สยาม, สยาม- | (สะหฺยาม, สะหฺยามมะ-) น. ชื่อเรียกประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ |
สยาม, สยาม- | ของประเทศไทย. |
สยามานุสติ | (สะหฺยามมานุดสะติ, สะหฺยามานุดสะติ) น. ชื่อพระราช-นิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นโคลง ๔ สุภาพ. |
สยามินทร์ | (สะหฺยามิน) น. ผู้เป็นใหญ่ในสยามหมายถึง พระมหากษัตริย์ของประเทศไทย. |
สยามรัฐ | (สะหฺยามมะ-) น. แคว้นไทย, ประเทศไทย. |
กระเหลียก | (-เหฺลียก) ก. เหลือบแล เช่น ครั้นเช้าไก่ขันเรียก ไก่กระเหลียกตาดู (ลอ), เขียนเป็น กรลยก ก็มี เช่น สูวนนเจดีรสสมีกรลยกงามหนกกหนา (จารึกสยาม หลัก ๒). |
กรุง | (กฺรุง) น. เมืองหลวง, เมืองซึ่งเป็นที่ตั้งรัฐบาลกลาง, แต่ก่อนหมายถึงประเทศก็ได้ เช่น กรุงสยาม กรุงจีน |
กฤตยา ๑ | (กฺริดตะ-) น. เกียรติ เช่น เสื่อมกฤตยาสยามยศ (ตะเลงพ่าย). |
กลม ๔ | (กฺลม) ว. ปวง, หมด, สิ้น, เช่น ทั้งกลม คือ ทั้งปวง, จึ่งได้เมืองแก่กู ทงงกลํ (จารึกสยาม) |
กลวง ๒ | (กฺลวง) น. บริเวณ, ที่ว่าง, ท่ามกลาง, เช่น ในกลวงป่าตาลนี๋มีศาลาสองอัน (จารึกสยาม). |
กลาย | (กฺลาย) ก. เปลี่ยนไป, แปรปรวนไป, เช่น หน้าหนาวกลายเป็นหน้าร้อน, เป็นอื่นไป, แปลงไป, เช่น ศรกลายเป็นทิพย์กระยาหาร เปรี้ยวหวานตกลงตรงหน้า (รามเกียรติ์ ร. ๒), (โบ; กลอน) ใช้ในความว่า กราย ก็มี เช่น ไปกลายบ๋านชองตนกดี (จารึกสยาม), จักเจริญสวัสดิภาพศักดิศรี ศัตรูไพรี บห่อนจะใกล้กลายตน (โชค–โบราณ). |
กว่า | (กฺว่า) ก. ไปจาก เช่น แทบทางที่จะกว่า (ม. คำหลวง จุลพน), ผิออกนางธจะกว่า (ม. คำหลวง กุมาร), ไป เช่น ลํ๋ตายหายกว่า (จารึกสยาม). |
กานท, กานท์ | (กานด, กาน) น. บทกลอน เช่น สารสยามภาคพร้อง กลกานท นี้ฤๅ (ยวนพ่าย). |
กุ ๓ | ก. กรุ เช่น กุกดดดาน คือ กรุกระดาน (จารึกสยาม). (ดู กรุ ๒). |
โกส | (โกด) น. ผอบ เช่น ในโกสทอง (จารึกสยาม). |
โขลน ๑ | เจ้าหน้าที่ประจำศาสนสถาน, เขียนเป็น โขลญ ก็มี เช่น มอบไว้ในความดูแลของโขลญพล (จารึกสยาม). |
เครือเทพรัตน์ | น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ชนิด Thepparatia thailandica Phuph. ในวงศ์ Malvaceae ใบเป็นใบเดี่ยว มี ๓-๕ แฉก ดอกสีม่วง ขอบเหลือง รูประฆัง ออกเป็นพวง ห้อยลง ผลมี ๕ ช่อง เป็นไม้ถิ่นเดียวของไทย ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. |
เงือด, เงือดงด | ก. อดกลั้น, ยับยั้ง, เช่น เงือดคำรบสองคาบสามคาบ (จารึกสยาม), จำต้องเงือดงดอดกลั้น คอยหยิบผิดมันให้จงได้ (สังข์ทอง). |
แง่ ๒ | น. ตัว เช่น แต่งแง่ (จารึกสยาม), มิแต่งแง่ให้แม่ชม มิหวีผมให้แม่เชย (ลอ). |
จแจ้น | ว. แตกจากหมู่, กระจัดกระจาย, ในคำว่า หนีญญ่ายพายจแจ้น (จารึกสยาม). |
จระเข้ | (จอระ-) น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน มีหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Crocodylidae ปากและหัวยาว ปลายปากนูนสูงขึ้นเป็นช่องเปิดของรูหายใจ เรียกว่า ก้อนขี้หมา ลำตัวกลมยาว หนังเป็นเกล็ดแข็งทั้งตัว หางแบนยาวทางข้างใช้โบกว่ายนํ้า มักหากินในนํ้า อาศัยบริเวณป่าริมน้ำ ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จระเข้บึง จระเข้นํ้าจืด หรือจระเข้สยาม ( Crocodylus siamensisSchneider) จระเข้นํ้าเค็ม อ้ายเคี่ยม หรืออ้ายทองหลาง ( C. porosus Schneider) และจระเข้ปากกระทุงเหวหรือตะโขง [ Tomistoma schlegelii (S. Müller) ], ตะเข้ หรือ อ้ายเข้ ก็เรียก, อีสานเรียก แข้, ปักษ์ใต้เรียก เข้ |
จำปีสิรินธร | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลาง ชนิด Magnolia sirindhorniae Noot. et Chalermglin ในวงศ์ Magnoliaceae ดอกสีขาวนวล กลีบดอกใหญ่ยาว ผลเป็นผลกลุ่ม รูปกลม ขึ้นในป่าพรุน้ำจืด ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. |
ช่วงเมือง | น. เมืองเล็กที่ขึ้นแก่เมืองหลวง เช่น ณกรุงพระมหานครศุโขไทยราชธานีบูรีรมย์สถาน เปนปิ่นอาณาประชาราษฎรชาวชนบทนิคมคามสยามประเทศทั้งมวน มีเมืองขึ้น ออก เอก โท ตรี จัตวา ช่วงเมือง กิ่งเมือง แผ่ผ้านพระราชอาชญาอาณาเขตร (ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์). |
ญญ่าย | (ยะย่าย) ว. แตกจากหมู่, กระจัดกระจาย, ในคำว่า หนีญญ่ายพ่ายจแจ้น (จารึกสยาม). |
ดาย | ทีเดียว, เท่านั้น, เช่น เดียวดาย เปล่าดาย พู้นมาดาย (จารึกสยาม) |
ตรีบูร | น. กำแพงล้อม ๓ ชั้น (รวมทั้งคู) เช่น เมืองสุโขทัยนี้ตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวา (จารึกสยาม), ต่อมาแม้จะเป็นกำแพงชั้นเดียวก็เรียกตรีบูรด้วย เช่น อยุธยาไพโรจน์ใต้ ตรีบูร (กำสรวล). |
ตวง ๑ | นับ, กะ, ประมาณ, ทำให้เต็ม, เช่น ก็นับตวงถ้วนไซร้ยังมาก (จารึกสยาม). |
ตวง ๒ | สัน. จนกระทั่ง เช่น อันนี้ไปอุเบกษา แลอยู่ตวงเจ้าของไปเถิง (จารึกสยาม). |
ใต้ฝ่าละอองพระบาท | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้แก่สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. |
ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย | ก. ถวาย (ใช้แก่สิ่งของเล็กหรือของที่ยกได้ที่ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี), เขียนว่า ทูลเกล้าฯ ถวาย ก็ได้ แต่ต้องอ่านว่า ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย. |
ไท ๑ | น. ไทย เช่น ปีโถะหนไทกัดเหมา (จารึกสยาม). |
น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย | ก. ถวาย (ใช้แก่สิ่งของใหญ่หรือของที่ยกขึ้นให้ไม่ได้ที่ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี), เขียนว่า น้อมเกล้าฯ ถวาย ก็ได้ แต่ต้องอ่านว่า น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย. |
นามาภิไธย | น. ชื่อ (ใช้เฉพาะสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี), ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนามาภิไธย เช่น ทรงลงพระนามาภิไธย. |
เนรกัณฐี | (เนระกันถี) น. แก้วมณีสีเขียว, บางทีเขียนเป็น เนระกันถี หรือ เนียรกัณฐี ก็มี เช่น กับหินอย่างดีสีเขียวเรียกชื่อว่าเนระกันถี (สยามประเภท), ดังมรกตนิลเนียรกัณฐี (รามเกียรติ์ ร. ๒). |
เบรียน | (บะเรียน) ก. ให้เรียน, สอน, เช่น อาจเบรียนภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย (จารึกสยาม). |
ฝ่าละอองพระบาท | ส. ท่าน (ใช้แก่สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี), เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. |
เฝ้าทูลละอองพระบาท | ก. ไปพบ, ไปหา, ใช้แก่สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. |
แพ้ ๒ | ก. ชนะ เช่น อนนเรืองใสงามหนักหนา แพ้พระอาทิตย์ (จารึกสยาม). |
เฟื่อ | ก. เกื้อกูล เช่น ช่วยเหนือเฟื่อกู้มัน (จารึกสยาม). |
เม้า | น. ปีเถาะ, เขียนเป็น เหมา ก็มี เช่น ปีโถะหนไทกดดเหมา (จารึกสยาม). |
ราม ๑ | ปานกลาง, พอดีพองาม, เช่น มีพิหารอันราม มีพระพุทธรูปอันราม (จารึกสยาม). |
ฤๅ ๒ | โดยมากใช้ในบทร้อยกรอง เช่น กวีฤๅแล้งแหล่งสยาม. |
ลุก | เคลื่อนออกจาก เช่น ลุกแต่สุโขทัย (จารึกสยาม) |
สร้อย ๓ | คำที่เติมหรือประกอบคำอื่นเพื่อให้ไพเราะหรือเต็มความ เช่น เสื้อแสง หนังสือหนังหา, คำต่อท้ายราชทินนาม เช่น พระราชปัญญาสุธี ศรีปริยัติธาดา มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี เจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ สกลนิติธรรมศาสตราจารย์ มหิบาลมหาสวามิภักดิ์ ปรมัคราชมนตรีอภัยพิริยปรากรมพาหุ. |
สวรรคต, เสด็จสวรรคต | (สะหฺวันคด, สะเด็ด-) ก. ไปสู่สวรรค์, ตาย, (ใช้แก่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี หรือผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเป็นการเฉพาะ เช่น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร). |
สิรินธรวัลลี | น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Bauhinia sirindhorniae K. Larsen et S.S. Larsen ในวงศ์ Leguminosae ใบมัน ดอกเล็ก สีเหลืองอมส้มถึงแดง มีขนสีน้ำตาลแดง ฝักแบนรูปขอบขนาน มีขนสีน้ำตาลแดงคลุมแน่น ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. |
เสด็จพระราชดำเนิน | ก. เดินทาง (ใช้แก่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) เช่น เสด็จพระราชดำเนินโดยทางสถลมารค เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง. |
เสด็จสวรรคต, สวรรคต | (-สะหฺวันคด) ก. ไปสู่สวรรค์, ตาย, (ใช้แก่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรม-ราชินี หรือผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเป็นการเฉพาะ เช่น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเจ้าบรม-วงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร). |
เสี้ยน ๑ | ข้าศึก เช่น สระทุกข์ราษฎร์รอนเสี้ยน (นิ. นรินทร์), เหือดเสี้ยนศึกสยาม สิ้นนาฯ (ตะเลงพ่าย). |
อรัญญิก | น. ป่า, บริเวณป่า, โบราณเขียนเป็น อรญญิก หรือ อไรญิก ก็มี เช่น ในกลางอรญญิก, เมืองสุโขทัยนี้มีอไรญิก (จารึกสยาม), (โบ) วัดอรัญญิก เช่น ไปสูดญัดกฐินเถิงอไรญิกพู้น (จารึกสยาม). |