ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: ร่วมกัน, -ร่วมกัน- |
คู่จิ้น | มาจากคำว่า Imagine ที่แปลว่าจินตนาการ หมายถึง คนสองคน (โดยมากมักเป็นดารา หรือ บุคคลสาธารณะ มีชื่อเสียง) ที่ แฟนคลับ หรือ ผู้ชม ผู้ฟัง ลุ้นอยากให้เป็นคู่รักกันจริงๆ สืบเนื่องจากอาจจะเคยมีผลงานร่วมกัน หรือ มีภาพลักษณ์ที่สนิทสนมกัน |
| ร่วมกัน | (adv) accompany with, Syn. ด้วยกัน, Ant. แยกกัน, Example: ในฐานะที่เราใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน เราก็ควรช่วยกันบำรุงรักษา |
|
| คณะกรรมาธิการร่วมกัน | น. คณะกรรมาธิการของรัฐสภาที่สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาเลือกและแต่งตั้งจากผู้เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกแห่งสภานั้น ๆ เพื่อพิจารณาหรือดำเนินการเรื่องใดที่รัฐสภามอบหมาย. | ลูกหนี้ร่วมกัน, ลูกหนี้ร่วม | น. บุคคลหลายคนซึ่งต้องทำการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนจำต้องชำระหนี้โดยสิ้นเชิง. | กรมการอำเภอ | น. คณะพนักงานปกครองซึ่งประกอบด้วยนายอำเภอ ปลัดอำเภอ และสมุห์บัญชีอำเภอ มีหน้าที่ร่วมกันในการดำเนินการให้การปกครองอำเภอเรียบร้อย ในปัจจุบันอำนาจหน้าที่ของกรมการอำเภอถูกโอนไปเป็นของนายอำเภอ. | กรรมสิทธิ์รวม | น. กรรมสิทธิ์ของบุคคลหลายคนที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินร่วมกัน. | กลไก | (กน-) น. ตัวจักรต่าง ๆ, โดยปริยายหมายความว่าบุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในระดับต่าง ๆ, ระบบหรือองค์การที่บุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ในระดับต่าง ๆ ปฏิบัติงานร่วมกันดุจเครื่องจักร, ระบบที่จะให้งานสำเร็จตามประสงค์, เช่น กลไกการปกครอง | กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | น. กองทุนที่ลูกจ้างและนายจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นโดยมีทรัพย์สินส่วนใหญ่ประกอบด้วยเงินที่ลูกจ้างจ่ายสะสม และเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบ เพื่อเป็นหลักประกันแก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างตายหรือออกจากงาน. | กันและกัน | ส. คำใช้แทนชื่อในลักษณะที่มีการกระทำร่วมกันหรือต่อกันโดยมีบุรพบทประกอบหน้า เช่น รักซึ่งกันและกัน เพื่อประโยชน์ของกันและกัน. | กัน ๒ | ว. คำประกอบท้ายกริยาของผู้กระทำตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป แสดงการกระทำร่วมกัน อย่างเดียวกัน หรือต่อกัน เช่น คิดกัน หารือกัน. | การฌาปนกิจสงเคราะห์ | น. กิจการที่บุคคลหลายคนตกลงเข้าร่วมกันเพื่อทำการสงเคราะห์ซึ่งกันและกันในการจัดการศพ หรือจัดการศพและสงเคราะห์ครอบครัวของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ตกลงเข้าร่วมกันนั้นซึ่งถึงแก่ความตาย และมิได้ประสงค์จะหากำไรหรือรายได้เพื่อแบ่งปันกัน. | กินเลี้ยง | ก. กินอาหารร่วมกันหลายคนเพื่อสังสรรค์กันเป็นต้น. | เก็บดอกไม้ร่วมต้น | ก. เคยทำบุญกุศลร่วมกันมาแต่ชาติก่อน จึงมาอยู่ร่วมกันในชาตินี้, เด็ดดอกไม้ร่วมต้น ก็ว่า. | แก้ว ๒ | น. ชื่อนกปากขอหลายชนิด ในวงศ์ Psittacidae ปากสีแดงหรือเหลือง จะงอยปากบนงอโค้งเป็นขอปลายแหลมขยับไปมาและขึ้นลงได้ จะงอยปากล่างขยับไปข้างหน้าและถอยมาข้างหลังได้ หัวค่อนข้างโต ลำตัวป้อม สีส่วนใหญ่ของลำตัวเป็นสีเขียวอมเหลือง อยู่ร่วมกันเป็นฝูง กินเมล็ดพืชและผลไม้ ในประเทศไทยมี ๗ ชนิด แต่ที่เรียกว่านกแก้วมี ๒ ชนิด ได้แก่ แก้วโม่ง [ Psittacula eupatria (Linn.) ] ซึ่งเป็นนกแก้วขนาดใหญ่ที่สุดของไทย และแก้วหัวแพร ( P. roseata Biswas) . | ของกลาง | น. ของที่ใช้ร่วมกัน | ของสงฆ์ | น. ของที่เป็นของวัด, ของที่สงฆ์ใช้ร่วมกัน, ของวัด ก็ว่า. | เข้าชื่อ | ก. ลงชื่อร่วมกันหลาย ๆ คน เพื่อร้องเรียนหรือแสดงความจำนง. | คณ-, คณะ | กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว | คณะกรรมการอำเภอ | น. คณะบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่และรับผิดชอบร่วมกันในการปกครองอำเภอ ปัจจุบันได้ถูกยุบเลิกไปแล้ว โดยโอนอำนาจและหน้าที่ไปเป็นของนายอำเภอ. | คณะกรรมาธิการ | น. คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา แต่งตั้งเพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภา แล้วรายงานต่อสภา. | คณะกรรมาธิการวิสามัญ | น. คณะกรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา แต่งตั้งจากผู้เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกแห่งสภานั้น ๆ เพื่อปฏิบัติหน้าที่เฉพาะเรื่องที่สภามอบหมาย และเมื่อปฏิบัติหน้าที่เสร็จแล้ว คณะกรรมาธิการนั้นย่อมพ้นจากตำแหน่ง. | คาราวาน | น. หมู่คนหรือยานพาหนะเป็นต้นซึ่งเดินทางไกลร่วมกันเป็นขบวนยาว. | คำเผดียงสงฆ์ | น. ญัตติ, คำสวดประกาศเป็นภาษาบาลี เสนอให้ที่ประชุมสงฆ์ทราบเพื่อทำกิจของสงฆ์ร่วมกัน. | คู่ครอง | น. หญิงและชายที่อยู่ร่วมกันฉันผัวเมีย | คู่เคียงเรียงหมอน | น. ผัวเมียที่อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน, ชายหญิงที่อยู่กินร่วมกันฉันผัวเมีย, คู่เรียงเคียงหมอน ก็ว่า. | คู่ทุกข์คู่ยาก | น. ผู้ที่ใช้ชีวิตร่วมกันไม่ทอดทิ้งกันทั้งในยามสุขและยามทุกข์, ผู้ที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาเป็นเวลานานปี, (มักใช้แก่คู่ผัวตัวเมีย). | คู่บุญ | น. ผู้ที่เคยสร้างบุญกุศลร่วมกันมาในชาติก่อน. | คู่เรียงเคียงหมอน | น. ผัวเมียที่อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน, ชายหญิงที่อยู่กินร่วมกันฉันผัวเมีย, คู่เคียงเรียงหมอน ก็ว่า. | คู่เวรคู่กรรม | น. สามีภรรยาที่ต้องทนอยู่ร่วมกันด้วยความทุกข์ความเดือดร้อนโดยเชื่อกันว่าเป็นเพราะเวรกรรมที่เขาได้เคยกระทำร่วมกันมาแต่ชาติก่อน. | คู่สร้าง, คู่สร้างคู่สม | น. ชายหญิงที่ถือกันว่าเคยอยู่ร่วมกันมาแต่ปางก่อน, ชายหญิงที่สมเป็นคู่ครองกัน, เนื้อคู่ ก็ว่า. | เครือจักรภพ, เครือรัฐ | (-จักกฺระพบ, -รัด) น. กลุ่มประเทศหรือรัฐที่มีการปกครองตนเอง แต่ยอมรับนับถือประมุขร่วมกัน เช่น ประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ รัฐต่าง ๆ ในเครือรัฐออสเตรเลีย. | โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวทางแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับพระราชดำริไปพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการร่วมกันดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน หรือบรรเทาปัญหาต่าง ๆ ตามสภาพสังคมและภูมิประเทศ เดิมเรียกว่า โครงการตามพระราชดำริ มีสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เรียกย่อว่า กปร. มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการประสานงานโครงการ. | จาตุมหาราช | น. ชื่อสวรรค์ชั้นแรกแห่งสวรรค์ ๖ ชั้น มีท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ ร่วมกันปกครอง, จาตุมหาราชิก หรือ จาตุมหาราชิกา ก็ว่า (ดู ฉกามาพจร ประกอบ) | จาตุมหาราชิก, จาตุมหาราชิกา | น. ชื่อสวรรค์ชั้นแรกแห่งสวรรค์ ๖ ชั้น มีท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ ร่วมกันปกครอง, จาตุมหาราช ก็ว่า. (ป., ส.). (ดู ฉกามาพจร ประกอบ). | จีนเต็ง | น. หัวหน้าคนงานที่เป็นชาวจีน (ใช้เฉพาะในสถานที่ทำการร่วมกันมาก ๆ เช่น บ่อนหรือโรงสุรายาฝิ่น). | เจ้าของรวม | น. บุคคลหลายคนซึ่งเป็นเจ้าของร่วมกันในทรัพย์สินอันใดอันหนึ่ง. | โจทก์ | พนักงานอัยการ หรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาลหรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน | ชมรม ๒ | น. ที่ประชุมของกลุ่มบุคคลที่มีจุดประสงค์เพื่อประโยชน์บางประการร่วมกัน เช่น ชมรมวรรณศิลป์ ชมรมพระเครื่อง. | ชาว | น. กลุ่มชนที่มีเชื้อชาติเดียวกัน เช่น ชาวไทย ชาวจีน หรืออยู่ในถิ่นฐานเดียวกัน เช่น ชาวเมือง ชาวชนบท หรือมีอาชีพอย่างเดียวกัน เช่น ชาวไร่ ชาวนา ชาวประมง หรือนับถือศาสนาร่วมกัน เช่น ชาวพุทธ ชาวคริสต์ หรืออยู่ในแวดวงเดียวกัน เช่น ชาวอักษร ชาวค่าย. | ชุมชน | น. หมู่ชน, กลุ่มคนที่อยู่รวมกันเป็นสังคมขนาดเล็ก อาศัยอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกันและมีผลประโยชน์ร่วมกัน, ที่ที่มีคนอาศัยอยู่มาก เช่น ขับรถเข้าเขตชุมชนต้องชะลอความเร็ว. | ชุมนุม | ที่ประชุมของกลุ่มบุคคลที่มีจุดประสงค์เพื่อประโยชน์บางประการร่วมกัน เช่น ชุมนุมวรรณศิลป์ ชุมนุมภาษาไทย. | ชุมนุมสหกรณ์ | น. สหกรณ์ตั้งแต่ ๕ สหกรณ์ขึ้นไปที่รวมกันจัดตั้งเป็นชุมนุมสหกรณ์เพื่อร่วมกันดำเนินกิจการให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ที่เข้าร่วมกันนั้น ชุมนุมสหกรณ์มี ๒ ระดับ คือ ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ. | ญัตติ | น. คำสวดประกาศเป็นภาษาบาลี เสนอให้ที่ประชุมสงฆ์ทราบเพื่อทำกิจของสงฆ์ร่วมกัน, คำเผดียงสงฆ์ ก็ว่า | ญาติธรรม | (ยาดติ-) น. ญาติในทางธรรม, ผู้มีความสัมพันธ์กันฉันญาติเพราะนับถือศาสนาหรือลัทธิของศาสนาร่วมกัน. | ด้วย | ว. คำแสดงกริยารวมหรือเพิ่ม เช่น สวยด้วยดีด้วย, แสดงกริยาร่วมกันหรือในทำนองเดียวกัน เช่น กินด้วย, แสดงความขอร้อง เช่น ช่วยด้วย บอกด้วย. | เด็ดดอกไม้ร่วมต้น | ก. เคยทำบุญกุศลร่วมกันมาแต่ชาติก่อน จึงมาอยู่ร่วมกันในชาตินี้, เก็บดอกไม้ร่วมต้น ก็ว่า. | แถลงการณ์ร่วม | น. คำแถลงการณ์ของผู้เข้าประชุมทุกฝ่ายที่ได้ลงนามร่วมกัน เพื่อแถลงให้ประชาชนทั่วไปทราบ. | ทรัพย์ส่วนกลาง | น. ส่วนของอาคารชุดที่มิใช่ห้องชุด รวมทั้งที่ดินที่ตั้งอาคารชุดและที่ดินหรือทรัพย์สินอื่นที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกันสำหรับเจ้าของร่วม. | ทรานซิสเตอร์ | (ทฺราน-) น. อุปกรณ์ขนาดเล็กมาก ประกอบด้วยผลึกของสารกึ่งตัวนำ มีขั้วไฟฟ้า ๓ ขั้วสำหรับต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้าภายนอก ใช้สำหรับควบคุมและขยายกระแสไฟฟ้า คือกระแสไฟฟ้าที่เคลื่อนที่ระหว่างขั้วไฟฟ้าคู่หนึ่งควบคุมกระแสไฟฟ้าที่ถูกขยายซึ่งเคลื่อนที่ระหว่างขั้วไฟฟ้าอีกคู่หนึ่ง โดยขั้วไฟฟ้า ๒ คู่นี้มีขั้วหนึ่งเป็นขั้วร่วมกัน, ลักษณนามว่า ตัว, (ปาก) เครื่องรับวิทยุกระเป๋าหิ้วขนาดเล็ก ที่ใช้วงจรทรานซิสเตอร์. | โทรมหญิง | ก. ร่วมกันตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปข่มขืนกระทำชำเราหญิง โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันหรือกระทำพร้อมกัน. | นัดหยุดงาน | น. ลูกจ้างร่วมกันไม่ทำงานชั่วคราวเนื่องจากข้อพิพาทแรงงาน. | นานาสังวาส | น. “การอยู่ร่วมต่างกัน”, การที่พระสงฆ์มีศีลไม่เสมอกัน ทำอุโบสถหรือสังฆกรรมร่วมกันไม่ได้. |
| | Participation Processes | กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม [เทคโนโลยีการศึกษา] | Radioecology | นิเวศวิทยารังสี, การศึกษาผลกระทบของสารกัมมันตรังสีที่มีในธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นต่อระบบนิเวศ สารกัมมันตรังสีอาจมีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบและสมบัติทางเคมีของตัวมันเอง และมีวัฏจักรการเคลื่อนย้ายในระบบนิเวศภายในกลุ่มหรือระหว่างกลุ่มของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต (หิน ดิน น้ำ และอากาศ) ในสภาวะแวดล้อมต่างๆ กัน เข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิต ส่งผลกระทบทางชีววิทยาและการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ [นิวเคลียร์] | system | ระบบ, ที่รวมของส่วนประกอบต่างๆ ที่ทำงานร่วมกัน มีจุดประสงค์ร่วมกัน และมีขอบเขตโดยแน่ชัด เช่น คอมพิวเตอร์เป็นระบบ เพราะประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ที่ทำงานร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาตามที่ผู้ใช้กำหนด ร่างกายมนุษย์เป็นระบบเพราะประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ที่ทำงานร่วมกันโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ร่างกายมีชีวิตอยู่ ระบบทั้งหลายต้องรับอินพุดรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเข้าไปในระบบ ต่อจากนั้นจึงนำอินพุดเหล่านั้นมาดำเนินการให้เกิดเป็นเอาท์พุต หรือปรับอินพุดหรือการดำเนินการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น การนำเอาท์พุดมาพิจารณาแล้วปรับ ดังนี้เรียกว่า การป้อนกลับ (feedback) [คอมพิวเตอร์] | Distributed shared memory | หน่วยความจำที่ใช้ร่วมกันแบบกระจาย [TU Subject Heading] | Shared services (Management) | บริการที่ใช้ร่วมกัน (การจัดการ) [TU Subject Heading] | Coexistence | การอยู่ร่วมกัน, Example: การอยู่ร่วมกันของกลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่ใน พื้นที่ หรือในประเทศก่อนแล้ว กับประชากรกลุ่มที่ย้ายถิ่นเข้าไปอยู่ ถ้ามีการขจัดความแตกต่างระหว่างสองกลุ่มเพื่อให้รวมเข้าด้วยกัน ได้เรียกว่า เป็นการรวมเข้าด้วยกัน (integration) ในทางตรงข้ามการแบ่งแยกระหว่างประชากรสองกลุ่มในการอยู่ร่วมกันเรียกว่า การ แบ่งแยก (segregation) [สิ่งแวดล้อม] | Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy | ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี ? เจ้าพระยา ? แม่โขง ACMECS หรือชื่อเดิม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (ECS : Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ACMECS เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 1 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยผู้นำทั้ง 4 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการ ลงทุน ความร่วมมือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและยกระดับความ เป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเปิดกว้างให้นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้มีส่วนร่วมเป็น หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) ในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย * เวียดนามร่วมเป็นสมาชิก ACMECS เมื่อ 10 พฤษภาคม 2547 สถานะล่าสุด ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2547 ที่จังหวัดกระบี่ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษและการประชุม รัฐมนตรี ACMECS อย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งการประชุมร่วมกับ Development Partners (ผู้แทนจากออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย) ซึ่งการประชุมประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง สมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศได้ร่วมกันแสดงความเป็น เอกภาพ โดยยืนยันเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการตามกรอบความร่วมมือ ACMECS อย่าง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อผู้แทนของ Development Partners รวมทั้งมีการหารือถึงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการระหว่างกันอย่างเป็น รูปธรรม นอกจากนี้ ยังสามารถมีข้อสรุปที่สำคัญๆ เกี่ยวกับกลไกการประสานงานระหว่างกันซึ่งจะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมความร่วม มือของ ACMECS มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป * ไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ [การทูต] | Australia-New Zealand-US | สนธิสัญญาป้องกันร่วมกันระหว่างออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์-สหรัฐอเมริกา " โดยตกลงให้มีการช่วยเหลือประเทศสมาชิกเมื่อถูกคุกคามจากประเทศนอกภาคี ปัจจุบัน ANZUS ยังคงสถานะอยู่แต่ไม่มีการดำเนินการใด ๆ (non-operational) เนื่องจากความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างสหรัฐอเมริกากับนิวซีแลนด์ยุติลง โดยนิวซีแลนด์ยังไม่ละทิ้งสนธิสัญญา ดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าอาจจะมีการรื้อฟื้นขึ้นอีก " [การทูต] | APSC | แผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอา เซียน เป็นเอกสารที่รวบรวมรายการกิจกรรมต่างๆ ที่รัฐสมาชิกอาเซียนจะทำร่วมกันเพื่อสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอา เซียนภายในปี 2558 แผนงานฯ ได้รับการรับรองโดยผู้นำในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่ชะอำ หัวหิน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 โดยแผนงาน มีวิสัยทัศน์ 3 ประการ ให้อาเซียนเป็น(1) ประชาคมที่มีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน (2)เป็นประชาคมที่สงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับ ประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้าน และ (3)เป็นประชาคมที่มีพลวัตรและร่วมมือปฎิสัมพันธ์กับโลกภายนอก [การทูต] | ASEAN Regional Forum | การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก " เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรี ต่างประเทศของประเทศคู่เจรจาของอาเซียน (Dialogue Partners) ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย จีน รัสเซีย และสหภาพยุโรป ผู้สังเกตการณ์ (Observers) ของอาเซียน ได้แก่ ปาปัวนิวกินี และประเทศอื่น ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น มองโกเลียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดย ARF ได้ใช้ ""geographical footprint"" หรือขอบเขตทางภูมิศาสตร์ เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อประกอบการพิจารณารับสมาชิกใหม่ ปัจจุบัน ARF มีประเทศสมาชิก 22 ประเทศ กับ 1 กลุ่ม (สหภาพยุโรป) โดยมีการประชุมเป็นประจำทุกปีในช่วงต่อเนื่องกับการประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting - AMM) เป็นเวทีปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ระดับพหุภาคีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และพัฒนาแนวทางการ ดำเนินการทางการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) ที่มุ่ง ป้องกันการเกิดและขยายตัวของความขัดแย้ง โดยใช้มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building Measures - CBMs) ระหว่างกัน ทั้งนี้ ARF มีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2537 และไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ARF ระดับรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 นอกจากการประชุม ARF ประจำปีแล้วยังมีการดำเนินกิจกรรมระหว่างปี (Inter-sessional Activities) ในสองระดับ คือ กิจกรรมที่เป็นทางการ (Track I) และกิจกรรมที่ไม่เป็นทางการ (Track II) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดร่วมกันระหว่างรัฐบาลกับสถาบันวิชาการของ ประเทศผู้เข้าร่วม ARF ได้แก่ (1) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมกลุ่มสนับสนุนว่าด้วยมาตรการสร้างความไว้เนื้อ เชื่อใจของ ARF (ARF Inter-sessional Support Group on Confidence Building Measures - ARF ISG on CBMs) (2) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการบรรเทาภัยพิบัติของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Disaster Relief - ARF ISM on DR) (3) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการรักษาสันติภาพของ ARF (Inter-sessional Meeting on Peace-keeping Operations - ARF ISM on PKO) และ (4) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการประสานและร่วมมือด้านการค้นหาและกู้ภัย ของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Search and Rescue Coordination - ARF ISM on SAR) " [การทูต] | ASEAN Charter | กฎบัตรอาเซียน เป็นความตกลงระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ที่จะให้สถานะทางกฎหมายหรือนิติฐานะแก่อาเซียน และวางกรอบโครงสร้างองค์กรใหม่เพื่อทำให้อาเซียนเป็นหน่วยงานที่ยึดมั่นมาก ยิ่งขึ้นต่อกติกาและกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ประเทศสมาชิกร่วมกันกำหนดขึ้น อันจะนำมาซึ่งการเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรอาเซียนยังมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประชาชน เป็นศูนย์กลางของความร่วมมือมากยิ่งขึ้นด้วยการจัดตั้งองค์กรใหม่ๆ เพื่อปกป้องและส่งเสริมผลประโยชน์ของประชาชนอาเซียน เช่น องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้ร่วมลงนามกฎบัตรฯ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 [การทูต] | ASEAN Troika | กลุ่มผู้ประสานงานของอาเซียน " เป็นข้อเสนอของไทยในการประชุมสุดยอดอย่างไม่เป็นทางการ ณ กรุงมะนิลา เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2542 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก ผู้นำประเทศ/รัฐบาลอาเซียน เป็นกลไกเฉพาะกิจในระดับรัฐมนตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาเซียนสามารถแก้ไขและร่วมมือกันได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทันท่วงทีและใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ในเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อสันติภาพ และในเรื่องที่อาเซียนมีความห่วงกังวลร่วมกันว่ามี แนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาค ทั้งนี้ กลุ่มผู้ประสานงานอาเซียนจะปฏิบัติงานโดยยึดหลักการที่สำคัญของอาเซียน คือ หลักฉันทามติ และการไม่แทรกแซงกิจการภายใน กลุ่มผู้ประสานงานอาเซียนประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ ประเทศที่เป็นประธานคณะกรรมการประจำของ อาเซียนในปัจจุบัน อดีต และอนาคต " [การทูต] | Bangkok Declaration : Global Dialogue and Dynamic Engagement | ปฏิญญากรุงเทพ : การหารือและการมีส่วนร่วมอย่างมีพลวัตของประชาคมโลก " หนึ่งในสองของเอกสารผลการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ที่แสดงฉันทามติของประเทศสมาชิกอังค์ถัด 190 ประเทศ เกี่ยวกับผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งแสดงเจตนารมณ์ร่วมทางการเมืองของประเทศสมาชิกอังค์ถัดที่จะร่วมมือ กันดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศเพื่อทำให้สมาชิกทั้งหมด โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ได้รับประโยชน์จากกระบวนการโลกาภิวัตน์ในด้านการค้า การเงิน การลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม อีกทั้งเพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจโลก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบของกระบวนการโลกาภิวัตน์ได้ แม้ปฏิญญากรุงเทพจะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่ก็เป็นเอกสารที่มีผลผูกพันทางการเมือง เป็นสัญญาประชาคมที่ทุกประเทศสมาชิกอังค์ถัดมีพันธะที่จะต้องปฏิบัติตามแนว นโยบายที่ได้ร่วมกันแถลงไว้ในเอกสารดังกล่าว และเอกสารนี้สามารถใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการเจรจาหารือระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศในเรื่องของการเงิน การค้า การลงทุน และการพัฒนาได้ " [การทูต] | Cobra Gold | การฝึกร่วม/ผสมคอบร้าโกลด์ เป็นการฝึกทางทหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกองทัพไทยและกองกำลังสหรัฐอเมริกาภาคพื้นแปซิฟิก (USPACOM) ร่วมกันเป็น เจ้าภาพจัดการฝึกในประเทศไทยเป็นประจำทุกปี การฝึกคอบร้าโกลด์พัฒนามาจากการฝึกผสมยกพลขึ้นบกระหว่างกองทัพเรือไทยกับกอง ทัพเรือสหรัฐอเมริกาและกองกำลังนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำการฝึกร่วมกันมาตั้งแต่ พ.ศ. 2499 ต่อมาใน พ.ศ. 2525 ได้รวมการฝึกหลายอย่างเข้าด้วยกันแล้วกำหนดชื่อรหัสการฝึกขึ้นใหม่ว่า "การฝึกร่วม/ผสมคอบร้าโกลด์" ปัจจุบัน มีประเทศที่ร่วมฝึกรวม ทั้งร่วมสังเกตการณ์หลายประเทศ รวมทั้งได้ขยายการฝึกครอบคลุมการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การตอบโต้การก่อการร้ายด้วย [การทูต] | common heritage of mankind | สมบัติร่วมกันของมนุษยชาติ [การทูต] | Commonwealth of Nations | การรวมตัวของชาติต่าง ๆ เข้าเป็นสมาคมทางการเมือง ประกอบด้วยประเทศสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย แคนาดา ลังกา ไซปรัส แกมเบีย กาน่า อินเดีย จาไมก้า คีเนีย มาเลเซีย มาลาวี มอลต้า นิวซีเแลนด์ ไนจีเรีย ปากีสถาน ซิเอร่าเลโอน แทนเซียเนีย ทรินิแดด-โทเบโก ยูแกนดา และแซมเบียตามทรรศนะของ Oppenheim ศาสตราจารย์นักกฎหมายระหว่างประเทศในระดับโลก สมาคมทางการเมืองแห่งนี้ก็คือกลุ่มของรัฐที่รวมกันโดยไม่มีพื้นฐานการรวมตัว ทางกฎหมายที่เคร่งครัดแต่อย่างใด หากแต่มีความผูกพันร่วมกันในด้านประวัติศาสตร์ จารีตประเพณี กฎหมาย และมีผลประโยชน์ร่วมกันอย่างแน่นแฟ้นมากกว่า [การทูต] | consensus | ฉันทามติ หมายถึง แนวปฏิบัติในการตัดสินใจที่จะมีมติดำเนินการหรือไม่ดำเนินการในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง โดยแม้ทุกฝ่ายจะมิได้เห็นพ้องร่วมกัน แต่ก็ไม่มีผู้ใดคัดค้าน [การทูต] | Drug-Free ASEAN | อาเซียนที่ปลอดจากยาเสพติด เป็นคำประกาศของอาเซียนในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน สมัยที่ 31 ที่กรุงมะนิลา เมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยการตั้งเป้าหมาย ที่จะทำให้ภูมิภาคนี้ปลอดจากยาเสพติดในปี พ.ศ. 2563 และต่อมา ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน สมัยที่ 33 ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2543 ได้ประกาศร่นกำหนดเวลาดังกล่าวให้เร็วขึ้น 5 ปี จากเดิมในปี พ.ศ. 2563 เป็นปี พ.ศ. 2558 [การทูต] | Economic Integration | การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ " หมายถึง การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ตั้งแต่ 2 ประเทศขึ้นไป โดยการยกเลิกการเรียกเก็บภาษีศุลกากรและมาตรการอื่น ๆ ที่เป็นอุปสรรคทางการค้าให้แก่กันและกัน รวมทั้งอาจใช้นโยบายต่าง ๆ ร่วมกัน จำแนกได้หลายรูปแบบ เช่น เขตการค้าเสรี สหภาพศุลกากร ตลาดร่วม และสหภาพเศรษฐกิจ " [การทูต] | Eisenhower Doctrine | ลัทธิไอเซนฮาวร์ เมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1957 ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความวิตกห่วงใยในสถานการณ์ที่ล่อแหลมต่ออันตรายในภูมิภาคตะวันออกกลาง ได้อ่านสารพิเศษต่อที่ประชุมร่วมระหว่างสภาผู้แทนกับวุฒิสภาขอร้องให้รัฐสภา สหรัฐฯ ลงมติรับรองโครงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและทางทหาร เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกราชแห่งชาติของบรรดาประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง ให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น ดังนั้น ในการสนองตอบสารพิเศษดังกล่าว รัฐสภาสหรัฐฯ ได้ผ่านข้อมติร่วมกันเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1957 มอบให้ประธานาธิบดีมีอำนาจให้ความร่วมมือและอำนวยความช่วยเหลือแก่ชาติหรือ กลุ่มชาติต่างๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งต้องการความช่วยเหลือเช่นนั้น ในการที่จะพัฒนาพลังทางเศรษฐกิจเพื่อรักษาไว้ซึ่งเอกราชแห่งชาติตน และให้จัดโครงการช่วยเหลือทางทหารแก่ชาติต่างๆ ในภาคนั้นซึ่งต้องการความช่วยเหลือดังกล่าว ทั้งได้มอบอำนาจให้ประธานาธิบดีสามารถใช้กองทัพสหรัฐฯ เข้าช่วยเหลือชาติเหล่านั้นที่แสดงเจตนาขอความช่วยเหลือ เพื่อต่อต้านการรุกรานจากประเทศใด ๆ ที่อยู่ใต้อำนาจควบคุมของคอมมิวนิสต์ระหว่างประเทศ [การทูต] | Forum for East Asia - Latin America Cooperation | เวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเม ริกา สมาชิก 32 ประเทศ จากภูมิภาคเอเชียและลาตินอเมริกา โดยมีสมาชิก จากฝ่ายเอเชีย 15 ประเทศ คือ กลุ่ม ASEAN (10 ประเทศ) จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ และจากฝ่ายลาตินอเมริกา 17 ประเทศ ได้แก่ เม็กซิโก กัวเตมาลา เอลซัลวาดอร์ คอสตาริกา นิการากัว คิวบา ปานามา เปรู โคลอมเบีย เวเนซุเอลา บราซิล โบลิเวีย เอกวาดอร์ ปารากวัย อุรุกวัย อาร์เจนตินา และชิลี วัตถุประสงค์ จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2542 มีการประชุมระดับรัฐมนตรีต่าง -ประเทศทุก 2 ปี ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ปีละ 2 ครั้ง และคณะทำงาน 3 คณะ ปีละ 2 ครั้ง (คณะทำงานด้านการเมือง วัฒนธรรม และการศึกษา / ด้านเศรษฐกิจและสังคม / และด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเวทีปรึกษาหารือและร่วมมือกันอย่างไม่เป็นทางการระหว่างประเทศเอเชียและ ลาตินอเมริกา โดยมีเป้าหมายไปที่การดำเนินโครงการความร่วมมือในทุกสาขาที่ประเทศสมาชิกมี ความสนใจร่วมกัน [การทูต] | Flexible Engagement | ความเกี่ยวพันอย่างยืดหยุ่น " ความเกี่ยวพันอย่างยืดหยุ่นเป็นข้อเสนอของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยที่เสนอในการประชุมรัฐมนตรีต่าง ประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting : AMM) ครั้งที่ 31 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 ณ กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการหารือและแลก เปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสร้างสรรค์ เปิดกว้างและเป็นกันเองในเรื่องหรือประเด็นต่าง ๆ ที่เห็นว่าเป็นผลประโยชน์ร่วมกันหรือที่จะมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์และความ มั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของนานาประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันสืบเนื่องจากการที่อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศ และอยู่ในภาวะที่เผชิญปัญหาท้าทายต่าง ๆ ซึ่งมีความเชื่อมโยงและเกี่ยวพันกัน " [การทูต] | High Seas | ทะเลหลวง คือทุกส่วนของทะเลที่มิได้อยู่ในทะเลอาณาเขต (Territorial Sea) ของประเทศใด โดยที่ถือว่าทะเลหลวงเป็นทรัพย์สินร่วมกันของทุกชาติ รัฐจะยึดเอาไปทำประโยชน์ของตนเองฝ่ายเดียวไม่ได้ และจะถือว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของทะเลหลวงอยู่ใต้อำนาจอธิปไตยของตนไม่ได้เช่นกัน [การทูต] | Inter-Governmental Maritime Consultative Organization | องค์การที่ปรึกษาทางทะเลระหว่างรัฐบาล หมายถึงองค์การที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างรัฐบาล องค์การนี้มีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษแห่งหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ ประเทศทั้งหมดรวม 35 ประเทศ ได้ประชุมร่วมกันจัดทำอนุสัญญาขององค์การนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ในการประชุมขององค์การที่ปรึกษาการเดินเรือทางทะเล ณ กรุงเจนีวา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญามีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1958 เมื่อมีประเทศต่าง ๆ รวม 21 ประเทศได้ให้สัตยาบัน ซึ่งในจำนวนนี้ 7 ประเทศเป็นอย่างน้อยจะต้องมีเรือเดินทะเลของตนไม่น้อยกว่า 1 ล้านตัน (Gross tons) วัตถุประสงค์ขององค์การ IMCO คือ1. จัดวางกลไกเพื่อความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิก ในด้านการวางระเบียบข้อบังคับของราชการ และการปฏิบัติซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องทางวิชาการหรือเทคนิค รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล2. สนับสนุนให้มีการยกเลิกการกระทำที่เลือกที่รักมักที่ชัง และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นของรัฐบาล3. รับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติในทำนองตั้งข้อจำกัดอย่างไม่ยุติธรรมของบริษัท หรือองค์การเดินเรือทั้งหลาย4. รับพิจารณาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ ที่องค์การหนึ่งใดหรือองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติส่งมาให้พิจารณา 5. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อสนเทศใด ๆ ระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องที่องค์การ IMCO กำลังพิจารณาอยู่องค์การนี้ยังจัดให้มีการร่างอนุสัญญาและความตกลงต่าง ๆ รวมทั้งส่งข้อเสนอแนะเหล่านี้ไปให้รัฐบาล และองค์การระหว่างรัฐบาลทั้งหลาย รวมทั้งจัดการประชุมเท่าที่พิจารณาเห็นว่าจำเป็นองค์การนี้ประชุมกันทุกสอง ปี มีหน้าที่วางนโยบายเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างสมัยประชุมจะมีคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ทำหน้าที่บริหารงานในองค์การ คณะมนตรีประกอบด้วยสมาชิก 16 คน ในจำนวนนี้ 8 คน เป็นผู้แทนจากประเทศที่สนใจให้การบริการเกี่ยวกับการเดินเรือระหว่างประเทศ และอีก 8 คนเป็นตัวแทนจากประเทศที่สนใจการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ องค์การมีสำนักเลขาธิการ ประกอบด้วยตัวเลขาธิการ เลขานุการคณะกรรมการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล และเจ้าหน้าที่ประจำตามจำนวนที่องค์การต้องการแล้วแต่กรณี สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ [การทูต] | International Labor Organization | คือองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน ปีค.ศ.1919 วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ การมีส่วนเกื้อกูลให้มีสันติภาพอันถาวร ด้วยการส่งเสริมให้มีความยุติธรรมในสังคม โดยต้องการให้ทุกประเทศปฏิบัติการปรับปรุงสภาวะแรงงาน ส่งเสริมมาตรฐานการครองชีพ พร้อมทั้งส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมให้ดีขึ้นการที่จะให้บรรลุ ตามวัตถุประสงค์เหล่านี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศจะจัดให้มีการประชุมเป็นประจำ ระหว่างฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายแรงงาน และฝ่ายจัดการ เพื่อเสนอแนะและจัดให้มีมาตรฐานระหว่างประเทศ ร่วมกันจัดร่างสัญญาแรงงานระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น ค่าแรง ชั่วโมงทำงาน อายุการทำงาน เงื่อนไขการทำงานสำหรับคนงานในระดับต่าง ๆ ค่าชดเชยสำหรับคนงาน การประกันสังคม การหยุดพักร้อนโดยให้รับเงินเดือน ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม บริการต่าง ๆ ในหน้าที่การงาน การตรวจแรงงาน เสรีภาพในการคบหาสมาคมกัน และอื่น ๆ นอกจากนั้น องค์การยังได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการอย่างกว้างขวางแก่รัฐบาลของประเทศ สมาชิก รวมทั้งจัดพิมพ์เผยแพร่สิ่งพิมพ์หรือเอกสารรายคาบ เรื่องค้นคว้าและรายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาสังคม อุตสาหกรรม และแรงงานILO ปฏิบัติงานผ่านองค์กรต่าง ๆ โดยองค์กรสำคัญที่สุดภายในองค์การแรงงานระหว่างประเทศได้แก่ ที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ซึ่งประชุมกันเป็นประจำทุกปี ประกอบด้วยคณะผู้แทนแห่งชาติ ในจำนวนนี้มีผู้แทนจากฝ่ายรัฐบาล 2 คน ผู้แทนฝ่ายจัดการ 1 คน และผู้แทนฝ่ายแรงงานอีก 1 คน หน้าที่สำคัญคือจัดวางมาตรฐานทางสังคมระหว่างประเทศขึ้นในรูปของอนุสัญญา องค์กรภายในองค์การอีกส่วนหนึ่งคือคณะผู้ว่าการ (Governing Body) จะประกอบด้วย สมาชิก 40 คน ในจำนวนนี้ 20 คน จะเป็นตัวแทนของฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 10 คน จากจำนวนนี้จะได้แก่ ตัวแทนจากประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ส่วนตัวแทนของฝ่ายจัดการ (หรือนายจ้าง) จะมีจำนวน 10 คน และอีก 10 คนเป็นตัวแทนของฝ่ายแรงงาน คณะผู้ว่าการนี้จะทำหน้าที่ควบคุมดูแลงานของคณะกรรมาธิการ และคณะกรรมการขององค์การ คือสำนักแรงงานระหว่างประเทศจะมีหน้าที่รวบรวมเผยแพร่ข้อสนเทศ ช่วยเหลือรัฐบาลของประเทศสมาชิกที่ขอร้องให้ช่วยร่างกฎหมายตามที่ได้มีมติ ตกลงในที่ประชุมใหญ่ นอกจากนี้ ยังรับดำเนินการสอบสวนเรื่องต่าง ๆ เป็นพิเศษ รวมทั้งออกสิ่งพิมพ์เผยแพร่องค์การแรงงานระหว่างประเทศมีสำนักงานใหญ่ตั้ง อยู่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต] | International Telecommunica-tion Union | สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1865 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในตอนนั้นมีชื่อว่าสหภาพโทรเลขระหว่างประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ.1932 จึงมีการรับรองอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน และหลังจากนั้นอีก 2 ปี คือ ค.ศ.1934 ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่ออนุสัญญาโทรเลขและวิทยุโทรเลข เป็นอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ. 1947 ได้มีการปรับปรุงใหม่ ณ เมืองแอตแลนติกซิตี้ สหรัฐอเมริกา แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1954 เป็นต้นมา สหภาพดังกล่าวหรือที่เรียกโดยย่อว่า ITU อยู่ภายใต้การบริหารปกครองตามอนุสัญญา ซึ่งได้รับการรับรองจากการประชุมเต็มคณะ ณ กรุงบุเอนอสไอเรส เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1952วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การไอทียูคือ ต้องการวางระเบียบข้อบังคับระหว่างประเทศสำหรับโทรเลข โทรศัพท์และบริการทางวิทยุ เพื่อที่จะส่งเสริมและขยับขยายให้ประชาชนได้มีโอกาสใช้บริการเหล่านี้ให้ กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยต้องการให้อัตราค่าบริการต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ กล่าวโดยทั่วไปองค์การไอทียูนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างประเทศ เพื่อปรับปรุงการใช้โทรคมนาคมทุกชนิดให้เป็นประโยชน์ก้าวหน้าขึ้น พัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือทางเทคนิคให้นำออกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้และพยายามประสานการปฏิบัติของชาติต่าง ๆ ให้กลมกลืนกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน หัวหน้าของสหโทรคมนาคมระหว่างประเทศมีตำแหน่งเรียกว่า เลขาธิการ องค์การนี้ตั้งอยู่ในนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต] | Joint Declaration for a Socially Cohesive and Caring ASEAN | ปฏิญญาร่วมว่าด้วยสังคมที่เป็นปึกแผ่นและเอื้ออาทรในอาเซียน เป็นคำประกาศของอาเซียนซึ่งมีการลงนามที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้มีการดำเนินโครงการด้านโครงข่ายรองรับทาง สังคมในภูมิภาคนี้ร่วมกันอย่างจริงจัง ในอันที่จะเป็นการนำอาเซียนไปสู่การเป็นสังคมที่มีความเป็นปึกแผ่นและเอื้อ อาทรตามวิสัยทัศน์อาเซียนปี พ.ศ. 2563 [การทูต] | Millennium Summit | การประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ การประชุมสุดยอดของประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาลที่จัดขึ้น ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ระหว่างวันที่ 6-8 กันยายน 2543 (ค.ศ. 2000) เพื่อให้ผู้นำประเทศต่าง ๆ เสนอข้อคิดเห็นต่อการกำหนดทิศทางการดำเนินงานของสหประชาชาติในศตวรรษที่ 21 ให้สามารถเผชิญต่อความเปลี่ยนแปลงและสิ่งท้าทายต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ [ ที่ประชุมยืนยันพันธกรณีร่วมกันที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่สหประชา ชาติในการดำเนินการเรื่องสำคัญของมนุษยชาติ ดังระบุไว้ในปฏิญญาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Declaration) ] [การทูต] | mutual consent | ยินยอมร่วมกัน [การทูต] | North Atlanitc Treaty Organization | องค์การนาโต้ หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ซึ่งได้ลงนามกันเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1949 ประเทศสมาชิกขณะเริ่มตั้งองค์การครั้งแรก ได้แก่ ประเทศเบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ต่อมาประเทศกรีซและตรุกีได้เข้าร่วมเป็นภาคีของสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 และเยอรมนีตะวันตก ( ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1949ในภาคอารัมภบทของสนธิสัญญา ประเทศภาคีได้ยืนยันเจตนาและความปรารถนาของตน ที่จะอยู่ร่วมกันโดยสันติกับประเทศและรัฐบาลทั้งหลาย ที่จะปกป้องคุ้มครองเสรีภาพมรดกร่วม และอารยธรรมของประเทศสมาชิกทั้งมวล ซึ่งต่างยึดมั่นในหลักการของระบอบประชาธิปไตย เสรีภาพส่วนบุคคลหลักนิติธรรม ตลอดจนจะใช้ความพยายามร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อป้องกันประเทศ และเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงในสนธิสัญญาดังกล่าว บทบัญญัติที่สำคัญที่สุดคือข้อ 5 ซึ่งระบุว่า ประเทศภาคีสนธิสัญญาทั้งหลายต่างเห็นพ้องต้องกันว่า หากประเทศภาคีหนึ่งใดหรือมากกว่านั้น ในทวีปยุโรปหรือในอเมริกาเหนือ ถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ จักถือว่าเป็นการโจมตีต่อประเทศภาคีทั้งหมด ฉะนั้น ประเทศภาคีจึงตกลงกันว่า หากมีการโจมตีด้วยกำลังอาวุธเช่นนั้นเกิดขึ้นจริง ประเทศภาคีแต่ละแห่งซึ่งจะใช้สิทธิในการป้องกันตนโดยลำพังหรือร่วมกัน อันเป็นที่รับรองตามข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ จะเข้าช่วยเหลือประเทศภาคีแห่งนั้นหรือหลายประเทศซึ่งถูกโจมตีด้วยกำลัง อาวุธในทันทีองค์กรสำคัญที่สุดในองค์การนาโต้เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศภาคีสนธิสัญญานาโต้ คณะมนตรีนี้จะจัดตั้งองค์กรย่อยอื่น ๆ หลายแห่ง รวมทั้งกองบัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรภาคพื้นยุโรปและภาคพื้น แอตแลนติก สำนักงานใหญ่ขององค์การนาโต้ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [การทูต] | The New Partnership for Africa?s Development | หุ้นส่วนใหม่เพื่อการพัฒนาแอฟริกา เป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของแอฟริกา มีวัตถุประสงค์ในการ ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศแอฟริกา การขจัดความยากจนและการขจัดความเสียเปรียบของประเทศแอฟริกาในยุคโลกาภิวัตน์ NEPAD พัฒนามาจากการประชุม สุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศ G8 ที่ญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. 2542 ซึ่งในการประชุมนี้ ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ ประธานาธิบดีไนจีเรีย และประธานาธิบดี แอลจีเรียได้เสนอต่อที่ประชุม ขอให้กลุ่มประเทศเหนือและประเทศใต้ร่วมกันแก้ปัญหาที่ทั้งสองกลุ่มประเทศ เผชิญอยู่ บนพื้นฐานของ ผลประโยชน์ร่วมกัน โดยเน้นการพัฒนาประเทศที่ยากจน เช่น ประเทศ ในภูมิภาคแอฟริกา ต่อมาบรรดาผู้นำของกลุ่มประเทศแอฟริกาได้ร่วมกันกำหนดแผนพัฒนาแอฟริกาสำหรับ ใช้ขอรับการสนับสนุนจากประเทศพัฒนาแล้วในเวทีการประชุมระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่เรียกว่า New Africa Initiative (NAI) ที่ประชุมองค์การเอกภาพแอฟริกา หรือ OAU (ซึ่งต่อมากลายเป็น African Union ? AU) ได้เห็นชอบต่อแผน NAI ดังกล่าวในเดือนกรกฎาคม 2544 ผู้นำของประเทศแอฟริกาได้นำเสนอ NAI ต่อที่ประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศ G8 เมื่อปี พ.ศ. 2544 และได้รับการปรับปรุงแก้ไขจนเป็น NEPAD ในปัจจุบัน [การทูต] | Neutralization, Neutrality หรือ Neutralism | คำว่า Neutraliza-tion หมายถึง กระบวนการซึ่งรัฐได้รับการค้ำประกันความเป็นเอกราชและบูรณภาพอย่างถาวรภาย ใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ รัฐที่ได้รับการประกันรับรองให้เป็นกลาง (Neutralized State) เช่นนี้จะผูกมัดตนว่า จะละเว้นจาการใช้อาวุธโจมตีไม่ว่าประเทศใดทั้งสิ้น นอกเสียจากว่าจะถูกโจมตีก่อน ตัวอย่างอันเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในเรื่องรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความ เป็นกลางอย่างถาวร คือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตามปฏิญญา (Declaration) ซึ่งมีการลงนามกัน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1815 ประเทศใหญ่ ๆ ในสมัยนั้น คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส อังกฤษ ปรัสเซีย และรัสเซีย ได้รับรองว่า โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม จึงเป็นการจำเป็นที่จะให้รัฐเฮลเวติก(Helvetic Swiss States) ได้รับการประกันความเป็นกลางตลอดไป ทั้งยังประกาศด้วยว่า รัฐสภาของสวิตเซอร์แลนด์ตกลงรับปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้เมื่อไร ความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์ก็จะได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางในทันที และแล้วสมาพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ประกาศยอมรับปฏิบัติตาม หรือให้ภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 บรรดาประเทศที่รับรองค้ำประกันความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์จึงประกาศ รับรองดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 อนึ่ง การค้ำประกันความเป็นกลางในลักษณะที่ครอบคลุมทั้งประเทศของรัฐใดรัฐหนึ่ง นั้น มีความแตกต่างกับการค้ำประกันเพียงดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของรัฐหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางจะ ไม่ยอมให้ฝ่ายใดใช้ดินแดนส่วนที่ค้ำประกันนั้นเป็นเวทีสงครามเป็นอันขาด การค้ำประกันความเป็นกลางยังมีอีกแบบหนึ่งคือ รัฐหนึ่งจะประกาศตนแต่ฝ่ายเดียวว่าจะรักษาความเป็นกลางของตนตลอดไปโดยถาวร แต่ในกรณีเช่นนี้ ความเป็นเอกราชและบูรณภาพของรัฐที่ประกาศตนเป็นกลางเพียงฝ่ายเดียว จะไม่ได้รับการค้ำประกันร่วมกันจากรัฐอื่น ๆ แต่อย่างใดส่วนคติหรือลัทธิความเป็นกลาง (Neutralism) เป็นศัพท์ที่หมายถึงสถานภาพของรัฐต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการน้ำประเทศของตนเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในสงครามเย็น ( Cold War) ที่กำลังขับเคี่ยวกันอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศภาคตะวันออกกับกลุ่มประเทศภาค ตะวันตก นอกจากนี้ ผู้นำบางคนในกลุ่มของรัฐที่เป็นกลาง ไม่เห็นด้วยกีบการที่ใช้คำว่า ?Neutralism? เขาเหล่านี้เห็นว่าควรจะใช้คำว่า ?ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด? ( Uncommitted ) มากกว่าจะเห็นได้ว่า คำว่า ?ความเป็นกลาง? ( Neutrality ) นั้น หมายถึงความเป็นกลางโดยถาวร ซึ่งได้รับการค้ำประกันจากกลุ่มประเทศกลุ่มหนึ่ง เช่นในกรณีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้หรือหมายถึงความเป็นกลางเฉพาะในดินแดน ส่วนหนึ่งของรัฐที่ไม่ยอมให้ใครเข้าไปทำสงครามกันในดินแดนที่เป็นกลางส่วน นั้นเป็นอันขาดก็ได้ ดังนั้น พอจะเห็นได้ว่า แก่นแท้ในความหมายของความเป็นกลาง ( Neutrality) จึงอยู่ที่ท่าที หรือ ทัศนคติของประเทศที่ดำรงตนเป็นกลาง ไม่ต้องการเข้าข้างประเทศคู่สงครามใด ๆ ในสงคราม ในสมัยก่อนผู้คนยังไม่รู้จักความคิดเรื่องความเป็นกลางดังที่รู้จักเข้าใจ กันในปัจจุบัน ความเป็นกลางเป็นผลมาจากการทยอยวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของความเป็นกลาง นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน [การทูต] | New World Order | ระเบียบใหม่ของโลก คำนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับอดีตประธานาธิบดียอร์ช บุช และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางใจสมัยหลังจากที่ประเทศอิรักได้ใช้กำลัง ทหารรุกรานประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 กล่าวคือ ประธานาธิบดียอร์ช บุช มีความวิตกห่วงใยว่า การที่สหรัฐอเมริกาแสดงปฏิกิริยาต่อการรุกรานของอิรักนี้ ไม่ควรจะให้โลกมองไปในแง่ที่ว่า เป็นการปฏิบัติการของสหรัฐแต่ฝ่ายเดียวหากควรจะมองว่าเป็นเรื่องของหลักความ มั่นคงร่วมกัน (Collective Security ) ที่นำออกมาใช้ใหม่ในสมัยหลังสงครามเย็นในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาร่วมทั้ง สองของรัฐสภาอเมริกันเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีบุชได้วางหลักการง่าย ๆ 5 ข้อ ซึ่งประกอบเป็นโครงร่างของระเบียบใหม่ของโลก ตามระเบียบใหม่ของโลกนี้ โลกจะปลอดพ้นมากขึ้นจากการขู่เข็ญหรือการก่อการร้าย ให้ใช้มาตรการที่เข้มแข็งในการแสวงความยุติธรรม ตลอดจนให้บังเกิดความมั่นคงยิ่งขึ้นในการแสวงสันติสุข ซึ่งจะเป็นยุคที่ประชาชาติทั้งหลายในโลก ไม่ว่าจะอยู่ในภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคเหนือหรือภาคใต้ ต่างมีโอกาสเจริญรุ่งเรืองและมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวแม้ว่า ระเบียบใหม่ของโลก ดูจะยังไม่หลุดพ้นจากความคิดขั้นหลักการมาเป็นขั้นปฏิบัติอย่างจริงจังก็ตาม แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า อย่างน้อยก็เป็นการส่อให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง ประเทศใหญ่ ๆ ทั้งหลายให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศมีฐานะเข้มแข็งขึ้น และให้กฎหมายระหว่างประเทศมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ต่อมา เหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในด้านการเมืองของโลกระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1991 ทำให้หลายคนเชื่อกันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังผันไปสู่หัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ กล่าวคือ ความล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปภาคตะวันออก อวสานของสหภาพโซเวียตในฐานะประเทศอภิมหาอำนาจ การยุติของกติกาสัญญาวอร์ซอว์และสงครามเย็น การรวมเยอรมนีเข้าเป็นประเทศเดียว และการสิ้นสุดของลัทธิอะพาไทด์ในแอฟริกาใต้ (คือลัทธิกีดกันและแบ่งแยกผิว) เหล่านี้ทำให้เกิด ?ศักราชใหม่? ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า บรรดาประเทศต่าง ๆ บัดนี้ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น องค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงมีศักยภาพสูงขึ้น กำลังทหารมีประโยชน์น้อยลง เสียงที่กำลังกล่าวขวัญกันหนาหูเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของโลกในขณะนี้ คือความพยายามที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาติใหม่ และปรับกลไกเกี่ยวกับรักษาความมั่นคงร่วมกันให้เข้มแข็งขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคง ควรจะเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ โดยจะให้สมาชิกที่มีอำนาจใช้สิทธิ์ยับยั้งนั้นได้แก่สมาชิกในรูปกลุ่มประเทศ (Blocs of States) แทนที่จะเป็นประเทศสมาชิกถาวร 5 ประเทศเช่นในปัจจุบันอย่างไรก็ดี การสงครามอ่าวเปอร์เซียถึงจะกระทำในนามของสหประชาชาติ แต่ฝ่ายที่รับหน้าที่มากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา แม่ว่าฝ่ายที่รับภาระทางการเงินมากที่สุดในการทำสงครามจะได้แก่ซาอุดิอาระ เบียและญี่ปุ่นก็ตาม ถึงแม้ว่าคติของระเบียบใหม่ของโลกจะผันต่อไปในรูปใดก็ดี สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ โลกจะยังคงต้องอาศัยพลังอำนาจ การเป็นผู้นำ และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อไปอยู่นั่นเอง [การทูต] | Notes in Diplomatic Correspondence | หมายถึง หนังสือหรือจดหมายโต้ตอบทางการทูตระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต (Head of mission) กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่หัวหน้าคณะผู้ แทนทางการทูตนั้นประจำอยู่ หรือกับหัวหน้าผู้แทนทางการทูตอีกแห่งหนึ่ง หนังสือทางการทูตนี้ อาจใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 หรือบุรุษที่ 3 ก็ได้ หนังสือทางการทูตที่ใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 มักจะเกี่ยวกับเรื่องที่มีความสำคัญหรือมีความละเอียดอ่อนกว่าหนังสืออีก ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า Note Verbale หรือต้องการจะแทรกความรู้สึกส่วนตัวลงไปด้วย หนังสือนี้จะส่งจากหัวหน้า หรือผู้รักษาการแทนหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือไปถึงหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตอื่น ๆ ไม่เหมือนกับ Note Verbale กล่าวคือ หนังสือทางการทูตนี้จะต้องระบุสถานที่ตั้ง รวมทั้งลงชื่อของผู้ส่งด้วยตามปกติ ประโยคขึ้นต้นด้วยประโยคแรกในหนังสือจะใช้ข้อความว่า ?have the honour? นอกจากจะมีถึงอุปทูตซึ่งมีฐานะตำแหน่งต่ำกว่าอัครราชทูต ถ้อยคำลงท้ายของหนังสือทางการทูตจะมีรูปแบบเฉพาะ เช่น?Accept, Excellency (หรือ Sir), ในกรณีที่ผู้รับมีตำแหน่งเป็นอุปทูต (Charge d? Affaires) the assurances (หรือ renewed assurances ) of my highest (หรือ high ในกรณีที่เป็นอุปทูต ) consideration?หรือ ?I avail myself of this opportunity to express to your Excellency, the assurances ( หรือ renewed assurances) of my highest consideration ?ถ้อยคำที่ว่า ?renewed assurances ? นั้น จะใช้ก็ต่อเมื่อผู้ส่งหนังสือกับผู้รับหนังสือ ได้มีหนังสือติดต่อทางทูตกันมาก่อนแล้ว ส่วนถ้อยคำว่า ?high consideration ? โดยปกติจะใช้ในหนังสือที่มีไปยังอุปทูต ถ้อยคำ ?highest consideration ? จะใช้เมื่อมีไปถึงเอกอัครราชทูต และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ท้องถิ่นด้วย บางแห่งอาจนิยมใช้แตกต่างออกไป และก็จะเคารพปฏิบัติตามท้องถิ่นนั้น ๆ โดยมารยาทส่วนหนังสือที่เรียกว่า Note Verbale หรือ Third person note เป็นหนังสือทางการทูตที่ใช้บ่อยที่สุด หนังสือนี้จะขึ้นต้นด้วยประโยคดังต่อไปนี้?The Ambassador (หรือ The Embassy ) of Thailand presents his (หรือ its ) compliments to the Minster (หรือ Ministry ) of Foreign affairs and has the honour??หนังสือบุรุษที่สาม หรืออาจเรียกว่าหนังสือกลางนี้ ไม่ต้องบอกตำบลสถานที่ ( Address) และไม่ต้องลงชื่อ แต่บางทีในตอนลงท้ายของหนังสือกลางมักใช้คำว่า?The Ambassador avails himself of this opportunity to express to his Excellency the renewed assurances of his highest consideration?มีหนังสือทางการทูตอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า Collective note เป็นหนังสือที่หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลหลายประเทศรวมกันมีไปถึง รัฐบาลแห่งเดียว เกี่ยวกับเรื่องที่รัฐบาลเหล่านั้นพร้อมใจกันที่จะร้องเรียน หรือต่อว่าร่วมกัน หัวหน้าคณะทูตทั้งหมดอาจร่วมกันลงนามในหนังสือนั้น หรือ อาจจะแยกกันส่งหนังสือซึ่งมีถ้อยคำอย่างเดียวกันไปถึงก็ได้ [การทูต] | Organization of American States | คือองค์การของรัฐในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1947 สหรัฐอเมริกา และประเทศต่าง ๆ ในละตินอเมริกา ยกเว้นประเทศนิคารากัวและอีเควดอร์ ได้ตกลงทำสนธิสัญญาระหว่างรัฐในอเมริกาด้วยกัน ณ กรุงริโอเดจาเนโร เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า สนธิสัญญาริโอ ประเทศเหล่านั้นต่างมุ่งมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือกันอย่างมีประสิทธิผล ถ้าหากรัฐในอเมริกาหนึ่งใดถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธหรือถูกคุกคามจาการรุกราน ต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1948 ได้มีการจัดตั้งองค์การของรัฐอเมริกัน (Organization of American States) ขึ้น ณ กรุงโบโกตา ประเทศโบลิเวีย ประกอบด้วยรัฐต่าง ๆ ในอเมริการวม 21 ประเทศ ยกเว้นประเทศแคนาดา เพื่อดำเนินการให้เป็นผลตามสนธิสัญญาริโอ และจัดวางระบบการรักษาความมั่นคงร่วมกันขึ้น กฎบัตร (Charter) ขององค์การได้มีผลบังคับให้เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1951องค์การโอเอเอสนี้ เป็นองค์การส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่ง ภายในกรอบของสหประชาชาติ ประเทศสมาชิกต่างปฏิญาณร่วมกันที่จะทำการธำรงรักษากระชับสันติภาพ ตลอดจนความมั่นคงในทวีปอเมริกา เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุแห่งความยุ่งยากใด ๆ และต้องการระงับกรณีพิพาทที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกันโดย สันติวิธี อนึ่ง ถ้าหากมีการรุกรานเกิดขึ้นก็จะมีการปฏิบัติการร่วมกัน นอกจากนี้ ยังจะหาทางระงับปัญญาหาทางการเมือง ทางการศาล และทางเศรษฐกิจ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิก พร้อมทั้งจะพยายามร่วมกัน ในการหาหนทางส่งเสริมพัฒนาการทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม สำนักงานใหญ่ขององค์การโอเอเอสตั้งอยู่ ณ กรุงวอชิงตันดีซี นครหลวงของสหรัฐอเมริกา [การทูต] | Pacific Settlement of International Disputes | หมายถึง การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี คงจะจำกันได้ว่า ในตอนเสร็จสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศในโลกฝ่ายเสรีซึ่งเป็นผู้ชนะ ต่างมีเจตนาอันแน่วแน่ที่จะหาทางมิให้เกิดสงครามขึ้นอีกในโลก จึงตกลงร่วมกันก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ (Charter of the United Nations)ดังนั้น ข้อ 2 ของกฎบัตรสหประชาชาติจึงได้กำหนดให้ประเทศสมาชิกมีพันธกรณีที่จะต้องหาทางระ งังกรณีพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี และข้อ 33 ของกฎบัตรก็ได้บัญญัติไว้ว่า ?1. ผู้เป็นคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในกรณีพิพาทใด ๆ ซึ่งหากดำเนินอยู่ต่อไป น่าจะเป็นอันตรายแก่การธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ก่อนอื่นจักต้องแสวงหาการแก้ไขโดยการเจรจา ไต่สวน ไกล่เกลี่ย ประนีประนอม อนุญาโตตุลาการ การระงับโดยทางศาล การหันเข้าอาศัยทบวงการตัวแทน การตกลงส่วนภูมิภาค หรือสันติวิธีประการอื่นใดที่คู่กรณีจะพึงเลือก 2. เมื่อเห็นว่าจำเป็น คณะมนตรีความมั่นคงจักเรียกร้องให้คู่พิพาทระงับกรณีพิพาทของตนโดยวิธีเช่น ว่านั้น? [การทูต] | Palestine Question | ปัญหาปาเลสไตน์ เมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1947 ประเทศอังกฤษได้ขอให้สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ทำการประชุมสมัยพิเศษเพื่อพิจารณาปัญหาปาเลสไตน์ สมัชชาได้ประชุมกันระหว่างวันที่ 28 เมษายน ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 และที่ประชุมได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเกี่ยวกับปาเลสไตน์ขึ้น ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกรวม 11 ประเทศ ซึ่งหลังจากที่เดินทางไปตรวจสถานการณ์ในภาคตะวันออกกลาง ก็ได้เสนอรายงานเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว รายงานนี้ได้ตั้งข้อเสนอแนะรวม 12 ข้อ รวมทั้งโครงการฝ่ายข้างมาก (Majority Plan) และโครงการฝ่ายข้างน้อย (Minority Plan) ตามโครงการข้างมาก กำหนดให้มีการแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็นรัฐอาหรับแห่งหนึ่ง รัฐยิวแห่งหนึ่ง และให้นครเยรูซาเล็มอยู่ภายใต้ระบบการปกครองระหว่างประเทศ รวมทั้งให้ดินแดนทั้งสามแห่งนี้มีความสัมพันธ์ร่วมกันในรูปสหภาพเศรษฐกิจ ส่วนโครงการฝ่ายข้างน้อย ได้เสนอให้ตั้งรัฐสหพันธ์ที่เป็นเอกราชขึ้น ประกอบด้วยรัฐอาหรับและรัฐยิว อันมีนครเยรูซาเล็มเป็นนครหลวงต่อมาในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 สมัชชาสหประชาชาติได้ประชุมลงมติรับรองข้อเสนอของโครงการฝ่ายข้างมาก ซึ่งฝ่ายยิวได้รับรองเห็นชอบด้วย แต่ได้ถูกคณะกรรมาธิการฝ่ายอาหรับปฏิเสธไม่รับรอง โดยต้องการให้มีการจัดตั้งรัฐอาหรับแต่เพียงแห่งเดียว และทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิของคนยิวที่เป็นชนกุล่มน้อย อนึ่ง ตามข้อมติของสมัชชาสหประชาชาติได้กำหนดให้อำนาจอาณัติเหนือดินแดนปาเลสไตน์ สิ้นสุดลงและให้กองทหารอังกฤษถอนตัวออกไปโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และอย่างช้าไม่เกินวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1948 นอกจากนั้นยังให้คณะมนตรีภาวะทรัสตีของสหประชาชาติจัดทำธรรมนูญการปกครองโดย ละเอียดสำหรับนครเยรูซาเล็มจากนั้น สมัชชาสหประชาชาติได้ตั้งคณะกรรมาธิการปาเลสไตน์แห่งสหประชาชาติขึ้น ประกอบด้วยประเทศโบลิเวีย เช็คโกสโลวาเกีย เดนมาร์ก ปานามา และฟิลิปปินส์ ทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะของสมัชชา ส่วนคณะมนตรีความมั่นคงก็ได้รับการขอร้องให้วางมาตรการที่จำเป็น เพื่อวินิจฉัยว่า สถานการณ์ในปาเลสไตน์จักถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพหรือไม่ และถ้าหากมีการพยายามที่จะใช้กำลังเพื่อเปลี่ยนแปลงความตกลงตามข้อมติของ สมัชชาเมื่อใด ให้ถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพ โดยอาศัยข้อ 39 ของกฎบัติสหประชาชาติเป็นบรรทัดฐาน [การทูต] | ASEAN Post Ministerial Conferences 10+10 Session | การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของคู่เจรจาทั้ง หมด เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศ ของคู่เจรจา (PMC) ในลักษณะของการหารือร่วมกันทั้งหมดระหว่างสิบประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศ คู่เจรจาในประเด็นที่มีความกังวลร่วมกันหรือปรารถนาที่จะมีความร่วมมือ ระหว่างกัน [การทูต] | Plan Puebla-Panama | สมาชิก เม็กซิโก เบลิซ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส เอลซัลวาดอร์ นิการากัว คอสตาริกา และปานามา วัตถุประสงค์ ริเริ่มโดยประธานาธิบดี Vicente Fox ของเม็กซิโก เมื่อปี พ.ศ. 2543 เพื่อแสวงหาความร่วมมือและให้การสนับสนุนด้านเงินทุนแก่ประเทศภูมิภาค อเมริกากลางในการเชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคมและสาธารณูปโภค เช่น ถนน สายส่งไฟฟ้า ท่อก๊าซ ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจจากเม็กซิโกลงไปยังประเทศทางตอนใต้ ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศร่วมกัน และเพื่อแก้ไขปัญหาการอพยพของแรงงานผิดกฎหมายจากประเทศในแถบอเมริกากลางเข้า สู่เม็กซิโก หมายเหตุ Puebla เป็นชื่อเมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ของเม็กซิโก และเป็นจุดเริ่มต้นโครงการ ซึ่งสิ้นสุดที่ปานามา [การทูต] | Responsibility to protect | หลักการความรับผิดชอบในการคุ้มครอง เป็นหลักการที่ได้รับการรับรองในการประชุมระดับผู้นำ เพื่อทบทวนผลของปฏิญญาสหัสวรรษ(High Level Panel Meeting - HLPM) เมื่อวันที่ 14-16 กันยายน พ.ศ. 2548 ณ นครนิวยอร์ก ที่เกี่ยวข้องกับการแทรกแซงทางมนุษยธรรม ( humanitarian interference/intervention of humanity)เพื่อคุ้มครองประชาชนจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การฆ่าล้างชนชาติ โดยจะถือเป็นความรับผิดชอบและที่จะต้องดำเนินการร่วมกันโดยประชาคมระหว่าง ประเทศ อย่างไรก็ตาม หลักการเรื่องนี้มีนัยเกี่ยวข้องกับกฏหมายระหว่างประเทศ อธิปไตย ของรัฐ ความอ่อนไหวทางการเมือง และความชอบธรรมในการปฏิบัติ จึงยังไม่มีการนิยามแนวความคิด R2P รวมถึงขอบเขตของ R2P ที่ชัดเจน [การทูต] | Regional Organizations | คือองค์การส่วนภูมิภาค ในเรื่องนี้ ข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติได้บัญญัติไว้ว่า ?ไม่มีข้อความใดในกฎบัตรฉบับปัจจุบัน อันจักริดรอนสิทธิประจำตัวในการป้องกันตนเองโดยลำพังหรือโดยร่วมกัน หากการโจมตีโดยกำลังอาวุธบังเกิดแก่สมาชิกของสหประชาชาติ จนกว่าคณะมนตรีความมั่นคงจะได้ดำเนินมาตรการที่จำเป็น เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ มาตรการที่สมาชิกได้ดำเนินไปในการใช้สิทธิป้องกันตนเองนี้ จักต้องรายงานให้คณะมนตรีความมั่นคงทราบโดยทันที และจักไม่กระทบกระเทือนอำนาจและความรับผิดชอบของคณะมนตรีความมั่นคงภายใต้กฎ บัตรฉบับปัจจุบันแต่ทางหนึ่งทางใด ในอันที่จักดำเนินการเช่นที่เห็นจำเป็น เพื่อธำรงไว้หรือสถาปนากลับคืนมา ซึ่งสันติภาพความมั่นคงระหว่างประเทศ?จะเห็นได้ว่า ประเทศต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันมักจะทำข้อตกลงกันในส่วนภูมิภาค โดยอาศัยสนธิสัญญา และโดยที่อาศัยอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใกล้เคียงกัน ( Geographical Propinquity ) หรือมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และมีวัตถุประสงค์ที่จะอำนวยความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเมืององค์การส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่งที่พอจะหยิบยก มาเป็นตัวอย่างได้ คือ องค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) ซึ่งบัดนี้ได้ยุบเลิกไปแล้วเพราะหมดความจำเป็น องค์การรัฐอเมริกัน (Organization of American States-OAS) องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต้ (NATO) องค์การร่วมมือระหว่างออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา (ANZUS) เป็นต้น องค์การภูมิภาคเหล่านี้ตั้งขึ้นโดยอาศัยข้อ 51 ของกฎบัตร สหประชาชาติ ซึ่งกล่าวถึงสิทธิของประเทศสมาชิกที่จะทำการป้องกันตนเองโดนลำพังหรือโดย ร่วมกัน หากถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ [การทูต] | Regional Operate Center | ศูนย์ปฏิบัติการร่วม กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ROC เป็นโครงการนำร่อง ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศกระทรวงมหาดไทย สำนักงาน ก.พ.ร. และ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมกันจัดตั้งขึ้น เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2549 เพื่อพัฒนาการทำงานร่วมกันระหว่างเอกอัครราชทูตในประเทศเพื่อนบ้านกับผู้ว่า ราชการจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงการทำงานระหว่างเอกอัครราชทูตกับผู้ว่าราชการ จังหวัด เพื่อบูรณาการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ให้สอดคล้องกับนโยบายต่างประเทศ รวมทั้งให้บริการข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านและจังหวัดในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรและงานวิจัยในท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนนโยบายต่างประเทศ [การทูต] | Regional Code of Conduct in The South China Sea | แนวทางปฏิบัติระดับภูมิภาคในทะเลจีนใต้ เพื่อเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของประเทศในบริเวณทะเลจีนใต้ที่จะรักษา สันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาค [การทูต] | Southeast Asia Collective Defense Treaty (Mahila Pact) | สนธิสัญญาซีโต้ สนธิสัญญานี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1954 ประเทศที่ลงนามในสนธิสัญญามีประเทศออสเตรเลีย ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ประเทศไทย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา สนธิสัญญาได้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1955ในภาคอารัมภบทของสัญญานี้ บรรดาประเทศสมาชิกต่างแสดงความปรารถนาที่จะประสานความพยายามของตนที่จะ ป้องกันร่วมกัน เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคง โดยเฉพาะข้อ 4 ของสนธิสัญญาเป็นข้อสำคัญที่สุด คือ แต่ละประเทศภาคีคู่สัญญาตกลงเห็นพ้องกันว่า หากดินแดนของประเทศใดถูกรุกรานจาการโจมตีด้วยกำลังอาวุธ ประเทศภาคีทั้งหมดที่เหลือจะถือว่าเป็นอันตรายร่วมกัน และจะปฏิบัติการเพื่อเผชิญหน้ากับอันตรายร่วมกัน หรือถ้าหากพื้นที่ภายในเขตครอบคลุมของสนธิสัญญาถูกคุกคามด้วยประการใด ๆ ประเทศภาคีทั้งหมดจะปรึกษากันในทันที เพื่อตกลงในมาตรการเพื่อการป้องกันร่วมกันสำนักงานใหญ่ขององค์การซีโต้ตั้ง อยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยที่สถานการณ์ทางการเมืองของโลกได้เปลี่ยนไปมากทำให้องค์การซีโต้หมดความ จำเป็น และได้ยุบเลิกไปนานแล้ว [การทูต] | security community | ประชาคมความมั่นคง เป็นการรวมตัวกันของบรรดาประเทศในภูมิภาคเพื่อศึกษาและเสริมสร้างความมั่นคง ของภูมิภาค โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือบนพื้นฐานของแนวความคิดของความมั่นคงร่วมกัน [การทูต] | Team Thailand | ทีมประเทศไทย หมายถึง รูปแบบของการทำงานที่เป็นเอกภาพของหน่วยราชการไทยในการปกป้อง รักษา และส่งเสริมผลประโยชน์ของไทยในต่างประเทศ ตลอดจนเพื่อช่วยประหยัดงบประมาณ ขจัดความซ้ำซ้อน ลดการทำงานที่ไม่จำเป็นให้หมดไป และช่วยให้มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานมากยิ่งขึ้น อันจะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพ และเพิ่มประสิทธิผลของการทำงาน แนวคิดเรื่องทีมประเทศไทยเป็นการสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการทำงานของหน่วยงานไทย ในต่างประเทศ โดยเน้นให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีภารกิจในต่างประเทศทำงานร่วมกัน อย่างมีเอกภาพ ไม่ซ้ำซ้อน มีทิศทางเดียวกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายร่วมกันบนพื้นฐานของแผน งานรวมที่เป็นเอกภาพ (unified work plan) มีสำนักงานที่เป็นเอกภาพ (unified structure) และมีกรอบการประสานงานที่เป็นเอกภาพ (unified command) โดยมีกระทรวงการต่างประเทศซึ่งรับผิดชอบภาพรวมของการดำเนินความสัมพันธ์กับ ต่างประเทศทำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมในการประสานงาน ทั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายการปฏิรูประบบราชการในต่างประเทศ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2541 [การทูต] | The Great Wonders of Suwannabhumi | โครงการสิ่งมหัศจรรย์แห่งสุวรรณภูมิ หมายถึง โครงการพัฒนาการท่องเที่ยวระหว่างกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคที่นับถือศาสนาพุทธ อันประกอบด้วย ไทย ลาว กัมพูชา และพม่า โดยร่วมกันจัดรายการนำเที่ยวในโบราณสถานที่สำคัญต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของ 4 ประเทศ ได้แก่ วัดพระศรีรัตนศาสดารามในกรุงเทพฯ นครวัดในกัมพูชา โบราณสถานในพุกาม/มัณฑะเลย์ในพม่า และแขวงหลวงพระบางในลาว เพื่อที่จะดึงดูดชาวต่างชาติให้มาสนใจในดินแดนแห่งนี้ และนำมาซึ่งการพัฒนาสถานที่ดังกล่าว รวมทั้งยังจะเป็นการเชื่อมโยงการเดินทางระหว่าง 4 ประเทศอย่างสมบูรณ์ โครงการนี้เสนอโดย ฯพณฯ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาว กัมพูชา และพม่า เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2542 ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 3 ที่กรุงมะนิลา [การทูต] | The Nordic Council | องค์การที่ตั้งขึ้นเพื่อทำการปรึกษาหารือกัน ระหว่างรัฐสภาของประเทศเดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน รวมทั้งรัฐบาลของประเทศเหล่านี้ เกี่ยวกับเรื่องที่จะต้องปฎิบัติร่วมกัน กฎข้อบังคับของคณะรัฐมนตรี (Council) ซึ่งประกอบด้วยประเทศเหล่านี้ ได้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1958 คณะมนตรีประกอบด้วยผู้แทนซึ่งได้รับการเลือกตั้ง 69 คน รวมทั้งผู้แทนของรัฐบาลด้วย คณะมนตรีนี้ไม่มีสำนักงานถาวร และไม่มีสำนักเลขาธิการระหว่างประเทศ การประชุมได้กระทำกันโดยหมุนเวียนไปตามนครหลวงของประเทศสมาชิก [การทูต] | United Nations University | มหาวิทยาลัยสหประชาชาติ จัดตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1973 ตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นสถาบันอิสระที่บริหารปกครองตนเองภายในโครงร่างของสหประชาชาติ เรียกได้ว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างประเทศในเชิงวิชาการ ในอันที่จะมีส่วนช่วยเหลือเกื้อกูลต่อการแก้ปัญหาเร่งด่วนต่าง ๆ ของโลก มหาวิทยาลัยนี้มีลักษณะไม่เหมือนกับมหาวิทยาลัยอื่นทั่ว ๆ ไป ทั้งในด้านโครางสร้างและแบบอย่างการดำเนินงาน กล่าวคือ ไม่มีนิสิตนักศึกษาของตนเอง ไม่มีคณะในมหาวิทยาลัย และไม่มีบริเวณมหาวิทยาลัย (campus) ดำเนินงานภายในเครือข่ายของสถาบันวิจัยและวิชาการต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งศูนย์ฝึกและศูนย์วิจัยของตนเอง ทั้งยังรวมไปถึงผู้คงแก่เรียนเป็นรายบุคคลด้วย ทั้งนี้ เพื่อร่วมกันหาทางแก้ปัญหาต่าง ๆ ของโลกเป็นจุดสำคัญเรื่องที่มหาวิทยาลัยสหประชาชาติกำลังกังวลและสนใจอยู่ใน ขณะนี้ คือ เรื่องเกี่ยวกับค่านิยมของมนุษย์ทั่วโลก รวมทั้งความรับผิดชอบทั้งหลายที่มนุษย์ทั่วโลกจะพึงมี เรื่องทิศทางใหม่ ๆ ในภาวะเศรษฐกิจที่กลังปรากฏอยู่ในโลก รวมทั้งเรื่องความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และวิทยาการทางเทคโนโลยีเรื่องพลัง ที่ทำให้เกิดความผันแปรระหว่างพลเมืองของโลก ตลอดจนเรื่องสวัสดิภาพและความเป็นอยู่ของมนุษย์ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ยังมุ่งหมายที่จะช่วยเพิ่มพูนศักยภาพในการวิจัย และการฝึกในประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายด้วย และภายในมหาวิทยาลัยเองก็กำลังสนใจด้านวิจัยและการฝึกฝนในบางเรื่องโดยเฉพาะ [การทูต] | Work of the United Nations on Human Rights | งานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน งานสำคัญชิ้นหนึ่งของสหประชาชาติคือ วควมมปรารถนาที่จะให้ประเทศทั้งหลายต่างเคารพและให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ มนุษยชนตลอดทั่วโลก ดังมาตรา 1 ในกฎบัตรของสหประชาติได้บัญญัติไว้ว่า?1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และมีเจตนามุ่งมั่นต่อจุดหมายปลายทางนี้ จะได้ดำเนินมาตรการร่วมกันให้บังเกิดผลจริงจัง เพื่อการป้องกันและขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ รวมทังเพื่อปราบปรามการรุกรานหรือการล่วงละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ ตลอดจนนำมาโดยสันติวิธี และสอดคล้องกับหลักแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปรับปรุงหรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การล่วงละเมิดสันติภาพได้ 2. เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดการเคารพต่อหลักการ แห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเองแห่งประชาชนทั้งปวงเป็นมูลฐานและจะได้ดำเนิน มาตรการอันเหมาะสมอย่างอื่น เพื่อเป็นกำลังแก่สันติภาพสากล 3. เพื่อทำการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นหลักมูลฐานสำหรับทุก ๆ คนโดยปราศจากความแตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางและประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งปวงในอันที่จะ บรรลุจุดหมายปลายทางเหล่านี้ร่วมกันด้วยความกลมกลืน"ดังนั้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 สมัชชาแห่งสหประชาชาติจึงได้ลงข้อมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชุมชนระหว่างประเทศ ที่ได้ยอมรับผิดชอบที่จะให้ความคุ้มครอง และเคารพปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยข้อความรวม 30 มาตรา กล่าวถึง1. สิทธิของพลเมืองทุกคนที่จะมีเสรีภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งสิทธิทางการเมือง2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 1 และ 2 เป็นมาตราที่กล่าวถึงหลักทั่วไป เช่น มนุษย์ปุถุชนทั้งหลายต่างเกิดมาพร้อมกับ อิสรภาพ และทรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่ระบุในปฏิญญาสากล โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างใด ๆ เชื้อชาติ เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรืออื่น ๆ ต้นกำเนิดแห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สินหรือสถานภาพอื่น ๆ ส่วนสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น ได้รับการรับรองอยู่ในมาตร 3 ถึง 21 ของปฏิญญาสากล เช่น รับรองว่าทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ มีเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย มีอิสรภาพจากความเป็นทาสหรือตกเป็นทาสรับใช้ มีเสรีภาพจากการถูกทรมาน หรือการถูกลงโทษอย่างโหดร้าย สิทธิที่จะได้รับการรับรองเป็นบุคคลภายใต้กฎหมาย ได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย มีเสรีภาพจากการถูกจับกุม กักขัง หรือถูกเนรเทศโดยพลการ มีสิทธิที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ สิทธิที่จะมีสัญชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแต่งงานและมีครอบครัว เป็นต้นส่วนมาตรา 22 ถึง 27 กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม เช่น มีสิทธิที่จะอยู่ภายใต้การประกันสังคม สิทธิที่จะทำงาน สิทธิที่จะพักผ่อนและมีเวลาว่าง สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพสูงพอที่จะให้มีสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิที่จะได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมของ ชุมชน มาตรา 28 ถึง 30 กล่าวถึงการรับรองว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะมีขีวิตอยู่ท่ามกลางความสงบเรียบร้อยของสังคมและระหว่าง ประเทศ และขณะเดียวกันได้เน้นว่า ทุกคนต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชุมชนด้วยสมัชชาสหประชาชาติได้ประกาศ ให้ถือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันที่ทุกประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ และเรียกร้องให้รัฐสมาชิกของสหประชาชาติช่วยกันส่งเสริมรับรองเคารพสิทธิและ เสรีภาพตามที่ปรากฎในปฏิญญาสากลโดยทั่วกัน โดยเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ สมัชชาสหประชาชาติจึงลงมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ให้ถือวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชนทั่วโลก [การทูต] |
| There ain't many guys travel around together. I don't know why. | ไม่ค่อยมีคนเดินทางร่วมกัน ฉันไม่รู้หรอกว่าทำไม Of Mice and Men (1992) | What's this, there's people singing songs, what's this | นี่อะไร มีผู้คนร่วมกันร้องเพลง นี่อะไร The Nightmare Before Christmas (1993) | And sit together | และอยู่ร่วมกัน The Nightmare Before Christmas (1993) | Let's get together, please. | ถ่ายรูปร่วมกันหน่อยค่ะ. Schindler's List (1993) | Would you tell him that I'd be more than happy to help out... with lab time and materials, even some space... if-- l don't know what you think-- he might be amenable to sharing. | ช่วยบอกเขาหน่อยว่าฉันยินดีจะให้ความช่วยเหลือ เวลาใช้ห้องแล็บ อุปกรณ์ หรือแม้แต่แบ่งห้องแล็บ ฉันว่าเขาคงไม่รังเกียจที่จะใช่ห้องร่วมกันได้ Junior (1994) | You know, we're in this together, now. We have a contract. | เราทำงานร่วมกันนะ เรามีสัญญาต่อกันอยู่ Junior (1994) | I want us to do this together. | ผมอยากให้เราทำมันร่วมกัน Junior (1994) | You just can't walk into a restaurant, roll a joint and start puffing' away. | คุณเพียงแค่ไม่สามารถเดินเข้าไปในร้านอาหาร, ม้วนร่วมกันและเริ่มต้นนกพัฟฟิน 'ออกไป Pulp Fiction (1994) | That's that Hawaiian burger joint. | ที่ว่าชาวเมืองร่วมกันที่ฮาวาย Pulp Fiction (1994) | When you little scamps get together, you're worse than a sewing circle. | เมื่อคุณ scamps เล็ก ๆ น้อย ๆ ได้ร่วมกันคุณจะเลวร้ายยิ่งกว่าวงกลมเย็บผ้า Pulp Fiction (1994) | His first night in the joint, Andy Dufresne cost me two packs of cigarettes. | คืนแรกของเขาในการร่วมกันแอนดี้ Dufresne ค่าใช้จ่ายฉันสองแพ็คของบุหรี่ The Shawshank Redemption (1994) | Folks around this joint love surprise inspections. | คนรอบนี้ความรักร่วมกันตรวจสอบความประหลาดใจ The Shawshank Redemption (1994) | I thought of getting a board together. | ผมคิดว่าการได้รับคณะกรรมการร่วมกัน The Shawshank Redemption (1994) | It's funny, um, we agreed we'd spend our lives together. | โทษนะ เราตกลงว่าจะใช้ชีวิตร่วมกัน The One with the Sonogram at the End (1994) | We've been coexisting quite nicely with the native cultures for the past 200 years. | เราอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นอย่างดีกับชนพื้นเมือง... Ace Ventura: When Nature Calls (1995) | Say hello to my stinky little friend! | ...คนกับสัตว์อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ โทษทีที่ช้าไปหน่อย เอซ Ace Ventura: When Nature Calls (1995) | But you have got to be present like a normal guy. | แต่คุณต้องอยู่ร่วมกัน Heat (1995) | We took some major scores together. | เราเคยทำงานใหญ่ร่วมกัน Heat (1995) | Remember, share. It's share and share alike. | โปรดจำไว้ว่าหุ้น มันร่วมกัน และร่วมกันเหมือนกัน Snow White and the Seven Dwarfs (1937) | You can tear the joint apart, and nobody says a word. | ร่วมกันและไม่มีใครพูดคำ Pinocchio (1940) | - Yes! We are all together again! | เราทุกคนร่วมกันอีกครั้ง! Pinocchio (1940) | He's a common, ignorant slob. | เขาเป็นคนที่ร่วมกันสกปรกไม่รู้ 12 Angry Men (1957) | Now we are joined together and have been since noon. | ตอนนี้เรามีร่วมกัน และได้รับตั้งแต่เที่ยง The Old Man and the Sea (1958) | I've always thought that when the time came, we'd all get on splendidly together. | ฉันคิดเสมอว่าเมื่อเวลานั้นมาถึง เราทุกคนจะได้รับในการผงาด ร่วมกัน How I Won the War (1967) | I do know we're all going to get on splendidly together. | จะได้รับในการผงาดร่วมกัน How I Won the War (1967) | When I went to the hospital, her nose was broken, her jaw was shattered, held together by wire. | เมื่อผมไปโรงพยาบาลที่จมูกของเธอถูกทำลาย ขากรรไกรของเธอถูกทำลาย, จัดขึ้นร่วมกันโดยใช้ลวด The Godfather (1972) | -Anybody know this joint? | - ใครรู้ร่วมกันนี้ The Godfather (1972) | Don't expect me to deflower you. In time we will decide.. | อย่าหวังว่าฉันจะช่วยแก คราวนี้พวกฉันจะตัดสินร่วมกัน Salò, or the 120 Days of Sodom (1975) | I bet we'll do nicely together. I think you're sweet. | เราคงอยู่ร่วมกันได้ เธอน่ารักออก. Suspiria (1977) | How the hell did you get all this together? | ว่านรกคุณไม่ได้รับทั้งหมดนี้ ร่วมกัน? Mad Max (1979) | My name is John Rambo. We served on the same team together in Nam. | ชื่อของผมคือ จอห์นแรมโบ้ เราทำหน้าที่ในทีมเดียวกันร่วมกันใน เนม First Blood (1982) | I'm trying to hold him together, I put him together the fucking entrails keep coming out! | ผมพยายามที่จะจับเขาร่วมกัน ผมวางเขาไว้ด้วยกัน อวัยวะให้ออกมา First Blood (1982) | Yet men governments, dignitaries from all over the world have joined hands today to pay homage to this little brown man in the loincloth who led his country to freedom. | แต่ผู้คน รัฐบาล ผู้มีเกียรติจากทั่วโลก ได้ร่วมกันไว้อาลัย Gandhi (1982) | We're not resisting anything but the idea that people can't live together. | เราไม่ต่อต้านเรื่องใด นอกจากเรื่องที่คนเราอยู่ร่วมกันไม่ได้ Gandhi (1982) | Take the seventh step that we may ever live as friends. | ก้าวที่เจ็ด เราจะอยู่ร่วมกันเหมือนเพื่อน Gandhi (1982) | The president addressed Congress the other day. | เซสชั่นร่วมกันของรัฐสภาเมื่อ วานนี้ เขาบอกว่าเขาไม่จะ 2010: The Year We Make Contact (1984) | Let's get 'em together. | ให้ของได้รับพวกเขาร่วมกัน ใช่. 2010: The Year We Make Contact (1984) | Nice if we have a world they can get together in. | ดีถ้าเรามีโลก พวกเขาสามารถได้รับร่วมกัน ใน 2010: The Year We Make Contact (1984) | Sweetheart, after all the fun we've had together? | ที่รักหลังจากที่ทุกความสนุกที่เราเคยร่วมกัน? Indiana Jones and the Temple of Doom (1984) | It seemed to me the best way to do it and to free all of you from the same burden of blackmail was to get everyone face to face, confront Mr. Boddy with his crimes, and then turn him over to the police. | แล้วมันเหมือนจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด และมันปลดปล่อยทุกคน ออกจากการแบล็กเมล์ โดยให้พวกคุณมาร่วมกัน Clue (1985) | The two shortest together, the next two shortest together. | ไม้สั้นที่สุดอยู่ร่วมกัน ไม้ยาวถัดมาก็อยู่ร่วมกัน ตกลงไหม? Clue (1985) | now... if you feel you can work together, you're on your way up. | ถ้าพวกคุณทำงานร่วมกันได้ ก็จะได้เลื่อนขั้น Spies Like Us (1985) | Every time I get a little busy with something, I don't want you to run off and get married Me neither | ผมหวังว่าพวกคุณจะนึกถึงพวกเรา อะไรๆที่พวกเราได้ทำและใช้เวลาร่วมกัน Full House (1987) | What we've shared won't be forgotten | สิ่งที่เราสนุกร่วมกันจะไม่มีวันเลือนหาย Dirty Dancing (1987) | Brings mind, body, spirit together. | นำจิตใจร่างกายจิตวิญญาณร่วมกัน Bloodsport (1988) | I have a loyalty to the men I was out there with. | เพราะผมจงรัก ต่อพวกพ้องที่ออกทำงานร่วมกัน Casualties of War (1989) | That's not all we shared. | นั่น ไม่ใช่ สิ่งที่เราทำร่วมกัน. Indiana Jones and the Last Crusade (1989) | If we act together, we will survive together. | ถ้าเราทำหน้าที่ร่วมกันเราจะอยู่รอดร่วมกัน The Russia House (1990) | Together we will punish these creatures. | ร่วมกันเราจะลงโทษเหล่านี้ ... สิ่งมีชีวิต ... Teenage Mutant Ninja Turtles (1990) | Together, there is nothing your four minds cannot accomplish. | ร่วมกันมีอะไรสี่จิตใจของคุณไม่สามารถประสบความสำเร็จ Teenage Mutant Ninja Turtles (1990) |
| ใช้ร่วมกัน | [chai ruam kan] (v, exp) EN: share | การได้ประโยชน์ร่วมกัน | [kān dāi prayōt ruam kan] (n, exp) EN: protocooperation | การลงทุนร่วมกัน | [kānlongthun ruam kan] (n, exp) EN: joint venture | การแถลงร่วมกัน | [kān thalaēng ruam kan] (n, exp) EN: joint declaration FR: déclaration commune [ f ] | การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ | [kān yū ruam kan yāng santi] (n, exp) EN: peaceful co-existence FR: coexistence pacifique [ f ] ; cohabitation pacifique [ f ] | ความรับผิดชอบร่วมกัน | [khwām rapphitchøp ruam kan] (n, exp) EN: collective responsibility FR: responsabilité collective [ f ] | ความรับผิดร่วมกัน | [khwām rapphitruam kan] (n, exp) EN: joint liability | ความยินยอมร่วมกัน | [khwām yinyøm ruam kan] (n, exp) EN: mutual consent | มีจุดศูนย์กลางร่วมกัน | [mī jutsūnklāng ruam kan] (adj) EN: concentric FR: concentrique | นโยบายร่วมกัน | [nayōbāi ruam kan] (n, exp) EN: coordinated policy | ภาวะอยู่ร่วมกัน | [phāwa yū ruam kan] (n) EN: symbiosis FR: symbiose [ f ] | ผลประโยชน์ร่วมกัน | [phonprayōt ruam kan] (n, exp) EN: common interest ; mutual benefit | ร่วมกัน | [ruam kan] (x) EN: mutual FR: de concert ; tous ensemble | อยู่ร่วมกัน | [yū ruam kan] (v, exp) EN: get along FR: coexister ; cohabiter ; s'entendre |
| copreneur | (n) สามีและภรรยาที่เป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน เช่น She found that copreneur relationships are significantly less egalitarian than dual-career marriages. | commitment | (n) ฉันทามติ, ข้อตกลงร่วมกันของกลุ่ม ไม่ได้หมายถึงการรับผิดร่วมกัน | civil society | (n) ประชาสังคม เป็นการรวมกลุ่มของประชาชนโดยมีจิตสำนึกร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาของสังคม เช่น Civil society is much talked about, but rarely understood. John Edwards explores the practical and theoretical significance of civil society. |
| accord | (n) การตกลงร่วมกัน, See also: การยอมรับร่วมกัน, Syn. harmony | accordance | (n) การยอมรับร่วมกัน, See also: การเห็นพ้องต้องกัน, Syn. agreement, conformity, harmony | according | (adj) ที่ยอมรับร่วมกัน, See also: ที่เห็นด้วย, ที่เห็นพ้องต้องกัน, Syn. agreeing | accrete | (vi) เกิดร่วมกัน, Syn. adhere | accrete | (vt) ทำให้เกิดร่วมกัน | Adventist | (n) สมาชิกของศาสนาคริสต์ที่มีความเชื่อร่วมกัน, See also: สมาชิกของศาสนาคริสต์ที่เชื่อถือว่าพระเยซูคริสต์จะมาจุติในโลกอีก | agreement | (n) การเห็นพ้อง, See also: การเห็นด้วย, การเห็นชอบร่วมกัน, การยอมรับร่วมกัน, Syn. complying, accession, agreeing, Ant. disagreeing, disrupting | bee | (n) การรวมตัวเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน, See also: งานสังสรรค์ | band together | (phrv) ร่วมกันต่อต้าน, See also: ร่วมต้าน | break up | (phrv) เลิกกัน, See also: แยกทางกัน, ไม่อยู่ร่วมกัน, Syn. bust up, split up | buckle to | (phrv) ร่วมกันทำงาน, See also: พยายามร่วมกัน, Syn. buckle down, knuckle down | cahoots | (n) การร่วมกันวางแผนหรือกระทำให้สิ่งที่ไม่ดี (คำสแลง) | car pool | (n) กลุ่มของคนที่มาใช้รถร่วมกันเพื่อไปในสถานที่เดียวกัน | carpool lane | (n) ช่องถนนสำหรับรถยนต์ที่ใช้ร่วมกันหลายคน | cartel | (n) กลุ่มบริษัทที่ตกลงราคาขายร่วมกันเพื่อไม่ให้มีการแข่งขันกัน, Syn. combine, corporate trust, trust | co- | (prf) ร่วมกัน | coact | (vi) ทำงานร่วมกัน, Syn. interreact, combine, associate | coaction | (n) การกระทำการร่วมกัน | coalition | (n) การรวมเป็นหนึ่งเดียว, See also: การร่วมกัน, การร่วมมือกัน, การประสานกัน, สัมพันธมิตร, Syn. partnership, league, cooperation, combination, solidification | coauthor | (vt) เขียนร่วมกัน | coaxal | (adj) ที่มีแกนกลางร่วมกัน, Syn. coaxial | coaxial | (adj) ที่มีแกนกลางร่วมกัน, Syn. coaxal | coed | (adj) ที่เป็นสหศึกษา, See also: ที่ผู้หญิงและชายเรียนร่วมกัน | coexist | (vi) อยู่ด้วยกัน, See also: อยู่ร่วมกัน, อยู่ในสมัยเดียวกัน, Syn. exist together, exist side-by-side, synchronize | coexist | (vi) อยู่ร่วมกันอย่างสงบ | cohesion | (n) การทำงานร่วมกัน, See also: การประสานกัน, การสอดคล้องกัน, Syn. union | collaborate | (vi) ร่วมมือ, See also: ทำงานร่วมกัน, Syn. collude, team up, work together | collocate | (vi) เกิดร่วมกันเสมอ (คำในภาษา) | collocate | (n) คำที่มักเกิดร่วมกัน | collocation | (n) การเกิดร่วมกัน | common | (adj) ที่ร่วมกัน, Syn. shared, joint, mutual | commune | (n) คนที่อยู่ร่วมกันเป็นสังคมเดียวกัน | compatible | (adj) ที่ทำงานร่วมกันได้, Syn. cooperative | concert | (n) การเห็นพ้องร่วมกัน, Syn. agreement, harmony | concert | (vi) ระดมความคิด, See also: ช่วยกันคิด, วางแผนร่วมกัน | concert | (vt) ระดมความคิด, See also: ช่วยกันคิด, วางแผนร่วมกัน, Syn. plan together, devise | concerted | (adj) ที่กระทำร่วมกัน, Syn. combined, mutual | concur | (vi) กระทำร่วมกัน, Syn. act together | concurrent | (adj) ที่กระทำร่วมกัน, Syn. cooperating, mutual | conjunction | (n) การเกิดขึ้นร่วมกัน | consensual | (adj) ที่เห็นร่วมกัน, See also: ที่ยอมรับร่วมกัน, Syn. mutual consent | consort | (vt) ทำให้สัมพันธ์กัน, See also: ทำให้ร่วมกัน, ทำให้เกี่ยวพันกัน | consort | (vi) สัมพันธ์กัน, See also: ร่วมกัน, เกี่ยวพันกัน | conspire | (vi) ร่วมกันวางแผนอย่างลับๆ, Syn. plot, scheme, plan | cooperate | (vi) ร่วมมือ, See also: ทำงานร่วมกัน, Syn. combine, join, team up | cooperation | (n) การทำงานร่วมกัน, See also: การร่วมมือกัน | cooperative | (adj) ซึ่งทำงานร่วมกัน, Syn. combined, concerted, united | cooperative | (adj) ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมกัน (ห้องชุด) | corporate | (adj) ที่ร่วมกัน, See also: ที่แชร์ร่วมกัน, Syn. joint, common | corps | (n) กลุ่มคนที่ทำงานร่วมกัน |
| a mensa et thoro | (เอเมน' ซะ เอทโธ' โร) เกี่ยวกับการหย่าร้างที่ไม่ให้สามี และภรรยาอยู่ร่วมกันและพันธะการสมรสยังไม่ขาดจากกัน | accrete | (อะครีท') vi., vt. เกิดร่วมกัน, เพิ่มทวี, เพิ่ม, พอก, งอกร่วมกัน. -accretion n. | amalgamation | (อะแมลกะเม' เชิน) n. การรวมกับปรอท, ผลที่เกิดจากการรวมกับปรอท, การรวมบริษัทกัน, การร่วมกันทางชีวภาพของเผ่าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต, การสกัดโลหะจากแร่ด้วยปรอท (union, blend) | amphimixis | (แอมฟิมิค' ซิส) n., (pl. -mixes) n. การรวมตัวกันของเซลล์เพศ (ในขบวนการผสมพันธุ์กันแบบใช้เพศ) , การร่วมกันของเซลล์เพศพ่อและเซลล์เพศแม่ | appletalk | (แอปเปิลทอล์ค) ในปัจจุบัน มีการนำเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องมาใช้ร่วมกัน เพื่อทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่เรียกว่า "ข่ายงาน" (network) การทำเช่นนี้จำเป็นจะ ต้องมีระบบประสานการใช้เครื่อง แอปเปิล ทอล์คนั้น ทำหน้าที่นี้ แต่ใช้สำหรับทำให้นำเครื่องแอปเปิลแมคอินทอชและเครื่องไอบีเอ็ม พีซีซึ่งมีระบบปฏิบัติการต่างกันมาใช้ร่วมกันในข่ายงานเดียวกันได้ เครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชทุกเครื่องจะมีช่องต่อออก สำหรับแอปเปิลทอลค์ แต่ไอบีเอ็มพีซียังไม่มี ดู network ประกอบ | ascii file | แฟ้มข้อมูลแอสกี <คำแปล>หมายถึงแฟ้มข้อมูลที่ไม่ใช่โปรแกรม มีตัวอักขระที่ใช้เป็นรหัสแอสกีทั้งหมด บางที เรียกว่า " text file " แฟ้มแอสกี (ASCII file) มีลักษณะเฉพาะคือเป็นแฟ้มที่ไม่มีรูปแบบในการจัดหน้า ข้อความจะยาวไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีการขึ้นบรรทัดใหม่ นอกจาก จะเริ่มระเบียนใหม่ โปรแกรมเวิร์ด สตาร์ (WordStar) เป็นผู้นำคำนี้มาใช้ก่อน (ตรงข้ามกับ document file ซึ่งหมายถึง แฟ้มข้อมูลที่มีการจัดรูปหน้าไว้แล้ว) ส่วนมากจะใช้ศัพท์นี้เมื่อต้องการเปลี่ยน (convert) แฟ้มข้อมูลของโปรแกรมหนึ่งเป็นอีกโปรแกรมหนึ่ง เช่นจาก Word Perfect เป็น Microsoft Word ในกรณีเช่นนี้ อาจจะมีเมนูให้เลือกได้ว่าจะเปลี่ยนเป็น text file หรือ ASCII file หรือไม่ ซึ่งก็หมายความว่าเปลี่ยนเป็นแฟ้มข้อมูลที่ใช้รหัสแอสกีทั้งหมด ทำให้สามารถใช้ร่วมกันได้ ภายใต้ระบบปฏิบัติการเดียวกัน นิยมใช้กันมากในระบบสื่อสารและถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล | association | (อะโซชีเอ'เชิน) n. สมาคม, บริษัท, การร่วมกัน, ความสัมพันธ์, สันนิบาตพันธมิตร, สหภาพ, การเชื่อมติดกัน, ความคิดเห็นร่วมกัน, กลุ่มของพืชที่อยู่ร่วมกัน, เกมฟุตบอล, การสังสรรค์, Syn. fellowship, organization, link | associative | (อะโซ'ชิเอทิฟว) adj. ร่วมกันเชื่อมโยง (pertaining to association) | campus area network | ข่ายงานบริเวณวิทยาเขตหมายถึงข่ายงานร่วมกันภายในแต่ละมหาวิทยาลัยที่มีวิทยาเขต (campus) หลายวิทยาเขต คอมพิวเตอร์ในแต่ละวิทยาเขตจะทำงานร่วมกันได้ ใช้ข้อมูลหรือโปรแกรมร่วมกันได้ ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือใช้อุปกรณ์บางอย่างร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ นับเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดีดู local area network ประกอบ | client's server network | ข่ายงานแฟ้มบริการหมายถึง ข่ายงานที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละคนสามารถใช้โปรแกรมหรือข้อมูลร่วมกันได้ (server network) แต่ในขณะเดียวกัน คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่าย ก็สามารถทำงานตามลำพังของตนเองโดยอิสระก็ได้ด้วย (client server) | club | (คลับ) { clubbed, clubbing, clubs } n. กระบอง, ไม้พลอง, ไม้ (ลูกกอล์ฟหรือฮอกกี้) , ไนต์คลับ, สโมสร, ชมรม, รูปดอกจิกบนไพ่, ส่วนที่คล้ายกระบอง v. ตีด้วยกระบองหรือไม้, รวมกลุ่มเป็นคลับ, รวมกัน, รวบรวม, ช่วยกันเสียค่าใช้จ่าย adj. ร่วมกัน, Syn. staff | coact { coacted | vt., vi. กระทำร่วมกัน, ทำร่วมกัน, See also: coactive adj. ดูcoact coactivity n. ดูcoact | coacting | vt., vi. กระทำร่วมกัน, ทำร่วมกัน, See also: coactive adj. ดูcoact coactivity n. ดูcoact | coaction | (โคแอค'-) n. การกระทำร่วมกัน, แรงดัน, ปฎิกริยาระหว่างสิ่งมีชีวิต | coacts } | vt., vi. กระทำร่วมกัน, ทำร่วมกัน, See also: coactive adj. ดูcoact coactivity n. ดูcoact | coalition | (โคอะลิช'เชิน) n. การร่วมกัน, การร่วมมือกัน, สัมพันธมิตร, รัฐบาลผสม, การประสานกัน., See also: coalitionist, coalitoiner n., Syn. alliance | coexist | vt. อยู่ร่วมกัน, See also: coexistent adj. ดูcoexist coexistence n. ดูcoexist | coextend { coextended | v. ขยายออกร่วมกันหรือเท่ากันในระยะเวลาเดียวกัน, See also: coextension n. | coextending | v. ขยายออกร่วมกันหรือเท่ากันในระยะเวลาเดียวกัน, See also: coextension n. | coextends } | v. ขยายออกร่วมกันหรือเท่ากันในระยะเวลาเดียวกัน, See also: coextension n. | cohabit | vi. อยู่กินด้วยกันอย่างสามีภรรยา, อยู่ร่วมกัน, อยู่ในที่เดียวกัน., See also: cohabitant n. ดูcohabit cohabitation n. ดูcohabit | cohesion | (โคฮี'เชิน) n. การเกาะติด, การเกาะกัน, การร่วมกัน | collectivism | n. ลัทธิกรรมสิทธิร่วมกัน, ลัทธิส่วนรวม, , See also: collectivist n. collectivistic adj. | commeasure | (คะเมซ'เชอะ) { commeasured, commeasuring, commeasures } vt. เทียบเท่ากับ, ขยายออกร่วมกัน., See also: commeasurable adj. ดูcommeasure | common | (คอม'เมิน) adj. ร่วมกัน, ธรรมดา, สามัญ, ซึ่งรู้จักกันดีในทางเลว, พร้อมกัน, เหมือนกัน, สาธารณะ n., See also: commons n., pl. คนสามัญ, สมาชิกสภาล่าง, ห้องอาหารขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในมหาวิทยาลัย, Syn. habitual, ordinary, usual -Conf. mutu | common room | n. ห้องรวม, ห้องใช้ร่วมกัน | common user access | การเข้าถึงผู้ใช้ร่วมกันใช้ตัวย่อว่า CUA หมายถึง ตัวชี้นำ (guidelines) ที่ เครื่องไอบีเอ็มสร้างขึ้นมา ใช้เพื่อทำให้การเข้าสู่โปรแกรมมีลักษณะเป็นแบบเดียวกัน แม้แต่เครื่องแมคอินทอชก็ใช้ตัวชี้นำนี้ | commonable | (คอม'มะนะเบิล) adj. ซึ่งใช้ร่วมกันเพื่อสาธารณประโยชน์, สาธารณะ, เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ร่วม, พอจะปล่อยเลี้ยงในที่สาธารณะได้ | commonweal | (คอม'มันวีล) n. ความผาสุกร่วมกัน, สาธารณประโยชน์ | communion | (คะมิว'เยิน) n. การร่วมกัน, การเข้าร่วม, การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น, นิกายศาสนา, กลุ่มคนที่มิเชื่อในศาสนาเหมือนกัน, การรับอาหาร (ขนมปัง) จากพระเจ้าในพิธีศีลมหาสนิท (Eucharist) , พิธีศีลมหาสนิท, Syn. intercourse, fellowship, asociation, afinity | complicity | (คอมพลิส'ซิที) n. การเป็นผู้ร่วมงาน, การเป็นผู้สมคบ, ความสัมพันธ์ที่ร่วมกันกระทำความผิด | complot | (n. คอม'พลอท; v คัมพลอท') { complotted, complotting, complots } n., vt., vi, วางแผนร่วมกัน | computer network | ข่ายงานคอมพิวเตอร์เครือข่ายคอมพิวเตอร์หมายถึงระบบการนำเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่อง หรือเครื่องปลายทาง (terminal) หลาย ๆ เครื่องมาทำงานร่วมกัน โดยอาจใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องร่วมกัน เช่น สื่อนำข้อมูลเข้า/ออก เครื่องพิมพ์ โมเด็ม (modem) เป็นต้น การทำงานเป็นเครือข่ายจะทำให้ดึงข้อมูลจากกันและกันมาใช้ หรือใช้ร่วมกันได้ | computer virus | ไวรัสคอมพิวเตอร์หมายถึง โปรแกรมที่คนบ้า ๆ เขียนซ่อนไว้เพื่อทำลายโปรแกรม แฟ้มข้อมูลหรือ อุปกรณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติประการหนึ่ง คือ เกาะติดตามไปกับโปรแกรม หรือแฟ้มข้อมูลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แฟ้มข้อมูล command.com ทำให้มีการติดต่อระบาดไปในที่ต่างได้เหมือนเชื้อไวรัส สาเหตุของการติดไวรัส ก็คือมีการใช้จานบันทึกร่วมกัน ไวรัสเหล่านี้มักจะกำหนดมาให้เพิ่มความสามารถในการทำลายทุกครั้งที่เปิดเครื่อง หรือทุกครั้งที่ใช้โปรแกรมนั้น วิธีการป้องกันไวรัสในขั้นต้นก็คือ 1. อย่าใช้จานบันทึกของผู้อื่น หรือร่วมกับผู้อื่น2. ใช้โปรแกรมที่สามารถตรวจสอบและกำจัดไวรัสได้เป็นประจำ หรือทุกครั้งที่ใช้จานบันทึกในหน่วยบันทึก A: หรือ B: รวมทั้งจัดการใช้วัคซีนฉีดกันไว้ก่อน แม้ว่าในปัจจุบัน ไม่สู้จะได้ผลนัก เพราะมีไวรัสใหม่ ๆ เพิ่มมาทุกวัน (ดู vaccine) 3. จัดรูปแบบการบันทึกข้อมูล (format) ใหม่ วิธีนี้รับประกันได้ผลแน่นอน แต่ก็ต้องเข้าใจด้วยว่า ข้อมูลหรือโปรแกรมอื่นที่เก็บไว้แม้จะยังมิได้ติดไวรัสก็จะหายไปหมด พร้อมกับไวรัส | concert | (คอน'เซิร์ท) { concerted, concerting, concerts } n. การแสดงดนตรี, มโหรี, ความสอดคล้อง, การร่วมมือกัน, ความพร้อมเพรียงกัน -Phr. (in concert ร่วมกัน) adj. สำหรับการแสดงดนตรี, เกี่ยวกับการแสดงดนตรี. vt. กระทำหรือกำหนดร่วมกัน, Syn. unity, harm | concerted | (คันเซิร์ทฺ'ทิด) adj. ซึ่งกระทำหรือกำหนดร่วมกัน, ซึ่งกระทำพร้อมกัน., See also: concertedly adv., Syn. cooperative | concomitance | (คันคอม'มิเทินซฺ) n. การอยู่ร่วมกัน, การเกิดขึ้นพร้อมกัน, การมาพร้อมกัน. n. คุณลักษณะหรือสิ่งที่เกิดขึ้นหรือมาพร้อมกัน, Syn. concurrence, attendance | concrescence | (คอนเครส'เซินซฺ) n. การเจริญเติบโตร่วมกัน, การเกิดร่วมกัน | concur | (คันเคอร์') { concurred, concurring, concurs } vi. เกิดขึ้นพร้อมกัน อย่างบังเอิญ, ประจวบกัน, เห็นด้วย, เห็นพ้อง, ทำงานร่วมกัน, ให้ความร่วมมือ, สนับสนุน, รวมกัน, Syn. assent, Ant. contend, deny | concurrent | (คันเคอ'เรินทฺ) adj. ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกันหรือร่วมกัน, พร้อมเพรียง, ซึ่งเห็นด้วย, ซึ่งมีอำนาจเท่ากัน, ซึ่งมีจุดร่วม, ซึ่งตัดกันที่จุดเดียวกัน. n. ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน, สิ่งสนับสนุน, คู่แข่ง, Syn. coexistent, compatible | condominium | (คอนดะมิน'เนียม) n. การร่วมกันควบคุมหรือปกครอง, รัฐบาลร่วม, บ้านอพาร์ทเม้นท์ที่ผู้อยู่มีกรรมสิทธิส่วนตัวของแต่ละห้องอาพาร์เม้นท์, ตึกอพาร์ทเม้นท์ดังกล่าว -pl. -niums | confederacy | (คันเฟด'เดอระซี) n. สหภาพ, สหพันธ์, กลุ่มคนที่กระทำการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, การร่วมกันคิดอุบาย, Syn. alliance, conspiracy, bloc, syndicate | confront | (คันฟรันทฺ') { confronted, confronting, confronts } vt. เผชิญหน้ากับ, พบกับ, นำมาร่วมกันเพื่อตรวจสอบหรือเปรียบเทียบ, See also: confrontment n. confronter n., Syn. oppose, face, meet, Ant. avoid, shun | conjugate | (คอน'จะเกท) { conjugated, conjugating, conjugates } vt., vi. รวม, เชื่อมผนึก, ผัน (กริยา) vi. ร่วม, แต่งงาน, ประสานกัน. adj. ซึ่งร่วมกัน, เป็นคู่, ซึ่งมีใบเล็กเพียงคู่เดียว n. คำผัน (กริยา), See also: conjugable adj. conjugative adj. conjugator n. คำ | conjunction | (คันจังคฺ'เชิน) n. สันธาน, การร่วมกัน, การชุมนุมกัน, การบังเกิดขึ้นพร้อมกัน, Syn. association | consensual | (คันเซน'?วล) adj. เกี่ยวกับการเห็นชอบด้วยทั้งสองฝ่าย, เกี่ยวกับการกระทำที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจร่วมกัน | conspiracy | (คันสเพอ'ระซี) n. การกบฏ, การสมคบร่วมคิด, การร่วมกันกระทำ., See also: conspirative, conspiratorial, conspiratory adj., Syn. plot | conspire | (คันสไพ'เออะ) { conspired, conspiring, conspires } v. วางแผนร้ายร่วมกัน, สมคบร่วมคิด, รวมหัวกันคิดอุบาย., See also: conspirator, conspirer, conspiratress conspiringly adv., Syn. plot | conterminous | adj. มีพรมแดนร่วมกัน, ซึ่งบรรจบกันตรงปลาย., See also: conterminousness n. ด | converge | (คันเวอจฺ') { converged, converging, converges } vi. เบนเข้าหากัน, เข้าหาผลประโยชน์ร่วมกัน vt. ทำให้บรรจบกัน |
| club | (vi) รวมหัวกัน, ช่วยกัน, ร่วมกัน | coexist | (vi) เกิดในเวลาเดียวกัน, อยู่ร่วมกัน | cohabit | (vt) อยู่ร่วมกัน, อยู่ด้วยกัน, อยู่กินกัน | cohesion | (n) การติดกัน, การเกาะกัน, การร่วมกัน | coincide | (vi) ร่วมกัน, พ้องกัน, เกิดขึ้นพร้อมกัน, ลงรอยกัน, เข้ากัน, สอดคล้องกัน, กันตรงกัน | concentric | (adj) มีศูนย์กลางร่วมกัน | concert | (vi, vt) เตรียมการ, ประสานงาน, ทำงานร่วมกัน | concerted | (adj) รวมกัน, ร่วมกัน, พร้อมเพรียงกัน | conjointly | (adv) โดยประสานกัน, โดยร่วมกัน | conjunctive | (adj) ซึ่งร่วมกัน, ซึ่งเชื่อมต่อ, ซึ่งกำหนดหน้าที่ต่อ | coordinate | (vt) ประสาน, ควบ, ร่วมกัน, เท่ากัน, อยู่ในระดับเดียวกัน | jointly | (adv) ร่วมกัน, โดยร่วมมือกัน, พร้อมกัน | mutual | (adj) ซึ่งกันและกัน, ร่วมกัน, ทั้งสองฝ่าย, สัมพันธ์กัน | quartet | (n การเล่นดนตรีร่วมกัน 4) คน | quartette | (n การเล่นดนตรีร่วมกัน 4) คน | quintet | (n การเล่นดนตรีร่วมกัน 5) คน | quintette | (n การเล่นดนตรีร่วมกัน 5) คน | teamwork | (n) การทำงานเป็นพวก, การทำงานเป็นทีม, การกระทำร่วมกัน | together | (adv) ด้วยกัน, ร่วมกัน, พร้อมกัน, ติดๆกัน | unionist | (n) สมาชิกสหภาพ, ผู้ถือสิทธิร่วมกัน |
| beeze | [บิซซี่] (n) การใช้ลมหายใจร่วมกัน, See also: A. no beeze, Syn. breeze | coexistence | (n) การอยู่รวมกัน (ของโลกตะวันออกและโลกคอมมิวนิสต์), อยู่ร่วมกัน, See also: coexist, Syn. coexistent | community enterprise | กิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการ หรือการอื่น ๆ ที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการดังกล่าว เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชน และระหว่างชุมชน | compute | (vt) compute vt. คึ่มพิ้วท์ (พบบ่อย) 1. คำนวณ nc. ค็อมพิ้วเตอร์ (บังคับ) 1. (comp.) คอมพิวเตอร์อุปกรณ์ประมวลผลที่มีความจำ ตามชุดคำสั่ง และสามารถบันทึกผลการประมวลได้ 2. (comp.) พนักงานคำนวณ ในแง่ที่ทำกันเป็นร้อยคน ในสมัยโบราณ ในงานดาราศาสตร์ (ความหมายโบราณ) nc. 1. (comp.) ศิลปะโดยคอมพิวเตอร์ คือ ศิลปที่สร้างหรือทำขึ้นโดยคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้คอมพิวเตอร์วาดภาพ หรือระบายสี เป็นต้น nc. 1. (comp.) คอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง คือ ได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดเมนเฟรม หรือมินิคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางเครือข่ายทำหน้าที่บริการด้านประมวลผลข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการในเครือข่าย nc. 1. (comp.) สกุลของคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในกลุ่มที่สร้างขึ้นจาก microprocessor ชนิดเดียวกัน หรือ คล้ายกัน ตัวอย่างสกุลของคอมพิวเตอร์ เช่น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของบริษัทไอบีเอ็ม และแบบ PS /2 nc. 1. (comp.) เกมคอมพิวเตอร์ คือ การเล่นเกมโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ การเล่นเกมในคอมพิวเตอร์ มักควบคุมการเล่นโดยคันโยก (joystick)หรือ แป้นพิมพ์ (keyboard) ก็ได้ nc. 1. (comp.) ชุดคำสั่งที่เขียนด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่งเพื่อจะนำไปใช้สั่งให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติงานตามคำสั่งนั้น ๆ nc. 1. (comp.) ระบบคอมพิวเตอร์ คือ ระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วยชุดฮาร์ดแวร์ และเครื่องอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ร่วมกันของระบบ เช่น ระบบไมโครคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยตัวเครื่อง ดิสก์ไดร้ว์ จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ และเมาส์ nc. 1. (comp.) ยุคพัฒนาการคอมพิวเตอร์ ในช่วงระหว่างกลางปี พ.ศ. 2503 - 2513 เป็นยุคที่คอมพิวเตอร์เปลี่ยนมาใช้ IC หรือวงจรรวม ชื่อเต็มว่า integrated circuit หรือ IC n. (ศัพท์คอม) 1. (comp.) ความสามารถที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ให้เป็นประโยชน์ nc. 1. (comp.) การใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการสอน มีความหมาย เช่นเดียวกับ computer-assisted instruction สามารถดูคำอธิบายใน CAI n. (ไม่ต้องท่อง) 1. (comp.) ศัพท์ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ v. (ไม่ต้องท่อง) 1. (comp.) ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำงาน | Crowdsourcing | การร่วมสร้างสรรค์ของกลุ่มคน (Crowd) เพื่อร่วมกันทำ หรือสร้างสิ่งต่างๆ รวมถึงแก้ไขปัญหาร่วมกัน จนกลายเป็นเทรนด์ฮิต ของการทำกิจกรรมในการตลาดออนไลน์ผ่าน Digital Campaign และการโฆษณาออนไลน์ Crowdsourcing ถอดออกมาเป็นคำว่า Crowd และ Outsourcing เป็นการกระจายปัญหาหรือวัตถุประสงค์บางอย่างเพื่อให้กลุ่มคนหรือชุมชนออนไลน์ มาร่วมกันแก้ปัญหาหรือทำอะไรตามวัตถุประสงค์นั้นๆ | interoperability | (n) การทำงานร่วมกัน | interoperability | (n) การทำงานร่วมกัน | potluck | (n) อาหารที่แต่ละคนเอามากินร่วมกัน | potluck | (n) อาหารที่แต่ละคนเอามากินร่วมกัน | sparkline | (n) แผนภูมิชนิดหนึ่ง ใช้เส้นและจุดเพื่อร่วมกันแสดงข้อมูล |
| 同棲 | [どうせい, dousei] (n) ใช้ชีวิตร่วมกันโดยไม่แต่งงาน |
| (株) | [かぶしきがいしゃ, kabushikigaisha] TH: บริษัทที่มีการถือหุ้นส่วนร่วมกัน | 相手 | [あいて, aite] TH: ผู้ที่กระทำอะไรร่วมกัน EN: companion | 相手 | [あいて, aite] TH: คู่ครอง หรือ ผู้ที่กระทำอะไรร่วมกัน EN: partner | 併せる | [あわせる, awaseru] TH: ร่วมกัน EN: to unite |
| Zusammenarbeit | การทำงานร่วมกัน, ร่วมมือกัน | gemeinsam | (adv) ด้วยกัน, ร่วมกัน เช่น Gemeinsam sind wir stark. พวกเราเข้มแข็งถ้าสามัคคีกัน | Zusammenarbeit | (n) |die, pl. Zusammenarbeiten| การทำงานร่วมกัน, ความร่วมมือ เช่น Die Deutsch-Indische Zusammenarbeit engagiert sich in der Entwicklungszusammenarbeit und der Völkerverständigung. |
| |
add this word
You know the meaning of this word? click [add this word] to add this word to our database with its meaning, to impart your knowledge for the general benefit
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |