ไม้ต้น | น. ไม้ยืนต้น. |
กรรณิการ์ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Nyctanthes arbortristis L. ในวงศ์ Oleaceae ใบคาย ดอกหอม กลีบดอกสีขาว หลอดดอกสีแสด ใช้ย้อมผ้า, เขียนเป็น กณิการ์ หรือ กรณิการ์ ก็มี. |
กรวย ๒ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Horsfieldia irya (Gaertn.) Warb. ในวงศ์ Myristicaceae ขึ้นตามฝั่งนํ้าลำคลอง ใบเป็นมันคล้ายใบจำปี แต่เรียวและนิ่มกว่า ดอกสีเหลือง ผลกลมเป็นพวงคล้ายมะไฟ, กรวยบ้าน ก็เรียก. |
กระ ๒ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Elateriospermum tapos Blume ในวงศ์ Euphorbiaceae ผลกลมมี ๓ พู เปลือกแข็ง เมื่อแก่สีคลํ้าเกือบดำ เมล็ดรูปยาวรี เปลือกแข็งเป็นมันสีนํ้าตาลเข้ม ภายในมีเนื้อขาว ๒ กลีบประกบกัน เมื่อดิบมีพิษร้ายแรง ดองหรือคั่วแล้วกินได้ รสมัน เรียกว่า ลูกกระ ปักษ์ใต้และมลายูเรียก ประ. |
กระเจา | ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง. (ดู กระเชา). |
กระแจะ ๒ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Naringi crenulata (Roxb.) Nicolson ในวงศ์ Rutaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ต้นและกิ่งมีหนามเปลือกขรุขระสีเทา ดอกเล็กสีขาวเป็นช่อสั้น ยาวประมาณ ๒ เซนติเมตร กลิ่นหอมอ่อน ท่อนไม้ฝนกับนํ้าใช้เป็นเครื่องประทิ่นผิว รากใช้ทำยา, กะแจะ ขะแจะ ตุมตัง หรือ พญายา ก็เรียก. |
กระเชา | น. ชื่อไม้ต้นผลัดใบขนาดใหญ่ชนิด Holoptelea integrifolia (Roxb.) Planch. ในวงศ์ Ulmaceae ขึ้นอยู่ทั่วไป ผลแบนบางเป็นปีกโดยรอบ เนื้อไม้สดสีเหลืองมะนาว เมื่อแห้งเป็นสีนวล แข็งพอประมาณ ใช้ในการก่อสร้างที่ไม่ต้องรับนํ้าหนักมากนัก ทำเครื่องเรือน แกนร่ม ก้านและกล่องไม้ขีดไฟ, บางทีเรียก กระเจา หรือ กระจาว, พายัพและปักษ์ใต้เรียก กระเจ้า ขจาว หรือ ขเจา. |
กระเช้าผีมด | ชื่อไม้พุ่มอิงอาศัยชนิด Hydnophytum formicarum Jack ในวงศ์ Rubiaceae ชอบเกาะไม้ต้นในป่าดิบชื้นใกล้ฝั่งทะเล ลำต้นทรงกลมอวบนํ้า มีรูพรุนภายในเป็นที่อาศัยของมด ส่วนที่เป็นรูพรุนใช้ทำยาได้, หัวร้อยรู ก็เรียก. |
กระดังงา | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cananga odorata (Lam.) Hook. f. et Thomson ในวงศ์ Annonaceae ดอกหอม กลีบบาง มี ๖ กลีบ ดอกใช้กลั่นนํ้ามันหอมได้, กระดังงาใหญ่ สะบันงา หรือ สะบันงาต้น ก็เรียก. (เทียบ ม. canaga, kénanga) |
กระดาก ๓ | น. ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง เช่น กระดากกระโดนดำดง (ม. ฉันท์ มหาพน). |
กระดูกค่าง | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Diospyros undulata Wall. ex G. Don var. cratericalyx (Craib) Bakh. ในวงศ์ Ebenaceae ขึ้นในป่าดิบ มีมากทางภาคใต้ สูงได้ถึง ๒๐ เมตร ไม่ผลัดใบ, จะเพลิง ชะเพลิง คำดีควาย ดูกค่าง ตะโกดำ พลับเขา ไหม้ หม้าย หรือ สะลาง ก็เรียก. |
กระโดงแดง | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Bhesa robusta (Roxb.) Ding Hou ในวงศ์ Celastraceae ลำต้นแดงคลํ้า ใบยาวปลายแหลม เลื่อมเป็นมัน, ประดงแดง กระบกคาย ชมัน ละโมก หรือ พรมคด ก็เรียก. |
กระโดงแดง | ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Chionanthus microstigma (Gagnep.) P. S. Green ในวงศ์ Oleaceae ใบยาวรี หนาแข็ง ปลายใบแหลม ออกตรงข้ามกัน เมื่อแห้งหมาดใช้มวนบุหรี่ได้ มีกลิ่นหอมฉุน, ประดงแดง หรือ ฝิ่นต้น ก็เรียก |
กระโดน | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Careya sphaerica Roxb. ในวงศ์ Lecythidaceae ชอบขึ้นในป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้น ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมากเป็นพู่คล้ายดอกชมพู่ ขาว หอม ดอกบานเต็มที่กว้าง ๕-๘ เซนติเมตร ผลค่อนข้างกลม ใบอ่อนใช้เป็นผัก เปลือกใช้เบื่อปลาหรือทุบเป็นแผ่นปูหลังช้าง, โดน จิก ปุย ปุยกระโดน ปุยขาว หรือ ผ้าฮาด ก็เรียก. |
กระถิน | น. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นไม่มีหนามชนิด Leucaena leucocephala (Lam.) de Wit ในวงศ์ Leguminosae ช่อดอกกลม สีนวล ฝักแบน ใบอ่อนและฝักอ่อนใช้เป็นอาหาร, กระถินไทย กระถินบ้าน กระถินยักษ์ หรือ สะตอเบา ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ตอเบา. |
กระท้อน ๑ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Sandoricumkoetjape (Burm. f.) Merr. ในวงศ์ Meliaceae ผลค่อนข้างกลม เปลือกนุ่ม สีเหลือง เนื้อกินได้, สะท้อน ก็เรียก, พายัพเรียก มะต้อง หรือ มะตื๋น. |
กระท่อม ๒ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Mitragyna speciosa (Korth.) Havil. ในวงศ์ Rubiaceae ชอบขึ้นริมนํ้าทั่วไป ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ยอด ใบอ่อน และก้านใบสีแดงเรื่อ ๆ ช่อดอกกลมสีเหลืองออกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบ ใบมีรสขม กินแล้วเมา เป็นยาเสพติด, อีถ่าง ก็เรียก. |
กระท่อมขี้หมู | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลาง ๒ ชนิดในสกุล Mitragyna วงศ์ Rubiaceae ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ชนิด M. diversifolia (Wall. ex G. Don) Havil. ใบยาวรีเล็ก, กระทุ่มนา หรือ ตุ้มแซะ ก็เรียก |
กระทิง ๒ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Calophyllum inophyllum L. ในวงศ์ Guttiferae ใบและผลคล้ายสารภี แต่ใบขึ้นสันมากและผลกลมกว่า เปลือกเมล็ดแข็ง ใช้ทำลูกฉลากหรือกระบวยของเล่น, กระทึง กากะทิง หรือ สารภีทะเล ก็เรียก. |
กระทึง | น. ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง ใบคล้ายพลวง รากมียางเมือก เชื่อกันว่าใช้เป็นยาดูดพิษฝีได้ เช่น กระทุทุมกระทึงทอง (สุธน). |
กระทุ่ม ๑ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ชนิด Anthocephalus chinensis (Lam.) A. Rich. ex Walp. ในวงศ์ Rubiaceae ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ตามลำกิ่งและระหว่างก้านใบมีหูใบรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมติดกับกิ่งทั้ง ๒ ด้าน ดอกเป็นช่อกลมสีเหลืองอ่อน หอม เนื้อไม้เหลืองหรือขาว ใช้ทำเสากระดาน และเยื่อกระดาษชนิดเลวได้, กระทุ่มบก ตะกู หรือ ตะโกส้ม ก็เรียก. |
กระบก | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด I rvingia malayana Oliv. ex A. W. Benn. ในวงศ์ rvingiaceae ใบรูปไข่ผลเท่ามะกอกหรือมะปรางขนาดเขื่อง เมล็ดแข็ง เนื้อในขาว มีรสมัน กินได้, ตระบก มะมื่น หรือ มะลื่น ก็เรียก. |
กระบาก | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Anisoptera วงศ์ Dipterocarpaceae ขึ้นในป่าดิบทั่วไป ลำต้นตรง สูง ๓๐-๔๐ เมตร เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างที่ไม่ต้องรับนํ้าหนัก โดยมากใช้เป็นไม้แบบหล่อคอนกรีต. |
กระเบา ๑ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Hydnocarpus วงศ์ Flacourtiaceae เช่น กระเบาใหญ่หรือกระเบานํ้า ( H. anthelminthicaPierre ex Laness.) เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีนํ้าตาล ขนาดเท่าผลส้มโอขนาดย่อม เนื้อในเป็นแป้งสีเหลืองอ่อน ๆ กินได้ เมล็ดมีนํ้ามัน เคยใช้เป็นยาแก้โรคเรื้อน ต้นที่มีแต่ดอกเพศผู้ เรียกว่า แก้วกาหลง, กระเบากลักหรือกระเบียน ( H. ilicifolia King) เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีดำ ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยง. |
กระเบียน | ชื่อไม้ต้นผลัดใบขนาดเล็กชนิด Ceriscoides turgida (Roxb). Tirveng ในวงศ์ Rubiaceae ขึ้นในป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ ต้นมีหนามห่าง ๆ เปลือกเรียบ ดอกเมื่อแรกบานสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน ผลคล้ายละมุดฝรั่ง แต่สุกแล้วแข็ง, กระดานพน มะกอกพราน หมุยขาว หรือ หัวโล้น ก็เรียก. |
กระพี้เขาควาย | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Dalbergia cultrata Graham ex Benth. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณและป่าทุ่งทั่วไป เว้นแต่ปักษ์ใต้ แก่นสีดำแข็งและหนักมาก ใช้ทำเครื่องเรือน เพลาเกวียน และด้ามเครื่องมือต่าง ๆ. |
กระพี้นางนวล | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Dalbergia canaGraham ex Kurz ในวงศ์ Leguminosae ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยรูปไข่ ปลายเรียวแหลม ดอกรูปดอกถั่ว กลีบเลี้ยงสีม่วงดำ กลีบดอกสีขาวอมเหลือง ฝักแบน มีขน มี ๒ เมล็ด, จักจั่น ก็เรียก. |
กระมอบ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมชนิด Gardenia obtusifolia Roxb. ex Kurz ในวงศ์ Rubiaceae คล้ายกระเบียน (๒) ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่ใบคายและเล็กกว่า ปลายใบป้าน ยอดอ่อนมียางเหนียว ผลย่อมกว่า เนื้อไม้ขาวละเอียด ใช้แกะสลักได้. |
กระวาน ๑ | ชื่อเรียกใบของไม้ต้นชนิด Laurus nobilis L. ในวงศ์ Lauraceae กลิ่นคล้ายกระวาน ใช้เป็นเครื่องเทศและแต่งกลิ่นยา. |
กระสา ๓ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Broussonetia papyrifera (L.) Vent. ในวงศ์ Moraceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ตามริมแม่นํ้าลำคลอง ใบใหญ่เท่าฝ่ามือหรือกว่านั้นบ้าง รูปไข่ปลายแหลม ขอบใบเป็นจัก ๆ หรือเว้าเป็น ๓ แฉก มีขนทั้ง ๒ ด้าน เปลือกใช้ทำกระดาษได้ เรียก กระดาษสา, พายัพเรียก สา. |
กร่าง ๒ | (กฺร่าง) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Ficus altissima Blume ในวงศ์ Moraceae เปลือกเรียบสีเทา ใบกว้างหนารูปไข่ ปลายมน ไม่มีขน ผลกลม เมื่อสุกสีส้มออกแดง, ลุง ฮ่างหลวง หรือ ไทรทอง ก็เรียก. |
กราด ๔ | (กฺราด) น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Dipterocarpus intricatus Dyer ในวงศ์ Dipterocarpaceae ขึ้นในป่าเต็งรัง ต้นมียางเหนียว เจาะเอานํ้ามันยางได้, ยางกราด เหียงกราด ตะแบง หรือ สะแบง ก็เรียก. |
กราย ๔ | (กฺราย) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Xylopia malayana Hook. f. et Thomson ในวงศ์ Annonaceae เนื้อไม้ผ่าง่าย ใช้ทำฟืนและกระเบื้องไม้มุงหลังคา. |
กล้วยน้อย | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Xylopia vielana Pierre ในวงศ์ Annonaceae กิ่งสีนํ้าตาลดำ ดอกหอม รากสีดำ กลิ่นเหมือนนํ้ามันดิน เชื่อกันว่ารากใช้แก้พิษงู. |
กลึงกล่อม | (-กฺล่อม) น. ชื่อไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นชนิด Polyalthia suberosa (Roxb.) Thwaites ในวงศ์ Annonaceae ใบเดี่ยว เรียงสลับ ดอกเดี่ยว กลีบเลี้ยงด้านบนมีขน กลีบดอกสีเหลืองคล้ำ ผลเป็นกลุ่ม เมื่อสุกสีแดง. |
ก่อ ๒ | น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Fagaceae บางชนิดผลมีเนื้อในกินได้ รสมัน, ปักษ์ใต้เรียก กอ. |
กะทัง | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Litsea monopetala (Roxb.) Pers. ในวงศ์ Lauraceae มีมากทางปักษ์ใต้ ใบเมื่อขยี้มีกลิ่นฉุนคล้ายการบูร ไม้ใช้ก่อสร้างบ้านเรือนได้. |
กะทังหัน | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Calophyllum thorelii Pierre ในวงศ์ Guttiferae ดอกสีขาว ผลเล็ก รูปไข่ เนื้อไม้ใช้ทำพื้น ฝา เสาบ้าน และเสากระโดงเรือได้. |
กะนวล | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Garcinia merguensis Wight ในวงศ์ Guttiferae มียางสีเหลืองจาง ๆ ใช้สระผมได้. |
กะเปียด | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Premna tomentosa Willd. ในวงศ์ Labiatae ลักษณะคล้ายต้นสัก แต่ใบเล็กกว่า รูปไข่หรือรี ปลายแหลมก้านยาว เนื้อไม้ละเอียด ใช้ทำประโยชน์ได้, พายัพเรียก สักขี้ไก่. |
กะลอ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมหลายชนิดในสกุล Macaranga วงศ์ Euphorbiaceae มักขึ้นในป่าใสในที่ชุ่มชื้น ก้านใบลํ้าอยู่ใต้โคนใบ เช่น ชนิด M. tanarius Müll. Arg. |
กะอวม | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Acronychia pedunculata (L.) Miq. ในวงศ์ Rutaceae ผลเล็ก สีเขียวอ่อนหรือสีนวล กินได้, กระเบื้องถ้วย เปล้าขลิบทอง ไพรสามกอ หรือ มะงัน ก็เรียก. |
กันเกรา | (-เกฺรา) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Fagraea fragrans Roxb. ในวงศ์ Gentianaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะทั่วไปในป่าดิบ ใบสีเขียวแก่ ค่อนข้างหนา ยาวราว ๕-๗ เซนติเมตร ดอกดก สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หอมมาก ออกเป็นช่อคล้ายช่อดอกเข็ม ผลเท่าเมล็ดถั่วลันเตา เมื่อสุกสีแดง เนื้อไม้สีเหลืองละเอียด แน่น เป็นมัน แข็งและทนทาน นิยมใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ, ตำเสา หรือ มันปลา ก็เรียก. |
กันตัง | น. ชื่อไม้ต้นมีใบคัน. |
กัลปพฤกษ์ ๒ | (กันละปะพฺรึก) น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cassia bakeriana Craib ในวงศ์ Leguminosae มีมากทางภาคอีสานและภาคเหนือ ดอกสีชมพูอ่อน ออกเป็นช่อในระหว่างทิ้งใบหรือผลิใบใหม่ ฝักมีขนนุ่ม. |
กางขี้มอด | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Acrocarpus fraxinifolius Wight et Arn. ในวงศ์ Leguminosae มีฝักแบน ๆ, ขางแดง หรือ แดงนํ้า ก็เรียก. |
กาซะลองคำ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Radermachera ignea (Kurz) Steenis ในวงศ์ Bignoniaceae ชอบขึ้นตามที่ค่อนข้างชุ่มชื้นทางภาคเหนือ เปลือกเรียบสีเทา ดอกสีเหลืองทอง, อ้อยช้าง ก็เรียก. |
กานพลู | (-พฺลู) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Syzygium aromaticum (L.) Merr. et L.M. Perry ในวงศ์ Myrtaceae ดอกตูมมีรสเผ็ดร้อน ตากแห้งแล้วใช้เป็นเครื่องเทศและทำยา. |
ก้านเหลือง | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Nauclea orientalis (L.) L. ในวงศ์ Rubiaceae คล้ายกระทุ่ม ขึ้นตามริมนํ้า เนื้อไม้สีเหลือง ละเอียด ใช้ในการก่อสร้าง. |
กาน้า | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Canarium album (Lour.) Raeusch. ในวงศ์ Burseraceae ผลคล้ายสมอบางชนิด กินได้ มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน, สมอจีน ก็เรียก. |