ความเร่ง | น. อัตราการเปลี่ยนความเร็วที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ต่อ ๑ หน่วยเวลา. |
คันเร่ง | น. ส่วนของเครื่องยนต์ที่ใช้ควบคุมความเร็วของเครื่องยนต์. |
มะเร็ง | น. เนื้องอกชนิดร้าย เกิดขึ้นเพราะเซลล์แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ควบคุมไม่ได้ แล้วแทรกไปตามเนื้อเยื่อข้างเคียง และสามารถหลุดจากแหล่งเริ่มต้นไปแบ่งตัวเพิ่มจำนวนที่บริเวณอื่น ๆ ได้ รักษาไม่ค่อยหาย. |
มะเร็งกรามช้าง | น. โรคมะเร็งชนิดหนึ่ง ขึ้นที่แถวกราม มีอาการเป็นเนื้อร้ายงอกขึ้นที่ต่อมแถวก้านคาง ทำให้ขากรรไกรพองโตใหญ่ออกมา. |
ระเร้ง | ก. เร่งรัด, รีบเร็ว. |
รีบเร่ง | ก. กิริยาที่ทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้เร็วขึ้นกว่าปรกติ เช่น ครูรีบเร่งตรวจข้อสอบให้เสร็จ, เร่งรีบ ก็ว่า. |
รีบเร่ง | ว. อาการที่เร็วขึ้นกว่าปรกติ เช่น เขาทำงานรีบเร่งจึงมีปัญหาตามมา, เร่งรีบ ก็ว่า. |
เร็ง | ว. เร็ว, ถี่. |
เร่ง | ก. ทำให้เร็วขึ้นกว่าปรกติ เช่น เร่งตรวจข้อสอบ, บังคับให้เร็ว, บอกเตือนให้รีบปฏิบัติ, เช่น เร่งคนงานให้ทำงานให้ทันเวลา เร่งลูกให้แต่งตัวไปโรงเรียน. |
เร่งเครื่อง | ก. เพิ่มความเร็วของเครื่องจักรให้สูงขึ้น, เหยียบคันเร่งรถยนต์เพื่อให้รถแล่นเร็วขึ้น. |
เร่งเงิน | ก. ทวงหนี้. |
เร่งด่วน | ว. รวดเร็วมาก, รวดเร็วยิ่ง, เช่น งานนี้ต้องทำอย่างเร่งด่วนให้เสร็จภายใน ๑๒ ชั่วโมง ย้ายเร่งด่วนภายใน ๒๔ ชั่วโมง. |
เร่งฝีเท้า | ก. เดินหรือวิ่งให้เร็วขึ้น. |
เร่งมือ | ก. เร่งทำให้เร็วขึ้น. |
เร่งรัด | ก. เร็วอย่างกวดขัน. |
เร่งร่าย | ก. รีบไป. |
เร่งรีบ | ก. กิริยาที่ทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้เร็วขึ้นกว่าปรกติ เช่น เขาเร่งรีบทำงานให้เสร็จก่อนค่ำ, รีบเร่ง ก็ว่า. |
เร่งรีบ | ว. อาการที่เร็วขึ้นกว่าปรกติ เช่น ทำงานเร่งรีบอาจผิดพลาดได้, รีบเร่ง ก็ว่า. |
เร่งเร้า | ก. รบเร้าให้รีบทำ, รบเร้าให้ทำโดยเร็ว, เช่น เขายังไม่พร้อมที่จะแต่งงาน ก็อย่าเพิ่งไปเร่งเร้าเขาเลย เกษตรกรเร่งเร้าให้ทางการช่วยเหลือก่อนที่พืชผลจะเสียหาย. |
เร่งวันเร่งคืน | ก. อยากให้ถึงวันที่กำหนดโดยเร็ว เช่น เด็ก ๆ เร่งวันเร่งคืนให้ถึงวันปิดเทอม. |
เร้ง | ก. เร่ง. |
กฎหมาย | ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดำรัสให้เร่งคืนมา (พากย์) |
กระชั้น | ว. ใกล้ชิด (เข้ามา) (ใช้แก่เวลาหรือเหตุการณ์) เช่น เวลากระชั้นเข้ามา ขี่ม้าขับกระชั้นมา, เร่งเข้า เช่น ไก่ขันกระชั้นเสียง, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระโชก เป็น กระโชกกระชั้น. |
กระตือรือร้น | ก. รีบร้อน, เร่งรีบ, ขมีขมัน, มีใจฝักใฝ่มาก, ใส่ใจอยากจะทำ. |
กระตุ้น | ก. ใช้มือหรือสิ่งใด ๆ กระแทกเบา ๆ ให้รู้ตัว เช่น กระตุ้นม้า, โดยปริยายหมายความว่า เตือนหรือหนุน เช่น กระตุ้นให้รีบทำงาน, ช่วยเร่ง เช่น ใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นหัวใจที่หยุดเต้นให้เต้นต่อไป. |
กระวีกระวาด | ว. รีบเร่งอย่างไม่นอนใจ. |
กระวูดกระวาด | ว. กระวีกระวาด, รีบเร่งอย่างไม่นอนใจ, ทำโดยเร็วอย่างลมพัดวูดวาด. |
กรามช้าง ๑ | น. ชื่อโรคมะเร็งชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่าขึ้นที่แถวกราม มีอาการเป็นเนื้อร้ายงอกขึ้นที่ต่อมแถวก้านคาง ทำให้ขากรรไกรพองโตใหญ่ออกมา เรียกว่า มะเร็งกรามช้าง. |
กลอง | (กฺลอง) น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี ขึงด้วยหนัง ใช้ตีบอกสัญญาณ กำกับจังหวะ หรือใช้ตีร่วมกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ ตัวกลองเรียกว่า “หุ่น” ลักษณะกลมกลวงทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่นไม้ชิงชัน ไม้มะริด ไม้มะม่วง มีทั้งหน้าเดียวและ ๒ หน้า ที่ขึ้นหนังหน้าเดียว เช่น โทน กลองยาว รำมะนา ที่ขึ้นหนัง ๒ หน้า เช่น กลองทัด ตะโพน เปิงมาง กลองแขก กลองมลายู กลองชนะ การขึ้นหนังมีทั้งที่ใช้หมุดตรึงให้แน่น และใช้โยงเร่งเสียงด้วยสายหนัง เรียกว่า หนังเรียด หรือใช้หวายหรือลวด ยังมีกลองที่หล่อด้วยโลหะทั้งลูก แต่มิได้ขึงด้วยหนัง ก็มี เช่น มโหระทึก และกลองที่ทำด้วยดินเผา การตีกลองอาจใช้ไม้ตี มือ (ฝ่ามือ) หรือนิ้ว เพื่อให้เกิดเสียงดังก้อง, ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูก. |
กลองแขก | น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปยาวทรงกระบอก มี ๒ หน้า หน้าหนึ่งใหญ่ เรียกว่า หน้ารุ่ย อีกหน้าหนึ่งเล็ก เรียกว่า หน้าต่าน เดิมใช้เส้นหวายผ่าซีกเป็นสายโยงเร่งเสียง แต่ปัจจุบันนิยมใช้สายหนังเหมือนกลองมลายู ชุดหนึ่งมี ๒ ลูก ลูกเสียงสูงเรียกว่า ตัวผู้ ลูกเสียงต่ำเรียกว่า ตัวเมีย, กลองชวา ก็เรียก. |
กลองมลายู | น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปร่างลักษณะอย่างเดียวกับกลองแขก แต่ตัวกลองสั้นและอ้วนกว่า สายโยงเร่งเสียงทำด้วยหนัง ขึ้นหนัง ๒ หน้าด้วยหนังวัว ตีด้วยไม้งอน ใช้บรรเลงในวงบัวลอยในงานศพ และใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์นางหงส์. |
กล่อมมดลูก | ก. เร่งให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้นโดยการประคบบริเวณท้อง. |
กวด | ก. ทำให้แน่น ให้ตึง หรือให้เขม็งยิ่งขึ้น เช่น กวดเชือก กวดผ้าปู, ทำให้เรียบและแนบสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น กวดตะปู, เร่งเพื่อให้ทัน เช่น วิ่งกวด. |
กวดขัน | ว. เอาจริงเอาจัง, เร่งรัดให้ยิ่งขึ้น. |
เก่น | ก. เข่น, หนัก, แรง, เร่ง, เช่น ตาแกก็มุมุ่นมุ่งเขม้น ถ่อกายเก่นตะเกียกเดิน (ม. ร่ายยาว กุมาร). |
แกมมา | น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือโฟตอน (photon) ที่มีพลังงานสูงมาก มีช่วงคลื่นสั้นมาก มักเรียกกันว่า รังสีแกมมา เคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๓๐๐, ๐๐๐ กิโลเมตร/วินาที มีอำนาจในการเจาะทะลุได้สูง สามารถเจาะทะลุแผ่นตะกั่วหนาหลายเซนติเมตรได้ เกิดจากการเสื่อมสลายของสารกัมมันตรังสี เช่น ธาตุเรเดียม ธาตุโคบอลต์-๖๐ หรือเกิดจากการที่อนุภาคบีตาพุ่งชนอะตอมของธาตุ ใช้ประโยชน์ในการแพทย์รักษาโรคมะเร็งและในการเกษตร. |
แกล้งดิน | ก. กระบวนการแก้ปัญหาสภาพดินเปรี้ยวตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยใช้กรรมวิธีเร่งปฏิกิริยาเคมีในดิน ทำให้ดินเปรี้ยวอย่างรุนแรงแล้วใช้ระบบชลประทานนำน้ำมาเจือจางดินเปรี้ยวทำสลับไปมา จนเปลี่ยนสภาพดินให้สามารถเพาะปลูกได้. |
ขมีขมัน | (ขะหฺมีขะหฺมัน) ว. รีบเร่งในทันทีทันใด. |
ขะมักเขม้น | (ขะมักขะเม่น) ก. ตั้งใจทำอย่างรีบเร่งเพื่อให้แล้วเสร็จไป, ก้มหน้าก้มตาทำ, เขม้นขะมัก ก็ว่า. |
ขัน ๒ | ก. ทำให้ตึงหรือให้แน่นด้วยวิธีหมุนกวดเร่งเข้าไป เช่น ขันชะเนาะ ขันเกลียว. |
ขับเคี่ยว | ก. เร่งรัด, ต่อสู้หรือแข่งขันกันไปจนถึงที่สุด หรือจนแพ้ชนะไปข้างหนึ่ง. |
ข่ำเขียว | ว. รีบ, ด่วน, เร่ง. |
เข็น | โดยปริยายหมายความว่า เร่งรัดให้ดี เช่น เด็กคนนี้เข็นไม่ขึ้น. |
เขม้นขะมัก | (ขะเม่น-) ก. ตั้งใจทำอย่างรีบเร่งเพื่อให้แล้วเสร็จไป, ก้มหน้าก้มตาทำ, ขะมักเขม้น ก็ว่า. |
เข้า ๑ | ใช้ประกอบคำอื่นแสดงความหมายเร่งรัด เช่น เร็วเข้า คิดเข้า, ใช้ประกอบคำอื่นแสดงความหมายมากขึ้น เช่น หนักเข้า ดึกเข้า นานเข้า, ใช้ประกอบคำอื่นแสดงสภาพหรือความรู้สึกที่เกิดมีขึ้น เช่น พอสวยเข้าก็มีหนุ่ม ๆ มารุมจีบ พอเหนื่อยเข้าก็อยากจะเลิกทำ, ใช้ประกอบคำอื่นแสดงความหมายว่าหนุนให้ทำ (มักใช้ในความประชดประชัน) เช่น เอาเข้าไป ว่าแล้วยังไม่ยอมหยุด. |
คลาศ | (คฺลาด) ก. คลาด, เคลื่อนจากที่หมาย, เช่น เร่งผ้ายเร่งคลาศคลา แลนา (ลอ). |
เคี่ยวขับ | ก. เร่งรัด, พยายามให้ถึงที่สุด. |
แคลเซียมไซคลาเมต | น. ชื่อสารประกอบ มีสูตรเคมี (C6H11NHSO3)2Ca. 2H2O ลักษณะเป็นผงสีขาว ละลายนํ้าได้ มีรสหวานมากกว่านํ้าตาลทรายมาก ใช้เป็นตัวให้ความหวานในเครื่องดื่ม มีหลักฐานว่าสารนี้ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้. |
ฆาต, ฆาต- | (คาด, คาดตะ-) ก. ตี เช่น เจ้าวิลาสฆาตกลองเร่งกองรบ (อภัย). |
เฆี่ยน | เร่งความเร็ว เช่น เฆี่ยนมาด้วยความเร็ว ๑๘๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง, เอาชนะคู่แข่งขันอย่างขาดลอย เช่น เฆี่ยนฝ่ายตรงข้าม ๓ เกมรวด. |