มิลลิเมตร | น. ชื่อมาตราวัดตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑, ๐๐๐ ของ ๑ เมตร, อักษรย่อว่า มม. |
กระจกตา | น. ส่วนใสของตา มีรูปกลมแบน สีใส พื้นหน้านูนออกพื้นหลังหวำ หนาประมาณ ๑ มิลลิเมตร ประกอบอยู่เบื้องหน้าของดวงตา. |
กระดิ่งทอง | น. ชื่อแมลงพวกด้วงชนิด Martianus dermestoides Chevrolat ในวงศ์ Tenebrionidae ลำตัวยาว ๖-๗ มิลลิเมตร กว้าง ๒-๓ มิลลิเมตร สีน้ำตาลเกือบดำตลอดทั้งลำตัว ขา และปีก กินของแห้งทั้งพืชและสัตว์โดยเฉพาะเมล็ดบัว นิยมนำมาเลี้ยงด้วยเมล็ดบัวแห้ง หัวข้าวเย็นเหนือ หัวข้าวเย็นใต้ โดยเชื่อว่าเมื่อนำมารับประทานจะช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ, ม่าเหมี่ยว ก็เรียก. |
กระเบื้อง ๒ | น. ชื่อแมลงพวกด้วงชนิด Mesomorphus vitalisiChatanay ในวงศ์ Tenebrionidae ลำตัวสีน้ำตาลดำ ยาวประมาณ ๖ มิลลิเมตร มักเกาะกินเชื้อราตามผนังบ้านหรือผนังโบสถ์ที่เก่าและชื้นเป็นจำนวนมาก เห็นเป็นปื้นสีดำคล้ายเอากระเบื้องสีดำมาปะไว้. |
กะแท้ | น. ชื่อแมลงพวกมวนหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Cydnidae ลำตัวยาว ๔-๑๒ มิลลิเมตร รูปร่างรูปไข่ ส่วนใหญ่มีสีนํ้าตาลแก่อมดำหรือดำ มักบินเข้าหาแสงไฟ เมื่อจับต้องตัวจะปล่อยกลิ่นฉุนเหม็นติดมือ บางทีคล้ายกลิ่นอุจจาระของคน ที่พบบ่อย ได้แก่ ชนิด Geotomus pygmaeus (Dallas). |
กินูน | น. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Scarabaeidae ลำตัวมีขนาดและสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในดินกินรากพืช ตัวเต็มวัยอาศัยอยู่บนต้นไม้กินใบไม้ มักบินเข้าหาแสงไฟ ชาวบ้านในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมนำมารับประทาน ที่พบบ่อย เช่น ชนิด Anomala antiqueGyllenhal ลำตัวสีดำเหลือบน้ำเงิน ยาว ๑๘-๒๐ มิลลิเมตร ชนิด Sophrops foveatus Moser ลำตัวสีน้ำตาลแดง ยาวประมาณ ๑๕ มิลลิเมตร, แมลงนูน ก็เรียก. |
กุ้งเต้น ๒ | น. ชื่อสัตว์ขาปล้องหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Talitridae และ Hyalidae ลักษณะคล้ายกุ้งลำตัวขนาดเล็ก ยาว ๐.๕-๑๕.๐ มิลลิเมตร ตัวแบนทางข้าง หัวไม่มีปลอก อกปล้องแรกรวมกับหัว อกที่เหลือมี ๗ ปล้อง ท้องมี ๖ ปล้อง รยางค์ ๒ คู่แรกอยู่ติดกับหัว ใหญ่กว่าคู่อื่น บางคู่ปลายคล้ายก้ามหนีบ รยางค์ที่อกถัดมามี ๕ คู่ รยางค์ท้องมี ๖ คู่ ๓ คู่สุดท้ายสั้นแข็งใช้สำหรับดีด จึงดีดได้เก่ง อาศัยอยู่ตามฝั่งนํ้าหรือที่ชื้นแฉะ ที่พบบ่อยตามชายทะเลฝั่งตะวันออกของไทย เช่น ชนิด Orchestia floresianaWeber . |
ขมวน | (ขะหฺมวน) น. ชื่อหนอนแมลงพวกด้วงที่กินปลาแห้ง เนื้อแห้ง และอาหารแห้งอื่น ๆ โดยทิ้งรอยให้เห็นเป็นขุยเล็ก ๆ ออกมา ตัวหนอนมักมีสีครีมหรือนํ้าตาลอ่อน มีขนปกคลุม ที่พบบ่อย เช่น ชนิด Dermestes maculatus De Geer ในวงศ์ Dermestidae ซึ่งเมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะเป็นด้วงที่มีลำตัวยาว ๗-๙ มิลลิเมตร ตัวสีดำ ท้องสีขาวหม่นและมีเส้นสีดำพาดตามขวาง. |
ขยอก ๑ | (ขะหฺยอก) น. ชื่อหนอนผีเสื้อชนิด Parapoynx stagnalis (Zeller) ในวงศ์ Pyralidae ตัวหนอนมีผิวใสสีเขียวอ่อน หัวสีนํ้าตาล ข้างตัวมีเหงือกลักษณะเป็นพู่จำนวน ๖ คู่ สำหรับหายใจในนํ้าที่ขังอยู่ในปลอกหุ้มตัวซึ่งสร้างขึ้นจากใบข้าว ปลอกยาว ๒๕-๓๕ มิลลิเมตร ลอยไปตามน้ำได้ จัดเป็นศัตรูของข้าว, หนอนปลอกข้าว ก็เรียก. |
คันไฟ | น. ชื่อมดชนิด Solenopsis geminata (Fabricius) ในวงศ์ Formicidae ลำตัวยาวประมาณ ๕ มิลลิเมตร สีน้ำตาลแดง หัวค่อนข้างโต ทำรังอยู่ตามพื้นดิน โดยเฉพาะดินร่วนหรือดินทราย รังอาจอยู่ลึกลงไปใต้ดินถึง ๐.๕ เมตร มีอวัยวะสำหรับต่อยปล่อยกรดทำให้คัน ปวดแสบปวดร้อน และเป็นตุ่มแดงใหญ่. |
คุ่น | น. ชื่อแมลงในสกุล Simuliumวงศ์ Simuliidae ขนาดเล็ก มีความยาว ๒-๔ มิลลิเมตร ส่วนใหญ่ตัวป้อมสีดำ มีปีกใสค่อนข้างกว้าง ๑ คู่ มักพบบินเป็นกลุ่มเวลาพลบค่ำหรือเช้ามืดบริเวณลำธารน้ำไหล ดูดกินเลือดคนและสัตว์ ทำให้ผิวหนังบวมแดง ถ้าเป็นมากจะอักเสบจนเป็นหนอง เช่น ชนิด S. nigrogilrum Summers พบทางภาคเหนือ, บึ่ง ปึ่ง หรือ ริ้นดำ ก็เรียก. |
ง่าม ๒ | น. ชื่อมดชนิด Pheidologeton diversus (Jerdon) ในวงศ์ Formicidae สีนํ้าตาลแก่จนเกือบดำตลอดตัว มีกลิ่นเฉพาะตัว อยู่กันเป็นฝูง ในฝูงจะพบมดเฝ้ารังมีขากรรไกรเป็นง่ามใหญ่ ลำตัวยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร ส่วนมดงานลำตัวยาวเพียงประมาณ ๓ มิลลิเมตร. |
ชันโรง | (ชันนะ-) น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Apidae โดยทั่วไปมีขนาดลำตัวยาวไม่เกิน ๑๐ มิลลิเมตร อยู่รวมกันเป็นฝูงและแบ่งวรรณะเหมือนผึ้ง แต่ไม่มีเหล็กในอย่างผึ้งทั่วไป จึงไม่สามารถต่อยได้ ทำรังตามโพรงไม้หรือตามรอยแตกฝาผนังของบ้านเรือน รังทำจากสารเหนียวผสมขี้ดินและยางไม้ ที่พบมากในประเทศไทยอยู่ในสกุล Trigona ชนิดที่พบบ่อย เช่น ชนิด T. terminata Smith, T. apicalis Smith มีชื่ออื่น ๆ อีกตามท้องถิ่น เช่น หูด ขี้ตังนี หรือ กินชัน, อีสานเรียก ขี้สูด, ปักษ์ใต้เรียก ขี้ชัน. |
โซ่ลาน | น. โซ่เหล็กกว้างประมาณ ๔ มิลลิเมตร หนา ๐.๕ มิลลิเมตร ไม่ยืดหรือหดในทุกอุณหภูมิ มี ๒ ขนาด คือ ยาว ๔๐ เมตร และ ๕๐ เมตร ทั้ง ๒ ขนาด แบ่งออกเป็น ๑๐๐ ข้อต่อกัน ใช้วัดที่ดิน. |
ตะลาน ๒ | น. ชื่อมดชนิด Anoplolepsis gracilipes (Smith) ในวงศ์ Formicidae ลำตัวยาว ๔ มิลลิเมตร สีนํ้าตาลแดง ขายาว เดินได้เร็ว ไม่มีพิษ, ตาลาน หรือ ตะลีตะลาน ก็เรียก. |
ตัวจี๊ด | น. ชื่อพยาธิตัวกลมชนิด Gnathostoma spinigerum Owen ในวงศ์ Gnathostomatidae ลำตัวสีแดง ยาว ๑๐-๕๐ มิลลิเมตร ตัวเต็มวัยพบในกระเพาะของสุนัข แมว และเสือ ตัวอ่อนพบในปลา ไก่ กบ หรือสัตว์เลื้อยคลาน ติดต่อถึงคนได้ เมื่อกินเนื้อสัตว์เหล่านี้ที่ยังดิบซึ่งมีตัวอ่อนของพยาธิชนิดนี้อยู่ ตัวอ่อนเมื่ออยู่ในคนสามารถเคลื่อนตัวไปตามเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ได้ อาจเป็นตุ่มนูนขึ้นมาตามผิวหนัง ทำให้บวมและปวด, หนอนด้น ก็เรียก. |
เต่าทอง ๑ | น. ชื่อแมลงพวกด้วงขนาดเล็กหลายชนิด หลายสกุล ในวงศ์ Chrysomelidae รูปร่างค่อนข้างกลม ลำตัวโค้งแบน ปีกแข็งใส โค้งนูน เมื่อหุบปีกจดกันด้านหลังทำให้มองคล้ายหลังเต่า ปีกมีลวดลายเหลือบสีทอง เรียก เต่าทอง เช่น ชนิด Aspidomorpha sanctaecrucis (Fabricius) ตัวยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร ชนิด Cassida circumdata (Herbst) ตัวยาวประมาณ ๔ มิลลิเมตร. |
ทองคำ | น. ธาตุลำดับที่ ๗๙ สัญลักษณ์ Au เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเหลือง หลอมละลายที่ ๑๐๖๓ °ซ. เนื้ออ่อนมาก บุให้เป็นแผ่นจนมีความหนาน้อยกว่า ๐.๐๐๐๑ มิลลิเมตรได้ ใช้ทำรูปพรรณต่าง ๆ และทำเงินตรา ปัจจุบันกำหนดความบริสุทธิ์ของทองคำด้วยหน่วยกะรัต โดยกำหนดว่า ทองคำ ๒๔ กะรัตเป็นทองคำบริสุทธิ์ที่สุด. |
ทองคำเปลว | น. ทองคำที่มีเนื้อทองร้อยละ ๙๙.๙๒ และตีแผ่ให้เป็นแผ่นบางที่สุดได้ ๐.๐๑ มิลลิเมตร ตัดใส่แผ่นกระดาษ ใช้สำหรับปิดบนสิ่งที่ลงรักเช่นพระพุทธรูป. |
ทองใบ | น. ทองคำที่มีเนื้อทองร้อยละ ๙๙.๙ และตีแผ่ให้เป็นแผ่นบางที่สุดได้ ๐.๐๓ มิลลิเมตร. |
บั่ว | น. ชื่อแมลงขนาดเล็กชนิด Orseolia oryzae (Wood-Mason) ในวงศ์ Cecidomyiidae รูปร่างคล้ายยุง ลำตัวยาว ๓-๔ มิลลิเมตร สีส้ม มีปีกใส ๑ คู่ เป็นศัตรูสำคัญของข้าว ขณะเป็นตัวหนอนทำลายยอดข้าวจนใบที่ออกใหม่มีลักษณะเป็นหลอดทำให้ข้าวไม่ออกรวง. |
ปากขอ | น. ชื่อพยาธิตัวกลมขนาดเล็กหลายชนิด ในวงศ์ Ancylostomatidae หัวโค้งงอคล้ายตาขอ ในช่องปากมีอวัยวะคล้ายฟันแหลมหรือเป็นแผ่นใช้เกาะเกี่ยวผนังลำไส้ อาศัยดูดกินเลือดมนุษย์และสัตว์ มีขนาดต่าง ๆ กัน ยาว ๕-๓๐ มิลลิเมตร ชนิดที่อยู่ในลำไส้เล็กของมนุษย์ ได้แก่ ชนิด Necator americanus (Stiles), Ancylostoma duodenale Dubini ชนิดที่อยู่ในลำไส้เล็กของสุนัขและแมว ได้แก่ ชนิด A. braziliense Gomez de Foria, A. ceylanicum Looss. |
ปาทังกา | น. ชื่อตั๊กแตนชนิด Patanga succincta (Linn.) ในวงศ์ Acrididae ลำตัวยาว ๖-๗ เซนติเมตร กว้าง ๗-๘ มิลลิเมตร สีแตกต่างกันไปเป็นสีนํ้าตาล นํ้าตาลแก่ มีแถบสีครีมพาดจากหัวไปทางด้านหลังปล้องอกจนถึงปีก ขอบตาด้านหน้าและด้านหลังมีแถบสีครีมพาดยาวลงมา ปีกมีจุดและรอยด่างกระจายทั่วไป อาจพบอยู่เดี่ยว ๆ หรือเป็นฝูง กัดกินพืชต่าง ๆ. |
ปืนเล็ก | น. ปืนที่มีปากลำกล้องกว้างต่ำกว่า ๒๐ มิลลิเมตร ลงมา. |
ปืนใหญ่ | น. ปืนที่มีปากลำกล้องกว้างตั้งแต่ ๒๐ มิลลิเมตร ขึ้นไป. |
มดดำ | น. ชื่อมดหลายชนิด หลายสกุล ในวงศ์ Formicidae สีดำเป็นมันตลอดทั้งตัว ยาว ๕-๖ มิลลิเมตร มักทำรังอยู่บนต้นไม้โดยเฉพาะตามซอกของต้นไม้และพวกผลไม้ต่าง ๆ เมื่อถูกจับต้องจะส่งกลิ่นเหม็นฉุนออกมาป้องกันตัว ที่พบบ่อย เช่น ชนิด Dolichoderus thonacicus (Smith), ชนิด Paratreehina longicornis (Latreille). |
มิ้ม ๒ | น. ชื่อผึ้งชนิด Apis florea Fabricius ในวงศ์ Apidae เป็นผึ้งขนาดเล็ก ผึ้งงานลำตัวยาวประมาณ ๘ มิลลิเมตร อาศัยอยู่รวมเป็นฝูง ทำรังเป็นแผ่นเดี่ยว ๆ ตามกิ่งไม้ มักทิ้งรังเมื่อขาดแคลนอาหาร, มิ่ม นิ่ม หรือ นิ้ม ก็เรียก. |
แมลงดำหนาม | น. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Chrysomelidae มีขนาดแตกต่างกัน ปีกคู่หน้ามีหนามสีดำ กัดกินใบพืชเห็นเป็นทางขาว ที่พบกินใบข้าว เรียก แมลงดำหนามข้าว เช่น ชนิด Dicladispa armigera (Olivier) ลำตัวป้อม และแมลงดำหนามมะพร้าว (Plesispa reichei Chapuis) ลำตัวเรียวกว่า ทั้ง ๒ ชนิดลำตัวยาว ๕-๖ มิลลิเมตร. |
แมลงวัน | น. ชื่อแมลงหลายชนิด หลายสกุล หลายวงศ์ ในอันดับ Diptera มีปีก ๑ คู่ ลักษณะบางใส มีอวัยวะเป็นติ่งแทนปีกคู่ที่ ๒ ช่วยในการทรงตัว ปากเป็นชนิดซับดูด หนวดมี ๓ ปล้อง ปล้องปลายใหญ่สุดและมีขน ๑ เส้น ที่พบทั่วไป เช่น แมลงวันบ้าน (Musca domestica Linn.) ในวงศ์ Muscidae ลำตัวยาวประมาณ ๖ มิลลิเมตร สีน้ำตาลดำ กินอาหารหลากหลาย. |
ยุง | น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Culicidae โดยทั่วไปลำตัวยาว ๓-๖ มิลลิเมตร มีปีก ๑ คู่ ปีกมีส่วนคล้ายเกล็ดปกคลุมอยู่ตามเส้นปีกและอาจคลุมไปถึงหัวและลำตัวด้วย หนวดยาวลักษณะเป็นพู่ พู่ขนของเพศเมียสั้น ของเพศผู้ยาว ปากเป็นชนิดเจาะดูด เฉพาะตัวเมียดูดกินเลือดและเป็นพาหะนำโรคสู่คนและสัตว์ เพศผู้ดูดกินน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ เช่น ยุงรำคาญ ในสกุล Culex ยุงลาย ในสกุล Aedesยุงก้นปล่อง ในสกุล Anopheles. |
รังสีความร้อน | น. รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีย่านของการแผ่รังสีที่มีช่วงคลื่นประมาณระหว่าง ๗.๘ x ๑๐–๗ เมตร กับ ๑ มิลลิเมตร, อินฟราเรด ก็เรียก. |
เรือด | น. ชื่อแมลงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Cimicidae ลำตัวแบนราบรูปไข่ ปีกลดรูปเหลือเพียงติ่ง ลำตัวยาว ๔-๕ มิลลิเมตร สีนํ้าตาลแดง พบซ่อนตัวอยู่ตามที่อับเช่นที่อยู่อาศัยของคนและสัตว์โดยเฉพาะเตียงนอน พื้นบ้าน ที่นอนหมอนมุ้ง ร่องกระดาน ดูดกินเลือดคนและสัตว์ ที่แพร่หลายมี ๒ ชนิด คือ ชนิด Cimex lectularius Linn. และชนิด C. hemipterus (Fabricius). |
เรือดไม้ | น. ชื่อแมลงหลายชนิดหลายสกุล ในอันดับ Psocoptera ขนาดเล็กมาก ตัวยาว ๑-๒ มิลลิเมตร ลำตัวอ่อนมาก มักมีสีขาว อาจพบได้ทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ชนิดมีปีก ปีกมี ๒ คู่ เป็นแผ่นบางใส ขณะหุบปีกคลุมตัวเป็นรูปคล้ายหลังคา อาศัยอยู่ตามกองกระดาษ หนังสือ เศษขยะเก่า ๆ ในบ้าน ที่เก็บของในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ตามเปลือกไม้หรือบริเวณตามตะไคร่นํ้านอกบ้าน ที่อยู่ตามหนังสือเรียก เหาหนังสือ เช่น ชนิด Psocatropos microps (Enderlein) ในวงศ์ Psyllipsocidae, เลือดไม้ หรือ เหาไม้ ก็เรียก. |
ไรน้ำ | น. ชื่อสัตว์น้ำขาปล้องหลายชนิดหลายวงศ์ ในอันดับ cladocera รูปร่างแตกต่างกันไป โดยทั่วไปลำตัวกลมคล้ายไข่ ขนาดยาว ๐.๔-๑.๘ มิลลิเมตร มีแผ่นเปลือกคลุมประกบซ้ายขวา ท้ายสุดของส่วนท้องเป็นหนามแหลมยื่นและแยกเป็น ๒ แฉก ปากเล็ก กินสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก พบตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป เช่น ไรแดง [ Moina macrocopa (Straus) ] ในวงศ์ Daphnidae ไรน้ำกร่อย (Diaphanosomaspp.) ในวงศ์ Sididae, ลูกไร ก็เรียก. |
ลินสีด | น. ชื่อเมล็ดของต้นแฟลกซ์ มีลักษณะแบนรูปไข่ ยาว ๓-๔ มิลลิเมตร สีนํ้าตาล เรียบเป็นมัน. (อ. linseed) |
ลี่ ๑ | น. ชื่อมดชนิด Crematogaster rogenhoferi Mayer ในวงศ์ Formicidae ลำตัวยาวประมาณ ๔ มิลลิเมตร สีน้ำตาลแดง เวลาเดินยกส่วนท้องขึ้นเกือบตั้งฉากกับลำตัว อยู่กันเป็นฝูงตามต้นไม้ ทำรังด้วยดินและเศษพืชเป็นสีน้ำตาลดำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓๐ เซนติเมตร พอกอยู่ตามโคนต้นไม้คล้ายจอมปลวก หรือทำเป็นรูปทรงกลมตามกิ่งไม้หรือง่ามไม้, รี่ หรือ ตูดงอน ก็เรียก. |
โลน ๒ | น. ชื่อแมลงขนาดเล็กชนิด Pthirus pubis (Linn.) ในวงศ์ Pthiridae ยาว ๑.๕-๒ มิลลิเมตร ลำตัวค่อนไปทางรูปไข่แต่แบน สีนํ้าตาลอ่อน ไม่มีปีก ปลายขางอเป็นขอใช้เกาะ อาศัยตามบริเวณขนในที่ลับของคน กัดและดูดเลือดกินเป็นอาหาร ทำให้เกิดอาการคัน. |
เส้นด้าย | น. ชื่อพยาธิชนิด Enterobius vermicularis (Linn.) ในวงศ์ Oxyuridae ลำตัวเรียวยาว สีขาวหม่น ตัวผู้ยาว ๒-๕ มิลลิเมตร ตัวเมียยาว ๘-๑๓ มิลลิเมตร หางแหลม ตัวเต็มวัยอาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ของมนุษย์และลิงชิมแปนซี พบมากในเด็ก, เข็มหมุด ก็เรียก. |
เสือแมลงวัน | น. ชื่อแมงมุมขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Salticidae อาศัยอยู่ตามบ้านเรือน กระโดดจับแมลงวันกิน ที่พบบ่อยได้แก่ ชนิด Plexippus petersi (Karsch) ขนาด ๖-๙ มิลลิเมตร พื้นลำตัวสีขาวเทา เพศผู้เล็กกว่าเพศเมียและมีแต้มสีดำที่ด้านหลัง ส่วนเพศเมียไม่มีแต้ม. |
ไส้เดือนฝอย | น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังกลุ่มที่มีลำตัวกลมไม่เป็นปล้องหลายชนิด หลายสกุล หลายวงศ์ ขนาดแตกต่างกัน ชนิดที่รู้จักกันดี คือ ไส้เดือนฝอยรากปม [ Meloidogyne javanica (Treub) ] ในวงศ์ Meloidogynidae ขนาดประมาณ ๒ มิลลิเมตร ลำตัวเป็นริ้ว เป็นปรสิตตามรากผัก ถั่ว และต้นไม้. |
หนอนม้วนใบข้าว | ชื่อหนอนผีเสื้อหลายชนิดในสกุล Cnaphalocrocisและ Marasmia วงศ์ Pyralidae ตัวหนอนใสสีเขียวอ่อน หัวสีน้ำตาล ม้วนใบข้าวตามยาวเป็นที่อยู่แล้วกัดกินผิวใบอยู่ภายใน ทุกชนิดเป็นศัตรูข้าว ชนิดที่พบมากที่สุด ได้แก่ ชนิด C. medinalis (Guenée) ตัวหนอนยาวประมาณ ๑๒ มิลลิเมตร, หนอนห่อใบข้าว ก็เรียก. |
หมัด ๑ | น. ชื่อแมลงอันดับ Siphonaptera ตัวยาวประมาณ ๕ มิลลิเมตร ไม่มีปีก ลำตัวแบนข้าง มีขนเรียงเป็นแถวข้างลำตัวบริเวณปล้องแต่ละปล้อง หัวและอกเล็กกว่าท้อง ขายาว กระโดดได้ดี ปากเป็นชนิดเจาะดูด กินเลือดคนและสัตว์ เช่น หมัดคน (Pulex irritans Linn.) หมัดหมา [ Ctenocephalides canis (Curtis) ] หมัดหนู [ Xenopsylla cheopsis (Rothschild) ] ในวงศ์ Pulicidae. |
หลอดลมฝอย | น. ทางเดินอากาศหายใจส่วนล่างในปอด ขนาดไม่เกิน ๑ มิลลิเมตร. |
หล่า | น. ชื่อแมลงพวกมวนชนิด Scotinophara coarctata Fabricius ในวงศ์ Pentatomidae ลำตัวยาว ๗-๘ มิลลิเมตร รูปร่างคล้ายโล่ สีน้ำตาล เป็นแมลงศัตรูของข้าวโดยดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณโคนต้นข้าว ถ้าระบาดมากทำให้ต้นข้าวแห้งตายได้. |
หวี่ | น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Drosophilidae ยาว ๓-๔ มิลลิเมตร ส่วนใหญ่มีสีนํ้าตาลอมแดง ตาสีแดง มีปีกใส ๑ คู่ ตอมผลไม้หรือผักเน่าเปื่อย ที่พบมากที่สุดเป็นชนิด Drosophila melanogaster Meigen นิยมใช้เป็นสัตว์ทดลองในการศึกษาทางพันธุศาสตร์ของสัตว์. |
เห็บปลา | น. ชื่อสัตว์น้ำขาปล้องหลายชนิด ในวงศ์ Argulidae เมื่อโตขึ้นเกาะติดตามหัว ลำตัว เหงือก และครีบของปลา ขนาดยาว ๔-๑๑ มิลลิเมตร ลำตัวกลมใส แบน โค้งคว่ำ มีแผ่นแข็งคลุมส่วนหัวและอกซึ่งเชื่อมติดกัน ส่วนอกมีขา ๔ คู่ ใช้ว่ายน้ำ ส่วนท้องแบนเล็กและสั้น ปลายแยกเป็น ๒ แฉก ด้านล่างบริเวณหัวมีอวัยวะเป็นรูปถ้วย ๑ คู่ ใช้เกาะกับปลา ปากเป็นชนิดแทงดูด กินเลือดและของเหลวจากปลา ที่พบบ่อยในน้ำจืด เช่น ชนิด Argulus indicus Weber, A. siamensis Wilson ที่พบในทะเล เช่น ชนิด A. alosae Gould, เห็บน้ำ ก็เรียก. |
เหา ๑ | น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิด หลายสกุล หลายวงศ์ ในอันดับ Anoplura ส่วนใหญ่ตัวยาวไม่เกิน ๕ มิลลิเมตร ตัวแบน หัวแคบกว่าอกและยื่นไปข้างหน้าเห็นได้ชัด ตาเล็กมาก บางชนิดตาไม่เจริญ อกไม่แยกเป็นปล้องให้เห็นปลายขามีเล็บและหนามใช้ช่วยในการยึดขนหรือผม ปากเป็นชนิดเจาะดูด ดูดกินเลือดคนและสัตว์ อาศัยอยู่ตามบริเวณที่มีขนหรือผม ที่อยู่บนศีรษะของคนเป็น ชนิด Pediculus humanus capitis De Geer ในวงศ์ Pediculidae. |
เหาน้ำ | น. ชื่อสัตว์ขาปล้องหลายชนิด หลายสกุล หลายวงศ์ ในอันดับ Isopoda ที่เป็นปรสิตของสัตว์น้ำ ส่วนใหญ่ลำตัวยาวรีค่อนข้างแบน ที่สำคัญคือ มีหนวด ๒ คู่ และมีตาแบบไม่มีก้านตา ส่วนอกมี ๗ ปล้อง แต่ละปล้องมีรยางค์คล้ายขา ๑ คู่ ส่วนท้องมี ๖ ปล้อง มีรยางค์ว่ายน้ำ ๕ คู่ ลำตัวมีขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ ๕-๒๕ มิลลิเมตร และมีสีแตกต่างกัน เช่น นวล น้ำตาล ดำ ปากเป็นชนิดแทงดูด พบเกาะสัตว์น้ำหลายชนิด เช่น ปลา กุ้ง ปู ที่พบในน้ำจืด เช่น ในสกุล Alitropus วงศ์ Aegidae, ในน้ำเค็ม เช่น ในสกุล Livonecaวงศ์ Cymothoidae. |
อินฟราเรด | (-ฟฺรา-) น. รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีย่านของการแผ่รังสีที่มีช่วงคลื่นประมาณระหว่าง ๗.๘ x ๑๐-๗ เมตร กับ ๑ มิลลิเมตร, รังสีความร้อน ก็เรียก. |