จี่โป่ง | น. จิ้งโกร่ง. (ดู จิ้งโกร่ง). |
ดาโป้งเป้ง | น. ชื่อแมลงพวกมวนหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Nepidae ที่พบบ่อยอยู่ในสกุล Laccotrephesเช่น ชนิด L. ruberLinn. และ L. robustus Stål ลำตัวยาว ๓-๔ เซนติเมตร มีหางยาวยื่นออกมา ๒ เส้น ตัวอ่อนอยู่ในน้ำ ขาคู่หน้าแข็งแรง จับสัตว์น้ำขนาดเล็กเช่นลูกน้ำหรือดักแด้ยุงกิน, มวนแมงป่องน้ำ หรือ แมลงดาโป้งเป้ง ก็เรียก, พายัพเรียก ดากลั้นเยี่ยว หรือ ดาเยี่ยว, อีสานเรียก แมงฮอด อีงอด งอดน้ำ หรือ กะโซ่น้ำ, ปักษ์ใต้เรียก แมลงจิ้มฟันจระเข้ หรือ แมลงดาขี้ควาย. |
ตาโป่ง | น. เรียกการเดินตัวม้าในหมากรุกไทยที่ผิดกติกา ว่า เดินตาโป่ง. |
นั่งโป่ง | ก. นั่งบนห้างที่ใช้ไม้ขัดและผูกเป็นแคร่บนต้นไม้หรือบนกอไผ่เพื่อคอยเฝ้าดูหรือยิงสัตว์ที่มากินดินโป่ง, นั่งป่ง ก็ว่า. |
ปากโป้ง | ก. ชอบพูดเปิดเผยสิ่งที่ไม่สมควรออกมาโดยไม่คำนึงถึงความผิดพลาดเสียหาย. |
แปะโป้ง | ก. พิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือเพื่อเป็นหลักฐานเมื่อนำของไปจำนำ, (ปาก) โดยปริยายหมายถึง ซื้อเชื่อ. |
โป่ง | น. ลักษณะของสิ่งที่พองด้วยลมหรือแก๊ส เช่น ลูกโป่ง |
โป่ง | พื้นดินที่มีเกลือสินเธาว์ผุดเกรอะกรังอยู่, ป่าหรือดินที่มีโป่ง เรียกว่า ป่าโป่ง ดินโป่ง, เรียกผีที่เชื่อว่ามีอยู่ในที่เช่นนั้น ว่า ผีโป่ง, เรียกลักษณะที่นั่งบนห้างที่ใช้ไม้ขัดและผูกเป็นแคร่บนต้นไม้หรือบนกอไผ่เพื่อคอยเฝ้าดูหรือยิงสัตว์ที่มากินดินโป่ง ว่า นั่งโป่ง, ป่ง ก็ว่า |
โป่ง | เรียกพื้นดินที่มีนํ้าผุดพุขึ้นมา ว่า โป่งนํ้า และเรียกนํ้าที่ผุดพุขึ้นมานั้น ว่า นํ้าโป่ง. |
โป่งค่าง | น. สัตว์ชนิดหนึ่งมีรูปร่างคล้ายค่างแต่ใหญ่กว่ามาก ชอบออกมาดูดเลือดที่หัวแม่เท้าของคนที่นอนหลับพักแรมในป่า เชื่อกันว่าเป็นผีโป่งชนิดหนึ่ง. |
โป่งดิน | น. ดินที่มีเกลือ. |
โป่งน้ำ | น. ช่องดินที่มีนํ้าพุขึ้นมา. |
โป้ง | ว. อาการที่พูดโพล่งออกมาโดยไม่ระมัดระวังปาก หรือพูดเปิดเผยสิ่งที่ไม่สมควรออกมาโดยไม่คำนึงถึงความผิดพลาดเสียหาย |
โป้ง | ใหญ่ เช่น หัวโป้ง |
โป้ง | เสียงดังอย่างเสียงปืนเป็นต้น. |
โป้งเป้ง | ว. สูง ๆ ใหญ่ ๆ |
โป้งเป้ง | เสียงดังเช่นนั้น. |
โป้งโย้ง | ว. โป้งโล้ง. |
โป้งโล้ง | ว. โตพองไม่สมส่วน, ไม่กะทัดรัด, โป้งโย้ง ก็ว่า. |
โป่งข่าม | น. ชื่อเรียกแร่เขี้ยวหนุมาน ใช้ทำเครื่องประดับ. |
โป่งวิด | น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Rostratula benghalensis (Linn.) ในวงศ์ Rostratulidae ลักษณะทั่วไปคล้ายนกปากซ่อม ปากยาวแหลม วงรอบเบ้าตาและหางตาสีขาว ตัวสีนํ้าตาลลาย ตัวเมียมีขนาดใหญ่และสีเข้มสวยกว่าตัวผู้ เมื่อออกไข่จะปล่อยให้ตัวผู้ฟักไข่ตามลำพัง ทำรังเป็นแอ่งบนพื้นดิน อาศัยอยู่ตามท้องทุ่งที่แฉะ ๆ กินแมลงและสัตว์น้ำขนาดเล็ก. |
โป้งโหยง | (-โหฺยง) ว. จองหอง, เย่อหยิ่ง. |
ผมโป่ง | น. ทรงผมผู้หญิงที่มีช้องหนุนให้ผมโป่งแล้วเกล้าเป็นมวย. |
ผีโป่ง | น. ผีที่อยู่ในป่าโป่ง. |
ผีโป่งค่าง | ดู โป่งค่าง. |
แมลงดาโป้งเป้ง | ดู ดาโป้งเป้ง. |
ลูกโป่ง | น. ถุงทำด้วยยางหรือพลาสติกเป็นต้นที่เป่าหรืออัดลมให้ยืดโป่งเป็นรูปต่าง ๆ ได้. |
ลูกโป่งสวรรค์ | น. ลูกโป่งที่อัดด้วยแก๊สไฮโดรเจนทำให้ลอยได้, ลูกสวรรค์ ก็ว่า. |
กะโซ่น้ำ | น. ดาโป้งเป้ง. (ดู ดาโป้งเป้ง). |
แข่งเกมวิบาก | น. การเล่นชนิดหนึ่ง ผู้เล่นต้องวิ่งข้ามสิ่งกีดขวางหรือทำกิจกรรมที่ยาก ๆ เช่น ใช้ปากควานหาสตางค์ในแป้ง สนเข็ม เป่าลูกโป่งให้แตก ใครทำเสร็จและวิ่งถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ. |
ฆ้องปากแตก | ว. ปากโป้ง, เก็บความลับไม่อยู่, ชอบนำความลับของผู้อื่นไปโพนทะนา. |
ฆ้องวง | น. ลูกฆ้องที่เรียงไว้เป็นชุด ใช้ตีดำเนินทำนอง เจาะรูที่ใบฉัตร ๔ รู สำหรับร้อยเชือกหนังตีเกลียวผูกโยงกับด้านฆ้องที่ทำด้วยต้นหวายโป่ง วงหนึ่งมีลูกฆ้อง ๑๖-๑๘ ลูก ทุกลูกเทียบเสียงตํ่าสูงเรียงกันเป็นลำดับ มีหลายชนิด เช่น ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ฆ้องวงกลาง ฆ้องวงมโหรี ฆ้องวงเล็กมโหรี. |
งอดน้ำ | น. ดาโป้งเป้ง. (ดู ดาโป้งเป้ง). |
จิ้งโกร่ง | น. ชื่อจิ้งหรีดชนิด Brachytrypes portentosus (Lichtenstein) เป็นจิ้งหรีดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ยาวประมาณ ๔.๕ เซนติเมตร สีน้ำตาลตลอดทั้งตัว, อ้ายโกร่ง หรือ หัวตะกั่ว ก็เรียก, พายัพเรียก จี้กุ่ง หรือ ขี้กุ่ง, อีสานเรียก จิโป่ม จี่นายโม้ จี่ป่ม หรือ จี่โป่ง. |
ดากลั้นเยี่ยว | น. ดาโป้งเป้ง. (ดู ดาโป้งเป้ง). |
ดาเยี่ยว | น. ดาโป้งเป้ง. (ดู ดาโป้งเป้ง). |
ตัวพิมพ์ | น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส |
ตาพอง ๑ | น. ตาที่มีลักษณะโป่งโตขึ้นมา. |
ตุง ๑ | ว. ลักษณะที่มีบางสิ่งบางอย่างดันให้นูนโป่งออกมา. |
ตุ่ย | ว. ลักษณะนูนโป่งออกมา เช่น แก้มตุ่ย บวมตุ่ย. |
ตุ้ย, ตุ้ย ๆ | ว. อาการที่เคี้ยวอาหารเต็มปากจนแก้มโป่งออกมา เช่น เคี้ยวตุ้ย ๆ กินตุ้ย ๆ. |
นั่งป่ง | ก. นั่งบนห้างที่ใช้ไม้ขัดและผูกเป็นแคร่บนต้นไม้หรือบนกอไผ่เพื่อคอยเฝ้าดูหรือยิงสัตว์ที่มากินดินป่ง, นั่งโป่ง ก็ว่า. |
น้ำเต้า | อวัยวะส่วนที่อยู่โคนงวงช้าง มีรูปโป่งคล้ายลูกนํ้าเต้า |
บ้าลำโพง | ว. บ้าเพราะกินเมล็ดลำโพง มีอาการซึมหรือพูดพล่าม, โดยปริยายหมายความว่า พูดโผงผาง ตึงตัง หรือแสดงกิริยาโมโหโกรธา เช่น พูดจาบ้าลำโพงโป้งไป (คาวี), ทำโมโหโกรธาบ้าลำโพง เที่ยวโป้งโหยงหยาบช้าสาธารณ์ (พิเภกสอนบุตร). |
ป่ง | น. พื้นดินที่มีเกลือสินเธาว์ผุดเกรอะกรังอยู่, ป่าหรือดินที่มีป่ง เรียกว่า ป่าป่ง ดินป่ง, เรียกผีที่เชื่อว่ามีอยู่ในที่เช่นนั้น ว่า ผีป่ง, เรียกลักษณะที่นั่งบนห้างที่ใช้ไม้ขัดและผูกเป็นแคร่บนต้นไม้หรือบนกอไผ่เพื่อคอยเฝ้าดูหรือยิงสัตว์ที่มากินดินป่ง ว่า นั่งป่ง, โป่ง ก็ว่า. |
ปั่นใย | น. ชื่อแมลงอันดับ Embioptera ลักษณะลำตัวเป็นรูปทรงกระบอก ยาว ๐.๕-๒.๐ เซนติเมตร เพศเมียทุกตัวและเพศผู้บางตัวไม่มีปีก ตีนมี ๓ ข้อ สามารถสร้างใยได้จากต่อมสร้างใยอยู่ที่ตีนข้อแรกของขาคู่หน้าที่โป่งพองออก อาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มภายในอุโมงค์ เส้นใยมักพบตามใต้เปลือกไม้ รอยแตกในดินและหิน ที่พบบ่อย เช่น ชนิด Oligotoma saundersii Westwood ในวงศ์ Oligotomidae, ชักใย ก็เรียก. |
ปากซ่อม | น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด หลายสกุล วงศ์ย่อย Scolopacinae ในวงศ์ Scolopacidae ปากยาวแหลม ปลายปากโป่ง ลำตัวป้อม มีลายสีนํ้าตาลและขาว ขาสั้น มักอยู่ตามลำพัง หากินในเวลาพลบคํ่าและกลางคืน ใช้ปากแทงหาอาหารจำพวกหนอนและไส้เดือนในดินลักษณะคล้ายกับการจิ้ม เช่น ปากซ่อมหางเข็ม [ Gallinago stenura (Bonaparte) ] ปากซ่อมดง ( Scolopax rusticola Linn.) ปากซ่อมเล็ก [ Gallinago minima (Brünnich) ], ปากส้อม ก็เรียก. |
ปี๊บ ๑ | ชื่อลูกโป่งที่ทำด้วยยาง. |
โปง ๑ | น. เรียกลักษณะแห่งสิ่งของที่ข้างในเป็นโพรงโป่งออก. |
เผลาะแผละ | (-แผฺละ) น. ลูกโป่งแก้วที่เด็กเป่าเล่น. |