ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*ผู้เป็นใหญ่*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: ผู้เป็นใหญ่, -ผู้เป็นใหญ่-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ [with local updates]
กษัตรีศูร(กะสัดตฺรีสูน) น. กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ เช่น เจ้าไตรภพโลกเมาลีเป็นกษัตรีศูร (ม. คำหลวง นครกัณฑ์).
ข้าไทน. บริวารของผู้เป็นใหญ่.
ขุน ๑น. ผู้เป็นใหญ่, หัวหน้า, บรรดาศักดิ์ข้าราชการรองจากหลวงลงมา เช่น ขุนวิจิตรมาตรา
จอมไตรน. ผู้เป็นใหญ่ในโลกสาม, โดยมากหมายถึงพระพุทธเจ้า หรือ พระอิศวร (ตัดมาจาก จอมไตรโลก หรือ จอมไตรภพ).
จาว ๒น. เจ้า, ผู้เป็นใหญ่, หมายถึงเทวดาในชั้นอาภัสรพรหม.
จุมพล(จุมพน) น. จอมพล, นายทัพ, ผู้เป็นใหญ่กว่าพล.
เจษฎา ๑(เจดสะดา) น. ผู้เป็นใหญ่ที่สุด, พี่.
เจ้า ๑น. ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, เช่น เจ้านคร
เจ้าพ่อน. เทพารักษ์ผู้คุ้มเกรงถิ่นนั้น ๆ, ผู้เป็นใหญ่หรือมีอิทธิพลในถิ่นนั้น.
เจ้าแม่น. เทพารักษ์ผู้หญิงที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์จะให้ความคุ้มเกรงรักษาได้ เช่น เจ้าแม่ทับทิม, หญิงผู้เป็นใหญ่หรือมีอิทธิพลในถิ่นนั้น.
ชนินทร์น. ผู้เป็นใหญ่ในหมู่ชน.
เชษฐ- ๑(เชดถะ-) ว. เจริญที่สุด, เจริญกว่า, อายุสูงสุด, อายุสูงกว่า. น. พี่ผู้เป็นใหญ่ เช่น เชษฐบุรุษ. (ป. เชฏฺ; ส. เชฺยษฺ), (ราชา) ถ้าใช้ว่า พระเชษฐภคินี หมายถึง พี่สาว, ถ้าใช้ว่า พระเชษฐภาดา หรือ พระเชษฐา หมายถึง พี่ชาย.
ทานาธิบดีน. เจ้าของทาน, ผู้เป็นใหญ่ในการให้, เช่น ขอกุศลผลบุญจงบังเกิดแก่ทานาธิบดีในการทอดกฐินครั้งนี้.
ท้าว ๑น. ผู้เป็นใหญ่, พระเจ้าแผ่นดิน, (โดยมากใช้ในบทกลอน), เช่น ท้าวยศวิมล
ทิศาปาโมกข์น. “ผู้เป็นใหญ่เป็นประธานในทิศ”, อาจารย์ผู้มีความรู้และชื่อเสียงโด่งดัง.
เทพเจ้าน. เทวดาผู้เป็นใหญ่.
เทเวศ, เทเวศร์, เทเวศวร์(-เวด) น. เทวดาผู้เป็นใหญ่, หัวหน้าเทวดา
ไท ๒น. ผู้เป็นใหญ่ เช่น ท้าวไท.
ไท้น. ผู้เป็นใหญ่.
ธรณินทร์(ทอระนิน) น. ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน, พระเจ้าแผ่นดิน.
ธรณิศ, ธรณิศร, ธรณิศวร์(ทอระนิด) น. ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน, พระเจ้าแผ่นดิน.
ธรณีศวรน. ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน, พระเจ้าแผ่นดิน.
ธรรมสามิสร(-สามิด) น. ผู้เป็นใหญ่ด้วยความเป็นเจ้าของธรรม, พระพุทธเจ้า.
ธเรษตรีศวร(ทะเรดตฺรีสวน) น. ผู้เป็นใหญ่ในโลก, บางทีเขียนเป็น ธเรศตรีศวร เช่น สายัณห์หวั่นสวาทไท้ ธเรศตรี ศวรแฮ (ตะเลงพ่าย).
ธเรศ(ทะเรด) น. ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน, พระเจ้าแผ่นดิน.
นราธิเบนทร์, นราธิเบศร์น. พระราชาผู้เป็นใหญ่, พระมหากษัตริย์.
นางพญาน. พระราชินี, นางผู้เป็นใหญ่.
นายผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, ผู้จ้าง, เช่น เขาเป็นนาย นายไม่อยู่
นายผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้าในกิจการนั้น ๆ เช่น นายตรวจ นายทะเบียน, ผู้ควบคุม เช่น นายหมู่ นายหมวด, ผู้ชำนาญในกิจการนั้น ๆ เช่น นายไปรษณีย์ นายช่าง
บดีศรน. นายผู้เป็นใหญ่.
บริณายก(บอรินายก) น. ปริณายก, ผู้นำบริวาร, หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่.
ปรมินทร์, ปรเมนทร์(ปะระมิน, ปอระมิน, ปะระเมน, ปอระเมน) น. ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง.
ปรเมศวร์(ปะระเมด, ปอระเมด) น. ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง คือ พระอิศวร.
ประมุขน. ผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้าของประเทศหรือศาสนาเป็นต้น.
ปริณายก(ปะ-) น. ผู้นำบริวาร, หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่.
ปาตีน. ผู้เป็นใหญ่.
พญาผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, (มักใช้นำหน้านามอื่น) เช่น พญานาค พญาหงส์.
พรหมวิหาร(พฺรมมะ-, พฺรม-) น. ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ มี ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา.
พรหมินทร์(พฺรมมิน) น. พรหมผู้เป็นใหญ่.
พรหเมนทร์, พรหเมศวร(พฺรมเมน, พฺรมเมสวน) น. พระพรหมผู้เป็นใหญ่.
พระใช้ประกอบหน้าคำอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวร พระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพเมธี ๔. ภิกษุ เช่น พระสมศักดิ์ ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ
พระส. คำใช้แทนผู้เป็นใหญ่ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น เมียเห็นว่าเงาะนี้มีความรู้ พระอย่าได้ลบหลู่ว่าชั่วช้า (สังข์ทอง), หรือเป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล (กาพย์เห่เรือ).
พระเจ้าน. พระพุทธเจ้า เช่น พระเจ้าห้าพระองค์, พระพุทธรูป เช่น ทุกแห่งห้องพระเจ้า นั่งเนือง (กำสรวล), เทพผู้เป็นใหญ่
พระเป็นเจ้าน. เทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวร, พระผู้สร้างโลก.
พระผู้เป็นเจ้าน. เทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวร
พระองค์ลักษณนามใช้แก่พระพุทธเจ้า เทพผู้เป็นใหญ่ พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป สมเด็จพระสังฆราชเจ้า และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระมหากษัตริย์ ๒ พระองค์.
พระองค์ส. คำใช้แทนผู้เป็นใหญ่ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น ขอพระองค์จงจำไว้สำเหนียก ดั่งนี้เรียกว่าสวัสดิรักษา (สวัสดิรักษา), หรือเป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ เช่น จะจากจริงทิ้งน้องหรือลองจิต โอ้คิดคิดถึงพระองค์น่าสงสาร (อภัย), (ราชา) สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แก่พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป สมเด็จพระสังฆราชเจ้า และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธ-ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรี.
พ่อขุนน. กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ในสมัยสุโขทัย.
ฟ้าฝ่อน. พระพ่อ, ผู้เป็นใหญ่, เจ้าเมือง.
มหาเทพน. เทวดาผู้เป็นใหญ่ (โดยมากใช้เรียกพระอิศวร).

ตัวอย่างประโยค จาก Open Subtitles  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
And bring her to the sight of the Almighty.และนำนางไปสู่สายพระเนตรแห่งพระผู้เป็นเจ้าผู้เป็นใหญ่ The Da Vinci Code (2006)
Be gone and stay far from this creature of God for it is he who commands you, it is he he who would still the sea the wind and the storm.จงหายไปและอยู่ห่างไกล \ Nจากสิ่งมีชีวิตของพระเจ้า... นี่เป็นบัญชาจากพระเจ้า ผู้เป็นใหญ่ ... ผู้สถิตอยู่ในทะเล... The Rite (2011)

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
boss(n) นายจ้าง, See also: เจ้านาย, หัวหน้า, นาย, ผู้เป็นใหญ่, Syn. chief, employer

English-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
บดินทร์(n) ผู้เป็นใหญ่ในหมู่เทวดา

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top