ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: ยอมรับ, -ยอมรับ- |
Kim Taeyeon | (n, name) ศิลปินเกาหลี หัวหน้าวงเกิลกรุ๊ปชื่อดัง Girls' Generation หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า So nyeo Shi Dae ทั้ง 2 ชื่อแปลว่า ยุคของหญิงสาว มีสมาชิกทั้งหมด 9 คน มีผลงานเพลงออกมาหลายอัลบั้ม คิม แทยอน เป็นนักร้องที่เสียงทรงพลังมากที่สุดในวง มีพรสวรรค์ในการร้องเพลงเป็นอย่างมาก ด้วยน้ำเสียงที่หาคนเทียบได้ยาก ได้ร้องเพลงประกอบละคร ไว้หลายเรื่อง เช่น Hong Gill Dong / Beethoven Virus / Hana sang / Atena เป็นต้น และมีรางวัลการันตีในความสามารถด้านการร้องเพลงมากมาย มีผลงานดูเอ๊ทกับศิลปินหลายๆคน รวมถึง อาจารย์ที่สอน คิม แทยอนร้องเพลง หรือที่รู้จักในนามของ The one คิม แทยอน เป็นหัวหน้าวงที่นำวงจนสามารถรับรางวัลมากมาย รวมถึงรางวัล แผ่นเสียงทองคำ (Golden Disk Daesang) ทำให้ คิม แทยอน เป็นที่ยอมรับในวงการเพลงเกาหลี เป็นคนที่มากด้วยความสามารถ |
| ยอมรับ | (v) agree, See also: accept, concur, acquiesce, Syn. เห็นด้วย, Example: นักภาษาศาตร์คอมพิวเตอร์มักจะยอมรับการแก้ปัญหาแบบอนุโลม, Thai Definition: เห็นด้วยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง, ยอมรับเอา | ยอมรับ | (v) confess, See also: plead guilty, admit, Syn. สารภาพ, รับสารภาพ, รับผิด, Example: เขาไม่ยอมรับในสิ่งที่เขาทำให้เกิดผลเสียขึ้นมา | ที่ยอมรับ | (adj) acceptable, See also: agreeable, admissible, Syn. เป็นที่ยอมรับ | ยอมรับผิด | (v) confess, See also: admit/acknowledge one's mistake, Syn. รับผิด, Ant. ปฏิเสธ, Example: เขายอมรับผิดว่าเขาได้ให้ข่าวนี้แก่ผู้สื่อข่าวคนหนึ่ง, Thai Definition: ยอมรับความผิดที่ได้กระทำไป | ไม่ยอมรับ | (v) refuse to admit, See also: refuse to acknowledge, Syn. ไม่รับ, ไม่รับผิด, Example: จำเลยไม่ยอมรับว่าเป็นผู้ลงมือสังหาร, Thai Definition: ให้คำตอบปฏิเสธ, ไม่ยอมสารภาพ | เป็นที่ยอมรับ | (v) be accepted, See also: be acknowledged, be admitted, approve, be acceptable, Syn. เป็นที่รับรอง, Ant. ปฏิเสธ, Thai Definition: ได้รับการพิสูจน์โดยทั่วไปว่าเป็นจริง |
|
| กฎหมาย | น. กฎเกณฑ์ที่ผู้มีอำนาจตราขึ้นเพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตามเป็นการทั่วไป ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามย่อมได้รับผลร้าย กฎหมายอาจตราขึ้นเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ หรือเพื่อใช้ในการบริหารประเทศ กฎหมายอาจเกิดจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือกันก็ได้. | กฎหมายระหว่างประเทศ | น. หลักกฎหมายหรือหลักปฏิบัติที่ยอมรับกันว่าด้วยรัฐและความเกี่ยวพันระหว่างรัฐ รวมทั้งความเกี่ยวพันระหว่างรัฐกับองค์การระหว่างประเทศและประชาคมระหว่างประเทศ. | กระต่ายสามขา | ว. ยืนกรานไม่ยอมรับ, กระต่ายขาเดียว ก็ว่า. | กลฉ้อฉล | (กน-) น. การใช้อุบายหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือการจงใจปิดบังซ่อนเร้นข้อความจริงเพื่อให้ผู้อื่นหลงผิดจนเข้าทำนิติกรรม หรือจนคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งยอมรับข้อกำหนดอันเป็นภาระอันหนักขึ้นกว่าที่คู่กรณีฝ่ายนั้นจะยอมรับโดยปรกติ. | ขมา | การยกโทษให้เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งยอมรับผิด เช่น รับขมา. | ข้อมูล | น. ข้อเท็จจริง หรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือการคำนวณ. | ขี้แพ้ชวนตี | ก. แพ้ตามกติกาแล้วยังไม่ยอมรับว่าแพ้จะเอาชนะด้วยกำลัง, แพ้แล้วพาล. | ค้าประเวณี | ก. ยอมรับการกระทำชำเราหรือยอมรับการกระทำอื่นใด หรือกระทำการอื่นใด เพื่อสำเร็จความใคร่ในทางกามารมณ์ของผู้อื่น อันเป็นการสำส่อนเพื่อสินจ้างหรือประโยชน์อื่นใด ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ยอมรับการกระทำและผู้กระทำจะเป็นบุคคลเพศเดียวกันหรือคนละเพศ. | เครือจักรภพ, เครือรัฐ | (-จักกฺระพบ, -รัด) น. กลุ่มประเทศหรือรัฐที่มีการปกครองตนเอง แต่ยอมรับนับถือประมุขร่วมกัน เช่น ประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ รัฐต่าง ๆ ในเครือรัฐออสเตรเลีย. | งมงาย | ก. หลงเชื่อโดยไม่มีเหตุผล หรือโดยไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นหรือเหตุผลของผู้อื่น. | จารีตนครบาล | น. วิธีไต่สวนพิจารณาคดีนครบาลซึ่งเป็นคดีโจรผู้ร้ายหรือคดีที่มีโทษหลวง เมื่อคนร้ายจนต่อพยานหลักฐานแล้วแต่ยังไม่ยอมรับสารภาพ โดยให้ใช้ได้ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เช่น เฆี่ยน แต่ไม่ให้ถึงแก่ชีวิต. | ซ้อมค้าง | ก. พูดทึกทักเอาราวกับเป็นจริง เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมรับ. | ฐาน ๒, ฐาน-, ฐานะ | หลักฐาน, ลำดับความเป็นอยู่ในสังคม เช่น ทุกคนยอมรับรู้ฐานะในสังคมของเขา. | ดุษณี, ดุษณีภาพ | (ดุดสะนี-) น. อาการนิ่งซึ่งแสดงถึงการยอมรับ. | ตบหัวกลางศาลา ขอขมาที่บ้าน | ก. ยอมรับผิดไม่สมกับความผิดที่ทำไว้, ใช้เพี้ยนว่า ตบหัวที่ศาลา ขอขมาที่บ้าน ก็มี. | ต่อรอง | ก. ขอลดหรือเพิ่มเงื่อนไขเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของทั้ง ๒ ฝ่าย เช่น ต่อรองราคา ต่อรองเงื่อนไข. | ตามอำเภอใจ | ว. เอาแต่ใจตัว ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น. | ถือว่า | ก. จัดว่า, นัยว่า, ยอมรับว่า | ทุเรศ ๑ | ว. ลักษณะที่ขัดหูขัดตา น่ารังเกียจ หรือน่าสมเพช เป็นต้น, (ปาก) คำที่เปล่งออกมาแสดงการไม่ยอมรับหรือแสดงความรังเกียจ. | นิยต, นิยต- | ตระหนักแน่, เป็นที่ยอมรับ, เชิงสร้างสรรค์, ทางบวก. | นิยม | ก. ชมชอบ, ยอมรับนับถือ, ชื่นชมยินดี, ใช้ประกอบท้ายคำสมาสบางคำใช้เป็นชื่อลัทธิ เช่น ลัทธิชาตินิยม ลัทธิสังคมนิยม. | ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน | น. การให้คำมั่นสัญญาหรือการแสดงยืนยันถึงสิทธิหรืออำนาจอันชอบธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป. | ปฏิเสธ | ก. ไม่รับ, ไม่ยอมรับ, เช่น ปฏิเสธการเชิญ, ไม่ยอมรับข้อเท็จจริง เช่น ปฏิเสธข้อกล่าวหา | ปฏิเสธ | แสดงความหมายตรงกันข้ามกับยืนยัน รับ หรือ ยอมรับ. | ปิดหูปิดตา | ก. ไม่ยอมรับรู้รับฟัง, ไม่ยอมให้รู้ให้เห็น. | ผงก | (ผะหฺงก) ก. ยกหัวขึ้นน้อย ๆ, ก้มหัวลงแล้วเงยขึ้นโดยเร็วแสดงอาการยอมรับหรือเห็นด้วย. | ภาระจำยอม | น. ข้อผูกพันอันเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์จำต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น เช่น ทางภาระจำยอม. | รับผิด | ก. ยอมรับว่าทำผิด. | รับผิดชอบ | ก. ยอมรับผลทั้งที่ดีและไม่ดีในกิจการที่ตนได้ทำลงไปหรือที่อยู่ในความดูแลของตน เช่น สมุห์บัญชีรับผิดชอบเรื่องเกี่ยวกับการเงิน, รับเป็นภารธุระ เช่น งานนี้เขารับผิดชอบเรื่องอาหาร เธอจะไปไหนก็ไปเถอะ ฉันรับผิดชอบทุกอย่างในบ้านเอง. | รูปแบบ | น. รูปที่กำหนดขึ้นเป็นหลักหรือเป็นแนวซึ่งเป็นที่ยอมรับ เช่น รูปแบบร้อยกรอง | ล้างสมอง | ก. ทำให้บุคคลเปลี่ยนความคิดเห็นหรือความเชื่อถือของตนโดยเฉพาะในลัทธิการเมือง สังคม หรือศาสนาไปอย่างสิ้นเชิง และยอมรับความคิดเห็นหรือความเชื่อใหม่โดยใช้วิธีการต่าง ๆ รวมทั้งอาจมีการทรมานจิตใจอย่างรุนแรง. | ศาลแพ่ง | น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมชั้นต้นอื่น ศาลแพ่งมีเขตพื้นที่ตลอดท้องที่กรุงเทพมหานคร นอกจากเขตพื้นที่ที่อยู่ในเขตพื้นที่ของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลจังหวัดมีนบุรี แต่คดีที่อยู่นอกเขตพื้นที่ของศาลแพ่ง ศาลแพ่งอาจใช้ดุลพินิจยอมรับไว้พิจารณาพิพากษาได้. | ศาลอาญา | น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมชั้นต้นอื่น ศาลอาญา มีเขตพื้นที่ตลอดท้องที่กรุงเทพมหานครนอกจากเขตพื้นที่ที่อยู่ในเขตพื้นที่ของศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัดมีนบุรี แต่คดีที่อยู่นอกเขตพื้นที่ของศาลอาญา ศาลอาญาอาจใช้ดุลพินิจยอมรับไว้พิจารณาพิพากษาได้. | ศิลปิน, ศิลปี | (สินละ-) น. ผู้มีความสามารถแสดงออกซึ่งคุณสมบัติทางศิลปะในด้านจิตรกรรมประติมากรรมเป็นต้น และมีผลงานเป็นที่ยอมรับนับถือจากสถาบันทางศิลปะแห่งชาติ. | ษมา | (สะมา) น. การยกโทษให้เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งยอมรับผิด, ขมา ก็ว่า. | สมมต, สมมติ, สมมติ-, สมมุติ, สมมุติ- | (สมมด, สมมด, สมมดติ-, สมมุด, สมมุดติ-) ว. ที่ยอมรับตกลงกันเองโดยปริยาย โดยไม่คำนึงถึงสภาพที่แท้จริง เช่น สมมติเทพ. | สแลง | น. ถ้อยคำหรือสำนวนที่ใช้เข้าใจกันเฉพาะกลุ่มหรือชั่วระยะเวลาหนึ่ง ไม่ใช่ภาษาที่ยอมรับกันว่าถูกต้อง. | สัจพจน์ | (สัดจะ-) น. ข้อความที่ยอมรับในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ว่าจริงโดยไม่ต้องพิสูจน์. | เสาหลัก | น. บุคคลที่สังคมยอมรับนับถือว่าเป็นหลักของบ้านเมืองในด้านสติปัญญาหรือด้านวิทยาการต่าง ๆ เป็นต้น. | หงายบาตร | น. สังฆกรรมที่คณะสงฆ์ประกาศยกโทษให้แก่คฤหัสถ์ที่เคยถูกประกาศคว่ำบาตรมาแล้ว ด้วยการยอมรับบิณฑบาตเหมือนเดิม. | หวานอมขมกลืน | ก. ตกอยู่ในฐานะที่จำต้องยอมรับ ไม่ว่าจะดีหรือร้าย พอใจหรือไม่พอใจก็ตาม. | ให้ | น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้ โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับ และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น. | อดทน | ก. บึกบึน, ยอมรับสภาพความยากลำบาก. |
| plenary confession | ๑. การรับสารภาพตลอดข้อหา (ป. วิ. อาญา)๒. การยอมรับเต็มตามคำฟ้อง (ป. วิ. แพ่ง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | policy proof of interest | กรมธรรม์ยอมรับส่วนได้เสีย [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] | recognition | การยอมรับ [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] | recognition | ๑. การรับรอง (รัฐ, รัฐบาลใหม่)๒. การยอมรับนับถือ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | repudiation | การปฏิเสธ, การไม่ยอมรับ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | repudiation of a child | การไม่ยอมรับเด็กว่าเป็นบุตร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | seaworthiness admitted | สภาพพร้อมออกทะเลที่ยอมรับแล้ว [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] | subject approval no risk | การรับเสี่ยงภัยขึ้นอยู่กับการยอมรับเงื่อนไข [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] | servitude, involuntary | การจำยอมรับภาระ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | standpatter | ผู้ยืนกราน (ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | sublimation | ๑. การระเหิด๒. การเปลี่ยนให้เป็นที่ยอมรับ (กลไกทางจิต) [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] | acceptance test | การทดสอบเพื่อยอมรับ [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] | acceptance test | การทดสอบเพื่อยอมรับ [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | acquiescence | การยอมรับโดยปริยายที่ทำให้เสียสิทธิ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | admissible; admissible evidence | ๑. ที่รับไว้พิจารณาได้, ที่ยอมรับได้๒. ที่อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | admissible evidence; admissible | ๑. ที่รับไว้พิจารณาได้, ที่ยอมรับได้๒. ที่อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | admission | การยอมรับเป็นสมาชิก [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | admissions | การยอมรับ (ข้อเท็จจริง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | age admitted | อายุที่ยอมรับ [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] | acceptance, zone of | ขอบเขตการบังคับบัญชาที่ยอมรับได้ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | accepted value | มูลค่าที่ยอมรับ [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] | joinder in issue | การยอมรับข้อเท็จจริงของอีกฝ่ายหนึ่ง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | joinder in pleading | การยอมรับข้อเท็จจริงร่วมกัน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | judicial comity | การยอมรับนับถืออำนาจของศาล (ต่างประเทศ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | qui non negat fatetur (L.) | ผู้ไม่ปฏิเสธถือว่ายอมรับ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | comity, judicial | การยอมรับนับถืออำนาจของศาล (ต่างประเทศ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | disclaimer | การบอกเลิกข้อเรียกร้อง, การไม่ยอมรับสิทธิ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | disavow | ปฏิเสธ, ไม่ยอมรับ (การกระทำที่ไม่ได้รับมอบหมาย) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | disallowance | ๑. การไม่ยอมรับกฎหมาย (ที่ออกโดยอาณานิคมหรือเขตสังกัด)๒. การบอกปัด (ข้อเรียกร้อง) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | FAT (final acceptance test) | เอฟเอที (การตรวจสอบเพื่อยอมรับขั้นสุดท้าย) [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | final acceptance test (FAT) | การตรวจสอบเพื่อยอมรับขั้นสุดท้าย (เอฟเอที) [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | involuntary servitude | การจำยอมรับภาระ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | zone of acceptance | ขอบเขตการบังคับบัญชาที่ยอมรับได้ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | value received | มูลค่าที่ยอมรับ (ตั๋วแลกเงิน) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | true admission | การยอมรับพยานหลักฐานว่าเป็นจริง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | tacit acceptance | การยอมรับโดยปริยาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | negative pregnant | การภาคเสธ, การปฏิเสธที่มีผลเท่ากับการยอมรับ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | non-admission | การไม่ยอมรับ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | non placet (L.) | ไม่ยอมรับ, ไม่รับรอง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | non-acceptance | การไม่รับรอง (ตั๋วแลกเงิน), การไม่ยอมรับมอบ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | notice to admit | คำบอกกล่าวให้ยอมรับความถูกต้องของเอกสาร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
| Innovation | นวัตกรรม, นวัตกรรม หรือนวกรรม หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมา หรือการปรุงแต่งของเก่าให้ใหม่และเหมาะสม และสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลองพัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น โดย มีหลักการที่สำคัญอยู่ 3 ประการ ที่จัดเป็นหลักพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาหรือไม่ คือ <ul><li>สิ่งนั้นควรเป็นสิ่งที่ค้นพบ หรือประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ หรือการปรับปรุงแต่งของเก่าให้ใหม่เหมาะสมกับกาลสมัยมาใช้ในวงการศึกษา เพื่อให้ระบบการศึกษาก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ</li><li>ได้ผ่านการทดลอง การปรับปรุงพัฒนา จนเป็นที่ยอมรับกับอย่างแพร่หลาย</li><li>ได้มีการนำมาปฏิบัติจริงในวงการนั้น</li></ul> [เทคโนโลยีการศึกษา] | Kokoku | เอกสารสิทธิบัตรยื่นต่อสำนักงานสิทธิบัตรประเทศญี่ปุ่น ที่ทำการตรวจสอบแล้วและยอมรับให้เป็นเอกสารขอรับสิทธิบัตรที่สมบูรณ์ [ทรัพย์สินทางปัญญา] | Rejection | สำนักงานสิทธิบัตรปฏิเสธ ไม่ยอมรับคำขอรับสิทธิบัตร [ทรัพย์สินทางปัญญา] | Mutant variety | พืชพันธุ์กลาย, พืชพันธุ์ใหม่ที่พัฒนาขึ้นจากการใช้รังสีหรือสารเคมีเหนี่ยวนำให้เกิดการกลายพันธุ์ เป็นที่ยอมรับและมีการปลูกอย่างกว้างขวาง, Example: [นิวเคลียร์] | Mutant cultivar | พืชพันธุ์กลาย, พืชพันธุ์ใหม่ที่พัฒนาขึ้นจากการใช้รังสีหรือสารเคมีเหนี่ยวนำให้เกิดการกลายพันธุ์ เป็นที่ยอมรับและมีการปลูกอย่างกว้างขวาง [นิวเคลียร์] | กฎหมาย | กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม, Example: คำที่มักเขียนผิด คือ กฏหมาย [คำที่มักเขียนผิด] | Acceptance sampling | การสุ่มตัวอย่างเพื่อการยอมรับ [TU Subject Heading] | Admissible evidence | พยานหลักฐานที่ยอมรับได้ [TU Subject Heading] | Convention on the Recognition and Enforcement of Foreign Arbitral Award (1958) | อนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับและใช้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ (ค.ศ. 1958) [TU Subject Heading] | Patient acceptance of health care | การยอมรับการดูแลทางการแพทย์ของผู้ป่วย [TU Subject Heading] | Reception | การยอมรับ [TU Subject Heading] | Respect for persons | การยอมรับความเป็นมนุษย์ [TU Subject Heading] | Self-acceptance | การยอมรับตนเอง [TU Subject Heading] | Social acceptance | การยอมรับทางสังคม [TU Subject Heading] | Social acceptance in children | การยอมรับทางสังคมในเด็ก [TU Subject Heading] | Accession | การภาคยานุวัติ คือการที่รัฐหนึ่งเข้าไปเป็นภาคีสนธิสัญญา ซึ่งรัฐอื่น ๆ ได้วินิจฉัยตกลงก่อนแล้วและสนธิสัญญานั้นได้มีผลใช้บังคับก่อนแล้วด้วย บางที่ใช้คำ ?accession? ซึ่งตรงกับคำในภาษาฝรั่งเศสว่า ?adhésion? รัฐจะเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไม่ได้ นอกจากว่าในสนธิสัญญานั้นมีบทบัญญัติยอมให้รัฐอื่นเข้ามาเป็นภาคีด้วยได้ เช่น มาตรา 4 ของกฎบัตรแห่งสหประชาชาติบัญญัติไว้ว่า?(1) สมาชิกภาพในสหประชาชาติ เปิดรับบรรดารัฐอื่นๆ ทั้งหลายที่ยอมรับพันธกรณีที่ระบุไว้ในกฎบัตรปัจจุบันและองค์การสหประชาชาติ พิจารณาวินิจฉัยแล้วว่า รัฐนั้น ๆ สามารถและเต็มใจที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีเหล่านั้น??(2) การรับรัฐใดๆ ดังกล่าวเข้าเป็นสมาชิกในสหประชาชาติจะเป็นผลสำเร็จก็ต่อเมื่อสมัชชาสหประชา ชาติได้ลงมติรับรองตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง? คือ เอกสิทธิ์ทางการทูตในการที่จะได้มีถิ่นพำนัก [การทูต] | Break of Diplomatic Relations | การตัดความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อสองรัฐตัดความสัมพันธ์ทางการทูตซึ่งกันและกัน เพราะมีการไม่ลงรอยกันอย่างรุนแรง หรือเพราะเกิดสงคราม จึงไม่มีหนทางติดต่อกันได้โดยตรง ดังนั้น แต่ละรัฐมักจะขอให้มิตรประเทศที่เป็นกลางแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ยอมรับของรัฐอีกฝ่ายหนึ่ง ช่วยทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในอีกรัฐหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ช่วยดูแลคนชาติของรัฐนั้น ตัวอย่างเช่น ในตอนที่สหรัฐอเมริกากับคิวบาได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกดัน สหรัฐอเมริกาได้ขอให้คณะผู้แทนทางการทูตของสวิส ณ กรุงฮาวานา ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในประเทศคิวบา ในขณะเดียวกัน สถานเอกอัครราชทูตเช็คโกสโลวาเกียในกรุงวอชิงตัน ก็ได้รับการขอจากประเทศคิวบา ให้ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในสหรัฐอเมริกาถึงสังเกตว่า การตัดความสัมพันธ์ทางการทูตนี้ มิได้หมายความว่าความสัมพันธ์ทางกงสุลจะต้องตัดขาดไปด้วย มาตรา 45 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติว่า ?ถ้าความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองรัฐขาดลง หรือถ้าคณะผู้แทนถูกเรียกกลับเป็นการถาวรหรือชั่วคราวก. แม้ในกรณีการขัดแย้งกันด้วยอาวุธ รัฐผู้รับจะต้องเคารพและคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทนด้วยข. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการพิทักษ์สถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทน ให้แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับแก่รัฐผู้รับก็ได้ค. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการอารักขาผลประโยชน์ของคนและคนชาติของตน แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับได้แก่รัฐผู้รับก็ได้ [การทูต] | Convention on Prohibitions or Restrictions on the Use od Certain Conventional Weapons Which May Be Deemed to Be Excessively Inju | Convention on Prohibitions or Restrictions on the Use od Certain Conventional Weapons Which May Be Deemed to Be Excessively Injurious or to Have Indiscriminate Effects = อนุสัญญาห้ามอาวุธตามแบบบางชนิดที่ก่อให้เกิดการบาด เจ็บร้ายแรงเกินความจำเป็นหรือก่อให้เกิดลโดยไม่จำกัดเป้าหมาย มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการห้ามหรือหารจำกัดการใช้อาวุธตามแบบบางชนิดที่ก่อให้ เกิดผลกระทบร้ายแรงด้านมนุษยธรรม โดยสาระสำคัญของการ คอบคุมอาวุธตามแบบแต่ละชนิดจะถูกกำหนดไว้ในพิธีสารแต่ละฉบับต่างหาก ซึ่งในชั้นนี้ มีพิธีสาร 5 ฉบับ และรัฐต่างๆ สามารถเลือกยอมรับพิธีสารต่อท้ายอนุสัญญาฯ ฉบับใดก็ได้อย่างน้อยจำนวน 2 ฉบับ [การทูต] | Consular office Declared ?Non grata? | เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลจะถูกประกาศว่าไม่พึงปรารถนา หรือไม่พึงโปรดได้ ดังข้อ 23 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติไว้ด้วยข้อความดังนี้?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ว่าพนักงานฝ่ายกงสุลเป็น บุคคลที่ไม่พึงโปรด หรือบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีนั้นรัฐผู้ส่งจะเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นต่อสถานที่ทำการทางกงสุล แล้วแต่กรณี2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธหรือไม่นำพาภายในเวลาอันสมควรที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีของ ตนตามวรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับอาจเพิกถอนอนุมัติบัตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น หรือเลิกถือว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลก็ได้ แล้วแต่กรณี3. รัฐผู้รับอาจประกาศว่า บุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล เป็นผู้ที่ไม่อาจยอมรับได้ ก่อนที่บุคคลนั้นจะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับ หรืออยู่ในรัฐผู้รับแล้ว แต่ก่อนเข้ารับหน้าของตนต่อสถานที่ทำการทางกงสุลก็ได้ ในกรณีใด ๆ เช่นว่านั้น รัฐผู้ส่งจะเพิกถอนการแต่งตั้งบุคคลนั้น4. ในกรณีที่ได้บ่งไว้ในวรรค 1 และ 3 ของข้อนี้ รัฐผู้รับไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการวินิจฉัยของตนแก่รัฐผู้ส่ง?การ ที่รัฐผู้รับปฏิเสธที่จะออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตรหลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วนั้น เป็นสิทธิของรัฐผู้รับอันจะถูกโต้แย้งมิได้ ประเด็นที่เป็นปัญหาก็คือ รัฐผู้รับมีพันธะที่จะต้องอธิบายเหตุผลอย่างใดหรือไม่ ในการที่ปฏิเสธไม่ยอมออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตร หลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วข้อนี้ น้ำหนักของผู้ทรงอำนาจหน้าที่ดูแลจะเห็นคล้อยตามทรรศนะที่ว่า รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผลใด ๆ ทั้งสิ้นในการกระทำดังกล่าวเหตุผลของการไม่ยอมออกอนุมัติบัตรให้นั้นคือว่า ผู้ที่ไม่เห็นด้วย หรือไปแสดงสุนทรพจน์อันมีข้อความเป็นที่เสื่อมเสียแก่รัฐผู้รับ หรือเคยมีส่วนร่วมในการก่อการกบฏต่อรัฐผู้รับหรือเข้าไปแทรกแซงกิจการการ เมืองภายในของรัฐผู้รับ เป็นต้น [การทูต] | exequatur | อนุมัติบัตร หมายถึง การอนุมัติจากรัฐผู้รับไม่ว่าจะเป็นในรูปใดก็ตาม ยอมรับให้หัวหน้าสถานทำการทางกงสุลของรัฐผู้ส่งเข้าปฏิบัติหน้าที่ได้ (อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล พ.ศ. 2506) [การทูต] | final perimeter | แนวเขตที่ยอมรับกันในที่สุด [การทูต] | Good Offices และ Mediation | วิธีการที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐโดยฉันมิตร คำว่า Good Offices หมายถึง การช่วยเป็นสื่อกลาง ส่วน Mediation หมายถึง การไกล่เกลี่ยศัพท์ทั้งสองนี้หมายถึงวิธีการที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ โดยฉันมิตร กล่าวคือ ในกรณีข้อพิพาทซึ่งการเจรจากันทางการทูตไม่สามารถตกลงกันได้ง่าย ๆ ดังนั้น รัฐที่สามอาจยื่นมือเข้าช่วยเป็นสื่อกลาง หน้าที่ในการนี้มิใช่ออกความเห็นหรือวินิจฉัยชี้ขาดว่าใครถูกใครผิดในกรณี ข้อพิพาท หากเป็นแต่เพียงแสวงหาลู่ทางที่จะระงับข้อพิพาทจะต้องมีให้น้อยที่สุดเท่า ที่จะทำได้ และถือว่าเป็นกาดรกระทำฉันมิตร (Friendly act) คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจปฏิเสธข้อเสนอได้โดยไม่ถือว่าเป็นความผิดทางการ เมือง หรือคู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจขอร้องให้ช่วยเป็นสื่อกลาง หรือให้ช่วยไกล่เกลี่ย ตามธรรมดาการช่วยเป็นสื่อกลางนั้นเป็นเพียงการเข้าช่วยงานพื้นฐาน หรือให้มีการเริ่มต้นการเจรจาเท่านั้น ส่วนงานเจรจาที่จะกระทำโดยตรงกว่าจะมีลักษณะเป็นการไกล่เกลี่ย แต่ในทางปฏิบัติไม่ค่อยมีการคำนึงกันนักถึงความแตกต่างจริงๆ ระหว่างวิธีทั้งสอง คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจปฏิเสธไม่ยอมรับการไกล่เกลี่ยไม่ว่าเวลาใดก็ได้ จะเห็นได้ว่า การช่วยเป็นสื่อกลางกับการไกล่เกลี่ยนั้นแตกต่างกัน คือ ในกรณีการช่วยเป็นสื่อกลาง ฝ่ายที่สามจะกระทำแต่เพียงช่วยให้มีการหันหน้าเข้าเจรจากันระหว่างคู่พิพาท ส่วนในกรณีการไกล่เกลี่ย ฝ่ายที่สามพยายามจัดให้มีการเจรจากันจริง ๆ ตามมูลฐานข้อเสนอของตน ฝ่ายที่เสนอช่วยเป็นสื่อกลางหรือช่วยไกล่เกลี่ยนั้น อาจจะมาจากประเทศที่สาม หรือจากองค์การระหว่างประเทศ หรือจากบุคคลธรรมดาคนหนึ่งก็ได้ [การทูต] | Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] | Heads of State | ผู้แทนที่สำคัญที่สุดของรัฐ หรือประมุขของรัฐ ในบางกรณีอาจทำหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐ ในการเจริญความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ โดยมีอำนาจเต็มที่จะประกอบการใด ๆ ได้ ประมุขของรัฐนั้นอาจได้แก่ พระจักรพรรดิ (Emperor) พระเจ้าแผ่นดิน (King) พระราชินี (Queen) และประธานาธิบดี (President)ประมุขของรัฐย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการเคารพ และการยอมรับนับถือจากประเทศอื่นๆ ในสังคมนานาประเทศ ในแง่พิธีการทูต ผู้ที่เป็นกษัตริย์อาจได้รับเกียรติแตกต่างกับผู้ที่เป็นประธานาธิบดี แต่ความแตกต่างเช่นนี้หามีความสำคัญในแง่กฎหมายอย่างใดไม่ เมื่อประมุขของรัฐเดินทางไปเยือนต่างประเทศ ตัวประมุขพร้อมด้วยบุคคลในครอบครัวและบริวารทั้งหลาย ตลอดจนถึงทรัพย์สินของประมุขจะไดรับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งในทางแพ่งและอาญาคำว่าประมุขของรัฐอาจหมายถึงหัวหน้าของรัฐบาลก็ได้ เช่น ในกรณีสหรัฐอเมริกา แต่ในบางประเทศ เช่น อังกฤษ ประมุขของรัฐมิได้เป็นหัวหน้าของรัฐบาล ผู้ที่เป็นหัวหน้าของรัฐบาลได้แก่ นายกรัฐมนตรี (Prime Minister) ในประเทศที่มีการปกครองในรูปสาธารณรัฐ (Republic) ถือว่าอำนาจอธิปไตยตกอยู่กับประชาชน แม้แต่ตัวประธานาธิบดีของประเทศก็ไม่มีอำนาจอธิปไตย หากแต่เป็นประชาชนพลเมืองคนหนึ่ง ซึ่งได้รับการเลือกตั้งให้เข้าไปบริหารประเทศตามกำหนดระยะเวลาหนึ่งภายใต้ รัฐธรรมนูญ และตัวประธานาธิบดี เช่น ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ก็อาจถูกฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่งโดยรัฐสภา หรือสภานิติบัญญัติได้ เรียกว่า Impeachment [การทูต] | International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต] | legalisation | นิติกรณ์ " กระบวนการรับรองความถูกต้อง คำแปลหรือลายมือชื่อผู้มีอำนาจ ลงนามในเอกสาร โดยเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ สถานทูต สถานกงสุล หรือหน่วยงานตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ได้รับการยอมรับและสามารถนำไปใช้ได้ในทางการระหว่างประเทศ " [การทูต] | Legalisation (legalization) | นิติกรณ์ กระบวนการรับรองความถูกต้อง คำแปลหรือลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามในเอกสาร โดยเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ สถานฑูต สถานกงสุล หรือหน่วยงานตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ได้รับการยอมรับและสามารถนำไปใช้ได้ในทางการระหว่างประเทศ [การทูต] | Mutual Recognition Arrangement | ความร่วมมือเพื่อการยอมรับร่วม [การทูต] | Neutralization, Neutrality หรือ Neutralism | คำว่า Neutraliza-tion หมายถึง กระบวนการซึ่งรัฐได้รับการค้ำประกันความเป็นเอกราชและบูรณภาพอย่างถาวรภาย ใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ รัฐที่ได้รับการประกันรับรองให้เป็นกลาง (Neutralized State) เช่นนี้จะผูกมัดตนว่า จะละเว้นจาการใช้อาวุธโจมตีไม่ว่าประเทศใดทั้งสิ้น นอกเสียจากว่าจะถูกโจมตีก่อน ตัวอย่างอันเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในเรื่องรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความ เป็นกลางอย่างถาวร คือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตามปฏิญญา (Declaration) ซึ่งมีการลงนามกัน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1815 ประเทศใหญ่ ๆ ในสมัยนั้น คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส อังกฤษ ปรัสเซีย และรัสเซีย ได้รับรองว่า โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม จึงเป็นการจำเป็นที่จะให้รัฐเฮลเวติก(Helvetic Swiss States) ได้รับการประกันความเป็นกลางตลอดไป ทั้งยังประกาศด้วยว่า รัฐสภาของสวิตเซอร์แลนด์ตกลงรับปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้เมื่อไร ความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์ก็จะได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางในทันที และแล้วสมาพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ประกาศยอมรับปฏิบัติตาม หรือให้ภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 บรรดาประเทศที่รับรองค้ำประกันความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์จึงประกาศ รับรองดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 อนึ่ง การค้ำประกันความเป็นกลางในลักษณะที่ครอบคลุมทั้งประเทศของรัฐใดรัฐหนึ่ง นั้น มีความแตกต่างกับการค้ำประกันเพียงดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของรัฐหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางจะ ไม่ยอมให้ฝ่ายใดใช้ดินแดนส่วนที่ค้ำประกันนั้นเป็นเวทีสงครามเป็นอันขาด การค้ำประกันความเป็นกลางยังมีอีกแบบหนึ่งคือ รัฐหนึ่งจะประกาศตนแต่ฝ่ายเดียวว่าจะรักษาความเป็นกลางของตนตลอดไปโดยถาวร แต่ในกรณีเช่นนี้ ความเป็นเอกราชและบูรณภาพของรัฐที่ประกาศตนเป็นกลางเพียงฝ่ายเดียว จะไม่ได้รับการค้ำประกันร่วมกันจากรัฐอื่น ๆ แต่อย่างใดส่วนคติหรือลัทธิความเป็นกลาง (Neutralism) เป็นศัพท์ที่หมายถึงสถานภาพของรัฐต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการน้ำประเทศของตนเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในสงครามเย็น ( Cold War) ที่กำลังขับเคี่ยวกันอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศภาคตะวันออกกับกลุ่มประเทศภาค ตะวันตก นอกจากนี้ ผู้นำบางคนในกลุ่มของรัฐที่เป็นกลาง ไม่เห็นด้วยกีบการที่ใช้คำว่า ?Neutralism? เขาเหล่านี้เห็นว่าควรจะใช้คำว่า ?ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด? ( Uncommitted ) มากกว่าจะเห็นได้ว่า คำว่า ?ความเป็นกลาง? ( Neutrality ) นั้น หมายถึงความเป็นกลางโดยถาวร ซึ่งได้รับการค้ำประกันจากกลุ่มประเทศกลุ่มหนึ่ง เช่นในกรณีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้หรือหมายถึงความเป็นกลางเฉพาะในดินแดน ส่วนหนึ่งของรัฐที่ไม่ยอมให้ใครเข้าไปทำสงครามกันในดินแดนที่เป็นกลางส่วน นั้นเป็นอันขาดก็ได้ ดังนั้น พอจะเห็นได้ว่า แก่นแท้ในความหมายของความเป็นกลาง ( Neutrality) จึงอยู่ที่ท่าที หรือ ทัศนคติของประเทศที่ดำรงตนเป็นกลาง ไม่ต้องการเข้าข้างประเทศคู่สงครามใด ๆ ในสงคราม ในสมัยก่อนผู้คนยังไม่รู้จักความคิดเรื่องความเป็นกลางดังที่รู้จักเข้าใจ กันในปัจจุบัน ความเป็นกลางเป็นผลมาจากการทยอยวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของความเป็นกลาง นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน [การทูต] | pariah state | รัฐที่ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมนานาชาติ อาทิ มีรัฐบาลที่ถูกนานาชาติคว่ำบาตร [การทูต] | persona non grata | บุคคลทางการทูตที่รัฐผู้รับไม่ยอมรับ เช่น กรณีนักการทูตทำผิดกฎหมายหรือข้อบังคับทางศาสนาในประเทศที่พำนักอยู่ จนทางรัฐบาลของประเทศนั้นไม่อาจยอมรับได้และต้องให้เดินทางกลับออกนอกประเทศ นั้น อย่างไรก็ตาม นักการทูตอาจถูกรัฐบาลของรัฐผู้รับให้ออกนอกประเทศเป็น persona non grata ด้วยเหตุผลของการดำเนินการโต้ตอบทางการเมืองระหว่างรัฐผู้รับและรัฐผู้ส่งก็ เป็นได้ โดยที่นักการทูตผู้นั้นมิได้กระทำผิดกฎหมายของรัฐผู้รับหรือกระทำผิดทาง ศาสนาของรัฐผู้รับแต่อย่างใด [การทูต] | Persona non grata | เป็นศัพท์ที่ใช้กับนักการทูตหรือผู้แทนทางการทูต ที่ประจำอยู่ในประเทศซึ่งรัฐบาลของประเทศนั้นไม่ปรารถนาให้อยู่ต่อไปอีกแล้ว หลังจากที่ได้ไปประจำทำงานในตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้น หรือก่อนหน้าที่นักการทูตผู้นั้นจะเดินทางไปถึงดินแดนของประเทศผู้รับ (Receiving State) นักการทูตที่ถูกประกาศเป็น persona non grata หรือ บุคคลที่ไม่พึงปรารถนานั้น เป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้ คือ กล่าวคำดูหมิ่นรัฐบาลของประเทศที่ตนไปประจำอยู่ ละเมิดกฎหมายของบ้านเมืองนั้น แทรกแซงในการเมืองภายในของเขา เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในประเทศของเขา ใช้ถ้อยคำก้าวร้าวต่อประเทศนั้น วิพากษ์ประมุขแห่งประเทศของเขากระทำการอันเป็นที่เสียหายต่อประโยชน์หรือต่อ ความมั่นคงของประเทศ และกระทำการอื่น ๆ ในทำนองนั้นตามปกติรัฐบาลของประเทศเจ้าภาพที่เป็นฝ่ายเสียหายจะขอร้องให้ รัฐบาลผู้ส่ง (Sending government) เรียกตัวนักการทูตผู้กระทำผิดกลับประเทศ ซึ่งตามปกติรัฐบาลผู้ส่งมักจะปฏิบัติตาม รัฐบาลของประเทศผู้เสียหายจะแจ้งให้นักการทูตผู้นั้นทราบว่า รัฐบาลจะไม่ทำการติดต่อเกี่ยวข้องเป็นทางการกับเขาอีกต่อไป หรืออาจจะบอกให้นักการทูตผู้นั้นออกไปจากประเทศโดยไม่เกรงใจแต่อย่างใดก็ได้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 9 ดังต่อไปนี้ ?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ และโดยมิต้องชี้แจงถึงการวินิจฉัยของตนว่า หัวหน้าคณะผู้แทนหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ไม่พึงโปรด หรือว่าบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ของคณะผู้แทนเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีใดเช่นว่านี้ ให้รัฐผู้ส่งเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นกับคณะผู้แทนเสียก็ได้ตามที่เหมาะสมบุคคลอาจจะ ถูกประกาศให้เป็นผู้ไม่พึงโปรด หรือไม่พึงยอกรับได้ก่อนที่จะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับก็ได้ 2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธ หรือไม่นำพาภายในระยะเวลาอันสมควร ที่จะปฏิบัติตามข้อผูกพันของคนภายใต้วรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับสามารถปฏิเสธที่จะยอมรับนับถือบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นว่าเป็นบุคคล ในคณะผู้แทนก็ได้? [การทูต] | protocol | 1. พิธีการทูต 2. พิธีสาร " 1. พิธีการทูต หมายถึง หลักปฏิบัติ หรือมารยาททางการทูต (etiquette) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในนานาประเทศจนกลายเป็นรูปแบบที่ใช้กันในงานพิธีการ หรือรัฐพิธีต่าง ๆ รวมถึงเรื่องเอกสิทธิ์ ความคุ้มกัน ลำดับอาวุโส ฯลฯ ทั้งนี้ บุคคลซึ่งเป็นหัวหน้ารับผิดชอบด้านพิธีการทูต เรียกว่า Chief of Protocol สำหรับประเทศไทย คือ อธิบดีกรมพิธีการทูต ส่วนเจ้าหน้าที่พิธีการทูต เรียกว่า protocol official 2. พิธีสาร เป็นความตกลงระหว่างประเทศอย่างหนึ่ง โดยมากเป็นพิธีสารต่อท้ายสนธิสัญญาหรืออนุสัญญา หรือพิธีสารแก้ไขเพิ่มเติมสนธิสัญญาหรืออนุสัญญานั้น " [การทูต] | remain open to all states for signature and acceptance | เปิดให้รัฐทั้งปวงลงนามและให้การยอมรับ [การทูต] | Schengen States | กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปบางประเทศที่ยอมรับกันให้ประชาชนของแต่ละประเทศ สามารถเดินทางไปมาถึงกันและเข้าเมืองได้โดยไม่มีการตรวจลงตราหรือมีการควบ คุมใดๆ ระหว่างกัน และสำหรับประชาชนจากประเทศที่สาม หากได้รับอนุญาตให้เดินทางไปประเทศหนึ่งประเทศใดในกลุ่มประเทศนี้แล้ว จะสามารถเดินทางต่อไปประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มนี้ได้โดยไม่มีการควบคุม สมาชิกประกอบด้วย เบลเยี่ยม เยอรมนี ฝรั่งเศส กรีซ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย โปรตุเกส สวิตเซอร์แลนด์ และสเปน [การทูต] | Secretariat of the United Nations | คือสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ ประกอบด้วยตัวเลขาธิการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสมัชชาตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ตามที่องค์การต้องการหน้าที่สำคัญของเลขาธิการสหประชา ชาติ คือ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารขององค์การ นำเรื่องใดก็ตามเสนอต่อคณะมนตรีความมั่นคง ซี่งตามทรรศนะของเลขาธิการเห็นว่าเป็นภัยคุกคามสันติภาพและความมั่นคง ระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ทำรายงานประจำปี และรายงานเพิ่มเติมใด ๆ ที่จำเป็นเสนอต่อสมัชชาสหประชาชาติ เกี่ยวกับงานขององค์การ สหประชาชาติคณะเจ้าหน้าที่ที่ทำงานช่วยเหลือเลขาธิการนั้น ถือเป็นเจ้าหน้าที่ระหว่างประเทศ ประกอบด้วยชนชาติต่าง ๆ ในการเกณฑ์เจ้าหน้าที่เหล่านี้เข้าทำงานกับสหประชาชาติ จะคัดแต่ผู้ที่มีประสิทธิภาพ ความสามารถ และความซื่อสัตย์ในระดับสูงสุด และคำนึงถึงเขตภูมิศาสตร์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการทำงานตามหน้าที่ ทั้งตัวเลขาธิการและคณะเจ้าหน้าที่ผู้ร่วมงาน จะต้องไม่แสวงหรือรับคำสั่งจากรัฐบาลใด ๆ หรือจากผู้มีอำนาจหน้าที่อื่นใดที่อยู่นอกเหนือองค์การสหประชาชาติ ขณะเดียวกัน สมาชิกของสหประชาชาติได้ตกลงยอมรับนับถือความรับผิดชอบที่มีลักษณะระหว่าง ประเทศของสำนักเลขาธิการ และจักไม่แสวงใช้อิทธิพลใด ๆ ต่อสำนักเลขาธิการ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบเหล่านั้น [การทูต] | Size of Staff of Diplomatic Mission | ขนาดของคณะผู้แทนทางการทูต โดยพฤตินัย จำนวนคณะผู้แทนทางการทูตจะมีตั้งแต่แห่งละหนึ่งหรือสองคนขึ้นไป จนถึงแห่งละ 100 กว่าคนได้ แต่โดยส่วนเฉลี่ย คณะผู้แทนทางการทูต จะมีจำนวนระหว่าง 12 ถึง 24 คน สำหรับคณะผู้แทนทางการทูตที่ประจำอยู่ในนครหลวงของประเทศใหญ่ๆ เช่น ที่กรุงวอชิงตันดีซี กรุงลอนดอน กรุงปารีส กรุงมอสโก กรุงปักกิ่ง และกรุงโตเกียว เป็นต้น จะมีเจ้าหน้าที่ทูตมากกว่าปกติอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูตได้บัญญัติอยู่ในมาตรา 11 ว่า ?1. เมื่อไม่มีความตกลงเฉพาะในเรื่องขนาดของคณะผู้แทน รัฐผู้รับอาจเรียกร้องให้ขนาดของคณะผู้แทนอยู่ในจำนวนจำกัดตามที่ตนเห็นว่า เหมาะหรือเป็นปกติได้ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงพฤติการณ์หรือสภาวการณ์ในรัฐผู้รับ และความจำเป็นของคณะผู้แทนเฉพาะราย 2. ภายในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน และบนมูลฐานที่ไม่เลือกปฏิบัติ รัฐผู้รับอาจปฏิเสธได้เช่นเดียวกัน ที่จะยอมรับพนักงานเฉพาะรายประเภทหนึ่งประเภทใดก็ได้? [การทูต] | Work of the United Nations for the Independence of Colonial Peoples | งานขององค์การสหประชาชาติ ในการช่วยให้ชาติอาณานิคมทั้งหลายได้รับความเป็นเอกราช นับตั้งแต่เริ่มตั้งองค์การสหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ.1945 เป็นต้นมา มีชนชาติของดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง รวมทั้งดินแดนในภาวะทรัสตีตามส่วนต่าง ๆ ของโลก ได้รับความเป็นเอกราชไปแล้วไม่น้อยกว่า 170 ล้านคน ดินแดนที่แต่ก่อนยังไม่มีฐานะปกครองตนเองราว 50 แห่งได้กลายฐานะเป็นรัฐเอกราช มีอธิปไตยไปแล้ว ขณะนี้ยังเหลือดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเองอีกไม่มาก กำลังจะได้รับฐานะเป็นประเทศเอกราชต่อไปแม้ว่าปัจจัยสำคัญที่สุดซึ่งทำให้ เกิดวิวัฒนาการอันมีความสำคคัญทางประวัติศาสตร์ จะได้แก่ความปรารถนาอย่างแรงกล้าของประชาชนในดินแดนเมืองขึ้นทั้งหลาย แต่องค์การสหประชาชาติก็ได้แสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนชนชาติ ที่ยังมิได้เป็นเอกราช และชาติที่ยังปกครองดินแดนเหล่านั้นอยู่ ให้รีบเร่งที่จะให้ชาชาติในดินแดนเหล่านั้นได้รับฐานะเป็นเอกราชโดยเร็วที่ สุดเท่าที่จะเป็นไปได้การที่องค์การสหประชาชาติมีบทบาทหน้าที่ดังกล่าวเพราะ ถือตามหลักแห่งความเชื่อศรัทธาที่ว่า มนุษย์ไม่ว่าชายหรือหญิง และชาติทั้งหลายไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกัน และได้ยืนยันความตั้งใจอันแน่วแน่ของประเทศสมาชิกที่จะใช้กลไกระหว่างประเทศ ส่งเสริมให้ชนชาติทั้งหลายในโลกได้ประสบความก้าวหน้าทั้งในทางเศรษฐกิจและ สังคมนอกจากนั้น เพื่อเร่งรัดให้ชนชาติที่ยังอยูใต้การปกครองแบบอาณานิคมได้ก้าวหน้าไปสู่ เอกราช สมัชชาของสหประชาชาติ (General Assembly of the United Nations) ก็ได้ออกปฏิญญา (Declaration) เกี่ยวกับการให้ความเป็นเอกราชแก่ประเทศและชนชาติอาณานิคม เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 ซึ่งในปฏิญญานั้น ได้ประกาศยืนยันความจำเป็นที่จะให้ลัทธิอาณานิคมไม่ว่าในรูปใด สิ้นสุดลงโดยเร็วและปราศจากเงื่อนไขใด ๆ สมัชชายังได้ประกาศด้วยว่า การที่บังคับชนชาติอื่นให้ตกอยู่ใต้อำนาจการปกครอง แล้วเรียกร้องประโยชน์จากชนชาติเหล่านั้น ถือว่าเป็นการปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐาน เป็นการขัดกับกฎบัตรของสหประชาชาติ เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมสันติภาพและความร่วมมือของโลกสมัชชาสหประชาชาติ ยังได้ประกาศต่อไปว่า จะต้องมีการดำเนินการโดยด่วนที่สุด โดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อสงวนใด ๆ ตามเจตนารมณ์ ซึ่งแสดงออกอย่างเสรี โดยไม่จำกัดความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ หลักความเชื่อถือ หรือผิว เพื่อให้ดินแดนทั้งหลายที่ยังไม่ได้มีการปกครองของตนเองเหล่านั้นได้รับความ เป็นเอกราชและอิสรภาพโดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1961 สมัชชาสหประชาชาติก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อตรวจดูและให้มีการปฏิบัติให้เป็นตามคำปฏิญญาของสหประชาชาติ และถึงสิ้นปี ค.ศ. 1962 คณะกรรมการดังกล่าวได้ประชุมกันหลายต่อหลายครั้งทั้งในและนอกสำนักงานใหญ่ ขององค์การสหประชาชาติ แล้วรวบรวมเรื่องราวหลักฐานจากบรรดาตัวแทนของพรรคการเมืองทั้งหลาย จากดินแดนที่ยังไม่ได้รับการปกครองตนเอง แล้วคณะกรรมการได้ตั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ โดยมุ่งจะเร่งรัดให้การปกครองอาณานิคมสิ้นสุดลงโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ [การทูต] | Work of the United Nations on Human Rights | งานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน งานสำคัญชิ้นหนึ่งของสหประชาชาติคือ วควมมปรารถนาที่จะให้ประเทศทั้งหลายต่างเคารพและให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ มนุษยชนตลอดทั่วโลก ดังมาตรา 1 ในกฎบัตรของสหประชาติได้บัญญัติไว้ว่า?1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และมีเจตนามุ่งมั่นต่อจุดหมายปลายทางนี้ จะได้ดำเนินมาตรการร่วมกันให้บังเกิดผลจริงจัง เพื่อการป้องกันและขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ รวมทังเพื่อปราบปรามการรุกรานหรือการล่วงละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ ตลอดจนนำมาโดยสันติวิธี และสอดคล้องกับหลักแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปรับปรุงหรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การล่วงละเมิดสันติภาพได้ 2. เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดการเคารพต่อหลักการ แห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเองแห่งประชาชนทั้งปวงเป็นมูลฐานและจะได้ดำเนิน มาตรการอันเหมาะสมอย่างอื่น เพื่อเป็นกำลังแก่สันติภาพสากล 3. เพื่อทำการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นหลักมูลฐานสำหรับทุก ๆ คนโดยปราศจากความแตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางและประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งปวงในอันที่จะ บรรลุจุดหมายปลายทางเหล่านี้ร่วมกันด้วยความกลมกลืน"ดังนั้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 สมัชชาแห่งสหประชาชาติจึงได้ลงข้อมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชุมชนระหว่างประเทศ ที่ได้ยอมรับผิดชอบที่จะให้ความคุ้มครอง และเคารพปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยข้อความรวม 30 มาตรา กล่าวถึง1. สิทธิของพลเมืองทุกคนที่จะมีเสรีภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งสิทธิทางการเมือง2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 1 และ 2 เป็นมาตราที่กล่าวถึงหลักทั่วไป เช่น มนุษย์ปุถุชนทั้งหลายต่างเกิดมาพร้อมกับ อิสรภาพ และทรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่ระบุในปฏิญญาสากล โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างใด ๆ เชื้อชาติ เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรืออื่น ๆ ต้นกำเนิดแห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สินหรือสถานภาพอื่น ๆ ส่วนสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น ได้รับการรับรองอยู่ในมาตร 3 ถึง 21 ของปฏิญญาสากล เช่น รับรองว่าทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ มีเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย มีอิสรภาพจากความเป็นทาสหรือตกเป็นทาสรับใช้ มีเสรีภาพจากการถูกทรมาน หรือการถูกลงโทษอย่างโหดร้าย สิทธิที่จะได้รับการรับรองเป็นบุคคลภายใต้กฎหมาย ได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย มีเสรีภาพจากการถูกจับกุม กักขัง หรือถูกเนรเทศโดยพลการ มีสิทธิที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ สิทธิที่จะมีสัญชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแต่งงานและมีครอบครัว เป็นต้นส่วนมาตรา 22 ถึง 27 กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม เช่น มีสิทธิที่จะอยู่ภายใต้การประกันสังคม สิทธิที่จะทำงาน สิทธิที่จะพักผ่อนและมีเวลาว่าง สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพสูงพอที่จะให้มีสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิที่จะได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมของ ชุมชน มาตรา 28 ถึง 30 กล่าวถึงการรับรองว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะมีขีวิตอยู่ท่ามกลางความสงบเรียบร้อยของสังคมและระหว่าง ประเทศ และขณะเดียวกันได้เน้นว่า ทุกคนต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชุมชนด้วยสมัชชาสหประชาชาติได้ประกาศ ให้ถือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันที่ทุกประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ และเรียกร้องให้รัฐสมาชิกของสหประชาชาติช่วยกันส่งเสริมรับรองเคารพสิทธิและ เสรีภาพตามที่ปรากฎในปฏิญญาสากลโดยทั่วกัน โดยเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ สมัชชาสหประชาชาติจึงลงมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ให้ถือวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชนทั่วโลก [การทูต] | Generally Accepted Accounting Principles | หลักการบัญชีที่ยอมรับทั่วไป [การบัญชี] | Accept | การยอมรับ, ยอมรับ, ได้รับ [การแพทย์] | Acceptability | การยอมรับ, การยอมรับบริการจากประชาชน [การแพทย์] | Acceptance | ยอมรับความจริง, การยอมรับ [การแพทย์] | Acceptance of a Value | การยอมรับค่านิยม [การแพทย์] | Acceptance, Region of | ขอบเขตยอมรับสมมติฐาน [การแพทย์] | Accepted | เป็นที่ยอมรับ [การแพทย์] | Accepting | ยอมรับ, การยอมรับ [การแพทย์] | Actualization | ความต้องการการยอมรับจากผู้อื่น [การแพทย์] | Adoption | บุตรบุญธรรม, การรับ; การยอมรับ; การรับบุตรบุญธรรม [การแพทย์] | Adoption Stage | ระยะยอมรับเป็นนิสัย [การแพทย์] |
| Why are you bringing me into this? Face it, Jafar--you're still just second best! | ยอมรับซะ จาฟา เจ้าเป็นแค่ ที่สองเท่านั้น Aladdin (1992) | The reason I agreed to the evaluation was because I thought it would be fun. | เหตุผลที่ฉันยอมรับในการพิจารณาคดี เป็นเพราะ ฉันคิดว่ามันคงสนุก Basic Instinct (1992) | Because an unpreserved or contaminated chain of evidence will be deemed inadmissible in a future trial, Inspector Clouseau. | ...จะถือว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ ในการพิสูจน์ขั้นต่อไป ผู้ตรวจสอบ คลูโซ Basic Instinct (1992) | You can live with it, or you can fire me. | ยอมรับ ไม่งั้นก็ไล่ผมออก The Bodyguard (1992) | I'll suffer unrevenged, you're a fool. | ฉันจะยอมรับกรรมโดยไม่ได้แก้แค้น ก็แสดงว่าเธอโง่มาก Wuthering Heights (1992) | Do you think I'm going to accept friendship from you now? | คิดว่าดิฉันจะยอมรับ มิตรภาพจากคุณ ในตอนนี้ดอกหรือ Wuthering Heights (1992) | You realize, Dr. Angelo... that my intelligence has surpassed yours... and I can't allow your fear of what you don't understand... to get in the way of this work. | ก็นะ ด๊อกเตอร์แอนเจโล ความสามารถของผม ได้ก้าวล้ำคุณไปแล้ว และผมไม่อาจยอมรับ ความกลัวในสิ่งที่คุณไม่เข้าใจ The Lawnmower Man (1992) | 'People should just take me as I am' mused Hunt, as he strode along his Space Station corridor, his faithful dog Cosmo close to his heels. | "ประชาชนควรยอมรับในสิ่งที่ฉันเป็น" เขาพึมพัมกับตัวเอง สุนัขผู้ซื่อสัตย์นามคอสโมยืนหยัดเคียงข้างเขา The Cement Garden (1993) | If people really liked me, they'd take me as I am. | ถ้าคนชอบฉันจริง ก็ต้องยอมรับในสิ่งที่ฉันเป็น The Cement Garden (1993) | All boys secretly want to dress up like girls, but only a few like Tom have got the guts to admit it. | เด็กชายทุกคน ลึกๆแล้ว อยากแต่งเป็นผู้หญิง แต่น้อยคนที่จะยอมรับ แบบทอม The Cement Garden (1993) | Face it, Yul Brenner. | ยอมรับเถอะ ยูล แบรนเนอร์ นายจะเรียกตัวเองว่ามาดอนน่าก็ได้ Cool Runnings (1993) | Inspector Dixon admits there are scores of inconsistencies in the confessions. | ตรวจสอบ Dixon ยอมรับมีคะแนน ของความไม่สอดคล้องกันในคำสา In the Name of the Father (1993) | So accept it and get on with it. Right, come this way. | จึงยอมรับและได้รับการขึ้นกับมัน ขวามาทางนี้ In the Name of the Father (1993) | He recognized it in you the minute he saw you, Gareth. | เขาได้รับการยอมรับในคุณ นาทีที่เขาเห็นคุณ, Gareth In the Name of the Father (1993) | If I accept this mercy deal... | ถ้า l ยอมรับข้อตกลงความเมตตานี้ ... In the Name of the Father (1993) | The next few years I tried to accept my life, to act like an obedient wife. | อีกไม่กี่ปีต่อมา ฉันก็พยายามยอมรับชีวิตของตัวเอง เพื่อทำตัวให้เป็นลูกสะใภ้ที่เชื่อฟัง The Joy Luck Club (1993) | I figured she was going to have to accept Rich, like it or not. | ฉันคิดว่าเธอคงต้องยอมรับริช ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ก็ตาม The Joy Luck Club (1993) | Well, the firm decided it was unacceptable. | ทางบริษัทตัดสินใจว่ามันเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ The Joy Luck Club (1993) | The worst is just around the bend | ที่แย่ที่สุดคือ... มันเกี่ยวกับการยอมรับ The Nightmare Before Christmas (1993) | I have accepted them. | ฉันยอมรับมันแล้ว Schindler's List (1993) | Accepted them ? | ยอมรับรึ Schindler's List (1993) | The girl obviously died of something. | ท้ายที่สุดแล้ว เราอาจยอมรับว่า นี่เป็นเรื่องสยองขวัญ ที่อัศจรรย์ยิ่ง หรือ ? Deep Throat (1993) | If it was natural causes, maybe something was missed in the postmortem. | เห็นได้ชัด สาวคนนี้เสียชีวิต ด้วยบางสิ่ง ถ้ามันเป็นเหตุปกติ ก็พอยอมรับได้ Deep Throat (1993) | What happened here was a miracle, and I want you to fucking acknowledge it! | สิ่งที่เกิดขึ้นที่นี่เป็นความมหัศจรรย์และฉันต้องการให้คุณร่วมเพศยอมรับมัน! Pulp Fiction (1994) | Jules, did you ever hear the philosophy that once a man admits he is wrong... that he is immediately forgiven for all wrongdoings? | จูลส์, คุณเคยได้ยินปรัชญาว่าเมื่อผู้ชายคนหนึ่งยอมรับว่าเขาเป็นสิ่งที่ผิด ... ว่าเขาได้รับการให้อภัยได้ทันทีสำหรับความผิดทั้งหมดหรือไม่ Pulp Fiction (1994) | It's finished, Ariki-mau. Will you give your approval? | งานเสร็จแล้วท่านหัวหน้า ท่านจะยอมรับไหม Rapa Nui (1994) | They won't allow it. | - พวกเขาต้องไม่ยอมรับแน่ Rapa Nui (1994) | If you win, Make dies. Accept that. Believe me, he has. | นั่นคือถ้าเจ้าชนะมาเก้ตายยอมรับซะ เชื่อข้าเถอะมาเก้ยอมรับแล้ว Rapa Nui (1994) | If you can't admit it, you're pathetic. | ถ้าเธอไม่ยอมรับ เธอมันน่าสมเพช Wild Reeds (1994) | I admit it. I want to sleep with Serge... with Henri... | ฉันยอมรับ ฉันอยากนอน กับเสิร์จ... Wild Reeds (1994) | I must admit, I didn't think much of Andy, first time I laid eyes on him. | ผมต้องยอมรับว่าผมไม่ได้คิดว่ามากของแอนดี้ครั้งแรกที่ผมวางดวงตาบนเขา The Shawshank Redemption (1994) | I accept. | ผมยอมรับ Don Juan DeMarco (1994) | It was a small and isolated town that resisted modern technology. | มันเป็นเมืองเล็กๆ และห่างไกล ที่ไม่ยอมรับวิทยาการที่ทันสมัย Don Juan DeMarco (1994) | I will accept that I am not the first... | ฉันยอมรับว่าฉันไม่ใช่คนแรก Don Juan DeMarco (1994) | You people are professionals, I'll give you that. | พวกคุณที่นี่มือาชีพกันจริงๆ ผมยอมรับเลย In the Mouth of Madness (1994) | I appreciate your agreeing to undertake this. | ผมดีใจที่คุณ... ...ยอมรับข้อตกลงนี้ Ace Ventura: When Nature Calls (1995) | Tell me that, I'll settle for it. | ถ้าอย่างนั้นฉันยอมรับไหว Heat (1995) | And I bought into that sharing... because I love you. | ฉันยอมรับว่าจะแชร์ด้วย เพราะฉันรักคุณ Heat (1995) | Вut you gotta admit it's good and сlean fun | แต่คุณต้องยอมรับว่ามันก็สนุก ดีและสะอาด Snow White and the Seven Dwarfs (1937) | She knew that I'd sacrifice everything rather than stand up in a divorce court and give her away, admit that our marriage was a rotten fraud. | หล่อนรู้ดีว่าผมยอมเสียสละทุกอย่าง ดีกว่าที่จะยื่นฟ้องหย่าในศาล ปล่อยหล่อนไป เเละยอมรับว่า การแต่งงานของเราเป็นเรื่องหลอกลวง Rebecca (1940) | What about the knife this fine, upright boy admitted buying the night of the killing? | สิ่งที่เกี่ยวกับดดีเด็กตรงนี้ยอมรับการซื้อคืนของการฆ่าหรือไม่ 12 Angry Men (1957) | Aren't you asking us to accept an incredible coincidence? | คุณไม่ขอให้เรายอมรับเรื่องบังเอิญอย่างไม่น่าเชื่อ? 12 Angry Men (1957) | But perhaps he made himself believe he heard those words and recognised the boy's face. | แต่บางทีเขาอาจจะทำให้ตัวเองเชื่อว่าเขาได้ยินคำพูดเหล่านั้น และได้รับการยอมรับใบหน้าของเด็ก 12 Angry Men (1957) | The judge won't accept a hung jury. We haven't been here long. | ผู้พิพากษาจะไม่ยอมรับแขวนลูกขุน เรายังไม่ได้อยู่ที่นี่มานาน 12 Angry Men (1957) | The old man was suffering... ... although he did not admit to suffering at all. | ชายชรากำลังทุกข์ทรมานแม้ว่า เขาไม่ได้ยอมรับกับความทุกข์ ทรมานที่ทุกคน The Old Man and the Sea (1958) | Of all these crimes the accused has made a full spontaneous confession. | ความผิดทั้งหลายนี้ จำเลยยอมรับสารภาพหมดแต่โดยดี The Good, the Bad and the Ugly (1966) | The strange thing is, I agree, there was a good reason for fighting the war. | สิ่งที่แปลกก็คือว่าจริงๆ สิ่งที่แปลกก็คือว่าฉันยอมรับว่า มี เป็นเหตุผลที่ดีสำหรับการต่อสู้ สงคราม How I Won the War (1967) | But until that day accept this justice as a gift on my daughter's wedding day. | แต่จนถึงวันที่ ยอมรับความยุติธรรมนี้เป็นของขวัญในวันแต่งงานของลูกสาวของฉัน The Godfather (1972) | They're just not going to accept you. | พวกเขาไม่มีวันยอมรับนาย Blazing Saddles (1974) | Like I told you, once you establish yourself, they've got to accept you. | เหมือนที่บอก เมื่อคนเมืองนี้คุ้นฉันแล้ว พวกเขาจะยอมรับฉัน Blazing Saddles (1974) |
| การยอมรับ | [kān yømrap] (n) EN: acceptance ; acknowledgement ; admission FR: acceptation [ f ] ; admission [ f ] | การยอมรับโดยปริยาย | [kān yømrap dōi pariyāi] (n, exp) EN: tacit approval | การยอมรับเป็นสมาชิก | [kān yømrap pen samāchik] (n, exp) EN: admission FR: admission [ f ] | การยอมรับสภาพ | [kān yømrap saphāp] (n, exp) EN: resignation | ข้อเท็จจริงอันเป็นที่ยอมรับ | [khøthetjing an pen thī yømrap] (n, exp) EN: accepted fact | ไม่ยอมรับ | [mai yømrap] (v, exp) EN: refuse to admit ; refuse to acknowledge ; refuse ; reject ; disapprove FR: refuser d'admettre ; refuser de reconnaître ; refuser d'accepter | ไม่ยอมรับความจริง | [mai yømrap khwāmjing] (v, exp) FR: refuser la vérité | เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า... | [pen thī yømrap kan thūapai wā ...] (xp) EN: it is generally accepted that ... | ยอมรับ | [yømrap] (v) EN: accept ; agree ; admit ; acknowledge ; recognize ; admit the existence of ; concur ; acquiesce FR: accepter ; admettre ; acquiescer ; consentir ; avouer | ยอมรับได้ | [yømrap dāi] (adj) EN: acceptable FR: acceptable | ยอมรับโดยไม่มีข้อแม้ | [yømrap dōi mai mī khømaē] (v, exp) EN: accept unconditionally FR: accepter sans condition | ยอมรับคำขออภัย | [yømrap kham khø aphai] (v, exp) EN: accept an apology FR: accepter les excuses | ยอมรับความผิด | [yømrap khwāmphit] (v, exp) EN: face up FR: admettre ; accepter | ยอมรับไม่ได้ | [yømrap mai dāi] (adj) EN: unacceptable FR: inacceptable | ยอมรับผิด | [yømrap phit] (v, exp) EN: admit one's guilt ; admit one's mistake ; admit one's fault ; acknowledge one's mistake ; confess FR: reconnaître ses torts | ยอมรับสารภาพ | [yømrap sāraphāp] (v, exp) EN: confess |
| conventional wisdom | (noun, phrase) ความคิดเห็นหรือคำอธิบายที่ได้รับการยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญทำให้เกิดความยอมรับจากสาธารณชน ซึ่ง conventional wisdom อาจถูกหรือผิดก็ได้ |
| accede | (vi) เห็นด้วย, See also: ยินยอม, ยอมรับ, Syn. agree, consent | accept | (vt) เชื่อ, See also: ยอมรับว่าจริง, Syn. believe, trust, affirm | accept | (vt) ต้อนรับ, See also: ยอมรับเข้ากลุ่ม | accept | (vt) ยอมรับการตำหนิ, See also: รับผิดชอบ | accept | (vt) รับ, See also: ยอมรับ, รับเอามา, Syn. take, acquire, admit, Ant. refuse, refect | accept | (vt) เห็นด้วย, See also: เห็นด้วยกับ, ยอมรับ, ยินยอม | acceptable | (adj) ที่ยอมรับได้, See also: สามารถรับได้, ยอมรับได้, Syn. agreeable | acceptable | (adj) ี่น่าพอใจ, See also: น่ายินดี, ซึ่งเป็นที่ยอมรับ, Syn. satisfactory | acceptably | (adv) ยอมรับได้, Syn. adequately | acceptance | (n) การตอบรับ (เช่น ตอบรับเข้าทำงาน), See also: การยอมรับ | acceptance | (n) การยอมรับเข้ากลุ่ม | acceptation | (n) ความหมาย (ของคำหรือวลี) ที่เป็นที่ยอมรับทั่วกัน | accepted | (adj) ซึ่งเป็นที่ยอมรับ, Syn. conventional, approved, Ant. refused, denied, nullified | acceptor | (n) ผู้ที่ยอมรับใบเสร็จ (เพื่อจ่ายเมื่อถึงกำหนด) | accord | (n) การตกลงร่วมกัน, See also: การยอมรับร่วมกัน, Syn. harmony | accordance | (n) การยอมรับร่วมกัน, See also: การเห็นพ้องต้องกัน, Syn. agreement, conformity, harmony | according | (adj) ที่ยอมรับร่วมกัน, See also: ที่เห็นด้วย, ที่เห็นพ้องต้องกัน, Syn. agreeing | accredit | (vt) ให้การยอมรับนับถือ, See also: ให้เกียรติว่า | acknowledge | (vi) ยอมรับ, Syn. accept, recognize | acknowledge | (vt) ยอมรับ | acknowledged | (adj) เป็นที่ยอมรับ, Syn. accepted, approved | acknowledgement | (n) การยอมรับ, Syn. acknowledgment | acknowledgment | (n) การยอมรับ, Syn. acknowledgement | acquiesce | (vi) ยอมทำตาม, See also: ยอมรับ, เห็นด้วยอย่างเงียบๆ, Syn. consent, comply, submit | acquiescence | (n) การยอมตาม, See also: การยอมรับ, ความเห็นพ้อง, Syn. submission, resignation | admissible | (adj) ซึ่งยอมรับได้, Syn. acceptable, allowable | admission | (n) การประกาศยอมรับ, See also: การยอมรับ | admission | (n) คำสารภาพ, See also: คำยอมรับ | admit | (vi) ยอมรับ, See also: รับ, ยอมรับความจริง, Syn. receive | admit | (vt) ยอมรับ, See also: รับ, ยอมรับความจริง | admit | (vt) สารภาพ, See also: รับสารภาพ, ยอมรับผิด | admit | (vi) สารภาพ, See also: รับสารภาพ, ยอมรับผิด | admitted | (adj) ที่ยอมรับ | admittedly | (adv) เป็นที่ยอมรับกัน | adopt | (vt) ลงมติยอมรับ, Syn. affirm | agree | (vi) ตกลง, See also: ยอมรับ, ยินยอม | agree | (vi) ยอมรับ, See also: ยอมรับความจริง | agreement | (n) การเห็นพ้อง, See also: การเห็นด้วย, การเห็นชอบร่วมกัน, การยอมรับร่วมกัน, Syn. complying, accession, agreeing, Ant. disagreeing, disrupting | allow | (vt) ยอมรับ, See also: รับ | assent | (n) การตกลง, See also: การยินยอม, การยอมรับ, Syn. concent, agreement | assent | (vi) เห็นด้วย, See also: ยอมรับ, ยินยอม, Syn. agree, concur | assume | (vt) ยอมรับ, See also: รับผิดชอบ | axiom | (n) กฎเกณฑ์ที่ยอมรับกันทั่วไป, See also: หลักการที่เป็นที่ยอมรับ, Syn. maxim, saying, adage | able to take something | (idm) สามารถอดทนได้, See also: ยอมรับได้ | accede to | (phrv) ยอมทำตาม, See also: ยอมรับ, ยินยอมรับ, Syn. succeed to | accept as | (phrv) ยอมรับว่า, See also: ยอมรับ, Syn. acknowledge as | acknowledge as | (phrv) ยอมรับว่าเป็น, See also: ยอมรับ, Syn. accept as | admit to | (phrv) สารภาพผิดกับ, See also: ยอมรับว่า ทำผิด, คิดผิด, มีความผิด, สารภาพผิด, Syn. confess to | adopt as | (phrv) ยอมรับเป็นบุตรบุญธรรม, See also: ยอมรับเป็นลูก, ยอมรับ | agree to | (phrv) อนุมัติ, See also: ยอมรับ, Syn. accede to, acquiesce in, assent to consent to, dissent from |
| accept | (แอคเซพทฺ') vt., vi. รับ, ยอมรับ, ตกลง, สนอง, เห็นด้วย. -accepter n., Syn. agree | acceptable | (แอคเซพ' ทะเบิล) adj. ซึ่งยอมรับได้, เห็นด้วย, ถูกใจ, ต้อนรับได้ -acceptability n., Syn. admissible | acceptance | (แอคเซพ' เทินซฺ) n. การยอมรับ, การรับ, การตรวจรับ, การตกลงด้วย (approval) | acceptancy | (แอคเซพ' เทินซี) n. (pl. -cies) การยอมรับ, การเต็มใจรับ, Syn. acceptance | acceptant | (แอคเซพ' เทินทฺ) adj. เต็มใจรับ, ซึ่งยอมรับ, Syn. receptive | acceptation | (แอคเซพเท' เชิน) n. การเห็นด้วย, ความเชื่อ, ความหมายที่ยอมรับกันของศัพท์หรือวลีหรืออื่น, Syn. approval, belief | accepted | (แอคเซพ' ทิด) adj. ซึ่งยอมรับกันโดยทั่วไป | acknowledge | (แอคนอล' เลจฺ) vt. ยอมรับ (เป็นความจริง) , รับรอง, แจ้งว่าได้รับ, เห็นคุณค่า. -acknowledgeable adj., -acknowledgment, -acknowledgement n. | acquiesce | (แอค' ควิเอส) vi. ยอมรับในใจ, ยินยอม, นิ่งเฉย. -acquiescence n., | admission | (แอคมิช' เชิน) n. การรับเข้า, การยอมรับรอง, การรับสารภาพ, สิทธหรือวิธีการเข้าไป, ราคาสำหรับเข้าไป, การยอมรับข้อกล่าวหาหรือความจริง, Syn. allowance, admittance | admissive | (แอดมิส' ซิฟว) adj. ยินยอมรับ | admit | (แอสดมิท') vt., vi. ให้เข้า, รับเข้า, ให้สิทธิเข้าได้, ยอมให้, ยอมรับรอง, ยอมรับ, รับสารภาพ, รับ, รับรอง. -admittable, admittible adj., Syn. let in, concede | admittedly | (แอดมิท' ทิดลี) adv. เป็นที่ยอมรับกัน, Syn. by acknowledgment | aestheticism | (เอสเธท' ทิซิสซึม) การยอมรับความงามเป็นเอก., Syn. estheticism | agree | (อะกรี') vt., vi. ตกลง, เห็นพ้อง, ยอมรับ, เห็นด้วย, ยินยอม, สนับสนุน, ตกลงกำหนด, เข้ากันได้, ลงรอย, เหมือน, เหมาะ สมกับ. -agreeingly adv., Syn. concur, comply, assent | allowance | (อะเลา' เอินซฺ) n. การยินยอม, การอนุญาตให้, สิ่งที่ได้รับส่วนแบ่ง, เงินส่วนแบ่ง, เงินช่วยเหลือ, เงินค่าใช้จ่าย, ส่วนเสริม, การอดทน, การยอมรับ, การพิจารณา, การให้อภัย. vt. เพื่อให้, จัดให้, จัดสรร, Syn. share, allotment | apocrypha | (อะพอค'ระฟะ) n. กลุ่ม 14 บทหนังสือของพระคัมภีร์เก่า Old Testment ของคริสเตียน, บทหนังสือศาสนาที่หาแปล่งมาไม่แน่ชัดและไม่เป็นที่ยอมรับกันมาก (shorten) | assent | (อะเซนทฺ') vi. ตกลง, ยินยอม, ยอมรับ. -n. การตกลง, การยินยอม. -assentation n. -assentive adj., Syn. concur, agree, allow, Ant. dissent, disagree, denial | attorn | (อะเทอร์น') vi. ยอมรับเจ้าของที่ดินคนใหม่. -vt. ย้าย. -attornment n. | avouch | (อะเวาชฺ') vt. รับประกัน, รับรอง, รับผิดชอบ, ยอมรับ, สารภาพ. -avoucher n. | avow | (อะเวา') vt. ประกาศ, รับรอง, ยอมรับ, รับสารภาพ, ปฏิญาณ, สบถสาบาน. -avower n., Syn. testify, avouch, Ant. deny, hide | avowal | (อะเวา'เอิล) n. การรับรองอย่างเปิดเผยการประกาศ, การยอมรับ (acknowledgment) | avowed | (อะเวาดฺ') adj. ยอมรับ, ปฏิญาณ, สบถสาบาน. -avowedness n., Syn. admitted, confessed, Ant. secret, private | axiom | (แอค' เซียม) n. ความจริงที่ไม่ต้องพิสูจน์, ความจริงในตัวของมันเอง, กฎหรือหลักการที่ยอมรับกันทั่วไป (self-evident truth, maxim) | axiomatic | (แอคซิโอแมท' ทิค) adj. เกี่ยวกับ axiom, แน่ชัดในตัวของมันเอง, เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป., Syn. axiomatical adj. | bowing | (เบา'อิง) n. การคำนับ, การคารวะ, การยอมรับ | canonic | (คะนอน'นิค, -เคิล) adj. เกี่ยวกับวินัยศาสนา, เป็นที่ยอมรับ, แท้จริง, เกี่ยวกับแบบที่ง่ายที่สุดหรือได้มาตรฐาน, See also: cannonicals n. เสื้อคลุมพิธีศาสนา, canonicity n. ดู canonic | canonical | (คะนอน'นิค, -เคิล) adj. เกี่ยวกับวินัยศาสนา, เป็นที่ยอมรับ, แท้จริง, เกี่ยวกับแบบที่ง่ายที่สุดหรือได้มาตรฐาน, See also: cannonicals n. เสื้อคลุมพิธีศาสนา, canonicity n. ดู canonic | cognizance | n. การรับรู้, การยอมรับ, การสังเกต, คำสั่งศาล, อำนาจการพิจารณาคดี, อำนาจศาล, วงความรู้, ขอบข่ายของการสังเกต, Syn. cognisance | cognovit | n. การยอมรับของจำเลย, หนังสือยอมรับของจำเลย | compatibility | ความเข้ากันได้ความใช้แทนกันได้การเทียบเคียงกันได้หมายถึง ความสามารถในการทำงานของอุปกรณ์หรือโปรแกรมที่สามารถเทียบแทนกันได้กับอุปกรณ์หรือโปรแกรมที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับอยู่แล้ว เช่น ถ้าใช้ว่า "IBM Compat" ก็แปลความได้ว่าคอมพิวเตอร์นั้นไม่ใช่ยี่ห้อไอบีเอ็ม แต่ผลิตขึ้นมาด้วยมาตรฐานเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็ม และสามารถนำมาใช้แทนเครื่องไอบีเอ็มได้ (หมายถึง ใช้โปรแกรมหรือคำสั่งต่าง ๆ ของไอบีเอ็มได้นั่นเอง) | compromise | (คอม'พระไมซ) n. การประนีประนอม, การยอมรับ, การตกลงกันได้, สิ่งที่เป็นครึ่ง ๆ กลาง ๆ vt. ประนีประนอม, ยอม, เป็นอันตราย, เป็นภัยต่อ, พัวพัน. vi. ประนีประนอม, อ่อนข้อให้อย่างเสียเกียรติ, See also: compromiser n. ดูcompromise, Syn. arra | concede | (คันซีด') { conceded, conceding, concedes } vt. ยอมรับ, ยินยอม, ยอมให้, ยอมตาย. vi. ยอมอ่อนข้อให้, ยอม, See also: conceder n. ดูconcede, Syn. yield, assent, Ant. deny | condescend | (คอนดิเซนดฺ') { condescended, condescending, condescends } vt. ยอมรับ, ถ่อมตัวลง, ล้มลงมา, ก้มหัวให้., See also: condescendent adj. ดูcondescend condescender n. ดูcondescend, Syn. patronize, deign | condescending | (คอนดิเซน'ดิง) adj. ซึ่งยอมรับ (ความสามารถ คุณสมบัติหรืออื่น ๆ ของคนอื่น) เท่าเทียม | condescension | (คอนดิเซน'เชิน) n. การยอมรับ, การถ่อมตัวลงมา, การก้มหัวลง, ท่าทีที่กรุณา, ท่าทีที่เอื้อเฟื้อ., See also: condescensive adj. ดูcondescension, Syn. condescendence | confess | (คันเฟส') { confessed, confessing, confesses } vi., vt. สารภาพ, สารภาพความผิด, ยอมรับผิด., See also: confessable adj. ดูconfess confessingly adv. ดูconfess, Syn. disclose, concede, admit, Ant. deny, conceal, cover | confession | (คันเฟส'เชิน) n . การสารภาพ, การยอมรับ, การสารภาพความผิด, สิ่งที่ได้สารภาพ, การประกาศความเลื่อมใสและยอมรับการปฎิบัติตามความเชื่อทางศาสนา, สุสานนักบุญ, Syn. admission, confirmation | cop-out | (คอพ'เอาท) n. การไม่ยอมรับผิดชอบ, การไม่ยอมปฏิบัติตามคำมั่นหรือสัญญา, ผู้ที่ชองละทิ้ง | current | (เคอ'เรินทฺ) n., adj. แพร่หลาย, เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป, ปัจจุบัน, ซึ่งหมุนเวียนอยู่, ทั่ว ๆ ไป n. กระแสน้ำ, กระแสลม, กระแสไฟฟ้า, ความเร็วของกระแส | denial | (ดิไน'เอิล) n. การปฏิเสธ, การบอกปัด, การไม่ยอมรับ, การบังคับใจตัวเอง, การไม่ยอมตามใจตัวเอง | denier | (ดิไน'เออะ) n. ผู้ปฏิเสธ, ผู้ไม่ยอมรับ | deny | (ดิไน') { denied, denying, denies } vt. ปฎิเสธ, ไม่ยอมรับ, ไม่ตกลง, บังคับใจตัวเอง, Syn. dispute, Ant. affirm | disallow | (ดิสอะเลา') vt. ไม่ยอม, ไม่ยอมให้มี, ไม่ยอมรับความจริง, ปฏิเสธ, ไม่อนุญาต, See also: disallowable adj. disallowance n. | disavow | (ดิสอะเวา') vt. บอกปัด, ไม่ยอมรับ, ปฏิเสธ (การรับภาระ) ., See also: disavowal n. ดูdisavow | disclaim | (ดิสเคลม') vt., vi. ไม่ยอมรับ, สละสิทธิ, ละทิ้ง, ปฏิเสธความเป็นเจ้าของ, ออกตัว | disclaimer | (ดิสเคล'เมอะ) n. ผู้สละสิทธิ์, ผู้ไม้ยอมรับ, การไม่ยอมรับ, การสละสิทธิ์, คำพูด ข้อเขียนหรือเอกสารสละสิทธิ์ | disclamation | (ดิสคละเม'เชิน) n. การสละสิทธิ์, การปฏิเสธความเป็นเจ้าของ, การไม่ยอมรับ | dishonor | (ดิสออน'เนอะ) n. ความเสื่อมเกียรติ, ความอัปยศอดสู, ความดูถูก, การไม่ยอมรับตั๋วเงิน, การไม่ยอมจ่ายเงินสำหรับตั๋วเงิน, Syn. disgrace | dishonour | (ดิสออน'เนอะ) n. ความเสื่อมเกียรติ, ความอัปยศอดสู, ความดูถูก, การไม่ยอมรับตั๋วเงิน, การไม่ยอมจ่ายเงินสำหรับตั๋วเงิน, Syn. disgrace |
| accept | (vt) ยอมรับ, รับ | acceptable | (adj) ยอมรับได้, รับได้, เป็นที่พอใจ | acceptance | (n) การยอมรับ, การรับ, การเห็นด้วย | acceptation | (n) ความหมายทั่วไป, การยอมรับ, การเห็นชอบ | acceptor | (n) ผู้ยอมรับ | accession | (n) การยอมรับ, การเข้าถึง, การครอบครอง | acknowledge | (vt) รับรอง, ยอมรับ, รับว่า | acknowledgement | (n) การรับรอง, การยอมรับ, การรับ | acquiesce | (vi) ยินยอม, ยอมรับ, สงบปากสงบคำ, นิ่งเฉย | acquiescence | (n) การยินยอม, การยอมรับ, การสงบปากสงบคำ, การนิ่งเฉย | admission | (n) การอนุญาตให้เข้า, ค่าผ่านประตู, การยอมรับ, การรับเข้า | admit | (vi, vt) อนุญาตให้เข้า, ยอมรับ, รับ | admittedly | (adv) เป็นที่ยอมรับ | amenable | (adj) รับผิดชอบ, ยอมรับฟัง, ถือสาหาความได้ | assent | (n) การยินยอม, การเห็นพ้องต้องกัน, การยอมรับ, การตกลง | assent | (vi) เห็นด้วย, ตกลง, ยอมรับ, ยินยอม | avouch | (vt) รับผิดชอบ, ยอมรับ, รับรอง, รับประกัน | avowal | (n) การยอมรับ, การสารภาพ, การรับรอง, การปฏิญาณ | avowedly | (adj) อย่างเปิดเผย, อย่างยอมรับ | cognizance | (n) การยอมรับ, การสังเกต, อำนาจการพิจารณาคดี | concede | (vt) ยอมรับ, ยกให้, ยอมให้, ยอมตาม, ยินยอม | concession | (n) การยอมให้, การยินยอม, การยอมรับ, การให้เช่าที่, สัมปทาน | condescend | (vi) ถ่อมตัว, ยอมรับ, ก้มลงมา, ก้มหัวให้ | condescension | (n) การถ่อมตัว, การยอมรับ, การก้มลงมา | confess | (vi) สารภาพ, ยอมรับ, รับ | confession | (n) การสารภาพ, การยอมรับ | denial | (n) การปฏิเสธ, การไม่ยอมรับ, การบอกปัด | deny | (vt) ปฏิเสธ, บอกปัด, ไม่ปฏิบัติตาม, ไม่ตกลง, ไม่ยอมรับ | disavow | (vt) ไม่ยอมรับ, ปฏิเสธ, บอกปัด | disbelief | (n) ความไม่เชื่อ, การไม่ยอมรับ | disbelieve | (vt) ไม่เชื่อ, ไม่ยอมรับ | disclaim | (vt) ไม่ยอมรับ, ออกตัว, ละทิ้ง, สละสิทธิ์ | disown | (vt) ไม่ยอมรับ, ปฏิเสธ, บอกปัด, บอกเลิก, บอกศาลา | grant | (vi, vt) ยอมรับ, อนุญาต, ยินยอม, ยอมให้, ตกลงตาม, มอบให้ | impenetrable | (adj) ผ่านเข้าไปไม่ได้, เข้าใจยาก, ไม่ยอมรับ | impenitent | (adj) ไม่รู้สึกผิด, ดื้อดึง, ดื้อรั้น, ไม่ยอมรับ | own | (vi) รับสารภาพ, ยอมรับ | passable | (adj) ผ่านไปได้, พอควร, ดีปานกลาง, ยอมรับได้ | profess | (vi) ยอมรับ, จ้าง, แสร้งทำ, ปฏิญาณตัว | profess | (vt) แสดงตัว, ประกาศ, ประกอบอาชีพ, นับถือ, ยอมรับ | profession | (n) อาชีพ, วิชาชีพ, การปฏิญาณตัว, การแสดงตัว, การยอมรับ | receive | (vt) ต้อนรับ, ได้รับ, ยอมรับ, ประสบ, รับฟัง | recognize | (vt) จำได้, สำนึก, เอาใจใส่, รู้จัก, ทักทาย, ยอมรับ | refuse | (vi, vt) บอกปัด, ปฏิเสธ, ไม่ยอมรับ | repel | (vt) ขับไล่, ต้านทาน, ไม่ยอมรับ, ผลักไส, ปฏิเสธ | servility | (n) การยอมรับใช้, ลักษณะเยี่ยงทาส, ความสิ้นคิด | shrift | (n) การยอมรับ, การสารภาพบาป, การเปิดเผยความลับ, การล้างบาป | swallow | (vt) ขยอก, กลืน, ท่วม, อดกลั้น, ยอมรับ | undertake | (vi) พยายาม, อาสา, ยอมรับ, รีบทำ, รับรอง | vouchsafe | (vi) ถ่อมตัวลงมา, ลดตัวลง, ยอมรับ |
| adaptogen | [อะ-แด๊พ-เถอะ-เจิ่น] (n) (ในทางยาสมุนไพร) สารธรรมชาติที่ไม่มีพิษและได้รับการยอมรับว่ามีสรรพคุณในการช่วยให้ร่างกายปรับตัวหรือรับมือกับความเครียดได้ เช่น Ashwagandha แอชวากานด้า | Creative Common | (n) สัญญาอนุญาตให้ผู้อื่นนำสำเนาผลงานของผู้เขียน ผู้ประพันธ์ หรือผู้สร้างไปเผยแพร่ผลงานต่อ ซึ่งมีอยู่หลายแบบ โดยผู้สร้างสามารถเลือกได้ว่าจะให้อนุญาตแบบไหน ซึ่งได้แก่ "ยอมรับสิทธิของผู้สร้าง" (Attribution) "ไม่ใช้เพื่อการค้า" (Noncommercial) "ไม่แก้ไขต้นฉบับ" (No Derivative Works) และ "ใช้สัญญาอนุญาตแบบเดียวกัน" (Share Alike), Syn. copyleft | Dominion | (รัฐศาสตร์) รัฐอธิราช เป็นประเทศเอกราชซึ่งยอมรับกษัตริย์สหราชอาณาจักรเป็นประมุขแห่งรัฐ | extortionate | (adj) มากเกินกว่าที่จะยอมรับได้ | guilty as charged | (phrase) ฉันยอมรับตามนั้น เช่น A: "Were you in that place yesterday?" B: "guilty as charged" | hail | (vt) ยอมรับ เช่น he hailed the court's decision. | Inclusive Education | (n) การศึกษาแบบเรียนร่วม การจัดการศึกษาให้กับกลุ่มบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ เช่น คนพิการ คนด้อยโอกาส คนไร้สัญชาติ คนอพยพ โดยคำนึงถึงการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ในโรงเรียน หรือระบบการศึกษาแบบปกติ มีจุดมุงหมายเพื่อสร้างความเข้าใจ และการยอมรับความแตกต่าง ความสามารถระหว่างบุคคล เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบศักยภาพของตนเอง และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติสุข | iou | (n) หนังสือยอมรับสภาพหนี้ | neandethal | [ni:'ændə:, θɔ:l] (adj) ADJ.เกี่ยวกับมนุษย์ยุคหิน syn:(neanderthal) ADJ. ล้าสมัยมาก relate:{ ซึ่งไม่ต้องการความเปลี่ยนแปลง } syn:(neanderthal) ADJ. หยาบคาย relate:{ ซึ่งทำสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับ } syn:(neanderthal) N. มนุษย์ยุคหิน | Pharmacopoeia | [ฟามาโคเปีย] (n, pharm) หนังสือตำรายาฉบับสากล ยอมรับและใช้กันทั่วโลก บอกข้อมูลเกี่ยวกับยาและวิธีการตรวจสอบยาในหัวข้อต่างๆ หัวข้อใน pharmacopoeia เช่น Description, Purity rubric, Identification, Assay เป็นต้น Pharmacopoeia ที่ใช้กันในปัจจุบัน เช่น USP(pharmacopoeia ของUSA), BP(pharmacopoeia ของBritish) JP(pharmacopoeia ของ Japan) ปัจจุบันประเทศไทยมี pharmacopoeia เป็นของตัวเองแล้ว โดยใช้อักษรย่อว่า TP จัดพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ | plant health | (n) ความสามารถในการทำหน้าที่ทางสรีระวิทยาตามปกติในระดับที่ยอมรับได้ ซึ่งสอดคล้องกับศักยภาพทางพันธุกรรม | receive with open arms | ยอมรับ, Syn. To welcome cordially | up to snuff | [อัพ ทู สนัพ] บางคนหรือบางสิ่งที่อยู่ในเกณฑ์หรือคุณภาพที่ยอมรับได้ (โดยมากใช้ความหมายเชิงลบ) |
| 定着 | [ていちゃく, teichaku] (n, vt) ยึดติด, เป็นที่ยอมรับ | 認識 | [にんしき, ninshiki] (n) การยอมรับ | 納得 | [なっとく, nattoku] การเข้าใจยอมรับ | 定評 | [ていひょう, teihyou] (adv) ชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ | 尊重 | [そんちょう, sonchou] (adj) ยอมรับ(ความคิด) | 認める | [みとめる, mitomeru] ยอมรับ |
| 受け入れる | [うけいれる, ukeireru] TH: ยอมรับ EN: to accept |
| eben | เป็นคำที่ใช้เสริมเพื่อบ่งว่าต้องยอมรับเหตุการณ์นั้นๆ เช่น Er kann gar nicht schaffen. Er ist eben mein Bruder. เขาไม่เป็นโล้ไม่เป็นพาย อย่างนั้นก็เถอะเขาก็เป็นน้องชายของฉัน, Syn. halt | etw. in Kauf nehmen | (phrase) ยอมรับในสิ่งนั้น (ส่วนใหญ่ทางด้านไม่ดี), See also: akzeptieren | gestehen | (vi) |gestand, gestanden| ยอมรับผิด, See also: zugeben | etw. gefallen lassen | (phrase) ยอมรับ หรือ ไม่ต่อต้านให้สิ่งนั้นๆ เกิดขึ้น หรือ ยอมทนให้เกิดขึ้น เช่น Demonstration gefallen lassen = ยอมให้มีการประท้วงเกิดขึ้น | annehmen | (vi) |nimmt an, nahm an, hat angenommen| ยอมรับด้วยดี, เห็นด้วย เช่น eine Bedingung annehmen ยอมรับเงื่อนไข | zugeben | (vi) |gab zu, hat zugegeben| ยอมรับว่าผิด, ยินยอม, ยอมรับ เช่น Ich muß zugeben, daß du viel besser kochen kannst als ich. ฉันต้องยอมรับว่าเธอสามารถทำอาหารได้ดีกว่าฉันมาก | Geständnis | [เก-ฉะ-เต๊น-หนิส] (n) |das, pl. Geständnisse| การสารภาพผิด, การยอมรับผิด, Syn. das Selbstbekenntnis | Empfang | |der, pl. Empfänge| การต้อนรับ, การได้รับ, การยอมรับ, Syn. Aufnahme | gestehen | (vi) |gestand, hat gestanden| ยอมรับสารภาพ เช่น die Wahrheit gestehen, Der Verbrecher hat den Diebstahl gestanden., Ich bin enttäuscht; daß sehe ich, offen gestanden, nicht ein., See also: etw. bekennen, Syn. offen aussprechen |
| excessif | (adj) |f. -ive| มากเกินไป, เกินขอบเขต, เกินไป, เกินกว่าจะยอมรับได้ เช่น Vous êtes aussi excessif(ve) dans vos élans que dans vos courroux., See also: démesuré, énorme, extrême |
| convenir | (vt) ใช้กับ avoir แปลว่า เหมาะสม หรือ พอดี เช่น cela me convient parfaitement ใช้กับ être แปลว่า ตกลง, ยอมรับ เช่น une date a été convenue, Syn. s'accorder |
|
add this word
You know the meaning of this word? click [add this word] to add this word to our database with its meaning, to impart your knowledge for the general benefit
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |