accumulator | ตัวสะสมเป็นหน่วยความจำ ซึ่งอยู่ในหน่วยคำนวณและตรรกะ (arithmetic and logical unit) ของคอมพิวเตอร์ เป็นที่ใช้สำหรับเก็บผลบวก หรือ การคำนวณอื่น ๆ และผลของการเปรียบเทียบเอาไว้ ถ้ามีหลายตัว มักเรียกว่า เรจิสเตอร์ (register) ดู register ประกอบ |
acoustic memory | หน่วยความจำเชิงเสียงเป็นหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ที่ใช้สายหน่วงเสียง (acoustic delay line) ซึ่งใช้ปรอทหรือ ควอร์ทซ์ (quartz) เป็นสื่อ |
alphabetic code | รหัสตัวอักษร <คำแปล>เป็นรหัสตัวอักษรที่ส่งเข้าคอมพิวเตอร์แล้วคอมพิวเตอร์สามารถนำไปเก็บในหน่วยความจำได้ ตัวอักษร 1 ตัวจะใช้รหัสเป็นชุดของบิต 1 ชุดเรียกว่า "ไบต์" (byte) ดู byte ประกอบ |
alphabetic string | สายตัวอักษรหมายถึงตัวอักขระหลาย ๆ ตัวที่เมื่อนำมาต่อกันแล้วสื่อความหมายบางอย่างและสามารถนำไปเก็บในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือสื่อชนิดต่าง ๆ ได้มีความหมายเหมือน character string |
arithmetic statement | ข้อความสั่งคำนวณ <คำแปล>หมายถึง คำสั่งที่กำหนดให้คอมพิวเตอร์ นำค่าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหรือนำค่าเหล่านั้นไปทำการคำนวณ เมื่อได้ผลจากการคำนวณแล้วจึงนำไปเก็บในตำแหน่งที่ซี่งกำหนดไว้ เช่น score = A+B หมายความว่า ให้นำค่า A+B ได้ผลเท่าใด นำไปเก็บไว้ที่ score |
auxiliary memory | หน่วยความจำช่วย <คำแปล>หมายถึงหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูลนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ (เพิ่มไปจากหน่วยความจำหลัก) เช่น จานบันทึก เมื่อใดที่ต้องการใช้ ก็ให้เครื่องคอมพิวเตอร์นำมาเก็บในเครื่อง จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม แล้วเก็บลงใหม่ก็ได้ ทั้งนี้เพื่อมิให้สิ้นเปลืองหน่วยความจำหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์ |
auxiliary storage | หน่วยเก็บช่วย <คำแปล>หมายถึงหน่วยความจำหรือหน่วยเก็บที่ใช้เก็บข้อมูลนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ (เพิ่มไปจากหน่วยความจำหลัก) เช่น จานบันทึก เมื่อใดที่ต้องการใช้ ก็ให้เครื่องคอมพิวเตอร์นำมาเก็บในเครื่อง จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม แล้วเก็บลงใหม่ก็ได้ ทั้งนี้เพื่อมิให้สิ้นเปลืองหน่วยความจำหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์มีความหมายเหมือน auxiliary memory |
babbage, charles | (ชาร์ลส์ แบบเบจ) เป็นชื่อนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่ง มีชีวิตอยู่ตั้งแต่ ค.ศ 1791-1871 เป็นคนแรกที่ประดิษฐ์เครื่องคำนวณที่มีชื่อว่า Analytic Engine ซึ่งมีลักษณะความคิดที่เป็นต้นเค้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ ดิจิตอล ในปัจจุบัน กล่าวคือเป็นเครื่องจักรที่ทำงานไปตามโปรแกรมซึ่งเขียนเก็บไว้ในหน่วยความจำ |
backing store | หน่วยเก็บหนุนหน่วยเก็บข้อมูล ที่ใช้เป็นที่เก็บหนุน หรือเก็บข้อมูลสำรองไว้ ในกรณีที่หน่วยเก็บที่ใช้งานอยู่เกิดขัดข้อง หรือเสียหาย ก็อาจใช้หน่วยเก็บหนุนนี้แทนได้ โดยทั่วไปก็จะหมายถึงหน่วยเก็บความจำอื่น ๆ นอกไปจากหน่วยความจำหลัก (main memory) เป็นต้นว่าสื่อต่าง ๆ เช่น แถบบันทึก (tape) หรือจานบันทึก (disk) มีความหมายเหมือน auxiliary storage หรือ backup storage |
backup storage | หน่วยเก็บสำรอง <คำแปล>หมายถึง หน่วยเก็บข้อมูลที่ใช้เป็นที่เก็บหนุน หรือเก็บข้อมูลสำรองไว้ ในกรณีที่หน่วยเก็บที่ใช้งานอยู่เกิดขัดข้อง หรือเสียหาย ก็อาจใช้หน่วยเก็บสำรองแทนได้ โดยทั่วไปก็จะหมายถึงหน่วยความจำอื่น ๆ นอกไปจากหน่วยความจำหลัก (main memory) เป็นต้นว่าสื่อต่าง ๆ เช่น แถบบันทึก (tape) หรือจานบันทึก (disk) มีความหมายเหมือน auxiliary storage หรือ backing store |
bank switching | การสลับชิปไปมาหมายถึง การสลับไปมาของการใช้ชิปในหน่วยความจำเดิมที่ติดมากับเครื่อง กับหน่วยความจำที่เพิ่มภายหลัง ที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จนกระทั่งทำให้รู้สึกเสมือนว่า หน่วยความจำทั้งสองนั้นเป็นหน่วยความจำเดียวกัน เช่น บริษัทไอบีเอ็มผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกมาขายในตลาดโดยมีหน่วยความจำติดมาภายในตัวเครื่องเพียง 640 เคไบต์ แต่เรานำไปเพิ่มหน่วยความจำเป็นถึง 16 เมกกะไบต์ การที่จะทำให้หน่วยความจำเดิมกับหน่วยความจำที่เพิ่มมาใหม่ทำงานสลับกันไปมาได้ ก็จะต้องอาศัยการสลับชิปไปมานี้ อย่างไรก็ตาม หากเราเป็นเพียงผู้ใช้เครื่อง (user) ก็ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องนี้เท่าไรนัก เป็นหน้าที่ของช่างฝ่ายเทคนิคที่จะต้องติดตั้งหรือจัดการทำให้ |
bar code optical scanner | เครื่องกราดตรวจรหัสแท่งด้วยแสง <คำแปล>เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายปากกาแสง (light pen) ใช้ฉายแสงลงไปที่รหัสแท่งที่ต้องการอ่าน เครื่องจะรายงานบนจอภาพในขณะเดียวกันก็ส่งข้อมูลนั้นไปบันทึกในหน่วยความจำ การทำงานจะอยุ่ในราว 100 ตัวอักษรต่อวินาที หรืออาจเร็วกว่านั้น |
bootstrap | n. รูเชือกผูกรองเท้า ปลุกเครื่องเรียกย่อ ๆ ว่า boot1. หมายถึงการเปิดเครื่องด้วยการบรรจุซอฟต์แวร์ระบบ (systems software) เข้าไปในหน่วยความจำหลัก (main memory) 2. อาจหมายถึงเทคนิควิธีในการบรรจุโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง (program) ทั้งปวงที่มีอยู่ ลงไปในหน่วยความจำหลัก |
bubble memory | หน่วยความจำแบบฟองหมายถึง หน่วยความจำชนิดหนึ่งที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ใด้แม้ว่าไฟฟ้าจะดับไปแล้วก็ตาม นิยมใช้กันมากสำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดวางตัก (laptop) หรือคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ที่ไม่มีเนื้อที่มากพอที่จะมีฮาร์ดดิสก์ได้ |
buffer | (บัฟ'เฟอะ) { buffered, buffering, buffers } n. ตัวกันชน, สารที่สามารถทำให้ทั้งกรดและด่างเป็นกลาง, เครื่องขัดเงา, คนงานขัดเงา vt. ใส่ตัวทำให้กรดหรือด่างเป็นกลาง, ผ่อนคลาย, ปกป้อง, กันชน, Syn. cushion ที่พัก ข้อมูล กันชนบัฟเฟอร์ในกรณีที่อัตราความเร็วในการทำงานของอุปกรณ์บางอย่างมีความเร็วไม่เท่ากัน เป็นต้นว่า เครื่องพิมพ์และหน่วยประมวลผลซึ่งทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันมาก คอมพิวเตอร์ประมวลผลเสร็จแล้วจึงต้องส่งผลมารออยู่ที่บัฟเฟอร์ก่อน เพราะเครื่องพิมพ์จะใช้เวลามากกว่าในการพิมพ์ พิมพ์ตามไม่ทัน เราจะพบบ่อย ๆ ว่า แม้ว่าจะสั่งให้หยุดพิมพ์ แต่เครื่องพิมพ์จะไม่หยุดทันที ทั้งนี้เป็นเพราะมีข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ส่งไปรออยู่ที่บัฟเฟอร์แล้ว เครื่องพิมพ์จะต้องพิมพ์จนหมดข้อมูลในบัฟเฟอร์นี้ จึงจะหยุด คอมพิวเตอร์นั้นจะมีที่พักข้อมูลทั้งเมื่อรับข้อมูลเข้าและเมื่อส่งข้อมูลออก อันที่จริง บัฟเฟอร์ก็เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยความจำนั่นเอง |
byte | (ไบทฺ) n. หน่วยของข้อมูลคอมพิวเตอร์เท่ากับ 1 อักขระหรือ 8 บิต, ข้อมูลจำนวน 8 บิต, ชุดของบิต (bit) ซึ่งคอมพิวเตอร์จัดไว้สำหรับเก็บข้อมล 1 ชุด คอมพิวเตอร์ต่างชนิดจะจัดชุดของบิตไว้ไม่เท่ากัน เช่น เครื่อง IBM 360 จัดบิตไว้เป็นชุด ๆ ละ 8 บิต เรียกว่า ไบต์ โดยปกติ ใช้เป็นหน่วยวัดขนาดของหน่วยความจำ หรือจานบันทึกว่า มีขนาดเก็บได้กี่ตัวอักษร หน่วยวัดที่ใช้กันนั้น วัดกันเป็นกิโลไบต์ (kilobyte) เรียกว่า K byte เท่ากับประมาณ 1 พันไบต์ หรือหนึ่งพันตัวอักษร, เมกะไบต์ (mega byte) เท่ากับประมาณ 1 ล้านไบต์ , กิกะไบต์ (gigabyte) เท่ากับประมาณ 1 พันล้านไบต์ และเทราไบต์ (terabyte) เท่ากับประมาณ 1 ล้านล้านไบต์เช่น เราอาจพูดว่า ฮาร์ดดิสก์ในเครื่องนี้มีขนาดความจุ 2 กิกะไบต์ (หมายความว่าสามารถเก็บข้อความได้สองพันล้านตัวอักษร) อนึ่ง หน่วยวัดที่นิยมใช้มีดังนี้ 1 KB (kilobyte) = 1, 024 ไบต์ 1 MB (Megabyte) = 1, 048, 576 ไบต์ (หรือ 1, 024 Kbytes) 1 GB (gigabyte) = 1, 073, 741, 824 ไบต์ (หรือ 1, 024 Mbytes) 1 TB (terabyte) = 1, 099, 511, 627, 776 ไบต์ (หรือ 1, 024 Gbytes) |
cache | (แค?) { cached, caching, caches } n. ที่ซ่อน, ที่เก็บ, สิ่งที่ซ่อนไว้ vt. ซ่อน, เก็บ หน่วยความจำแคชหมายถึง ส่วนหนึ่งของหน่วยความจำ (memory) ที่ถูกกันไว้เก็บข้อมูลที่จะต้องการใช้เป็นการชั่วคราว การเข้าถึงหน่วยความจำส่วนนี้จะทำได้เร็วกว่าธรรมดามาก ในการโฆษณาขายเครื่อง ไมโครคอมพิวเตอร์ มักจะมีบ่งบอกไว้ด้วยเสมอว่า หน่วยความจำแคชนี้มีขนาดความจุเท่าใด เช่น 256 K cache เป็นต้น เพราะเป็นการแสดงถึงประสิทธิภาพของเครื่องอย่างหนึ่ง บางทีเรียก cache memory |
card reader | เครื่องอ่านบัตรหมายถึง อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้การอ่านรูที่เจาะในบัตรแล้วถอดออกมาเป็นรหัส การอ่านรูเหล่านั้นทำได้ด้วยการใช้แปรงไฟฟ้าสัมผัส แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นส่งเข้าไปเก็บในหน่วยความจำเพื่อนำไปประมวลผลต่อไป |
ccd memory | หน่วยความจำแบบซีซีดีย่อมาจาก charge coupled device memory (หน่วยความจำแบบอุปกรณ์ถ่ายเทประจุ) หมาย ถึงหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ที่ทำจากซิลิคอนชิป (silicon chip) ซึ่งสามารถเปลี่ยนสนามแม่เหล็กไฟฟ้าไปเป็นประจุไฟฟ้า และสามารถบันทึกข้อมูลลงในจานแม่เหล็ก (disk) ได้ เหมาะสำหรับงานที่เรียกใช้ข้อมูลในหน่วยความจำตามลำดับ (sequential) หน่วยความจำชนิดนี้ทำงานช้ากว่าแรม (RAM) แต่เร็วกว่าแบบแม่เหล็ก |
central processing unit | หน่วยประมวลผลกลางนิยมใช้ตัวย่อว่า CPU (ซีพียู) หมายถึง ส่วนที่เป็นสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือส่วนที่เรียกว่าตัวประมวลผล (microprocessor) และหน่วยความจำ ประกอบด้วยชิป (chip) ส่วนนี้นับเป็นส่วนสำ คัญที่สุด เพราะเป็นส่วนที่ใช้ทำหน้าที่ในการประมวลผล หรือทำการคำนวณ เมื่อทำการประมวลผล หรือคำนวณในส่วนนี้เสร็จแล้ว ก็จะถ่ายโอนผลลัพธ์ที่ได้ไปไว้ในส่วนอื่นอีกชั้นหนึ่ง ดู input unit และ output unit ประกอบ |
character string | หมายถึง ตัวอักขระหลาย ๆ ตัวที่เมื่อนำมาต่อกันแล้ว สื่อความหมายบางอย่าง และสามารถนำไปเก็บในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือสื่อ (media) ชนิดต่าง ๆ ได้ นอกจากนั้น จะต้องทำให้คอมพิวเตอร์สามารถแยกออกว่าไม่ใช่คำสั่งในภาษามีความหมายเหมือน alphabetic string หรือ string |
chip | (ชิพ) 1. { chipped, chipping, chips } n. เศษไม้, เศษหิน, ชิ้น, แผ่นตัด, เศษ, เบี้ย, สิ่งเล็กสิ่งน้อย, สิ่งที่ไร้ค่าหรือมีค่าน้อย, ไม้ตอก, ก้อนมูลแห้ง, เงิน vt. ตัด, เลาะ, แกะ, แชะ, ขูด, สกัด, เจาะ, ทำปากแหว่ง, เฉือนเป็นแผ่นบาง ๆ , พูดเหน็บแนม, พูดสอด, จิกให้ไข่แตก vi. แหว่ง, เป็นรอยร้า 2. n. หมายถึงวงจรรวม (integrated circuit) ทำหน้าที่ เหมือนสาร กึ่งตัวนำ ใช้เป็นที่เก็บข้อมูลหรือหน่วยความจำในไมโครคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน มีชิปแบบวีแอลเอสไอ (VLSI หรือ Very large scale integrated circuit) ซึ่งจะมีทรานซิสเตอร์เป็นพัน ๆ ตัว แต่มีขนาดเล็กนิดเดียว ราคาถูกลงทุกวัน แต่มีประสิทธิภาพสูงมาก ถ้าชิปใดมีทั้งหน่วยความจำ หน่วยคำนวณ และตรรกะ เราจะเรียกชิปนั้นว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ (micro processor) ปัจจุบัน เราใช้ชิปกันมากในเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เครื่องคิดเลข นาฬิกา เครื่องมือแพทย์ ฯ ดู microprocessor ประกอบ |
cim | (ซีไอเอ็ม) 1. ย่อมาจาก computer input from microfilm (ไมโครฟิล์มสู่คอมพิวเตอร์) หมายถึง เทคโนโลยีในการอ่านข้อมูลต่าง ๆ ในไมโครฟิล์มเข้าไปเก็บในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ (โดยต้องแปลงเป็นรหัสที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้) 2. ย่อมาจาก computer integrated manufacturing (การผลิตแบบผสมผสานด้วยคอมพิวเตอร์) หมายถึงการผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์ร่วมด้วย |
clipboard | คลิปบอร์ดกระดาษทดหมายถึง เนื้อที่ในหน่วยความจำที่กันไว้ใช้เก็บข้อมูลชั่วคราว มีใช้ทั้งในคอมพิวเตอร์แมคอินทอช และระบบวินโดว์ของพีซี เนื้อที่ที่กันเอาไว้ส่วนนี้ทำหน้าที่เหมือนกระดาษทด ที่หากใช้คำสั่ง cut หรือ copy (ใต้เมนู Edit) แล้ว คอมพิวเตอร์ก็จะนำข้อความหรือภาพที่ถูก cut หรือ copy นั้นไปเก็บไว้ที่นั่น ข้อความหรือภาพที่อยู่ในนั้น จะอยู่ในกระดาษทดหรือคลิปบอร์ดนี้จนกว่าจะมีข้อความหรือภาพใหม่ไปทับ เราสามารถนำข้อความหรือภาพที่อยู่บนกระดาษทดนี้ไปวางหรือ paste ลงในแฟ้มข้อมูลของโปรแกรมใดก็ได้ ดู copy, cut, paste ประกอบ |
clock ticks | สัญญาณนาฬิกาหมายถึง จังหวะช่วงเวลาที่นาฬิกาเดิน (ติ๊ก) ซึ่งจะเป็นช่วงที่แน่นอนสม่ำเสมอ ในแต่ละช่วงเดินของนาฬิกาที่เรียกว่า "ติ๊ก" นั้น คอมพิวเตอร์จะทำงานตามคำสั่ง และจะหยุดทำงานในช่วงว่างระหว่างติ๊ก ยิ่งช่วงติ๊กนี้ถี่เท่าใด ก็ยิ่งแปลว่าคอมพิวเตอร์ทำงานเร็วเท่านั้น สัญญาณนาฬิกานี้ จึงถือเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความเร็วของการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ความ เร็วของการเดินของนาฬิกา หรือความถี่นี้วัดกันเป็นเมกะเฮิรตช์ (megahertz) 1 เมกะเฮิรตซ์ จะเท่ากับ 1 ล้านติ๊กของนาฬิกาต่อ 1 วินาที คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือพีซีในยุคปัจจุบันนั้นมีหน่วยความจำที่ทำงานด้วยความเร็ว ถึงประมาณ 33-66 เมกะเฮิร์ตซ์ |
compiler | (คัมไพ'เลอะ) n. ผู้รวบรวม, ผู้เรียบเรียง ตัวแปลโปรแกรมคอมไพเลอร์หมายถึง โปรแกรมที่แปลโปรแกรมภาษาต่าง ๆ เช่นภาษา FORTRAN, COBOL ฯ เป็นภาษาเครื่อง (machine language) การแปลโดยใช้โปรแกรมแปลนี้ จะใช้วิธีแปลทั้งโปรแกรม นำคำแปลเก็บไว้ในหน่วยความจำ แล้วจึงลงมือปฏิบัติการ (execute) ไปทีละคำสั่ง ถ้ามีการสั่งให้ทำบางคำสั่งซ้ำ ก็ไม่จำเป็นต้องแปลใหม่ดู translator ประกอบดู interpreter เปรียบเทียบ |
compression | (คัมเพรส'เชิน) n. การอัด, การบีบ, การกด, ผลจากการถูกอัด, ความกดดัน, ภาวะที่ปริมาตร (ในห้องเครื่อง) ต่ำลงและความกดดันของอากาศสูงขึ้นก่อนการเผาไหม้., Syn. compressure การอัดแน่นหมายถึง นำข้อมูลหรือคำสั่งจำนวนมาก ๆ มาอัดให้แน่น เพื่อ ให้ใช้ที่เก็บในหน่วยความจำ หรือจานบันทึกน้อยลง โดยปกติ จะมีโปรแกรม หรือคำสั่ง ในดอส 6.0 ที่สามารถอัดโปรแกรม ใหญ่ ๆ ที่กินเนื้อที่มาก ๆ ให้เหลือน้อยลง เพื่อจะได้เก็บลงในแผ่นจานบันทึกได้ จานบันทึกชนิดอ่อน floppy disk ในปัจจุบัน มีความสูงสุด 1.44 เมกะไบต์ ฉะนั้น ถ้าแฟ้มข้อมูลใหญ่มาก ก็จะไม่สามารถเก็บลงในแผ่นได้ จึงต้องจัดการอัดให้แน่นเสียก่อน อย่างไรก็ตาม เมื่อจะเรียกมาใช้ จะต้องนำมาคลายออกก่อน เรียกว่า "decompress" การอัดแน่นก็ดี การคลายคืนก็ดี จะต้องมีโปรแกรมเฉพาะจัดทำให้ ในระบบดอส นิยมใช้ PKZip/Unzip ในระบบ Windows 95 โปรแกรมที่นิยมชื่อ WinZip ในระบบยูนิกซ์ ใช้ Gunzipดู expand, decompress เปรียบเทียบ |
computer input from micro | ไมโครฟิล์มสู่คอมพิวเตอร์ใช้ตัวย่อว่า CIM (ซีไอเอ็ม) หมายถึง เทคโนโลยีในการอ่านข้อมูลต่าง ๆ ในไมโครฟิล์มเข้าไปเก็บในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ (โดยต้องแปลงเป็นรหัสที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้) |
control panel | แผงควบคุมเป็นชื่อโปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility program) กลุ่มหนึ่ง เป็นตัวกำหนดเกี่ยวกับอุปกรณ์ หรือส่วนต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้เป็นไปตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น จอภาพ, เมาส์ , แป้นพิมพ์, หน่วยความจำ ระบบเครือข่าย ฯ control panel นี้จะมีให้ใช้ทั้งในแมคอินทอช และระบบวินโดว์บนพีซี หรือ Presentation Manager ของ โอเอสทู (OS 2) |
control unit | หน่วยควบคุมเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) หน่วยควบคุม มีหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมด กล่าวคือ ควบคุมการทำงานของหน่วยคำนวณและตรรกะ ควบคุมการรับ/ส่งข้อมูลระหว่างหน่วยความจำหลัก (main memory) กับหน่วยความจำในหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ติตต่อและควบคุมการทำงานของหน่วยรับข้อมูลและแสดงผล (input/output unit) เป็นต้นว่า รับข้อมูลเข้ามาเก็บในหน่วยความจำ ปฏิบัติตามคำสั่งในโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง รวมทั้งจัดการให้การทำงานเป็นไปตามขั้นตอน และแสดงผลตามคำสั่งด้วยดู central processing unit ประกอบ |
conventional memory | หน่วยความจำปกติใช้เรียก 640 กิโลไบต์แรกของหน่วยความจำ (RAM) ใน เครื่องคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็ม และเครื่องเลียนแบบไอบีเอ็ม (IBM compatibles) ที่กำหนดว่าต้องมีหน่วยความจำอย่างน้อย 640 เค (เป็นมาตรฐานที่กำหนดไว้นานแล้ว) |
data card | บัตรข้อมูลหมายถึงบัตรคอมพิวเตอร์ที่ใช้ เจาะเป็นรหัสแสดงถึงตัวอักขระต่าง ๆ อาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรืออักขระพิเศษ เพื่อให้คอมพิวเตอร์อ่านเข้าไปเก็บในหน่วยความจำ บัตรข้อมูลนั้น เราสามารถใช้ได้ทั้ง 80 คอลัมน์ของบัตร (แต่บัตรที่เป็นบัตรชุดคำสั่ง ที่เรียกว่า program card นั้น ใช้ได้เฉพาะคอลัมน์ 7 ถึง 70) เมื่อส่งเข้าประมวลผลในคอมพิวเตอร์ บัตรข้อมูลจะต้องส่งตามหลังบัตรชุดคำสั่งเสมอดู card code ประกอบ |
disk cache | หน่วยความจำแคชบนจานหมายถึง ส่วนหนึ่งของหน่วยความจำที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะกันไว้เก็บข้อมูลที่ใช้บ่อย ๆ โดยคัดออกจากจานบันทึกไปเก็บไว้ โปรแกรมบางโปรแกรมจะจัดแบ่งเนื้อที่ในหน่วยความจำไปให้ บางโปรแกรมจะแบ่งเนื้อที่ในฮาร์ดิสก์ให้ เช่น เมื่อเราทำสำเนาจากแผ่นจานบันทึก |
dumb terminal | เครื่องปลายทางใบ้เครื่องปลายทางธรรมดาหมายถึง เครื่องปลายทางหรือเทอร์มินัลของคอมพิวเตอร์ชนิดธรรมดา ดูเผิน ๆ จะเหมือนกับไมโครคอมพิวเตอร์ แต่จริง ๆ แล้ว จะมีแต่แป้นพิมพ์และจอภาพ ซึ่งเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (mainframe) ที่อื่น เครื่องปลายทางชนิดนี้ไม่มีหน่วยบันทึกข้อมูล หน่วยความจำ หรือตัวประมวลผล ฉะนั้นจะเก็บข้อมูลหรือประมวลผลอะไรไม่ได้เลยดู intelligent terminal หรือ smart terminal เปรียบเทียบ |
dynamic allocation | การจัดสรรแบบพลวัตหมายถึง การสั่งให้คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลลงในหน่วยความจำของเครื่อง ในขณะเดียวกับที่กำลังปฏิบัติงานของโปรแกรมอื่นอยู่ |
earom | (อีรอม) ย่อมาจาก electrically alterable read - only memory แปลว่า หน่วยความจำอ่านอย่างเดียวชนิดแก้ไขได้) เป็นรอม (ROM) ชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถนำมาลบและบันทึกใหม่ได้โดยไม่ต้องย้ายออกมาจากแผงวงจร การบรรจุโปรแกรมใหม่ทำได้โดยใช้กระแสไฟฟ้า และทำได้สะดวกกว่า อีพรอม (EPROM) มากดู ROM และ EPROM ประกอบ |
eeprom | (อีอีพร็อม) ย่อมาจาก electronically erasable programmable read only memory (แปลว่า หน่วยความจำอ่านอย่างเดียวชนิดโปรแกรมและลบได้ด้วยกระแสไฟฟ้า) เป็นชิป (chip) ชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติตามชื่อ ใช้เป็นหน่วยความจำ หากต้องการแก้ไข จะต้องใช้สัญญาณไฟฟ้าลบ แล้วบันทึกของใหม่ลงไป หน่วยความจำชนิดนี้จะเก็บข้อมูลไว้ได้แม้ว่าจะไม่ใช้ไฟฟ้า |
eerom | ย่อมาจาก electrically erasable read only memory (แปลว่า หน่วยความจำอ่านอย่างเดียวชนิดลบได้ด้วยกระแสไฟฟ้า) เป็นรอมชนิดหนึ่งซึ่งสามารถนำมาลบและบันทึกใหม่ได้โดยไม่ต้องย้าย ออกมาจากแผงวงจร การบรรจุโปรแกรมใหม่ทำได้โดยใช้กระแสไฟฟ้า และทำได้สะดวกกว่า อีพรอม (EPROM) มาก มีความหมายเหมือน EAROMดู ROM และ EPROM ประกอบ |
electrically alterable re | หน่วยความจำอ่านอย่างเดียวชนิดแก้ไขได้ใช้ตัวย่อว่า EAROM (อ่านว่าอีรอม) เป็นรอม (ROM) ชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถนำมาลบและบันทึกใหม่ได้โดยไม่ต้องย้ายออกมาจากแผงวงจร การบรรจุโปรแกรมใหม่ทำได้โดยใช้กระแสไฟฟ้า และทำได้สะดวกกว่าอีพรอม (EPROM) มากดู ROM และ EPROM ประกอบ |
electronic numerical inte | มักเรียกด้วยชื่อย่อว่า ENIAC (อ่านว่า อีนีแอ็ก) เป็นชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นโบราณ (ยุคที่หนึ่ง) มีขนาดใหญ่มาก มีหลอดสูญญากาศเป็นหน่วยความจำถึง 180, 000 หลอด สร้างขึ้นราวทศวรรษ 1940ดู first generation computer ประกอบ |
electronically erasable p | electronically erasable programmable read only memory หน่วยความจำอ่านอย่างเดียวชนิดโปรแกรมและลบได้ด้วยกระแสไฟฟ้าใช้ตัวย่อว่า EEPROM (อ่านว่าอีอีพร็อม หรือบางทีอ่านว่า อีพร็อมก็ได้) เป็นชิป (chip) ชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติตามชื่อ ใช้เป็นหน่วยความจำ หากต้องการแก้ไข จะต้องใช้สัญญาณไฟฟ้าลบ แล้วบันทึกของใหม่ลงไป หน่วยความจำชนิดนี้จะเก็บข้อมูลไว้ได้แม้ว่าจะไม่ใช้ไฟฟ้า |
emm | (อีเอ็มเอ็ม) ย่อมาจากคำ expanded memory manager เป็นชื่อของโปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility program) โปรแกรมหนึ่งที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถทำให้หน่วยความจำมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ส่วนมากจะใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวประมวลผลเป็นชิป (chip) เบอร์ 80386 หรือ 80486 |
ems | (อีเอ็มเอส) ย่อมาจาก expanded memory specification บางครั้งก็เรียกชื่อเต็มเลยว่า LIM-EMS ย่อมาจากคำว่า Lotus-Intel Microsoft Expanded Memory Specification อีเอ็มเอสนั้นเป็นโปรแกรมที่ขยายตัวประมวลผล 8088 ที่มีหน่วยความจำ 640 K ให้มีเนื้อที่มากขึ้น เพื่อให้มีที่พอบรรจุโปรแกรมโลตัส 1-2-3 ซึ่งเป็นโปรแกรมตารางจัดการ (spreadsheet) ขนาดใหญ่ ลงไปในหน่วยความจำที่มีขนาดเพียง 640 K ได้ ในปัจจุบัน ไม่มีความจำเป็นต้องใช้โปรแกรมอีเอ็มเอสนี้แล้ว เพราะหน่วยความจำของไมโครคอมพิวเตอร์รุ่น ใหม่ ๆ มีขนาดใหญ่กว่าสมัยก่อนมาก |
encapsulated postscript | ภาพที่เก็บไว้ด้วยภาษาโพสต์สคริปต์ใช้ตัวย่อว่า EPS (อ่านว่า อีพีเอส) หมายถึง ภาพที่สร้างขึ้นด้วยภาษาโพสต์สคริปต์ (PostScript) โปรแกรมประเภทนี้ใช้เนื้อที่เก็บในหน่วยความจำมาก แต่มีลักษณะคมชัดกว่าภาพชนิดอื่น ราคาค่อนข้างแพง มักใช้นามสกุล (file type) ว่า EPS การสั่งพิมพ์ภาพประเภทนี้ ต้องใช้เครื่องพิมพ์เลเซอร์บางชนิดเท่านั้นดู postscript ประกอบ |
eprom | (อีพร็อม) ย่อมาจาก erasable programmable read-only memory แปลว่า หน่วยความจำอ่านอย่างเดียวชนิดโปรแกรมได้และลบได้ หมายความถึงชิป (chip) ชนิดหนึ่งใช้เก็บข้อมูลหรือลบทิ้งได้ แต่การเก็บหรือการลบข้อมูลในนั้นต้องใช้แสงอุลตราไวโอเล็ต (ultraviolet) เท่านั้น หน่วยความจำชนิดนี้จะเก็บข้อมูลไว้ได้แม้ว่าจะไม่ใช้ไฟฟ้า ดู EEPROM และ PROM ประกอบ |
eps | (อีพีเอส) ย่อมาจาก encapsulated postscript หมายถึง ภาพที่สร้างขึ้นด้วยภาษาโพสต์สคริปต์ (post script) โปรแกรมประเภทนี้ใช้เนื้อที่เก็บในหน่วยความจำมาก แต่มีลักษณะคมชัดกว่าภาพชนิดอื่น ราคาค่อนข้างแพง มักใช้นามสกุล (file type) ว่า EPS การสั่งพิมพ์ภาพประเภทนี้ ต้องใช้เครื่องพิมพ์เลเซอร์บางชนิดเท่านั้น |
executable statement | ข้อความสั่งทำการหมายถึง คำสั่งในภาษาระดับสูงที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ลงมือทำการ คำสั่งเหล่านี้ ตัวแปลโปรแกรม (compiler) จะแปลเป็นภาษาเครื่อง (machine language) แล้วเครื่องจะปฏิบัติการตามคำสั่งนั้น เช่น คำสั่งกำหนดค่า A = 2 ถ้าเครื่องเจอคำสั่งนี้ ก็จะลงมือกระทำการ (execute) ด้วยการนำค่า 2 ไปเก็บไว้ในหน่วยความจำช่องหนึ่งที่มีอยู่ (address) ชื่อ A เป็นต้นดู non executable statement เปรียบเทียบ |
executive program | โปรแกรมกระทำการหมายถึง โปรแกรมระบบ (systems software) ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแล หรือควบคุมการกระทำการ (execution) ของคอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกัน เป็นต้นว่า ดูแลการทำงานของหน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล (input/output unit) การดำเนินการและกำหนดการใช้หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) หน่วยความจำ (memory unit) ให้ทำงานให้สอดคล้องกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบทำงานแบบหลายชุดคำสั่ง หรือระบบมัลติโปรแกรมมิ่ง (multiprogramming) ชุดคำสั่งชุดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการ (operating system) มีหน้าที่หลักในการดูแลไม่ให้การประมวลผล โปรแกรมทีละหลาย ๆ โปรแกรม เกิดความสับสนกัน มีความหมายเหมือน supervisor |
expanded memory | หน่วยความจำส่วนขยายหมายถึง หน่วยความจำที่เพิ่มเข้ามาภายหลัง วิธีเพิ่มหน่วยความจำแบบนี้คอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบดอส นิยมใช้อยู่ก่อนจะมีการนำชิป (chip) 80286 มาใช้ หน่วยความจำนี้เป็นหน่วยความจำต่างหากที่บริษัทที่ผลิตคอมพิวเตอร์ทำเป็นรายการแถมให้ เพิ่มจากหน่วยความจำ 640 K ที่ใช้อยู่เดิม ไม่ใช่นำหน่วยความจำเดิมมาทำให้ใหญ่ขึ้น เป็นหน่วยความจำคนละหน่วย แต่คอมพิวเตอร์สามารถเรียกข้อมูลจากหน่วยความจำนี้ได้รวดเร็ว จนทำให้ผู้ใช้รู้สึกเหมือนกับว่าเป็นหน่วยความจำเดียวกัน |
expanded memory manager | ชื่อโปรแกรมขยายหน่วยความจำใช้ตัวย่อว่า EMM (อีเอ็มเอ็ม) เป็นชื่อของโปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility program) โปรแกรมหนึ่งที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถทำให้หน่วยความจำมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ส่วนมากจะใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวประมวลผลเป็นชิป (chip) เบอร์ 80386 หรือ 80486 |