เพรียว | (เพฺรียว) ว. เปรียว, ฉลวย, เรียว, เช่น รูปร่างเพรียว เรือเพรียว. |
เพรียวลม | ว. มีรูปร่างสูงโปร่ง สะโอดสะอง |
เพรียวลม | มีรูปร่างเรียวบาง เคลื่อนไหวได้ว่องไว. |
เรือเพรียว | น. เรือขุดรูปคล้ายเรือแข่ง แต่ขนาดเล็กกว่า หัวยาวพองาม ท้ายสั้น เป็นเรือที่ขุนนางหรือผู้มีฐานะการเงินดีนิยมใช้กันในสมัยก่อน. |
กระสูบ | น. ชื่อปลานํ้าจืด ๒ ชนิด ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน แต่ลำตัวเพรียวกว่า ชนิดแรกคือ กระสูบขาว [ Hampala macrolepidota (van Hasselt) ] มักมีลายดำพาดขวางที่บริเวณลำตัวใต้ครีบหลัง พื้นหางสีแดง ขอบบนและล่างสีดำ ยาวได้ถึง ๗๐ เซนติเมตร อีกชนิดหนึ่งคือ กระสูบจุด ( H. disparSmith) ลำตัวมีจุดดำอยู่ตอนกลาง ปลายครีบหางมนกว่าและไม่มีแถบสีดำ ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร, สูด หรือ สูบ ก็เรียก. |
กวาง ๑ | (กฺวาง) น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Cervidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องกีบคู่ มีหลายชนิด รูปร่างลำตัวเพรียว คอยาว ขายาว หางสั้น ตัวเมียเล็กกว่าตัวผู้ ผลัดเขาปีละครั้ง ชนิดที่พบทั้งตัวผู้และตัวเมียมีเขา ได้แก่ กวางเรนเดียร์ [ Rangifer tarandus (Linn.) ] ชนิดที่ตัวเมียไม่มีเขา ได้แก่ กวางป่าหรือกวางม้า ( Cervus unicolor Kerr) ส่วนพวกที่ตัวผู้และตัวเมียไม่มีเขา ได้แก่ กวางชะมด (Moschus spp.) และกวางวอเตอร์เดียร์ ( Hydropotes inermis Swinhoe). |
กอและ ๑ | น. ชื่อเรือประมงชนิดเรือต่อ ใช้ตามชายทะเลฝั่งตะวันออกทางภาคใต้ตอนล่าง รูปร่างยาวเพรียว หัวและท้ายเรือแหลมสูง ใช้ใบขับเคลื่อนรับลม เขียนลวดลายสีสันต่าง ๆ ไว้อย่างสวยงาม. |
กะปูด | น. ชื่อนกขนาดกลางในวงศ์ Cuculidae ปากแหลมสั้นหนา ตาสีแดง ลำตัวเพรียว หัว คอ และลำตัวมีขนสีดำ ปีกสั้นสีน้ำตาลแดง หากินตามพื้นป่าโปร่ง บินได้ในระยะสั้น ๆ ร้องเสียง “ปูด ๆ ” มี ๓ ชนิด คือ กะปูดใหญ่ [ Centropus sinensis (Stephens) ] กะปูดเล็ก [ C. bengalensis (Gmelin) ] และกะปูดนิ้วสั้น ( C. rectunguisStrickland), ปูด หรือ กระปูด ก็เรียก, พายัพเรียก ก้นปูด. |
กุแหละ | (-แหฺละ) น. ชื่อเรือขุดชนิดหนึ่ง เสริมข้างกระดาน รูปร่างเพรียว หัวและท้ายเรือแหลมสูง มี ๒ แจว ใช้ตามชายฝั่งทะเลหรือแถบปากนํ้า สำหรับบรรทุกหอย ปู ปลา เป็นต้น. |
เกล็ดถี่ | น ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กถึงขนาดกลางชนิด Thynnichthys thynnoides (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด ลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็กมาก พื้นลำตัวสีเงินเป็นประกาย พบทั่วไป แต่มีชุกชุมในเขตภาคกลางของประเทศไทย ยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, นางเกล็ด พรม หรือ ลิง ก็เรียก. |
ขมวดยา | (ขะหฺมวด-) น. ชื่อเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น ใหญ่กว่าเรือกราบ รูปร่างค่อนข้างเพรียว หัวและท้ายเรือเสริมไม้ต่อเป็นโขนงอนเชิดขึ้น ด้านข้างหัวเรือเขียนลวดลายด้วยนํ้ายาสีต่าง ๆ วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๕๐ คน เป็นเรือตามเสด็จในการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคหรือเสด็จพระราชดำเนินลำลองทางชลมารค ใช้เป็นเรือกันหรือเรือพิฆาตได้, โขมดยา ก็ว่า. |
แข้งไก่ | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Megalaspis cordyla (Linn.) ในวงศ์ Carangidae ลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย เรียวลู่ไปทางคอดหางซึ่งแคบมากและเป็นเหลี่ยมแข็งคล้ายแข้งไก่ หน้าครีบก้นมีกระดูกเป็นหนามแข็ง ๒ อัน พับซ่อนในร่องเนื้อได้ ตาโตมีหนังตาไขมัน ปากกว้าง ครีบอกยาวใหญ่เป็นรูปเคียว ครีบหางเป็นแฉกกว้าง ท้ายครีบหลังและครีบก้นมีครีบฝอย ๗-๑๐ ครีบ เรียงห่างกัน เกล็ดเล็กแต่เฉพาะที่อยู่ในแนวเส้นข้างตัวจนถึงข้างหางขยายใหญ่มาก ด้านบนของหัวและลำตัวมีสีเขียวอมเทา ด้านท้องมีสีขาวเงิน ขอบแผ่นปิดเหงือกมีจุดสีดำใหญ่ ว่ายน้ำเร็ว อยู่เป็นฝูงใกล้ผิวน้ำ ขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, ขาไก่ อีลอง อีโลง หรือ หางแข็ง ก็เรียก. |
โขมดยา | (ขะโหฺมด-) น. ชื่อเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น ใหญ่กว่าเรือกราบ รูปร่างค่อนข้างเพรียว หัวและท้ายเรือเสริมไม้ต่อเป็นโขนงอนเชิดขึ้น ด้านข้างหัวเรือเขียนลวดลายด้วยนํ้ายาสีต่าง ๆ วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๕๐ คน เป็นเรือตามเสด็จในการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคหรือเสด็จพระราชดำเนินลำลองทางชลมารค ใช้เป็นเรือกันหรือเรือพิฆาตได้, ขมวดยา ก็ว่า. |
จาบคา | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิด ในวงศ์ Meropidae ปากสีดำปลายแหลมโค้งเล็กน้อย รูปร่างเพรียว สีออกเขียว ขนหางอาจสั้นหรือยาวแล้วแต่ชนิด มักสร้างรังเป็นรูตามหน้าผาดิน อยู่เป็นกลุ่ม กินแมลง เช่น จาบคาเคราแดง [ Nyctyornis amictas (Temminck) ] จาบคาหัวเขียว ( Merops philippinus Linn.) ซึ่งเดิมเรียก คับคา. |
ชะมด ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae หน้าแหลม รูปร่างเพรียว สีเทาหรือนํ้าตาล มีลายจุดสีดำตามยาวทั่วตัว หางและขนหางยาว มีลายเป็นปล้อง มีต่อมกลิ่นใกล้อวัยวะเพศ มักหากินในเวลากลางคืน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ชะมดเช็ด [ Viverricula malaccensis (Gmelin) ] เป็นชนิดที่ใช้นํ้ามันจากต่อมกลิ่นทำเครื่องหอม, ชะมดแผงหางปล้อง ( Viverra zibetha Linn.), ชะมดแผงสันหางดำ ( V. megaspila Blyth), อีสานเรียก เห็นอ้ม. |
ช้างแอฟริกา | น. ชื่อช้างชนิด Loxodonta africana (Blumenbach) รูปร่างสูงเพรียวกว่าช้างเอเชีย หัวเล็กลาดลงไปข้างหน้าถึงโคนงวง ปลายงวงทั้งด้านบนและด้านล่างมีจะงอยด้านละ ๑ จะงอย ใบหูใหญ่รูปคล้ายพัด มีงาทั้งตัวผู้และตัวเมีย หนังหยาบแข็ง มีขนสีดำทั่วตัวแต่ที่เห็นได้ชัดบริเวณตา ปลายหาง และมุมปาก ท้องป่อง หลังแอ่น นูนสูงขึ้นบริเวณท้ายลำตัว หางสั้น ขาหน้ามีเล็บข้างละ ๔ หรือ ๕ เล็บ ขาหลังมีเล็บข้างละ ๓ เล็บ แต่บางตัวมี ๔ เล็บ. |
แซ | น. เรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น รูปร่างเช่นเดียวกับเรือกราบแต่เพรียวน้อยกว่า ใช้ในการลำเลียงพล ศัสตราวุธ ยุทโธปกรณ์ และเสบียงกรัง อาจใช้เป็นเรือทุ่นหรือทำหน้าที่อื่นได้. |
ดอกหมาก ๒ | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Raiamas guttatus (Day) ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาว เพรียว แบนข้างเล็กน้อย จะงอยปากแหลมยาวล้ำขากรรไกรล่าง ปากกว้าง ตาเล็กอยู่ค่อนไปทางปลายหัว เกล็ดเป็นแบบเกล็ดเรียบ เส้นข้างตัวพาดต่ำ ๆ ใกล้แนวสันท้อง ครีบหลังอยู่ท้ายแนวกึ่งกลางลำตัวและมีก้านครีบ ๙-๑๑ ก้าน ครีบก้นอยู่คล้อยไปข้างท้ายของลำตัวและมีก้านครีบ ๑๓-๑๔ ก้าน ครีบอกอยู่ใกล้แนวสันท้อง ส่วนครีบท้องอยู่ในแนวหน้าครีบหลัง ครีบหางเป็นแฉกลึก บริเวณข้างลำตัวมีจุดสีน้ำเงินดำเรียบเป็นแถวยาวในแนวระดับตา ต่ำลงไปเหนือส่วนท้องจะเป็นจุดประกระจายทั่วไป ครีบต่าง ๆ มีสีอมเหลือง แพนหางตอนล่างมีแถบสีดำพาดตามยาวอยู่ที่ขอบด้านใน พบในเขตต้นน้ำหรือแม่น้ำที่มีพื้นเป็นกรวดทรายน้ำไหลแรงในทุกภาค ขนาดยาวได้ถึง ๒๘ เซนติเมตร, นางอ้าว อ้าว หรือ อ้ายอ้าว ก็เรียก. |
นกกระจอก ๒ | น. ชื่อปลาทะเลในสกุล Parexocoetus และ Cypselurus วงศ์ Exocoetidae ปากอยู่ปลายสุดของหัว เชิดขึ้นเล็กน้อย ตาโต หัวและด้านหลังแบนลงเล็กน้อยเป็นเหลี่ยมด้านท้องเกือบกลม ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางหางซึ่งเป็นแฉกลึกโดยแฉกล่างยาวกว่าแฉกบน ครีบอกใหญ่ใช้ร่อนถลาไปเหนือผิวนํ้าคล้ายปีก ลำตัวยาวเพรียว ส่วนบนลำตัวสีเขียวหรือนํ้าเงิน ข้างท้องสีขาวเงิน อาศัยอยู่บริเวณผิวนํ้า ขนาดยาว ๑๐-๓๐ เซนติเมตร, ปลาบิน ก็เรียก. |
นวลจันทร์ ๒ | น. ชื่อปลาทะเลหรือน้ำกร่อยชนิด Chanos chanos (Forsskål) ในวงศ์ Chanidae ลำตัวยาวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย หัวหลิม ตาโต ครีบหลังมีครีบเดียวตั้งอยู่ในแนวกลางตัว ครีบหางเป็นแฉกลึก เกล็ดทั่วตัวมีสีเงิน ขนาดยาวได้ถึง ๑.๘ เมตร อยู่ในน้ำจืดได้, ชะลิน ดอกไม้ หรือ นวลจันทร์ทะเล ก็เรียก. |
บด ๒ | น. ชื่อเรือต่อชนิดหนึ่งรูปเพรียว หัวท้ายเรียว. |
เปรียว | เพรียว. |
พร้า | (พฺร้า) น. มีดขนาดใหญ่, ถ้าเป็นรูปเพรียวยาวสำหรับถือกรีดกราย เรียกว่า พร้ากราย หรือ มีดกราย ทางถิ่นปักษ์ใต้เรียกว่า พร้าโอ หรือ มีดโอ, ถ้าปลายเป็นขอมีด้ามยาวสำหรับใช้เกี่ยวตัด เรียกว่า พร้าขอ หรือ มีดขอ, ถ้าปลายงุ้ม สันหนา และด้ามสั้น เรียกว่า พร้าโต้, มีดโต้ หรือ อีโต้ ก็เรียก, ถ้าเป็นรูปเพรียวยาวด้ามงอ ๆ สำหรับหวดหญ้า เรียกว่า พร้าหวด หรือ มีดหวด, ถ้าปลายแบนโตมีคม สำหรับขุดดินได้ เรียกว่า พร้าเสียม, ถ้าปลายตัดมีรูปโค้งนิด ๆ เรียกว่า พร้าถาง. |
ม่ง ๑ | น. ชื่อหนึ่งของปลาทะเลในกลุ่มปลาหางแข็ง หางกิ่ว หรือสีกุน โดยเฉพาะที่มีขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ ในวงศ์ Carangidae มีลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย หน้าครีบก้นมีหนามแข็ง ๒ อันพับลงในร่องได้ คอดหางแคบ เกล็ดบนเส้นข้างตัวใหญ่เป็นเหลี่ยมแข็งโดยเฉพาะที่บริเวณคอดหาง ไม่มีสีฉูดฉาด อยู่รวมกันเป็นฝูง เช่น ชนิด Caranx sexfasciatus Quoy & Gaimard, C. melampygus Cuvier, C. ignobilis (Forsska&npsp;ํl), Carangoides gymnostethus (Cuvier), C. fulvoguttatus (Forsska&npsp;ํl) และ Alectis ciliaris (Bloch) ปลาเหล่านี้บางชนิดอาจมีขนาดยาวได้ถึง ๑.๔ เมตร, กะมง กะม่ง หรือ ม่ง ก็เรียก. |
ม่วง ๓ | น. ชื่อเรือขุดรูปคล้ายเรือมาด แต่ยาวกว่า รูปร่างเพรียว หัวงอน ท้ายสั้น เป็นเรือที่คหบดีนิยมใช้กันในสมัยก่อน. |
มีดกราย | น. มีดขนาดใหญ่ รูปเพรียวยาว หัวตัด ใช้ถือกรีดกราย, พร้ากราย พร้าโอ หรือ มีดโอ ก็เรียก. |
มีดหวด | น. มีดขนาดใหญ่ รูปเพรียวยาว ด้ามงอ ๆ สำหรับหวดหญ้า, พร้าหวด ก็เรียก. |
ยี่สก | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Probarbus jullieni Sauvage ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาวเพรียว แบนข้าง มีหนวดสั้นที่มุมปากข้างละ ๑ เส้น มีแถบสีดำเด่นพาดตามยาวเฉพาะบนลำตัว ๗-๘ แถบ ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร, ยี่สกทอง ก็เรียก. |
รูปทรง | น. ทรวดทรง สัณฐาน ประกอบด้วยความกว้าง หนาหรือลึก และสูง เช่น เรือลำนี้รูปทรงเพรียว |
เรือกราบ | น. เรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น รูปร่างเพรียว หัวท้ายเรียวแหลมและเชิดขึ้นเล็กน้อย เสริมกราบที่แคมยาวตลอด ๒ ข้างลำเรือ วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๓๐ คน แล่นเร็วกว่าเรือแซ เป็นเรือที่ใช้ในราชการมาแต่โบราณ ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคใช้เป็นเรือกลอง เรือแซง หรือเรือกันได้. |
เรือกอและ | น. เรือประมงตามชายฝั่งทะเลทางภาคใต้ รูปร่างยาวเพรียว หัวและท้ายเรือแหลมสูง เขียนลวดลายสีสันต่าง ๆ ไว้อย่างสวยงาม. |
เรือกุแหละ | น. เรือขุดชนิดหนึ่ง เสริมข้างกระดาน รูปร่างเพรียว หัวและท้ายเรือแหลมสูง มี ๒ แจว ใช้ตามชายฝั่งทะเลหรือแถบปากน้ำ สำหรับบรรทุกหอย ปู ปลา เป็นต้น. |
เรือเข็ม | น. เรือต่อขนาดเล็ก รูปร่างยาวเพรียว หัวท้ายแหลม แล่นเร็ว กินน้ำตื้น พายมีลักษณะพิเศษที่มีใบพาย ๒ ข้าง มีด้ามอยู่ตรงกลาง ใช้พายระยะใกล้ ๆ. |
เรือโขมดยา | น. เรือขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น ใหญ่กว่าเรือกราบ รูปร่างค่อนข้างเพรียว หัวและท้ายเรียว บนหัวและท้ายเรือเสริมไม้ต่อเป็นโขนงอนเชิดขึ้น ด้านข้างหัวเรือเขียนลวดลายด้วยน้ำยาสีต่าง ๆ วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๕๐ คน เป็นเรือตามเสด็จในการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคหรือเสด็จพระราชดำเนินลำลองในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ใช้เป็นเรือกันหรือเรือพิฆาตได้. |
เรือแซ | น. เรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น รูปร่างเช่นเดียวกับเรือกราบแต่เพรียวน้อยกว่า ใช้ในการลำเลียงพล ศัสตราวุธ ยุทโธปกรณ์ และเสบียงกรัง อาจใช้เป็นเรือทุ่นหรือทำหน้าที่อื่นได้. |
เรือบด | น. เรือต่อชนิดหนึ่งรูปร่างเพรียว หัวท้ายเรียว มี ๓ ขนาด คือ เล็ก กลาง ใหญ่ ใช้ได้ทั้งพายและกรรเชียง. |
เรือประกอบ | น. เรือชนิดที่ท้องเรือทำด้วยปีกไม้ซุง ขุดเป็นรางแล้วต่อข้างขึ้นเป็นตัวเรือโดยอาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึดแล้วเสริมกราบ ได้แก่ เรือยาว เรือเพรียว เรือแซ. |
เรือม่วง | น. เรือขุดรูปคล้ายเรือมาด แต่ยาวกว่า รูปร่างเพรียว หัวงอน ท้ายสั้น เป็นเรือที่คหบดีนิยมใช้กันในสมัยก่อน. |
เรือหางยาว | น. เรือยนต์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเพรียวยาว ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ติดที่ท้ายเรือ มีท่อโลหะยาวคล้ายหางติดใบจักรใช้แทนหางเสือไปในตัวและยกขึ้นลง โยกไปทางซ้ายทางขวาเพื่อเปลี่ยนทิศทางได้. |
เรือโอ่ | น. เรือต่อชนิดหนึ่ง คล้ายเรือสำปั้น แต่มีขนาดเล็กและเพรียวกว่า ล่มง่าย ผู้ชำนาญจึงจะพายได้. |
ลัง ๒ | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Rastrelliger kanagurta (Cuvier) ในวงศ์ Scombridae รูปร่างและลักษณะทั่วไปคล้ายปลาทู แต่ขนาดใหญ่และลำตัวเพรียวกว่าเล็กน้อย ปากกว้าง ลำตัวสีน้ำเงินปนเทาและมีแถวจุดบริเวณ ๒ ข้างของครีบหลังเข้มกว่าปลาทู มีลายเส้นสีทึบพาดตามยาวข้างลำตัว ๒-๓ เส้น มีชุกชุมโดยอยู่รวมกันเป็นฝูงในบริเวณห่างฝั่งมากกว่าปลาทู, ทูโม่ง หรือ ทูลัง ก็เรียก. |
สังกะวัง | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Pangasius polyuranodon Bleeker ในวงศ์ Schilbeidae ลักษณะรูปร่างคล้ายปลาสวายแต่เพรียวกว่า ครีบหลังและครีบอกมีปลายยื่นยาว หนวดยาวถึงหรือเลยครีบอก ลำตัวด้านหลังสีเทาแกมเขียวหรือน้ำเงินเข้ม ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร. |
สำปันนี ๑ | น. ชื่อเรือขุดชนิดหนึ่ง รูปร่างอย่างเรือมาด แต่เพรียวกว่า หัวและท้ายแบนโตเรี่ยนํ้า. |
เสือไฟ | น. ชื่อเสือชนิด Felis temmincki Vigors & Horsfield ในวงศ์ Felidae ขนาดใหญ่กว่าเสือปลา รูปร่างเพรียว ขนสีนํ้าตาลแกมแดงตลอดตัว หรือที่หายากมีสีดำ หางยาวไล่เลี่ยกับลำตัว เวลาเดินจะยกหางขนานกับพื้น อาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง กินสัตว์ขนาดเล็ก เช่น กระต่าย กิ้งก่า. |
หมูป่า | น. ชื่อหมูซึ่งเป็นต้นกำเนิดของหมูบ้าน รูปร่างลักษณะคล้ายหมูบ้าน แต่ปากและจมูกยื่นยาวกว่า ปลายจมูกบานใช้สำหรับดุดหาอาหาร ลำตัวเพรียวกว่ามีขนดกหยาบสีดำ ๆ ขนแผงคอยาว ตัวผู้มีเขี้ยวใหญ่ยื่นยาวพ้นปาก กินพืช ลูกเกิดใหม่ขนสีน้ำตาลอ่อน มีลายขาวเป็นทางตามยาว เรียก ลายแงไทย ในประเทศไทยเป็นชนิด Sus scrofa Linn. พบในป่าทุกภาค. |
หางยาว | น. เรียกเรือยนต์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเพรียวยาว ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ที่ติดท้ายเรือ มีท่อโลหะยาวปลายติดใบจักรใช้แทนหางเสือไปในตัว โยกไปทางซ้ายทางขวาเพื่อเปลี่ยนทิศทางและยกขึ้นลงได้ ว่า เรือหางยาว. |
หางกิ่ว | น. ชื่อหนึ่งของปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Carangidae อยู่ในกลุ่มปลาหางแข็ง สีกุน หรือม่ง ลักษณะสำคัญคือ ลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย หน้าครีบก้นมีหนามแข็ง ๒ อันพับได้ คอดหางแคบมาก เกล็ดบนเส้นข้างตัวที่คอดหางใหญ่เป็นเหลี่ยมแข็ง อยู่รวมกันเป็นฝูง เช่น ชนิด Atule mate (Cuvier) ซึ่งมีขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร ส่วนชนิดที่ใหญ่และยาวกว่าชนิดแรกมากคือ Caranx sexfasciatus Quoy & Gaimard ขนาดยาวได้ถึง ๗๘ เซนติเมตร สำหรับชนิดหลังนี้ สีขน ก็เรียก. |
โอ ๒ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดกลางหลายชนิดในวงศ์ Scombridac อยู่เป็นฝูงห่างฝั่ง รูปร่างเพรียวคล้ายกระสวย บริเวณฐานครีบหูมีกลุ่มเกล็ดเล็ก ๆ ครีบหางเว้าลึก เช่น โอหม้อหรือโอดำ [ Thunnus tonggol (Breeker) ] โอลาย [ Euthynnus affinis (Cantor) ] . |
โอ่ ๑ | น. ชื่อเรือต่อชนิดหนึ่ง คล้ายเรือสำปั้น แต่มีขนาดเล็กและเพรียวกว่า ล่มง่าย ผู้ชำนาญจึงจะพายได้. |