สุพรรณ, สุพรรณ- | (สุพัน, สุพันนะ-) น. ทองคำ. |
สุพรรณบัฏ | (สุพันนะบัด) น. แผ่นทองคำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่จารึกพระนามพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป เจ้าประเทศราช และสมเด็จพระสังฆราช เรียกว่า พระสุพรรณบัฏ |
สุพรรณบัฏ | แผ่นทองคำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่จารึกราชทินนามของสมเด็จพระราชาคณะ ขุนนางชั้นสมเด็จเจ้าพระยา และขุนนางชั้นเจ้าพระยาบางคน ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นพิเศษ |
สุพรรณบัฏ | แผ่นทองคำที่จารึกพระราชสาส์น. |
สุพรรณภาชน์ | (สุพันนะพาด) น. ภาชนะสำหรับใส่พระกระยาหาร ทำด้วยทองคำทั้งชุด, ใช้ว่า พระสุพรรณภาชน์ |
สุพรรณภาชน์ | โต๊ะเท้าช้าง. |
สุพรรณราช | (สุพันนะราด) น. กระโถนใหญ่, ใช้ว่า พระสุพรรณราช. |
สุพรรณศรี | (สุพันนะสี) น. กระโถนเล็ก, ใช้ว่า พระสุพรรณศรี. |
สุพรรณถัน | (สุพันนะ-) น. กำมะถัน. |
สุพรรณิการ์ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็ก ๒ ชนิดในสกุล Cochlospermum วงศ์ Cochlospermaceae (Bixaceae) คือ ชนิด C. regium (Schrank) Pilg. ผลมีขน ก้านชูอับเรณูสีเหลืองครึ่งหนึ่งสีแดงครึ่งหนึ่ง และชนิด C. religiosum (L.)Alston ผลเกลี้ยงไม่มีขน ก้านชูอับเรณูสีเหลืองตลอด, ฝ้ายคำ ก็เรียก. |
กะทุน | น. ชื่อแมลงพวกแมลงปอ แมลงปอเข็ม และแมลงช้างตัวเต็มวัยซึ่งมีลักษณะคล้ายแมลงปอ แต่มีหนวดยาว, ในบางจังหวัด เช่น นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ เรียก กระทุน กระชุน หรือ ปะทุน. |
กำมะถัน | น. ธาตุสีเหลือง ติดไฟง่าย กลิ่นเหม็นฉุน ใช้ทำยา ทำดินปืน ฯลฯ, สุพรรณถัน ก็ว่า |
ทวย ๒ | วัตถุอย่างหนึ่งเป็นคันสำหรับรองส่งเครื่องราชูปโภค เช่นขันใส่เงินทรงโปรยหรือพระสุพรรณศรีถวายพระมหากษัตริย์จากเบื้องตํ่าสู่ที่ประทับ เรียกว่า พระทวย. |
ฝ้ายคำ | ดู สุพรรณิการ์. |
พู่ | น. กลุ่มหรือกระจุกที่ประกอบด้วยขนสัตว์ ไหม ด้าย หรือสิ่งอื่น ๆ ที่คล้ายกัน โดยมากใช้ห้อย เช่น พู่เรือสุพรรณหงส์ พู่ม่าน, ที่ใช้ชูก็มีบ้าง เช่น พู่หมวกเครื่องยศทหารบางเหล่า. |
เรือพระที่นั่ง | น. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำหรับพระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งจักรี เรือพระที่นั่งจันทร หรือเสด็จพระราชดำเนินในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช. |
เรือพระที่นั่งกิ่ง | น. เรือหลวงแบบโบราณสำหรับเป็นลำทรงของพระมหากษัตริย์ เสด็จพระราชดำเนินในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งกิ่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งกิ่งศรีสมรรถไชย เรือพระที่นั่งกิ่งไกรสรมุข. |
เรือพระที่นั่งชัย | น. เรือพระที่นั่ง เช่น เรือสุพรรณหงส์ เรืออนันตนาคราช เรือเอนกชาติภุชงค์ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระชัยวัฒน์ประดิษฐานขึ้นเป็นประธานบนบุษบกกลางลำ เป็นเรือนำกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคเสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชสงคราม หรือการพระราชพิธีสำคัญ, เรียกย่อว่า เรือชัย. |
ลอง ๑ | น. ของที่ทำรองรับไว้ชั้นใน เช่น ลองพระสุพรรณราช |
โล่งโต้ง, โล้งโต้ง | ว. ล่อนจ้อน, เปล่าเปลือย, เช่น เดินเปลือยกายโล่งโต้ง ถอนขนห่านเสียโล้งโต้ง ย่านซื่อซื่อว่าบ้าน ย่านยาว เหนแต่ชุมนุมลาว ล่อนโล้ง ลากอวนส่วนหนุ่มสาว เสียงแซ่ แม่เอย เท่าแก่แลโล้งโต้ง ต่างหล้อนห่อนอาย (นิ. สุพรรณ), โล่งโจ้ง ก็ว่า. |
วิสามานยนาม | (วิสามานยะนาม) น. คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ ตั้งขึ้นสำหรับเรียกคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ เพื่อให้รู้ชัดว่าเป็นใครหรืออะไร เช่น นายดำ ช้างเอราวัณ เรือสุพรรณหงส์ จังหวัดเชียงใหม่. |
สมโภช | งานเลี้ยง, งานฉลองในพิธีมงคลเพื่อความยินดีร่าเริง เช่น งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี งานสมโภชพระสุพรรณบัฏ (ใช้เฉพาะแต่ในงานพระราชพิธี). |
หลาบ ๒ | น. แผ่นโลหะที่ทำเป็นแผ่นคล้ายใบลาน ใช้ในการจารึก เช่น หลาบเงิน คือ หิรัญบัฏ หลาบคำ คือ สุพรรณบัฏ. |
องค-, องค์ | ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะ สิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระสุพรรณภาชน์ ๑ องค์ พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์ |