มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่ |
| acquisition | (แอคคิวซิซ' เชิน) n. การได้มาซึ่งการเข้าถือสิทธิ์, สิ่งที่ได้มา, Syn. procurement | data acquisition | การรวบรวมข้อมูลหมายถึง การเสาะหาหรือการรับข้อมูลมารวมกันเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ |
| acquisition | (n) การครอบครอง, การเข้าถือสิทธิ์, การเข้ายึด, สิ่งที่ได้มา |
| | Acquisition | การจัดหา, Example: <p>การจัดหา (Acquisition) ในที่นี้หมายถึงการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศภายในห้องสมุด ศูนย์บริการสารสนเทศ ศูนย์บริการความรู้ ซึ่งหมายถึง กิจกรรมที่ให้ได้มาซึ่งทรัพยากรสารสนเทศ เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ โดยวิธีการต่าง ๆ ได้แก่ การจัดซื้อ การบอกรับเป็นสมาชิก การขอหรือได้รับบริจาค การแลกเปลี่ยน และการจัดทำขึ้นเอง <p>1. การจัดซื้อ เป็นวิธีที่ห้องสมุดใช้ในการจัดหามากที่สุด วิธีการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศทั่วไปที่ห้องสมุดนิยมใช้ ได้แก่ การสั่งซื้อแบบรายย่อย การสั่งซื้อแบบรวม การสั่งซื้อแบบประจำ การสั่งซื้อแบบเสนอให้เลือก และการสั่งซื้อแบบให้ตัวแทนเลือกให้ <p>2. การขอและรับบริจาค เป็นอีกวิธีหนึ่งของการจัดหาที่ประหยัดงบประมาณของห้องสมุด วิธีการขอหรือรับบริจาคทรัพยากรสารสนเทศนั้น ห้องสมุดอาจทำเป็นครั้งคราวหรือขอสมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับทรัพยากรสารสนเทศนั้นเป็นประจำ แหล่งที่บริจาค ได้แก่ หน่วยงานของรัฐบาล ห้องสมุด องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรการกุศล องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร มูลนิธิ หน่วยงานที่จัดกิจกรรมวิชาการ เช่น การประชุม สัมมนา เป็นต้น <p>3. การแลกเปลี่ยน วัตถุประสงค์ของการแลกเปลี่ยนทรัพยากรกันระหว่างห้องสมุด คือ การจัดหาทรัพยากรที่ไม่มีจำหน่ายโดยทั่วไป เช่น วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ สิ่งพิมพ์ของห้องสมุดหรือหน่วยงานที่สังกัด รายงานการประชุมหรือสัมมนา รายงานประจำปี เป็นต้น ซึ่งทรัพยากรสารสนเทศที่จะแลกเปลี่ยนดังกล่าวห้องสมุดมีซ้ำ จำนวนมากเกินความจำเป็น หรือไม่ตรงกับความต้องการของห้องสมุด <p>4. การบอกรับ เป็นวิธีจัดหาวิธีหนึ่ง นิยมใช้กับทรัพยากรสารสนเทศที่มีการปรับปรุงสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้แก่ วารสาร และฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ / ออนไลน์ เช่น บทความวารสาร หนังสือ วิทยานิพนธ์ รายงานการประชุม เอกสารอื่น ๆ เป็นต้น การบอกรับกระทำโดยการเป็นสมาชิกของสำนักพิมพ์ / ผู้ผลิต หรือ ตัวแทนจำหน่าย / บริษัทผู้ให้บริการ <p>5. การผลิตหรือจัดทำขึ้นเอง ห้องสมุดจำเป็นต้องมีการผลิตทรัพยากรสารสนเทศเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ ทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดผลิตหรือจัดทำขึ้น เช่น กฤตภาค รูปภาพ ดัชนี บรรณานุกรม จุลสาร วารสารและสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ของห้องสมุด รวมทั้งการแปลงสื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ / ออนไลน์ เพื่อประหยัดเนื้อที่จัดเก็บ หรือเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด โดยเฉพาะสิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษ เช่น หนังสือหายาก ต้นฉบับตัวเขียน เป็นต้น ห้องสมุดจะให้บริการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ในรูปแบบของแผ่นซีดีรอม แผ่นดีวิดี หรือฐานข้อมูลออนไลน์ <p>ด้วยวิธีการจัดหาทั้งหมดดังกล่าว ก่อให้เกิดความสำคัญในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ คือ <p>1. ทำให้ห้องสมุดได้ทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่า <p>2. ทำให้ได้ทรัพยากรสารสนเทศที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ <p>3. ทำให้ห้องสมุดประหยัดงบประมาณในการจัดหา และประหยัดเวลาในการทำงาน <p>4. ทำให้ห้องสมุดสามารถดำเนินงานได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Acquisition | การเรียนรู้ [TU Subject Heading] | Acquisition | การแสวงหา [การแพทย์] | Acquisition (Libraries) | การจัดหาทรัพยากรห้องสมุด [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Acquisition department | แผนกจัดหา, ฝ่ายจัดหา [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Acquisition of Asset | การได้มาซึ่งสินทรัพย์ [ตลาดทุน] | Acquisition of property | การครอบงำกิจการ [TU Subject Heading] | Acquisition of serial publication | การจัดหาวารสาร, Example: <p>วารสาร (Journals, Serials, Periodicals) คือ ทรัพยากรสารสนเทศ ความรู้ ประเภทหนึ่งในห้องสมุดที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ในการติดตามความเคลื่อนไหวและความก้าวหน้าในเทคโนโลยีใหม่และงานวิจัย วิชาการในสาขาหนึ่ง ๆ วารสารโดยเฉพาะวารสารวิชาการนับว่ามีความสำคัญ และเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายในการเผยแพร่บทความ ความรู้ และเพื่อประโยชน์ในการต่อยอดผลงานวิจัย วิชาการ และการเป็นเอกสารอ้างอิง วารสารวิชาการบางชื่อได้รับการเชื่อถือและยอมรับว่าเป็นทฤษฎีที่ค้นพบใหม่จริง เป็นประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม และสังคม <p>ความสำคัญและคุณค่าของวารสารวิชาการเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ผลักดันให้ห้องสมุดต้องจัดหามาให้บริการ นอกเหนือจากเอกสาร หนังสือ และตำรา ต่าง ๆ และด้วยศักยภาพเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ส่งผลให้กระบวนการตีพิมพ์บทความวารสารวิชาการมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โดยจากเดิมที่ตีพิมพ์บทความในรูปแบบวารสารฉบับพิมพ์หรือรูปเล่ม ปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Journals) หรือออนไลน์ที่ผู้อ่านสามารถเข้าถึงบทความได้อย่างง่ายดาย สะดวกและรวดเร็ว ทุกที่และทุกเวลาในโลก พร้อมทั้งช่วยให้การรวบรวมและจัดการข้อมูลสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นับเป็นแนวโน้มสำคัญของห้องสมุดในปัจจุบัน ในการเรียนรู้วิธีและการบริหารจัดการในการบอกรับรูปแบบใหม่ดังกล่าว <p>อย่างไรก็ตามห้องสมุดหลายแห่งโดยเฉพาะห้องสมุดในประเทศกำลังพัฒนามักประสบปัญหาเรื่องงบประมาณที่มีจำกัดในการจัดหาวารสารวิชาการที่มีราคาสูง รวมทั้งนโยบายการจัดสรรงบประมาณของหน่วยงานที่ไม่แน่นอนในแต่ละปี สวนทางกับความต้องการของผู้ใช้บริการที่ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ห้องสมุดจึงได้ดำเนินการทุกวิถีทางในการหาหนทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว เช่น การสำรวจการใช้วารสารวิชาการ เพื่อพิจารณายกเลิกชื่อที่มีการใช้น้อย จัดเรียงลำดับความต้องการจากมากที่สุดไปสู่ระดับรองลงไป เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานได้อย่างคุ้มค่ากับการลงทุน รวมทั้งวิธีการติดต่อขอยืม ถ่ายสำเนา จากห้องสมุดแหล่งอื่น ๆ กล่าวคือไม่มีห้องสมุดแห่งใดในโลกที่จัดหาวารสาร ได้ครบทุกรายชื่อที่ผลิตหรือเผยแพร่ และอีกหนึ่งบริการที่สำคัญ และกล่าวถึงกันมากในขณะนี้ คือบริการจัดหาเฉพาะบทความที่ต้องการอ่าน (Pay per view / Pay per article) นับเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ประหยัดค่าใช้จ่าย โดยบริการรูปแบบนี้มีมานานแล้ว ให้บริการผ่านบริษัทนายหน้า ผู้แทนจำหน่าย นอกเหนือจากธรรมเนียม วัฒนธรรมเดิมของการจัดหา คือ จัดหาล่วงหน้าทั้งปีเพื่อรอให้ผู้ใช้บริการได้ใช้หรืออ่าน <p>หลายทศวรรษที่ผ่านมา แนวโน้มราคาวารสารวิชาการเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องอย่างไม่สมเหตุสมผล สูงกว่าภาวะอัตราเงินเฟ้อในสัดส่วนที่ไม่สมดุล โดยเฉพาะวารสารวิชาการในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการแพทย์ (STM) ห้องสมุดในฐานะที่อยู่ต้นทางในการให้บริการแก่ผู้ใช้ ควรกำหนดนโยบาย และมาตรการ วิธีการรองรับต่อสถานการณ์ดังกล่าว สถานภาพห้องสมุดปัจจุบันเสมือนตกอยู่ในสถานะจำยอม และยอมรับทุกเงื่อนไขที่สำนักพิมพ์เป็นผู้กำหนดทิศทางในเรื่องราคาแต่เพียงฝ่ายเดียวมาตลอด เป็นหัวข้อที่ท้าทายความสามารถของบรรณารักษ์ นักสารสนเทศในฐานะผู้จัดการความรู้ ในการที่จะหาแนวทาง วิธีการดำเนินการเพื่อให้สถานการณ์ดีขึ้น โดยยึดผลประโยชน์ของผู้ใช้บริการเป็นสำคัญที่จะต้องเข้าถึงข้อมูล ความรู้ ได้อย่างเท่าทัน และประหยัดงบประมาณของประเทศชาติ ซึ่งขณะนี้กระแสวารสารที่เข้าถึงได้ฟรี (Open Access) กำลังได้รับความสนใจและมีบทบาทสำคัญมาก จากผู้ที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลได้ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากภาวะวิกฤติของ วารสารวิชาการนั่นเอง <p>อย่างไรก็ตาม การจัดหาวารสารเป็นงานที่มีความต่อเนื่องยาวนาน เพราะวารสารเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีกำหนดออกเป็นลำดับตามช่วงเวลาที่แน่นอน สม่ำเสมอโดยไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด ดังนั้นเมื่อเริ่มกระบวนการจัดหา ผู้ปฏิบัติงานต้องรับผิดชอบงานจัดหาวารสารใน 1 ปี และ ปีต่อ ๆไปด้วย กระบวนการจัดหาวารสารเป็นงานที่มีขั้นตอนการดำเนินงานอย่างเป็นลำดับ และต่อเนื่องเชื่อมโยง ตั้งแต่การบอกรับ การจ่ายเงินค่าบอกรับเป็นสมาชิก ตลอดจนการทวงถามวารสาร เพื่อให้ได้วารสารครบตามจำนวนตามเงื่อนไขในการเป็นสมาชิก หลังจากนั้นวารสารจะถูกนำไปสู่กระบวนการทางเทคนิค และงานบริการต่อไป การจัดหาวารสาร มี 4 วิธีการ คือ การจัดซื้อ (จากผู้ผลิตวารสารโดยตรง การจัดซื้อโดยสมัครเป็นสมาชิกหน่วยงานหรือสมาคม หรือ การจัดซื้อผ่านตัวแทนบอกรับวารสาร) การขอรับบริจาคหรือการได้รับอภินันทนาการ การแลกเปลี่ยนวารสาร และการผลิตขึ้นเอง <p>ปัญหาที่พบในการจัดหาวารสารที่ห้องสมุดมักประสบ คือ <p>1. ได้รับวารสารล่าช้า ไม่ตรงตามกำหนด <p>2. ได้รับวารสารไม่ครบถ้วนตามจำนวน <p>3. อัตราค่าสมาชิกสูงมาก โดยเฉพาะวารสารต่างประเทศในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี <p>4. กรณีวารสารอิเล็กทรอนิกส์ อาจมีปัญหาในการเข้าถึง (Access) ว่าไม่สามารถสืบค้นข้อมูลฉบับเต็มได้ <p>โดยทั่ว ๆ ไป ขั้นตอนการจัดหาวารสาร มีดังนี้ <p>1. สำรวจความต้องการใช้วารสาร ที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่มีความต้องการใช้ <p>2. ตัดสินใจว่าวารสารรายชื่อใด ควรบอกรับโดยตรงจากสำนักพิมพ์ หรือบอกรับผ่านตัวแทน <p>3. ตรวจสอบรายละเอียดของวารสารที่ต้องการจัดหาอย่างละเอียด ให้มีความถูกต้องมากที่สุด ข้อมูลพื้นฐานที่ควรมีคือ ชื่อวารสาร เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN) สำนักพิมพ์ ราคา เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ในการจัดหาวารสาร <p>4. ติดต่อสำนักพิมพ์ หรือบริษัทตัวแทนบอกรับวารสาร เพื่อให้นำเสนอราคาบอกรับวารสาร ซึ่งควรติดต่อล่วงหน้าเพื่อจัดเตรียมงบประมาณที่เหมาะสมและเพียงพอ และให้ได้รับวารสารครบถ้วนในปีนั้น <p>5. ส่งใบสั่งซื้อ (Purchase Order : PO) และดำเนินการชำระเงินแก่สำนักพิมพ์หรือบริษัทตัวแทนบอกรับวารสาร ซึ่งขั้นตอนนี้ห้องสมุดควรเก็บสำเนาเอกสารต่าง ๆ และทำการบันทึกการจ่ายเงิน เพื่อตรวจสอบการดำเนินงานย้อนหลังได้ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Acquisition of serial publications | การจัดหาสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง [TU Subject Heading] | Acquisitions | การจัดหาทรัพยากร [TU Subject Heading] |
| | | การได้ดินแดน | [kān dāi dindaēn] (n, exp) EN: acquisition | การได้มา | [kān dāimā] (n) EN: acquisition FR: acquisition [ f ] | การจัดหาเงินทุน | [kān jathā ngoenthun] (n, exp) EN: acquisition of capital ; raising of capital | การเรียนรู้ | [kān rīenrū] (n) EN: learning ; acquisition of knowledge FR: apprentissage [ m ] ; compréhension [ f ] ; acquisition de connaissances [ f ] | การรวบรวมข้อมูล | [kān rūaprūam khømūn] (n, exp) EN: data collection ; data acquisition | การซื้อ | [kān seū] (n) EN: buying ; purchase ; acquisition FR: achat [ m ] | สิ่งที่ได้มา | [sing thī dāimā] (n, exp) EN: acquisition FR: acquisition [ f ] |
| | | acquisition | (n) the act of contracting or assuming or acquiring possession of something | acquisition | (n) something acquired |
| Acquisition | n. [ L. acquisitio, fr. acquirere: cf. F. acquisition. See Acquire. ] 1. The act or process of acquiring. [ 1913 Webster ] The acquisition or loss of a province. Macaulay. [ 1913 Webster ] 2. Specifically: (Business, Finance) The purchase of one commercial enterprise by another, whether for cash, or in a trade of stock of the purchasing company for that of the purchased company. Syn. -- buyout, takeover. [ PJC ] 3. The thing acquired or gained; an acquirement; a gain; as, learning is an acquisition. [ 1913 Webster ] Syn. -- See Acquirement. [ 1913 Webster ] |
| | 獲得 | [かくとく, kakutoku] (n, vs, adj-no) acquisition; possession; (P) #795 [Add to Longdo] | 取得 | [しゅとく, shutoku] (n, vs) acquisition; (P) #1,351 [Add to Longdo] | 買収 | [ばいしゅう, baishuu] (n, vs) (1) acquisition (esp. corporate); buy-out; takeover; purchase; (2) corruption; bribery; (P) #3,311 [Add to Longdo] | 新着 | [しんちゃく, shinchaku] (n, adj-no, vs) new arrivals; new acquisitions #6,140 [Add to Longdo] | 習得(P);修得 | [しゅうとく, shuutoku] (n, vs) learning; acquisition; (P) #8,344 [Add to Longdo] | アクイジション;アクウィジション | [akuijishon ; akuuijishon] (n) acquisition [Add to Longdo] | アメダス | [amedasu] (n) Automated Meteorological Data Acquisition System; AMeDAS; (P) [Add to Longdo] | データ取得 | [データしゅとく, de-ta shutoku] (n) { comp } data acquisition [Add to Longdo] | データ収集 | [データしゅうしゅう, de-ta shuushuu] (n) { comp } data collection; data acquisition [Add to Longdo] | データ収集管理システム | [データしゅうしゅうかんりシステム, de-ta shuushuukanri shisutemu] (n) { comp } data acquisition and control system [Add to Longdo] |
| |
เพิ่มคำศัพท์
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |