ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: ระบบ, -ระบบ- |
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่ |
| petechiae (1-2 mm) | (n) เป็นจุดเลือดออกขนาดเล็กในชั้นผิวหนังหรือเยื่อบุ สาเหตุเนื่องจากมีความผิดปกติของผนังหลอดเลือด หรือความผิดปกติของระบบแข็งตัวของเลือด ถ้า purpura ขนาดใหญ่มากกว่า 1 เซนติเมตรและหรือเกิดจากการกระแทกอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ecchymosis, See also: S. purpura2-10 mm, ecchymosis |
| | สรีระวิทยา | (n) เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับหน้าที่และการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายว่าเกิดอะไรขึ้น, respiration, See also: S. osmoregulation, photosynthesis, A. transpiration, translocation, R. metabolism |
| ระบบ | (n) system, See also: method, procedure, Example: การทำงานของเครื่องแต่ละรุ่น แต่ละระบบ มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว, Count Unit: ระบบ, Thai Definition: ระเบียบเกี่ยวกับการรวมสิ่งต่างๆ ซึ่งมีลักษณะซับซ้อนให้เข้าลำดับประสานกันเป็นอันเดียว ตามหลักเหตุผลทางวิชาการ | มีระบบ | (adv) systematically, See also: methodically, in an orderly way, Syn. มีระบบระเบียบ, Example: ในแผนกของเรานั้นทำงานกันอย่างมีระบบ | จัดระบบ | (v) systematize, See also: systemize, organize, order, articulate, Syn. เรียบเรียง, Example: เขาจัดระบบความคิดของตัวเองดีมาก และสามารถถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจได้ง่าย, Thai Definition: ทำให้เป็นระเบียบ เป็นหมวดหมู่ | ระบบปิด | (n) closed system, Example: การใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายในโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องจำกัดอยู่ในระบบปิดที่ไม่มีทางเชื่อม หรือระบายลงสู่แหล่งน้ำในชีวมณฑล | เป็นระบบ | (adj) systematic, Thai Definition: มีส่วนสัมพันธ์ประสานเข้ากันเป็นอย่างดี | ระบบนิเวศ | (n) ecology, Example: ระบบนิเวศหนึ่งๆ นั้นประกอบด้วยบริเวณที่สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ และกลุ่มประชากรที่มีชีวิตอยู่ในบริเวณดังกล่าว, Thai Definition: โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ กับบริเวณแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ดำรงชีวิตอยู่ | การจัดระบบ | (n) systematization, Example: กรุงเทพมหานครปรับปรุงการจัดระบบบริการข้อมูลข่าวสารให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น, Thai Definition: การจัดให้เป็นหมวดหมู่หรือแบ่งประเภทให้เป็นระเบียบ | ระบบประสาท | (n) nervous system, Example: นักจิตวิทยาทั่วไปมักจะศึกษาระบบประสาทของมนุษย์แต่ละคน โดยไม่ใคร่จะคำนึงถึงอิทธิพลของสังคมและวัฒนธรรม, Thai Definition: ส่วนของร่างกายที่มีหน้าที่นำคำสั่งและความรู้สึกไปสู่หรือออกจากสมองหรืออวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย ซึ่งมีส่วนสัมพันธ์ประสานเข้ากัน โดยกำหนดรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน | ระบบสุริยะ | (n) solar system, Example: ในระบบสุริยะ มีดาวเคราะห์และดาวฤกษ์กี่ดวง | ระบบการผลิต | (n) production system, See also: mode of production, Example: ผลิตภัณฑ์จากโรงงานอุตสาหกรรม และบริการจากสถาบันอันซับซ้อนสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตได้ แต่ถ้าระบบการผลิต และบริการขยายตัวมากขึ้น ผลเสียก็จะปรากฎชัดเจน | ระบบขับถ่าย | (n) excretory system, Example: สัญญาณแรกของการเป็นมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่ คือ ระบบขับถ่ายมีการเปลี่ยนแปลงไป | ระบบดิจิทัล | (n) digital, Example: ปัจจุบันชุมสายโทรศัพท์ใช้ระบบดิจิตอลกันเป็นส่วนใหญ่, Count Unit: ระบบ, Thai Definition: ระบบที่รับและส่งข้อมูลเป็นรหัสตัวเลขหนึ่งและศูนย์ | ระบบทุนนิยม | (n) capitalism, Example: การอบรมเลี้ยงดูเด็กของผู้หญิงกำลังหมดไปในสังคมชนบท เมื่อระบบทุนนิยมเข้าไปดึงผู้หญิงให้ต้องทิ้งบ้านออกไปทำงานในโรงงานมากขึ้น, Thai Definition: ระบบเศรษฐกิจที่มีพื้นฐานอยู่ที่การที่เอกชนหรือนายทุนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและการจำหน่ายเพื่อแสวงหากำไรสูงสุด | ระบบลำเลียง | (n) vascular system | อย่างมีระบบ | (adv) systemically, See also: orderly, methodically, Syn. อย่างมีระบบระเบียบ, Ant. อย่างกระจัดกระจาย, Example: บริษัทที่ก้าวหน้าบางแห่งได้ส่งเสริมการรวมแผนกผลิตและแผนกขายเข้าด้วยกันอย่างมีระบบ | เข้าสู่ระบบ | (v) log in, See also: logs in, log on, logs on, logs into, Syn. เข้าระบบ, Ant. ออกนอกระบบ, Example: สมาชิกจะเข้าสู่ระบบได้ก็ต่อเมื่อใส่รหัสผ่านก่อน, Thai Definition: ติดต่อกับระบบคอมพิวเตอร์โดยผู้ใช้จะต้องใส่รหัสประจำตัวก่อน | ระบบไหลเวียน | (n) circulatory system, Example: ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบไหลเวียนของเลือดจะแสดงออกด้วยการเป็นลม หน้ามืด ใจสั่น เวียนศีรษะ | ระบบเครือข่าย | (n) network, Syn. เน็ตเวิร์ก, Example: ระบบเครือข่ายประเภท LAN มักเป็นที่นิยมใช้ในบริษัทหรือองค์กรขนาดเล็ก , Count Unit: ระบบ, Thai Definition: ระบบที่เกิดจากการนำเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่อง มาต่อเชื่อมโยงเข้าด้วยกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร หรือใช้ทรัพยากรต่างๆ | ระบบเครือญาติ | (n) system of relatives, See also: kinship, relationship, Example: หัวใจที่แท้จริงของการรดน้ำในวันสงกานต์ คือ การยืนยันความสัมพันธ์ในระบบเครือญาติ | อย่างเป็นระบบ | (adv) systematically, See also: orderly, methodically, Syn. อย่างมีระบบ, Example: ค่านิยมทางสังคมที่แฝงเร้นอยู่ในละครทีวีถูกฉายออกมาให้เห็นอย่างเป็นระบบ | โรคระบบประสาท | (n) neuropathy, Example: ปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นโรคประสาท โรคระบบประสาท และโรคทางกายที่มีสาเหตุมาจากโรคจิตเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ, Thai Definition: โรคของสมองและไขสันหลัง มิได้เกี่ยวข้องกับจิตใจ | ระบบปฏิบัติการ | (n) operating system, Example: ระบบปฏิบัติการเปรียบเสมือนผู้ที่จัดสรรทรัพยากรคอมพิวเตอร์ที่มีมีอยู่ ให้ผู้ใช้งานได้ใช้ทรัพยากรอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม, Thai Definition: โปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ | การศึกษานอกระบบ | (n) nonformal education, Example: การศึกษานอกระบบยังไม่ค่อยได้ผลดีเท่าที่ควร | เศรษฐกิจนอกระบบ | (n) black economy, See also: shadow economy, Example: บรรดานักเลือกตั้งเตรียมเชื่อมเศรษฐกิจนอกระบบของเจ้าพ่อตั้วเฮียมาเฟียอิทธิพล, Thai Definition: กิจกรรมทางเศรษฐกิจรูปแบบหนึ่งที่ไม่เปิดเผย เพราะผู้ดำเนินการต้องการเลี่ยงจ่ายภาษี | เศรษฐกิจนอกระบบ | (n) black economy, Thai Definition: กิจกรรมทางเศรษฐกิจรูปแบบหนึ่งที่ไม่เปิดเผย เพราะผู้ดำเนินการต้องการเลี่ยงจ่ายภาษี | ระบบควบคุมคุณภาพ | (n) quality control, See also: Q.C., Syn. ระบบคิวซี | ระบบประกันคุณภาพ | (n) quality assurance, See also: QA | ระบบผู้เชี่ยวชาญ | (n) expert system, Example: ระบบผู้เชี่ยวชาญถูกออกแบบให้ช่วยในการตัดสินใจโดยใช้วิธีเดียวกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ , Thai Definition: ระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลความรู้และประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญ | ระบบโทรศัพท์ตอบรับ | (n) answering system, See also: answerphone, Example: ผู้สมัครสามารถฝากชื่อและที่อยู่ไว้ที่ระบบโทรศัพท์ตอบรับได้หากไม่มีผู้รับสาย, Count Unit: ระบบ, Thai Definition: เครื่องที่ต่อกับเครื่องรับโทรศัพท์เพื่อรับโทรศัพท์และบันทึกข้อความจากผู้ที่โทรเข้ามา | ระบบประสาทอัตโนมัติ | (n) autonomic nervous system, Example: ถ้ามารดามีอารมณ์ตึงเครียดแล้ว การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติของทารกในครรภ์อาจเปลี่ยนแปลงไป | ระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ | (n) automatic telephone system, Example: ท่านสามารถเลือกฟังข่าวสารได้จากระบบโทรศัพท์อัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง, Count Unit: ระบบ, Thai Definition: ระบบโทรศัพท์ที่มีกลไกทำหน้าที่ต่างๆ ได้เอง | สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก | (n) Office of the Commission for the Management of Road Traffic, See also: OCMLT, Syn. สจร., Example: สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกได้ริเริ่มจัดทำโครงการทางแยกปลอดภัยขึ้น เพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุ |
| ระบบ | น. กลุ่มของสิ่งซึ่งมีลักษณะประสานเข้าเป็นสิ่งเดียวกันตามหลักแห่งความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกัน ด้วยระเบียบของธรรมชาติหรือหลักเหตุผลทางวิชาการ เช่น ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบจักรวาล ระบบสังคม ระบบการบริหารประเทศ. | ระบบข้อมูล | น. กระบวนการประมวลผลด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับสร้าง ส่ง รับ เก็บ รักษา หรือประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์. | ระบบสุริยะ | น. ระบบที่ประกอบด้วยดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของแรงดึงดูด รวมทั้งดาวเคราะห์ใหญ่น้อยและบริวารของดาวเคราะห์ ดาวเหล่านี้หมุนอยู่รอบ ๆ ดวงอาทิตย์ และมีวงโคจรอยู่ในแนวระนาบใกล้เคียงกัน. | โรคระบบประสาท | น. โรคของสมองและไขสันหลัง มิได้เกี่ยวข้องกับจิตใจ เช่น เนื้องอกในสมอง เส้นเลือดในสมองตีบตันหรือแตก โรคเหล่านี้ก่อให้เกิดภาวะวิกลจริตได้ในบางครั้งบางคราว. | กลไก | (กน-) น. ตัวจักรต่าง ๆ, โดยปริยายหมายความว่าบุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในระดับต่าง ๆ, ระบบหรือองค์การที่บุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ในระดับต่าง ๆ ปฏิบัติงานร่วมกันดุจเครื่องจักร, ระบบที่จะให้งานสำเร็จตามประสงค์, เช่น กลไกการปกครอง | กองทุนฟื้นฟู | น. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย. | การก่อวินาศกรรม | น. การกระทำใด ๆ อันเป็นการมุ่งทำลายทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ หรือสิ่งอันเป็นสาธารณูปโภค หรือการรบกวนขัดขวางหน่วงเหนี่ยวระบบการปฏิบัติงานใด ๆ ตลอดจนการประทุษร้ายต่อบุคคลอันเป็นการก่อให้เกิดความปั่นป่วนทางการเมืองการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของรัฐ. | การขนส่งมวลชน | น. ระบบการขนส่งผู้โดยสารครั้งละมาก ๆ. | กาแล็กซี | น. ระบบขนาดใหญ่ของดาวฤกษ์ ประกอบด้วยกลุ่มดาวฤกษ์ เนบิวลา และเทห์ฟากฟ้าอื่น ๆ กาแล็กซีมากกว่า ๑, ๐๐๐ ล้านกาแล็กซีรวมกันเป็นเอกภพ, ทางช้างเผือก ถือเป็นกาแล็กซีหนึ่ง. | กุญแจรหัส | น. กุญแจที่ใช้ระบบสัญลักษณ์ | กุญแจเสียง | น. ระบบเสียงซึ่งประกอบด้วยกลุ่มโน้ต โดยมีโน้ตใดโน้ตหนึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง. | แกล้งดิน | ก. กระบวนการแก้ปัญหาสภาพดินเปรี้ยวตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยใช้กรรมวิธีเร่งปฏิกิริยาเคมีในดิน ทำให้ดินเปรี้ยวอย่างรุนแรงแล้วใช้ระบบชลประทานนำน้ำมาเจือจางดินเปรี้ยวทำสลับไปมา จนเปลี่ยนสภาพดินให้สามารถเพาะปลูกได้. | เขบ็ต | (ขะเบ็ด) น. เครื่องหมายกำหนดความสั้นยาวของตัวโน้ตและตัวหยุดชนิดหนึ่งในระบบดนตรีสากล เช่น เขบ็ตหนึ่งชั้น เขบ็ตสองชั้น เขบ็ตสามชั้น ตัวหยุดเขบ็ตหนึ่งชั้น ตัวหยุดเขบ็ตสองชั้น และตัวหยุดเขบ็ตสามชั้น. | ไข้หวัดใหญ่ | น. โรคติดต่อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อไวรัส ผู้ป่วยมีไข้สูงมาก มีอาการหนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อและอ่อนเพลีย. | คอหอย | น. อวัยวะภายในลำคอ เป็นทางร่วมของระบบทางเดินอาหารและระบบทางเดินอากาศหายใจ เริ่มตั้งแต่หลังโพรงจมูก หลังช่องปากลงไปจนถึงหลังกล่องเสียง. | คอมมิวนิสต์ | น. ระบบเศรษฐกิจการเมืองและสังคมแบบหนึ่งของลัทธิสังคมนิยมที่มีอุดมการณ์ให้รวมทรัพย์สินทั้งปวงเป็นสมบัติส่วนกลางของชุมชน ไม่ให้มีกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล และให้จัดสรรรายได้แก่บุคคลอย่างเสมอภาคกัน ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาความทุกข์ยากของคนในสังคมอันเป็นผลจากความไม่เสมอภาคในทรัพย์สิน, ผู้ที่นิยมระบบคอมมิวนิสต์. | คอมมิวนิสต์ | ว. เกี่ยวกับระบบคอมมิวนิสต์. | เครือข่าย | น. ระบบ เส้นทาง หรือการปฏิบัติงานที่ติดต่อประสานกันเป็นโยงใย เช่น เครือข่ายโทรคมนาคม เครือข่ายวิทยุชุมชน, กลุ่มบุคคลหรือองค์กรที่มีความเห็นใกล้เคียงกัน มีการติดต่อสนับสนุนซึ่งกันและกัน เช่น เครือข่ายนักวิจัย. | ไซโล | น. สิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ทำด้วยวัสดุที่แข็งแรงทนทาน ภายในมีระบบกันความชื้นและระบายอากาศเป็นต้น สำหรับเก็บผลิตผลทางเกษตรไว้ชั่วคราว. | ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป | น. มาตรการสำคัญอย่างหนึ่งของระบบรัฐสภาที่ฝ่ายนิติบัญญัติใช้ควบคุมและตรวจสอบฝ่ายบริหาร และฝ่ายบริหารใช้ประโยชน์จากฝ่ายนิติบัญญัติในการรับฟังความคิดเห็นจากฝ่ายนิติบัญญัติ. | ด้วงน้ำมัน | น. ชื่อแมลงพวกด้วง ในวงศ์ Meloidae ที่สำคัญ ได้แก่ ชนิด Mylabris phalerata (Pallas) ลำตัวยาวประมาณ ๓.๕ เซนติเมตร ปีกมีสีดำและเหลืองสลับกันอย่างละ ๓ แถบ มีน้ำมันซึมออกมาซึ่งมีสารแคนทาริดินปนอยู่ นำไปใช้ในทางการแพทย์ เมื่อถูกตัวจะทำให้เกิดผื่นคัน หากกินจะทำลายระบบการทำงานของไตและกระเพาะอาหาร ทำให้อาเจียน ปัสสาวะเป็นเลือด ดิ้นทุรนทุรายคล้ายคนบ้า หมดสติและเสียชีวิต กินใบและดอกโสน กระเจี๊ยบแดง ปอแก้ว และถั่ว, ด้วงไฟ ด้วงถั่ว เต่าบ้า หรือ แมลงไฟเดือนห้า ก็เรียก. | ดีเซล | น. เครื่องยนต์ชนิดเผาไหม้ภายในที่มีระบบจุดระเบิดนํ้ามันเชื้อเพลิงด้วยการอัดอากาศภายในเครื่องยนต์จนได้ความร้อนสูงมากพอ แล้วจึงฉีดนํ้ามันเชื้อเพลิงให้เป็นฝอยผสมเข้ากับอากาศซึ่งมีอุณหภูมิสูงนั้น เป็นผลให้เกิดการจุดระเบิดนํ้ามันเชื้อเพลิงขึ้น, นํ้ามันที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ชนิดนี้ เรียกว่า นํ้ามันดีเซล. | ไดเรกตริกซ์ | น. เส้นตรงที่ตรึงอยู่กับที่ซึ่งคู่กับจุดโฟกัส ใช้กำหนดบังคับเซตของจุดชุดหนึ่งให้เรียงกันเป็นเส้นโค้งในระบบภาคตัดกรวย, ปัจจุบันใช้ว่า เส้นบังคับ. | ตั้งธาตุ | ก. จัดระบบการย่อยอาหารให้เป็นปรกติ. | ตับ ๑ | น. อวัยวะประเภทต่อมของระบบทางเดินอาหารของคนและสัตว์ อยู่ในช่องท้อง ทำหน้าที่ทำลายพิษ สร้างนํ้าดีและโปรตีนบางชนิด เป็นต้น. | ตับอ่อน | น. อวัยวะประเภทต่อมของระบบทางเดินอาหารของคนและสัตว์ อยู่ในช่องท้อง ทำหน้าที่สร้างและขับนํ้าย่อยอาหาร สร้างฮอร์โมน เช่น อินซูลิน. | ทรราช | น. ผู้ปกครองบ้านเมืองที่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ ทำความเดือดร้อนทารุณให้แก่ผู้อยู่ใต้การปกครองของตน. (อ. tyrant), เรียกลัทธิเช่นนั้น ว่า ทรราชย์ หรือ ระบบทรราชย์. | ทุนนิยม | น. ระบบเศรษฐกิจที่ยอมให้บุคคลมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและทรัพยากรที่เป็นทุน มีเสรีภาพในการผลิตและการค้า. | โทรคมนาคม | (-คะมะ-, -คมมะ-) น. การส่ง การกระจาย หรือการรับภาพ เครื่องหมาย สัญญาณ ข้อเขียน เสียง หรือการทำให้เข้าใจด้วยวิธีใด ๆ โดยอาศัยระบบสาย วิทยุสื่อสาร หรือระบบแม่เหล็กไฟฟ้าอื่น ๆ. | โทรพิมพ์ | น. ระบบโทรคมนาคมที่ใช้เครื่องรับส่งสัญญาณโทรเลข ประกอบด้วยแป้นพิมพ์และแคร่พิมพ์ ลักษณะคล้ายเครื่องพิมพ์ดีด สามารถรับส่งสัญญาณโทรเลขเพื่อพิมพ์เป็นตัวอักษรบนกระดาษพิมพ์ และส่งตัวอักษรที่พิมพ์เป็นสัญญาณโทรเลขผ่านวงจรโทรเลขที่ต่ออยู่กับเครื่องโทรพิมพ์นั้นได้. | โทรเลข | น. ระบบโทรคมนาคมซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าส่งรหัสสัญญาณจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยอาศัยสายตัวนำที่โยงติดต่อถึงกัน และอาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหลักสำคัญ. (อ. telegraph). | โทรศัพท์ | น. ระบบโทรคมนาคมซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าเป็นเครื่องมือสื่อสารให้ติดต่อพูดถึงกันได้ในระยะไกลโดยใช้สายตัวนำโยงติดต่อถึงกัน และอาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหลักสำคัญ. (อ. telephone), คำว่าโทรศัพท์ที่อยู่หน้าหมายเลขโทรศัพท์มักเขียนย่อว่า โทร. ออกเสียงว่า [ โท ]. | โทรสาร | น. ระบบสื่อสารที่ใช้ส่งและรับรูปภาพหรือข้อความในรูปของคลื่นสัญญาณไฟฟ้าผ่านระบบโทรคมนาคม เครื่องส่งในระบบนี้จะกราดเอกสารที่ต้นทางแล้วแปลงข้อมูลเป็นคลื่นสัญญาณไฟฟ้า ก่อนที่จะส่งผ่านสายไฟฟ้า เส้นใยแก้ว หรือคลื่นวิทยุ ไปยังเครื่องรับที่ปลายทาง ซึ่งจะแปลงคลื่นสัญญาณไฟฟ้ากลับมาเป็นข้อมูลเอกสารเดิม ก่อนที่จะพิมพ์ออกมาในแผ่นกระดาษ, เดิมใช้ โทรภาพ | โทรสาร | รูปภาพหรือข้อความที่ส่งและรับผ่านระบบดังกล่าว. | ธนาคารแห่งประเทศไทย | น. ธนาคารกลางที่มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินภารกิจอันพึงเป็นงานของธนาคารกลาง เพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพทางการเงินและเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินและระบบการชำระเงิน, (ปาก) ธนาคารชาติ หรือ แบงก์ชาติ. | นรีเวชวิทยา | (-เวดวิดทะยา) น. วิชาว่าด้วยโรคเกี่ยวกับระบบการสืบพันธุ์ของสตรี. | นอต ๑ | น. หน่วยแสดงความเร็วของสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามระบบการเดินเรือ มีค่าเท่ากับ ๑ ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง หรือ ๑.๘๕๒ กิโลเมตรต่อชั่วโมง เช่น เรือแล่นได้เร็ว ๘ ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง เรียกว่า เรือมีความเร็ว ๘ นอต ลมมีความเร็ว ๕๐ ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง เรียกว่า ลมมีความเร็ว ๕๐ นอต. | น้ำย่อย | น. ของเหลวที่มีสารอินทรีย์บางชนิดสำหรับย่อยอาหาร สร้างจากอวัยวะของระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ปาก ต่อมน้ำลาย กระเพาะอาหาร และ ลำไส้. | เนปจูน | น. ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๘ ในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เพราะอยู่ห่างโลกมาก อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๔, ๕๒๙ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวที่ผ่านเส้นศูนย์สูตร ๔๘, ๔๐๐ กิโลเมตร ในแนวที่ผ่านขั้ว ๔๗, ๔๐๐ กิโลเมตร, ดาวสมุทร ก็เรียก. | บูรณาการ | น. กระบวนการผสมผสานเชื่อมโยงองค์ความรู้ตั้งแต่ ๒ องค์ความรู้ขึ้นไปเข้าด้วยกันอย่างสอดคล้องเป็นระบบ. | ใบไม้ ๔ | น. ชื่อพยาธิหลายชนิด หลายสกุล หลายวงศ์ ในอันดับ Digenea ลำตัวแบนคล้ายใบไม้ เป็นพยาธิที่ทำอันตรายต่อระบบทางเดินอาหารของมนุษย์และสัตว์ โดยเฉพาะตับ ถุงนํ้าดี และท่อนํ้าดี เช่น ชนิด Fasciola hepaticaLinn. ตัวเต็มวัยอาศัยอยู่ในตับแกะ วัว และควาย, ชนิดOpisthorchis sinensis (Cobbold) ตัวเต็มวัยอาศัยอยู่ในตับและท่อน้ำดีของมนุษย์ สุนัข และแมว, ชนิดFasciolopsis buski (Lankester) ตัวเต็มวัยอาศัยอยู่ในลำไส้มนุษย์และหมู. | ปฏิวัติ | การเปลี่ยนแปลงระบบ เช่น ปฏิวัติอุตสาหกรรม, การเปลี่ยนแปลงระบอบการบริหารบ้านเมือง เช่น ปฏิวัติการปกครอง. | ประมวลกฎหมาย | น. บทบัญญัติที่รวบรวมไว้อย่างเป็นระบบและได้รับการประกาศให้ใช้บังคับเป็นกฎหมาย เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ | ประมวลกฎหมาย | ระบบกฎหมายที่ใช้ประมวลกฎหมายเป็นหลัก. | แปลาน | น. แปซึ่งอยู่เหนือแปงวงขึ้นไปหรืออยู่ระหว่างแปหัวเสาจนถึงอกไก่ มีหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัสขึ้นอยู่กับระบบของโครงสร้างหลังคา. | พฤหัสบดี | ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๕ และเป็นดวงที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๗๗๘ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางในแนวที่ผ่านเส้นศูนย์สูตร ๑๔๒, ๘๐๐ กิโลเมตร | พลิกแผ่นดิน | ก. เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในระบบหรือวิธีการปกครองแผ่นดิน. | พลูโต | (พฺลู-) น. ชื่อดาวเคราะห์แคระในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๕, ๙๐๐ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ระหว่าง ๒, ๕๘๐ ถึง ๓, ๕๓๐ กิโลเมตร ทางโคจรเป็นวงรีมาก ทำให้ส่วนหนึ่งของทางโคจรอยู่ภายในวงจรของดาวเนปจูน, ดาวยม ก็เรียก. | พิษสุนัขบ้า | (พิด-) น. โรคติดเชื้อไวรัสของระบบประสาท ติดต่อจากนํ้าลายของสุนัขหรือแมวที่เป็นโรคนี้ ผู้ป่วยมีอาการเนื่องจากสมองอักเสบ มีไข้ เอะอะ ซึม กลืนอาหารลำบากโดยเฉพาะนํ้า ถึงตายเกือบทุกรายในระยะเวลาประมาณ ๑ สัปดาห์, โรคกลัวนํ้า ก็เรียก. | พีชคณิต | (พีชะคะนิด) น. คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์มาศึกษาการจำแนกประเภท คุณสมบัติ และโครงสร้างของระบบจำนวนหรือระบบคณิตศาสตร์อื่น ๆ ที่เน้นในเรื่องโครงสร้างเป็นสำคัญ รวมถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่านั้นด้วย. |
| partial vacuum system; soft vacuum system | ระบบเชื่อมสุญญากาศไม่สมบูรณ์ [การเชื่อม ๒๐ ก.ย. ๒๕๔๔] | point of presence (POP) | จุดเข้าระบบ (พ็อป) [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | point-of-sale system | ระบบ ณ จุดขาย [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] | parallel-plate flow system | ระบบการไหลแบบแผ่นขนาน [พลังงาน ๒๖ ม.ค. ๒๕๔๕] | politics, party; party politics | การเมืองระบบพรรค [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | passive system | ระบบกสานติ์ [พลังงาน ๒๖ ม.ค. ๒๕๔๕] | PNS (system, peripheral nervous) | พีเอ็นเอส (ระบบประสาทนอกส่วนกลาง) [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] | parliamentary system | ระบบรัฐสภา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | parliamentary system | ระบบรัฐสภา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | parliamentary-cabinet system | ระบบรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | pseudo-merit system | ระบบคุณธรรมเทียม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | parliamentary government | การปกครองระบบรัฐสภา [ ดู cabinet government ] [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | pneumatic suspension | ระบบรองรับแบบใช้ลม [ยานยนต์ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๕] | POP (point of presence) | พ็อป (จุดเข้าระบบ) [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | PCN (personal communication network) | ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่พีซีเอ็น [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | political subsystem autonomy | ความเป็นอิสระของระบบการเมืองส่วนย่อย [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | personal communication network (PCN) | ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่พีซีเอ็น [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | platoon system | ระบบแบ่งกะการทำงาน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | pilot system | ระบบนำร่อง [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] | pilot system | ระบบนำร่อง [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | pressure-feed oil system | ระบบหล่อลื่นแบบความดัน [ยานยนต์ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๕] | POP (point of presence) | พ็อป (จุดเข้าระบบ) [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] | power steering | ระบบพวงมาลัยเสริมกำลัง [ยานยนต์ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๕] | presidential government | การปกครองระบบประธานาธิบดี [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | presidential system | ระบบประธานาธิบดี [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | presidential-congressional system | ระบบประธานาธิบดีและรัฐสภา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | paternalism | ระบบพ่อปกครองลูก, ลัทธิพ่อเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | police state | ระบบรัฐตำรวจ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | patronage system | ระบบอุปถัมภ์ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | party politics; politics, party | การเมืองระบบพรรค [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | party system | ระบบพรรคการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | portable | ๑. เคลื่อนย้ายง่าย, -กระเป๋าหิ้ว๒. ใช้ได้หลายระบบ [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] | portable | ๑. เคลื่อนย้ายง่าย, -กระเป๋าหิ้ว๒. ใช้ได้หลายระบบ [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | portal system | ระบบพอร์ทัล [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] | primitive communism | ระบบคอมมิวนิสต์สมัยเริ่มแรก [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | peripheral nervous system (PNS) | ระบบประสาทนอกส่วนกลาง (พีเอ็นเอส) [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] | point of presence (POP) | จุดเข้าระบบ (พ็อป) [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] | low pressure duct system | ระบบท่อลมความดันต่ำ [ปรับอากาศ ๗ มี.ค. ๒๕๔๕] | linkage power steering | ระบบพวงมาลัยเสริมกำลังแบบก้านต่อ [ยานยนต์ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๕] | Lloyd's Agency System | ระบบตัวแทนของสถาบันลอยด์ [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] | lymphatic system; lymphatics; system, absorbent | ระบบน้ำเหลือง [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] | lymphatics; system, absorbent; system, lymphatic | ระบบน้ำเหลือง [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] | list system | ระบบเลือกตั้งตามรายชื่อ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | lubrication system | ระบบหล่อลื่น [ยานยนต์ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๕] | lymphography | การถ่ายภาพรังสีระบบน้ำเหลือง [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] | lymphology | วิทยาระบบน้ำเหลือง, ปุพพวิทยา [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] | layered operating system | ระบบปฏิบัติการเป็นชั้น [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] | regeneration system | ระบบอุ่นอากาศเข้า [พลังงาน ๒๖ ม.ค. ๒๕๔๕] | regeneration system | ระบบอุ่นอากาศเข้า [ยานยนต์ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๕] | robust system | ระบบทนทาน [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
| Innovation | นวัตกรรม, นวัตกรรม หรือนวกรรม หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมา หรือการปรุงแต่งของเก่าให้ใหม่และเหมาะสม และสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลองพัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น โดย มีหลักการที่สำคัญอยู่ 3 ประการ ที่จัดเป็นหลักพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาหรือไม่ คือ <ul><li>สิ่งนั้นควรเป็นสิ่งที่ค้นพบ หรือประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ หรือการปรับปรุงแต่งของเก่าให้ใหม่เหมาะสมกับกาลสมัยมาใช้ในวงการศึกษา เพื่อให้ระบบการศึกษาก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ</li><li>ได้ผ่านการทดลอง การปรับปรุงพัฒนา จนเป็นที่ยอมรับกับอย่างแพร่หลาย</li><li>ได้มีการนำมาปฏิบัติจริงในวงการนั้น</li></ul> [เทคโนโลยีการศึกษา] | Systematic Planning | กระบวนการวางแผนอย่างมีระบบ [เทคโนโลยีการศึกษา] | Integrated Library Systems | ระบบห้องสมุดแบบบูรณาการ, Example: ระบบห้องสมุดแบบบูรณาการ เป็นระบบที่ทำงานร่วมกันระหว่างชุดโปรแกรมที่ประกอบด้วยโมดูลต่างๆ หรือระบบย่อยตามลักษณะงานพื้นฐานของห้องสมุด ได้แก่ งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ (Acquisition module) งานควบคุมสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serial control) งานทำรายการทรัพทยากรสารสนเทศ (Cataloging module) การสืบค้นทางออนไลน์ (Online Public Access Catalog-OPAC) และงานบริการยืม-คืน (Circulation module) <p> <p>การทำงานที่สัมพันธ์ (โดยย่อ) เริ่มจาก <p> <p>1. การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ เช่น การจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ นำรายการของทรัพยากรสารสนเทศ ข้อมูลของร้านค้าหนังสือ ข้อมูลของราคา (อัตราแลกเปลี่ยน) ข้อมูลของงบประมาณที่ได้รับสำหรับการจัดหา งานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศสามารถควบคุมงบประมาณที่ได้รับจากการที่ระบบสามารถตัดยอดงบประมาณที่ได้ดำเนินการไปแล้ว สามารถติดต่อร้านค้าตามข้อมูลที่ลงไว้ในระบบ และลงรายการข้อมูลทางบรรณานุกรม (ตั้งต้น) ของทรัพยากรสารสนเทศ พร้อมสถานะของรายการนั้นๆ ว่าอยู่ในระหว่างการจัดซื้อ การส่งไปยังงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ รายการต่างๆ แม้ว่าจะลงรายการทางบรรณานุกรม ยังไม่ครบถ้วน แต่ผู้ใช้สามารถสืบค้นและเห็นรายการดังกล่าว ผ่านโมดูล OPAC แต่สถานะจะเป็นตัวบ่งบอกว่าอยู่ในกระบวนการใด <p> <p>2. งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ดึงรายการทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศที่ทางงานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ บันทึกไว้ในระบบ เพื่อลงรายการทางบรรณานุกรมตามหลักเกณฑ์การลงรายการทางบรรณานุกรมที่เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านได้ (MARC) อย่างครบถ้วน ถูกต้อง พร้อมเปลี่ยนสถานะของรายการนั้นๆ เป็นให้บริการที่ชั้นหนังสือ (Check shelf available) และส่งทรัพยากรสารสนเทศที่ลงรายการทางบรรณานุกรมในระบบผ่านโมดูล Cataloging เรียบร้อยไปยังงานบริการเพื่อขึ้นชั้นให้บริการ รายการทางบรรณานุกรมที่ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะสามารถสืบค้นผ่านโมดูล OPAC <p> <p>3. ผู้ใช้สามารถสืบค้นรายการทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการใช้ผ่านโมดูล OPAC และนำมายืมผ่านโมดูล Circulation <p> <p>4. โมดูล Circulation อำนวยความสะดวกในการให้ยืม คืน จอง ต่ออายุ ทรัพยากรสารสนเทศ พร้อมทั้งคำนวณการปรับค่าหนังสือที่ค้างการคืน และพิมพ์ใบเสร็จรับเงินค่าปรับ <p> <p>5. ในส่วนของวารสาร ซึี่่งเป็นงานที่มีความซับซ้อนมาก จะมีโมดูล Serial control ในการบันทึกรายการวารสารที่เข้ามาแล้ว ต้องติดตามทวงถาม การเย็มเล่ม <p> <p>เริ่มมีการนำระบบห้องสมุดแบบบูรณาการมาใช้ให้ห้องสมุดตั้งแต่ ค.ศ. 1981 เมื่อ University of Florida ซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปโนทิส (NOTIS-Northwestern Online Total Integrated System) เป็นครั้งแรก และหลังจากนั้นก็มีระบบห้องสมุดแบบบูรณาการเกิดขึ้นอีกมากมายและจำนวนห้องสมุดที่หันมาใช้ระบบดังกล่าวก็เพิ่มขึ้นทั่วโลก นับเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมากสำหรับห้องสมุดในการเปลี่ยนจากระบบห้องสมุดแบบเดิม มาเป็นระบบห้องสมุดแบบบูรณาการ <p> <p>ระบบห้องสมุดแบบบูรณาการในปัจจุบัน มีทั้งเชิงพาณิชย์ และที่เป็นโปรแกรมโอเพนซอร์ส สำหรับโปรแกรมเชิงพาณิชย์ ได้แก่ อินโนแพค (INNOPAC) วีทีแอลเอส (VTLS) เป็นต้น แล้วแต่ความละเอียดของแต่ละโมดูลที่มีให้ และมีทั้งที่พัฒนาจากต่างประเทศและในประเทศไทย ส่วนโปรแกรมที่เป็นโอเพนซอร์ส ได้แก่ Koha, OpenBiblio เป็นต้น [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Integrated Services Digital Network | โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล [เทคโนโลยีการศึกษา] | Information storage and retrieval system | ระบบการจัดเก็บและค้นข้อสนเทศ [เทคโนโลยีการศึกษา] | Serials control system | ระบบควบคุมสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง [เทคโนโลยีการศึกษา] | Expert system (Computer science) | ระบบผู้เชี่ยวชาญ (คอมพิวเตอร์) [เทคโนโลยีการศึกษา] | Geographic information system | ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ [เทคโนโลยีการศึกษา] | Management information system | ระบบสารสนเทศเืพื่อการจัดการ [เทคโนโลยีการศึกษา] | Decision support system | ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ [เทคโนโลยีการศึกษา] | Dewey Decimal Classification | การจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ [เทคโนโลยีการศึกษา] | Geographic information system | ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Close shelf system | การจัดชั้นหนังสือระบบชั้นปิด, ระบบชั้นปิด [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Decimal classification | การจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยม [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Decimal system | ระบบทศนิยม [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Decision support system | ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Dewey Decimal Classification | การจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Expert system (Computer science) | ระบบผู้เชี่ยวชาญ (คอมพิวเตอร์) [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Information storage and retrieval system | ระบบการจัดเก็บและค้นข้อสนเทศ, Example: <p>ระบบการจัดเก็บและค้นข้อสนเทศ หรือ ระบบการจัดเก็บและการค้นคืนสารสนเทศ หมายถึง กระบวนการที่มีการคัดเลือก ควบคุม โครงสร้างสารสนเทศ การจัดหา การจัดเก็บสารสนเทศเพื่อการเข้าถึงและกระบวนการใด ๆ ในการแสวงหาทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมการค้นหา การดึงสารสนเทศที่เข้าเรื่องจากแหล่งภายในและภายนอก ให้ผู้ใช้ได้รับทรัพยากรสารสนเทศตามความต้องการ โดยเป็นทั้งระบบที่จัดทำด้วยแรงงานคนและด้วยคอมพิวเตอร์ โดยมีสถาบันบริการสารสนเทศมีบทบาทหน้าที่ในการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศในช่องทางที่เป็นทางการ และเป็นตัวกลางที่สำคัญเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้กับทรัพยากรสารสนเทศ <p>พัฒนาการของการจัดเก็บและการค้นคืนสารสนเทศ มี 2 ช่วงคือ ช่วงก่อนทศวรรษ 1960 และ ตั้งแต่ทศวรรษ 1960 <p>1. ช่วงก่อนทศวรรษ 1960 เป็นการพัฒนาระบบจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศในรูปสิ่งพิมพ์ของสถาบันบริการสารสนเทศประเภทห้องสมุด การจัดหมวดหมู่ซึ่งพัฒนามาเป็นระบบหมวดหมู่ทศนิยมดิวอี้ และ ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน รวมทั้งการจัดทำดรรชนีและสาระสังเขปด้วยระบบมือ การจัดเก็บและการค้นคืนสารสนเทศในยุคเทคโนโลยีระยะแรก มีการพัฒนาเทคโนโลยีไมโครกราฟิก ซึ่งเป็นการถ่ายภาพย่อส่วนสารสนเทศจากสื่อ เช่น กระดาษลงฟิล์ม เทคโนโลยีในการค้นคืนระบบแรก เป็นเทคนิคการทำเครื่องมือค้นประเภทบัตรเจาะบันทึกหัวเรื่อง การทำดรรชนี เช่น ควิก และริเริ่มใช้คอมพิวเตอร์ทำบัตรรายการ <p>2. ตั้งแต่ทศวรรษ 1960 เป็นพัฒนาการด้านการวิจัยและพัฒนาระบบจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศที่สำคัญ เช่น การพัฒนากลุ่มความร่วมมือระหว่างสถาบันบริการสารสนเทศและฐานข้อมูลร่วมขนาดใหญ่ คือ โอซีแอลซี (OCLC : Online Computer Library Center) และอาร์แอลไอเอ็น (RLIN : Research Libraries Information Network) บริการค้นคืนสารสนเทศเชิงพาณิชย์ เช่น กลุ่มไดอะลอก ออบิต และอินเทร์เน็ตกับการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ <p>บรรณานุกรม <p>มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศิลปศาสตร์. (2545). แนวการศึกษาชุดวิชาการจัดเก็บและการค้นคืนสารสนเทศ : Information storage and retrieval หน่วยที่ 1-15. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | International Serial Data System | ระบบข้อมูลวารสารระหว่างชาติ, Example: <p>ระบบข้อมูลวารสารระหว่างชาติ (ISDS) เป็นระบบที่ดำเนินการเก็บรวบรวมและสร้างแหล่งข้อมูลวารสารทั่วโลกด้วยคอมพิวเตอร์ ในการกำหนดเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (International Standard Serial Number : ISSN) ศูนย์กลางอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ทั้งนี้ประเทศต่าง ๆ สามารถเข้าเป็นสมาชิก ISDS ได้ โดยการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติระดับประเทศขึ้น ในประเทศไทย หอสมุดแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้ รวมทั้งเป็นศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย ประเทศสมาชิก คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย <p>ISSN เป็นเลขรหัสเฉพาะที่กำหนดให้แก่สิ่งพิมพ์ประเภทวารสารแต่ละชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์เพื่อใช้สำหรับการค้นข้อมูลวารสาร การแลกเปลี่ยน และการติดต่อต่าง ๆ เกี่ยวกับวารสารได้ถูกต้อง สะดวก และรวดเร็ว [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Library of Congress Classification System | ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือของห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Management information system | ระบบสารสนเทศเืพื่อการจัดการ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Universal Decimal Classification | ระบบทศนิยมสากล [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | System analysis | การวิเคราะห์ระบบ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] | Classification, Dewey Decimal | การวิเคราะห์หนังสือระบบทศนิยมดิวอี้, Example: ระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification Syste, - DDC หรือ DC) เป็นระบบการจัดหมู่หนังสือที่เก่าแก่และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ผู้คิดระบบทศนิยมดิวอี้ คือ เมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey) บรรณารักษ์ชาวอเมริกัน เมื่อปี ค.ศ. 1873 และจัดพิมพ์เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1876 ใช้ชื่อว่า A Classicification and Subject Index for Cataloging and Arranging Books and Pamphlets of a Library โดยครอบคลุมการแบ่งย่อยเนื้อหาวิชาจากเรื่องกว้างๆ ไปจนถึงเนื้อเรื่องเฉพาะ นอกเหนือจากฉบับพิมพ์แล้ว ปัจจุบันคือ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 22 ยังมีเป็นแบบออนไลน์อีกด้วย <p> <p> ลักษณะทั่วไปของระบบทศนิยมดิวอี้ <p> 1. ระบบทศนิยมดิวอี้ เป็นระบบที่คิดขึ้นโดยการแบ่งวิชาความรู้ออกเป็นหมวดหมู่ตามหลักทฤษฎี (Theoretical systems) กล่าวคือ กำหนดการแบ่งหมวดหมู่วิชาความรู้ในแต่ละหมวดหมู่ โดยคำนึงถึงลำดับพัฒนาการของการเกิดวิชาความรู้ในแต่ละสาขาเป็นสำคัญ เริ่มจาก <p> - ปรัชญา: เป็นเนื้อหาความรู้แรก เป็นเรื่องที่มนุษย์คิดเกี่ยวกับตน คือใคร มาจากไหน ความดีหรือความชั่ว คืออะไร เป็นอย่างไร <p> - ศาสนา: เป็นวิชาที่มนุษย์คิดเกี่ยวกับพระเจ้า พระเจ้าคือใคร จะช่วยให้มนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ได้อย่างไร <p> - สังคมศาสตร์: ถัดจากคิดเกี่ยวกับตัวเอง คือ การที่มนุษย์คิดเกี่ยวกับบุคคลอื่น การอยู่ร่วมกันต้องมีการคิดถึงประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับผู้อื่น <p> - ภาษา: การที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคม จึงต้องเรียนรู้เกี่ยวกับถ้อยคำและการสื่อสารเพื่อการติดต่อ สมาคม <p> - วิทยาศาสตร์: มนุษย์คิดเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ในธรรมชาติ ทำไมจึงเกิด มีการคิด พิสูจน์ ได้ข้อเท็จจริงที่อธิบายปรากฏารณ์ต่างๆ และบันทึกข้อเท็จจริงนั้นๆ ไว้ <p> - วิทยาศาสตร์ประยุกต์ หรือเทคโนโลยี: เมื่อมนุษย์นำความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดความสุขสบาย <p> - ศิลปะและนันทนาการ: มนุษย์คิดสร้างสรรค์จากความประทับใจของตนเป็นงานเชิงศิลปะ ดนตรี และความบันเทิง <p> - วรรณกรรมหรือวรรณคดี: งานศิลปะที่สร้างขึ้นถูกมนุษย์นำมาถ่ายทอด และบอกเล่าผ่านทางตัวอักษร <p> - ประวัติศาสตร์: มนุษย์บันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับคน สถานที่ เหตุการณ์เอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ <p> - ความรู้ทั่วไปหรือเบ็ดเตล็ด: การเอาความรู้อื่นๆ ที่ไม่อาจจัดไว้ในหมวดหมู่อื่นได้ มารวมไว้ด้วยกัน <p> 2. จัดแบ่งหมวดวิชาความรู้ในสาขาต่างๆ โดยเริ่มจากเรื่องทั่วๆ ไป สู่เรื่องที่เฉพาะยิ่งขึ้น แบ่งออกเป็นชั้น ชั้นละ 10 กลุ่ม จากหมวดใหญ่ไปหาหมวดหมู่ย่อย ดังนี้ <p> 2.1 การแบ่งครั้งที่ 1 (First Summary) คือ แบ่งวิชาความรู้ทุกแขนงวิชาของมนุษยชาติออกเป็นหมวดใหญ่ (Main class) 10 หมวด ใช้เลขอารบิกหลักร้อย 0-9 เป็นสัญลักษณ์แทนวิชาความรู้ทั้ง 10 หมวด ดังนี้ <p> 000 วิทยาการคอมพิวเตอร์และ ความรู้ทั่วไป (Computer science, information & general works) <p> 100 ปรัชญาและจิตวิทยา (Philosophy and psychology) <p> 200 ศาสนา (Religion) <p> 300 สังคมศาสตร์ (Social sciences) <p> 400 ภาษา (Languages) <p> 500 วิทยาศาสตร์ (Science) <p> 600 เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Technology and applied science) <p> 700 ศิลปะและนันทนาการ (Arts and recreation) <p> 800 วรรณคดี (Literature) <p> 900 ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และชีวประวัติ (History, geography and biography) <p> 2.2 การแบ่งครั้งที่ 2 (Second Summary) คือ การแบ่งหมวดวิชาความรู้หมวดใหญ่แต่ละหมวดออกเป็นหมวดย่อย (Division) 10 หมวด ใช้เลขอารบิกหลักสิบ 0-9 แทนความรู้หมวดย่อย เช่น หมวดใหญ่ 600 เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ แบ่งเป็นหมวดย่อย 10 หมวด คือ <p> 600 เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Technology (Applied sciences) <p> 610 แพทยศาสตร์ (Medical sciences) <p> 620 วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) <p> 630 เกษตรศาสตร์ (Agriculture) <p> 640 คหกรรมศาสตร์ (Home economics) <p> 650 การจัดการ (Management) <p> 660 อุตสาหกรรมเคมี (Chemical engineering) <p> 670 โรงงานอุตสาหกรรม (Manufacturing) <p> 680 โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อการใช้เฉพาะอย่าง (Manufacture for specific uses) <p> 690 การก่อสร้าง (Buildings) <p> ดังนั้น หมวดใหญ่ 10 หมวดจึงแบ่งเป็นหมวดย่อยได้ 100 หมวด ดังนี้ <p> 000 วิทยาการคอมพิวเตอร์และความรู้ทั่วไป (Computer science, information & general works) <p> 010 บรรณานุกรม (Bibliographies) <p> 020 บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ (Library & information sciences) <p>030 หนังสือรวบรวมความรู้ทั่วไป สารานุกรม (Encyclopedias & books of facts) <p> 040 ยังไม่กำหนดใช้ (No longer used) <p> 050 นิตยสาร วารสาร และสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Magazines, journals & serials) <p> 060 สมาคม องค์การและพิพิธภัณฑวิทยา (Associations, organizations & museums) <p> 070 สื่อใหม่ วารสารศาสตร์ และการพิมพ์ (News media, journalism & publishing) <p>080 รวมเรื่อง (General collections) <p> 090 ต้นฉบับตัวเขียน หนังสือหายาก (Manuscripts & rare books) <p> 100 ปรัชญา (Philosophy) <p> 110 อภิปรัชญา (Metaphysics) <p> 120 ญาณวิทยา ความเป็นเหตุผล ความเป็นมนุษย์ (Epistemology, causation, humankind) <p> 130 จิตวิทยานามธรรม (Paranormal phenomena) <p> 140 แนวความคิดปรัชญาเฉพาะกลุ่ม (Specific philosophical schools) <p> 150 จิตวิทยา (Psychology) <p> 160 ตรรกศาสตร์ ตรรกวิทยา (Logic) <p> 170 จริยศาสตร์ ศีลธรรม (Ethics (Moral philosophy)) <p> 180 ปรัชญาสมัยโบราณ สมัยกลาง ตะวันออก (Ancient, medieval, Oriental philosophy) <p> 190 ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่ (Modern Western philosophy (19th-century, 20th-century)) <p> 200 ศาสนา (Religion) <p> 210 ศาสนาธรรมชาติ (Natural theology) <p> 220 ไบเบิล (Bible) <p> 230 เทววิทยาตามแนวคิดคริสต์ศาสนา (Christian theology) <p> 240 ศีลธรรมชาวคริสต์ การอุทิศเพื่อศาสนา (Christian moral & devotional theology) <p> 250 คริสต์ศาสนาในท้องถิ่นและระเบียบแบบแผนปฏิบัติ (Christian orders & local church) <p> 260 สังคมชาวคริสต์ เทววิทยาทางศาสนา (Christian social theology) <p> 270 ประวัติคริสต์ศาสนา (Christian church history) <p> 280 นิกายต่างๆ ในคริสต์ศาสนา (Christian denominations & sects) <p> 290 ศาสนาเปรียบเทียบและศาสนาอื่นๆ (Other & comparative religions) <p> 300 สังคมศาสตร์ สังคมวิทยา และ มนุษยวิทยา (Social sciences, Sociology & anthropology) <p> 310 สถิติศาสตร์ (General statistics) <p> 320 รัฐศาสตร์ การเมือง การปกครอง (Political science) <p> 330 เศรษฐศาสตร์ (Economics) <p> 340 กฎหมาย (Law) <p> 350 รัฐประศาสนศาสตร์ และวิทยาการทหาร (Public administration) <p> 360 การบริการสังคม และสมาคม (Social services; assoication) <p> 370 การศึกษา (Education) <p> 380 การพาณิชย์ การสื่อสาร การขนส่ง (Commerce, communications, transport) <p>390 ประเพณี ขนบธรรมเนียม คติชนวิทยา (Customs, etiquette, folklore) <p> 400 ภาษา (Language) <p> 410 ภาษาศาสตร์ (Linguistics) <p> 420 ภาษาอังกฤษ (English & Old English) <p> 430 ภาษาเยอรมัน (Germanic languages; German) <p> 440 ภาษาโรมานซ์ ; ภาษาฝรั่งเศส (Romance languages; French) <p> 450 ภาษาอิตาลี ภาษาโรมัน (Italian, Romanian, Rhaeto-Romantic) <p> 460 ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส (Spanish & Protugese languages) <p> 470 ภาษาละติน (Italic languages; Latin) <p> 480 ภาษากรีก (Hellenic languages; Classical Greek) <p> 490 ภาษาอื่นๆ (Other languages) <p> 500 วิทยาศาสตร์ (Sciences) <p> 510 คณิตศาสตร์ (Mathematics) <p> 520 ดาราศาสตร์ (Astronomy & allied sciences) <p> 530 ฟิสิกส์ (Physics) <p> 540 เคมี (Chemistry & allied sciences) <p> 550 วิทยาศาสตร์โลก (Earth sciences) <p> 560 บรรพชีวินวิทยา (Paleontology; Paleozoology) <p>570 ชีววิทยา (Life sciences) <p> 580 พฤกษศาสตร์ (Plants) <p>590 สัตววิทยา (Zoological sciences/Animals) <p> 600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ เทคโนโลยี (Technology (Applied sciences)) <p> 610 แพทยศาสตร์ (Medical sciences; Medicine) <p>620 วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering & applied operations) <p> 630 เกษตรศาสตร์ (Agriculture) <p> 640 คหกรรมศาสตร์ ชีวิตครอบครัว (Home economics & family living) <p> 650 การจัดการธุรกิจ (Management & auxiliary services) <p> 660 วิศวกรรมเคมี (Chemical engineering) <p> 670 โรงงานอุตสาหกรรม (Manufacturing) <p> 680 สินค้าที่ผลิตจากเครื่องจักร (Manufacture for specific uses) <p> 690 การก่อสร้าง (Buildings) <p> 700 ศิลปกรรม การบันเทิง (Arts) <p> 710 ภูมิสถาปัตย์ (Civic & landscape art) <p> 720 สถาปัตยกรรม (Architecture) <p> 730 ประติมากรรม (Plastic arts; Sculture) <p> 740 การวาดเขียน มัณฑนศิลป์ (Drawing & decorative arts) <p> 750 จิตรกรรม ภาพเขียน (Painting & paintings) <p> 760 ศิลปะการพิมพ์ ศิลปะกราฟิก (Graphic arts; Printmaking & prints) <p> 770 การถ่ายรูป ภาพถ่าย (Photography & photographs) <p> 780 ดนตรี (Music) <p> 790 การบันเทิง นันทนาการ กีฬา (Recreational & performing arts) <p> 800 วรรณกรรม วรรณคดี (Literature) <p> 810 วรรณคดีอเมริกันในภาษาอังกฤษ (Literature rhetoric & criticism) <p> 820 วรรณคดีภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษโบราณ (English & Old English literatures) <p> 30 วรรณคดีภาษาเยอรมัน (Literatures of Germanic languages) <p> 840 วรรณคดีภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมานซ์ (Literatures of Romance languages) <p> 850 วรรณคดีภาษาอิตาลี ภาษาโรมัน (Italian, Romanian, Rhaeto-Romanic) <p> 860 วรรณคดีภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส (Spanish & Portugese literature) <p> 870 วรรณคดีภาษาละติน (Italic literature; Latin) <p> 880 วรรณคดีภาษากรีก (Hellenic literatures; Classical Greek) <p> 890 วรรณคดีภาษาอื่นๆ (Literatures of other languages) <p> 900 ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ (History, geography & biography) <p> 910 ภูมิศาสตร์ การท่องเที่ยว (Geography & travel) <p> 920 ชีวประวัติ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ (Biography, genealogy, insignia) <p> 930 ประวัติศาสตร์ยุคโบราณ (History of ancient world) <p> 940 ประวัติศาสตร์ยุโรป โลกตะวันตก (General history of Europe) <p> 950 ประวัติศาสตร์เอเชีย โลกตะวันออก (General history of Asia; Far East) <p> 960 ประวัติศาสตร์แอฟริกา (General history of Africa) <p> 970 ประวัติศาสตร์อเมริกาเหนือ (General history of North America) <p> 980 ประวัติศาสตร์อเมริกาใต้ (General history of South America) <p> 990 ประวัติศาสตร์ส่วนอื่นๆ ของโลก (General history of other areas) <p>จากหมวดย่อย 100 หมวด เลขตัวที่ 2 คือเลขหลักสิบของหมวดย่อยทั้ง 100 หมวด เป็นเลข 0-9 เหมือนๆ กัน เพราะหมวดใหญ่แต่ละหมวดแบ่งเป็น 10 หมวดย่อยเท่าๆ กัน ซึ่งเป็นหลักการขั้นพื้นฐานของระบบที่ใช้เลขฐาน 10 เป็นหลักในการแบ่งหมวดหมู่วิชาความรู้จากหมวดใหญ่ไปหมวดย่อย และเลขหมู่หมวดใหญ่แต่ละหมวด ต่างก็มีเนื้อหาครอบคลุมวิชาความรู้หมวดย่อยทุกหมวด เช่น หมวด 100 ครอบคลุมวิชาความรู้ในหมวด 110-190 <p> <p>2.3 การแบ่งครั้งที่ 3 (Third Summary) คือ การแบ่งวิชาความรู้ในหมวดย่อยแต่ละหมวดออกเป็นหมู่ย่อย (Section) 10 หมู่ย่อย ตัวอย่าง การแบ่งหมวดย่อย 630 <p> 630 เกษตรศาสตร์ <p> 631 เทคนิค อุปกรณ์ และวัสดุ (Techniques, equipment, materails) <p> 632 ความเสียหายของพืชอันเกิดจากเชื้อโรคและสัตว์ (Plant injuries, diseases, pests) <p> 633 การเพาะปลูกพืชไร่ (Field & plantation crops) <p> 634 การทำสวนผลไม้ ผลไม้ และป่าไม้ (Orchards, fruits, forestry) <p> 635 การทำสวนครัว (Garden crops (Horticulture)) <p> 636 สัตวบาล (Animal husbandry) <p> 637 อุตสาหกรรมนมเนย (Processing dairy & related products) <p> 638 การเพาะเลี้ยงแมลง (Insect culture) <p> 639 การล่าสัตว์ การตกปลา การอนุรักษ์ (Hunting, fishing, comservation) <p> ในแต่ละหมู่ย่อย ยังแบ่งวิชาความรู้ออกไปสู่เรื่องที่เฉพาะมากขึ้นได้อีก โดยการกระจายเลขหลังจุดทศนิยมต่อจากเลข 3 หลักดังกล่าว เช่น <p> หมวด 600 Technology (Applied sciences) เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ประยุกต์ <p> 610 Medical sciences Medicine (การแพทย์) <p> 611 Human anatomy, cytology, tissues (กายวิภาคศาสตร์ เนื้อเยื่อ) <p> 630 Agriculture & related technologies (การเกษตรและเทคโนโลยีการเกษตร) <p> 631 Crops & their production (พืชและผลิตผล) <p> 632 Plant injuries, diseases, pests (โรคพืช แมลงศัตรูพืช) <p> 633 Field crops (พืชไร่) <p> 634 Orchards, fruits, forestry (ผลไม้และการทำป่าไม้) <p> .9 Forestry (การทำป่าไม้) <p> .92 Forest economy (ไม้เศรษฐกิจ) <p> .928 Management (การจัดการ) <p> .956 Forestation (การเพาะพันธุ์) <p> .9562 Seeds, seed collecting, seeding (เมล็ดพันธุ์) <p> ตัวอย่าง หนังสือ เรื่อง การปลูกพืชด้วยเมล็ด เลขหมู่ที่กำหนดได้ คือ 634.9562 <p> พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน เลขหมู่ที่กำหนดได้ คือ 495.913 <p> ระบบทศนิยมดิวอี้มีตารางช่วย (Auxiliary tables) ซึ่งเป็นตารางย่อยใช้เติมเข้ากับเลขหมู่หนังสือ เพื่อระบุลักษณะเฉพาะของหนังสือมากยิ่งขึ้น ว่าเนื้อเรื่องที่เขียนในลักษณะใด เขียนเป็นภาษาใด เกี่ยวกับพื้นที่หรือท้องถิ่นใด หรือเกี่ยวกับใคร เป็นต้น ช่วยให้สามารถวิเคราะห์เนื้อหาได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น ตารางช่วยดังกล่าวมี 7 ตาราง ได้แก่ <p> ตารางที่ 1 ตารางเลขวิธีเขียน (Standard subdivisions) หรือ ตารางย่อยมาตรฐาน ใช้ประกอบกับเลขหลักในแผนการจัดหมู่ได้ทุกหมวดหมู่ แสดงถึงวิธีเขียน เช่น <p> 01- สำหรับหนังสือที่เขียนในเชิงทฤษฎีและปรัชญา <p> 02- สำหรับหนังสือคู่มือ หนังสือภาพ หนังสือที่มีตาราง แผนภูมิ หรือแผนภาพเป็นส่วนประกอบสำคัญ หนังสือนามานุกรม และหนังสือเบ็ดเตล็ดอื่นๆ <p> 03- สำหรับหนังสือพจนานุกรม สารานุกรม บัญชีคำศัพท์ <p> 04- เป็นเลขว่างซึ่งจะกำหนดใช้เพื่อแบ่งย่อยเรื่องเฉพาะของเลขหมู่บางเลขหมู่เท่านั้น <p> 05- สำหรับสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง เช่น หนังสือรายปี รายงานประจำปี วารสารและหนังสือพิมพ์ <p> 06- สำหรับเรื่องของสมาคมและชมรมวิชาชีพ รวมทั้งการดำเนินงานของสมาคมหรือชมรมนั้นๆ <p> 07- สำหรับหนังสือที่เขียนขึ้นเพื่อการศึกษาและการสอน เช่น ตำรา งานวิจัย หลักสูตร สมุดแบบฝึกหัด เป็นต้น <p> 08- สำหรับหนังสือที่เขียนถึงประวัติและพรรณนาเรื่องราวของบุคคลกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มอาชีพ <p> 09- สำหรับหนังสือที่เขียนถึงประวัติของเรื่องราวต่างๆ ในยุคสมัยใดยุคสมัยหนึ่ง และเขียนถึงเรื่องราวต่างๆ ในพื้นที่หรือท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง <p> ตัวอย่าง <p> เนื้อเรื่องของหนังสือ คือ ประวัติของพุทธศาสนา <p> พุทธศาสนา (เลขหมู่คือ 294) <p> วิธีเขียน (เลขจากตารางที่ 1) <p> ประวัติ (-09) <p> เลขหมู่ที่กำหนดจากการเติม ได้เป็น 294.309 <p> เนื้อเรื่องของหนังสือ เป็น พจนานุกรมทางวิทยาศาสตร์ <p> วิทยาศาสตร์ (500) <p> วิธีเขียน (เลขจากตารางที่ 1) <p> พจนานุกรม (-03) <p> เลขหมู่ที่เกิดจากการเติม 503 <p> ตารางที่ 2 ตารางเลขภูมิศาสตร์ (Areas) ใช้ประกอบกับเลขหลักในแผนการจัดหมู่ที่มีคำอธิบายให้เพิ่มเลขภูมิศาสตร์ เพื่อแสดงให้ทราบถึงสถานที่ทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องภายในเนื้อหาที่เฉพาะเจาะจงลงไปว่าเป็นที่ใด ซึ่งอาจจะเป็นทวีป ประเทศ รัฐ เมือง แม่น้ำ มหาสมุทร เป็นต้น <p> -1 เขตภูมิศาสตร์ทั่วๆ ไป ไม่จำกัดเฉพาะในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เช่น เขตมหาสมุทร ทะเล เขตภูมิอากาศ <p> -2 สำหรับหนังสือที่เขียนเกี่ยวกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในเขตพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ทั่วๆ ไป ไม่จำกัดเฉพาะแห่งใดแห่งหนึ่ง <p> -3 ดินแดนสมัยโบราณ เช่น เมโสโปเตเมีย ปาเลสไตน์ อียิปต์ <p> -4 ทวีปยุโรป <p> -5 ทวีปเอเซีย <p> -6 ทวีปแอฟริกา <p> -7 ทวีปอเมริกาเหนือ <p> -8 ทวีปอเมริกาใต้ <p> -9 พื้นที่ส่วนอื่นๆ เช่น หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก และดินแดนที่อยู่นอกโลก เช่น อวกาศ ดวงจันทร์ ดาวอังคาร <p> ตารางที่ 3 ตารางเลขเฉพาะสำหรับหมวดวรรณคดี ใช้เติมเข้ากับเลขหมู่ในหมวดวรรณคดีเพื่อระบุลักษณะคำประพันธ์ของวรรณคดีนั้นๆ <p> -08 สำหรับหนังสือรวมวรรณคดี เฉพาะภาษาของนักเขียนหลายๆ คน <p> -09 สำหรับหนังสือประวัติศาสตร์และวิจารณ์วรรณคดีเฉพาะภาษาของนักเขียนหลายๆ คน <p> -1-8 ลักษณะคำประพันธ์ ได้แก่ <p> -1 กวีนิพนธ์ <p> -2 บทละคร <p> -3 นวนิยาย <p> -4 ความเรียง บทความ <p> -5 สุนทรพจน์ ปาฐกถา <p> -6 จดหมาย <p> -7 เรื่องเชิงล้อเลียนและตลกขบขัน <p> -8 งานเขียนเบ็ดเตล็ดอื่นๆ เช่น บันทึกประจำวัน บันทึกความจำ สุภาษิตคำคม <p> ตารางที่ 4 ตารางเลขเฉพาะสำหรับหมวดภาษา เป็นตารางเลขย่อยซึ่งกำหนดให้ใช้เติมเข้ากับเลขหมู่ในหมวดภาษาเฉพาะ เพื่อระบุเรื่องเฉพาะของแต่ละภาษานั้น เช่น ไวยากรณ์ภาษา พจนานุกรมภาษา หลักการอ่าน เขียนภาษา เป็นต้น <p> -1 หลักในการเขียนและพูดภาษาต่างๆ ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน <p> -2 นิรุกติศาสตร์ <p> -3 พจนานุกรมภาษา <p> -32-39 พจนานุกรมสองภาษา <p> -5 ระบบโครงสร้างหรือหลักไวยากรณ์ของภาษาที่ใช้เป็นมาตรฐาน <p> -7 ภาษาที่ไม่ได้ใช้เป็นมาตรฐาน เช่น ภาษาถิ่น ภาษาแสลง ภาษาโบราณ <p> -8 ภาษาประยุกต์ (การนำเอาภาษาไปประยุกต์ใช้ในกรณีต่างๆ เช่น การแปล การสอน) <p> ตัวอย่าง <p> เนื่อเรื่องของหนังสือ เป็นพจนานุกรมภาษาไทย <p> ภาษาไทย (495.91) <p> เรื่องเฉพาะทางภาษา (เลขจากตารางที่ 4) <p> พจนานุกรมภาษาเดียว (-3) <p> เลขหมู่ที่เกิดจากการเติม 495.913 <p> ตารางที่ 5 ตารางเลขเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ กลุ่มชนชาติ เป็นตารางย่อยที่ใช้เติมเข้ากับเลขหมู่หรือเลขในตารางอื่นเพื่อแบ่งย่อยเนื้อเรื่องออกไปตามกลุ่มเชื้อชาติหรือเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ <p> -01 ชนพื้นเมือง <p> -03 กลุ่มเผ่าพันธุ์พื้นฐานของมนุษย์ เช่น คอเคซอยด์ มองโกลอยด์ <p> -1-9 กลุ่มเชื้อชาติของมนุษย์ จัดตามถิ่นกำเนดหรือถิ่นที่อยู่ <p> -1 เชื้อชาติอเมริกันเหนือ <p> -2 เชื้อชาติแองโกล-แซกซอน บริติช อังกฤษ <p> -3 เชื้อชาตินอร์ดดิค เช่น พวกเยอรมัน <p> -4 เชื้อชาติลาตินใหม่ เช่น พวกฝรั่งเศส <p> -5 เชื้อชาติอิตาเลียน <p> -6 เชื้อชาติสเปนและโปรตุเกส <p> -7 เชื้อชาติอิตาลิค เช่น พวกโรมันโบราณ <p> -8 เชื้อชาติกรีก <p> -9 เชื้อชาติอื่นๆ เช่น พวกอินเดียน สลาฟ แอฟริกัน ไทย จีน ญี่ปุ่น ฯลฯ <p> ตัวอย่าง <p> เนื้อเรื่องของหนังสือ เรื่อง ประเพณีการแต่งงานของไทย <p> ประเพณีการแต่งงาน (392.5) <p> เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ (เลขจากตารางที่ 5) <p> เชื้อชาติไทย (-9591) <p> เลขหมู่ที่เกิดจากการเติม 392.50899591 <p> ตารางที่ 6 ตารางเลขภาษา กำหนดเพื่อใช้กับเลขหมู่ในตารางช่วยอื่น เพื่อระบุภาษาที่ใช้ในการเขียนเนื้อเรื่องของหนังสือแต่ละเล่ม <p> สังเขปตารางเลขภาษา <p> -1 ภาษาอินโด-ยูโรเปียน <p> -2 ภาษาอังกฤษและแองโกล-แซกซอน <p> -3 ภาษาเยอรมัน <p> -4 ภาษาตระกูลโรมานซ์ เช่น ภาษาฝรั่งเศส <p> -5 ภาษาอิตาเลียน <p> -6 ภาษาสเปนและโปรตุเกส <p> -7 ภาษาตระกูลอิตาลิค เช่น ภาษาลาติน <p> -8 ภาษาตระกูลเฮลเลนิก เช่น ภาษากรีก <p> -9 ภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาฮีบรู เป็นต้น <p> ตัวอย่าง <p> เนื้อเรื่องของหนังสือ สารานุกรมภาษาไทย <p> สารานุกรมทั่วไป (039) <p> ภาษา (เลขจากตารางที่ 6) <p> ภาษาไทย (-95911) <p> เลขหมู่ที่เกิดจากการเติม 039.95911 <p> ตารางที่ 7 ตารางเลขบุคคล เป็นตารางย่อยซึ่งกำหนดให้ใช้เติมเข้ากับเลขหมู่หรือเลขในตารางช่วยอื่นเพื่อระบุเรื่องย่อยของหนังสือว่าเกี่ยวข้องกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในลักษณะใด เช่น กลุ่มอาชีพ เพศ วัย ชนชั้นทางสังคม ฯลฯ ตาราง 7 จะใช้ประกอบกับเลขหมู่ที่มีคำอธิบายให้เติมเลขบุคคลจากตาราง 7 ช่วย (Add "Persons" notation ...) เช่น Add "Person" notation 04-87 from Table 7 to base number 704 e.g. lawyers as artists 704.344; however, class art dealers in 338.7617; description, critical appraisal, wors, biography of artisits in 709.2 <p> สังเขปตารางเลขบุคคล <p> -01 ปัจเจกบุคคล <p> -02 กลุ่มบุคคลทั่วไปไม่ระบุลักษณะเฉพาะทางอาชีพ เพศ วัย และอื่นๆ <p> -03 กลุ่มบุคคลจัดตามภูมิหลังทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ <p> -04 กลุ่มบุคคลจัดตามเพศและความสัมพันธ์ทางเครือญาติ <p> -05 กลุ่มบุคคลจัดตามอายุ <p> -06 กลุ่มบุคคลจัดตามลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจ <p> -08 กลุ่มบุคคลจัดตามสภาพทางร่างกายและจิตใจ <p> -09 กลุ่มบุคคลที่ไม่จัดอยู่ในวิชาชีพเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น นักวิจัย นักการศึกษา บรรณารักษ์ และนักสารสนเทศ โดยจะมีตัวเลขแบ่งย่อยอีกตามกลุ่มบุคคลในสาขาวิชาชีพต่างๆ <p> ตัวอย่าง หนังสือเกี่ยวกับจิตรกรรมและมัณฑนศิลป์ของเด็กนักเรียน <p> จิตรกรรมและมัณฑศิลป์ (704.04-.87) <p> เด็กนักเรียน หาเลขเด็กนักเีรียนจากตาราง 7 (-054 4) <p> เลขหมู่ทีเ่กิดจากการเติม 704.0544 <p> บรรณานุกรม <p>Guide to use of Dewey decimal classification : based on the practice of the Decimal Classification Office at the Library of Congress. 1962. Lake Placid Club, N.Y. : Forest Press. <p>OCLC Online Computer Library Center, Inc. Summaries DDC Dewey Decimal Classification. 2003. Rereive from http://www.oclc.org/dewey/resources/summaries/deweysummaries.pdf. <p> กุลธิดา ท้วมสุข. 2533. การวิเคราะห์เลขหมู่หนังสือ. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น. <p> ทองหยด ประุทุมวงศ์ และ พรทิยพ์ สุวันทารัตน์. การวิเคราะห์สารนิเทศระบบทศนิยมดิวอี้ ใน เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา การวิเคราะห์สารนิเทศ หน้า 150-217. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Classification, Library of Congress | ระบบการจัดหมู่รัฐสภาอเมริกัน, การวิเคราะห์หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน, Example: ระบบการจัดหมู่รัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classficiation - LC) หรือเรียกสั้นๆ ว่า LC หรือระบบ LCC เป็นระบบที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการจัดหมู่หนังสือของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p> ในระยะแรกก่อตั้งหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน เมื่อปี ค.ศ. 1800 ระบบจัดหมู่หนังสือที่ใช้อยู่นั้น คิดขึ้นโดยจอห์น เบคเลย์ (John Beckley) โดยจัดหนังสือตามขนาดหน้ายก หนังสือขนาดเดียวกันจัดเรียงตามลำดับเลขทะเบียนของหนังสือ <p> ต่อมาในปี ค.ศ. 1812 เมื่อหนังสือมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงได้เปลี่ยนเป็นวิธีการจัดหมู่หนังสือตามเนื้อเรื่อง โดยนำระบบจัดหมู่หนังสือของ The Library Company of Philadelphia มาใช้ แบ่งเนื้อเรื่องเป็น 18 หมวด เมื่อห้องสมุดไฟไหม้ จึงได้จัดซื้อหนังสือจำนวน 6, 487 เล่มจากห้องสมุดส่วนตัวของประธานาธิบดีโธมัส เจฟเฟอร์สัน โดยคิดระบบตามที่ประธานาธิบดีเจฟเฟอร์สัน โดยแบ่งออกเป็น 44 หมวด <p> จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1890 เมื่อมีหนังสือเพิ่มขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ บรรณารักษ์ของหอสมุดในขณะนั้น คือ จอห์น รัสเซล ยัง (John Russell Young)คิดว่าระบบเดิมไม่เหมาะสม ควรคิดหาระบบใหม่เพื่อให้มีความเหมาะสมมากขึ้น จึงมอบหมายให้ เจมส์ แฮนสัน (James Hanson) และ ชาร์ลส์ มาร์แตล (Charles Martel) ศึกษาหาแนวทางที่จะสร้างระบบจัดหมู่หนังสือใหม่เพื่อใช้ในหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p> การศึกษาอย่างจริงจังได้เริ่มเมื่อ เฮอร์เบิร์ต พุตนัม (Herbert Putnum) เข้ามาดำรงตำแหน่งบรรณารักษ์ในปี ค.ศ. 1899 และยังคงมอบหมายให้ แฮนสันและมาร์แตลรับศึกษาต่อไป โดยนำระบบ 3 ระบบ คือ ระบบทศนิยมดิวอี้ ระบบเอ็กแพนซีฟ และระบบจัดหมู่หนังสือของเยอรมัน ชื่อ Halle Schema ของออตโต ฮาร์ตวิก (Otto Hartwig) พบว่า ระบบเอ็กแพนซีฟมีความเหมาะสมมาก เนื่องจากการจัดหมวดหมู่กว้างขวางและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่ายทุกๆ หมวดตามต้องการ สัญลักษณ์ที่ใช้สามารถขยายได้ทั้งชนิดที่เป็นตัวอักษรและตัวเลข เพราะเป็นสัญลักษณ์ผสม เหมาะกับหอสมุดรัฐสภาอเมริกันซึ่งมีหนังสือจำนวนมาก จึงได้จัดทำระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันขึ้นโดยยึดหลักการของระบบเอ็กแพนซีฟ <p> มีการจัดทำหมวด Z เป็นหมวดแรก เมื่อปี ค.ศ. 1902 <p> ลักษณะทั่วไปของระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p>1. ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันเป็นระบบที่คิดขึ้นโดยจัดแบ่งหมวดหมู่ตามสาขาวิชาความรู้ที่มีอยู่จริงของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p>2. สัญลักษณ์เป็นสัญลักษณ์ผสมระหว่างตัวอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่และเลขอารบิค โดยอักษรโรมันตัวใหญ่หนึ่งตัวแทนหมวดใหญ่และเพิ่มอักษรโรมันตัวใหญ่อีกหนึ่งหรือสองตัวแทนหมวดย่อย (ยกเว้นหมวด E-F และ Z) และแบ่งหมู่ย่อยต่อไปอีก โดยใช้เลขอารบิคจาก 1-9999 รวมทั้งขยายโดยใช้จุดทศนิยม <p>3. แผนการจัดหมวดหมู่จัดแบ่งวิชาความรู้ในสาขาต่างๆ โดยเริ่มจากเรื่องทั่วไปสู่เรื่องที่เฉพาะยิ่งขึ้นเรื่อยๆ แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ <p>3.1 การแบ่งครั้งที่ 1 เป็นการแบ่งเนื้อหาวิชาเป็น 20 หมวดใหญ่ (Main class) โดยใช้อักษรตัวเดียวโดดๆ A-Z ยกเว้น I, O, W, X, Y <p>A ความรู้ทั่วไป (General Works) <p>B ปรัชญา จิตวิทยา ศาสนา (Philosophy, Psychology, Religion) <p>C ศาสตร์ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ (Auxiliary sciences of history) <p>D ประวัติศาสตร์ : เรื่องทั่วไปและประวัติศาสตร์โลกเก่า (History : general and old world) <p>E-F ประวัติศาสตร์ : อเมริกา (History : America) <p>G ภูมิศาสตร์ แผนที่ มานุษยวิทยา นันทนาการ (Geography, Maps, Anthropology, Recreation) <p>H สังคมศาสตร์ (Social science) <p>J รัฐศาสตร์ (Political science) <p>K กฎหมาย (Law) <p>L การศึกษา (Education) <p>M ดนตรี (Music) <p>N ศิลปกรรม (Fine Arts) <p>P ภาษาและวรรณคดี (Languages and Literature) <p>Q วิทยาศาสตร์ (Sciences) <p>R แพทยศาสตร์ (Medicines) <p>S เกษตรศาสตร์ (Agriculture) <p>T เทคโนโลยี (Technology) <p>U ยุทธศาสตร์ (Military science) <p>V นาวิกศาสตร์ (Naval science) <p>Z บรรณานุกรม บรรณารักษศาสตร์ (Bibliography, Library science) <p>3.2 การแบ่งครั้งที่ 2 เป็นการแบ่งหมวดย่อย (subclass) ตามสาขาวิชา โดยใช้ตัวอักษรโรมันตั้งแต่ 2 ตัว ถึง 3 ตัว เป็นสัญลักษณ์ และใช้หลักการเรียงลำดับตามตัวอักษร A-Z ยกเว้นหมวด Z จะไม่มีการแบ่งครั้งที่ 2 เช่น หมวด Q แบ่งออกเป็นหมวดย่อย 12 หมวดดังนี้คือ <p>Q วิทยาศาสตร์ (Science) <p> QA คณิตศาสตร์ (Mathematics) <p> QB ดาราศาสตร์ (Astronomy) <p> QC ฟิสิกส์ (Physics) <p> QD เคมี (Chemistry) <p> QE ธรณีวิทยา (Geology) <p> QH ธรรมชาติวิทยา (Natural History) <p> QK พฤกษศาสตร์ (Botany) <p> QL สัตววิทยา (Zoology) <p> QM กายวิภาคศาสตร์ (Human Anatomy) <p> QP สรีรวิทยา (Physiology) <p> QR จุลชีววิทยา (Microbiology) <p> ซึ่งยังคงแบ่งต่อไปได้อีก เมื่อต้องการขยายเลขหมู่เพิ่มในภายหลัง <p> 3.3 การแบ่งครั้งที่ 3 คือ การแบ่งออกเป็น หมู่ (division) โดยใช้ตัวเลขอารบิกตั้งแต่ 1-9999 ประกอบตัวอักษรโรมัน ในแต่ละหมู่จะมีจำนวนการแบ่งเป็นหมู่ย่อยไม่เท่ากัน เช่น หมวด LA จะแบ่งเป็น LA1-LA 2397 หรือ หมวด HV จะแบ่งเป็น HV 1-HV 9920 เป็นต้น สามารถที่จะขยายเลขหมู่สำหรับวิชาการที่จะเพิ่มใหม่ การแบ่งครั้งที่ 3 มี 2 ลักษณะ คือ <p> 3.3.1 การแบ่งโดยใช้เลขทศนิยม คือ การนำเอาเลขทศนิยมมาขยายเลขย่อยในกลุ่มนั้น ให้ได้เลขหมู่เพิ่มขึ้นสำหรับเนื้อหาวิชาที่ควรจะอยู่ในกลุ่มเดียวกัน <p> 3.3.2 การแบ่งโดยใช้เลขคัตเตอร์ คือ การใช้ตัวอักษรและตัวเลขสำหรับการแบ่งย่อยเนื้อหาที่ละเอียดลงไปอีก เช่น การแบ่งย่อยตามชื่อทางภูมิศาสตร์ (geographical name) และการแบ่งย่อยตามรายชื่อเนื้อหาวิชาเฉพาะ (special topics) และการแบ่งตามเลขคัตเตอร์สำรองที่ได้กำหนดไว้แล้ว <p> ตัวอย่าง HF 5438.5 HF เป็นหมวดย่อยของ H คือ สังคมศาสตร์ ซึ่ง HF เป็นหมู่ย่อย หมายถึง การค้า (Commerce) และแบ่งออกเป็นหมู่ คือ 5438 หมายถึง การขาย (Selling) จากนั้นแบ่งโดยใช้เลขทศนิยม คือ .5 หมายถึง การส่งเสริมการขาย (Sales promotion) <p> ตัวอย่าง ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 600 ปี <p> DS เป็นเลขหมู่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย <p> 575 แบ่งย่อยเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทางการเมืองและการทูต <p> .5 แบ่งย่อยเป็นความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ A-Z <p> .J3 ประเทศญี่ปุ่น (Japan = .J3) <p> จะได้เลขหมู่เป็น DS 575.5.J3 ปัจจุบัน หนังสือคู่มือหมวดหมู่รัฐสภาอเมริกันมีทั้งแบบสิ่งพิมพ์และแบบออนไลน์ <p> บรรณานุกรม <p> Library of Congress. Library of Congress Classification Outline. 2011. [ Online ] Retrieve from: http://www.loc.gov/catdir/cpso/lcco/. Accessed 20110516. <p> กุลธิดา ท้วมสุข. 2533. การวิเคราะห์เลขหมู่หนังสือ. ขอนแก่น : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. <p> กมลา รุ่งอุทัย. 2533. การวิเคราะห์สารนิเทศระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ใน เอกสารการสอนชุดวิชา การวิเคราะห์สารนิเทศ หน้า 219-281. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. <p> อัมพร ทีขะระ. 2532. คู่มือการจัดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาััลัย. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | System design | การออกแบบระบบ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] | Computer security | ความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Serials control system | ระบบควบคุมสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Ditidal video disk | แผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล, แผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล หรือแผ่นดิจิทัลอเนกประสงค์ [เทคโนโลยีการศึกษา] | Ethernet | อีเทอร์เน็ต (ระบบเครือข่ายเฉพาะที่) [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Radio frequency identification systems | รหัสประจำตัวระบบคลื่นความถี่วิทยุ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] | Hazard analysis and critical control point | ระบบวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] | Computational grids (Computer systems) | กริด (ระบบคอมพิวเตอร์) [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] | Wireless communication systems | ระบบสื่อสารไร้สาย [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] | Speech processing systems | ระบบประมวลผลเสียงพูด [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] | Portable document software | ระบบการสร้างภาพเอกสาร [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] | Information storage and retrieval systems | ระบบการจัดเก็บและค้นข้อสนเทศ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] | Quantum cryptography | ระบบวิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัม [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] | Industrial control and automation | การควบคุมและระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] | Embedded system | ระบบสมองกลฝังตัว [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] | Micro-electro-mechnical systems | ระบบเครื่องกลไฟฟ้าจุลภาค [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] | MEMs devices | อุปกรณ์ระบบเครื่องกลไฟฟ้าจุลภาค [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] | Embedded computer systems | ระบบคอมพิวเตอร์ฝังตัว [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] | Microelectromechanical systems | ระบบไฟฟ้าเครื่องกลจุลภาค [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] | translation memory | เครื่องช่วยจำในระบบการแปล [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] | Backup system | ระบบจัดการการสำรองข้อมูล [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] | Wireless LAN | ระบบที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายภายในพื้นที่แบบไร้สาย [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] | Local Area Network | ระบบเครือข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] | Ecosystem | ระบบนิเวศ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
| You can choose the alarm system for the house, improved security for the gate. | มอบหน็าที่ให้คุณเลือกระบบ รปภ. The Bodyguard (1992) | I'm only an 8 1 I2, but I wear a 1 0 for comfort, I swear! | เค้าไม่ได้บอกคุณเหรอ พวกนี้คือเจ้าหนี้นอกระบบน่ะ Hero (1992) | A cop's here for you from robbery detail. | หนี้นอกระบบ? นายก้อรู้หนิ ตา แล้วก้อ ไต Hero (1992) | But I don't have a detailed memory of it. lt was too scary. | กู้นอกระบบเหรอ? แบบไหนกัน Hero (1992) | He is to be battlefield ready. | มันต้องฝึกในระบบสงครามต่อ The Lawnmower Man (1992) | Battlefield simulation engaged. | ระบบสงครามเตรียมพร้อม The Lawnmower Man (1992) | Virtual reality holds a key to the evolution of the mind... and that's my focus. | ระบบโลกเสมือนนั่น กุมกุญแจแห่งวิวัฒนาการเอาไว้ นั่นคือเป้าหมายของฉัน The Lawnmower Man (1992) | You just ruined the whole effect. | คุณเพิ่งรวนระบบ The Lawnmower Man (1992) | Falling, floating, and flying? | ระบบการดิ่ง, การลอย, การบิน นั่นน่ะเหรอ? The Lawnmower Man (1992) | Booting audio journal. | เริ่มระบบบันทึก The Lawnmower Man (1992) | Cortex stimulation engaged. | เริ่มระบบการเรียนรู้ The Lawnmower Man (1992) | Synaptic activity has increased 400% in less than a month. | ระบบประสาทตอบสนองเพิ่มขึ้น จากสัปดาห์ก่อนสี่ร้อยเปอร์เซ๊นต์ The Lawnmower Man (1992) | His human brain is responding to the nootropics... and virtual stimulation more rapidly than my animal subjects. | สมองของเขาตอบรับการเรียนรู้ และระบบโลกเสมือนของเขา พัฒนาไปได้ไกลกว่ารายอื่นๆ The Lawnmower Man (1992) | In these gyrospheres, we wear full cybersuits... which allow us to enter into virtual reality and move. | ในบรรยากาศจำลอง เราต้องใส่ชุดเชื่อมระบบนั่น นั่นจะทำให้เธอรู้สึกเหมือน โลกเสมือนเป็นของจริง The Lawnmower Man (1992) | Your entire nervous system and endocrine system... will be in sync with the brain expansion. | ระบบประสาทและต่อมรับรู้ต่างๆ ทั้งหมดจะเชื่อมเข้ากับระบบสมอง The Lawnmower Man (1992) | Program change initiated. | เริ่มเปลี่ยนระบบ The Lawnmower Man (1992) | Shut down theta stimulation. | ทำการปิดระบบ The Lawnmower Man (1992) | System shutdown. | ระบบปิดตัว The Lawnmower Man (1992) | Automatic system shutdown. | ระบบปิดตัวอัตโนมัติ The Lawnmower Man (1992) | I gave myself a boost, Doctor. | ผมกำลังจัดระบบตัวเองอยู่ ด็อกเตอร์ The Lawnmower Man (1992) | Virtual reality is not just a simulation. | โลกเสมือนนี่ ไม่ใช่แค่ระบบจำลองอีกต่อไปแล้ว The Lawnmower Man (1992) | Once I've entered in the neural net... my birth cry will be the sound... of every phone on this planet ringing in unison. | จากนั้นผมจะออกไปสู่ระบบเครือข่ายภายนอก การเกิดใหม่ของผม จะตามมาด้วยเสียง ของโทรศัพท์ทุกเครื่องในโลก The Lawnmower Man (1992) | I can reach out again and again and again... eventually inhabiting the entire planetary network. | ผมจะเจาะฐานข้อมูลแห่งอื่นต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าทุกระบบในโลกจะเป็นของผม The Lawnmower Man (1992) | Welcome to VSI main frame. | ยินดีต้อนรับสู่ ระบบคอมพิวเตอร์หลักของ วีเอสไอ The Lawnmower Man (1992) | Someone's hacking the main frame from the outside. | มีบางคนเจาะ ระบบคอมพิวเตอร์หลักจากภายนอก The Lawnmower Man (1992) | They're in, and they're running a computer virus... that's placing triple key encryption codes... on all outside access and network connections. | แถมยังปล่อยไวรัส ซึ่งถูกป้องกันสามชั้นและเข้ารหัส และมันกำลังกระจายไปทั่วระบบ The Lawnmower Man (1992) | We're being cut off. | เราเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หลักไม่ได้ The Lawnmower Man (1992) | A back door. | ระบบประตูหลัง The Lawnmower Man (1992) | System overload. | ระบบล้มเหลว The Lawnmower Man (1992) | Automatic shutdown inoperative. | ระบบปีดตัวอัตโนมัติ ไม่พร้อมใช้งาน The Lawnmower Man (1992) | Outside terminal activity control. | เข้าระบบเชื่อมต่อภายนอก The Lawnmower Man (1992) | I find a way out, or I die in this diseased main frame. | ฉันต้องหาทางออกจากระบบที่ใกล้ล่มสลายนี้ ไม่งั้นคงสลายไปพร้อมกับมัน The Lawnmower Man (1992) | I have things to do, people to see... a billion calls to make. | ฉันยังต้องทำอีกหลายอย่าง ทั้งข้อมูล ทั้งระบบต่างๆ The Lawnmower Man (1992) | This monster was now terrorizing regular space traffic within the Solar System. | สัตว์ประหลาดเพิ่มความดุร้ายขึ้น เกิดความโกลาหลในระบบสุริยจักรวาล The Cement Garden (1993) | Show me what you want me to sign. I have an alibi for that night. | ขอดูสิ่งที่คุณต้องการให้ฉันเข้าสู่ระบบ ฉันมีข้อแก้? In the Name of the Father (1993) | You didn't sign anything yourself, did you, Giuseppe? | คุณยังไม่ได้เข้าสู่ระบบอะไร ตัวเอง, คุณ, Giuseppe? In the Name of the Father (1993) | My father said we'd fight for an appeal... but I didn't want to know about the legal system. | พ่อของฉันบอกว่า เราต้องการต่อสู้เพื่ออุทธรณ์ ... แต่ฉันไม่ได้อยากจะรู้ เกี่ยวกับระบบกฎหมาย In the Name of the Father (1993) | He explained how the Brits never left anywhere without a fight... how they had to be beaten out of every country they ever occupied... how this prison was just an extension of their system. | เขาอธิบายว่า Brits ไม่เคยที่ใดก็ได้โดยไม่ต้องซ้ายสู้ ... วิธีที่พวกเขาต้องถูกตีจาก ทุกประเทศเหล่านั้นจะมาคร? วิธีนี้เป็นเพียงการจำคุก ส่วนขยายของระบบของพวกเขา In the Name of the Father (1993) | My Lord, this document... brings the entire British legal system into disrepute. | พระเจ้าของฉันเอกสารนี้ ... นำทั้งอังกฤษ ระบบกฎหมายในความไม่น่าไว้วางใจ In the Name of the Father (1993) | To go to all this trouble of assembling a work force only to-- | กว่าจะจัดระบบงานขึ้นมา... Schindler's List (1993) | Miscarriage-prone female reproductive system is merely an extension... of the body's natural and necessary instincts to reject foreign matter. | ผู้หญิงที่มีแนวโน้มแท้งบุตร จริงๆแล้วเป็นระบบภูมิคุ้มกัน ที่ร่างกายทำการปฏิเสธวัตถุแปลกปลอมตามธรรมชาติ Junior (1994) | They got the metric system. They wouldn't know what the fuck a Quarter-Pounder is. | พวกเขามีระบบเมตริก พวกเขาจะไม่ทราบว่าเพศไตรมาสที่ตำเป็น Pulp Fiction (1994) | Uh, because of the metric system? | เอ่อเพราะระบบเมตริก? Pulp Fiction (1994) | You're a smart motherfucker. That's right. The metric system. | คุณเป็นเวรตะไลสมาร์ท ที่เหมาะสม ระบบเมตริก Pulp Fiction (1994) | Sure you can, if you know how the system works, where the cracks are. | แน่ใจว่าคุณสามารถถ้าคุณรู้ว่าระบบการทำงานที่แตกเป็น The Shawshank Redemption (1994) | Don't worry. I'll use the gentle cycle. | ไม่ต้องห่วง ฉันจะใช้ เอ่อ ระบบถนอมผ้า The One with the East German Laundry Detergent (1994) | They hit three hold-up alarm systems. | เขามีระบบสัญญาณ 3 จุด Heat (1995) | I got that. I got the boards already built. | มีสิ ผมเข้าระบบคอมฯ เขาได้แล้ว Heat (1995) | The security systems around here are a joke. | ระบบป้องกันภัยไม่เอาไหน Heat (1995) | I just had a nice cold shower. When you have the plumbing fixed it'll be in good shape. | ผมได้อาบน้ำอุณหภูมิกำลังดี เพราะคุณมีระบบประปาที่ดี The Great Dictator (1940) |
| เจ้าหน้าที่ดูแลระบบอาวุโส | [jaonāthī dūlaē rabop āwusō] (n, exp) EN: senior system engineer | จัดระบบ | [jat rabop] (v, exp) EN: systematize | จัดระบบงาน | [jat rabop ngān] (v, exp) EN: systematize a job | การออกแบบระบบ | [kān økbaēp rabop] (n, exp) EN: system design | การรับรองระบบ ISO | [kān raprøng rabop Iso] (n, exp) EN: ISO certification FR: certification ISO [ f ] | การรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม | [kān raprøng rabop kān jatkān singwaētlom] (n, exp) EN: Environmental Management System FR: système de management environnemental [ m ] | การรับรองระบบมาตรฐาน | [kān raprøng rabop māttrathān] (n, exp) FR: certification standard [ f ] | การศึกษานอกระบบ | [kānseuksā nøk rabop] (n, exp) EN: nonformal education | การทำให้เป็นระบบ | [kān thamhai pen rabop] (n, exp) EN: systematization | การวิเคราะห์ระบบข้อความ | [kān wikhrǿ rabop] (n, exp) EN: system analysis | การวิเคราะห์ระบบข้อความ | [kān wikhrǿ rabop khøkhwām] (n, exp) EN: discourse analysis | เข้าสู่ระบบ | [khaosū rabop] (v, exp) EN: log in ; logs in ; log on ; logs on ; logs into | คนละระบบ | [khon la rabop] (v, exp) EN: different way of doing things FR: à chacun sa méthode | เครื่องถ่ายเอกสารระบบไฟฟ้าสถิต | [khreūang thāi ēkkasān rabop faifā sathit] (n, exp) EN: ? FR: ? | เครื่องถ่ายเอกสารระบบสอดสี | [khreūang thāi ēkkasān rabop søt sī] (n, exp) EN: ? FR: ? | ความคิดเชิงระบบ | [khwāmkhit choēng rabop] (n, exp) EN: systems thinking | กลายเป็นระบบ | [klāi pen rabop] (v, exp) EN: systematize | นโยบายระบบการเงิน | [nayōbāi rabop kānngoen] (n, exp) EN: monetary policy FR: politique monétaire [ f ] | เป็นระบบ | [pen rabop] (adj) EN: systematic FR: systématique | ผู้พิพากษาในระบบศาล | [phūphiphāksā nai rabop sān] (n, exp) EN: judiciary | ระบบ | [rabop] (n) EN: system ; organization ; regime ; manner ; way ; mode ; method ; procedure FR: système [ m ] ; ordre [ m ] ; régime [ m ] ; organisation [ f ] ; méthode [ f ] ; principe [ m ] ; manière [ f ] ; modèle [ m ] ; mode [ m ] ; type [ m ] ; procédure [ f ] ; appareil [ m ] | ระบบแอลเอ็มเอส | [rabop aēl-em-ēs] (n, exp) EN: LMS (Learning Management system) | ระบบอัตโนมัติ | [rabop attanōmat] (n, exp) EN: auto mode FR: mode automatique [ m ] | ระบบอวัยวะ | [rabop awaiyawa] (n, exp) EN: organ system | ระบบอาวุโส | [rabop āwusō] (n, exp) EN: seniority | ระบบเบ็ดเสร็จ | [rabop betset] (n, exp) EN: totalitarianism | ระบบดิจิตอล | [rabop dijitøn] (x) EN: digital FR: système digital [ m ] | ระบบไฟฟ้ากำลัง | [rabop faifā kamlang] (n, exp) EN: electrical power system | ระบบหายใจ | [rabop hāijai] (n, exp) FR: système respiratoire [ m ] | ระบบจำนวน | [rabop jamnūan] (n, exp) EN: number system FR: système numérique [ m ] ; système de numération [ m ] | ระบบจำนวนฐานสิบ | [rabop jamnūan thān sip] (n, exp) FR: système décimal [ m ] | ระบบจำนวนฐานสอง | [rabop jamnūan thān søng] (n, exp) EN: binary system FR: système binaire [ m ] | ระบบจัดการฐานข้อมูล | [rabop jatkān thānkhømūn] (n, exp) EN: Database Management System (DBMS) | ระบบกำลัง | [rabop kamlang] (n, exp) EN: power system | ระบบกรรมสิทธิ์ | [rabop kammasit] (n, exp) EN: system of ownership | ระบบการชลประทาน | [rabop kān chonlaprathān = rabop kān chonprathān] (n, exp) EN: irrigation system FR: système d'irrigation [ m ] | ระบบการจัดการเรียนการสอน | [rabop kān jat kān rīen kān søn] (n, exp) EN: learning management system (LMS) | ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือ | [rabop kān jat mūatmū nangseū] (n, exp) EN: library classification FR: système de classification des livres [ m ] ; système de classification des documents [ m ] | ระบบการเขียน | [rabop kān khīen] (n, exp) EN: writing system FR: système d'écriture [ m ] | ระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้า | [rabop kān laēkplīen sinkhā tø sinkhā] (n, exp) EN: barter system | ระบบการปฏิบัติการ | [rabop kān patibatikān] (n, exp) EN: operating system FR: système d'exploitation [ m ] | ระบบการผลิต | [rabop kān phalit] (n, exp) EN: production system ; mode of production FR: système de production [ m ] ; mode de production [ m ] | ระบบการปกครอง | [rabop kān pokkhrøng] (n, exp) EN: system of government | ระบบการซื้อขายล่วงหน้า | [rabop kān seūkhāi lūang-nā] (n, exp) EN: futures exchange ; derivatives exchange | ระบบการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ | [rabop kān seūkhāi trāsān anuphan] (n, exp) EN: futures exchange ; derivatives exchange | ระบบการศึกษา | [rabop kān seuksā] (n, exp) EN: system of education FR: système éducatif [ m ] | ระบบการทำงาน | [rabop kān thamngān] (n, exp) EN: work system | ระบบกษัตริย์ | [rabop kasat] (n, exp) EN: monarchy | ระบบคำ | [rabop kham] (n, exp) EN: morphology FR: morphologie [ f ] (ling.) | ระบบขับถ่าย | [rabop khapthāi] (n, exp) EN: excretory system |
| MFC | (name) ย่อมาจากคำว่า Microsoft Foundation Classes เป็นชื่อของชุดโปรแกรมพื้นฐานชุดหนึ่ง ประกอบด้วย class ของการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ สำหรับใช้เพื่อพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนระบบปฏิบัติการ Windows, See also: ATL WTL | active money | (n) เงินที่ไหลเวียนอยู่ในระบบ | Tablet PC | (name) เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ชนิดที่มีระบบรับข้อมูลการขีดเขียนด้วยปากกาบนจอภาพ | ecological | (adj) เกี่ยวกับระบบนิเวศน์ | basket of currencies | (n) ระบบตะกร้าเงิน | GPS | (abbrev) ระบบที่ช่วยบอกตำแหน่งที่อยู่บนพื้นผิวโลก โดยอาศัยสัญญาณดาวเทียม ย่อมาจากคำว่า | haptic | (adj) เกี่ยวกับการสัมผัส ระบบสัมผัส | public education | (n) ระบบการศึกษาของรัฐ ที่ถูกกำหนดขึ้นโดยรัฐบาลและใช้เงินภาษีช่วยสนับสนุน เช่น โรงเรียนภายใต้การดูแลของรัฐ หรือโรงเรียนรัฐ ถูกเรียกว่า public school (ขณะที่ในอังกฤษ public school คือโรงเรียนอิสระที่ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากการบริจาคเพื่อให้คนยากจนได้เรียน) | civil service system | (n, phrase) ระบบข้าราชการพลเรือน | outgas | (vi, vt) กำจัดแก๊สออกจากระบบโดยการลดความดันหรือให้ความร้อน | acrylamide | (n, name) เอคริลเอไมด์ เป็นสารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่มีหมู่เอไมด์แทนที่หมู่ไฮดรอกซิลของกรดโพรพีโนอิก (propenoic acid) สารประกอบชนิดนี้เกิดได้จากการอบหรือทอดอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรท และจากการทดลองในสัตว์สารชนิดนี้สามารถทำให้ระบบประสาทกลางเป็นอัมพาตได้ อีกทั้งยังเป็นสารก่อมะเร็ง | MRI | (n, abbrev) ระบบสร้างภาพจากการสั่นพ้องของคลื่นสนามแม่เหล็ก (Magnetic Resonance Imaging) | CT | (n, abbrev) ระบบสร้างภาพตัดขวางจากรังสีเอกซ์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computerized axial tomography) | informal debt | หนี้นอกระบบ | engram | (n) การเปลี่ยนแปลงของระบบประสาท เป็นผลมาจากการเรียนรู้โดยร่องรอยของความทรงจำจะถูกบันทึกไว้ | urologist | (n) แพทย์ที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบปัสสาวะ | stonefly | (n, name) สโตนฟลาย เป็นแมลงใน อันดับ พลีคอปเทอร่า (Order Plecoptera: Class Insecta) ลักษณะตัวเต็มวัย (adult) แบ่งออกเป็น ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง ชัดเจน; ส่วนหัว (head) มีหนวด (antennae) ยาว 1 คู่ มีตารวม (compound eyes) 1 คู่ มีตาเดี่ยว (ocelli) 0-3 ตา มีปากแบบกัดกิน (Chewing mouthpart), ส่วนอก (thorax) มีขา 3 คู่ มีปีก 2 คู่เป็นแผ่นบางใส (membranous wings) ปีกคู่หลัง (hind wings) จะซ้อนพับอยู่ใต้ปีกคู่หน้า (fore wings), ส่วนท้อง (abdomen) ยาวแบ่งเป็นปล้อง; มีการเจริญเติบโตแบบไม่สมบูรณ์ (Incomplete metamorphosis) คือเจริญเติบโตจากไข่ ฟักออกมาเป็นตัวอ่อน ลอกคราบหลายครั้งจนเป็นตัวเต็มวัย โดยไม่มีระยะดักแด้; ในระยะตัวอ่อน (nymph) มีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัยแต่ไม่มีปีก อาจพบเหงือก (gills) รูปร่างต่าง ๆ ตามลำตัวเป็นอวัยวะช่วยในการหายใจ อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำไหล (Lotic habitat, running water) บางชนิดมีนิสัยการกินแบบผู้ล่า (predator) กินสัตว์อื่นที่มีขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร แต่บางชนิดกินเศษซากตะกอนในแหล่งน้ำเป็นอาหาร (detritivore) และเมื่อลอกคราบครั้งสุดท้ายเป็นตัวเต็มวัยจะอาศัยอยู่บนบกใกล้แหล่งน้ำ สโตนฟลายบางชนิดที่มีวงจรชีวิตระยะตัวอ่อนเป็นเวลายาวนาน เมื่อลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยแล้วจะจับคู่ผสมพันธุ์ทันทีโดยไม่กินอาหาร แต่ในบางชนิดที่มีวงจรชีวิตใช้เวลาในระยะตัวอ่อนน้อย เมื่อลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยแล้วจะกินน้ำหรือเศษซากพืชหรือซากตะกอนเพียงเล็กน้อย เพื่อพัฒนาระบบสืบพันธุ์ให้เจริญเต็มที่ ก่อนจับคู่ผสมพันธุ์ เมื่อผสมพันธุ์แล้วตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่ลงในแหล่งน้ำไหลเพื่อให้ไข่ฟักออกมาเป็นตัวอ่อนอาศัยเจริญเติบโตในแหล่งน้ำไหลนั้นต่อไป; จากลักษณะการดำรงชีวิตโดยอาศัยพึ่งพาแหล่งน้ำอยู่เกือบตลอดทั้งวงจรของชีวิต แมลงชนิดนี้จึงจัดอยู่ในกลุ่มของแมลงน้ำ (Aquatic insect), See also: plecoptera | Ubuntu | (n) ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่งที่พัฒนาบนพื้นฐานของระบบ Linux | homoeopathy | [โฮมีโอพาธี] (n) การบำบัดแบบโฮมีโอพาธีมีแนวคิดหรือปรัชญาพื้นฐานในการทำความเข้าใจร่างกายมนุษย์ที่แตกต่างจากระบบการแพทย์แผนปัจจุบันโดยสิ้นเชิง การมองร่างกายและจิตใจของ ผู้ป่วยจะไม่ได้มองเป็นอวัยวะที่แยกส่วนออกจากกัน แต่จะมองร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยเป็นภาพรวมเดียวกัน ดังนั้นก่อนที่จะบำบัดผู้ป่วยจะต้องมีการสัมภาษณ์และคุยกับผู้ป่วยในเรื่องของลักษณะทั่วไป บุคลิกภาพ ประวัติทางการแพทย์ของครอบครัว อารมณ์ ความรู้สึกส่วนบุคคลต่อสิ่งแวดล้อม อาหาร อากาศ ฯลฯ รวมทั้งอาการของโรคด้วย นักบำบัด (practitioner) จะต้องนำคำตอบทั้งหมดมาประมวลและสรุปเป็นภาพรวมโดยเรียกว่า “ภาพของอาการ” (symtom picture)ดังนั้นการประเมินประสิทธิภาพของการบำบัดจึงไม่ควรใช้กรอบและแนวคิดของระบบการแพทย์แผนปัจจุบันประเมินแต่เพียงอย่างเดียว ควรมีการศึกษาและทำความเข้าใจแนวคิดพื้นฐานของการบำบัดแบบโฮมีโอพาธีด้วย โดยสรุปแล้วการบำบัดแบบโฮมีโอพาธีจัดเป็นศาสตร์การรักษาสุขภาพแบบองค์รวมที่เน้นเรื่องการปรับสมดุลสารชีวเคมีและพลังไหลเวียนภายในร่างกาย การให้ยาเป็นไปเพียงเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการปรับสมดุลด้วยกลไกตามธรรมชาติของร่างกายเอง ไม่ได้มุ่งหมายให้ยาไปขจัดหรือทำลายกลไกของร่างกายหรือสารที่ก่อให้เกิดอาการป่วย รวมทั้งไม่ได้มุ่งหมายที่จะขจัดสิ่งมีชีวิตใด ๆ ออกจากร่างกายด้วย | DEM | (n) แบบจำลองภูมิประเทศเชิงเลข ซึ่งเป็นคำย่อมาจาก Digital Elevation Model (DEM) โดยทำการจัดสร้างขึ้นจากข้อมูลพื้นฐานประกอบด้วยค่าพิกัด X, Y และ Z ของจุดตัวอย่าง ซึ่งในทางทางระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์นิยมนำเข้าข้อมูลเส้นชั้นความสูง ยอดเขา และหลุมยุบ มาใช้ในการจัดสร้างแบบจำลองภูมิประเทศเฃิงเลขในรูปของข้อมูลเฃิงภาพหรือข้อมูลเชิงเส้น | EDGE | (abbrev) EDGE (Enhanced Data Rate for Global Evolution) เป็นระบบอินเทอร์เน็ตไร้สาย 2.75G ในเครือข่ายโทรศัพท์ คล้ายกับระบบ GPRS แต่มีความเร็วที่สูงกว่าคือที่ประมาณ 300 KB | MLM | (n, abbrev) ย่อมาจาก Multi-level marketing เป็นวิธีการตลาดและการขายแบบใช้เครือข่ายของบุคคล ในธุรกิจขายตรง (Direct selling) โดยสมาชิกของเครือข่าย นอกเหนือจากจะได้ส่วนแบ่งโดยตรงจากยอดที่ตนเองขายได้แล้ว ยังได้ผลประโยชน์เพิ่มเติมจากยอดของผู้ขายอื่นที่ตนเป็นคนแนะนำให้เข้ามาในระบบด้วย, See also: Network Marketing | artificial intelligence (AI) | (n) ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ), สาขาหนึ่งของวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งเน้นเรื่องที่จะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ใกล้เคียงมนุษย์มากขึ้น แบ่งย่อยออกเป็นสาขาต่าง ๆ เช่น การแปลภาษาด้วยเครื่อง ระบบผู้เชี่ยวชาญ วิทยาการหุ่นยนต์ การรู้จำแบบ การรับรู้เยี่ยงมนุษย์ (human perception) ฯลฯ [ ศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับราชบัณฑิตยสภา ] | cyber crime | (n) [ cybercrime; cyber-crime; computer crime ] อาชญากรรมไซเบอร์, อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ๑. การกระทำผิดกฎหมายโดยใช้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือ เช่น ทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือขโมยข้อมูล ๒. การทำให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่าย ถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทํางานตามปรกติได้ [ ศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับราชบัณฑิตยสภา ] | Loga | (n, uniq) ชื่อบริการบัตรสมาชิกออนไลน์สำหรับร้านค้า โดยร้านค้าสามารถเปิดบัตรในระบบ Loga และเปิดให้ลูกค้าของร้านสามารถสมัครเป็นสมาชิก, สะสมแต้ม, รับคูปอง, เลือกซื้อสินค้า, เติมเงิน, และอื่นๆ อีกมากมาย บริการ Loga ดำเนินการโดยบริษัท เมตามีเดีย เทคโนโลยี จำกัด ภายใต้เว็บ https://loga.app/ และแอปในชื่อ Loga | application | (n) โปรแกรมประยุกต์ในระบบคอมพิวเตอร์ สามารถใช้คำทับศัพท์ แอปพลิเคชัน ได้ |
| absolutism | (n) ระบบเผด็จการทางการเมือง, Syn. absolute monarchy, dictatorship | aeroneurosis | (n) ความผิดปกติของระบบประสาทที่เกิดกับนักบินเนื่องจากความเครียดในการบิน | air brake | (n) ระบบเบรกด้วยการอัดอากาศ | airlift | (n) ระบบการโดยสารหรือขนส่งด้วยเครื่องบิน (โดยเฉพาะเวลาฉุกเฉิน), Syn. airdrop, air jump | antislavery | (adj) ที่ต่อต้านระบบทาส | apothecaries' measure | (n) ระบบการตวงของเหลวในการปรุงยา | apothecaries' weight | (n) ระบบของน้ำหนักที่ใช้กับการปรุงยา | apparatus | (n) ระบบ, See also: กลไก, Syn. device | ARS | (n) ระบบอัดเสียงขั้นสูง | binary | (n) ทวิภาค, See also: ระบบฐานสอง, เลขคู่, เลขฐานสอง | braille | (n) ระบบการพิมพ์อักษรเบลล์สำหรับคนตาบอด | bureaucracy | (n) ระบบบริหารที่มีพิธีรีตรอง | bureaucratic | (adj) เกี่ยวกับระบบราชการ, Syn. ministerial, official | cable | (n) ระบบโทรทัศน์ที่ส่งสัญญาณผ่านสายเคเบิ้ล, Syn. cable television | cable television | (n) ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ด้วยสายเคเบิล, Syn. cable TV | cable TV | (n) ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ด้วยสายเคเบิล, Syn. cable television | calculus | (n) ระบบการคำนวณเกี่ยวกับจำนวนที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เช่น ความเร็วของหินที่ตกลงมา, See also: แคลคูลัส | capitalism | (n) ระบบทุนนิยม | CAT scanner | (n) เครื่องถ่ายเอ็กซเรย์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์, Syn. CT scanner | catalytic converter | (n) อุปกรณ์ที่ช่วยลดสารเป็นพิษในระบบท่อไอเสีย | central | (adj) เกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลาง | central heating | (n) ระบบทำความร้อนให้กับอาคารโดยการส่งอากาศหรือน้ำร้อนผ่านท่อในอาคาร | central locking | (n) ระบบการล็อคประตูรถทุกบานจากจุดเดียว | central nervous system | (n) ส่วนหนึ่งของระบบประสาทในร่างกายที่ประกอบด้วยสมองและเส้นประสาทรวมที่กระดูกสันหลัง | ceremonial | (n) ระบบของพิธีการ, Syn. rite | code | (n) รหัส, See also: เครื่องหมาย, สัญลักษณ์, ระบบสัญลักษณ์, Syn. cipher, cryptogram | codify | (vt) จัดให้เป็นระบบ, Syn. systematize, classify | coinage | (n) ระบบเงินเหรียญ, See also: ระบบเหรียญกษาปณ์, Syn. currency, coins | CT scanner | (n) เครื่องถ่ายเอ็กซเรย์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์, Syn. CAT scanner | drop in | (phrv) ไม่เข้าร่วม (ระบบสังคมหรือการศึกษา) | database | (n) ฐานข้อมูล (ทางคอมพิวเตอร์), See also: คลังข้อมูล, ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เก็บรวบรวมอย่างเป็นระบบ, Syn. data bank | database management system | (n) ระบบการจัดการฐานข้อมูล (ทางคอมพิวเตอร์) | democrat | (n) นักประชาธิปไตย, See also: ผู้นิยมการปกครองในระบบประชาธิปไตย, Syn. independent, populist | deviationist | (n) ผู้ไม่เห็นด้วยกับระบบหรือความเชื่อบางอย่างทางการเมือง, Syn. secessionist, schismatic | diatonic | (adj) เกี่ยวกับระบบเสียงคู่แปดหรือระดับเสียงเต็มรูป(ทางดนตรี) | dictatorship | (n) ระบบเผด็จการ, See also: การปกครองแบบเผด็จการ, Syn. despotism, autarchy | disordered | (adj) ซึ่งไม่มีระเบียบ, See also: ซึ่งไม่มีระบบ, ซึ่งยุ่งเหยิง, ซึ่งสับสนอลหม่าน, Syn. chaotic, scattered, untidu, Ant. well-ordered, tidy | disorganize | (vt) ทำให้ไม่เป็นระบบ, See also: ทำให้เสียระบบ, ทำให้ยุ่งเหยิง, Syn. diarrange, disarray, Ant. organize, order | disorganized | (adj) ซึ่งไม่เป็นระบบ, See also: ซึ่งยุ่งเหยิง, ซึ่งไม่เป็นระเบียบ, ซึ่งระส่ำระสาย, ซึ่งวุ่นวาย, Syn. orderless, disarranged | disrupt | (vt) ทำให้ยุ่งเหยิง, See also: ทำให้ยุ่งยาก, ทำให้แตกแยก, ทำให้เสียกระบวน, ทำให้เสียระบบ, Syn. disturb, confuse, disorder, interrupt, Ant. order, organize | DOS | (n) ระบบการปฏิบัติการในคอมพิวเตอร์, See also: ระบบดอส, Syn. Disk Operating System | drain | (n) ท่อระบายน้ำ, See also: ระบบการระบายน้ำ, Syn. drainpipe, out let | ecology | (n) ระบบนิเวศน์, See also: ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศน์ | economic system | (n) ระบบเศรษฐกิจ | economy | (n) ระบบ, Syn. system | ecosystem | (n) ระบบที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม | electronic | (adj) เกี่ยวกับระบบอิเล็กทรอนิกส์, See also: เกี่ยวกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ | electronic publishing | (n) การพิมพ์ข้อมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยเก็บข้อมูลลงในแถบแม่เหล็กแผ่นดิสก์หรือซีดีรอม ซึ่งอ่านข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์ | e-mail | (n) ระบบการส่งผ่านข้อมูลข่าวสารทางคอมพิวเตอร์โดยอาศัยสายโทรศัพท์และโมเด็ม, See also: ไปรษณีย์อิเลคทรอนิกส์, Syn. electronic mail | EMS | (abbr) ระบบการเงินของยุโรป (คำย่อของ European Monetary System) |
| * | เครื่องหมาย asterisk (ดอกจัน) เป็นอักขระตัวหนึ่ง มีอยู่บนแผงแป้นอักขระ เมื่อนำมาใช้ในคำสั่งระบบดอส สัญลักษณ์ * จะใช้แทนตัวอักษรใด ๆ ก็ได้ กี่ตัวก็ได้ (wildcards) ใช้เมื่อต้องการอ้างถึงชื่อแฟ้มข้อมูล เช่นถ้าใช้ A*.* หมายความถึง แฟ้มข้อมูลทุกแฟ้มที่มีชื่อขึ้นต้นด้วยอักษร A และจะมีนามสกุลอะไรก็ได้ หรือถ้าใช้ *.COM ก็หมายความ ถึงแฟ้มข้อมูลทุกแฟ้มที่มีนามสกุล COM ถ้าใช้ *.* ก็จะหมายถึงทุกแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่ในสารบบ หรือในจานบันทึก ดู wildcards ประกอบ | + | เครื่องหมาย cross hairs เป็นรูปลักษณ์ของตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) แบบหนึ่ง ที่แตกต่างกันออกไปในบางโปรแกรม เช่น ในโปรแกรมการวาดภาพในระบบวินโดว์ส มักมีลักษณะเป็นเส้นตัดกัน (+) แทนที่จะเห็นเป็นลูกศรตามปกติ | a | (เอ) 1. พยัญชนะและสระตัวแรกในภาษาอังกฤษรูปตัว A, ชั้นหนึ่ง, อันดับหนึ่ง, สัญลักษณ์ธาตุ argon (the first letter) - อังสตรอมยูนิต abbr. assesssment, artery 2. อักษร A ในระบบเลขฐานสิบหก มีค่าเท่ากับ 10 ในเลขฐานสิบ | absolute temperature | (ฟิสิกส์) n. เกณฑ์องศาอุณหภูมิระบบ absolute scale | accessories | โปรแกรมประกอบหมายถึงโปรแกรมต่าง ๆ ที่โปรแกรมระบบเตรียมให้มาไว้ใช้เป็นโปรแกรมประกอบ หรือโปรแกรมที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน เช่น โปรแกรมประกอบของโปรแกรม ระบบวินโดว์ 95 หรือ 98 จะมีโปรแกรม NotePad, Paint, WordPad , Multimedia, Calculator เป็นต้น | accounting | (อะเคา' ทิง) n. ทฤษฎีระบบการทำบัญชี, วิชาการทำบัญชี | active window | วินโดว์ที่กำลังใช้งานหมายถึง วินโดว์ที่กำลังใช้อยู่ หรืออาจพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ได้ว่า เป็นวินโดว์ที่มีโปรแกรมที่กำลังเปิดใช้อยู่ หรืออยู่หน้าวินโดว์อื่น ๆ วินโดว์นี้ จะเป็นวินโดว์ที่ตอบสนองการสั่งงานทุกอย่าง ถ้าบนจอภาพมีวินโดว์แสดงอยู่มากกว่าหนึ่งวินโดว์ จะมีวินโดว์ใช้งานอยู่เพียงวินโดว์เดียว นอกนั้นเป็นวินโดว์ที่ไม่ได้ใช้งาน (non-active window) โดยปกติแล้ว ถ้าเป็นระบบไมโครซอฟต์ วินโดว์ของพีซี (PC) ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จะทราบว่า วินโดว์ ไหนเป็นวินโดว์ใช้งาน โดยดูที่แถบชื่อ (title bar) ถ้าวินโดว์ ใดมีแถบชื่อที่สีต่างกว่าวินโดว์อื่น วินโดว์นั้นจะเป็นวินโดว์ที่ใช้งานอยู่ ถ้าเป็นเครื่องแมคอินทอช วินโดว์ใช้งานจะมีเส้นหลาย ๆ เส้น ในช่องแถบชื่อนั้น ส่วนวินโดว์ที่ยังไม่ใช้งานแถบชื่อจะว่างเปล่า | adrenal gland | ต่อมหมวกไต มีส่วนประกอบ 2 ส่วน 1. ส่วนเปลือก (adrenal cortex) ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน 1.1 กลูโคคอร์ติคอยด์ แยกย่อยได้แก่ cortisone , hydrocortisone ซึ่งทำหน้าที่ในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ทำให้จำนวนกลูโคสในเลือดเพิ่มขึ้น และไกลโคเจนจะถูกสะสมในตับมากขึ้น ดังนั้นจะเห็นว่าฮอร์โมนนี้จะทำหน้าที่ตรงข้ามกับ insulin ในขณะที่ร่างกายเครียดจะหลั่ง ACTH และ cortisoneออกมาโดยผ่านทาง higher center ของระบบประสาทส่วนกลาง เราจึงมักพบ cortisone ในสภาวะที่ร่างกายได้รับความเจ็บปวด ถูกของร้อน มีคม ไข้สูง ฯลฯ 1.2 ไมเนอราลคอร์ติคอยด์ แยกย่อยได่แก่ aldosterone deoxycorticosterone ซึ่งมีจำนวนน้อย ทั้งสองฮอร์โมนทำหน้าที่ควบคุมน้ำและเกลือแร่ 1.3 sex hormone แยกย่อยได้เป็น Estrogen Progesterone Androgen 2. ส่วนแกน (adrenal medulla) ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนสำคัญคือ 2.1 adrenaline หรือ epinephrine ทำให้หัวใจเต้นแรง ความดันเลือดเพิ่มขึ้น เส้นเลือดที่ผิวหนังและอวัยวะภายในบีบตัว อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น เร่งการสลาย glycogen ในตับเพื่อเปลี่ยนเป็น glucose ทำให้นเตาลในเลือดสูงขึ้น 2.2 noradrenaline ไม่มีผลต่อการเผาผลายอาหารในร่างกาย แต่มีผลทำให้เลือดหดตัว หัวใจเต้นช้าลง ความดันเลือดสุงขึ้น ขยายหลอดลม แต่ไม่มีผลต่อระดับ้ำตาลในเลือด | air conditioning | การปรับอากาศ, ระบบการปรับอากาศ. -air-conditioning adj. | airbrake | (แอร์' เบรค) n. ระบบเบรคด้วยอากาศที่อัดอยู่, เครื่องมือลดความเร็วเครื่องบิน | airlift | (แอร์' ลิฟทฺ) n. ระบบการโดยสารหรือขนส่งด้วยเครื่องบิน (โดยเฉพาะในเวลาฉุกเฉิน) ; -vt. ขนส่ง (คนหรือสินค้า) ทางเครื่องบิน | algol | (แอล' กอล) n. Algo (rithmic) L (anguge) เป็นภาษาหนึ่งในการทำ programming ของระบบคอมพิวเตอร์ ย่อมาจากคำว่า ALGOrithmic Language เป็นภาษาที่ใช้ ในการเขียนโปรแกรม ปัจจุบันนี้ ภาษานี้เกือบจะไม่มีใช้แล้ว เพราะเป็นภาษาที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน แต่ก็ถือกันว่าเป็นต้นตระกูลของ ภาษาปาสกาล (Pascal) | algorism | (แอล' กะริสซึม) n. ระบบเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ของอาหรับ (โดยใช้ตัวเลข 1, 2, 3.......) วิธีการคำนวณด้วเลขอาหรับ, ลำดับขึ้นตอนที่แน่นอนซึ่งใช้ในการแก้ปัญหา, ขั้นตอนวิธี, ชุดของคำสั่งที่กำหนดไว้อย่างมีขั้นตอนเพื่อใช้แก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง -algorismic adj. | algorithm | (แอล' กะริธธึม) n. ระบบกฏเกณฑ์ในการแก้ปัญหาของจำนวนที่แน่นอนทางคณิตศาสตร์เช่นในการหาค่าของตัวหารร่วมที่สุด., Syn. algorism, -algorithmic adj. ขั้นตอนวิธีอัลกอริทึมหมายถึง การวิเคราะห์แยกแยะวิธีการทำงานให้เป็นขั้นเป็นตอนโดยกำหนดให้เรียงกันไปตามลำดับ การเขียนโปรแกรมในยุคแรก ๆ นั้น ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องมองเห็นขั้นตอนในการแก้ปัญหาอย่างแจ่มชัดเสียก่อน จึงจะเขียนโปรแกรมได้ | alphabet | (แอล' ฟาเบท) n. อักษรพยัญชนะ, อักษร, อักขระ, ระบบตัวอักษร, ความรู้พื้นฐาน, ขั้นมูลฐาน. | amphetamine | (แอมเฟท' ทะมีน) n. ยากระตุ้นจิตประสาทชนิดหนึ่งมันกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ใช้เป็นยาลดความอยากอาหาร (ยาบ้าของนายเสนาะ เทียนทอง) | ancien regime | (อานุเซียน' เรจึม) fr. ระบบการเมืองและสังคมของฝรั่งเศสก่อนการปฏิวัติปี ค.ศ.1789 ระบอบเก่า | api | (เอพีไอ) ย่อมาจาก application program interface หมายถึงวิธีการอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์รู้สึกว่า การใช้คอมพิวเตอร์ง่ายขึ้นกว่าเดิม เช่น เอพีไอจะกำหนดขั้นตอนมาตรฐานให้โปรแกรมสำเร็จต่าง ๆ ทำงาน โดยวิธีให้ผู้ใช้เลือกจากรายการคำสั่ง (menu) หรือตอบคำถามในกรอบสนทนา (dialog box) แทนที่จะต้องจำคำสั่งอย่างแต่ก่อน การใช้ระบบวินโดว์บนเครื่องพีซีก็ดี OS/2 ก็ดี หรือระบบของแมคอินทอช ก็ดี ล้วนเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของการนำเอพีไอมาใช้ | apothecaries measure | ระบบหน่วยวัดดวงที่ใช้ส่วนใหญ่กับการปรุงยาหรือจ่ายยา | apothecaries' weight | ระบบหน่วยน้ำหนักที่ใช้ส่วนใหญ่กับการปรุงยาหรือจ่ายยา | appanage | (แอพ'พะเนจ) n. ที่ดินหรือรายได้รับตามระบบศักดินาแก่สมาชิกราชวงศ์กษัตริย์, ทรัพย์สินที่ครอบครองตามกฎหมาย | apple computer inc. | บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ <คำแปล>เป็นชื่อบริษัทที่ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ยี่ห้อแอปเปิล ชุดที่โด่งดังมาก ได้แก่ แอปเปิลทู (Apple II) และ แมคอินทอช (Macintosh) ฯ คอมพิวเตอร์แอปเปิลที่วางขาย ในตลาดรุ่นแรก ๆ นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างความฮือฮาอย่างมากในวงการคอมพิวเตอร์ เพราะเป็นครั้งแรก (ราว ค.ศ.1977) ที่มีการผลิตคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กในราคาที่คนทั่วไปจะหาไว้ใช้เป็นสมบัติส่วนตัวได้ ผู้ที่ช่วยกันริเริ่มคิดประดิษฐ์ได้แก่ Steve Jobs กับ Steve Wozniak สองสหายวัยรุ่นที่สร้างเครื่องต้นแบบเครื่องแรกในโรงรถ ส่วนเครื่องรุ่นแมคอินทอชนั้นเป็นคอมพิวเตอร์ยี่ห้อแรกที่เริ่มนำสัญรูป (icon) รายการคำสั่ง แบบดึงลง (pull down menu) กรอบสนทนา (dialog box) เมาส์ (mouse) ฯลฯ มาใช้ ทำให้คนทั่วไปเริ่มรู้สึกว่า การใช้คอมพิวเตอร์ไม่ใช่ของยากอะไรเลย ปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้หนักไปในด้านการผลิตสิ่งพิมพ์ (desktop publishing) อย่างไรก็ตาม หาใช่มีแต่เครื่องแอปเปิลแมคอินทอชเท่านั้นไม่ที่ใช้ระบบการทำงานดังที่กล่าวแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์พีซีก็เลียนแบบ โดยการนำเอาระบบวินโดว์มาใช้ | appleshare | (แอปเปิลแชร์) หมายถึง โปรแกรมระบบปฏิบัติการที่จะใช้ในข่ายงาน (network) ที่บริษัทแอปเปิลสร้างขึ้นสำหรับใช้กับคอมพิวเตอร์แมคอินทอช (ดู networks ประกอบ) | appletalk | (แอปเปิลทอล์ค) ในปัจจุบัน มีการนำเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องมาใช้ร่วมกัน เพื่อทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่เรียกว่า "ข่ายงาน" (network) การทำเช่นนี้จำเป็นจะ ต้องมีระบบประสานการใช้เครื่อง แอปเปิล ทอล์คนั้น ทำหน้าที่นี้ แต่ใช้สำหรับทำให้นำเครื่องแอปเปิลแมคอินทอชและเครื่องไอบีเอ็ม พีซีซึ่งมีระบบปฏิบัติการต่างกันมาใช้ร่วมกันในข่ายงานเดียวกันได้ เครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชทุกเครื่องจะมีช่องต่อออก สำหรับแอปเปิลทอลค์ แต่ไอบีเอ็มพีซียังไม่มี ดู network ประกอบ | apraxia | (อะแพรด'เซีย) n. ความผิดปกติของระบบประสาทที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวบางอย่างได้. -apraxic adj. | aquatone | (แอค'วะโทน) n. ขบวนการพิมพ์ระบบออฟเซท (offset) จากแผ่นโลหะที่ฉาบด้วยแยลลาตีนที่ไวต่อแสง, สิ่งตีพิมพ์ด้วยระบบดังกล่าว | archie | (อาร์' คี) n. ระบบหนึ่งของผู้ให้การบริการ (servers) ที่ค้นหาไฟล์ที่มีอยู่ สำหรับสาธารณในแหล่งข้อมูลโปรโตรคอลแปลงแฟ้มข้อมูล (FTP, file transfer protocol) | arcuation | (อาร์คิวเอ'เชิน) n. ภาวะงอกหรือโค้ง, การใช้ส่วนโค้งงอในการก่อสร้าง, ระบบของส่วนโค้งงอ | ascii file | แฟ้มข้อมูลแอสกี <คำแปล>หมายถึงแฟ้มข้อมูลที่ไม่ใช่โปรแกรม มีตัวอักขระที่ใช้เป็นรหัสแอสกีทั้งหมด บางที เรียกว่า " text file " แฟ้มแอสกี (ASCII file) มีลักษณะเฉพาะคือเป็นแฟ้มที่ไม่มีรูปแบบในการจัดหน้า ข้อความจะยาวไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีการขึ้นบรรทัดใหม่ นอกจาก จะเริ่มระเบียนใหม่ โปรแกรมเวิร์ด สตาร์ (WordStar) เป็นผู้นำคำนี้มาใช้ก่อน (ตรงข้ามกับ document file ซึ่งหมายถึง แฟ้มข้อมูลที่มีการจัดรูปหน้าไว้แล้ว) ส่วนมากจะใช้ศัพท์นี้เมื่อต้องการเปลี่ยน (convert) แฟ้มข้อมูลของโปรแกรมหนึ่งเป็นอีกโปรแกรมหนึ่ง เช่นจาก Word Perfect เป็น Microsoft Word ในกรณีเช่นนี้ อาจจะมีเมนูให้เลือกได้ว่าจะเปลี่ยนเป็น text file หรือ ASCII file หรือไม่ ซึ่งก็หมายความว่าเปลี่ยนเป็นแฟ้มข้อมูลที่ใช้รหัสแอสกีทั้งหมด ทำให้สามารถใช้ร่วมกันได้ ภายใต้ระบบปฏิบัติการเดียวกัน นิยมใช้กันมากในระบบสื่อสารและถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล | asterisk | (แอส'เทอริสคฺ) n. เครื่องหมายดอกจันทร์ (*) , สิ่งที่มีลักษณะคล้ายดาว. -vt. ใส่เครื่องหมายดอกจันทร์หรือดาว ดอกจัน <คำแปล>* <เครื่องหมาย>เป็นอักขระตัวหนึ่ง มีอยู่บนแผงแป้นอักขระ เมื่อนำมาใช้ในคำสั่งระบบดอส สัญลักษณ์ * จะใช้แทนตัวอักษรใด ๆ ก็ได้ กี่ตัวก็ได้ (wildcards) ใช้เมื่อต้องการอ้างถึงชื่อแฟ้มข้อมูล เช่นถ้าใช้ A*.* หมายความถึง แฟ้มข้อมูลทุกแฟ้มที่มีชื่อขึ้นต้นด้วยอักษร A และจะมีนามสกุลอะไรก็ได้ หรือถ้าใช้ *.COM ก็หมายความ ถึงแฟ้มข้อมูลทุกแฟ้มที่มีนามสกุล COM ถ้าใช้ *.* ก็จะหมายถึงทุกแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่ในสารบบ หรือในจานบันทึก ดู wildcards ประกอบ | attribute | (อะทริบ'บิวทฺ) vt. ให้เหตุผลว่า, ถือเอา, อ้างเหตุผล. -n. คุณลักษณะ. -attributer, attributor n. -attribution n., Syn. assign, consider, quality ลักษณะประจำหมายถึง คุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษ มีการเน้นความแตกต่างจากของอื่นในประเภทเดียวกัน เช่น ถ้าเป็นแฟ้มข้อมูลในระบบดอส จะมีลักษณะประจำต่างกันเป็น 4 อย่าง คือ แฟ้มข้อมูลที่มีการจัดเก็บเป็นระเบียบ archive แฟ้มที่อ่านได้อย่างเดียว แก้ไขไม่ได้ read only แฟ้มที่ไม่แสดงตัว hidden และแฟ้มระบบ system หรือถ้าต้องการหาคำใดคำหนึ่ง เช่น ในโปรแกรมประมวลผลคำ นอกจากจะบอกคอมพิวเตอร์ว่าสะกดอย่างไรแล้ว อาจบอกเพิ่มเติมว่า ...เป็นคำที่ใช้แบบอักษร Times New Roman ขนาด 14 จุด ข้อความที่บ่งบอกคุณสมบัติเพิ่มเติมไปนี้ก็เรียกว่า " attribute " ทั้งสิ้น | authoring system | ระบบการเขียนโปรแกรมหมายถึง ระบบการเขียนโปรแกรมโดยที่ผู้เขียนไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านโปรแกรมเลย ผู้เขียนเพียงแต่ใช้ภาษาง่าย ๆ ในรูปแบบเชิงโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์เท่านั้น | autocracy | (ออทอค'คระซี) n. อัตตาธิปไตย, เอกาธิปไตย, ผู้มีอำนาจเด็ดขาด, การปกครองโดยผู้มีอำนาจเด็ดขาด, ราชาธิปไตยแบบกษัตริย์ที่มีอำนาจเด็ดขาด, ระบบเผด็จการ. autocratic (al) adj. | automatic pilot | ระบบการควบคุมการบินอัตโนมัติ | autonomic | (ออโทนอม'มิค) adj. อัตโนมัติ, เป็นอิสระ, เกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลาง., Syn. autonomical, autonomous, self-reliant | autonomic nervous system | ระบบประสาทส่วนกลางที่เกี่ยวกับการทำงานเอง ของอวัยวะในร่างกาย | avoirdupois weight | ระบบน้ำหนักในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา. av ; avdp. ; avoir. | backslash | \ (อักขระ) <เครื่องหมาย>หมายถึงสัญลักษณ์ \ เครื่องหมายนี้ดูเผิน ๆ คล้ายกับ / (slash) แต่กลับทิศทางกัน บางคนคิดว่าเหมือนกัน แต่ความหมายจะแตกต่างกันมาก ในระบบดอส สัญลักษณ์นี้ใช้แยกระหว่างชื่อสารบบ (directory) กับชื่อแฟ้มข้อมูล (file) เช่น DIR C:\Taksina\June.xlsคำสั่งข้างบนนี้เป็นคำสั่งให้แสดงแฟ้มข้อมูลชื่อ June.xls ซึ่งอยู่ภายใต้สารบบชื่อ Taksina และเก็บอยู่ในหน่วยบันทึก C: | base number | เลขฐานหมายถึง จำนวนสัญลักษณ์ที่ ใช้บอกว่าเลขในระบบนั้น ๆ ว่ามีสัญลักษณ์โดด ๆ กี่ตัว เช่น ระบบฐานสิบมีสัญลักษณ์ 10 ตัว ระบบฐานสิบหกมีสัญลักษณ์ 16 ตัว เป็นต้น ในการเขียน มักจะต้องบอกฐานกำกับไว้ด้วยเสมอ | batch file | แฟ้มคำสั่งรวมหมายถึง แฟ้มพิเศษที่ใช้เก็บคำสั่งระบบที่ต้องการใช้ เพื่อสั่งให้เครื่องทำงานให้ ถ้ามีแฟ้มข้อมูลนี้เก็บไว้ คอมพิวเตอร์จะปฏิบัติการตามขั้นตอนในคำสั่งที่บรรจุอยู่ในแฟ้มนี้ทันทีที่เริ่มเครื่องใหม่ (boot) แฟ้มข้อมูลประเภทนี้จะใช้นามสกุล (file tpe) ว่า .bat เช่น autoexec.bat เป็นต้น | batch processing | การประมวลผลเชิงกลุ่มหมายถึงการประมวลผลที่ทำต่อเนื่องกันไปตามลำดับโดยมีระบบปฏิบัติการ (operating system) เป็นตัวควบคุม ในการประมวลผลแบบนี้ เราจะต้องจัดรวบรวมข้อมูลและแบ่งแยกเป็นกลุ่มไว้ให้เรียบร้อยก่อน จึงส่งเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลทีเดียว เมื่อเสร็จแล้วจึงจัดรวบรวมเป็นรายงาน หรือสรุปผลอีกทีหนึ่ง วิธีการประมวลผลแบบนี้ทำง่าย ประหยัด และตรงไปตรงมา แต่อาจจะช้าไปบ้าง เพราะต้องรอให้ข้อมูลเรียบร้อยก่อน ตรงกันข้ามกับการประมวลผลแบบเชื่อมตรง (on line proessing) ซึ่งหมายถึงการที่เครื่องจะประมวลผลทันทีที่ได้รับข้อมูลดู on line processing ประกอบ | bbs | (บีบีเอส) ย่อมาจาก bulletin board system หรือที่แปลว่า ระบบแผงข่าว เป็นโปรแกรมหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บรายการ หัวข้อ หรือข้อมูลที่เป็นที่สนใจ ผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลเหล่านี้ อาจจะโทรศัพท์ผ่านเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อขอคัดลอกแฟ้มข้อมูล หรือสอบถามข้อความ ก็ได้ เช่น บีบีเอสของมหาวิทยาลัยก็อาจมีประกาศต่าง ๆ เช่น ประกาศรับสมัครนิสิตเข้าเรียนในระดับต่าง ๆ ปฏิทินการศึกษา รายการกีฬา ฯ ผู้ใช้บริการจะต้องมีคอมพิวเตอร์และโมเด็มพร้อมกับโปรแกรมที่จำเป็น ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับข้อมูลสำคัญในทางธุรกิจ จะมีการเรียกเก็บค่าบริการด้วย (มีใช้เฉพาะในระบบเครือข่าย) | bernouilli box | กล่องเบอร์นิวลีหมายถึง ระบบการเก็บข้อมูลจำนวนมาก ๆ ไว้ในแถบบันทึกคาร์ทริดจ์ (cartridge) แถบบันทึกชนิดนี้ทำไว้ให้ถอดเก็บได้สะดวก นักวิทยาศาสตร์ชาวสวิสที่ ชื่อเบอร์นิวลี (Bernouilli) เป็นผู้คิดทำและ เป็นผู้คิดทฤษฎีเกี่ยวกับพลังการหมุนของแถบบันทึกชนิดนี้ | big brother | n. พี่ชาย, พี่ใหญ่, พี่เลี้ยง, ระบบเผด็จการ | binary | (ไบ'นะรี) adj. เกี่ยวกับหรือมีคู่, เกี่ยวกับ 2, ซ้ำสอง n. 2 คู่, เลขคู่, ระบบฐานสอง หมายถึง ระบบเลขฐานสอง ที่มีสัญลักษณ์เพียงสองตัวคือ 0 กับ 1 บางครั้งอาจหมายถึงการที่มีโอกาสจะเลือกได้เพียง 2 ทาง เช่น เปิดกับปิด, ใช่กับไม่ใช่ | binary number system | ระบบเลขฐานสอง <คำแปล>ระบบเลขฐานสอง หมายถึง ตัวเลขบอกจำนวนที่มีฐานเป็น"สอง" (ไม่ใช่ "สิบ" อย่างที่นิยมใช้ในปัจจุบัน) คือมีเลขเพียงสองตัว คือ 0 และ 1 คอมพิวเตอร์ได้นำระบบเลขฐานสองนี้มาใช้เป็นรหัส เพื่อสะดวกในการแสดงสภาวะ 2 ประการคือ (สวิตซ์) เปิด และ ปิด | binary search | การค้นหาแบบทวิภาคหมายถึง วิธีการค้นหาโดยใช้ระบบแบ่งครึ่งข้อมูลทั้งหมดออกเป็นสองส่วน การค้นหาตัวที่ต้องการจะต้องเลือกหาจากข้อมูลทีละส่วน โดยใช้วิธีเดิมคือแบ่งเป็นสองส่วนย่อย หากพบในส่วนที่หนึ่ง ก็ไม่ต้องเสียเวลาหาในอีกส่วนหนึ่งอีกต่อไป | bit | (บิท) 1. n. ดอกสว่าน, สิ่งค้ำ, ของเล็ก ๆ น้อย ๆ , ครู่เดียว, การกระทำ, บทบาทเล็กน้อย, เหรียญเล็ก ๆ , หน่วย, กริยาช่อง 2 และ 3 ของ bite, บิต, 2. ในระบบเลขฐาน 2 หมายถึงตัวเลข 0 และ 1, หน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด โดยที่หนึ่งบิตจะต้องเพียงพอต่อการบอกความแตกต่างระหว่างข้อมูลประเภท "ใช้" ในปัจจุบันมักใช้บิตเป็นหน่วยวัดตัวประมวลผล (microprocessor) ของไมโครคอมพิวเตอร์ ว่าเป็นขนาด 8 บิต 16 บิต หรือ 32 บิต ถ้าจัดบิตเป็นชุดที่เรียกว่าไบต์ (byte) ซึ่งปกติจะมี 8 บิต จะใช้เป็นรหัสเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร ฯ ดู byte ประกอบ | bitmapped graphic | (กราฟิกบิตแมป) หมายถึง ภาพที่มีลักษณะของบิตแมป กล่าวคือประกอบด้วยจุดเล็ก ๆ ของแสงที่เรียกว่าจุดภาพ (pixel) จุดนี้จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ การขยายขนาดของภาพจะทำให้จุดนี้โตขึ้น และเห็นเป็นรอยหยัก ๆ ถ้าเป็นเส้นโค้ง ก็จะยิ่งเห็นได้ชัด โปรแกรมวาดภาพบางโปรแกรม เช่น MacPaint หรือ Paint จะสร้างและและเก็บภาพ ในลักษณะนี้ ในระบบวินโดว์ แฟ้มข้อมูลที่เก็บภาพประเภทนี้ จะใช้นามสกุล (file type) ว่า .BMPมีความหมายเหมือน bitmapped image | bitmapped image | ภาพบิตแมป <คำแปล>หมายถึง ภาพที่มีลักษณะของบิตแมป กล่าวคือประกอบด้วยจุดเล็ก ๆ ของแสงที่เรียกว่าจุดภาพ (pixel) จุดนี้จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมเล็ก การขยายขนาดของภาพจะทำให้จุดนี้โตขึ้น และเห็นเป็นรอยหยัก ๆ ถ้าเป็นเส้นโค้ง ก็จะยิ่งเห็นได้ชัด โปรแกรมวาดภาพบางโปรแกรม เช่น MacPaint หรือ Paint จะสร้างและและเก็บภาพ ในลักษณะนี้ ในระบบวินโดว์ แฟ้มข้อมูลที่เก็บภาพประเภทนี้ จะใช้นามสกุล (file type) ว่า .BMPมีความหมายเหมือน bitmapped graphic |
| AIR air brake | (n) ระบบห้ามล้อโดยการอัดลม | antislavery | (n) การต่อต้านระบบทาส | bureaucracy | (n) การปกครองระบบเจ้าขุนมูลนาย | capitalism | (n) ลัทธินายทุน, ระบบทุนนิยม | dictatorship | (n) อำนาจเผด็จการ, การปกครองระบบเผด็จการ | feudal | (adj) เกี่ยวกับระบบศักดินา | feudalism | (n) การปกครองระบบศักดินา | HOT hot line | (n) ระบบโทรศัพท์สายตรง, การสื่อสารโดยตรง | jurisprudence | (n) ธรรมศาสตร์, นิติศาสตร์, ระบบกฎหมาย | mechanics | (n) กลศาสตร์, ระบบเครื่องยนต์กลไก | metric | (adj) เกี่ยวกับระบบเมตริก, เกี่ยวกับจังหวะในบทกวี | metrical | (adj) เกี่ยวกับระบบเมตริก, เกี่ยวกับจังหวะในบทกวี | network | (n) ร่างแห, ตาข่าย, ระบบเครือข่าย, การติดต่อประสานงาน | organize | (vt) จัดระเบียบ, รวบรวม, ทำให้เป็นระบบ, จัดตั้ง | reorganize | (vt) ปรับปรุง, จัดใหม่, ปฏิรูป, จัดระบบใหม่ | schooling | (n) ระบบการศึกษา, การเรียนการสอน, แผนการศึกษา | sewerage | (n) การระบายน้ำทิ้ง, การปล่อยของเสีย, ระบบท่อน้ำทิ้ง | SOLAR solar system | (n) ระบบสุริยจักรวาล | system | (n) แนวการ, ระบบ, แผนการ, วิธี, ระเบียบ, หลักการ | systematic | (adj) ตามระบบ, มีแนวการ, มีระเบียบ, มีกฎเกณฑ์ | systematically | (adv) ตามระบบ, ตามแนวการ, อย่างเป็นระบบ, อย่างมีระเบียบ | systematize | (vt) จัดให้เป็นระบบ, ทำให้เป็นระเบียบ | terminology | (n) ศัพท์เฉพาะ, ระบบคำศัพท์ |
| hierachy | hierachy [ N ] ; การจัดระบบตามลำดับขั้น Related. การจัดระบบตามลำดับชั้น. | ACARS | [เอคาร์] (jargon) ระบบสื่อสารและรายงานตำแหน่งอากาศยาน (Aircraft Communications Addressing and Reporting System) | Acute Compartment syndromes | เกิดขึ้นเมื่อความดันเนื้อเยื่อภายในช่องกล้ามเนื้อปิดเกินความดันระบบและผลในกล้ามเนื้อและการขาดเลือดของเส้นประสาท มันมักจะเกิดขึ้นในภายหลังกับเหตุการณ์ที่บาดเจ็บ, ส่วนใหญ่มักจะแตกหัก | amblyopia | (n) ตาขี้เกียจ ตาที่มีความชัดเจนในการมองเห็นน้อยกว่าปกติ เกิดจากการพัฒนาที่ไม่สมบูรณ์ของระบบการมองเห็น สามารถรักษาได้ในเด็กที่อายุไม่เกิน 6 ปี | Automated Meteorological Data Acquisition System | (jargon) ระบบรับข้อมูลอุตุนิยมวิทยาโดยอัตโนมัติ | Backdoor account | (n) บัญชีลับหรือประตูหลัง ในภาษาทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง รูรั่วของระบบหรือซอฟแวร์ นักพัฒนาระบบจงใจสร้างทิ้งไว้ เพื่อให้ซอฟแวร์คอยส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ที่มันติดตั้งอยู่ กลับไปหาโปรแกรมเมอร์ผู้พัฒนา หรือเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงข้อมูลภายในได้ | Barrister | (n) เนติบริกร เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายประจำศาลในระบบคอมมอนลอว์ มีหน้าที่ว่าความในศาลและให้ความเห็นด้านกฎหมายต่อศาล, Syn. Advocate | Benesh Notation | [เบเนช โนเทชั่น] (n) ระบบการจดบันทึกการเคลื่อนไหวของร่างกาย ที่ใช้สำหรับการเต้นบัลเลต์ เป็นระบบที่นิยมและแพร่หลายสำหรับผู้ที่เรียนศิลปะการเต้นบัลเลต์ มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับระบบของลาบาน (Labanotation) แต่จะนิยมใช้ระบบเบเนชในการจดบันทึกท่าเต้นรำของบัลเลต์มากกว่า, See also: Labanotation, Syn. Dance Notation | Carbonic Anhydrase Inhibitors (CAIs) | เป็นชั้นของยาที่ระงับกิจกรรมของคาร์บอ ในทางการใช้ทางคลินิกได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นตัวแทนของโรคต้อหิน, ยาขับปัสสาวะ, ยากันชัก, ในการจัดการของเข่มาภูเขา, กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กเป็นแผล, ความผิดปกติของระบบประสาท, หรือโรคกระดูกพรุน | cathedral | (n) วัดของคริสต์ศาสนาที่มีสังฆราช (bishop) เป็นประมุขและที่เป็นทีตั้งของ “อาสนะสังฆราช” (bishop's cathedra) เป็นสถานที่ทางศาสนาที่ใช้ในการสักการะบูชา (โดยเฉพาะสำหรับนิกายที่มีระบบฐานันดรการปกครองเช่นนิกาย นิกายโรมันคาทอลิก นิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ นิกายอังกลิคัน และ นิกายลูเทอรัน มหาวิหารจะเป็นวัดที่เป็นที่นั่งของสังฆราช (วัดประจำตำแหน่ง) ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของสังฆมณฑล (Diocese หรือ See) ที่อยู่ใต้การปกครองของสังฆราชที่กำหนดไว้ | commissioning | (n) การทดสอบการใช้งานของระบบ | compute | (vt) compute vt. คึ่มพิ้วท์ (พบบ่อย) 1. คำนวณ nc. ค็อมพิ้วเตอร์ (บังคับ) 1. (comp.) คอมพิวเตอร์อุปกรณ์ประมวลผลที่มีความจำ ตามชุดคำสั่ง และสามารถบันทึกผลการประมวลได้ 2. (comp.) พนักงานคำนวณ ในแง่ที่ทำกันเป็นร้อยคน ในสมัยโบราณ ในงานดาราศาสตร์ (ความหมายโบราณ) nc. 1. (comp.) ศิลปะโดยคอมพิวเตอร์ คือ ศิลปที่สร้างหรือทำขึ้นโดยคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้คอมพิวเตอร์วาดภาพ หรือระบายสี เป็นต้น nc. 1. (comp.) คอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง คือ ได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดเมนเฟรม หรือมินิคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางเครือข่ายทำหน้าที่บริการด้านประมวลผลข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการในเครือข่าย nc. 1. (comp.) สกุลของคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในกลุ่มที่สร้างขึ้นจาก microprocessor ชนิดเดียวกัน หรือ คล้ายกัน ตัวอย่างสกุลของคอมพิวเตอร์ เช่น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของบริษัทไอบีเอ็ม และแบบ PS /2 nc. 1. (comp.) เกมคอมพิวเตอร์ คือ การเล่นเกมโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ การเล่นเกมในคอมพิวเตอร์ มักควบคุมการเล่นโดยคันโยก (joystick)หรือ แป้นพิมพ์ (keyboard) ก็ได้ nc. 1. (comp.) ชุดคำสั่งที่เขียนด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่งเพื่อจะนำไปใช้สั่งให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติงานตามคำสั่งนั้น ๆ nc. 1. (comp.) ระบบคอมพิวเตอร์ คือ ระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วยชุดฮาร์ดแวร์ และเครื่องอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ร่วมกันของระบบ เช่น ระบบไมโครคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยตัวเครื่อง ดิสก์ไดร้ว์ จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ และเมาส์ nc. 1. (comp.) ยุคพัฒนาการคอมพิวเตอร์ ในช่วงระหว่างกลางปี พ.ศ. 2503 - 2513 เป็นยุคที่คอมพิวเตอร์เปลี่ยนมาใช้ IC หรือวงจรรวม ชื่อเต็มว่า integrated circuit หรือ IC n. (ศัพท์คอม) 1. (comp.) ความสามารถที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ให้เป็นประโยชน์ nc. 1. (comp.) การใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการสอน มีความหมาย เช่นเดียวกับ computer-assisted instruction สามารถดูคำอธิบายใน CAI n. (ไม่ต้องท่อง) 1. (comp.) ศัพท์ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ v. (ไม่ต้องท่อง) 1. (comp.) ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำงาน | Conductor Rail System | (jargon) ระบบรางนำไฟฟ้า ใช้จ่ายไฟฟ้าให้แก่ขบวนรถไฟ | cronyism | (n) ระบบพวกพ้อง การเล่นพรรคเล่นพวก หรือ การเอื้อประโยชน์ให้แก่คนใกล้ชิดของตน | cyber security | ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์, ภาวะที่เครือข่าย ระบบคอมพิวเตอร์ โปรแกรม และข้อมูล พ้นจากภัยคุกคาม มีลักษณะสำคัญ ๓ ประการ คือ คงความลับ คงความถูกต้องครบถ้วน และคงความพร้อมใช้งาน ภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยบุคลากร กระบวนการทำงาน และเครื่องมือ ที่เหมาะสม [ ศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับราชบัณฑิตยสภา ] | deschooling | นอกระบบโรงเรียน | discourse | (n) วาทกรรม - ชุดความคิดที่มีลักษณะเป็นระบบและสืบทอดต่อเนื่อง | ecohydrology | [UK [ ˌɛkəʊhaɪˈdrɒlədʒi ], US [ ˌɛkoʊhaɪˈdrɑːlədʒi ]] (n, uniq) น. นิเวศนุกวิทยา - วิชาที่ว่าด้วยระบบน้ำที่มีอยู่ในโลกและระบบนิเวศ (eco + hydrology: นิเวศ + อุทกวิทยา) | ecologically | (adj) เกี่ยวกับระบบนิเวศ, See also: ecology | eusociality | (n) ระบบสังคมแบบพึ่งพาอาศัย | fail-over [ ADJ ] | เกี่ยวกับระบบสำรองซึ่งทำหน้าที่แทนในกรณีที่ระบบหลักหยุดทำงาน, Syn. fail-safe | fail-over [ ADJ ] | เกี่ยวกับระบบสำรองซึ่งทำหน้าที่แทนในกรณีที่ระบบหลักหยุดทำงาน, Syn. fail-safe | finantism | [ไฟเนินทิเซิม] (n) ระบบการเงิน, ระบบการกลัง, ระบบเงินทุน | finantist | [ไฟเนินทิสทฺ] (n) บุคคลในระบบการเงิน, บุคคลในระบบการคลัง, บุคคลในระบบกอนทุน | garena | (n) โปรแกรมจำลองระบบ Lan ใช้สำหรับเล่นเกมส์ Online | gastrointestinal tract | digestive system ระบบทางเดินอาหาร | global positioning system | (n) GPS (global positioning system) จีพีเอส (ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก) เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกข้อมูลตำแหน่งโลก คือ จีพีเอส ที่ทำให้เราทราบค่าตำแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์ของโลก โดยใช้อุปกรณ์รับสัญญาณคือ อุปกรณ์จีพีเอส ดาวเทียมกำหนดตำแหน่งบนโลก มีอยู่สามค่ายคือ 1. NAVSTAR เป็นของประเทศอเมริกา 2. GLONASS เป็นของประเทศรัสเซีย 3. GALILEO เป็นของยุโรป แต่ที่เราใช้สัญญาณในปัจจุบันด้วย จีพีเอสที่สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดนั้นใช้ของ NAVSTAR แต่เรานิยมเรียกของค่ายนี้ว่า ดาวเทียมจีพีเอส | ground rod | (n) หลักดิน (เกี่ยวข้องกับระบบป้องกันไฟฟ้าดูด ฟ้าผ่า) | hackathon | กิจกรรมสร้างสรรค์และพัฒนา มากจากกลุ่มนักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาร่วมชุมนุมกันในการเจาะทดสอบระบบคอมพิวเตอร์ว่ามีจุดอ่อนหรือควรแก้ไขอย่างไรบ้าง | Haloperidol | แก้ซึมเศร้าของระบบประสาทส่วนกลาง ที่ใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นยารักษาโรคจิตเวช | Hypersensitivity | แพ้ (หรือที่เรียกว่าปฏิกิริยาแพ้หรือแพ้) หมายถึงปฏิกิริยาที่ไม่พึงประสงค์ที่ผลิตโดยระบบภูมิคุ้มกันปกติรวมถึงโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันอัตโนมัติ ปฏิกิริยาแพ้ต้องมีสถานะก่อนไวต่อความรู้สึก (ภูมิคุ้มกัน) ของโฮสต์ (สัตว์หรือพืชที่เป็นที่อาศัยของปรสิต) | Hypothalamic | [ไฮโปทาลามัส] มาจากภาษากรีก ὑποθαλαμος แปลว่า ใต้ทาลามัส เป็นโครงสร้างของสมองที่อยู่ใต้ทาลามัส (thalamus) แต่เหนือก้านสมอง (brain stem) ทำหน้าที่เชื่อมโยงการทำงานของระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ โครงสร้างนี้เป็นโครงสร้างหลักที่อยู่ด้านล่างของไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) พบในสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทุกชนิด ในมนุษย์มีขนาดประมาณเมล็ดอัลมอนด์ | identification, friend or foe | (n) ระบบพิสูจน์ฝ่ายว่าเป็นมิตรหรือศัตรู | immunocompromised | มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องหรืออ่อนแอ (เช่นเดียวกับยาหรือการเจ็บป่วย) | Inclusive Education | (n) การศึกษาแบบเรียนร่วม การจัดการศึกษาให้กับกลุ่มบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ เช่น คนพิการ คนด้อยโอกาส คนไร้สัญชาติ คนอพยพ โดยคำนึงถึงการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ในโรงเรียน หรือระบบการศึกษาแบบปกติ มีจุดมุงหมายเพื่อสร้างความเข้าใจ และการยอมรับความแตกต่าง ความสามารถระหว่างบุคคล เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบศักยภาพของตนเอง และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติสุข | interlibrary loan | ระบบการบริการให้ยืม, หนังสือระหว่างห้องสมุดสำหรับผู้ใช้ห้องสมุด | Labanotation | [ลาบานโนเทชั่น] (n) ระบบการจดบันทึกการเคลื่อนไหวของร่างด้วยสัญลักษณ์ รู้จักในนาม "โน้ตนาฏศิลป์ระบบลาบาน" โดยเป็นระบบที่รู้จักและแพร่หลายทั่วโลกว่ามีคุณสมบัติในการบันทึกท่าเต้นรำได้ละเอียดลออที่สุด เป็นระบบที่คิดค้นโดย Rudolf Laban ชาวฮังกาเรียน | LANNA | (n) ล้านนา คือดินแดนที่มีจำนวนที่นานับล้าน เป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ได้แก่จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน แพร่ พะเยา น่าน ลำพูน และ ลำปาง โดยมีเมืองเชียงใหม่ เป็นราชธานี มีภาษาที่เรียกว่า คำเมือง หรือภาษาเหนือ ตัวหนังสือ ตัวเมือง วัฒนธรรม และ ประเพณี เป็นของตนเอง ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง เป็นระบอบมณฑลเทศาภิบาล ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมี พระเจ้าอินทวิชยานนท์, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 เป็นพระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ในฐานะราชอาณาจักรพระองค์สุดท้าย และ เจ้าแก้วนวรัฐ, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 9 เป็นเจ้าผู้ปกครองนครองค์สุดท้าย ปัจจุบันเจ้านายฝ่ายเหนือและเชื้อสาย "ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)" อยู่ในราชตระกูล ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ ลำปาง และ ณ น่าน | LC | ระบบการจัดหมวดหมู่แบบรัฐสภาอเมริกัน | Loga | (n, uniq) ชื่อบริการบัตรสมาชิกออนไลน์สำหรับร้านค้า โดยร้านค้าสามารถเปิดบัตรในระบบ Loga และเปิดให้ลูกค้าของร้านสามารถสมัครเป็นสมาชิก, สะสมแต้ม, รับคูปอง, เลือกซื้อสินค้า, เติมเงิน, และอื่นๆ อีกมากมาย บริการ Loga ดำเนินการโดยบริษัท เมตามีเดีย เทคโนโลยี จำกัด ภายใต้เว็บ https://loga.app/ และแอปในชื่อ Loga | meta-analysis | (n) การทบทวนวรรณกรรมระบบเชิงปริมาณ | meta-analysis | (phrase) การทบทวนวรรณกรรมระบบเชิงปริมาณ, การทบทวนหลักฐานจากข้อมูลทางสถิติที่รวบรวมขึ้น | Metaverse | (n, name) จักรวาลนฤมิต หรือทับศัพท์ว่า "เมตาเวิร์ส" คือ โลกเสมือน (virtual reality) ที่มนุษย์ในอยู่ในโลกเสมือนนั้นสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์คนอื่นๆ และ สิ่งที่ระบบคอมพิวเตอร์สร้างขึ้นมาให้ปรากฏในโลกเสมือนได้ โดยการแสดงผลอาจเป็นได้ทั้ง VR (virtual reality), AR (Augmented reality) และมีการนำเทคโนโลยีบล็อกเชน (blockchain) มาประยุกต์ใช้ | minimum system requirement | (n) คุณสมบัติขั้นต่ำของระบบ | mp3 | (name, uniq) เป็นเทคนิคระบบการบีบอัดไฟล์เพลงดิจิตอลที่นิยมมากที่สุด | MRI | (n, abbrev) (Magnetic Resonance Imaging) ระบบสร้างภาพจากการสั่นพ้องของคลื่นสนามแม่เหล็ก ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นการสร้างภาพตัดขวางทางการแพทย์ | neurodegenerative | เกี่ยวกับโรคทางระบบประสาท | neurotoxin | (n) พิษต่อระบบประสาท | nhs | (n) ระบบดูแลสุขภาพแห่งชาติ (National Healthcare Service) | oceanography | [โอ-เชีย-นอ-กราฟ-ฟี] (n) “สมุทรศาสตร์” เป็นสาขาวิชาหนึ่งของวิทยาศาสตร์โลก (Earth science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับมหาสมุทรในหัวข้อต่างๆ ที่รวมทั้งสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทร, ระบบการหมุนเวียนของสิ่งแวดล้อม, กระแสคลื่นในมหาสมุทร, พฤติกรรมของคลื่น, แผ่นเปลือกโลกที่ก้นมหาสมุทร, ธรณีวิทยาของก้นมหาสมุทร, และความผันผวนของสารเคมีและลักษณะทางฟิสิคส์ของทั้งมหาสมุทรและบริเวณรอบข้าง (ข้อมูลจาก wikipedia.org) |
| リナックス | [りなっくす, rinakkusu] (n) ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ | 管理者 | [かんりしゃ, kanrisha] (n) ผู้ดูแล(ระบบ) |
| 補数 | [ほすう, hosuu] ภาษาไทยมักใช้ทับศัพท์ว่า Complement เป็นศัพท์เฉพาะทางในสายวิชาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ One Complement 1の補数, Two Complement 2の補数 One Complement คือ จำนวนที่บวกเพิ่มเข้าไปกับค่าค่าหนึ่งแล้วทำให้ได้เป็นค่าสูงสุดของเลขฐานนั้นๆ ในจำนวน digit ที่เท่ากัน เช่น คำถาม: ให้หา One Complement ของ 345 ในระบบเลขฐาน 10 คำตอบ: 345 มี 3 หลัก (digit) ค่าสูงสุดของเลขฐาน 10 ที่มี 3 หลักคือ 999 999-345=654 654 คือ One Complement ของ 345 ในระบบเลขฐาน 10 Two Complement คือ จำนวนน้อยที่สุดที่บวกเพิ่มเข้าไปกับค่าค่าหนึ่งแล้วทำให้จำนวนหลัก (digit) ของผลลัพธ์เพิ่มขึ้น 1 หลัก (digit) โดยปกติ วิธีการหา Two Complement ก็คือ เอา One Complement + 1 เช่น คำถามข้างบน ก็จะได้ Two Complement ของ 345 เป็น 655 | 生体系 | [せいたいけい, seitaikei] (n) ระบบนิเวศ | 品質保証体制 | [ひんしつほしょうたいせい, hinshitsuhoshoutaisei] (n) ระบบการรับรองคุณภาพ | 循環器 | [じゅんかんき, junkanki] (n) ระบบหมุนเวียนเลือด | 音韻論 | [おんいんろん, on'inron] (n) วิชาที่ว่าด้วยระบบเสียงของภาษา, See also: R. phonology | 消化機能 | [しょうかきのう, shoukakinou] (n, adv) ระบบการย่อยอาหาร | 生態系 | [せいたいけい, seitaikei] ระบบนิเวศน์, See also: R. ecosystem | 自律神経系 | [じりつしんけいけい, jiritsushinkeikei] ระบบประสาทอัตโนมัติ, See also: R. autonomic nervous system | 神経系 | [しんけいけい, shinkeikei] (n) ระบบประสาท, See also: R. nervous system | 中枢神経系 | [ちゅうすうしんけいけい, chuusuushinkeikei] (n) ระบบประสาทส่วนกลาง, See also: R. central nervous system |
| 制度 | [せいど, seido] TH: ระบบ EN: system | システム | [しすてむ, shisutemu] TH: ระบบ EN: system |
| System | (n) |das, pl. Systeme| ระบบ | systematisch | (adj) อย่างมีระบบแบบแผน | zum Erliegen bringen | ทำให้เสียระบบ, ทำให้ยุ่งเหยิง เช่น Der Monsoon bringt die Baustellen zum Erliegen. | erfinden | (vt) |erfand, hat erfunden| ประดิษฐ์, คิดค้นสิ่งใหม่ เช่น Linus hat Linux-betriebsystem erfunden. คุณลินัสได้คิดค้นระบบปฏิบัติการลินุกซ์ | Realzahl | (n) |die, pl. Realzahlen| จำนวนจริง, ระบบจำนวนจริง, See also: A. die Imaginärzahl | innerhalb | (präp) |+ etw. (D)| ภายใน(สิ่งใดสิ่งหนึ่ง) เช่น innerhalb des Systems ภายในระบบนี้, innerhalb des Landes ภายในประเทศ | Erkrankung | (n) |die, pl. Erkrankungen| โรค, การเจ็บป่วย, โรคภัยไข้เจ็บ เช่น Viele Erkrankungen des Gehirns und des Herzens beruhen auf einem gestörten Signalaustausch zwischen den Zellen. โรคทางสมองและหัวใจมากมายมีสาเหตุมาจากระบบการแลกเปลี่ยนสัญญาณระหว่างเซลล์ที่ได้ถูกรบกวน | Sonnensystem | (n) |das| ระบบสุริยะ Image: | Computertomographie | (n) |die, pl. Computertomographien| ระบบสร้างภาพตัดขวางจากรังสีเอกซ์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์, Syn. Computertomografie | Magnetresonanztomografie | (n) |die, pl. Magnetresonanztomografien| ระบบสร้างภาพตัดขวางจากการสั่นพ้องของคลื่นสนามแม่เหล็ก | Absolutismus | (n) |der| การปกครองระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์, ระบบเผด็จการทางการเมือง |
| |
เพิ่มคำศัพท์
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |