กระหนาบคาบเกี่ยว | ว. ประชิดเหลื่อมลํ้ากัน. |
เก็บเกี่ยว | ก. เก็บรวบรวมพืชผลจากที่ได้หว่านหรือลงไว้. |
เกี่ยว | ก. อาการที่สิ่งงอเป็นขอเกาะติดหรือเหนี่ยวไว้ เช่น ทอดสมอให้เกี่ยวแง่หินไว้, เอาของที่มีลักษณะเช่นนั้นเกาะติดหรือเหนี่ยวไว้ เช่น เอาขอเกี่ยว, ติดต่อผูกพัน, แตะต้อง, ยุ่งเกี่ยว, ข้องแวะ, เช่น เรื่องนี้อันตรายมากอย่าเอาตัวเข้าไปเกี่ยวเลย, เกี่ยวข้อง ก็ว่า |
เกี่ยว | อาการที่สิ่งแหลมคมขูดขีด สะกิด เป็นต้น เช่น หนามเกี่ยว ตะปูเกี่ยว, ตัดด้วยเคียว เช่น เกี่ยวข้าว เกี่ยวหญ้า เกี่ยวแฝก |
เกี่ยว | โดยปริยายหมายความว่า เนื่อง เช่น เกี่ยวด้วยเรื่องนี้. |
เกี่ยวก้อย | ก. อาการที่แสดงความคุ้นเคยสนิทสนมกัน เช่น เขาเกี่ยวก้อยกันไปเที่ยวเชียงใหม่. |
เกี่ยวข้อง | ก. ติดต่อผูกพัน, แตะต้อง, ยุ่งเกี่ยว, ข้องแวะ, เกี่ยว ก็ว่า. |
เกี่ยวข้าว | น. ชื่อเพลงพื้นบ้านของภาคกลาง เรียกว่า เพลงเกี่ยวข้าว. |
เกี่ยวดอง | ว. นับเป็นญาติกันทางเขยหรือสะใภ้. |
เกี่ยวดองหนองยุ่ง | ว. เกี่ยวดองกันอย่างซับซ้อน. |
เกี่ยวเนื่อง | ก. เกี่ยวพันติดต่อกัน เช่น โครงการนี้เกี่ยวเนื่องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. |
เกี่ยวเบ็ด | ก. เอาเบ็ดไปเกี่ยวเหยื่อ, เอาเหยื่อมาเกี่ยวเบ็ด. |
เกี่ยวแฝกมุงป่า | ก. ทำอะไรเกินกำลังความสามารถของตัว. |
เกี่ยวพัน | ก. ติดเนื่องกัน, พัวพัน. |
เกี่ยวโยง | ก. ต่อเนื่องไปถึง. |
เกี้ยว ๑ | น. เครื่องประดับลักษณะเป็นวงคล้ายพวงมาลัย สำหรับสวมจุก, ราชาศัพท์ว่า พระเกี้ยว |
เกี้ยว ๑ | เครื่องประดับที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เกี้ยวลอมพอก เกี้ยวชฎา |
เกี้ยว ๑ | ผ้าคาดเอวสำหรับขุนนาง เรียกว่า ผ้าเกี้ยว เช่น เกี้ยวลาย คือผ้าคาดเอวที่มีลาย (บางทีเข้าใจกันว่าเป็นผ้านุ่งอย่างหนึ่ง). |
เกี้ยว ๑ | ก. รัด, พันแน่น, ติดแน่น, เช่น เพราะประพฤติมันเกี้ยว เกี่ยงร้ายแกมดี (โลกนิติ) |
เกี้ยว ๑ | พูดให้รักในเชิงชู้สาว, พูดแทะโลม, พูดเลียบเคียงเพื่อให้สมปรารถนา. |
เกี้ยวเกไล | น. วิธีนุ่งผ้าชนิดหนึ่งสำหรับขี่ช้าง. |
เกี้ยวคอไก่ | น. วิธีนุ่งผ้าเอาชายพกรัดอีกชายหนึ่งไว้แล้วเหน็บให้แน่น. |
เกี้ยวนวม | น. เกี้ยวที่ใส่หัวและนวมที่สวมคอ. |
เกี้ยวพาน, เกี้ยวพาราสี | ก. พูดให้รักในเชิงชู้สาว. |
เกี้ยว ๒ | น. คานหามของจีนชนิดหนึ่ง. |
เกี้ยวประทีป | น. ซุ้มไฟทำเป็นรูปอย่างเกี้ยว. |
เกี๊ยว | น. ของกินชนิดหนึ่งใช้แผ่นแป้งสาลีตัดเป็นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ห่อหมูสับเป็นต้น. |
แก้เกี้ยว | ก. แก้อย่างย้อนรอยให้หายกัน เช่น พูดแก้เกี้ยว ฟ้องแก้เกี้ยว. |
คาบเกี่ยว | ก. ติดต่อเกี่ยวเนื่องกัน เช่น ที่ดินคาบเกี่ยวกัน. |
นาคเกี่ยว, นาคเกี้ยว, นาคเกี่ยวพระสุเมรุ | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น หน้าทับปรบไก่ |
นาคเกี่ยว, นาคเกี้ยว, นาคเกี่ยวพระสุเมรุ | ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงเถา. |
นาคเกี้ยวกระหวัด, นาคบริพันธ์ ๑ | (นากบอริพัน) น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดให้ ๒ คำต้นของวรรคต่อไปซ้ำกับ ๒ คำสุดท้ายของวรรคหน้า โดยให้สลับคำกัน เช่น พระปิตุรงค์ฟังบุตรเห็นสุดห้าม ห้ามสุดความคิดบุตรเห็นสุดหาญ หาญสุดไม่หยุดยั้งจะรั้งราญ ราญรั้งนานแน่วเนตรสังเวชบุตร (ศิริวิบุลกิตติ์). |
ผ้าเกี้ยว | น. ผ้าลายหรือผ้าปูมสมัยเก่าสำหรับขุนนางนุ่งหรือห่อคัมภีร์เป็นต้น, สมปัก ก็เรียก. |
ลดเลี้ยวเกี้ยวพา | ก. พูดจาหว่านล้อมเป็นเชิงเกี้ยว. |
กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ | น. กฎหมายที่วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการสืบราชสมบัติ. |
กฎมนเทียรบาล | น. ข้อบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับพระราชฐาน พระราชวงศ์ และระเบียบการปกครองในราชสำนัก, โบราณใช้ว่า กฎมณเฑียรบาล หรือ กฎมณเทียรบาล ก็มี. |
กฎอัยการศึก | น. กฎหมายที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารลิดรอนสิทธิเสรีภาพบางประการของประชาชนได้ตามความจำเป็น ทั้งให้มีอำนาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ การระงับปราบปรามหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย และศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาบางอย่างที่ประกาศระบุไว้แทนศาลพลเรือน การใช้กฎอัยการศึกจะกระทำได้เมื่อมีเหตุจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีเกิดสงคราม การจลาจล โดยจะให้มีผลบังคับทุกท้องที่หรือบางท้องที่ก็ได้ตามความจำเป็น. |
กฎหมายปกครอง | น. กฎหมายสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชนที่วางหลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบในทางปกครองของรัฐ และการดำเนินกิจกรรมของฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะ รวมทั้งวางหลักความเกี่ยวพันในทางปกครองระหว่างฝ่ายปกครองกับเอกชน. |
กฎหมายพาณิชย์ | น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจำนอง การจำนำ ตั๋วเงิน หุ้นส่วน บริษัท. |
กฎหมายแพ่ง | น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลเกี่ยวกับสถานภาพ สิทธิ และหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมาย เช่น กฎหมายว่าด้วยนิติกรรม ละเมิด ทรัพย์สิน ครอบครัว มรดก. |
กฎหมายมหาชน | น. กฎหมายที่วางระเบียบโครงสร้างและการปกครองของรัฐหรือการบริหารราชการแผ่นดิน รวมตลอดทั้งความเกี่ยวพันระหว่างรัฐกับเอกชน เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายอาญา กฎหมายปกครอง. |
กฎหมายระหว่างประเทศ | น. หลักกฎหมายหรือหลักปฏิบัติที่ยอมรับกันว่าด้วยรัฐและความเกี่ยวพันระหว่างรัฐ รวมทั้งความเกี่ยวพันระหว่างรัฐกับองค์การระหว่างประเทศและประชาคมระหว่างประเทศ. |
กฎหมายเอกชน | น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างเอกชนหรือระหว่างเอกชนกับรัฐ ในฐานะที่รัฐดำเนินการอย่างเอกชนเกี่ยวกับสถานภาพของบุคคลตามกฎหมาย สิทธิและหน้าที่ของเอกชน รวมทั้งวางระเบียบเกี่ยวกับทรัพย์สินของเอกชน เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์. |
กบฏ | เป็นฐานความผิดอาญา ที่เกี่ยวกับการล้มล้างรัฐธรรมนูญ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ และการแบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครอง. |
กรมนา | น. กรมใหญ่กรมหนึ่งในจตุสดมภ์ มีเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษานาหลวง เก็บหางข้าวขึ้นฉางหลวง ทำนุบำรุงอาชีพเกษตรกรรมและเก็บค่าภาษีอากรเกี่ยวกับการนั้น รวมทั้งบังคับบัญชาศาลในสังกัดซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีพิพาทเกี่ยวกับที่นาและโคกระบือเป็นต้น |
กรมพระคลัง | น. กรมใหญ่กรมหนึ่งในจตุสดมภ์ มีเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการคลัง การต่างประเทศ และการค้ากับต่างประเทศ รวมทั้งบังคับบัญชาศาลในสังกัดซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีความเกี่ยวข้องด้วยพระราชทรัพย์หลวง และคดีความต่างประเทศ, พระคลัง หรือ พระคลังกรมท่า ก็เรียก |
กรมวัง | (กฺรมมะ-) น. กรมใหญ่กรมหนึ่งในจตุสดมภ์ มีเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจหน้าที่รักษาพระราชมนเทียร พระราชวังชั้นนอก พระราชวังชั้นใน บริหารกิจการในพระราชสำนัก และบังคับบัญชาศาลในสังกัดซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับสมใน ได้แก่ ศาลแพ่งวัง ศาลอาชญาวัง และศาลนครบาลวัง รวมทั้งบังคับบัญชาศาลมรดก |
กรรชิด | (กัน-) ก. กระชิด เช่น สองกรกลเกียดเกี้ยว กรรชิด (ลอ). |
กรรมพันธุ์ | มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ คือ เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง. |
กรรมสิทธิ์ | สิทธิทั้งปวงที่ผู้เป็นเจ้าของมีอยู่เหนือทรัพย์สิน ในอันที่จะใช้สอย จำหน่าย ได้ดอกผล ติดตามและเอาคืน รวมทั้งขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย. |