ร้อยเอ็ดเจ็ดพระนคร, ร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ, ร้อยเอ็ดเจ็ดหัวเมือง | ว. ทั่วทุกแห่งหน. |
หัวเมือง | น. เมืองอื่นนอกจากเมืองหลวง |
หัวเมือง | ต่างจังหวัด |
หัวเมือง | เมืองใหญ่ที่มีเมืองน้อยมาขึ้น. |
กรมการ | (กฺรมมะ-) น. ตำแหน่งพนักงานปกครองที่มีมาแต่สมัยโบราณ และได้กำหนดไว้ในข้อบังคับลักษณะการปกครองหัวเมือง ร.ศ. ๑๑๖ เรียกว่า กรมการเมือง ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ กรมการในทำเนียบ และกรมการนอกทำเนียบ. |
กรมท่า ๑ | (กฺรม-) น. กรมพระคลังส่วนที่ทำหน้าที่ติดต่อกับต่างชาติเรื่องการค้าขายและการต่างประเทศ ต่อมาเพิ่มหน้าที่ปกครองหัวเมืองชายทะเล, พระคลัง หรือ พระคลังกรมท่า ก็เรียก. (ดู กรมพระคลัง ประกอบ). |
ข้าหลวง ๒ | น. ตำแหน่งผู้ปกครองในหัวเมืองแต่ก่อนในลักษณะผู้รั้งเมืองหรือผู้รักษาเมืองเอก โท ตรี จัตวา ถ้าปกครองหลายหัวเมือง เรียกว่า ข้าหลวงใหญ่ ถ้าปกครองเมืองประเทศราช เรียกว่า ข้าหลวงรักษาราชการ |
ขุนโรง | น. ข้าราชการฝ่ายยุติธรรมผู้เป็นหัวหน้าในศาลหัวเมืองต่าง ๆ, ใช้เป็นสำนวนว่า ขุนโรงขุนศาล. |
จังหวัด | น. หน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้าด้วยกัน มีฐานะเป็นนิติบุคคล, (โบ) เมือง, หัวเมือง |
ฉลอม | (ฉะหฺลอม) น. ชื่อเรือต่อชนิดหนึ่ง คล้ายเรือกระแชง หัวท้ายงอนเรียว กลางป่อง ตัวเรือเป็นเหลี่ยม กระดานข้างเรือเป็นทับเกล็ด นิยมใช้ตามหัวเมืองชายทะเลแถบปากอ่าว สำหรับบรรทุกสินค้าหรือหาปลา สมัยโบราณเวลาเกิดศึกสงครามก็จะถูกเกณฑ์ไปใช้ในราชการทัพด้วย อาจติดใบหรือไม่ก็ได้. |
เดินเหิน | ก. วิ่งเต้นเพื่อขอความช่วยเหลือ เช่น ผู้ใดรับสินบนเดินเหินช่วยแก้ไขให้คนเช่นนั้นได้ไปเป็นผู้สำเร็จราชการหัวเมือง จะได้บาปกรรมมากนัก (ประกาศ ร. ๔) |
เตก ๓, เต็ก | ก. เน้น เช่น หัวเมืองเตกสยงกล่าว แก่บ่าว (ยวนพ่าย), บังคับ, กดลง เช่น เต็กลายมือ. |
ท้องตรา | น. หนังสือราชการที่ประทับตราของเจ้ากระทรวง มีไปยังเจ้าเมืองตามหัวเมือง, เดิมเรียกว่า สารตรา. |
เทศาภิบาล | น. ตำแหน่งข้าหลวงผู้รักษาราชการ ผู้ว่าราชการเมือง หรือกรมการเมืองในหัวเมืองนั้น ๆ |
เทศาภิบาล | การปกครองหัวเมืองที่จัดเป็นมณฑล โดยโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทำหน้าที่ปกครองในแต่ละมณฑล เรียกว่า ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑล เว้นแต่มณฑลชายแดนบางมณฑล เรียกว่า ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑล ภายหลังเรียกว่า สมุหเทศาภิบาลมณฑล หรือสมุหเทศาภิบาล. |
เบญจ-, เบญจะ | (เบ็นจะ-) ว. ห้า, ลำดับที่ ๕ เช่น นาเบญจะ หัวเมืองเบญจะ. (ป. ปญฺจ; ส. ปญฺจนฺ), มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส. |
ใบบอก | หนังสือแจ้งราชการมาจากหัวเมือง. |
ประพาส | ก. ไปต่างถิ่นหรือต่างแดน เช่น ประพาสหัวเมือง ประพาสยุโรป, ไปเที่ยว เช่น ประพาสป่า. |
เพี้ยกวาน, เพี้ยกว้าน | น. ตำแหน่งข้าราชการหัวเมืองสมัยโบราณทางล้านนาและล้านช้าง. |
ภูมิภาค | (พูมมิ-, พูมิ-) น. หัวเมือง |
มหาดไทย | น. ชื่อกรมที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือในสมัยโบราณ มีสมุหนายกเป็นประธาน, ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองท้องที่ บำบัดทุกข์บำรุงสุข การพัฒนาชนบทและชุมชน การส่งเสริมการศึกษาและการประกอบอาชีพ การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การป้องกันสาธารณภัย การผังเมือง การโยธา และการราชทัณฑ์. |
มหาดเล็กรายงาน | ชื่อตำแหน่งราชการชั้นฝึกหัดในหัวเมือง. |
ยกกระบัตร | น. ตำแหน่งข้าราชการสังกัดกระทรวงวัง มีหน้าที่ออกไปประจำอยู่ตามหัวเมืองเพื่อสอดส่องอรรถคดี |
เรือฉลอม | น. เรือต่อชนิดหนึ่ง คล้ายเรือกระแชง หัวท้ายงอนเรียว กลางป่อง ตัวเรือเป็นเหลี่ยม กระดานข้างเรือเป็นทับเกล็ด นิยมใช้ตามหัวเมืองชายทะเลแถบปากอ่าว สำหรับบรรทุกสินค้าหรือหาปลา สมัยโบราณเวลาเกิดศึกสงครามก็จะถูกเกณฑ์ไปใช้ในราชการทัพด้วย อาจติดใบหรือไม่ก็ได้. |
แล ๓ | สัน. และ, กับ, เช่น ให้ประกาศแก่พระราชวงศานุวงศ์แลข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายหน้าฝ่ายในและราษฎรในกรุงแลหัวเมืองให้ทราบทั่วกัน (ประกาศ ร. ๔), ฝูงเทพยดาถือค้อนแลตระบองเทียรย่อมแก้วมณีรัตนะเป็นบริวาร (ไตรภูมิ). |
ศุภมาตรา | น. ตำแหน่งข้าราชการหัวเมืองตำแหน่งหนึ่ง ในปัจจุบันหมายถึงผู้ช่วยสรรพากรจังหวัด. |
สมพล ๑ | (-พน) น. เลกของขุนนางที่ปกครองหัวเมือง |
สมุหนายก | น. ตำแหน่งข้าราชการชั้นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน ดูแลรับผิดชอบและเป็นประธานที่ประชุมเสนาบดีของฝ่ายพลเรือน รวมทั้งการปกครองและการยุติธรรมในหัวเมืองฝ่ายเหนือ. |
สมุหพระกลาโหม | น. ตำแหน่งข้าราชการชั้นอัครมหาสนาบดีฝ่ายทหาร ดูแลรับผิดชอบและเป็นประธานที่ประชุมเสนาบดีของฝ่ายทหาร รวมทั้งการปกครองและการยุติธรรมในหัวเมืองปักษ์ใต้. |
สรเลข | (สอระ-) น. ตำแหน่งข้าราชการหัวเมืองในสมัยโบราณ. |
ส่วนภูมิภาค | น. ส่วนหัวเมือง. |
ส่วย ๑ | สิ่งของพื้นเมืองที่เมืองหลวงเรียกเกณฑ์จากหัวเมืองเป็นประจำเพื่อใช้ประโยชน์ในราชการ |
สารตรา | หนังสือราชการที่เสนาบดีเจ้ากระทรวงลงชื่อและประทับตรากระทรวงส่งไปยังหัวเมือง ซึ่งในสมัยต่อมาเรียกว่า ท้องตรา. |