โป้งโล้ง | ว. โตพองไม่สมส่วน, ไม่กะทัดรัด, โป้งโย้ง ก็ว่า. |
โล่ง | ว. มีลักษณะว่าง เตียน ไม่มีอะไรกีดกั้นหรือปิดบัง เช่น ที่โล่ง ป่าถูกตัดต้นไม้เสียโล่ง, ที่เปิดตลอดไม่มีอะไรกีดกั้นหรือปิดบัง เช่น ห้องโล่ง, โดยปริยายหมายความว่า ปราศจากอุปสรรค เช่น เปิดทางโล่งแล้ว. |
โล่งคอ | ก. อาการที่รู้สึกว่าลำคอปลอดโปร่งชุ่มชื่นเพราะดื่มน้ำชาหรือซดน้ำแกงร้อน ๆ เป็นต้น. |
โล่งจมูก | ก. รู้สึกว่าหายใจสะดวก. |
โล่งใจ | ก. รู้สึกสบายใจ, หายอึดอัดใจ, เช่น สอบไล่เสร็จ ค่อยโล่งใจหน่อย. |
โล่งโถง | ว. เปิดว่างตลอด ขาดสิ่งที่ควรมี เช่น ห้องโล่งโถง คือ ห้องที่ควรจะมีฝากั้น แต่ไม่มี. |
โล่งหู | ก. รู้สึกสบายอกสบายใจเพราะไม่ได้ยินเสียงที่เคยทำให้รำคาญหูอยู่เป็นประจำ. |
โล่งอก | ก. รู้สึกปลอดโปร่งใจเพราะปลดเปลื้องภาระหนักได้แล้ว. |
โล่งอกโล่งใจ | ก. รู้สึกปลอดโปร่งเพราะหมดความกังวลใจ. |
โล้ง | น. โรง. |
โล่งโจ้ง | ว. โล่งโต้ง. |
โล่งโต้ง, โล้งโต้ง | ว. ล่อนจ้อน, เปล่าเปลือย, เช่น เดินเปลือยกายโล่งโต้ง ถอนขนห่านเสียโล้งโต้ง ย่านซื่อซื่อว่าบ้าน ย่านยาว เหนแต่ชุมนุมลาว ล่อนโล้ง ลากอวนส่วนหนุ่มสาว เสียงแซ่ แม่เอย เท่าแก่แลโล้งโต้ง ต่างหล้อนห่อนอาย (นิ. สุพรรณ), โล่งโจ้ง ก็ว่า. |
กระโจม ๒ | กูบที่มีด้านเปิดโล่ง ๔ ด้าน, โจม ก็ว่า |
กระโจมทอง | น. เครื่องกันแดดและฝนเปิดโล่ง ๔ ด้าน อยู่บนสัปคับหลังช้างพระที่นั่ง เขียนลายปิดทองรดน้ำ. |
กระดูกอึ่ง | น. ชื่อไม้พุ่ม ๓ ชนิดในสกุล Dendrolobium และ Dicerma วงศ์ Leguminosae คือ ชนิด D. triangulare (Retz.) Schindl. มักขึ้นในที่โล่งตํ่าซึ่งชุ่มแฉะในฤดูฝน ฝักเล็กแบนคอดกิ่วเป็นข้อ ๆ ใช้ทำยาได้, ขมิ้นนาง ขมิ้นลิง ลูกประคำผี หน้านวล เหนียวหมา หรือ อีเหนียว ก็เรียก |
ขอช้าง ๒ | น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง ปากยาวรูปร่างคล้ายขอช้าง ตัวขนาดนกยูงแต่คอสั้นกว่า สีน้ำตาลไหม้ หากินตามที่โล่งเตียน เช่น ตามชายทุ่งนา. |
คนทีสอ | (คน-) น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Vitex trifolia L. ในวงศ์ Labiatae มักขึ้นในที่โล่งริมนํ้า สูงได้ถึง ๖ เมตร ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ ท้องใบสีนวล เมื่อขยี้มีกลิ่นฉุน ดอกสีครามอ่อน ใช้ทำยาได้, คนทิสอ โคนดินสอ หรือ สีสอ ก็เรียก, พายัพเรียก สีเสื้อน้อย หรือ ผีเสื้อน้อย. |
จางปาง | ว. สว่างจ้า, สว่างโล่ง |
จาบฝน | น. ชื่อนกขนาดเล็ก ในวงศ์ Alaudidae รูปร่างอ้วนป้อม สีน้ำตาลเหลือง มีลายจุดที่คอและอก หางสั้น เสียงร้องไพเราะ อยู่ตามทุ่งโล่ง กินแมลงและเมล็ดพืช ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จาบฝนเสียงใส ( Mirafra javanica Horsfield) จาบฝนปีกแดง ( M. assamica Horsfield) และจาบฝนเสียงสวรรค์ ( Alaula gulgula Franklin). |
โจม ๑ | กูบที่มีด้านเปิดโล่ง ๔ ด้าน |
ชาลา ๒ | ที่โล่งหน้าสถานที่สำคัญ ๆ บางแห่ง เช่น ชาลาหน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เทวสถานนี้สร้างเป็นชาลา ๓ ชั้นซ้อนกัน. |
ถอนใจ | ก. หายใจแรงและยาวในขณะที่รู้สึกหนักใจหรือรู้สึกโล่งอกโล่งใจ. |
โถง | น. อาคารที่เปิดโล่ง ๓ หรือ ๔ ด้าน, พื้นที่ใช้สอยบางส่วนของอาคาร มีลักษณะโล่ง เช่น โถงทางเข้า ห้องโถง. |
โถง | ว. ที่เปิดโล่ง มีฝาเพียงด้านเดียวหรือไม่มีฝา เช่น ศาลาโถง วิหารโถง ปราสาทโถง. |
ทุ่ง | น. ที่ราบโล่งใช้เพาะปลูก เช่น ทุ่งไร่ทุ่งนา หรือใช้ประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น ทุ่งพระเมรุ. |
โทง ๆ | ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไปในที่โล่ง (มักใช้แก่ผู้เปลือยกาย) เช่น เด็กแก้ผ้าวิ่งโทง ๆ. |
เบาใจ | ก. ไม่หนักใจ, โล่งใจ. |
เบาตัว, เบาเนื้อเบาตัว | ก. กระปรี้กระเปร่า, โล่งใจหายอึดอัด. |
ปรุโปร่ง | ว. โล่งตลอด. |
ป่าละเมาะ | น. ที่โล่งมีพุ่มไม้เล็ก ๆ เป็นหย่อม ๆ. |
แปลง ๑ | (แปฺลง) น. ที่โล่งแห่งหนึ่ง ๆ เช่น คล้องช้างกลางแปลง, พื้นที่ที่กำหนดไว้แห่งหนึ่ง ๆ เช่น นาแปลงหนึ่ง, ที่เป็นแอ่งมีโคลนเลนซึ่งคนหรือสัตว์ทำขึ้น เช่น แปลงหมู แปลงควาย. |
โป้งโย้ง | ว. โป้งโล้ง. |
โปล่ง | (โปฺล่ง) ก. โล่ง. |
ยกภูเขาออกจากอก | ก. โล่งอก, หมดวิตกกังวล, ปลดเปลื้องภาระที่หนักอกหนักใจให้หมดไป. |
รถตู้ | น. ตู้รถไฟที่ใช้บรรทุกสินค้าเป็นต้นภายในโล่ง มักปิดทึบทั้ง ๔ ด้าน |
ล่ง | ว. โล่ง, ว่าง, เปล่า, ไม่มีเครื่องกำบัง. |
ลด | ก. น้อยลง ตํ่าลง หรือทำให้น้อยลงตํ่าลงกว่าที่มีอยู่เป็นอยู่แต่เดิม เช่น น้ำลด ลดโทษ ลดราคา ลดน้ำหนัก ไข้ลด ลดธงลงจากเสา, ผ่อนลง เช่น ลดฝีเท้า ลดฝีจักร ลดระดับ ลดเสียง, เอาออก เช่น ลดฝาเรือนออกด้านหนึ่งทำให้ห้องโล่งขึ้น, หย่อนตัวลงนั่งหรือนอน เช่น ลดตัวลงนั่ง. |
ล่องแมว | น. ช่องว่างระหว่างพื้นเรือนกับพื้นระเบียงเพื่อถ่ายเทอากาศ มีขนาดพอแมวลอดได้ เปิดโล่งยาวตลอดตัวเรือน. |
ละเมาะ ๑ | น. หมู่ไม้ขนาดเล็ก ซึ่งขึ้นในที่โล่งเป็นหย่อม ๆ, บางทีก็เรียกว่า เกาะ, ถ้ามีลักษณะเป็นป่า ก็เรียกว่า ป่าละเมาะ. |
ว้างเวิ้ง | ว. เป็นช่องว่างและโล่งออกไปกว้างขวาง. |
เวิ้งว้าง | ว. โล่งกว้างทำให้ว้าเหว่ใจ เช่น ทะเลเวิ้งว้าง น้ำท่วมไร่นาล่มหมดจนดูเวิ้งว้าง. |
โว่ง | ว. ว่าง, โล่ง, โปร่ง, เช่น ตัดต้นไม้เสียโว่ง ซดน้ำแกงร้อน ๆ แล้วคอโว่ง. |
สนาม | (สะหฺนาม) น. ลาน, ที่ว่าง, ที่โล่ง, ที่เล่น, เช่น เขานั่งอยู่ริมสนาม เด็ก ๆ วิ่งเล่นในสนาม, ที่สำหรับเล่นหรือแข่งขันกีฬาต่าง ๆ เช่น สนามฟุตบอล สนามกอล์ฟ สนามชนวัว. |
สว่าง | โล่ง, ปลอดโปร่ง, เช่น สว่างอก สว่างใจ |
สิงโต ๒ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Panthera leo (Linn.) ในวงศ์ Felidae รูปร่างคล้ายแมวแต่มีขนาดไล่เลี่ยกับเสือโคร่ง ตัวสีนํ้าตาล ไม่มีลาย ขนปลายหางเป็นพู่ ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีขนสร้อยคอยาว ตัวเมียไม่มี อาศัยอยู่เป็นฝูงตามทุ่งโล่ง ตัวเมียมักทำหน้าที่ล่าเหยื่อ มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาและประเทศอินเดีย สิงโตเอเชียมีขนาดเล็กกว่าสิงโตแอฟริกาเล็กน้อย. |
เสียที ๒ | คำประกอบท้ายกริยา แสดงความตั้งใจมั่นหมาย เช่น วันนี้มีเวลาว่าง จะได้จัดโต๊ะหนังสือเสียที, คำประกอบท้ายกริยา แสดงความโล่งใจ เช่น เขามานั่งคุยอยู่นานกลับไปเสียที เราจะได้ทำอย่างอื่นบ้าง. |
ห้องโถง | น. ห้องขนาดใหญ่ที่ปล่อยไว้โล่ง ๆ. |
เฮอ | อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความโล่งใจ. |
เฮือก | ว. อาการที่ถอนใจใหญ่เนื่องจากเหนื่อยหน่ายหรือโล่งใจเป็นต้น ในคำว่า ถอนใจเฮือก, คำประกอบอาการไหวหรือสะดุ้ง แสดงว่า ไหวอย่างแรง เช่น เรือนไหวเฮือก หรือสะดุ้งทันที ในคำว่า สะดุ้งเฮือก. |