คำลงท้าย | น. ข้อความที่เขียนไว้ท้ายจดหมายก่อนลงชื่อ เช่น ขอแสดงความนับถือ รักและคิดถึง. |
เพลงท้ายเครื่อง | ดู เพลงหางเครื่อง. |
ลงท่า | น. พระราชพิธีลงสรงในแม่น้ำของเจ้าฟ้า ทางราชการเรียกว่า พระราชพิธีสระสนาน |
ลงท่า | พิธีนำช้างลงสรงสนานที่ท่า. |
ลงท้าย | ก. จบ เช่น ลงท้ายจดหมายว่า ขอแสดงความนับถือ. |
ลงท้าย | ว. ในที่สุด เช่น พูดว่าจะให้เงิน ลงท้ายก็เหลว คนเราลงท้ายก็ต้องตายกันทุกคน, เรียกข้อความที่ลงท้ายจดหมาย เช่น ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง ว่า คำลงท้าย. |
กระหม่อม | ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชายใช้ทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. |
ขอเดชะ | น. คำขึ้นต้นและคำลงท้ายในการกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ. |
ครับ | (คฺรับ) ว. คำรับหรือคำลงท้ายอย่างสุภาพที่ผู้ชายใช้. |
คะ ๒ | ว. คำลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ต่อจากคำถามหรือคำแสดงความสงสัยเพื่อแสดงความสุภาพ เช่น อะไรคะ กระมังคะ, คำลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ต่อจากคำ ซิ นะ เพื่อแสดงความสุภาพ เช่น เชิญซิคะ ไปนะคะ. |
ค่ะ | ว. คำรับที่ผู้หญิงใช้อย่างเดียวกับ จ้ะ, คำลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ในการบอกให้ทราบอย่างสุภาพ เช่น ไปค่ะ ไม่ไปค่ะ. |
คำสร้อย | น. คำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทร้อยกรอง เพื่อความไพเราะของเสียงและความหมาย หรือเพื่อแสดงว่าจบตอน เช่น นาเฮย ฤๅ บารนี แก่แม่นา โสตถิ์เทอญ. |
งาสาน | น. เรียกพัดยศที่พื้นพัดสานด้วยงาช้าง เป็นเครื่องหมายฝ่ายอรัญวาสี ว่า พัดงาสาน, ในสมัยโบราณ สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ที่ลงท้ายสร้อยราชทินนามว่า “คามวาสี อรัญวาสี” มีพัดยศ ๒ เล่ม พัดแฉกพื้นกำมะหยี่ปักด้วยทองและเงิน เป็นเครื่องหมายฝ่ายคามวาสี พัดงาสาน เป็นเครื่องหมายฝ่ายอรัญวาสี. |
จัตวาศก | น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๔ เช่น ปีจอ จัตวาศก จุลศักราช ๑๓๔๔. |
จ๋า | คำลงท้ายคำร้องเรียก เช่น หนูจ๋า. |
ฉศก | (ฉอสก) น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๖ เช่น ปีชวด ฉศก จุลศักราช ๑๓๔๖. |
เดือนสุริยคติ | (-สุริยะคะติ) น. ช่วงเวลาประมาณ ๑ ใน ๑๒ ของปีสุริยคติ ได้แก่เดือนมกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม เดือนที่ลงท้ายด้วยอายนมี ๓๐ วัน เดือนที่ลงท้ายด้วยอาคมมี ๓๑ วัน และเดือนที่ลงท้ายด้วยอาพันธ์มี ๒๘ หรือ ๒๙ วัน. |
ตรีศก | น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๓ เช่น ปีระกาตรีศก จุลศักราช ๑๓๔๓. |
ทิ้งท้าย | ก. ปล่อยทีเด็ดตอนลงท้าย. |
เทอญ | (เทิน) ว. เถิด (ใช้เป็นคำลงท้ายข้อความที่แสดงความมุ่งหมายให้เป็นดังนั้นดังนี้, มักใช้ในการให้ศีลให้พร). |
โทศก | น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๒ เช่น ปีวอกโทศก จุลศักราช ๑๓๔๒. |
ธรรมคุณ | น. ชื่อบทแสดงคุณของพระธรรม มีบาลีขึ้นต้นว่า สฺวากฺขาโต และลงท้ายว่า ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ. |
นพศก | (นบพะ-) น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๙ เช่น ปีเถาะนพศก จุลศักราช ๑๓๔๙. |
นมักการ, นมัสการ | คำที่ใช้ขึ้นต้นและลงท้ายจดหมายที่มีไปถึงพระภิกษุสามเณร. |
นั้นแล | คำลงท้ายบอกว่าจบเรื่อง. |
นับถือ | ก. เชื่อถือยึดมั่น เช่น นับถือศาสนา, เคารพ เช่น นับถือผู้ใหญ่, ยกย่อง เช่น นับถือว่าเป็นครูบาอาจารย์, ใช้เป็นคำลงท้ายจดหมายแสดงความสุภาพว่า ด้วยความนับถือ หรือ ขอแสดงความนับถือ. |
เน้อ | ว. คำทอดเสียงลงท้ายบอกให้รู้ เช่น ขนมเน้อ ไปก่อนเน้อ. |
แน่ะ | ใช้ประกอบคำลงท้ายเพื่อเน้นความ เช่น ราคาตั้ง ๕๐ บาทแน่ะ. |
เบญจศก | น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๕ เช่น ปีกุน เบญจศก จุลศักราช ๑๓๔๕. |
ปัจฉิมลิขิต | (ปัดฉิม-) น. “เขียนภายหลัง” คือหนังสือที่เขียนเพิ่มเติมลงท้ายเมื่อเซ็นชื่อแล้ว, ใช้อักษรย่อว่า ป.ล. |
พ่ะย่ะค่ะ | ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชายใช้เพ็ดทูลพระราชวงศ์ที่ดำรงพระยศเจ้าฟ้า สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า พระพุทธเจ้าข้า. |
พัดงาสาน | น. พัดยศที่พื้นพัดสานด้วยงาช้าง เป็นเครื่องหมายฝ่ายอรัญวาสี, ในสมัยโบราณ สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ที่ลงท้ายสร้อยราชทินนามว่า “คามวาสี อรัญวาสี” มีพัดยศ ๒ เล่ม พัดแฉกพื้นกำมะหยี่ปักด้วยทองและเงิน เป็นเครื่องหมายฝ่ายคามวาสี พัดงาสาน เป็นเครื่องหมายฝ่ายอรัญวาสี. |
เพลงหางเครื่อง | น. เพลงที่ใช้บรรเลงต่อท้ายการบรรเลงเพลง ๓ ชั้นหรือเพลงเถา, เพลงท้ายเครื่อง ก็เรียก. |
ภาษาแบบแผน | น. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียวกันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า “ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม...” และลงท้ายว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...”, ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคลสำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับพิธีการ ก็เรียก. |
ยะ ๒ | ว. คำออกเสียงลงท้ายวลีหรือประโยค ถือว่าไม่สุภาพ เช่น ของกินนะยะ ของถวายพระนะยะ จะรีบไปไหนยะ. |
ลอย ๆ | อาการที่พูดห้วน ๆ ไม่มีหางเสียงไม่มีคำลงท้าย เช่น พูดลอย ๆ ไม่มีคะขา. |
แล ๒ | ทีเดียว, ฉะนี้, (มักใช้ในที่สุดประโยคหรือข้อความ หรือคำลงท้ายคำประพันธ์) เช่น ยมพะบาลจับผู้หญิงผู้ชายจำให้ขึ้นจำให้ลงหากันดั่งนั้น หลายคาบหลายคราลำบากนักหนาแล (ไตรภูมิ), ห่อนข้าคืนสม แม่แล (ตะเลงพ่าย). |
แล้วกัน | คำที่ใช้ลงท้ายข้อความแสดงว่าเป็นอันยุติกัน เช่น ขอโทษเขาเสียหน่อยก็แล้วกัน วันนี้ยังเขียนไม่เสร็จ เอาไว้พรุ่งนี้แล้วกัน. |
ว้า ๑ | ว. คำออกเสียงลงท้ายประโยคแสดงความสงสัยหรือปลอบใจเป็นต้น เช่น หายไปไหนว้า อย่าเสียใจไปเลยว้า. |
วินาศสันติ | (วินาด-) ก. จงพินาศ, จงฉิบหาย, เป็นคำแช่งที่ออกเสียงเพี้ยนมาจากคำลงท้ายในคาถาอาคมที่เป็นภาษาบาลีว่า วินสฺสนฺตุ. |
วิภัตติ | ประเภทคำในภาษาบาลีเป็นต้นที่แปลงท้ายคำแล้วเพื่อบอกการกหรือกาล เช่น ปุริโส (อันว่าบุรุษ) เป็น กรรตุการก ปุริสํ (ซึ่งบุรุษ) เป็น กรรมการก จรติ (ย่อมเที่ยวไป) เป็น ปัจจุบันกาล จริ (เที่ยวไปแล้ว) เป็นอดีตกาล จริสฺสติ (จักเที่ยวไป) เป็น อนาคตกาล. |
เว้ย | ว. คำลงท้ายของการร้องเรียก ถาม หรือขานรับเป็นต้น ใช้ในลักษณะที่ไม่สุภาพหรือเป็นกันเอง เช่น แดงเว้ย ไปไหนเว้ย ไปตลาดมาเว้ย เบื่อจริงเว้ย, โว้ย ก็ว่า. |
โว้ย | ว. คำลงท้ายของการร้องเรียก ถาม หรือขานรับเป็นต้น ใช้ในลักษณะที่ไม่สุภาพหรือเป็นกันเอง เช่น แดงโว้ย ไปไหนโว้ย ไปตลาดมาโว้ย เบื่อจริงโว้ย, เว้ย ก็ว่า. |
ศก ๒ | คำเรียกปีหนึ่ง ๆ ของจุลศักราช เพื่อให้ทราบว่าเป็นปีที่ลงท้ายด้วย ๑ ๒ ... หรือ ๐ เช่น ถ้าลงท้ายด้วย ๑ เรียกว่า เอกศก ลงท้ายด้วย ๒ เรียกว่า โทศก ... ลงท้ายด้วย ๐ เรียกว่า สัมฤทธิศก |
ศาลาลงสรง | (-สง) น. ศาลาที่สร้างขึ้นชั่วคราวสำหรับใช้ในพระราชพิธีโสกันต์หรือพระราชพิธีเกศากันต์และพระราชพิธีลงท่า. |
ศุภมัสดุ | (-มัดสะดุ) น. ขอความดีความงามจงมี, เป็นคำใช้ขึ้นต้นลงท้ายในประกาศที่เป็นแบบหรือข้อความที่สำคัญ เช่น ประกาศพระบรมราชโองการ. |
โศกนาฏกรรม | (โสกะนาดตะกำ, โสกกะนาดตะกำ) น. วรรณกรรมโดยเฉพาะประเภทละครที่ลงท้ายด้วยความเศร้าหรือไม่สมหวัง ตัวเอกในเรื่องจะตายในที่สุด เช่นเรื่องลิลิตพระลอ สาวเครือฟ้า โรเมโอ-จูเลียต, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปที่เป็นเรื่องเศร้าสลดใจ เช่น ชีวิตของเขาเป็นเหมือนโศกนาฏกรรม เกิดในตระกูลเศรษฐี แต่สุดท้ายต้องตายอย่างยาจก. |
สร้อย ๓ | (ส้อย) น. คำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทร้อยกรอง เพื่อให้ครบตามจำนวน เพื่อความไพเราะของเสียงและความหมายหรือเพื่อแสดงว่าจบตอน เช่น นา เฮย ฤๅ บารนี แก่แม่นา โสตถิ์เทอญ, คำสร้อย ก็ว่า |
สักวา | (สักกะวา) น. ชื่อคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง บทหนึ่งมี ๔ คำกลอน ขึ้นต้นด้วยคำ “สักวา” และลงท้ายด้วยคำ “เอย”, ชื่อลำนำเพลงอย่างหนึ่ง ร้องเป็นทำนองโต้ตอบกัน. |
สัปตศก | น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๗ เช่น ปีฉลูสัปตศก จุลศักราช ๑๓๔๗. |