กรมท่า ๑ | (กฺรม-) น. กรมพระคลังส่วนที่ทำหน้าที่ติดต่อกับต่างชาติเรื่องการค้าขายและการต่างประเทศ ต่อมาเพิ่มหน้าที่ปกครองหัวเมืองชายทะเล, พระคลัง หรือ พระคลังกรมท่า ก็เรียก. (ดู กรมพระคลัง ประกอบ). |
กระเจ่า, กระเจ้า ๑ | น. นกยาง เช่น กระจาบกระเจ้าจับ ซ้องศัพทอึงอล. |
กระเป๋า ๑ | น. เครื่องใช้รูปคล้ายถุงหรือกระเพาะ ทำด้วยหนังบ้าง ผ้าบ้าง สำหรับใส่เงินหรือของต่าง ๆ ใช้คาดเอวก็มี ติดอยู่ในตัวเสื้อหรือกางเกงก็มี ใช้หิ้วก็มี |
กระเป๋า ๑ | กลีบดอกกล้วยไม้คล้ายรูปกรวยหรือหลอดที่อยู่ตรงกลางเป็นที่อยู่ของเกสร, ปาก ก็เรียก |
กระเป๋า ๑ | เรียกถุงหน้าท้องสำหรับใส่ลูกของสัตว์บางชนิดเช่นจิงโจ้ ม้าน้ำ. |
กล้า ๑ | (กฺล้า) น. ต้นข้าวอ่อนที่เพาะจากข้าวเปลือกสำหรับย้ายไปปลูกที่อื่น, โดยอนุโลมเรียกพืชที่เพาะไว้สำหรับย้ายไปปลูกในที่อื่น ว่า กล้า เช่น กล้าพริก กล้ามะเขือ. |
กะหลาป๋า ๑ | น. ชื่อเมืองในเกาะชวาสมัยโบราณ ต่อมาเรียก ปัตตาเวีย, ปัจจุบันคือ จาการ์ตา |
กะหลาป๋า ๑ | บางทีเขียนเป็น กาหลาป๋า เช่น มีพระคลังพิมานอากาษไว้กระจกเทศพรมเทศ เครื่องแก้วมาแต่เทศกาหลาป๋า ๑ (คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม) |
กะหลาป๋า ๑ | เรียกหมวกชนิดหนึ่งสานด้วยไม้ไผ่อย่างละเอียด รูปทรงสูง ผู้หญิงนิยมใช้ในเวลาแข่งเรือ มีดอกไม้จีนเสียบ เป็นของเก่าในสมัยต้นรัชกาลที่ ๕ ขึ้นไป ว่า หมวกกะหลาป๋า |
กะหลาป๋า ๑ | เรียกขวดแก้วสำหรับใช้ใส่น้ำอบ ทรงกระบอกแปดเหลี่ยม มีสีต่าง ๆ มีจุกแก้ว เถาหนึ่งมี ๓ ใบ ว่า ขวดกะหลาป๋า. |
ก๋า ๑ | ว. อาการที่ทำท่าว่าเก่ง เช่น ยืนก๋า เต้นก๋า. |
กำพร้า ๑ | (-พฺร้า) น. เรียกหนังที่เป็นผิวชั้นนอกสุดของคนและสัตว์ ว่า หนังกำพร้า, ผิวหนัง ก็เรียก. |
เก๋า ๑ | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Serranidae (Epinephelidae) ปลาเหล่านี้เมื่อมีขนาดเล็กมักเรียก เก๋า เมื่อมีขนาดกลางและขนาดโตมักเรียก กะรัง หรือหมอทะเล ส่วนขนาดโตมากเรียก หมอทะเล ส่วนใหญ่ลำตัวยาว ป้อม ล่ำสั้น แบนข้างเล็กน้อย ปลายครีบต่าง ๆ มนกลม เฉพาะปลายครีบหางของบางชนิดเว้า บ้างก็ตัดตรง เกล็ดเล็กคลุมทั่วตัวรวมทั้งหัวและล้ำไปบนครีบเดี่ยว ลำตัวรวมทั้งครีบมักมีสีต่าง ๆ โดยเปลี่ยนไปตามขนาด เป็นแต้ม ด่าง ดวง ลาย หรือจุดประคล้ำทึบ แต่บางชนิดก็มีสีแดงหรือเทาโดยตลอด พบอาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเลและชายฝั่งที่มีที่หลบซ่อน แต่ส่วนใหญ่จะพบบริเวณใกล้หรือในเขตปะการัง ชนิด Epinephelus merra Bloch, E. sexfasiatus (Valenciennes), Cephalopholis boenak (Bloch) ยาวเพียงไม่เกิน ๒๖ เซนติเมตร ส่วนชนิด Promicrops lanceolatus (Bloch) ขนาดยาวไม่ถึง ๒.๗ เซนติเมตร และเป็นปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดของโลก ชื่อ เก๋า ตุ๊กแก กะรัง เป็นชื่อทั่วไปที่มักใช้เรียกปลาเกือบทุกชนิดในวงศ์นี้ที่มีขนาดไม่โตนัก สำหรับชื่อ กะรัง และหมอทะเล มักพบเรียกปลาพวกนี้ที่มีขนาดโตจนถึงยาว ๐.๕-๑.๕ เมตร ส่วน หมอทะเล ใช้เรียกชนิด P. l. (Bloch) . |
ข่า ๑ | น. คนชาวเขาจำพวกหนึ่ง แบ่งออกเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งพูดภาษาในตระกูลมอญ−เขมร เช่น ข่าอัตตะปือ ข่าตองเหลือง และอีกพวกหนึ่งพูดภาษาในตระกูลอินโดนีเซียน ได้แก่ ข่าระแด และ ข่าจะราย. |
ข้า ๑ | น. ประชาชน, ราษฎร, เช่น ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน, คน, บริวาร, เช่น ข้าเก่าเต่าเลี้ยง ข้าหนีเจ้าบ่าวหนีนาย, ทาส เช่น ข้าทาส. |
ข้าวเม่า ๑ | น. ข้าวเปลือกข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่จัดเอามาคั่วแล้วตำให้แบน, ข้าวเม่าที่เอามาคั่วให้กรอบ เรียกว่า ข้าวเม่าราง, ข้าวเม่ารางทอดแล้วใส่เครื่องปรุง มีกุ้งแห้งทอด ถั่วลิสงทอด เต้าหู้หั่นทอด เรียกว่า ข้าวเม่าหมี่. |
ข้าวเม่า ๑ | ดูใน ข้าว. |
ขี้ม้า ๑ | ว. เรียกสีกากีแกมเขียวว่า สีขี้ม้า. |
ขี้ม้า ๑ | ดูใน ขี้. |
เข้า ๑ | ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างในหรือทำให้เคลื่อนไปข้างใน เช่น เข้าบ้าน เข้าถํ้า เอาหนังสือเข้าตู้, เคลื่อนมาสู่, มาถึง, เช่น รถด่วนเข้า ๑๐ นาฬิกา พระศุกร์เข้า, สิง เช่น ผีเข้า เจ้าเข้า |
เข้า ๑ | ใส่, บรรจุ, เช่น เข้าหีบ |
เข้า ๑ | ประสม, แทรก, เช่น เข้ายาดำ |
เข้า ๑ | รวม เช่น เข้าหุ้น เข้าทุน, รวมเป็นพวก เช่น เข้าพรรค เข้าแถว เข้าข้าง |
เข้า ๑ | ถูกกัน, ลงรอยกัน, ทำให้ลงรอยกัน, เหมาะเจาะ, เช่น เสียงเข้ากัน เข้าไม้ |
เข้า ๑ | เริ่ม เช่น เข้าเรียน, เริ่มทำงาน เช่น โรงเรียนเข้า, เริ่มอยู่ในภาวะ เช่น เข้าโรงเรียน เข้าทำงาน. |
เข้า ๑ | ว. ตรงข้ามกับ ออก เช่น ทางเข้า ขาเข้า |
เข้า ๑ | ใช้ประกอบคำอื่นแสดงความหมายเร่งรัด เช่น เร็วเข้า คิดเข้า, ใช้ประกอบคำอื่นแสดงความหมายมากขึ้น เช่น หนักเข้า ดึกเข้า นานเข้า, ใช้ประกอบคำอื่นแสดงสภาพหรือความรู้สึกที่เกิดมีขึ้น เช่น พอสวยเข้าก็มีหนุ่ม ๆ มารุมจีบ พอเหนื่อยเข้าก็อยากจะเลิกทำ, ใช้ประกอบคำอื่นแสดงความหมายว่าหนุนให้ทำ (มักใช้ในความประชดประชัน) เช่น เอาเข้าไป ว่าแล้วยังไม่ยอมหยุด. |
ไข่เต่า ๑ | น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทำด้วยแป้งต้มกับกะทิ มีสีขาวรสมันเค็ม มักกินผสมกับขนมปลากริม. |
ไข่เต่า ๑ | ดูใน ไข่ ๑. |
ไข่เน่า ๑ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Vitex glabrata R. Br. ในวงศ์ Labiatae ขึ้นตามป่าดิบและที่ราบลุ่มทั่ว ๆ ไป สูง ๘-๑๒ เมตร ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๕ ใบ ดอกเล็ก สีม่วงอ่อน ผลรูปไข่ขนาดหัวแม่มือ สุกสีดำ กินได้ มีรสหวานเล็กน้อย เปลือกและรากใช้ทำยาได้. |
ค้า ๑ | ก. ซื้อขายสินค้าหรือบริการ. |
เครื่องห้า ๑ | น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสำหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงใช้บูชาพระธรรมเวลาทรงสดับเทศนา มีเชิงเทียน ๒ เชิง กระถางธูป ๑ ใบ กรวยปักดอกไม้ ๕ กรวย ตั้งในพานทองลงยาราชาวดี, เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองน้อยเครื่องห้า. |
เค้า ๑ | น. สิ่งที่เป็นเครื่องกำหนดหมายบอกให้รู้ เช่น ฝนตั้งเค้า |
เค้า ๑ | สิ่งที่ส่อแสดงให้รู้ได้ว่ามีลักษณะเหมือนสิ่งอื่น เช่น นาย ก มีเค้าหน้าเหมือนนาย ข |
เค้า ๑ | ต้นเงื่อน เช่น ต้นเค้า |
เค้า ๑ | รูปหรือรูปความโดยย่อ เช่น เขียนพอให้เห็นเป็นเค้า |
เค้า ๑ | ร่องรอย เช่น พอได้เค้า |
เค้า ๑ | เหง้า เช่น โคตรเค้าเหล่ากอ |
เค้า ๑ | ข้า. (อนันตวิภาค) |
เค้า ๑ | ตัวเงินหรือวัตถุที่ใช้แทนตัวเงิน เช่นเมล็ดมะขามเป็นต้นที่เป็นทุนซึ่งตั้งไว้สำหรับเล่นในบ่อนการพนันบางชนิด, เรียกผู้ถือต้นทุนในการพนัน ว่า ถุงเค้า. |
โคกม้า ๑ | น. นักหมอม้า, ผู้เชี่ยวชาญเรื่องม้า. |
ง่า ๑ | ก. เงื้อ, อ้า, กางออก. น. ค่าคบไม้. |
จ่า ๑ | น. หัวหน้า, หัวโจก, เช่น จ่าฝูง จ่าโขลง |
จ่า ๑ | ยศทหารและตำรวจชั้นประทวน เช่น จ่าตรี จ่าสิบตำรวจ, บรรดาศักดิ์ในราชสำนัก เช่น จ่าแผลงฤทธิรอนราญ จ่าเร่งงานรัดรุด, ตำแหน่งหัวหน้าธุรการบางอย่าง เช่น จ่าศาล |
จ่า ๑ | การเอาข้าวสุกกับขี้เถ้าคลุกกันปะตรงกลางหน้ากลองเพื่อให้เสียงสูงตํ่า. |
เจ่า ๑ | น. อาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยกุ้งหรือปลาประสมด้วยข้าวหมาก เรียกว่า กุ้งเจ่า ปลาเจ่า, ถ้าหลนกับกะทิ เรียกว่า หลนกุ้งเจ่า หลนปลาเจ่า ใช้เป็นเครื่องจิ้ม. |
เจ้า ๑ | น. ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, เช่น เจ้านคร |
เจ้า ๑ | เชื้อสายของพระมหากษัตริย์นับตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป และผู้ได้รับสถาปนาอิสริยยศขึ้นเป็นเจ้า, บางแห่งหมายถึงกษัตริย์ก็มี เช่น เจ้ากรุงจีน |
เจ้า ๑ | ผู้เป็นเจ้าของ เช่น เจ้าทรัพย์ เจ้าหนี้ |
เจ้า ๑ | ผู้ชำนาญ เช่น เจ้าปัญญา เจ้าความคิด เจ้าบทเจ้ากลอน |