กฎหมายตราสามดวง | น. ประมวลกฎหมายโบราณของไทยซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้าฯ ให้ชำระและปรับปรุงแก้ไขตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ เมื่อทำเสร็จแล้วได้ประทับดวงตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ และบัวแก้ว ไว้เป็นสำคัญ จึงเรียกว่า กฎหมายตราสามดวง. |
แกงได | น. รอยขีดเขียนซึ่งบุคคลทำไว้เป็นสำคัญแทนการลงลายมือชื่อ ในทางกฎหมายถ้าจะให้มีผลเสมอกับลงลายมือชื่อต้องมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง ๒ คน หรือได้ทำต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่. |
เข้าว่า | ว. เป็นสำคัญ เช่น เอามากเข้าว่า. |
เครื่องบูชา | น. สิ่งที่ใช้บูชาของไทย ใช้ของ ๔ อย่างเป็นสำคัญ คือ ข้าวตอก ดอกไม้ ธูป เทียน. |
ฉ่อย | น. ชื่อเพลงสำหรับว่าแก้กันระหว่างชายกับหญิง เป็นเพลงที่นิยมว่าปากเปล่าโดยอาศัยปฏิภาณเป็นสำคัญ เมื่อว่าจบบทแล้ว ลูกคู่จะรับพร้อมกันว่า ชา ฉา ชา ฉาด ชา หน่อยแม่. |
ดวงตรา | น. เครื่องหมายที่มีลักษณะเป็นรูปต่าง ๆ สำหรับประทับเป็นสำคัญ เช่น ดวงตราแผ่นดิน. |
ดูเบา | ก. เห็นเป็นการเล็กน้อย, เห็นไม่เป็นสำคัญ, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น อย่าดูเบา. |
ตรา | (ตฺรา) ก. ประทับเป็นสำคัญ เช่น ตราไว้ |
ธนาคารออมสิน | น. ธนาคารที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นเพื่อรับฝากเงินออมสินเป็นสำคัญ. |
ประจำครั่ง, ประจำตรา | ก. เอาครั่งผนึกแล้วประทับเครื่องหมายเป็นสำคัญ. |
ปี้ ๑ | ครั่งประทับตราที่ผูกข้อมือจีนครั้งก่อนเป็นสำคัญว่าได้เสียเงินค่าราชการแล้ว |
เป็นที่ตั้ง | ว. เป็นสำคัญ. |
แปลเอาความ | ก. แปลภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งโดยถือความหมายเป็นสำคัญ. |
พีชคณิต | (พีชะคะนิด) น. คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์มาศึกษาการจำแนกประเภท คุณสมบัติ และโครงสร้างของระบบจำนวนหรือระบบคณิตศาสตร์อื่น ๆ ที่เน้นในเรื่องโครงสร้างเป็นสำคัญ รวมถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่านั้นด้วย. |
ลาย ๑ | น. รูปแบบทางทัศนศิลป์ประเภทหนึ่ง ประกอบขึ้นด้วยเส้นเป็นสำคัญ ลักษณะเป็นแบบซํ้า ๆ เป็นหมู่ ๆ หรือต่อเนื่องกันไปก็มี มีทั้งลายแบบธรรมชาติและลายแบบประดิษฐ์ ใช้เขียน ปั้น หรือแกะสลัก เป็นต้น เพื่อตกแต่งให้สวยงาม เช่น ลายกระหนก ลายเทพนม ลายก้านขด, กรรมวิธีประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ให้เป็นลวดลาย เช่น ลายกำมะลอ ลายปิดทองรดนํ้า ลายแทงหยวก |
วงเล็บ | ใช้กันนามเต็มหรือบรรดาศักดิ์ที่เขียนใต้ลายมือชื่อ เช่น
ใช้กันตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็นหัวข้อหรือที่เป็นเลขหมายบอกเชิงอรรถ ส่วนตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็นหัวข้ออาจใช้เพียงเครื่องหมายวงเล็บปิดก็ได้ เช่น วันรุ่งแรมสามค่ำเป็นสำคัญ (๑) อภิวันท์ลาบาทพระชินวร ข้อ (ก) ข้อ ๑), ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และสูตรทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นตัวเลขหรือสัญลักษณ์ไว้เป็นกลุ่ม เช่น a2 - b2 = (a + b)(a – b), Al2(SO4)3, นขลิขิต ก็ว่า. |
วรรณพฤติ | (วันนะพรึด) น. ฉันท์ที่กำหนดด้วยอักษรตามอักขรวิธีเป็นเสียงหนักเบาที่เรียกว่า ครุ ลหุ เป็นสำคัญ. |
ศูนย์หน้า | น. ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งกลางของแถวหน้าในการเล่นฟุตบอลทำหน้าที่ยิงประตูเป็นสำคัญ บางครั้งอาจลงมาช่วยเซนเตอร์ฮาล์ฟซึ่งอยู่ในตำแหน่งกลางของแถวกลางและพาลูกขึ้นไปในแดนฝ่ายตรงข้ามด้วย. |
สระ ๒ | (สะหฺระ) น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปากเป็นสำคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียงสระร่วมกับเสียงพยัญชนะ หรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่างเดียวก็ได้, เสียงสระ ก็เรียก |
สำคัญ | น. เครื่องหมาย, เครื่องจดจำ, เช่น ถือหลักเขตเป็นสำคัญ ให้ไว้เป็นสำคัญ ประทับตราบัวแก้วไว้เป็นสำคัญ. |
เสียงสระ | น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปากเป็นสำคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียงสระร่วมกับเสียงพยัญชนะ หรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่างเดียวก็ได้, สระ ก็เรียก. |
เอา ๑ | ถือเป็นสำคัญ เช่น เจรจาเอาถ้อยคำ เอาพี่เอาน้อง |