กลองตะโพน | น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง ใช้ตะโพนไทย ๒ ลูก เสียงสูงต่ำต่างกัน ถอดเท้าออกแล้วนำมาตั้งเอาหน้าเท่งขึ้นตีอย่างกลองทัด นิยมใช้ตีแทนกลองทัดในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ หรือเพื่อให้เกิดเสียงนุ่มนวลเมื่อบรรเลงภายในห้องหรืออาคาร. |
ตะโพน | น. ชื่อกลองสองหน้าชนิดหนึ่ง หัวสอบท้ายสอบกลางป่อง มีขารอง ตีด้วยมือ ใช้บรรเลงกำกับจังหวะหน้าทับในวงปี่พาทย์. |
แทรกโพน | ก. จับช้างกลางแปลง. |
โพน ๑ | น. วิธีคล้องช้างเถื่อน คือ เอาช้างต่อไปเที่ยวต้อนคล้องเอา. |
โพน ๒ | น. จอมปลวก, เนินดิน. |
โพน ๓ | ก. แกว่ง. |
โพนเพน | ก. โงนเงน, โอนเอน. |
โพนทะนา | ก. กล่าวโทษ, ติเตียน, พูดกล่าวโทษท่านต่อหน้าผู้อื่น. |
กลอง | (กฺลอง) น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี ขึงด้วยหนัง ใช้ตีบอกสัญญาณ กำกับจังหวะ หรือใช้ตีร่วมกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ ตัวกลองเรียกว่า “หุ่น” ลักษณะกลมกลวงทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่นไม้ชิงชัน ไม้มะริด ไม้มะม่วง มีทั้งหน้าเดียวและ ๒ หน้า ที่ขึ้นหนังหน้าเดียว เช่น โทน กลองยาว รำมะนา ที่ขึ้นหนัง ๒ หน้า เช่น กลองทัด ตะโพน เปิงมาง กลองแขก กลองมลายู กลองชนะ การขึ้นหนังมีทั้งที่ใช้หมุดตรึงให้แน่น และใช้โยงเร่งเสียงด้วยสายหนัง เรียกว่า หนังเรียด หรือใช้หวายหรือลวด ยังมีกลองที่หล่อด้วยโลหะทั้งลูก แต่มิได้ขึงด้วยหนัง ก็มี เช่น มโหระทึก และกลองที่ทำด้วยดินเผา การตีกลองอาจใช้ไม้ตี มือ (ฝ่ามือ) หรือนิ้ว เพื่อให้เกิดเสียงดังก้อง, ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูก. |
กำนล | (-นน) น. เงินค่าคำนับครู, เงินคำนับบูชาครูปี่พาทย์ คือ พระประคนธรรพ หรือ พระนารท ซึ่งถือว่าเป็นครูเดิมของตน มีเทียนสำหรับจุดที่ตะโพนด้วย. |
เครื่องห้า ๒ | น. ปี่พาทย์ที่ใช้เครื่องดนตรี ๕ อย่าง คือ ปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง. |
ฆ้องปากแตก | ว. ปากโป้ง, เก็บความลับไม่อยู่, ชอบนำความลับของผู้อื่นไปโพนทะนา. |
โจทเจ้า | ก. เอาความผิดของเจ้าไปโพนทะนา |
เบญจดุริยางค์ | น. ปี่พาทย์เครื่องห้า มี ๒ ชนิด คือ เครื่องอย่างเบาใช้ประกอบการเล่นละครพื้นเมืองชนิดหนึ่ง และเครื่องอย่างหนักใช้ประกอบการเล่นโขนชนิดหนึ่ง, เครื่องอย่างเบามี ปี่ไฉน ๑ ทับ ๒ (ตัวผู้ ๑ ใบ ตัวเมีย ๑ ใบ) กลองตุ๊ก ๑, เครื่องอย่างหนักมี ปี่ใน ๑ ระนาดเอก ๑ ฆ้องวงใหญ่ ๑ กลองทัด ๑ คู่ ตะโพน ๑ ฉิ่ง ๑. |
ปากลำโพง | ว. ชอบโพนทะนาหรือเปิดเผยเรื่องราวต่าง ๆ ที่ตนรู้มา. |
ปี่พาทย์เครื่องคู่ | น. วงปี่พาทย์ประกอบด้วย ปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง (ปัจจุบันนิยมใช้ปี่ในเพียงเลาเดียว). |
ปี่พาทย์เครื่องห้า | น. วงปี่พาทย์ประกอบด้วย ปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง. |
ปี่พาทย์นางหงส์ | น. วงปี่พาทย์ที่ใช้บรรเลงเฉพาะในงานอวมงคล เรียกชื่อตามเพลงซึ่งใช้เป็นหลักในการบรรเลง คือ เพลงเรื่องนางหงส์ อัตรา ๒ ชั้น การประสมเครื่องดนตรีเหมือนวงปี่พาทย์ธรรมดาประสมกับวงบัวลอย แต่ใช้ปี่ชวาแทนปี่ใน ใช้กลองมลายูแทนตะโพนหรือกลองทัด. |
ปี่พาทย์มอญ | น. วงปี่พาทย์ที่นำเพลงและเครื่องดนตรีของมอญ ประกอบด้วย ปี่มอญ ฆ้องมอญ ตะโพนมอญ และเปิงมางคอกมาบรรเลง มีเครื่องกำกับจังหวะ ได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง. |
ปืดปึง | ว. เสียงตีตะโพน. |
เปิงมาง | น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง มีหนังขึง ๒ หน้า ตรงกลางป่องเล็กน้อย ยาวประมาณ ๕๔ เซนติเมตร ใช้บรรเลงร่วมกับตะโพนในวงปี่พาทย์ ใช้ตีนำกลองชนะในกระบวนเสด็จพยุหยาตรา, คนตีเปิงมางนำกลองชนะ เรียกว่า จ่ากลอง คู่กับคนเป่าปี่ซึ่งเรียกว่า จ่าปี่. |
เปิงมางคอก | น. ชุดกลองเปิงมางจำนวน ๗ ลูก เทียบเสียงสูงต่ำแขวนเรียงไว้ในคอก ใช้ในวงปี่พาทย์มอญ เพื่อตีรัวนำก่อนเมื่อขึ้นต้นบรรเลงปี่พาทย์มอญตีขัดสอดประสานกับตะโพนมอญ. |
พิณพาทย์ | น. ชื่อเรียกวงดนตรีไทยโบราณ ประกอบด้วยเครื่องดีด คือ พิณ ผสมกับเครื่องตี ได้แก่ ระนาดและฆ้องวงชนิดต่าง ๆ เป็นหลัก และเครื่องกำกับจังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ตะโพน กลองทัด กลองแขก และกลองสองหน้า ต่อมาเปลี่ยนพิณ เป็น ปี่ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น ปี่พาทย์. |
มฤทิงค์ | (มะรึ-) น. ชื่อเครื่องดนตรีประเภทเครื่องหนัง มี ๒ หน้า เช่น ตะโพน. |
มุติงค์ | น. กลองสองหน้า, ตะโพน. |
มุทิงค์ | น. กลองสองหน้า, ตะโพน. |
มุรชะ | (มุระชะ) น. ตะโพน, กลองชนิดหนึ่ง. |
หนังเรียด | น. หนังที่ทำเป็นเส้นแบน ๆ เล็ก ๆ สำหรับใช้โยงเร่งเสียง โดยสอดเข้าไปกับไส้ละมานที่ถักไว้รอบ ๆ ขอบหนังทั้ง ๒ หน้าของตะโพน เปิงมาง กลองสองหน้า เป็นต้น มักร้อยถี่จนมองแทบไม่เห็นตัวหุ่นกลอง ถ้าเร่งหนังเรียดให้ตึงขึ้นเท่าใด หน้ากลองก็ยิ่งตึงขึ้นเท่านั้น. |
หน้าทับ | น. เสียงตีเครื่องดนตรีที่ขึงด้วยหนัง จำพวกเลียนเสียงมาจากทับ (โทน) เช่น ตะโพน กลองแขก ใช้บอกสัดส่วนและประโยคของเพลง. |