริยา) น. กริยาที่มีกรรมหรือผู้ถูกกระทำมารับ เช่น ดื่มน้ำ เตะฟุตบอล. |
สงฆ์ | น. ภิกษุ เช่น ของสงฆ์ พิธีสงฆ์, บางทีก็ใช้ควบกับคำ พระ หรือ ภิกษุ เป็น พระสงฆ์ หรือ ภิกษุสงฆ์ เช่น นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ มีภิกษุสงฆ์มารับบิณฑบาตมาก, ลักษณนามว่า รูป หรือ องค์ เช่น ภิกษุสงฆ์ ๒ รูป พระสงฆ์ ๔ องค์ |
สอ ๒ | ว. ประดังกัน เช่น วิ่งสอกันมารับหน้า, หลั่งออกมาออ ในคำว่า น้ำลายสอ. |
โสน ๒ | (สะโหฺน) น. ชื่อหนอนผีเสื้อกลางคืนชนิด Zeuzera coffeaeNietner ในวงศ์ Cossidae ยาว ๔-๖ เซนติเมตร สีขาวหรือชมพูอ่อน เจาะเข้าไปกินส่วนในของต้นโสน ชาวชนบทจับมารับประทาน, หนอนโสน ก็เรียก. |