ไม่สู้ | ว. ไม่ค่อย เช่น ไม่สู้ดี คือ ไม่ค่อยดี. |
หนักไม่เอา เบาไม่สู้ | ว. ไม่มีความอดทนที่จะทำการงาน. |
กระอิดกระเอื้อน | แสดงอาการไม่สู้เต็มใจ. |
กล้อมแกล้ม | พูดอ้อมแอ้มพอให้ผ่านไป, พูดไม่สู้ชัดความเพื่อให้เสร็จไป, โดยปริยายหมายความว่า ทำพอให้ผ่าน ๆ ไป |
กะล่อมกะแล่ม | พูดอ้อมแอ้มพอให้ผ่านไป, พูดไม่สู้ชัดความเพื่อให้เสร็จไป, โดยปริยายหมายความว่า ทำพอให้ผ่าน ๆ ไป |
แก่นแก้ว | ว. ยิ่งในทางที่เลว, เก่งในทางซุกซนหรือในทางไม่สู้ดี. |
โจก | น. หัวหน้า (มักใช้ในทางไม่สู้ดี). |
ชาตรี ๒ | (-ตฺรี) น. ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้านทั่วไป มีตัวละครน้อย เดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมักไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก เรียกว่า ละครชาตรี |
ซิว | เรียกคนที่ใจเสาะ ไม่สู้หรือไม่อดทน ว่า ใจปลาซิว. |
ถนิมสร้อย | (ถะหฺนิมส้อย) ว. หนักไม่เอาเบาไม่สู้, เปราะบาง, ไม่หนักแน่น, (ใช้เป็นคำตำหนิ) เช่น โดนว่านิดหน่อยก็ร้องไห้ ทำเป็นแม่ถนิมสร้อยไปได้, สนิมสร้อย ก็ว่า. |
ถอดใจ | ก. หมดกำลังใจไม่สู้ต่อไป. |
บทบูรณ์ | (บดทะ-) น. พยางค์ที่ทำให้บทประพันธ์ครบคำตามฉันทลักษณ์ ไม่สู้มีความหมาย เช่น แต่งอเนกนุประการ คำ “นุ” เป็นบทบูรณ์, บาทบูรณ์ ก็เรียก. |
เบ็ดเตล็ด | (เบ็ดตะเหฺล็ด) ว. เล็ก ๆ น้อย ๆ หลาย ๆ อย่างรวมกัน เช่น ของเบ็ดเตล็ด, โดยปริยายหมายความว่า ไม่สู้จะสำคัญอะไรนัก เช่น เรื่องเบ็ดเตล็ด. |
ปอดลอย | ก. ใจไม่สู้ดีชักจะหวาด ๆ, ใช้ว่า ปอด ก็มี. |
ปิดหีบไม่ลง | ว. มีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ (มักใช้แก่งบประมาณแผ่นดินที่ไม่สู่ดุล). |
ฝืดเคือง | ก. มีไม่สู้จะพอใช้พอสอย. |
ยอม | ก. อาการที่แสดงออกบอกให้รู้ว่าเห็นด้วย ไม่ขัด ตกลงปลงใจ เช่น ยอมตามที่สั่ง ยอมนั่ง ยอมตาย, ผ่อนผันให้ เช่น ยอมให้ทำได้ ยอมให้ไป, ไม่สู้ เช่น เรื่องนี้ผมยอมเขา. |
ละครชาตรี | น. ละครต้นแบบของละครรำ เดิมเล่นกันเป็นพื้นบ้านทั่วไปในภาคใต้ มีทำนองเพลงร้องเป็นการเฉพาะ ใช้ตัวละครน้อย เดิมเป็นชายล้วน ตัวนายโรงจะแต่งตัวยืนเครื่องเสมอ ตัวละครที่ไม่สำคัญไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้ประณีตนัก. |
สนิมสร้อย | (สะหฺนิมส้อย) ว. ถนิมสร้อย, หนักไม่เอาเบาไม่สู้, ทำเป็นเหยาะแหยะ, ทำเป็นอ่อนแอ, (ใช้เป็นคำตำหนิ), เช่น ดุว่านิดหน่อยก็น้ำตาร่วง ทำเป็นแม่สนิมสร้อยไปได้. |
สันดาน ๑ | น. อุปนิสัยที่มีมาแต่กำเนิด เช่น มีสันดานดี มีสันดานเลว, (ปาก) มักใช้ไปในทางไม่สู้จะดี เช่น สันดานของเขาเป็นเช่นนั้น อย่าไปถือเลย. |
สู้คน | ก. มีใจกล้าไม่ยอมแพ้ใคร เช่น เขาเป็นคนสู้คน, บางทีก็ใช้เรียกคนที่ขี้ขลาดไม่ยอมสู้ใครว่า เป็นคนไม่สู้คน. |
หย็อง ๑ | ก. กลัว, ไม่สู้, หวาดกลัว, เช่น พอเห็นคู่ต่อสู้ก็หย็องเสียแล้ว. |
หลบตา | ก. หลีกไม่จับตา, ไม่กล้าสบตา, ไม่สู้สายตา. |
แหย | (แหฺย) ว. อาการที่ไม่สู้ใครหรือเก้ออาย. |
อิดเอื้อน, อิด ๆ เอื้อน ๆ | แสดงอาการไม่สู้เต็มใจ, กระอิดกระเอื้อน ก็ว่า. |