คำ ๒ | น. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษรที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคำอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คำนาม คำกริยา คำบุรพบท |
โฆษะ | ว. ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียงสั่นในภาษาไทยได้แก่เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง ง น ม ย ร ล ว และเสียงสระทุกเสียง, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงก้องว่า พยัญชนะโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๓, ๔, ๕ ของวรรค และ ย ร ล ว ห ฬ. |
ชะ ๒, ชะชะ | อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อเวลาโกรธหรือไม่ชอบใจเป็นต้น, ชะช้า หรือ ชัดช้า ก็ว่า. |
ชะช้า | อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อเวลาโกรธหรือไม่ชอบใจเป็นต้น, ชะ ชะชะ หรือ ชัดช้า ก็ว่า. |
ชะต้า | อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อเวลาโกรธหรือชอบใจ เช่น ชะต้าเขาเป็นหญิงยังทำได้ (ขุนช้างขุนแผน–แจ้ง), ใช้ว่า ฉะต้า ก็มี. |
ชัดช้า | อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อเวลาโกรธหรือไม่ชอบใจเป็นต้น, ชะ ชะชะ หรือ ชะช้า ก็ว่า. |
ชิ, ชิชะ, ชิชิ | อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกโกรธหรือไม่ชอบใจเป็นต้น. |
ไชโย | อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความดีใจหรืออำนวยพรเป็นต้น. |
ดูดู๋, ดูหรู | อ. เสียงที่เปล่งออกมาแสดงความโกรธ เช่น อีรจนาดูดู๋มึงช่างมักง่าย ทรลักษณ์อัปรีย์ไม่มีอาย หน่อกษัตริย์ทั้งหลายไม่เอื้อเฟื้อ (สังข์ทอง), ดูหรูอ้ายเจ้าเล่ห์ทำเสแสร้งพูดจานี่แอบแฝงเป็นแยบคาย (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
ดูรึ | อ. เสียงที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจ เช่น ดูรึเห็นคนอื่นดีกว่าลูกเมีย. |
ดูหรือ | อ. เสียงที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจ เช่น ดูหรือมาเป็นไปได้. |
ตายห่า | อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความตกใจเป็นต้น (ใช้เป็นคำไม่สุภาพ). |
ตายโหง | อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความตกใจเป็นต้น (ใช้เป็นคำไม่สุภาพ). |
โถ ๒ | อ. คำที่เปล่งออกมาด้วยความสงสารหรือเห็นอกเห็นใจเป็นต้น. |
ทุด | อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจ ติเตียน หรือดูถูก. |
ทุเรศ ๑ | ว. ลักษณะที่ขัดหูขัดตา น่ารังเกียจ หรือน่าสมเพช เป็นต้น, (ปาก) คำที่เปล่งออกมาแสดงการไม่ยอมรับหรือแสดงความรังเกียจ. |
โธ่ | อ. คำที่เปล่งออกมาด้วยความสงสารหรือรำคาญใจเป็นต้น. |
บ๊ะ | อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจหรือประหลาดใจเป็นต้น, อุบ๊ะ ก็ว่า. |
พยัญชนะ | (พะยันชะนะ) น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ในปากและคอ เช่น เสียง ป โดยทั่วไปจะออกเสียงพยัญชนะร่วมกับเสียงสระ, เสียงพยัญชนะ ก็เรียก |
พยางค์ | (พะยาง) น. ส่วนของคำที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ เช่น กะ มี ๑ พยางค์ กระเป๋า มี ๒ พยางค์ พยากรณ์ มี ๓ พยางค์. |
พุทโธ่ | อ. คำที่เปล่งออกมาด้วยความสงสารหรือรำคาญใจเป็นต้น. |
เพี้ยง | อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่ออธิษฐานให้เป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง. |
แม่เจ้าโว้ย | อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความประหลาดใจ. |
ยี้ | อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงอาการรังเกียจสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นต้น เช่น ยี้ ! เสื้อสกปรกอย่างนี้ยังจะเอามาให้อีก, อี๊ ก็ว่า. |
แล้วกัน | ว. คำที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจหรือผิดหวังเป็นต้น เช่น แล้วกันกินขนมหมดไม่เหลือไว้ให้เลย แล้วกัน ไปเมื่อไรก็ไม่บอก |
วะ ๑ | อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงอารมณ์ผิดคาดหรือผิดหวังเป็นต้น, อุวะ ก็ว่า. |
ว่าเข้านั่น | เป็นคำที่เปล่งออกมาในลักษณะที่แสดงว่าเรื่องที่อีกฝ่ายหนึ่งกล่าวนั้นไม่น่าเชื่อถือเป็นต้น. |
ว่าแล้ว | เป็นคำที่เปล่งออกมาในลักษณะที่ได้เกิดเหตุการณ์ตรงตามที่ได้ว่าไว้ เช่น ฉันว่าแล้ว ไม่ผิดไปจากที่พูดเลย. |
ว้า ๑ | อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกไม่พอใจหรือผิดจากที่คาดไว้เป็นต้น. |
ว้าย | อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงอาการตกใจหรือดีใจเป็นต้น (โดยมากเป็นเสียงผู้หญิง). |
วุ้ย | อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกตกใจ เก้อเขิน หรือไม่พอใจ เป็นต้น (โดยมากเป็นเสียงผู้หญิง) เช่น วุ้ย น่ารำคาญ. |
เว้ย | อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความสงสัยหรือไม่พอใจเป็นต้น เช่น เว้ย ! ไม่มีใครอยู่สักคนเลย, โว้ย ก็ว่า. |
โว้ย | อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความสงสัยหรือไม่พอใจเป็นต้น เช่น โว้ย ! ไม่มีใครอยู่สักคนเลย, เว้ย ก็ว่า. |
สระ ๒ | (สะหฺระ) น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปากเป็นสำคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียงสระร่วมกับเสียงพยัญชนะ หรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่างเดียวก็ได้, เสียงสระ ก็เรียก |
เสร็จกัน, เสร็จเลย | คำที่เปล่งออกมาแสดงความผิดหวัง เช่น เสร็จกัน ยังไม่ทันได้ออกแสดง เสื้อผ้าก็เปื้อนหมดแล้ว เสร็จเลย ลืมเอากระเป๋าสตางค์มา. |
เสียงพยัญชนะ | น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ในปากและคอ เช่น เสียง ป โดยทั่วไปจะออกเสียงพยัญชนะร่วมกับเสียงสระ, พยัญชนะ ก็เรียก. |
เสียงสระ | น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปากเป็นสำคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียงสระร่วมกับเสียงพยัญชนะ หรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่างเดียวก็ได้, สระ ก็เรียก. |
เสียงหลง | เสียงที่เปล่งออกมาผิดระดับทำให้เพลงที่ร้องมีเสียงเพี้ยน. |
หน็อยแน่ | ว. คำที่เปล่งออกมาเมื่อไม่พอใจหรือผิดหวัง เช่น หน็อยแน่ ! ทำผิดแล้วยังจะอวดดีอีก. |
หือ ๑ | อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกสงสัยเพื่อถามหรือเมื่อยังไม่ได้ยินหรือไม่เข้าใจ, (เป็นคำสำหรับผู้ใหญ่กว่าหรือเสมอกันใช้). |
หื้อ ๑ | อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความรับรู้. |
เหม่, เหม่ ๆ | (เหฺม่) อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความโกรธเพื่อขู่หรือตวาด, อุเหม่ ก็ว่า. |
แหม ๒ | (แหฺม) ว. เสียงที่เปล่งออกมาให้รู้สึกว่าเป็นการแปลกเป็นต้น. |
โห่ | อ. เสียงที่เปล่งออกมาดังเช่นนั้น เป็นเสียงนำเพื่อแสดงความพร้อมเพรียงในการรื่นเริงหรือการมงคลเป็นต้น. |
อกคราก | ว. คำที่กล่าวเปล่งออกมาหมายความว่า หนักเหลือเกิน, เดือดร้อนเหลือเกิน. |
อกจะแตก | อ. คำพูดที่เปล่งออกมาเมื่อตกใจเป็นต้น (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น อุ๊ย ! อกจะแตก, อกแตก ก็ว่า. |
อกแตก | อ. คำพูดที่เปล่งออกมาเมื่อตกใจเป็นต้น (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น อุ๊ย ! อกแตก, อกจะแตก ก็ว่า. |
อกอีปุกแตก, อกอีแป้นแตก | อ. คำพูดที่เปล่งออกมาเมื่อตกใจเป็นต้น (ใช้แก่ผู้หญิง). |
อโฆษะ | ว. ไม่ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียงไม่สั่น ในภาษาไทยได้แก่เสียง อ เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะสะกด และเสียง ก ค จ ช ซ ต ท ป พ ฟ ฮ เสียงสระในภาษาไทยไม่เป็นอโฆษะ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงไม่ก้อง ว่า พยัญชนะอโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๑, ๒ ของวรรค และ ศ ษ ส. |
อนิจจัง ๒, อนิจจา | (อะนิด-) อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความสงสารสังเวชเป็นต้น. |