ไม้ยาว | น. ไม้พลองเป็นเครื่องต่อสู้ป้องกันตัวในการเล่นกระบี่กระบอง, คู่กับ ไม้สั้น. (ดู ไม้สั้น). |
ไม้สั้นไม้ยาว | น. เรียกวิธีเสี่ยงทายแบบหนึ่งว่าจับไม้สั้นไม้ยาว คือ ใช้ไม้เล็ก ๆ ขนาดสั้นยาวลดหลั่นกันไป จำนวนเท่าคนที่จะจับ กำปลายไม้ให้โผล่เสมอกัน มักตกลงกันว่า ผู้จับได้ไม้สั้นที่สุดเป็นผู้แพ้. |
กงพัด ๑ | เครื่องมือชนิดหนึ่งเป็นไม้ยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร เจาะรูหัวท้าย ใส่ไม้ขวาง สำหรับพัดด้าย. |
แกว ๒ | น. เรียกไม้ยาว ๆ ที่ผูกเบ็ดที่ปลายสำหรับชักกบในรู ว่า ขอแกว. |
ขอแกว | น. ไม้ยาว ๆ ที่ผูกเบ็ดที่ปลาย สำหรับชักกบในรู. |
คันโพง | คันไม้ยาวใช้ผูกโพงสำหรับตักน้ำหรือโพงน้ำ. |
เจาะจมูก | ก. เจาะด้านหัวและท้ายของซุงเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายจมูกห่างจากหัวไม้ประมาณ ๗๕ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๑๒.๕ เซนติเมตร แล้วเอาลวดหรือหวายร้อยเข้ากับคานแพซึ่งเป็นไม้ยาว ๆ ขวางลำกับท่อนซุงเพื่อผูกเป็นแพ. |
ตุ๊ยตุ่ย, ตุ๋ยตุ่ย | น. ชื่อว่าวชนิดหนึ่ง คล้ายว่าวจุฬา แต่หัวไม่ยาว มีไม้ยื่นออกไปสำหรับผูกคันธนู เมื่อถูกลมพัด ใบธนูที่ทำด้วยใบลานจะพลิกหมุนกลับไปมาทำให้เกิดเสียงดังตุ๊ยตุ่ยคล้ายเสียงเพลง นิยมเอาว่าวขึ้นในเวลาเย็น แล้วเอาเชือกผูกไว้ตามต้นไม้เป็นต้นเพื่อฟังเสียงในเวลากลางคืน. |
นาบข้าว | ก. เอาไม้ยาวกดต้นข้าวที่มีรวงแก่แล้วให้ราบลงเพื่อสะดวกในการเกี่ยวข้าว. |
บิลเลียด | น. ชื่อกีฬาในร่มอย่างหนึ่ง เล่นบนโต๊ะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าปูสักหลาด มีหลุมกรุตาข่าย ๖ หลุมที่มุมทั้ง ๔ และตรงกลางด้านยาว ผู้เล่นใช้ไม้ยาวซึ่งเรียกว่า คิว แทงลูกกลม ๓ ลูก ลูกสีขาว ๒ ลูก ลูกสีแดง ๑ ลูก ให้ได้แต้มตามกติกา. |
เบ็ดราว | น. เบ็ดที่ผูกไว้กับเชือกหรือแท่งไม้ยาวประมาณ ๑ ศอก แล้วนำไปผูกห้อยไว้กับเชือกราว โดยเว้นระยะห่างกันเป็นตอน ๆ เพื่อนำไปหย่อนลงในแม่น้ำลำคลอง. |
แปรก, แปรกบัง | (ปะแหฺรก, ปะแหฺรก-) น. ไม้ยาวสำหรับประกับหัวเพลาทั้ง ๒ ข้างของเกวียนหรือราชรถ กันไม่ให้ลูกล้อเลื่อนหลุด โดยมีไม้ขวางทางหรือแปรกขวางทางยึดหัวท้ายทั้ง ๒ ด้าน. |
มีดดาบ | น. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดรูปยาวรีประมาณ ๑ ศอก ปลายงอนขึ้นเล็กน้อย ด้ามทำด้วยไม้ยาว ๑ คืบ ดาบของหลวงปรกติสอดไว้ในฝัก ดาบเชลยศักดิ์ไม่นิยมทำฝักสำหรับสอดดาบ ใช้เป็นอาวุธ มีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามลักษณะปลายดาบ, ถ้าปลายแหลม หัวงอน เรียกว่ามีดดาบหัวปลาซิว, ถ้าปลายมนแหลม เรียกว่า มีดดาบหัวปลาหลด, ถ้าปลายตัดขวาง เรียกว่า มีดดาบหัวตัด, ถ้าปลายแหลมตัดปลายสันเฉียงปัดไปทางปลายดาบ เรียกว่า มีดดาบหัวเผล้. |
มีดปาดตาล | น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปร่างคล้ายปลากราย ปลายแหลม สันหนา ด้ามทำด้วยไม้ยาวประมาณ ๑ คืบ ใช้ปาดงวงตาลหรืองวงมะพร้าว. |
มีดหัวเสียม | น. มีดขนาดกลาง ใบมีดปลายแบนป้าน โคนแคบ ยาวประมาณ ๑ ศอก ด้ามทำด้วยไม้ยาว ๑ คืบ ใช้ถากหญ้าหรือขุดดินแทนเสียมได้, มีดเสียม หรือ พร้าเสียม ก็เรียก. |
มีดเหลียน | น. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดแบน ปลายกว้างโคนแคบ สันหนาและโค้งดุ้งขึ้น โคนมีดทำเป็นบ้องหรือกั่นสอดติดกับด้ามไม้ยาว ใช้ถางป่า ตัดอ้อย หรือรานกิ่งไม้เป็นต้น, มีดอีเหลียน หรือ อีเหลียน ก็เรียก. |
แม่บันได | น. ไม้ยาว ๒ อันที่ขนาบสำหรับสอดใส่หรือตีลูกบันได, แม่กระได ก็เรียก. |
ไม้สั้น | น. เครื่องต่อสู้ป้องกันตัวในการเล่นกระบี่กระบอง เป็นท่อนไม้ขนาดสั้น ๆ ปลายด้านหนึ่งมีห่วงสำหรับสอดแขนเข้าไปถึงข้อศอก ปลายอีกด้านหนึ่งมีไม้หลัก ๒ อัน อันในสำหรับมือจับ อันนอกเป็นเครื่องป้องกันในเวลาต่อสู้, ตรงข้ามกับ ไม้ยาว ซึ่งได้แก่พลองเป็นต้น. |
ไม้เส้า | น. ไม้ยาวสำหรับยื่นไปช่วยคนตกน้ำในเวลาเรือพระประเทียบล่ม, ไม้กระทุ้งให้จังหวะในเรือดั้งในกระบวนพยุหยาตรา |
ไม้เส้า | ไม้ยาวสำหรับสอยหรือค้ำ |
ไม้เส้า | ไม้ยาวสำหรับชูเพนียดนกต่อขึ้นบนต้นไม้ |
รัดกุม | ว. ไม่รุ่มร่าม, กระชับ, ไม่ยาวเยิ่นเย้อ, เช่น แต่งตัวรัดกุม สำนวนรัดกุม. |
เลื่อยชักไม้ | น. เครื่องมือสำหรับตัดไม้ มีขนาดใหญ่ ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นปื้นหรือแถบยาวติดกับปลายขาคันเลื่อยทั้งคู่ มีไม้ยาวที่เรียกว่า อกเลื่อย ยันอยู่ตรงกลาง ปลายขาคันเลื่อยด้านตรงข้ามมีเชือกคล้องรั้งและบิดเพื่อขึงใบเลื่อยให้ตึง ใช้คนชักเลื่อยคู่กัน ๒ คน. |
สยุ่น | (สะหฺยุ่น) น. เครื่องมือกลึงไม้ชนิดหนึ่ง รูปเหมือนสิ่ว ตัวทำด้วยเหล็ก ด้ามทำด้วยไม้ยาวประมาณ ๑ ศอก มีหน้าต่าง ๆ เช่น หน้าตัด หน้าสามเหลี่ยม หน้าโค้ง. |
เหลียน | (เหฺลียน) น. ชื่อมีดขนาดใหญ่ ใบมีดแบน ปลายกว้างโคนแคบ สันหนาและโค้งดุ้งขึ้น โคนมีดทำเป็นบ้องหรือกั่นสอดติดกับด้ามไม้ยาว ใช้ถางป่า ตัดอ้อย หรือรานกิ่งไม้เป็นต้น เรียกว่า มีดเหลียน, มีดอีเหลียน หรือ อีเหลียน ก็เรียก. |